بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ
ขณะที่เงยขึ้นจากรุกั๊วะโดยเอามือกอดอกนั้น ไม่ทำให้เสียละหมาด แต่ไม่มีซุนนะฮ์ให้เอามือมากอดที่อก บรรดาอุลามาอ์ที่ได้กล่าวอธิบายหนังสืออัลมินฮาจญ์ของอิมามอันนะวาวีย์ความว่า "เมื่อผู้ละหมาดได้เงยขึ้นมายืนตรง ก็ให้เขาปล่อยมือทั้งสองข้าง" มุฆนีลมั๊วะห์ตาจญ์ ของท่านชัยค์อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ 1/322 , นิฮายะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ ของท่านอิมามอัรร๊อมลี 1/501 , และหนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ ของท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ 2/63 ซึ่งท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าวคิลาฟไว้เล็กน้อยว่า "เมื่อผู้ละหมาดได้เงยขึ้นมายืนตรง ก็ให้เขาปล่อยมือทั้งสองข้าง และทัศนะ(ฏออีฟ)ที่ถูกกล่าวว่า ให้เอามือทั้งสองอยู่ใต้หน้าอกของเขา เพราะไปกิยาสเทียบเคียงกับการยืน(ตักบีร่อตุลเอี๊ยะห์รอมครั้งแรก) ซึ่งจะมีการโต้ตอบทัศนะนี้ในเวลาอันใกล้" ตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 2/63
ในบทว่าด้วยเรื่อง "การที่นบีได้วางมือขวาบนมือซ้ายใต้หน้าอกหลังจากตักบีร่อตุลเอี๊ยะห์รอม" ซึ่งท่านมุสลิมได้รายงานจาก วาอิล บุตร ฮุจญ์ริ ความว่า
أَنَّهُ رَأَى النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَفَعَ يَدَيْهِ حِين دَخَلَ فِي الصَّلَاة كَبَّرَ حِيَال أُذُنَيْهِ , ثُمَّ اِلْتَحَفَ بِثَوْبِهِ , ثُمَّ وَضَعَ يَده الْيُمْنَى عَلَى الْيُسْرَى , فَلَمَّا أَرَادَ أَنْ يَرْكَع أَخْرَجَ يَدَيْهِ مِنْ الثَّوْب , ثُمَّ رَفَعَهُمَا , ثُمَّ كَبَّرَ , فَرَكَعَ , فَلَمَّا قَالَ : سَمِعَ اللَّه لِمَنْ حَمِدَهُ , رَفَعَ يَدَيْهِ فَلَمَّا سَجَدَ , سَجَدَ بَيْن كَفَّيْهِ
"แท้จริงเขาได้เห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ยกมือทั้งสองของท่านขณะที่เข้าทำการละหมาด ซึ่งท่านได้ทำการตักบีรโดยยกมืออยู่ระดับข้างหน้าสองหูของท่าน หลังจากนั้น ท่านก็ได้ปิดด้วยเสื้อ(แขนเสื้อ) หลังจากนั้น ท่นได้เอามือขวาวางบนมือซ้าย ดังนั้น ขณะที่ท่านต้องการจะก้มรุกั๊วะ ท่านก็จะเอาสองมือออกมาจากเสื้อ จากนั้นท่านก็ยกมือทั้งสอง และทำการตักบีร แล้วก็ก้มรุกั๊วะ ขณะที่ท่านกล่าวว่า "สะมิอัลลอฮุลิมันฮะมิดะฮ์" ท่านก็จะยกมือทั้งสอง และขณะท่านจะสุยูด ท่านก็จะสุยูดระหว่างสองฝ่ามือ" รายงานโดยมุสลิม (608)
จากฮะดิษนี้ ชี้ให้เห็นว่า การเอามือขวาวางบนมือซ้ายนั้น เจาะจงกระทำหลังจากตักบีรรอตุลเอี๊ยะห์รอมเท่านั้น ส่วนการกระทำหลังจากเงยขึ้นมาจากรุกั๊วะ ถือว่าไม่มีซุนนะฮ์ระบุเจาะจงไว้เลย
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ