ขอขอบคุณ al-azhary อย่างยิ่งครับ ในการที่ท่านกรุณาให้ความกระจ่างสำหรับกระทูที่ ๖ของผม جزاك اللّه خيرا ئ ผมจะนำไปปฏิบัติต่อไป انشااللّه สำหรับกระทู้ครั้งนี้ น่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ค่อนข้างหนักหนาอยู่ ผมขอแยกออกเป็นประเด็นดังนี้ครับ
๑.เจ้ามรดกได้เขียนพินัยกรรมสั่งไว้ ให้ลูกทุกคนทั้งชายหญิง และเมียได้รับส่วนแบ่งจากทรัพย์ในกองมรดกเท่ากัน โดยระบุจำนวนห้องแถว/ตึกแถวไว้ชัดเจน แต้งตั้งผู้จัดการมรดกไว้เรียบร้อย เมื่อเจ้ามรดกถึงอะญั้ลลงทายาทก็ไปร้องศาลขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามระบุในพินัยกรรม ซึ่งก็ดำเนินการไปตามกระบวนการ ซึ่งอนุมานได้ว่าตรงตามหลักการ คือทรัพย์สินที่ระบุตามพินัยกรรม คือ หนึ่ง ใน สาม (เพราะเจ้ามรดกมีทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์มาก)
๒.ต่อมาผู้จัดการมรดกคนที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกชายคนโต ได้ถึงอะญั้ลลง คงเหลือผู้จัดการมรดกคนที่สองซึ่งเป็นผู้หญิงลูกสาวคนรอง ลูกชายคนเล็กก็ไปร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมคนที่สอง โดยอ้างไว้ไม่ไว้ใจพี่ชายตนรอง ซึ่งศาลท่านก็แต่งตั้งให้ เพราะศาลท่านไม่รู้เรื่องหลักการ"วะเร็ด" ซึ่งลูกชาย:คนรองก็ก็ไม่ได้คัดค้าน
๓. ปรากฏว่ายังมีทรัพย์สินอันเป็นที่ดินอีกสองแปลง ที่เจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้ให้ใครเท่าไหร่ ผู้จัดการมรดกหญิงจะจัดแบ่งให้คนละ ๑ ส่วนเท่า ๆ กัน ตามข้อ ๑ โดยไม่เอาตามหลัก "ฟะรออีด บุตรชายคนรองต้องการให้จัดการแบ่งตามหลักการศาสนา ท่าน al-azhary ลูก ๆ ทำยุ่งอย่างนี้ วิญญาณของเจ้ามรดกจะทุกข์ร้อนไหมครับ ? ผมขอรบกวนท่านอีกสักครับ " ญะซากั้ลลอฮุคอยร์ " วัสสลาม"'(