ผู้เขียน หัวข้อ: ถามผู้รู้เกี่ยวกับการละหมาดวันศุกร์ ตามทัศนะของชาฟีอียฺ 40 คน  (อ่าน 6614 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

วอศ.ปาตานี

  • บุคคลทั่วไป

         จากปัญหาเกี่ยวกับการละหมาดในวันศุกร์ตามทัศนะของพวกคุณเป็นแบบไหน? นี่คือคำถามที่สมควรได้รับคำตอบจากหลายๆทัศนะ......

         ตามทัศนะของชาฟีอีย์...ผู้ใดที่แปลอายะนี้ว่าแล้วเข้าใจว่ามันคือ ละหมาดวันศุกร์ ก็ขอให้พิจารณาใหม่น่ะครับ

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ

     "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์.."

         เพราะว่า ตามหลักนาฮู คำว่า مِنْ ในอายะฮฺนี้ แปลว่า ใน(วันศุกร์) และการละหมาดในวันนี้(วันศุกร์) ย่อมมีกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขของมัน มันก็คือ รุกุนของการละหมาด

         ถามว่า ....ใครบ้างที่ให้ความสำคัญตรงจุดนี้
         คำว่า جمع คือรากฐานศัพท์เดิมของมันจากคำว่า  الْجُمُعَةِ ซึ่งมันแปลว่า รวม ถ้าแปลตามตัวแล้วมันคือ ละหมาดในวันรวม แต่ดูไม่สวยตามหลักของภาษาไทยน่ะครับ วันรวมไม่เคยได้ยิน น่าจะเปลี่ยนเป็น วันญุมอะฮฺ มากกว่าน่ะครับ เพราะจะไม่ทำให้คำนี้ถูกแปลเป็นอย่างอื่นที่มากกว่านี้ พี่น้องลอกนึกภาพดูหาก คำว่า ละหมาดวันศุกร์ถ้าไม่ใช่ภาษาไทยล่ะ เค้าจะเรียกละหมาดนี้ว่าอะไร อินเดีย ปากี อียิปต์ท่านคิดว่าเค้าแปลเหมือนกันมั้ยครับ การตะอฺวีลแต่ละภาษามีบทบาทอย่างมากที่ทำให้มุสลิมแต่ละประเทศเข้าใจตัวบทที่แตกต่างกัน นี่คือคำอธิบายที่ผมจะทำให้ท่านเข้าใจว่า คำว่ารวมนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และอีกอย่าง ในตัฟซีร อิบนุกาซีรได้กล่าวถึง วันศุกร์ว่า มันคือวันที่อัลลอฮฺ ได้รวมฟากฟ้าและผืนแผ่นดิน....แสดงให้เห็นว่ามันแปลว่า วันรวม  แล้วการรวมละหมาดล่ะ รวมกี่คน ตรงนี้มันเป็นปัญหาคีลาฟ ในหลายทัศนะ (แต่ผมยึดทัศนะของชาฟีอียฺ)

          สำหรับผู้ที่ยึดตามทัศนะของอีหม่ามชาฟีอียฺแล้ว อย่าคิดว่าใครก็ตามได้ บางคนบอกว่ามี 2 คนก็ใช้ได้ บ้างว่า 12 คนก็มีในทัศนะของชาฟีอียฺ แต่ทัศนะที่ว่า 12 คนนี้ถือว่าเป็นคำพูดเดิม قول قديم ของท่านอีหม่ามชาฟีอียฺ และที่ว่า 40 คนนั้นคือคำพูดหลังจากที่ท่านได้รับความถูกต้องมากกว่า...ตามการรายงานทางฮาดิษ ระบุว่า เหตุการณ์ที่ทำให้ซอฮาบะฮฺเหลือแค่ 12 คนนั้นลองนึกภาพดูว่า เหลือ 12 คนแสดงว่า ตอนเริ่มอ่านคุตบะฮฺคงไม่ใช่ 12 คนอย่างแน่นอนแต่ทำไม่เหตุการณ์นั้นนบีจึงไม่ตำหนิ ซอฮาบะฮฺ เป้นไปได้ว่าในตอนนั้นยังไม่มีเงื่อนไขที่แน่นอน ซอฮาบะฮฺที่ไม่ทราบจึงออกไป ในกองคาราวานนั้น ที่ผมบอกว่า 40 นั้นเป็นทัศนะของชาฟีอียฺ หากมีท่านใดที่มีทัศนะอื่นที่มีทัศนะดีกว่าก็แย้งผมได้น่ะ สำหรับหลักฐานผมต้องขอโทษอีกครั้งที่ผมไม่เก่งในเรื่องคอมพิวเตอร์...และข้อความนี้คือปัญหาของประชาชาติ อย่าลืมว่าความแตกต่างทางทัศนะเป็นความเมตตาของอัลลอฮฺ วัลลอฮุอะอฺลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 01, 2011, 10:27 AM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

จำนวนผู้ละหมาดวันศุกร์ไม่เป็นปัญหาในกลุ่มประเทศอาหรับ  เพราะว่าพวกเขาละหมาดแต่ละครั้งผู้คนล้นมัสยิดเกิน 40 คนไม่รู้กี่เท่า  ประเด็นมันอยู่ในประเทศที่ไม่ใช่อาหรับ อย่างเช่นบางมัสยิดในประเทศไทย  เป็นต้น 

อนึ่ง  การละหมาดวันศุกร์นั้น  มีบทบัญญัติไว้ในอัลกุรอานซูเราะฮ์  อัลญุมุอะฮ์  แบบสรุปความว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์"

แต่อายะอ์นี้ยังต้องการรายละเอียดข้อปลีกย่อยต่าง ๆ โดยพิจารณาการกระทำละหมาดวันศุกร์ของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านนบีกล่าวความว่า 

صلوا كما رأيتمونى أصلى

"พวกท่านจงละหมาด  เสมือนที่พวกท่านเห็น(รู้)ฉันทำละหมาด" รายงานโดย อัลบุคอรีย์

รายงานจาก อับดุรเราะฮ์มาน บุตร กะอับ บิน มาลิก - ซึ่งเขาเป็นผู้นำทางบิดาของเขา(คือกะอับ)หลังจากที่ตาของเขาบอด - (อับดุรเราะหฺมาน) ได้รายงานจาก บิดาของเขา(คือกะอับ) ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า "แท้จริง  เมื่อเขา(กะอับ)ได้ยินเสียงอะซานในวันศุกร์  เขาจะกล่าวขอความเมตตาแด่ ท่านอัสอัด บิน ซุรอเราะฮ์  เขา(อับดุรเราะฮ์มาน)เล่าว่า  ฉันได้กล่าวกับเขา(บิดา)ว่า  เมื่อท่านได้ยินเสียงอะซานในวันศุกร์  ท่านขอความเมตตาแก่ท่าน ท่านอัสอัด บิน ซุรอเราะฮ์ กระนั้นหรือ? เขากล่าวว่า เพราะเขาคือบุคคลแรกที่รวบรวมพวกเราทำละหมาดญุมอะฮ์ที่ ฮัซม์อันนะบีต จากหมู่บ้านหัรเราะฮ์บนีบะยาเฏาะฮ์ ในที่สถานที่นะเกียะ ซึ่งถูกเรียกว่า นะเกี๊ยะอัลค่อฏิมาต  ฉันกล่าวว่า  ในวันนั้นพวกท่านมันกันเท่าไหร่หรือ? เขาตอบว่า  40 คน"  รายงานโดย อบูดาวูดและอิบนุมะญะฮ์ 

หะดิษนี้ได้นำเสนอรายงานเช่นกัน โดยท่านอิบนุหิบบานและท่านอัลบัยฮะกีย์  ซึ่งท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า หะดิษนี้  ซอฮิหฺ  ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์  กล่าวว่า  สายรายงานของหะดิษนี้  หะซัน(เกณฑ์ดี) ... (ท่าน อัชเชากานีย์กล่าวว่า) ในสายรายงานนี้  มีมุฮัมมัด บิน อิสหาก  ซึ่งในตัวของเขา  มีการวิจารณ์(ขัดแย้ง)ที่ทราบกัน (แต่หะดิษนี้หะซัน) (ดู หนังสือ นัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 290)

ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า

"ในการวางเงื่อนไข 40 คนดังกล่าวนั้น  เพราะมีสายรายที่ซอฮิหฺ ระบุว่า แท้จริง  ละหมาดญุมอะฮ์แรกที่ถูกทำขึ้น ณ นครมะดีนะฮ์นั้น  มี 40 คน" ดูหนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 432

ท่านอิมาม อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวว่า

ท่านอิมาม อัลบัยฮะกีย์  รายงานจาก ท่านอิบนุมัสอูด (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ว่า

"ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทำละหมาดญุมอะฮ์  โดยที่พวกเขานั้น มี 40 คน"

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า "บรรดานักปราชญ์ของเรากล่าวว่า  หนทางบ่งชี้ของหะดิษนี้คือ  แท้จริง  อุมมะฮ์ได้ลงมติว่า ละหมาดญุมอะฮ์ต้องมีจำนวนคนละหมาด  ซึ่งเดิมแล้วมันคือละหมาดซุฮฺริ  ดังนั้น  จึงไม่จำเป็นต้องละหมาดญุมอะฮ์นอกจากด้วยจำนวนที่การสั่งสอน(แบบอย่าง)ของท่านนบีได้ยืนยันไว้เท่านั้น และแท้จริงได้ยืนยันแล้วว่า อนุญาตให้ทำการละหมาดญุมอะฮ์ได้ด้วยจำนวน 40 คน  และได้มีหะดิษยืนยันว่า "พวกท่านจงละหมาด  เสมือนที่พวกท่านเห็น(รู้)ฉันทำละหมาด" และไม่หะดิษใดยืนยันเลยว่า การละหมาด(ญุมุอะฮ์)ของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะมีจำนวนน้อยกว่า( 40 ) นี้  ดังนั้น  จึงไม่อนุญาตให้ละหมาดญุมุอะฮ์น้อยกว่า 40 คน" ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 1 หน้า 517 , ดูหนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 432

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  กล่าวว่า "ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้นำเสอนรายงานหะดิษนี้  ถือว่าเป็นหลักฐานที่แข็งแรงที่สุด  ที่ชี้ถึงว่า  ท่านอัลบัยฮะกีย์ไม่พบว่ามีบรรดาหะดิษใดที่มาบ่งถึงประเด็นนี้อย่างชัดเจนอีกแล้ว" ดู หนังสือ นัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 292

ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า

أَخْبَرَنَا إبْرَاهِيمُ بْنُ مُحَمَّدٍ قَالَ‏:‏ أَخْبَرَنَا عَبْدُ الْعَزِيزِ بْنُ عُمَرَ بْنِ عَبْدِ الْعَزِيزِ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عُبَيْدِ اللَّهِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عُتْبَةَ قَالَ‏:‏ كُلُّ قَرْيَةٍ فِيهَا أَرْبَعُونَ رَجُلاً فَعَلَيْهِمْ الْجُمُعَةُ

"ได้เล่าให้เราทราบ โดยอิบรอฮีม บิน มุฮัมมัด เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย อับดุลอะซีซฺ บุตร ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซฺ  จากบิดาของเขา  จากอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับดิลลาฮ์ บิน อุตบะฮ์  เขากล่าวว่า "ทุก ๆ หมู่บ้านที่ผู้ชายมี 40 คน  ดังนั้น จำเป็นบนพวกเขาต้องละหมาดญุมอะฮ์"

ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวเช่นกันว่า

أَخْبَرَنَا الثِّقَةُ عَنْ سُلَيْمَانَ بْنِ مُوسَى أَنَّ عُمَرَ بْنَ عَبْدِ الْعَزِيزِ كَتَبَ إلَى أَهْلِ الْمِيَاهِ فِيمَا بَيْنَ الشَّامِ إلَى مَكَّةَ جَمَعُوا إذَا بَلَغْتُمْ أَرْبَعِينَ رَجُلاً

"ได้เล่าให้เราทราบโดยผู้ที่เชื่อถือได้  จากสุไลมาน บิน มูซา ว่า แท้จริง ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ  ได้เขียนสารถึงชาวมิญาฮ์ ที่อยู่ระหว่างเมืองชามกับมักกะฮ์  ให้ทำการรวมละหมาดญุมอะฮ์ เมื่อพวกท่านครบ 40 คน"  ดู หนังสือ อัล-อุม บท จำนวนผู้ที่อยู่หมู่บ้านหนึ่งและจำเป็นบนพวกเขาต้องละหมาดวันศุกร์

หากกล่าวว่า "เหตุการณ์ที่ทำให้ซอฮาบะฮฺเหลือแค่ 12 คนนั้นลองนึกภาพดูว่า เหลือ 12 คนแสดงว่า ตอนเริ่มอ่านคุตบะฮฺคงไม่ใช่ 12 คนอย่างแน่นอนแต่ทำไมเหตุการณ์นั้นนบีจึงไม่ตำหนิ ซอฮาบะฮฺ เป็นไปได้ว่าในตอนนั้นยังไม่มีเงื่อนไขที่แน่นอน ซอฮาบะฮฺที่ไม่ทราบจึงออกไป ในกองคาราวานนั้น"

อิมามอันนะวาวีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ตอบว่า "บรรดาสานุศิษย์ของอิมามอัชชาฟิอีย์และบุคคลอื่น ๆ ที่วางเงื่อนไข 40 คน  ทำการตอบว่า หะดิษดังกล่าวตีความว่า  พวกเขาเหล่านั้นได้หวนกลับมาหรือส่วนหนึ่งจากพวกเขาได้หวนกลับมา โดยครบ 40 คน ดังนั้น ละหมาดญุมอะฮ์จึงครอบ 40 คน  และได้มีหะดิษปรากฏไว้ซ่อฮิหฺอัลบุคคอรีย์ว่า "ระหว่างที่เราได้ทำการละหมาดพร้อมกับท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อกองคาราวานได้มาแล้ว...(จนจบหะดิษ)"  ดู  หนังสือ ชัรหฺมุสลิม เล่ม 3 หน้า 416

การนำเสนอที่ผ่านมานั้น  เป็นการนำเสนอหลักการของมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์เท่านั้น  กระผมไม่ได้หมายความว่า การละหมาดญุมอะฮ์ 12 คน จะใช้ไม่ได้  เนื่องจากเราให้เกียตริมัซฮับท่านอิมามมาลิก (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์)  และเราไม่ไปตำหนิวิจารณ์หรือแสดงความไม่พอใจกับทัศนะที่แตกต่างกับเรา  เพราะนั่นย่อมหมายถึง  ความมีมานะทิฐิอันสุดโต่งที่อิสลามไม่ส่งเสริม  ไม่ใช่เป็นแบบฉบับของสะฟุศศอลิหฺและยังเป็นพฤติกรรมบิดอะฮ์ตามแบบอย่างของพวกค่อวาริจญ์อีกด้วย 

والله أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged