ผู้เขียน หัวข้อ: เศรษฐศาสตร์อิสลาม  (อ่าน 6231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« เมื่อ: ส.ค. 25, 2007, 01:55 PM »
0

السلام عليكم
วันนี้ขอเสนอเกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆหน่อยนะคร้าบ...เห็นว่ามีประโยชน์
بسم الله الرحمن الرحيم
   ในปัจจุบันสังคมมุสลิมได้มีการตื่นตัวอย่างมากที่จะนำวิถีการดำเนินชีวิตแบบอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และทางด้านอื่นๆ ประชาชาติอิสลามในประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมากของประเทศ เช่นประเทศในตะวันออกกลาง ในแอฟริกา หรือในประเทศที่มุสลิมเป็นประชาชนส่วนน้อยของประเทศ เช่นในอเมริกา ยุโรป และหลายๆประเทศในทวีปเอเชีย

       จำนวนธนาคารและสถาบันการเงินอิสลามที่ดำเนินงานตามหลักการชะรีอะฮฺได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะนี้ธนาคารและสถาบันการเงินอิสลามมีจำนวนมากกว่า 190 แห่งทั่วโลกหัวข้อทางด้านชะรีอะฮฺ การศึกษาอิสลาม และการเงินการธนาคารอิสลาม เป็นที่สนใจของนักวิชาการ นักปฏิบัติ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก ได้มีการสัมมนา การศึกษากลุ่ม และการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลามอย่างกว้างขวางทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก

       ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับสูงทั้งในเอเชีย เช่น สถาบันการศึกษาในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศปากีสถาน ประเทศอินเดีย ประเทศจอร์แดน และประเทศอื่นๆ ที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์อิสลาม การเงินการธนาคารอิสลามทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับสูงกว่าปริญญาตรี สถาบันการศึกษาในโลกตะวันตกก็ได้มีการเปิดการเรียนการสอนทางด้านนี้เช่นเดียวกัน เช่นสถาบันการศึกษาในประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย

       สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ความตื่นตัว และความต้องการของประชาชาติ โดยเฉพาะประชาชาติมุสลิม ที่จะมีรูปแบบทางเศรษฐกิจที่ตามหลักการชะรีอะฮฺ และเป็นรูปแบบทางเลือกจากระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับระบบดอกเบี้ยเช่นในปัจจุบัน ประชาชาติมุสลิมมีความคาดหวังและความต้องการอย่างยิ่งยวดที่จะสามารถนำศาสนาอิสลามที่มีความสมบูรณ์สู่การปฏิบัติในทุกอณูของการดำรงชีวิต

       บทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอหลักเศรษฐศาสตร์อิสลามโดยสังเขป ครอบคลุมเนื้อหาพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์อิสลาม ระบบเศรษฐกิจอิสลาม และหลักการเศรษฐศาสตร์อิสลามด้านต่างๆ เหมาะสมสำหรับการศึกษาเศรษฐศาสตร์อิสลามพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามค่อนข้างน้อย
เกริ่นนำก่อนคร้าบ...

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 25, 2007, 09:45 PM »
0
อ้างจาก: ท่านปรัชญา
เกริ่นนำก่อนคร้าบ...

อินชาอัลลอฮ ... ติดตามอ่านครับ ^^








ปล. ว่าแต่ว่าผู้สันทัดกรณีในด้านเศรษฐศาสตร์ ไม่สนใจจะมาร่วมแจมบ้างหรอ ^^

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ส.ค. 27, 2007, 03:01 PM »
0
รออ่านด้วยคน
ตอนนี้กำลังเรียนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อยู่ด้วย
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ส.ค. 27, 2007, 05:47 PM »
0

อัสลามมุอะลัยกุม

อือนะ ใครเรียนเศรษฐศาสตร์อิสลามบ้างเอามาแบ่งปันหน่อย

รู้คร่าว ๆ ว่าเป้าหมายของเศรษฐศาสตร์อิสลามคือ sharing ^^ (การแบ่งปัน)

يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ส.ค. 30, 2007, 05:19 PM »
0
السلام عليكم
มาแว้ว....
หลักเศรษฐศาสตร์อิสลาม
     ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามนั้นให้ความสำคัญกับความยุติธรรม ความพยายามที่ให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมนั้นจะประสบผลสำเร็จไม่ได้ หากมนุษย์ไม่มีความตระหนักและมีความเข้าใจว่าแท้จริงแล้วนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพระผู้สร้าง และสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบๆตัวเขา ความสัมพันธ์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปัจเจกชน
นิยามเศรษฐศาสตร์อิสลาม
    ได้มีนักเศรษฐศาสตร์อิสลามหลายๆท่านให้นิยามของเศรษฐศาสตร์อิสลามที่มีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันในหลายด้าน Ibn Khandun ได้ให้นิยามเศรษฐศาสตร์ว่า ? การดำเนินชีวิตของมนุษย์จากรูปแบบหรือความต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพและความพยายามต่างๆเพื่อให้ได้มา ? แน่นอนทีเดียวคนที่เป็นมุสลิมย่อมมีหลักการและรูปแบบในการดำเนินการนี้ที่แตกต่างจากประชาชาติอื่นๆ แต่โดยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นผู้ที่ลืมง่าย และละเลยหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเอง มุสลิมจึงต้องการนิยามเศรษฐศาสตร์อิสลามที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย

ท่าน Akram Khan ได้ให้นิยามเศรษฐศาสตร์อิสลามไว้ว่า ? เป็นการศึกษาถึง อัลฟาละฮฺ (al-falah ) ของมนุษย์ผ่านการจัดสรรทรัพยากรตั้งอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ท่าน Hasan-uz-Zaman กล่าวว่า ? เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์และการใช้หลักการและกฏข้อบังคับของชะรีอะฮฺเพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการใช้ทรัพยากรตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และทำให้เขาสามารถปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ และสังคมโดยรวม ?

ท่าน Masudul Alam Choudhury ได้ให้นิยามของเศรษฐศาสตร์อิสลามว่า ? การศึกษาประวัติศาสตร์ การสังเกต และทฤษฎีในการวิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ และสังคมโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการอิสลาม ? ท่าน Mannan ได้กล่าวว่า ? เศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นวิชาแขนงหนึ่งทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยใช้หลักการอิสลาม ?

        สรุปความหมายข้างต้น เศรษฐศาสตร์อิสลามเป็นวิชาว่าด้วยกิจกรรมของมนุษย์ที่สอดคล้องกับหลักการชะรีอะฮฺในด้านการจัดหา การใช้หรือบริโภค การจัดการ และจัดสรรทรัพยากรเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และส่วนรวม เพื่อให้ได้มาซึ่งความโปรดปรานของอัลลอฮฺ สิ่งที่มีความสำคัญคือ เครื่องมือซึ่งได้แก่ทรัพยากร อิสลามให้เป็นประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า สิ่งต่อมาคือหลักการ เพราะมุสลิมเป็นที่เชื่อมั่นในหลักการของอิสลาม จึงจำเป็นต้องนำหลักการนั้นมาใช้ในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป้าหมายก็เป็นอีกอย่างที่มีความสำคัญ เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์อิสลามสามารถมองได้สองระดับ คือ เป้าหมายตอบสนองความต้องการ และเป้าหมายที่เป็นหน้าที่ ความนอบน้อมต่อพระเจ้า และ อัลฟาละฮฺ (al-falah )
แค่นี้ก่อนคร้าบ...
والسلام
 ;D ;D ;D
 

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ส.ค. 31, 2007, 11:26 PM »
0

ตามอ่านอยุ่จ่ะ  ;D ยะซากัลลอฮฺ
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ก.ย. 01, 2007, 02:07 PM »
0
ความหมายเศรษฐศาสตร์อิสลาม
มูฮัมหมัด อับดุลลอฮฺ อัลอารอบีย์ "หลักกการต่างๆทางเศรษฐกิจที่รวบรวมมาจากอัลกุรอ่านและอัซซุนนะห์ และยังแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ได้รับการบูรณาการมาหลักการพื้นฐานต่างๆดังกล่าว  สามารถใช้ได้กับทุกสถานภาพและยุคสมัย
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ nur_ihsan12

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 12
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธ.ค. 13, 2008, 09:59 AM »
0

อัสลามมุอะลัยกุม

อือนะ ใครเรียนเศรษฐศาสตร์อิสลามบ้างเอามาแบ่งปันหน่อย

รู้คร่าว ๆ ว่าเป้าหมายของเศรษฐศาสตร์อิสลามคือ sharing ^^ (การแบ่งปัน)


salam
เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์อิสลามคือ อัลฟาละฮฺ (al-falah )
ส่วนนิยามของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก คือ การใช้ทรัพยากรที่ทีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
แต่ในทางอิสลามไม่สามารถเอานิยามนี้มาใช้ได้หมด เนื่องจากทรัพยากรที่ได้มานั้นมาจากอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นริสกีที่ได้มาจากอัลลอฮฺ
ซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าริสกีที่อัลลอฮฺทรงประทานให้นั้นมีจำนวนมากเพียงใด ซึ่งไม่ใช่ริสกีที่จำกัด
ผิดพลาดประการใด
ฮารัฟมาอัฟ

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธ.ค. 13, 2008, 11:46 AM »
0
 salam

กรรมสิทธิ์ในสรรพสิ่งทั้งปวงนั้นเป็นของอัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง " และของอัลลอฮฺคือปริมณฑลแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน  และที่อยู่ในระหว่างมันทั้งสอง"อิสลามถือว่าปัจจัยตามธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น แผ่นดิน น้ำ และความอุดมสมบูรณ์อื่นๆนั้น มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด  มนุษย์เป็นแต่เพียงผู้ดูแลรักษาเท่านั้น และการดูแลรักษานั้นก็มีเงื่อนไขให้มนุษย์นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเสมอภาคกัน  มิใช่เพื่อเอารัดเอาเปรียบหรือสร้างความมั่งคั่งให้แก่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด  ดังนั้น อิสลามจึงอนุมัติให้มีการแสวงหาทรัพย์สินและมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งที่แสวงหามาได้  แต่ก็กำหนดให้เจ้าของทรัพย์สินนั้นใช้มันไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
สรุปก็คือ    ขณะที่อิสลามอนุญาติให้บุคคลแสวงหาหรือผลิตสินค้า  อิสลามก็กระตุ้นให้บุคคลไม่ลืมว่า  เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเตือนให้เขาเห็นถึงความจำเป็นในอันที่จะปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของเพื่อนร่วมโลกของเขาด้วย

1. จะต้องนำทรัพย์สินมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่โดยไม่สร้างความเสียหายให้แก่สังคม
2. จะต้องจ่ายซะกาต
3. จะต้องใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ
4. จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของดอกเบี้ย
5. จะต้องหลีกเลี่ยงจากการเกี่ยวข้องกับการทุจริต การสะสม การกักตุน  และการผูกขาด

 loveit:

ออฟไลน์ MaN-In-ThE-ShAdOw-Of-MoOn

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธ.ค. 13, 2008, 03:32 PM »
0
 salam

ญาซากั้ลลอฮุคอยรอน

ว่ากันต่อเลย

เอาหน้าตั้ง  เอาตารอ

ต่อๆ hehe

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: เศรษฐศาสตร์อิสลาม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธ.ค. 13, 2008, 03:37 PM »
0
แปะไว้ก่อน
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

 

GoogleTagged