ผู้เขียน หัวข้อ: การยกย่องให้เกียรติต่อธงชาต  (อ่าน 3101 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การยกย่องให้เกียรติต่อธงชาต
« เมื่อ: มี.ค. 23, 2008, 07:43 AM »
0

การยกย่องให้เกียรติต่อธงชาติ

ถาม มีบางคนกล่าวว่า “การให้เกียรติยกย่องต่อธงชาติเป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ) ฉะนั้นจะไม่มีการมอบความเกรียงไกรนอกจากแด่อัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่ ?

ตอบ ธงชาติ คือสัญลักษณ์ของประเทศในสมัยนั้น และเคยเป็นเครื่องหมายแสดงถึงเผ่าพันธุ์และกลุ่มชนของชาวอาหรับ ทุกคนที่สืบเชื้อสายไปสู่เผ่าพันธุ์หรือกลุ่มชนของเขา จะดำเนินสืบช่วงต่อธงชาติและรักษามันไว้ และทุกครั้งที่ธงชาติถูกยก ย่อมแสดงถึงเกียรติภูมิของกลุ่มชนนั้น ๆ และเมื่อธงชาติถูกดึงลงต่ำ ย่อมแสดงถึงความต่ำต้อยของพวกเขา

ท่านอิบนุฮายัรได้กล่าวในสงครามคอยบัรว่า “ธง คือเครื่องหมายซึ่งถูกถือในสงครามอันจะทำให้รู้ถึงตำแหน่งของกองทัพ โดยที่ผู้นำทัพจะเป็นผู้ถือธง” นักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ชี้ชัดว่า คำว่า “อัล-ลิวาอฺ” และคำว่า “อัร-รอยะฮฺ” มีความหมายเหมือนกัน ส่วนนักวิชาการท่านอื่น ๆ มีทรรศนะว่าทั้งสองคำนี้มีความหมายต่างกัน มีรายงานจากท่านอีหม่ามอะฮฺหมัดและท่านอีหม่ามติรมีซีย์ว่า ท่านอิบนิอับบาส (ร.ด.) กล่าวว่า “ธงของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็ฮลฯ) เป็นสีดำและเครื่องหมายของท่านเป็นสีขาว” ท่านอิบนิอารอบี จึงแน่ใจว่าทั้งสอง (อัล-ลิวาอฺ และ อัร-รอยะฮฺ) มีความหมายแตกต่างกัน

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ธงคือเครื่องหมายแห่งความยิ่งใหญ่ และมันคือสัญลักษณ์แห่งตำแหน่งผู้นำที่มันจะไปกับเขาไม่ว่าเขาจะเดินทางไปที่ใด และในหนังสือ “ชัรฮุ้ลซัรกอนี อาลั้ล ม่าวาฮิบ อัดดีนียะฮฺ” มีการกล่าวไว้อย่างมากมายถึงความสัมพันธ์ ระหว่างคำว่า “อัร-รอยะฮฺ กับ อัล-ลิวาอฺ” (เล่มที่ 1 หน้าที่ 390) และได้กล่าวไว้ถึงสมรภูมิตะบูกว่า “ผู้ที่ถือธงคือท่านเซด บุตรฮาริซะฮฺ และเมื่อท่านเซดถูกสังหารลง ท่านยะอฺฟัร บุตรอ่าบีตอเล็บก็เข้ามาถือธงแทน และท่านได้ต่อสู้จนกระทั่งสิ้นชีวิต ต่อจากนั้นท่านอับดุลลอฮฺ บุตรร่อวาฮะฮฺ เป็นผู้ได้รับธง และท่านได้ต่อสู้จนกระทั่งสิ้นชีวิต หลักจากนั้น ท่านซาบิด บุตรอักรอม อัล-อัจลาก็ได้นำธงไปมอบให้กับท่านคอลิด บุตรวาลีด เนื่องจากท่านคอลิดมีความเหมาะสมจะเป็นผู้ถือธง” และยังได้ถูกกล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า “เมื่อท่านยะอฺฟัรถูกตัดมือข้างขวาขณะถือธงอยู่ ท่านก็ถือธงด้วยมือข้างซ้าย และเมื่อมือทั้งสองของท่านถูกตัดขาด ท่านก็ได้นำธงขึ้นมาถือไว้ด้วยท่อนบนของแขนทั้งสองของท่าน แล้วท่านก็ถูกสังหาร ต่อมาท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ได้วิงวอนขอให้พระองค์อัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ) ทรงทดแทนมือทั้งสองของท่านยะอฺฟัรด้วยปีกทั้งสองในสวรรค์ (จากหนังสือชัรฮุ้ลซัรกอนี อาลั้ล ม่าวาฮิบ อัดดีนียะฮฺ เล่มที่ 1 หน้าที่ 267)

ธงและเครื่องหมายสัญลักษณ์นั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้ที่ถือมันจะต้องคอยปกป้องมิให้มันตกลงสู่ที่ต่ำ เมื่อมันตกลงสู่ที่ต่ำผู้อื่นจะต้องเป็นผู้ชูมันขึ้นมา เพื่อแสดงว่า ในกองทัพนั้นมีพละกำลังอันแข็งแกร่ง ซึ่งมันจะปลุกวิญญาณของพวกเขาให้มีความมั่นคง

ฉะนั้นการให้เกียรติต่อธงพร้อมกับการร้องเพลงลำนำ หรือแสดงเครื่องหมายด้วยมือในสถานการณ์เฉพาะนั้นเป็นการแสดงออกถึงความรักต่อประเทศชาติ ความพูกพันแนบแน่นต่ออธิปไตยของชาติ และปกป้องดินแดนของชาติ
ดังกล่าวนี้ มิได้หมายถึงการสักการะต่อธงชาติ ดังนั้นการให้เกียรติต่อธงชาติ มิได้หมายถึงการสดุดีและมิได้หมายถึงการน้อมรำลึกจนกล่าวได้ว่ามันเป็นอุตริกรรมหรือเป็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ)

โดย...ท่าน เชคอะฏียะห์ ซ๊อกร์ จากหนังสือไคโรสาร ฉบับที่ 36 ปีที่ 27 ประจำปี 2539

การยกย่องให้เกียรติต่อธงชาติ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged