salam
เจอมาจากเว็บอื่น ข้อความนี้หมายความว่าไงอะครับ ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แล้วจริงหรือครับ?
وفد جرير بن عـبدالله البجـلي رضي الله عنه على عمر بن الخطاب رضي الله عنه فقال له : ( هل يُــناحُ على ميتكم ؟ قال : لا ، قال : فهل تجتمعـون عـند أهل الميت وتجعلون الطعام ؟ قال : نعم ، قال : ذلك النوح
ญะรีร บุตร อับดุลลอฮ อัลบะญะลีย์(ร.ฎ) ได้มายังท่านอุมัร บุตร อัลคอ็ฏฏอ็บ (ร.ฎ) แล้วเขา(อุมัร)กล่าวแก่เขา(ญะรีร)ว่า มีการนิยาหะฮ(การร้องให้คร่ำครวญ)แก่มัยยิตของพวกท่านใช่ไหม? เขากล่าวว่า "ไม่" เขา(อุมัร)กล่าวว่า พวกท่านรวมตัวกันที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกันใช่ไหม? เขา(ญะรีร)กล่าวว่า "ครับ" เขา(อุมัร)กล่าวว่า "ดังกล่าวนั้นคือ นิยาหะฮ"
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
อาษารจากคำกล่าวของซอฮาบะฮ์นี้คือ เกี่ยวกับการรวมตัวบ้านมัยยิดเพื่อทำการปลอบใจ(ตะซียะฮ์) แล้วครอบครัวมัยยิดทำอาหารเลี้ยง อยู่ในควาหมายของ นิฮายะฮ์ อันนี้เรายอมรับว่าไ่ม่บังควรครับ มันสิ่งที่มักโระฮ์ (คือไม่ควรกระทำและอนุญาตให้กระทำได้แต่ไม่ได้บุญ นั่นคือความหมายของมักโระฮ์)
แต่ที่บ้านเราทำกันนั้น คือพี่น้องไปช่วยเหลือครอบครัวมัยยิดและพีน้องช่วยครอบครัวมัยยิดทำทานซอดาเกาะฮ์ด้วยการเลี้ยงอาหารแก่มัยยิด (ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงแขกที่มาทำการปลอบใจครอบครัวมัยยิด)
ครอบครัวมัยยิดทำอาหารเลี้ยงบรรดาผู้ที่มานั่งปลอมใจ ------>> เป็นสิ่งที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง
พี่น้องมุสลิมช่วยครอบครัวมัยทำทานซอดาเกาะฮ์แก่มัยยิดด้วยการเลี้ยงอาหาร ----->> เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้
อิหม่ามชาฟิอีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وأحب لجيران الميت أو ذي القرابة أن يعملوا لأهل الميت في يوم يموت وليلته طعاما يشبعهم فإن ذلك سنة وذكر كريم وهو من فعل أهل الخير قبلنا وبعدنا
และข้าพเจ้าชอบให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือ ญาติใกล้ชิด ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ในวันที่เขาตายและในคืนนั้น ให้พวกเขากินให้อิ่ม แท้จริงดังกล่าวนั้น เป็นสุนนะฮ เป็นการระลึกถึง ที่มีเกียรติ และมันเป็นการกระทำของคนที่ดี สมัยก่อนพวกเราและหลังจากพวกเรา.
- หนังสือ อัลอุม เล่ม 1 หน้า 347
ใช่ครับ อิมามชาฟิอีย์ชอบให้พี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียงทำอาหารให้ครอบครัวมัยยิดในช่วงวันแรก ดังนั้นในช่วงวันและคืนแรกเราสมควรทำอาหารให้ครอบมัยยิดรับประทาน และพี่น้องมุสลิมก็ไปช่วยทำให้ครับ ไม่มีใครปล่อยให้ครอบครัวมัยยิดทำอาหารแล้วพี่น้องมุสลิมนั่งรอรับประทานหรอกครับ แต่หากครอบครัวมัยยิดหรือทายาทได้ทำอาหารให้เพื่อนบ้านผู้มาปลอบใจตามลำพังถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่งยวดและปัจจุบันหาได้ยากครับ นอกจากจะสมมุติกันขึ้นมาหรือมีบางกลุ่มที่ทำกันไม่ถูกต้อง
เราทำถูกต้องแล้วจริงเหรอครับ ทุกวันนี้ ที่เราไปกินบุญบ้านคนตาย ไม่ใช่ว่าเราต้องเอาเงิน เอาอะไรไปให้บ้านผู้ตายเหรอครับ?
ไม่เข้าใจครับ สับสนในแนวทางของคณะเก่าเราเอง ช่วยตอบให้ด้วยครับ ขอบคุณมาก
ใช่ครับ พี่น้องมุสลิมบ้านเราช่วยเหลือครอบครัวมัยยิดด้วยการบริจาคเงินให้ และมีระบบสมาชิกกองทุนนะญาซะฮ์เพื่อช่วยเหลือครอบครัวมัยยิด หลังจากนั้นหากครอบครัวมัยยิดต้องการเอาเงินส่วนดังกล่าวนั้น (คือเงินบริจาคหรือเงินกองทุนญะนาซะฮ์ที่ได้รับการช่วยเหลือ) มาทำทานซอดาเกาะฮ์ให้แก่ผู้ตายโดยพี่น้องช่วยกันทำให้ ก็ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้ ท่านอิบนุก๊อยยิม กล่าวว่า
وفي صحيح مسلم عن أبى هريرة رضى الله عنه أن رجلا قال للنبي ان أبى مات وترك مالا ولم يوص فهل يكفى عنه أن أتصدق عنه قال نعم
"ในซอฮิห์มุสลิม ซึ่งรายงานจากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า มีชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า แท้จริง บิดาของฉันได้เสียชีวิต
โดยทิ้งมรดกทรัพย์ไว้โดยที่เขามิได้ทำการสั่งเสีย ดังนั้น ถือว่าเพียงพอหรือไม่กับการที่ฉันจะทำการซอดาเกาะฮ์แทนให้กับบิดา ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า ได้ซิ" หนังสือ อัรรั๊วะห์ 1/120
จากฮะดิษนี้ ชี้ให้ทราบว่า ทายาทผู้เป็นลูก อนุญาตให้เอามรดกทรัพย์ที่ผู้เป็นบิดาทิ้งไว้ให้ ทำการซอดาเกาะฮ์เป็นทานให้แก่ผู้เป็นบิดาได้ ด้วยการยอมรับจากท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
แล้วทำไมทายาทผู้ตายจะนำเงินที่พี่น้องช่วยกันบริจาคให้มาทำทานซอดาเกาะฮ์ด้วยการเลี้ยงอาหารให้แก่มัยยิดไม่ได้ล่ะครับ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวอีกว่า
وأما الأكل من الطعام ، فان كان قد صنعه الوارث من ماله لم يحرم الأكل منه. وإن كان صنع من تركة الميت وعليه ديون لم توف وله ورثة صغار فى ذلك من حقوقهم لم يؤكل منه
“ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น หากว่าทายาทได้กระทำ(ปรุง)มันขึ้นมาจากทรัพย์สินของพวกเขา ก็ไม่เป็นสิ่งต้องห้ามที่จะรับประทานจากมันและหาก(ทำทาน)สิ่งที่ถูกทำขึ้น จากมรดกของผู้ตาย โดยที่มัยยิดเองยังมีหนี้สินอยู่ที่ยังไม่ได้ชดใช้และผู้ตายก็มีทายาทที่เป็นเด็ก ซึ่งในสิ่งดังกล่าวเป็นสิทธิของพวกเขา ก็ถือว่ารับประทานไม่ได้“ ริซาละฮ์ อิฮฺดาอ์ อัษษะวาบ ลิลนะบีย์(ซ.ล.) และมะอาฮา มะซาอิล ฟีอิหฺดาอ์ อัลกุรุบาต ลิลอัมวาต ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า143 ตีพิมพ์ที่ อัฏวาอ์ อัสสะลัฟ์
والله سبحانه وتعالي أعلي وأعلم