อ้างจาก....
http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=1687.msg31287#msg31287
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
การวาดรูป ไม่ว่าจะวาดรูปของคนหรือรูปของสัตว์นั้น อนุญาตให้กระทำได้ครับ
แต่ถ้าหากจะยึดทัศนะที่ว่า วาดหรือถ่ายรูปคนได้แต่ต้องอยู่ในสภาพที่
ไม่มีสามารถมีชีวิตอยู่ เช่น วาดภาพครึ่งตัว เป็นต้น
ก็ถือให้กระทำได้ตามทัศนะดังกล่าวได้
อนึ่ง ประเด็นการวาดภาพนั้น นักปราชญ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไป
แต่ผมขอนำเสนอแบบสรุปดังนี้นะครับ
ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ รายงานว่า
عَنْ أَبِي طَلْحَةَ صَاحِبِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ إِنَّ الْمَلَائِكَةَ لَا تَدْخُلُ بَيْتاً فِيهِ الصُّورَةُ قَالَ بُسْرٌ ثُمَّ اشْتَكَى زَيْدٌ فَعُدْنَاهُ فَإِذَا عَلَى بَابِهِ سِتْرٌ فِيهِ صُورَةٌ فَقُلْتُ لعبيد الله رَبِيبِ مَيْمُونَةَ زَوْجِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَلَمْ يُخْبِرْنَا زَيْدٌ عَنْ الصُّوَرِ يَوْمَ الْأَوَّلِ فَقَالَ عُبَيْدُ اللَّهِ أَلَمْ تَسْمَعْهُ حِينَ قَالَ إِلَّا رَقْماً فِي ثَوْبٍ
"จากอบูฏ๊อลหะฮ์สหายท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ท่านร่อซุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
แท้จริงมะลาอิกะฮ์นั้นจะไม่เข้าบ้านที่มีรูป
บุสร์กล่าวว่า หลังจากนั้นท่านเซดได้ป่วย พวกเราจึงไปเยี่ยมเขา
ทันใดนั้นที่ประตูบ้านของเขามีผ้าม่านซึ่งมีรูปอยู่ในมันด้วย
ฉันจึงกล่าวกับอุบัยดิลลอฮ์บุตรเลี้ยงของท่านหญิงมัยมูนะฮ์ภริยาท่านนบี
ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า
ในวันแรกท่านเซดมิเคยบอกเล่าเราเกี่ยวกับบรรดารูปดอกหรือ?
อุบัยดิลลาฮ์กล่าวว่า ท่านไม่ได้ยินเขาดอกหรือ
ในขณะที่เขาได้กล่าวว่า นอกจากสิ่งวาดเขียนในเสื้อผ้า" รายงานโดยบุคอรี (5501)
ท่านชัยคุลอิสลาม อัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวอธิบายว่า
"ท่านอิบนุอัลอะร่อบีย์กล่าวว่า สรุปเรื่องการทำเป็นรูป(ปั้น)ขึ้นมานั้น
คือหากบรรดารูปเป็นสิ่งที่เป็นรูปร่าง(มีชีวิต) ย่อมเป็นสิ่งที่ฮะรอม(ต้องห้าม)
โดยมติ(อิจญ์มาอ์)ของปวงปราชญ์
แต่สำหรับประเด็นบรรดารูปที่วาดเขียนนั้น มี 4 ทัศนะ :
1. อนุญาตโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะถ้อยคำที่ชัดเจนในหะดิษบทนี้ที่ว่า
"นอกจากสิ่งวาดเขียนในเสื้อผ้า"
2. ไม่อนุญาตโดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งภาพวาดเขียนก็ตาม
3. หากภาพยังคงอยู่ในสภาพที่อยู่เป็นรูปร่างได้นั้น ถือว่าฮะรอม
และหากตัดศรีษะออกหรือทำให้ส่วนอวัยวะต่าง ๆ แยกจากกัน ถือว่าอนุญาต
ซึ่งท่านอิบนุอัลอะรอบีย์กล่าวว่า ทัศนะนี้ถูกต้องที่สุด
4. หากเป็นสิ่งที่ไม่ต้องให้เกียรติแต่ประการใด
(เช่นทำเป็นหมอนและทำเป็นผ้าปู เป็นต้น) ถือว่าอนุญาต
และหากเป็นสิ่งที่ใช้แขวน ถือว่าไม่อนุญาต"
(ดู หนังสือฟัตหุลบารีย์ อธิบายหะดิษที่ 5501)
ผมได้อ่านเจอเรื่องนี้จากหนังสือบทนำกอมูสอัลมัรบาวีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์)
ซึ่งเป็นปทานุกรมภาษามาลายู ท่านอัลมัรบาวีย์ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน
แล้วท่านได้ให้น้ำหนักว่า หากเป็นรูปวาดของสัตว์ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้
เช่นรูปวาดของสัตว์ที่นำมาประกอบในหนังสือปทานุกรม
โดยส่วนหนึ่งท่านได้อ้างหลักฐานจากหะดิษบุคอรีย์ดังกล่าวข้างต้น
ซึ่งท่านอัลบัรบาวีย์ได้สรุปหลังจากอ้างอิงบรรดาหลักฐานจากหะดิษดังกล่าวนั้นว่า
"บรรดาหะดิษเหล่านี้และหะดิษอื่นเช่นเดียวกันนี้ บ่งชี้ว่าอนุญาตให้วาดเขียนได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพถ่ายที่ทำขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งถูกพิจารณาว่ามันเป็นเพียงแค่เงาที่เกิดขึ้นด้วยกับการสร้างของอัลเลาะฮ์
เสมือนกับภาพที่อยู่ในกระจกเงา ซึ่งมิใช่เป็นการทำให้เป็นรูป(ร่าง)ขึ้นมา
จนกระทั่งเป็นสิ่งถูกห้ามเลย ยิ่งกว่านั้น ท่านอัลค๊อฏฏอบีย์ ได้กล่าวว่า :
แท้จริง ผู้ที่วาดเป็นรูปทรงของสัตว์นั้น
ฉันหวังว่ามันไม่ได้เข้าไปอยู่ในการสัญญาจะลงโทษนี้
เพราะมันไม่ใช่อะไรเลยนอกจากเพียงการวาดเท่านั้น
วัลลอฮุอะลัม ( บทนำกอมูสอัลมัรบาวีย์ หน้า ط )
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
สำหรับความคิดเห็นของข้าน้อย คนที่ทั้งวาดทั้งใส่
หากว่ามันฮะรอมจริงๆ ข้าน้อยคงต้องเตาบัตครั้งยิ่งใหญ่
และที่สำคัญ ข้าน้อยเองก็คงไม่สามารถทำงานด้านออกแบบต่างๆได้เลย
เพราะว่า งานด้านนี้มันต้องใช้การวาดเขียนและสร้างภาพจากจินตนาการขึ้นมา
เพื่อจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาน่ะค่ะ...
ข้อที่1 นางสาวA ไม่ผิดที่ไม่รู้ค่ะ...เพราะไม่มีใครรู้เสียทุกอย่าง...
คนที่รู้ต้องอธิบายเขาว่าทำไม และเพราะอะไร
หากเราไม่รู้ว่าทำไมถึงทำอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้
ก็ไม่จำเป็นต้องรีบตอบออกไป ณ ตอนที่เขาถามก็ได้ค่ะ
ขอเวลาเขาไปหาคำตอบมา มันก็ไม่สาย หากอัลลอฮฺประสงค์
ให้เราอยู่ตอบคำถามเขาในวันที่เราได้รับความรู้มาแล้ว...
เพราะตอบด้วยความชัวร์โดยมีหลักฐานยืนยัน
มันย่อมดีกว่าตอบมั่วๆออกไปอย่างแน่นอนค่ะ...
อย่างน้อยก็น่าเชื่อถือ... และสิ่งหนึ่งที่เราควรมีคือ เมื่อสิ่งที่เราทำอยู่
มันไม่ถูกต้องขึ้นมาจริงๆเมื่อเราไปตรวจสอบเจอในภายหนัง
เราก็ต้องน้อมรับความผิดพลาดของเราค่ะ...
ข้อ2 มองได้สองแง่ค่ะ...
คือ 2.1 ไม่น่าจะเกินกว่าเหตุ เพราะแต่ละคนความรู้สึกนึกคิดต่างกัน
หากหัวใจส่วนลึกของนาย B ไม่ได้ต้องการทำร้ายจิตใจนางสาว A
แต่เป็นเพราะไม่ทันคำนึงหรือนึกถึงเรื่องของความรุ้สึกของนางสาว A
มันก็ไม่น่่าจะดูเกินเหตุไปค่ะ....นางสาว A เองก็ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ
นาย B และนาย B เองก็ต้องเรียนรู้ถึงความรู้สึกของอีกอีกฝ่ายด้วยน่ะค่ะ
ว่าถ้าหากเราทำอย่างนั้น เขาจะรู้สึกอย่างไร...
ใจเขาใจเราค่ะ อย่่างน้อยๆ นางสาว A เขาก็มีน้ำใจ คิดถึงเรา
อุตส่าห์แบกเสื้อมาฝากเรา เราก็ไม่ควรจะลืมคำว่่า "ขอบคุณ"
สำหรับน้ำใจของเขาด้วยน่ะค่ะ...แม้เราจะไม่สามารถรับของจากเขาได้
แต่เราสามารถรับน้ำใจจากเขาได้ค่ะ

เมื่อวานนี้เอง อาจารย์ที่มหาลัยท่านซื้อไวน์ขาวมาฝากข้าน้อย 2 ขวด
ราคาไม่ต้องถามถึงค่ะ อาจารย์รู่ว่าข้าน้อยไม่ดื่มเหล้าและของเมาก็จริง
แต่ท่านไม่รู้ว่าเป็นข้อห้ามทางศาสนา ท่านเลยกะจะฝากไปให้
พ่อและพี่ๆที่บ้านข้าน้อย หากเรามองถึงน้ำใจของท่านที่อุตส่าห์นึกถึง
พ่อแม่พี่น้องและคนที่เรารักด้วยแล้ว แม้ของที่ท่านให้เราไม่สามารถรับ
เอาไว้ได้ เราก็สามารถขอบคุณน้ำใจของท่านได้...
ข้าน้อยอธิบายท่านและขอบคุณท่าน ท่านไม่ว่าอะไรเลยค่ะ
แถมยังหาของฝากอย่างอื่นมาให้แทน...

(ข้าน้อยไม่ได้บอกว่า วิธีการของข้าน้อยดีนะคะ แต่อย่างน้อยๆ
ข้าน้อยก็ยังรักษาน้ำใจและความรู้สึกดีๆของอาจารย์เอาไว้ได้
ไม่มีใครรู้ไปหมดทุกอย่างค่ะ มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องอธิบายเขาน่ะค่ะ
มันคือวายิบบนเราค่ะ)
ข้อ2.2 อยู่ในข้อ 2.1 แล้วค่ะ

ข้อที่ 3 ความไม่สม่ำเสมอก็มีผลเหมือนกันค่ะ...
แต่ว่าการเสมอต้นเสมอปลายมันทำยากค่ะ...
และที่ง่ายคือ เราต้องทำความเข้าใจกันและกันให้มากกว่าที่เป็นอยู่
ปัญหาความแตกแยกและความไม่เข้าใจกันจะค่อยๆละลงค่ะ
และเราจะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างโดยไม่แตกแยกค่ะ...
เราจะให้เขาเข้าใจเรา โดยที่เราไม่คิดจะเข้าใจคนอื่นเลย
มันก็ดูแปลกๆอยู่เหมือนกันค่ะ...
เพราะบางครั้ง บางปัญหาที่เรามักจะเถึยงกัน
ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่เข้าใจกันและกันน่ะค่ะ...

ปล.ข้าน้อยก็เป็นคนหนึ่งที่ใส่เสื้อลายสัตว์และลายอื่นๆด้วย
หากเรามองว่าสัตว์และคนคือสิ่งมีชีวิต
ต้นไม้ใบหญ้าก็มีชีวิต ไม่แน่ว่าก้อนหินก็อาจมีชีวิตโดยที่เราไม่รู้ก็ได้
เพราะว่าสิ่งที่อัลลอฮฺสร้างมันก้มกราบอัลลอฮฺ...วัลลอฮุอะลัม
และอีกอย่าง เวลาใส่หรือวาดมัน ข้าน้อยคนนึงที่ไม่ได้คิดอะไรเลย
นอกจากว่ามันเป็นเพียงภาพวาด...ที่ไม่วันที่เราจะวาดออกมาเหมือนจริง
ทุกรายละเอียดได้อย่างแน่นอน...เรามองว่าเป็นช้าง แต่มันใช่ช้าง
หรือจระเข้ที่ว่ายน้ำในความเป็นจริงหรือเปล่าก็ไม่เลย...
มันไม่มีทางที่มนุษย์จะทำอะไรได้อย่างที่พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ทำได้
ที่เราทำได้ ก็แค่น้อยนิดจากความสามารถที่อัลลอฮฺประทานให้มา
ข้าน้อยเชื่ออย่างนั้นค่ะ...
มันคือความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ หากผิดยังไง ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ...
ป.ลิงอีกที กำลังหาคนที่เขียนกระทู้ยาวๆมาแข่งกันอยู่ค่ะ
มะอัฟสำหรับความยาวนะคะ
