ผู้เขียน หัวข้อ: จุดกำเนิดและที่มา ของ วิชาอุซูลุลฟิกฮ์  (อ่าน 5086 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ budu

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 30
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด

จุดกำเนิดและที่มา ของ วิชาอุซูลุลฟิกฮ์

  อุซูลุลฟิกฮ์เป็นวิชาด้านกฏหมายอิสลามที่มากมายด้วยคุณค่าและมีประโยชน์ใหญ่หลวง ซึ่งนักปราชญ์ในแขนงต่างๆไม่ว่าจะเป็นตัฟซีร อัลฮะดีษ หรือฟิกฮ์ จะไม่สามารถออกกฏหมายแห่งบัญัติอิสลามได้ นอกจากต้องมีความรู้ในวิชานี้ อุซูลุลฟิกฮ์จึงเป็นวิชาหลักของการวินิจฉัยกฏหมายอิสลามซึ่งจะขาดเสียมิได้

ก่อนจะมาเป็นวิชาวิชาอุซูลุลฟิกฮ์

   ในสมัยท่านร่อซุลุลลอฮ์ ศ็อลฯ อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อจะบรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเพื่อที่จะตอบคำถามเหล่าซอฮาบะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม จึงไม่มีความจำป็นในเรื่องของการวินิจฉัยกฏหมายเพราะท่านร่อซุ้ลลุลเลาะห์ ศ็อลฯ ขณะอยู่กับพวกเขาท่านจะเป็นผู้คอยให้คำชี้ขาดในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น แหล่งที่มาของบัญญัติอิสลามจึงมีเพียงแค่อัลกุรอ่านและอัลฮะดีษที่มาชี้แจงและอธิบายสิงที่อัลกุรอ่านบอกให้อย่างสรุป
อนึ่งสำหรับการวินิจฉัยในสมัยท่านศาสดานั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจึงไม่นับว่าเป็นแหล่งที่มาของบัญญัติอิสลาม เพราะว่าการวินิจฉัย เมื่อมาจากท่านนบีก็คือวิวรรณ์ที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านเพื่อที่จะยืนยันการวินิจฉัยอันนั้น หรือเพื่อที่จะแก้ไขและอธิบายสิ่งที่พลั้งพลาดในการวินิจฉัย เช่นกรณีสงครามบัดร์ ซึ่งมีสองความคิดเห็นในเรื่องการจัดการกับเชลยคือ หนึ่ง ให้ทำการไถ่ตัวได้แะลสองให้ฆ่าสถานเดียว เนื่องจากพวกตั้งภาคีเคยกระทำกับมุอมิน อย่างโหดเหี้ยมทารุณ แต่ท่านนบีก็เอนเอียงไปยังความคิดเห็นแรก และได้ตัดสินตามนั้น อัลลอฮ์ ซุบฮ์ฯ จึงประทานคัมภีร์อัลกุรอานมาติติงท่านนบี ดังที่พระองค์ทรงตัรสว่า

ما كان لنبى أن يكون له أسرى حتى يثخن فى الأرض تريدون عرض الدنيا والله يريد الأخرة والله عزيز حكيم.. الأنفال 67

ความว่า ไม่บังควรแก่ศาสดาคนใดเลยที่จะมีเชลยไว้ เพื่อเรียกค่าไถ่ในขณะที่ฝ่ายตนเองยังอ่อนแออยู่ จนกว่าเขาจะทำการสู้รบจนชนะในแผ่นดิน พวกเจ้าปราถนา ค่าไถ่เชลย อันเป็นผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย ของโลกนี้ แต่อัลเลาะห์ทรงปราถนาโลกหน้าและอัลเลาะห์ทรงอำนาจยิ่ง อีกทั้งทรงปรีชาญานยิ่ง



   และการวินิจฉัยของซออาบะห์นั้นก็มีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของปัญหาที่จะล่าช้าเสียมิได้ อีกทั้งพวกเขาอยู่ในเมืองที่ห่างไกล ยากต่อการกลับมาให้นบีชี้ขาด อีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ท่านนบีได้ประสงค์ที่จะแต่งตั้งมุอาซบุตรญะบั้ลไปเมืองยะมัน ท่านนบีศ้อลฯ ได้กล่าวแก่เขาว่า ท่านจะตัดสินอย่างไรเมื่อมีปัญหาถูกเสนอแก่ท่าน? เขากล่าวว่า ข้าพเจ้า จะตัดสินด้วยคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ท่านนบีได้กล่าวว่า แล้วถ้าหากท่านไม่พบในคัมภีร์ของอัลลอฮ์หละ? ข้าพเจ้าจะตัดสินด้วยแนวทางของท่านร่อซูล ศ็อลฯ ท่านนบีก็ได้กล่าวต่อไปว่า และถ้าหากท่านไม่พบว่ามีในคัมภีร์และแนวทางของท่านร่อซูลุลลอฮ์หละ? เขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจะวินิจฉัยด้วยความคิดเห็นของข้าพเจ้าและจะไม่เลินเล่อต่อคำตัดสิน ท่านนบีจึงตบเอาเขาและกล่าวว่า การสรรเสริญเป็นสิทธ์แห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงให้ความเห็นชอบแก่ทูตของศาสนาทูตของอัลลอฮ์ในสิ่งที่ศาสนทูตแห่งอัลเลาะห์พึงพอใจ จากนั้นท่านนบีศ็อลฯ ก็จะยืนยันการวินัจฉัยของพวกเขา ถ้าหากว่าไม่ถูกต้องท่านก็จะอธิบายถึงแนวทางที่ถูกต้องของการวินิจฉัย และท่านได้อนุญาตให้ซ่อฮาบะห์บางท่านทำการวินิจฉัยปัญหาโดยที่ท่านเองก็อยู่ด้วย เพื่อที่จะฝึกฝนพวกเขาในการวินิจฉัยปัญหาต่างๆต่อจากท่าน

    สาเหตุที่ผลักดันให้ทำการรวบรวมบันทึกวิชาอุซูลุลฟิกฮ์ และผู้ที่ริเริ่มกำหนดวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งจากศาสตร์ของศาสนา
หลังจากท่านนบีสิ้นชีวิตไปแล้ว บรราดซ่อฮาบะห์มีความจำเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของการวินิจฉัยและพวกเขากระทำการดังกล่าวได้อ่างดีเยี่ยมด้วยสติปัญญา ที่หลักแหลมและบริสุทธิ์ใจ และพวกเขาเป็นผู้รู้ที่รู้ดีที่สุดในเรื่องซุนนะห์และมูลแห่งการพระราชทานอัลกุรอาน

    เมื่อถึงยุคบรรดาตาบีอีนและตาบิอิตตาบิอีน แหล่งที่มาของบัญญัติศาสนาก็ยังคงเหมือนกับยุคของซอฮาบะห์คือ คัมภีร์อัลกรุอาน ซุนนะห์ท่านร่อซูล ศ็อลฯ การกิยาส (การเปรียบเทียบ) และได้เพิ่มการตัดสินชี้ขาดของซ่อฮาบะห์ ซึ่งทั้งบรรดาซอฮาบะห์และตาบิอีนได้ค้นคว้าและวิจัยถึงเหตุผลของกฏหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบที่มาเป็นตัวบทหรือถูกวินิจฉัยมาแล้วก็ตาม เพื่อที่จะนำไปเปรียบเทียบต่อสิ่งที่ไม่มีตัวบทบ่งบอกเอาไว้
หลักการวิชาอุซูลุลฟิกฮ์จึงเริ่มปรากฏในยุคของซ่อฮาบะห์ ถึงแม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่มันก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งถึงยุค อิหม่าม ทั้งสี่

    และผู้ที่ริเริ่มรวบรวมวิชานี้เป็นคนแรก คือ ท่านอิหม่ามมูฮัมหมัด บินอิดริส อัชชาฟีอี ร่อฏิยั้ลลออันฮ์ (อิหม่ามชาฟิอี) ซึ่งท่านเสียชีวิตในฮิจเราะห์ศักราช 204 ท่านมีความคิดเห็นที่จะรวบรวมวิชานี้จากหลายสาเหตุด้วยกัน

  1.การมีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างสำนักอัลฮะดิษที่มาดีนะห์และสำนักความคิดที่แบกแดด โดยที่สำนักแรกนั้นเพียงพอด้วยบทบัญญิตแน่นอน และปัญหาใหม่ๆก็เกิดขี้นน้อยมาก ส่วนสำนักที่สองนั้นมีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย พวกเขาจึงได้ใช้ความคิดในการตัดสินปัญหาจนเป็นที่กว้างขวางในเรื่องนี้ และเป็นที่เลืองลือว่าเป็นสถาบันการใช้ความคิดเห็น

   2.เกิดปัญหาใหม่มากมาย ในแต่ละวัน และปัญหาเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการตัดสิน นักวินิจฉัยต้องพิจารณาในปัญหาเหล่านั้น เมื่อพบว่าระหว่างปัญหาใหม่กับปัญหาที่มีตัวบทบัญญัติอยู่แล้วมีปัญหาใหม่คล้ายคลึงกัน และมีสาเหตุ ของฮุก่มในปัญหาที่มีตัวบทมีอยู่ในปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ก็ให้กฏหมายจากตัวบทเดิมใช้กับปัญหาในแขนงนั้นได้

  3.การลดลงของหลักภาษาอาหรับ ผลจากการปะปนกันของภาษาอาหรับกับการภาษาอื่นๆ

  4.ไกลยุคกันระหว่างท่านร่อซูลลุลลอฮ์ ศ็อลฯ กับยุคของท่าน อิมหม่ามอัชชาฟิอี ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ท่านอิหม่มาตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า ถึงเวลาแล้ว และสติปัญญาก็เต็มเปี่ยมแล้วท่านจึงบันทึกหนังสือ الرسالة ของท่านเป็นที่เลื่องลือต่อมาในภายหลัง ท่านเริ่มแต่งหนังสือเล่มนี้ที่กรุงแบกแดด หลังจากนั้นกลับมาปรับปรุงอีกครั้งที่อิยิปต์ และได้บอกหลักการต่างๆไว้อย่างมากมายที่จำเป็นต่อบรรดานักวิจัย ในการที่จะรู้ถึงแก่นของอูซูลลุ้ลฟิกฮ์ ด้วยเหตุนี้เองราสามารถพูดได้ว่า ผู้ที่ได้วางหลักวิชา นี้เป็นคนแรก คือ ท่านอิหม่าม อิหม่ามชาฟิอี ร่อฏิยั้ลลอฮุอันฮ์

    คำนิยามอูซูลลุ้ลฟิกฮ์
    อูซูลลุ้ลฟิกฮ์ คือวิชาที่ว่าด้วยหลักการต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยกฏหมายด้านฟิกฮ์ จากหลักฐานแบบขยายความ วิชานี้จะค้นคว้าวิจัยจากหลักญแบบสรุปก่อน นั่นก็คือ อัลกุรอาน ซุนนะห์ที่อธิบายอัลกุรอาน อิจญมาอ์ กิยาส และอื่นๆ
เช่นเดียวกัน วิชานี้จะคนคว้าถึงประเภทของหลักฐานดังกล่าว เช่น บัญญัติใช้บัญญัติห้าม สิ่งที่ครอบคลุมทั่วไปจากคัมภีร์อัลกุรอานและอัซซุนนะห์ และเช่นเดียวกันการลงมติแบบออกเสียง และลงมติแบบไม่ออกเสียง และการเทียบ เหตุผลจากตัวบทและจากการวินิจฉัย ตลอดจนหลักฐานประเภทอื่นๆ

    เนื้อหาของวิชาอูซูลลุ้ลฟิกฮ์
    ปราชญ์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า เนื้อหาของวิชานี้คือหลักฐานต่างๆแบบสรุป ที่จะนำไปสู่กฏหมายโดยใช้การวินิจฉัย และการให้นำหนักในกรณีที่กฏหมายขัดแย้งกันเอง

    ประโยชน์ของอูซูลลุ้ลฟิกฮ์
สำหรับวงิชาอูซูลลุ้ลฟิกฮ์ นั้นมีประโยชน์ 2 ประการด้วยกัน

  1.ประโยชน์กลับไปสู่นักวินิจฉัยกฏหมายเอง คือ เขาสามารถที่จะทำการวินิจฉัยกฏหมายดด้านฟิกฮ์จากหลักฐานแบบขยายความเราะผู้ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญในการหลักการของอูซูลลุ้ลฟิกฮ์ จะไม่สามารถออกกฏหมายจากหลักฐานได้

  2.ประโยชน์แก่ผู้ตามคำวินิจฉัย ในกฏหมายของฟิกฮ์ คือสามรถที่จะเปรียบเทียบระหว่างหลักฐานชของผูนำมัซฮับที่เขาสังกัดอยู่กับหลักฐานชองผู้นำมัซฮับอื่นๆ เพื่อเขาจะได้มั่นใจในสิ่งที่เขาตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 24, 2009, 04:34 AM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ คะลัคคะลุย

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 670
  • เรื่อยไป
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
0
 salam

...จะฮุกุ่มฮะล้าล ฮะรอม  ทำได้  ทำไม่ได้  ก็ต้องมีหลักอุศูลุลฟิกห์ใช่ไหมครับ แล้วพวกที่ชอบว่าว่า  ตามอัลกุรอานซุนนะฮ์  หากนบีไม่ทำบิดอะฮ์  คำพูดของพวกเขาแบบนี้มีหลักอุศูลุลฟิกห์กันไหม  เพราะได้ยินคำอ้างของพวกเขามาเหลือเกินว่า  นบีไม่ได้ทำ  จะซิกรุลลอฮ์พวกเขาก็บอกว่านบีไม่เคยทำ

....ดังนั้น  คำว่า นบีไม่เคยเจาะจงกระทำนั้น  เป็นหลักฐานที่มาฮะรอมตัดสินสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดเลยหรอ  แล้วซุนนะฮ์นบีเนี่ยต้องนบีทำอย่างเดียวหรือ  หากนบีบอกแต่ไม่ได้ทำได้หรือเปล่า
اللهم صل علي سيدنا محمد وعلي آل محمد وصحبه وسلم

ออฟไลน์ al-fantazy

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 270
  • สูบบุหรี่เป็นสีแก่ปาก สูบมากๆ ระวังปากจะไม่มีสี
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
0
วะฮาบีย์ .... ใช้ อุศูลลุลฟิกฮฺ อะไรของเค้านะ  ถึงได้หุกมคนที่ปฏิบัติตามการวินิจฉัยทางศาสนาในหลายๆ เรื่องว่า
เป็นพวกหลงทาง   ....ผมว่าแล้ว  ให้แปลเรื่องอุศูลุลฟิกฮฺ กันมั้ง  จะได้เข้าใจ ไม่ใช่ทำ  อึกอัก อึกอัก อยู่.....
เรียนแค่  เรื่องฟิกฮฺ  แต่ไม่รู้ อุศูลุลฟิกฮฺ  เรียนแบบนี้ ไม่รู้ลึกหรอกคับ......เชอะ

 

GoogleTagged