بسم الله الرحمن الرحيم
وَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى
"ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้"
ท่านอิบนุกะษีร ได้อธิบายว่าأَيْ كَمَا لَا يُحْمَل عَلَيْهِ وِزْر غَيْره كَذَلِكَ لَا يُحَصِّل مِنْ الْأَجْر إِلَّا مَا كَسَبَ هُوَ لِنَفْسِهِ وَمِنْ وَهَذِهِ الْآيَة الْكَرِيمَة اِسْتَنْبَطَ الشَّافِعِيّ رَحِمَهُ اللَّه وَمَنْ اِتَّبَعَهُ أَنَّ الْقِرَاءَة لَا يَصِل إِهْدَاء ثَوَابهَا إِلَى الْمَوْتَى لِأَنَّهُ لَيْسَ مِنْ عَمَلهمْ وَلَا كَسْبهمْ
หมายถึง : เหมือนกับเขาจะไม่รับบาปของบุคคลอื่น เฉกเช่นเดียวกับสิ่งดังกล่าว คือ เขาจะไม่ได้รับการตอบแทนนอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรให้แก่ตัวเขาเอง และอายะฮ์อัลกุรอานนี้ ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์และผู้ที่ตามทัศนะอิมามชาฟิอีย์ได้วินิจฉัยว่า การอ่านอัลกุรอานนั้นการมอบผลบุญจะไม่ถึงผู้ตาย เพราะการอ่านมิใช่เป็นอะมัลและการพากเพียรของพวกเขา"
وَلِهَذَا لَمْ يَنْدُب إِلَيْهِ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أُمَّته وَلَا حَثَّهُمْ عَلَيْهِ وَلَا أَرْشَدَهُمْ إِلَيْهِ بِنَصٍّ وَلَا إِيمَاء وَلَمْ يُنْقَل ذَلِكَ عَنْ أَحَد مِنْ الصَّحَابَة رَضِيَ اللَّه عَنْهُمْ وَلَوْ كَانَ خَيْرًا لَسَبَقُونَا إِلَيْهِ وَبَاب الْقُرُبَات يُقْتَصَر فِيهِ عَلَى النُّصُوص وَلَا يُتَصَرَّف فِيهِ بِأَنْوَاعِ الْأَقْيِسَة وَالْآرَاء فَأَمَّا الدُّعَاء وَالصَّدَقَة فَذَاكَ مُجْمَع عَلَى وُصُولهمَا وَمَنْصُوص مِنْ الشَّارِع عَلَيْهِمَا .
(ท่านอิบนุกะษีรกล่าวว่า) ด้วยเหตุเช่นนี้ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้มิได้เรียกร้องและส่งเสริมให้เรากระทำมัน และท่านจะไม่ชี้แนะพวกเขานอกจากด้วยตัวบทมาระบุและด้วยการบ่งชี้ และสิ่งดังกล่าวก็มิได้ถูกถ่ายทอดมาจากคนใดจากซอฮาบะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ่ม และถ้าหากสิ่งดังกล่าวเป็นความดีงาม พวกเขาต้องกระทำล่วงหน้ามาก่อนหน้าเราแล้ว และในเรื่องของอิบาดะฮ์นั้นถูกจำกัดบนบรรดาตัวบทและจะไม่ถูกปฏิบัติด้วยบรรดาประเภทของการกิยาสและความเห็น (ที่ไม่ถูกต้อง)
สำหรับการขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ตายและการบริจาคทานนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่มติ(อิจญ์มาอฺ)ว่า ผลบุญของทั้งสองไปถึงมัยยิด และได้ถูกระบุไว้จากผู้บัญญัติศาสนาเกี่ยวกับกรณีทั้งสอง" ตัฟซีรอิบนุกะษีร อธิบายซูเราะฮ์ อันนัจญ์มุ อายะฮ์ 39
เราขอกล่าวว่า ทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ ที่กล่าวว่า การอ่านอัลกุรอ่านผลบุญไม่ถึงผู้ตายนั้น เป็นทัศนะกอดีม แต่ทัศนะญะดีด (ทัศนะใหม่ที่ท่านได้ระบุไว้ที่อียิปต์) นั้น คืออ่านอัลกุรอานให้แก่ผู้ตายที่กุบูรได้ หากมิเป็นเช่นนั้น เราขอกล่าวว่า การขอดุอาอ์และการซอดาเกาะฮ์เป็นทานบริจาคแก่มัยยิดนั้น ถือว่าเป็นประโยชน์และผลบุญถึงผู้ตายด้วยมติของปวงปราชญ์ หนึ่งในนั้นเป็นทัศนะของอิมามชาฟิอีย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เมื่อการขอดุอาอ์เป็นประโยชน์แก่มัยยิด เราก็สามารถทำการอ่านอัลกุรอาน
แล้วเอาดุอาอ์มาเป็นสื่อ(เพราะอิมามชาฟิอีย์มีทัศนะว่าดุอาอ์เป็นประโยชน์แก่มัยยิด)โดยขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ให้ผลบุญการอัลกุรอานไปถึงผู้ตาย ซึ่งเป็นการกระทำได้ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์โดยตรง วัลลอฮุอะลัม
ท่านอัลกุรฏุบีย์ ได้กล่าวอธิบายว่าوَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى
"ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้"
رُوِيَ عَنْ اِبْن عَبَّاس أَنَّهَا مَنْسُوخَة بِقَوْلِهِ تَعَالَى : " وَاَلَّذِينَ آمَنُوا وَاتَّبَعَتْهُمْ ذُرِّيَّتهمْ بِإِيمَانٍ أَلْحَقْنَا بِهِمْ ذُرِّيَّتهمْ " [ الطُّور : 21 ] فَيَحْصُل الْوَلَد الطِّفْل يَوْم الْقِيَامَة فِي مِيزَان أَبِيهِ , وَيُشَفِّع اللَّه تَعَالَى الْآبَاء فِي الْأَبْنَاء وَالْأَبْنَاء فِي الْآبَاء ; يَدُلّ عَلَى ذَلِكَ قَوْله تَعَالَى : " آبَاؤُكُمْ وَأَبْنَاؤُكُمْ لَا تَدْرُونَ أَيّهمْ أَقْرَب لَكُمْ نَفْعًا " [ النِّسَاء : 11 ] .
ได้ถูกรายงานจากท่านอิบนุอับบาส ว่า "อายะฮ์นี้ถูกยกเลิก(มันซูก)ไปแล้ว ด้วยคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ความว่า "และบรรดาผู้มีศรัทธา และผู้สืบตระกูลของพวกเขาที่ได้เจริญรอยตามพวกเขาด้วยการมีศรัทธา เราย่อมให้ผู้สืบตระกูลของพวกเขาได้ติดต่อกับพวกเขา (เข้าไปในสรวงสรรค์ด้วย)" อัฏฏูร : 21 ดังนั้น ในวันกิยามะฮ์เด็กจะได้อยู่ในตราชั่งของบิดาของเขา และอัลเลาะอ์ก็จักทรงให้บิดาช่วยเหลือต่อบุตรและบุตรช่วยเหลือต่อบิดา ซึ่งได้บ่งชี้ต่อสิ่งดังกล่าว คือคำตรัสของพระองค์ ความว่า "อันพ่อ ๆ ของพวกเจ้า และลูก ๆ ของพวกเจ้านั้น พวกเจ้าไม่รู้ดอกว่า คนใดจากพวกเขาบ้างที่ให้ประโยชน์ใกล้ชิดยิ่งแก่พวกเจ้า" อันนิซาอฺ : 11
وَقَالَ أَكْثَر أَهْل التَّأْوِيل : هِيَ مُحْكَمَة وَلَا يَنْفَع أَحَدًا عَمَل أَحَد , وَأَجْمَعُوا أَنْ لَا يُصَلِّي أَحَد عَنْ أَحَد . وَلَمْ يُجِزْ مَالِك الصِّيَام وَالْحَجّ وَالصَّدَقَة عَنْ الْمَيِّت , إِلَّا أَنَّهُ قَالَ : إِنْ أَوْصَى بِالْحَجِّ وَمَاتَ جَازَ أَنْ يُحَجّ عَنْهُ . وَأَجَازَ الشَّافِعِيّ وَغَيْره الْحَجّ التَّطَوُّع عَنْ الْمَيِّت .
บรรดานักอธิบายอัลกุรอานส่วนมากกล่าวว่า อายะฮ์นี้เป็นอายะฮ์ที่มีความชัดเจน (ไม่ได้ถูกยกเลิก) อะมัลคนหนึ่งย่อมไม่ให้ประโยชน์แก่คนหนึ่ง โดยที่นักปราชญ์ได้ลงมติแล้วว่า บุคคลหนึ่งจะทำการละหมาดแทนคนหนึ่งย่อมมิได้ และอิมามมาลิกก็ไม่อนุญาตให้ทำการถือศีลอด , ทำฮัจญ์ , และบริจาคทานแทนผู้ตายได้ , นอกจากเขาได้กล่าวว่า "ฉันได้สั่งเสียให้ทำฮัจญ์แล้วเขาได้ตายจากไป ก็ถือว่าอนุญาตให้ทำฮัจญ์แทนเขาได้" และอิมามชาฟิอีย์และคนอื่น ๆ อนุญาตให้ทำฮัจญ์สุนัตแทนให้กับผู้ตายได้"
وَرُوِيَ عَنْ عَائِشَة رَضِيَ اللَّه عَنْهَا أَنَّهَا اِعْتَكَفَتْ عَنْ أَخِيهَا عَبْد الرَّحْمَن وَأَعْتَقَتْ عَنْهُ . وَرُوِيَ أَنَّ سَعْد بْن عُبَادَة قَالَ لِلنَّبِيِّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِنَّ أُمِّي تُوُفِّيَتْ أَفَأَتَصَدَّق عَنْهَا ؟ قَالَ : ( نَعَمْ ) قَالَ : فَأَيّ الصَّدَقَة أَفْضَل ؟ قَالَ : ( سَقْي الْمَاء ) . وَقَدْ مَضَى جَمِيع هَذَا مُسْتَوْفًى فِي " الْبَقَرَة " و " آل عِمْرَان " و " الْأَعْرَاف " .
ได้รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ว่า "ท่านนางได้ทำการเอี๊ยะอฺติกาฟแทนน้องของนางคืออับดุรเราะห์มานและท่านนางได้ทำการเอี๊ยะอฺติกาฟแทนเขา" และได้ถูกรายงานว่า "มีคนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า แท้จริงมารดาของฉันได้เสียชีวิต จะให้ฉันทำการบริจาคทานแทนนางได้หรือไม่? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมตอบว่า "ได้" เขากล่าวถามว่า "การบริจาคทานแบบใหนที่ประเสริฐที่สุด" ท่านตอบว่า "การให้น้ำดื่ม(เช่นการขุดบ่อน้ำบริจาค)"
وَقَدْ قِيلَ : إِنَّ اللَّه عَزَّ وَجَلَّ إِنَّمَا قَالَ : " وَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى " وَلَام الْخَفْض مَعْنَاهَا فِي الْعَرَبِيَّة الْمِلْك وَالْإِيجَاب فَلَمْ يَجِبْ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى , فَإِذَا تَصَدَّقَ عَنْهُ غَيْره فَلَيْسَ يَجِب لَهُ شَيْء إِلَّا أَنَّ اللَّه عَزَّ وَجَلَّ يَتَفَضَّل عَلَيْهِ بِمَا لَا يَجِب لَهُ , كَمَا يَتَفَضَّل عَلَى الْأَطْفَال بِإِدْخَالِهِمْ الْجَنَّة بِغَيْرِ عَمَل .
บางทัศนะกล่าวว่า "แท้จริงอัลเลาะฮ์ อัซซ่าวะญัลล่า ทรงตรัสว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" อักษรลาม (ตรงคำว่า لِلْإِنْسَانِ นั้น) มีความหมายถึง กรรมสิทธิ์ครอบครองและจำเป็นต้องได้รับ ดังนั้นจึงหมายถึง "ไม่จำเป็นต้องได้รับให้กับมนุษย์คนหนึ่งนอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" ดังนั้น เมื่อบุคคลอื่นได้ทำการบริจาคทานแทนให้แก่เขา ก็ถือว่าไม่จำเป็นสำหรับเขาสักสิ่งใดเลยนอกจากอัลเลาะฮ์ อัซซ่าวะซัลล่า ทรงประทานความโปรดปรานแก่เขาด้วยกับสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับเขา (แต่สิ่งที่สุนัตต่าง ๆ ก็ทำแทนและฮะดียะฮ์ผลบุญแก่ผู้ตายได้) เสมือนกับที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานต่อบรรดาเด็ก ๆ ด้วยการให้พวกเขาได้เข้าสวรรค์โดยมิได้ปฏิบัติอะมัลใด ๆ"
وَقَالَ الرَّبِيع بْن أَنَس : " وَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى " يَعْنِي الْكَافِر وَأَمَّا الْمُؤْمِن فَلَهُ مَا سَعَى وَمَا سَعَى لَهُ غَيْره . قُلْت : وَكَثِير مِنْ الْأَحَادِيث يَدُلّ عَلَى هَذَا الْقَوْل , وَأَنَّ الْمُؤْمِن يَصِل إِلَى ثَوَاب الْعَمَل الصَّالِح مِنْ غَيْره , وَقَدْ تَقَدَّمَ كَثِير مِنْهَا لِمَنْ تَأَمَّلَهَا , وَلَيْسَ فِي الصَّدَقَة اِخْتِلَاف , كَمَا فِي صَدْر كِتَاب مُسْلِم عَنْ عَبْد اللَّه بْن الْمُبَارَك .
ท่านร่อเบี๊ยะอฺ บิน อะนัส กล่าวว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" (ซึ่งมนุษย์นั้น) หมายถึง คนกาเฟร สำหรับมุอฺมินนั้น ได้มีให้แก่เขากับสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้และสิ่งที่ผู้อื่นได้พากเพียรไว้(แล้วมอบให้แก่เขา)" ฉัน(คืออิมามกุรฏุบีย์)ขอกล่าวว่า มีฮะดิษบรรดามากมายที่บ่งชี้ถึงทัศนะคำพูดนี้ และแท้จริงผู้ศรัทธานั้น ผลบุญอะมัลที่ดีงามจากผู้อื่นจะไปถึงเขาได้ และมีฮะดิษมากมายที่ได้ผ่านมาแล้วสำหรับผู้ที่ทำการใคร่ครวญ และไม่เรื่องการบริจาคทานนั้นไม่มีการขัดแย้งกัน(คือผลบุญถึงผู้ตายโดยไม่มีการขัดแย้งกัน) เหมือนที่ได้กล่าวไว้ในเริ่มแรกของหนังสือ(ซอฮิห์)มุสลิม จากท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัลมุบาร็อก
وَفِي الصَّحِيح : ( إِذَا مَاتَ الْإِنْسَان اِنْقَطَعَ عَمَله إِلَّا مِنْ ثَلَاث ) وَفِيهِ ( أَوْ وَلَد صَالِح يَدْعُو لَهُ ) وَهَذَا كُلّه تَفَضُّل مِنْ اللَّه عَزَّ وَجَلَّ , كَمَا أَنَّ زِيَادَة الْأَضْعَاف فَضْل مِنْهُ , كَتَبَ لَهُمْ بِالْحَسَنَةِ الْوَاحِدَة عَشْرًا إِلَى سَبْعمِائَةِ ضِعْف إِلَى أَلْف أَلْف حَسَنَة ; كَمَا قِيلَ لِأَبِي هُرَيْرَة : أَسَمِعْت رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُول : ( إِنَّ اللَّه لَيَجْزِي عَلَى الْحَسَنَة الْوَاحِدَة أَلْف أَلْف حَسَنَة ) فَقَالَ سَمِعْته يَقُول : ( إِنَّ اللَّه لَيَجْزِي عَلَى الْحَسَنَة الْوَاحِدَة أَلْفَيْ أَلْف حَسَنَة ) فَهَذَا تَفَضُّل . وَطَرِيق الْعَدْل " أَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى " .
ในฮะดิษซอฮิห์ กล่าวว่า "เมื่อมนุษย์คนหนึ่งได้เสียชีวิต อะมัลของเขาได้ขาดตอน นอกจากสามประการ" ซึ่งส่วนหนึ่งในฮะดิษนั้นคือ "บุตรซอและฮ์ที่ดุอาให้แก่เขา" และทั้งหมดนี้ย่อมเป็นความโปรดปรานจากอัลเลาะฮ์ อัซซ่าวะญัลล่า เหมือนกับการเพิ่มทวีคุณผลบุญนั้น เป็นความโปรดปรานจากพระองค์ ซึ่งพระองค์จะทำการบันทัก 1 ผลบุญให้แก่พวกเขากับเท่ากับสิบผลบุญ จาก 10 บุญไปยัง 700 เท่า และ 700 เท่าไปยัง 100000 ความดี เหมือนกับสิ่งที่ได้ถูกถามแก่ท่านอบีฮุร็อยเราะฮ์ว่า "ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวหรือไม่ว่า "แท้จริงอัลเลาะฮ์จะทรงตอบแทน 1 ความดี (เท่าทวีคูณ) ถึง 1000000 ความดี" ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ตอบว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "แท้จริงอัลเลาะฮ์จะทรงตอบแทน 1 ความดี เท่ากับ 2000000 ความดี" ซึ่งดังนี้ก็คือความโปรดปรานของอัลเลาะฮ์ตะอาลา และหนทางของความยุติธรรมนั้น คือ "ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" (หมายถึงหากแม้นว่าพระองค์จะไม่เพิ่มความโปรดปรานเพิ่มผลบุญให้โดยการที่พระองค์ทรงตอบแทนเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งได้พากเพียรเท่านั้น ก็ถือเป็นความยุติธรรมของพระองค์แล้ว และหากพระองค์ทรงเพิ่มให้เหลือจากนั้น ก็ถือเป็นความโปรดปรานสำหรับพระองค์)
قُلْت : وَيَحْتَمِل أَنْ يَكُون قَوْله : " وَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّا مَا سَعَى " خَاصّ فِي السَّيِّئَة ; بِدَلِيلِ مَا فِي صَحِيح مُسْلِم عَنْ أَبِي هُرَيْرَة عَنْ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : ( قَالَ اللَّه عَزَّ وَجَلَّ إِذَا هَمَّ عَبْدِي بِحَسَنَةٍ وَلَمْ يَعْمَلهَا كَتَبْتهَا لَهُ حَسَنَة فَإِنْ عَمِلَهَا كَتَبْتهَا لَهُ عَشْر حَسَنَات إِلَى سَبْعمِائَةِ ضِعْف وَإِذَا هَمَّ بِسَيِّئَةٍ وَلَمْ يَعْمَلهَا لَمْ أَكْتُبهَا عَلَيْهِ فَإِنْ عَمِلَهَا كَتَبْتهَا سَيِّئَة وَاحِدَة ) . وَقَالَ أَبُو بَكْر الْوَرَّاق : " إِلَّا مَا سَعَى " إِلَّا مَا نَوَى ; بَيَانه قَوْله صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( يُبْعَث النَّاس يَوْم الْقِيَامَة عَلَى نِيَّاتهمْ )
ฉัน (คือท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์) ได้กล่าวว่า ได้ถูกตีความกับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" นั้นเฉพาะเจาะจงในเรื่องความชั่วเท่านั้น ด้วยหลักฐานฮะดิษ(กุดซีย์)ที่มีระบุไว้ในซอฮิห์มุสลิม จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ จากท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ความว่า "อัลเลาะฮ์ อัซซ่าวะญัลล่า ทรงตรัสว่า เมื่อบ่าวของฉันตั้งใจกระทำ 1 ความดี แล้วเขาก็ไม่ได้กระทำมัน แน่นอนฉันจะบันทึก 1 ความดีให้แก่เขา ดังนั้น หากว่าเขาได้ปฏิบัติความดีนั้น ฉันจะบันทึกแก่เขา 10 ความดี (โดยเพิ่มทวีคูณ) ถึง 700 เท่า และเมื่อเขาได้ตั้งใจกระทำความชั่วหนึ่ง แล้วเขามิได้ปฏิบัติมัน แน่นอนฉันจะไม่บันทึกความชั่วนั้นให้แก่เขา ดังนั้น หากเขาได้ปฏิบัติมัน ฉันก็จะบันทึกให้เขาเพียง 1 ความชั่ว" อบุบักร์ อัลวัรร็อก ได้กล่าวว่า คำตรัสที่ว่า "นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" หมายถึง "นอกจากสิ่งที่พวกเขาได้ตั้งใจไว้" การอธิบายคำพูดของเขานั้น คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า "มนุษย์จะถูกฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์บนบรรดาสิ่งที่เขาได้ตั้งใจไว้" ตัฟซีรกุรตุบีย์ อธิบายซูเราะฮ์ อันนัจญ์มุ อายะฮ์ 39
والله سبحانه وتعالي أعلي وأعلم