ผู้เขียน หัวข้อ: การกล่าวอามีน  (อ่าน 6396 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

yee-haroon

  • บุคคลทั่วไป
การกล่าวอามีน
« เมื่อ: มี.ค. 31, 2008, 09:32 AM »
0

เมื่อละหมาดฟัรดู5เวลาเสร็จ อีหม่ามจะอ่านดุอาแล้วมะมูมกล่าวอามีน มีหลักฐานหรือไม่ครับ ในหนังสืออะไร

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: การกล่าวอามีน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เม.ย. 01, 2008, 05:02 PM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ท่านอัลฏ็อบรอนีย์  ได้รายงานจาก มุฮัมมัด บิน อบี ยะห์ยา  ซึ่งเขาได้กล่าวว่า

 رأيت عبدالله بن الزبير ورأى رجلا رافعا يديه يدعو فبل أن يفرغ من صلاته ، فلما فرغ منها قال له : إن رسول الله لم يكن يرفع يديه حتى يفرغ من صلاته

"ฉันได้เห็นท่านอับดุลเลาะห์ บุตร ซุบัยร์  ท่านได้เห็นผู้ชายคนหนึ่งได้ยกสองมือวอนขอก่อนจากเสร็จละหมาด(ในละหมาด) ต่อมาในขณะที่เขาเสร็จละหมาด ท่านอับดุลเลาะห์ ได้กล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่เคยยกสองมือวอนขอในละหมาดเลย จนกว่าท่านจะเสร็จละหมาด"  ท่านอัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์  กล่าวว่า  นักรายงานของฮะดิษนี้  เชื่อถือได้ (ษิก็อต) หนังสือมัญมะอ์ชาวาเอ็ด 1/196

ดังนั้น  เมื่ออิมามละหมาดเสร็จ  ก็ถือว่าเป็นซุนนะฮ์ให้ทำการยกมือขอดุอาได้ครับ  ส่วนกรณีที่มะมูมจะทำการกล่าวอามีนนั้น  ถือว่าซุนนะฮ์ให้กระทำได้โดยไม่มีข้อห้ามใด ๆ  เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้น  เป็นการขอดุอาแบบญะมาอะฮ์

การขอดุอาแบบญะมาอะฮ์  หมายถึง  มีบุคคลหลายคนทำการร่วมกันขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา  โดยมีบุคคลส่วนหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งได้ทำการขอดุอา และส่วนบุคคลที่เหลือก็ทำการกล่าว "อามีน"  และการรวมตัวกันขอดุอา  ย่อมเป็นการรวมตัวในการปฏิบัติความดีงาม

ท่านชัยคุลอิสลาม อัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร (ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้ในหนังสือฟัตหุลฟารีย์ ในเรื่องการกล่าวอามีนใน บทอัดดะวาต(บรรดาบทดุอา) ว่า

:وورد في التأمين مطلقا أحاديث منها حديث عائشة مرفوعا ما حسدتكم اليهود على شيء ما حسدتكم على السّلام والتأمين رواه ابن ماجه وصححه ابن خزيمة ، وأخرجه ابن ماجه أيضا من حديث ابن عباس بلفظ ما حسدتكم على آمين فأكثروا من قول آمين

"ได้มีบรรดาหะดิษรายงานเกี่ยวการกล่าวอามีนโดยเปิดกว้างไม่มีข้อแม้ใด ๆ (คือไม่ว่าจะหลังละหมาดหรือไม่ใช่หลังละหมาด) จากหะดิษท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา โดยยกอ้างถึงท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "สิ่งที่พวกยาฮูดีได้อิจฉาริษยากับพวกท่านในสิ่งหนึ่ง คือพวกเขาได้อิจฉาริษยาพวกท่าน กับการให้สลามและกล่าว อามีน" รายงานโดยท่าน อิบนุ มาญะฮ์ และท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ถือว่าหะดิษซอฮิหฺ และท่านอิบนุมาญะฮ์ได้นำเสนอหะดิษเช่นกัน จากหะดิษท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ด้วยถ้อยคำที่ว่า "สิ่งที่พวกยาฮูดีได้อิจฉาริษยาพวกท่านนั้น คือการกล่าว อามีน ดังนั้น พวกท่านจงกล่าว อามีน ให้มาก ๆ " ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 11 หน้า 239

ดังนั้น  ท่านจงกล่าวอามีนขณะที่อิมามอ่านดุอาครับ  เพราะพวกยะฮูดีจะอิจฉาและไม่ต้องการให้มีการกล่าวอามีน

ท่านอัลหาฟิซฺ นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์  อาจารย์ของท่านอิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์  ได้  นำเสนอหะดิษ  ความว่า

ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

‏لا يجتمع ملأ فيدعو بعضهم ويؤمن سائرهم إلا أجابهم الله‏

"กลุ่มชนหนึ่งจะไม่รวมตัวกัน  แล้วบางคนจากพวกเขาได้ทำการขอดุอาและพวกเขาส่วนที่เหลือได้ทำการกล่าวอามีน  นอกจากว่า  อัลเลาะฮ์จะทำการตอบรับดุอาของพวกเขา"  รายงานโดย ท่านอัตต๊อบรอนีย์

ท่าน อัลหาฟิซฺ นูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์  กล่าววิจารณ์หะดิษนี้ว่า

ورجاله رجال الصحيح غير ابن لهيعة وهو حسن الحديث‏

"บรรดานักรายงานหะดิษนี้  เป็นนักรายงานที่ซอฮฺหฺ  นอกจาก อิบนุ ละฮีอะฮ์  ซึ่งเขานั้น  หะดิษหะซัน"  ดู  หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัซซะวาอิด  หะดิษที่ 17347

ดังนั้น  การที่บุคคลหนึ่งได้ทำการ "ขอดุอา" แล้วบุคคลอื่นทำการกล่าว "อามีน" ร่วมกัน  ย่อมเป็นการปฏิบัติในเรื่องคุณค่าของอะมัลหรือคุณงามความดี  แม้จะมีหะดิษฏออีฟไม่มากมารับรอง  ซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติได้ในเรื่องของคุณงามความดี  ตามทัศนะของมติปวงปราชญ์อิสลามที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้ยืนยันไว้หรือทัศนะส่วนมากของปวงปราชญ์อิสลาม

والله سبحانه وتعالي أعلي وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged