อัสสลามุอลัยกุม ครับ ขออนุญาติแสดงความเห็นครับ
ถ้าจะถามคนรวยกับคนจนนั้น(โดยทั้ง2มีอีหม่านที่มั่นคง) ใครอัฟดอลกว่ากัน วัลลอฮุอะห์ลัม
การพึงพระทัยของพระผู้เป็นเจ้านั้น ไม่อยู่ในกฎเกณร์ใดๆทั้งสิ้น(เพราะพระผู้เป็นเจ้าได้สร้างกฎเกณร์ กอดอ กอดัร และเป็นผู้ตัดสินแต่เพียงผู้เดียว) ฉะนั้นไม่ใครมีสิทธิในการตัดสินครั้งนี้นอกจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะ
แต่ถ้าจะดูตามอาดัดทั่วไป และหลักฐานต่างๆ ตามฮาดิษที่นบีได้กล่าวนั้น ก็จะประมาณได้ดังนี้
คนรวยนั้นได้รับเนี้ยะมัตที่ดีจากพระผู้เป็นเจ้าโดยมีสิทธิในการใช้ชีวิตในดุนยาง่ายกว่าคนจน แต่ต้องโดนสอบสวนมากกว่าคนจนในการใช้จ่าย(ตามฮากีกัตและหลักวิชาตะเชาวุฟนั้น ได้ให้ความหมายว่าทุกสิ่งเป็นสิทธิของพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงผู้เดียวแต่กระทั้งลมหายของเราเอง)การใช้จ่ายของมนุษย์เป็นเพียงการยืม หรือประมาณว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า(อัลเลาะห์ ซบ มหาบริสุทธิจากการเทียบเคียงใดๆ)ในการใช้จ่ายใดๆก็ตาม แล้วทุกสตางค์ก็จะโดนสอบสวนว่าใช้ไปนั้น ฮาลาล(ได้ผลบุญ) หรือ ฮารอม(ได้รับโทษ)
แต่คนจนนั้นไม่ทรัพย์สินเหลือพอที่ใช้จ่ายด้านๆอื่น นอกจากการกิน หรือสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น ถ้ามีเงินเก็บนิดหน่อยก็พยายามใช้จ่ายให้ได้ประโยชน์มากที่สุดต่อตนเองและครอบครัว ฉะนั้นการสอบสวนในการใช้จ่ายทรัพย์สินก็ไม่มาก (สอบเสร็จก่อนคนรวย) อาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการเข้าสวรรค์ก่อนก็ได้ (วัลลอฮุอะห์ลัม)
เนี้ยะมัตที่ได้รับในดุนยาของคนจนก็คือ การมีหัวใจที่สงบ สุขุม พอใจหรือตอบรับ ยอมรับภัยบาลาได้ดี พอใจในสิ่งที่ตัวมี เอาเวลาส่วนมากไปใช้ในทางอิบาดะห์ เพราะเวลาเหลือมากกว่าคนรวย สังคมน้อยกว่า และในสังคมคนจนส่วนใหญ่จะเป็นญามาอะห์ ลักษณะร่วมมือร่วมใจกันทำงานทางสังคม ไปมาหาสู่กันง่ายกว่าคนรวย(บ้านคนจนไม่มีรั้วกั้นบ้าน

) สังคมคนจนจะช่วยเหลือกันเองเมือเกิดทุกข์ภัย ลักษณะดังกล่าวอาจจะเห็นบ้างในสังคมคนรวยแต่น้อยครั้ง(บ้านมีรั้วกััน

) เพราะคนรวยสามารถที่จ้างหรือใช้งานแรงงานทำแทนได้ในบางอย่างในสังคมหรือในครอบครัว(ยกเว้นอิบาดะห์) คนจนไม่ต้องกังวลโขมยสักเท่าไร(ไม่มีอะไรให้โขมย

) อยู่โดยไม่ต้องระแวง ซึ่งจะต่างจากคนรวยบางครั้งก็ระแวงกลัวทรัพย์สินจะหายไป(ทั้งหมดที่่บรรยายนั้นคนมีอีหม่านทั้งจนและรวย)
คนจนนั้นทำซอดาเกาะห์ได้ง่าย แค่การซิกรุลเลาะห์ การนอนกับภรรยาและอื่นๆอีกมาก ก็เป็นการซอดาเกาะห์แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นทรัพย์สินเสมอไปในการซอดาเกาะห์
คนรวยถึงแม้จะซอดอเกาห์เป็นทรัพย์สินมากมายแต่ต้องเหนียตและบริสุทธิใจเท่านั้น
(ต้องไปดูฮาดิษ ซัยยิดินา อาลี (รด) เกี่ยวกับซอฮาบะห์ ถามเรื่องอิลมูกับทรัพย์สิน)
มาดูในอดีตบ้าง ท่านนบีมูฮำหมัด(ซล)นั้นช่วงแต่งกับพระนางคอดีเยาะห์ ท่านนบีนั้นรวยเพราะทรัพย์สินพระนางคอดีเยาะห์มีมาก แต่ช่วงการเผยแพร่อิสลาม นบีนั้นได้จนลงจนไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่เลย ถ้าเหลือก็น้อยมาก จนบางครั้งท่านต้องจำนำด้ามธนูของท่าน และบางทีท่านก็ไม่อาหารทาน ท่านก็ถือศีลอดสุนัต (ต้องดูประวิติอีกที)
มาดู ท่านซัยดินา อบูบักร อัซ ซิกดิก (รด) ท่านได้บริจาคทรัพย์สินของท่านให้กับท่านนบี(ซล)จนหมดไม่เหลือท่านนบีก็ได้ถามท่านอบูบักรว่า แล้วท่านเหลืออะไรให้กับลูกหลานท่านบ้าง ท่านอบูบักรได้ตอบว่า เหลือแค่อัลเลาะห์(ซบ)และร่อซูล(ซล) ก็เพียงพอแล้ว (ยังมีอีกมากแต่จำไม่ค่อยได้)
ไม่ว่าท่านนบี(ซล) และท่านอบูบักร(รด)นั้นอยู่ในสถานภาพที่จนในดุนยา และได้รับเกียรตฺอย่างยิ่งยวดในอาคิเราะห์
จะกล่าวว่าการบริจาคจน ได้จนลงก็เป็นสุนัตนบี (ซล) เหมือนกันแต่ไม่ค่อยมี อุมมะห์ได้ทำสักเท่าไร

(อันนี้ไม่แน่ใจต้องถามอาจารย์ในเว็บเขา)
ฝากท่านผู้รู้ในเว็บด้วยนะครับ ช่วงไหนผิดพลาดก็กรุณาแก้ไขให้ด้วยนะครับ หรือเพิ่มเติมตรงไหนตามสะดวกนะครับ วัสลาม