ผู้เขียน หัวข้อ: การทำบุญเป็นทานซอดาเกาะฮ์แก่ผู้ตายเจ็ดวัน  (อ่าน 8134 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بسم الله الرحمن الرحيم

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته وطيباته

กรณีทำบุญเป็นทานซอดาเกาะฮ์ที่บ้านครอบครัวผู้ตายนั้น เป็นประเด็นที่สร้างความกระด้างกระเดื่องในบรรดาพี่น้องมุสลิมด้วยกัน อันเนื่องจากการมีทัศนะที่แตกต่างกันและขาดความเข้าใจ ถึงปัญหาเหล่านี้ ที่จริงเราน่าจะมาสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันในหมู่พี่น้องมุสลิมจะดีกว่า และก็พยายามชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว

เพราะการทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทานซอดาเกาะฮ์นั้น คือการทำอาหารเลี้ยงเพื่อเป็นทานศอดาเกาะฮ์ หรือทำเป็นทานเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย โดยมีการล้อมวงซิกิร อ่านอัลกุรอาน อิสติฆฟาร และขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ทำอาหารเลี้ยง ขอดุอาอ์ให้แก่บรรดามุสลิมที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว


การรวมตัวกันปลอมใจครอบครัวผู้ตายและครอบผู้ตายทำอาหารให้

การรวมตัวที่บ้านครอบครัวมัยยิดเพื่อทำการปลอบใจและครอบมัยยิดต้องทำอาหารเลี้ยงนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่มักโระฮ์(ไม่ควรกระทำ)ตามทัศนะของปวงปราชญ์ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการสร้างความโศกเศร้ายิ่งขึ้นให้กับครอบครัวมัยยิด ตามประเพณีชนอาหรับในยุคก่อนนั้น เมื่อมีญาติพี่น้องของพวกเขาได้เสียชีวิต พวกเขาจะไปรวมตัวกันที่บ้านครอบครัวผู้ตาย เพื่อทำการปลอบใจและไว้อาลัย เมื่อมีผู้คนมารวมตัวกัน ด้วยความละอายของครอบครัวผู้ตาย จึงต้องทำอาหารเลี้ยง ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริมแต่อย่างไร เนื่องจากจะเป็นการตอกย้ำความโศรกเศร้าให้แก่ครอบมัยยิดแล้ว ก็ยังต้องเป็นภาระแก่พวกเขาในการทำอาหารเลี้ยงอีกด้วย

ท่านอิมามอะหฺมัด และท่านอิบนุมาญะฮ์ ได้รายงาน ด้วยสายสืบที่ซอฮิหฺ จากท่าน ญะรีร บิน อับดุลและฮ์ ว่า

كنا نعد الإجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام من النياحة

" เราเคยถือว่า การรวมตัวกัน ที่ครอบครัวของผู้ตาย และการที่พวกเขาทำอาหารนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการ คร่ำครวญถึงผู้ตาย"

ตามนี้นั้น บรรดาอุลามาอ์หะนะฟีย์กล่าวว่า เป็นการมักโระฮ์ ต่อการทำอาหารในวันที่หนึ่ง สอง และสาม และหลังจากหนึ่งสัปดาห์" ดู หาชียะฮ์ อิบนุ อาบิดีน เล่ม 2 หน้า 240

อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

وأما صنعة أهل الميت طعاما يدعون الناس إليه، فهذا غير مشروع وإنما هو بدعة، بل قد قال جرير بن عبد كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت، وصنعتهم الطعام للناس من النياحة‏

"สำหรับการที่ครอบครัวผู้ตายทำอาหาร เชิญผู้คนมานั้น ถือว่าสิ่งนี้ ไม่มีบัญญัติใช้ และแท้ที่จริงมันเป็น บิดอะฮ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านญะรีร บุตร อับดุลลอฮ (ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า ?พวกเราเคยนับ การชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและการที่พวกเขาทำอาหาร ให้ผู้คนกินกันนั้น เป็นสวนหนึ่งจากการคคร่ำครวญ " ดู ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 316

ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน ได้กล่าวรูปแบบของอาหรับเอาไว้ว่า

فى العرف الخاص فى بلدة لمن بها من الأشخاص إذا إنتقل إلى دار الجزاء وحضر معارفه وجيرانه العزاء، جرى العرف بأنهم ينتظرون الطعام، ومن غلبة الحياء على أهل الميت يتكلفون التكليف التام، ويهيئون لهم أطعمة عديدة، ويحضرونها لهم بالمشقة الشديدة

"ถือเป็นประเพณีที่เฉพาะ ในเมืองหนึ่งเมื่องใดแก่บรรดาบุคคลต่างๆ ที่อยู่เมืองนั้นๆ เพราะเมื่อมีผู้ที่กลับไปสู่โลกแห่งการตอบแทน(กลับไปสู่ความเมตตาของอัลเลาะฮ์) บรรดาคนรู้จักและบรรดาเพื่อนบ้านก็จะมารวมตัวกัน(ที่บ้านครอบครัวผู้ตาย)เพื่อจะทำการปลอบใจ ประเพณีนี้ก็มีอยู่ว่า พวกเขาเหล่านั้นจะรอรับประทานอาหารกัน และเนื่องจากความละอายอย่างยิ่งที่มีต่อครอบครัวผู้ตาย พวกเขาจึงรับภาระในค่าใช้จ่ายแบบเสร็จสรรพ แล้วครอบครัวผู้ตายก็ทำการตระเตรียมอาหารให้แก่พวกเขาหลายอย่าง และครอบครัวผู้ตายก็นำอาหารเหล่านั้นมาให้กับพวกเขาด้วยความลำบากอย่างที่สุด" ดู เล่ม 2 หน้า 228

ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน กล่าวระบุไว้ว่า

ويكره لأهل الميت الجلوس للتعزية ، وصنع طعام يجمعون الناس عليه ، لما روى أحمد عن جرير بن عبد الله الجبلى ، قال : كنا نعد الإجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام بعد دفنه من النياحة...ويستحب لجيران أهل الميت...أن يصنعوا لأهله طعاما يكفيهم يوما وليلة ، وأن يلحوا عليهم فى الأكل . ويحرم صنعه للنائحة، لأنه إعانة على معصية

"ถือเป็นมักโระฮ์(ไม่ทำจะเป็นการดี) สำหรับครอบครัวผู้ตาย กับการนั่งเพื่อทำการปลอมใจ และ(ครอบครัวผู้ตาย)ทำอาหารโดยที่พวกเขาทำการรวมผู้คน(ที่มาปลอบใจ)มารับประทานอาหาร เพราะมีร่องรอยที่รายงานโดย ท่านอะหฺมัด จากท่าน ญะรีร บิน อับดิลลาฮ์ อัล-ญะบะลีย์ เขาได้กล่าวว่า เราถือว่า การรวมตัวที่บ้านผู้ตายและการที่ครอบครัวผู้ตายต้องทำอาหารหลังจากฝังมัยยิดแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัย.....และสุนัติให้กับเพื่อนบ้านของครอบครัวผู้ตาย ทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิด ให้เพียงพอกับพวกเขาในวันหนึ่งและคืนหนึ่ง และทำการคะยั้นคะยอให้พวกเขารับประทาน ,และหะรอมทำอาหารแก่หญิงที่ทำการคร่ำครวญไว้อาลัย เพราะมันเป็นการช่วยให้ทำกับสิ่งที่ฝ่าฝืน " ดู เล่ม 2 หน้า 227 ดารุลฟิกรฺ

ท่าน อัลลามะฮ์ ญะมัล ได้กล่าวไว้ใน ชัรหฺ อัลมันฮัจญฺ ว่า

"แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น อาจกลายเป็นหะรอม หากเอามาจากทรัยพ์ที่ถูกอายัดไว้ หรือจากทรัพย์ที่จะชดใช้หนี้ให้แก่มัยยิด หรือทรัพย์ที่ทำให้เกิดโทษ(เดือดร้อน) และอื่นๆ ที่เหมือนกับสิ่งดังกล่าว" ดู อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน เล่ม 2 หน้า 228

ท่าน อะหฺมัด บิน ซัยนีย์ ดะหฺลาน กล่าวฟัตวาไว้ว่า

"ไม่เป็นที่สงสัยว่า การห้ามผู้คนจากการทำบิดอะฮ์ที่น่าตำหนินี้ เป็นการฟื้นฟูซุนนะฮ์ และทำให้บิดอะฮ์ตายไปนั้น(คือการที่ไปรวมตัวกันปลอมใจและรออาหารเลี้ยงจากครอบครัวผู้ตาย) และเป็นการเปิดประตูแห่งความดี และปิดประตูแห่งความชั่ว เพราะแท้จริง บรรดาผู้คน(ครอบครัวผู้ตาย) ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจนอาจจะทำให้การทำอาหารนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม" ดู อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน เล่ม 2 หน้า 228

ท่านอิมามรอมลีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นะฮายะตุลมั๊วะตาจญฺ ว่า

ويكره كما فى الأنوار وغيره أخذا من كلام الرافعى والمصنف أنه بدعة لأهله صنع طعام يجمعون الناس عليه قبل الدفن وبعده لقول جرير : كنا نعد ذلك من النياحة، والذبح والعقر عند القبر مذموم للنهى

" และถือว่าเป็นมักโระฮ์ - ดังที่ได้ระบุไว้ในหนังสือ อัลอันวารและหนังสือเล่มอื่นๆ - โดยเอามาจาก คำกล่าวของ ท่านอัรรอฟิอีย์และผู้ประพันธ์หนังสือมินฮาจ(คืออิมามนะวาวีย์) ว่า มันเป็นบิดอะฮ์(ที่มักโระฮ์)แก่ครอบครัวผู้ตาย ที่ทำอาหารโดยที่ผู้คนได้รวมตัว(เพื่อมาปลอบใจและไว้อาลัย)กันเพื่อรับประทานอาหารนั้น ไม่ว่าจะก่อนฝังหรือหลังฝังมัยยิด เพราะคำกล่าวของท่านญะรีรที่ว่า "เราถือว่าสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัย" และการเชือดสัตว์ที่กุบูร ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ เพราะได้มีบัญญัติห้ามมัน" ดู เล่ม 3 หน้า 42 ตีพิมพ์ มุสต่อฟา หะละบีย์

และเป้าหมายที่บิดอะฮ์น่าตำหนิหรือบิดอะฮ์มักโระฮ์นี้ ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ ได้กล่าวอธิบายไว้ว่า

لما صح عن جرير رضى الله عنه كنا نعد الإجنماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام بعد دفنه من النياحة ووجه عده من النياحة ما فيه من شدة الإهتمام بأمر الحزن ومن ثم كره اجتماع أهل الميت ليقصدوا بالعزاء

"เพราะว่า มีสายรายงานที่ซอฮิหฺจากท่านญะรีร(ร.ฏ.) ที่ว่า "เราถือว่าการรวมตัวกันที่ครอบครัวผู้ตาย และครอบครัวผู้ตายทำอาหารให้หลังจากฝังมัยยิดแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัยคร่ำครวญ" หนทางที่นับว่ามันเป็น การอาลัยคร่ำครวญ คือ สิ่งที่ได้มาจากการไปเน้นหนักสิ่งที่ทำให้โศรกเศร้า และจากดังกล่าวนั้น จึงถือเป็นมักโระฮ์ต่อการรวมตัวไปยังบ้านครอบครัวผู้ตายโดยที่พวกเขาตั้งใจจะทำการปลอมใจ" ดู หนังสือตั๊วะหฺ ฟะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ เล่ม 3 หน้า 207 ตีพิมพ์ ดาร. เอี๊ยะหฺยา อัตตุร๊อษ อัลอะร่อบีย์

และอ่านไปอีก หนึ่งบรรทัด ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวต่อว่า

نعم ان فعل لأهل الميت مع العلم بأنهم يطعمون من حضرهم لم يكره

" แต่ว่า หาก(อาหาร)ที่ถูกทำให้แก่ครอบครัวผู้ตาย พร้อมกับรู้ว่า ครอบครัวมัยยิด จะนำไปเลี้ยงอาหาร แก่ผู้ที่มาหาพวกเขา ก็ถือว่าไม่มักโระฮ์ " ดู หนังสือตั๊วะหฺ ฟะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ เล่ม 3 หน้า 207 - 208

ดังนั้น จากที่ได้กล่าวมาแล้ว เราพอสรุปได้ว่า การรวมตัวที่บ้านครอบครัวผู้ตายเพื่อการนั่งกันปลอบใจและครอบครัวผู้ตายต้องทำอาหารเลี้ยงเพียงลำพังนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริมแต่ประการใด แต่หากเราทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ทั้งที่รู้ว่า ครอบครัวผู้ตายจะนำอาหารนั้นไปให้กับผู้ที่มาเยี่ยมเยือนพวกเขาก็ถือว่าเป็นที่อนุญาติและไม่เป็นมักโระฮ์แต่ประการใดตามที่อิบนุหะญัรอัลฮัยตะมีย์ได้วินิจฉัยเอาไว้
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การทำอาหารให้กับครอบครัวมัยยิด

เมื่อมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต เราควรอย่างยิ่ง ในการไปช่วยเหลือครอบมัยยิด ด้วยการทำอาหารให้กับพวกเขาให้อิ่มท้องในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ซึ่งมันเป็นซุนนะฮ์ของท่านร่อซูลุลอฮ์(ซ.ล.)

ท่านอิมาม อัตติรมีซีย์ , ท่านอัล-หากิม และบุคคลอื่นจากทั้งสอง ได้รายงานว่า แท้จริงท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า

اصنعوا لأل جعفر طعاماً فقد جاءهم ما يشغلهم

"พวกท่านจงทำอาหารให้แก่ครอบครัวของญะฟัร เพราะแท้จริง สิ่งที่ทำให้พวกเขายุ่งนั้นมาแล้ว"

หะดิษนี้ ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า หะซัน และท่านฮากิมกล่าวว่า หะดิษนี้ ซอฮิหฺ

บรรดาปวงปราชญ์กล่าวว่า สุนัตให้เพื่อนบ้านเรือนเคียงหรือบรรดาญาติห่างๆ ทำการตระเตรียมอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย โดยทำให้พวกเขาอิ่มในวันหนึ่งและคืนหนึ่ง และดังกล่าวนี้คือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมากและเป็นแนวทางของมัซฮับทั้งสี่

ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า" ฉันรัก ที่จะให้เพื่อนบ้านของผู้ตาย หรือบรรดาญาติของผู้ตาย ทำอาหารให้กับครอบมัยยิด ในวันที่ได้มีผู้เสียชีวิต และอีกหนึ่งคืนของวันนั้น โดยที่ทำให้พวกเขาอิ่ม เพราะสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นซุนนะฮ์ และเป็นการระลึกที่มีเกียรติ และมันเป็นการกระทำของพวกคนดีที่อยู่ก่อนเราและหลังเรา" ดู หนังสือ อัล-อุมมฺ เล่ม 1 หน้า 247

การทำอาหารให้แก่ครอบครัวของมัยยิดนั้น เป็นสุนัต ไม่ใช่ เป็นวายิบ ดังนั้น การที่เราไม่ทำอาหารให้พวกเขานั้น ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮ์หรือกระทำบาป แต่ถือว่าเป็นมักโระฮ์ คือกระทำแล้วได้ผลบุญ หากไม่กระทำก็ไม่ได้รับโทษอะไร เนื่องจากสิ่งที่วายิบ(แบบฟัรดูกิยาฟะฮ์)ต่อบรรดาพี่น้องมุสลิมนั้น คือการจัดการเกี่ยวกับมัยยิด , การอาบน้ำศพ , ห่อ , ละหมาด และฝัง และการที่ศาสนา ใช้ให้บรรดาพี่น้องมุสลิมทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิดในหนึ่งวันและหนึ่งคืนนั้น เนื่องจากพวกเขากำลังโศกเศร้ากอปรกับมีภาระยุ่งอยู่กับการจัดการเรื่องมัยยิด

ข้อเสนอแนะ

แต่ระบบของสังคมบ้านเรานั้นถือว่าดี คือมี การทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิดและให้พวกเขารับประทานจนอิ่มนั้น เป็นเรื่องที่บรรดาพี่น้องมุสลิมเมืองไทยบ้านเราทำกันอยู่แล้ว และยิ่งไปกว่านั้น บรรดาพี่น้องมุสลิมก็จะช่วยกันทำอาหารและทำบุญให้กับครอบครัวของมัยยิด โดยที่พวกเขาจะทำการบริจาคเงินในขณะที่ไปเยี่ยมผู้ตาย และมีระบบการช่วยเหลือที่ดี ปัจจุบันนี้ หลายท้องที่ มีระบบการช่วยเหลือที่ดี คือจะมีการรวมกลุ่มเป็นสมาชิก เพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยผู้เป็นอิมามประจำมัสยิด หรือผู้นำในท้องถิ่น ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาและทำการนำเสนอโครงการร่วมเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจเพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยมีการตกลงร่วมกันว่า หากมีพี่น้องมุสลิมคนใดเสียชีวิต พวกเราจะทำการช่วยเหลือกันในวงเงินอย่างต่ำ เท่านั้น เท่านี้ แล้วแต่สมาชิกในหมู่บ้านจะตกลงกัน เช่น อย่างต่ำ 50 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต กรรมการก็จะทำการเก็บเงินของสมาชิกที่ได้ถูกระบุชื่อที่ตกลงกันไว้ หากมีสมาชิก 100 คน ก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 5000 บาท และหากมีสมาชิก 200 คน ครอบครัวผู้ตายก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 10000 บาท ซึ่งดังกล่าวนี้ ถือว่เป็นการเป็นการริเริ่มและช่วยเหลือกันการในการทำความดีงามเลยทีเดียว

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสียชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)

ดังนั้น จำนวนเงินดังกล่าวที่บรรดาพี่น้องมุสลิมได้ช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ตายนั้น ถือเป็นโอกาสดีที่ครอบผู้ตายจะทำการเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลเป็นทานซอดาเกาะฮ์ให้กับผู้ตาย โดยบรรดาพี่น้องมุสลิม มาช่วยกันทำอาหารที่บ้านครอบครัวมัยยิดและทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิดไปพร้อม ๆ กัน และเราจะทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานกี่วันก็ได้ แล้วแต่จะสะดวก หนึ่งวัน สองวัน หรือสามวันก็ดี หากทำบุญ 7 วันก็ยิ่งดี นั่นสำหรับผู้ที่มีความสามารถ ส่วนครอบครัวที่ไม่มีความสามารถและไม่มีระบบการช่วยเหลือจากพี่น้องมุสลิมที่ดี ก็ไม่สมควรหรือกระเสือกกระสนไปทำบุญ บางท่านถึงกับยืมเงินผู้อื่นมาทำบุญ(อาจจะมีแต่ผมไม่เคยได้ยิน) ซึ่งกรณีแบบนี้ ถือว่าเป็นการกระทำที่น่าตำหนิเป็นอย่างยิ่ง อาจจะถึงขั้นหะรอม - วัลลอฮุอะลัม หากทายาทของมัยยิดต้องการจะทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานซอดะเกาะฮ์แก่มัยยิดนั้น ก็สามารถกระทำได้เมื่อมีความสะดวกโดยไม่ต้องไปจำกัดว่าต้อง 40 วัน หรือ 100 วัน - วัลลอฮุอะลัม และถ้าหากทายาทผู้ตาย มีความพร้อมและตกลงกันในการทำบุญเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลเป็นทานศอดะเกาะฮ์แด่มัยยิด ก็อนุญาติให้กระทำได้ตามโอกาสและความสะดวก และทำได้ทุกเวลา แม้จะเป็นการให้อาหารหรือเลี้ยงอาหารแค่ 2 - 3 คน ก็ถือว่ากระทำได้ และผู้ตายก็ได้รับผลบุญนั้นด้วย และหากว่ามัยยิดของทายาทเป็นบิดามารดาแล้ว ก็จะได้รับผลบุญโดยตรงไม่ว่าจะทำมากทำน้อยและไม่ว่าจะเป็นเวลาใด - วัลลอฮุอะลัม

หากครอบครัวหรือทายาทผู้ตาย มีทรัพย์สินมากพอและมีมติในหมู่ทายาท ว่าให้ทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อซอดาเกาะฮ์เป็นทานแก่ผู้ตายนั้น ก็อนุญาติให้กระทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคอาหารแบบข้าวสาร หรือทำการปรุงอาหารเลี้ยงพี่น้องมุสลิม ก็ถือว่าให้กระทำได้ หากมีทายาทบางคนไม่ยินยอมในการเอาทรัพย์สินมาทำบุญเลี้ยงอาหาร ก็อนุญาตให้ทายาทที่ต้องการจะทำบุญเลี้ยงอาหารนั้น เอามรดกส่วนที่เขาได้รับมาทำบุญเลี้ยงอาหารได้ ดังนั้น ผู้อ่านโปรดเข้าใจว่า มรดกหรือทรัพย์สินที่ผู้ตายทิ้งไว้ให้ทายาทนั้น ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ตาย การนำทรัพย์สินมาใช้ ก็ต้องได้รับการยินยอมจากทายาท แต่มีบางคนพูดอย่างผิด ๆ ว่า "มันเป็นมรดกของคนตาย" หากกินบุญก็เท่ากับกินมรดกของคนตาย!!! ซึ่งคำพูดแบบนี้ ถือว่าผิดและไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา เนื่องจากผู้ตายนั้นไม่มีทรัพย์สินใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเขาแล้ว แต่มันเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท และหากผู้ตายยังมีหนี้สินอยู่ ก็ไม่อนุญาตให้เอาทรัพย์มรดกที่ผู้ตายทิ้งไว้มาทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทาน ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมรดกของผู้ตายไม่สามารกใช้หนี้ได้พอ และการที่มรดกผู้ตายทิ้งไว้ให้ เป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กกรำพร้าก็ไม่อนุญาตให้นำมาทำบุญเป็นทานเพราะเนื่องจากมันเป็นกรรมสิทธิ์ของพวกเขา และหากบรรดาทายาทนำเงินที่พวกเขามี มาสมทบกันทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานแก่มัยยิดนั้น ก็อนุญาตให้กระทำได้ แต่ทางที่ดีที่สุดนั้น บรรดาพี่น้องมุสลิมต้องช่วยกันบริจาคช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ตายและช่วยกันทำอาหารให้กับพวกเขาด้วยการมีระบบช่วยเหลือที่ดี  วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักฐานที่อนุญาตให้ทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานเจ็ดวัน

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การรวมตัวที่บ้านมัยยิดเพื่อทำการปลอบใจไว้อาลัยและรอครอบมัยยิดทำอาหารเลี้ยงให้ตามลำพังนั้น เป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริม ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่พี่น้องมุสลิมบ้านเราปฏิบัติกันอยู่ด้วยการทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์ กล่าวคือ ไปรวมตัวกันเพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน ทำซิกรุลเลาะฮ์ กล่าวตะฮ์ลีล อิสติฆฟาร และทำการดุอาอ์ให้แก่มัยยิด โดยที่บรรดาพี่น้องมุสลิมได้ช่วยเหลือกันทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิด ซึ่งการกระทำสิ่งดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผลประโยชน์แก่ผู้ตายอย่างแท้จริง ฉะนั้น ข้อแตกต่างนี้เราจึงสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนและอย่าเอาไปเหมารวมกัน และเป็นที่ทราบดีว่า "หลักหุกุ่มชะรีอะฮ์นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ที่กระทำ(มะกอศิด)" ดังนั้น การทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทานศอดะเกาะฮ์ที่พี่น้องมุสลิมบ้านเราทำกันนั้น ไม่ใช่เพื่ออื่นใด นอกจากเป็นการ "ทำทานซอดาเกาะฮ์" เพื่อเป็นประโยชน์แก่มัยยิดเท่านั้นเอง

ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ทำการรายงาน จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอิมามอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า

سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام

" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ท่าน ชัยค์ อัลอะซ่อมีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดิษนี้ قوى (มีน้ำหนัก) ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 199

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวรายงานเช่นกันว่า

ذكر الرواية المسندة عن طاوس : قال الإمام أحمد بن حنبل رضى الله عنه فى كتاب الزهد له : حدثنا هاشم بن القاسم قال : حدثنا الأشجعى عن سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعم عنهم تلك الأيام
 
"กล่าวสายรายงานถึงท่าน ฏอวูส  ซึ่งท่านอิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล (ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัซซุฮฺดิ  ของท่านว่า  ได้เล่าให้เราทราบโดย ฮาชิม บิน อัลกาซิม  เขากล่าวว่า  ได้เล่าให้เราทราบโดย ท่านอัลอัชญะอีย์  จากท่านซุฟยาน  เขากล่าวว่า  ท่านฏอวูส กล่าวว่า "ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว"  ดู หนังสือ  อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา  เล่ม 2 หน้า 216 ดารุลฟิกร์  ตีพิมพ์ 2004 - 1424 ฮ.ศ

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าววิจารณ์สายรายงานว่า

رجال الإسناد الأول رجال الصحيح  وطاوس من كبار التابعين  ، قال أبو نعيم فى الحلية : هو أول الطبقة من أهل اليمن ، وروي عنه أنه قال : أدركت خمسين من أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم ، ورى غيره عنه قال : أدركت سبعين شيخاً من أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم  قال ابن سعد : كان له يوم مات بضع وتسعون سنة . وسفيان - هو الثورى - وقد أدرك طاوسا فإن وفاة طاوس سنة بضع عشرة ومائة فى أحد الأقوال ، ومولد سفيان سنة سبع وتسعين إلا أن أكثر روايته عنه بواسطة . والأشجعى اسمه عبيد الله بن عبيد الرحمن ، وبقال ابن عبد الرحمن

"บรรดานักรายงานของสายรายงานแรกนั้น  เป็นนักรายงานที่ซอฮิหฺ  และท่านฏอวูส ก็เป็นตาบิอีนระดับอาวุโส  , ท่านอบูนุอัยม์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลฮิลยะฮ์ ว่า  ท่านฏอวูสคือนักรายงานระดับชั้นต้น ๆ ของเยเมน  และอบูนุอัยม์ได้รายงานจากเขาว่า  "ข้าพเจ้าได้พบบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ถึง 50 ท่าน"  และบุคคลอื่นจากท่านอบูนุอัยม์ได้รายงานจากท่าน ฏอวูส ซึ่งเขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้พบกับบรรดาซอฮาบะฮ์ร่อซูลุลเลาะฮ์ระดับอาจารย์ถึง 70 ท่าน"  , ท่านอิบนุ สะอัด กล่าวว่า "ท่านฏอวูสเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 90 กว่าปี"   และท่านซุฟยาน - อัษเษารีย์ - นั้น แท้จริงเขาได้พบกับท่านฏอวูส  เพระท่านฏอวูสเสียชีวติในปีที่ 110 กว่า ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งจากหลายคำกล่าว(ที่ได้ยืนยันไว้)  และท่านซุฟยานเกิดในปีที่ 97  แต่ว่า ส่วนมากของการรายงานของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูสนั้น ด้วยการมีสื่อกลาง  และท่านอัลอัชญะอีย์  มีนามว่า  อุบัยดุลเลาะฮ์ บุตร อุบัยดุรเราะหฺมาน  ซึ่งถูกเรียกในนาม อิบนุ อับดุรเราะห์มาน"  ดู  หนังสือ  อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา  เล่ม 2 หน้า 216 ดารุลฟิกร์  ตีพิมพ์ 2004 - 1424 ฮ.ศ
ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวอีกว่า

إذا تقرر أن أثر طاوس حكمه حكم الحدبث المرفوع المرسل وإسناده إلى التابعى صحيح كان حجة عند الأئمة الثلاثة أبى حنيفة ، ومالك ، وأحمد مطلقا من غير شرط ، وأما عند الإمام الشافعى رضي الله عنه فإنه بحتج بالمرسل اعتضد بأحد أمور مقررة  فى محلها  ، منها مجىء أخر أو صحابي بوافقه ، والإعتضاد ههنا موجود فإنه روي مثله عن مجاهد ،و عن عبيد بن عمير

"เมื่อได้รับการยืนยันแล้วว่า  การรายงานของท่านฏอวูสนั้น  ฮุกุ่มของมันคือ ฮุกุ่มหะดิษมัรฟั๊วะอฺมุรซัล  และสายรายงานของมันก็คือ ไปยังตาบิอีนนั้น ถือว่าซอฮิหฺ  อีกท้งเป็นหลักฐานตามทัศนะของอิมามทั้ง 3 คือ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ , อิมามมาลิก , อิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล โดยไม่มีข้อแม้และเงื่อนไขใด ๆ  และสำหรับอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) นั้น  ท่านจะทำการอ้างหลักฐานด้วยกับหะดิษมุรซัลที่ได้รับการสนับสนุน ด้วยหนึ่งจากบรรดาประการต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ในเรื่องของมัน  ส่วนหนึ่งคือ มีสายรายงานอื่นรายงานมาอีก และมีซอฮาบะฮ์ให้ความเห็นพร้องกับมันด้วย  และการสนับสนุน ณ ที่นี้  ก็มี  เพราะแท้จริง  ได้ถูกรายงานเหมือนกับท่านฏอวูส  ที่มาจากท่านมุญาฮิด และจากท่านอุบัยด์ บิน อุมัยร์" ดู  หนังสือ  อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา  เล่ม 2 หน้า 220

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าววิจารณ์สายรายงานว่า

وأثر طاوس شاهد قوى له يرقيه إلى مرتبة الصحة

"สายรายงานของท่านฏอวูสนั้น มีผู้รายงานอื่นที่มีน้ำหนักมาสนับสนุน โดยยกระดับมันไปสู่ระดับขั้นซ่อฮิหฺ" ดู  หนังสือ  อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา  เล่ม 2 หน้า 220  ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า

ويكون الحديث اشتمل علي أمرين : أحدهما أصل إعتقادى وهو فتنة الموتي سبعة أيام ، والثاني حكم شرعى فرعي وهو إستحباب التصدق والإطعام عنهم مدة تلك الأيام السبعة كما استحب سؤال التثبيت بعد الدفن ساعة

"หะดิษของท่านฏอวูสนี้  ได้ครอบคลุมถึง 2 ประการ  ประแรก คือหลักฐานทางด้านการยึดมั่น   คือบรรดาผู้ตายจะถูกสอบถาม 7 วัน ประการที่สอง คือชอบที่จะให้ทำการบริจาคท่าน และให้อาหาร แทน(เป็นทาน)มัยยิด ในช่วงระยะเวลา 7 วัน  เสมือนกับที่พวกเขาชอบที่จะดุอาอ์ขอให้มัยยิดมีคำตอบที่มั่นคงหลังจากฝังชั่วเวลาหนึ่ง" ดู  หนังสือ  อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา  เล่ม 2 หน้า 222
ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า

ويحتمل أثر طاوس أمرا ثانيا وهو إتصال الجملة الأولى أيضاً لأن الإخبار عن الصحابة بأنهم كانوا يستحبون الإطعام عن الموتي تلك الأيام السبعة صريح فى أن ذلك كان معلوما عندهم وأنهم كانوا يفعلون ذلك لقصد التثبيت عند الفتنة فى تلك الأيام وإن كان معلوما عن الصحابة كان ناشئا عن التوقيف كما تقدم تقريره ، وحينئذ يكون الحديث من باب المرفوع المتصل لا المرسل لأن الإرسال قد زال وتبين الإتصال بنقل طاوس عن الصحابة

"หะดิษของท่านฏอวูสนั้น ถูกตีความในแง่มุมที่สอง คือ  มีสายรายงานที่ติดต่อกันที่อยู่ในหมวดแรก(คือ มุรฟั๊วะมุรซัล) เช่นกัน  เพราะบรรดาหะดิษที่รายงานจากบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น  คือ แท้จริง  พวกเขาชอบที่ทำให้อาหารเป็นทานแก่บรรดาผู้ตายในช่วง 7 วันดังกล่าว  ซึ่งเป็นความชัดเจนแล้วว่า  สิ่งดังกล่าวนั้น  เป็นที่รู้กันดีตามทัศนะของพวกเขา(ซอฮาบะฮ์) และบรรดาซอฮาบะฮ์ก็ได้กระทำสิ่งดังกล่าว  เพื่อให้มีความมั่นคงในขณะที่มีการสอบถาม(ในกุบูร) ในช่วง 7 วันดังกล่าว  และถ้าหากเป็นสิ่งที่รู้กันดีจากซอฮาบะฮ์แล้วนั้น  ก็ย่อมเกิดขึ้นมาจากหลักฐานมายืนยัน  เสมือนที่ได้ทำการยืนยันผ่านมาแล้ว  และในขณะดังกล่าวนั้น  หะดิษของท่านฏอวูสจึงเป็นหะดิษ มัรฟั๊วะมุตซิล(หะดิษที่อ้างอิงไปยังท่านนบีได้) ไม่ใช่หะดิษมุรซัล  เพราะการเป็นหะดิษมุรซัลนั้นได้ หมดไปแล้ว และการมีสายรายงานที่ต่อเนื่องย่อมประจักษ์ชัดแล้ว ด้วยการถ่ายทอดของท่านฏอวูสจากบรรดาซอฮาบะฮ์"  ดู  หนังสือ  อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา  เล่ม 2 หน้า 223
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ท่านอัล-หาฟิซฺอิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า

ومن ثم صح عن طاووس أيضاً أنهم كانوا يستحبون أن يطعم عن الميت تلك الأيام وهذا من باب قول التابعى كانوا يفعلون ، وفيه قولان لأهل الحديث والأصول ( احدهما) أنه أيضاً من باب المرفوع وأن معناه كان الناس يفعلون ذلك فى عهد النبى صلى الله عليه وسلم ويعلم به ويقرأعليه (والثانى) أنه من باب العزو غلى الصحابة دون إنتهائه غلى النبى صلى الله عليه وسلم وعلى هذا قيل أنه اخبار عن جميع الصحابة فيكون نقلا عن الإجماع وقيل عن بعضهم ورجحه النووى فى شرح مسلم وقال الرافعى مثل هذا اللفظ يراد به أنه مشهوراً فى ذلك العهد من غير نكير... فإن كنت لم كرر الإطعام سبعة أيام دون التلقين ، قلت لأن مصلحة الإطعام متعدية وفائدة للميت أعلى إذ الإطعام عن الميت صدقة وهى تسن عنه إجماعاً

" ได้มีสายรายงานที่ซอฮิหฺเช่นกัน จากท่าน ฏอวูส ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ได้ทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิด ใน 7 วันดังกล่าว และคำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวของตาบิอีย์ ได้ยกอ้างถึงบรรดาซอฮาบะฮ์ว่าพวกเขาได้กระทำสิ่งดังกล่าว และในคำกล่าวของตาบิอีย์นี้ มีอยู่ 2 ทัศนะด้วยกันจากคำกล่าวของนักปราชญ์หะดิษและอุซูลุลฟิกห์

1. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ (คือท่านฏอวูส) อยู่ในบทการรายงานที่ มัรฟั๊วะ คือไปถึงสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งความหมายของมันก็คือ บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลายได้กระทำการเลี้ยง(ให้)อาหาร ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) โดยที่ท่านร่อซูลทราบในสิ่งดังกล่าว หรือมีการบอกให้ท่านนบี(ซ.ล.)ทราบ

2. คำกล่าวของตาบิอีย์นี้ คือท่านฏอวูส อยู่ในเรื่องของการอ้างถึงการกระทำของบรรดาซอฮาบะฮ์เท่านั้น โดยไม่ถึงท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่า คำกล่าวของตาบีอีย์(คือท่านฏอวูส) เป็นการบอกเล่าจากบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมด ดังนั้น คำกล่าวของท่านฏอวูสนี้จึงเป็นการ ถ่ายทอดถึงมติของบรรดาซอฮาบะฮ์ และบางทัศนะกล่าวว่า ถ่ายทอดเพียงบางส่วนของซอฮาบะฮ์ ซึ่งเป็นทัศนะที่อิมามอันนะวาวีย์ได้ให้น้ำหนักเอาไว้ใน ชัรหฺมุสลิม และอิมามอัรรอฟิอีย์ ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือ การเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น เป็นสิ่งที่แพร่หลายในสมัยของซอฮาบะฮ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ถูกตำหนิแต่ประการใด...หากท่านกล่าวว่า เพราะเหตุใด การเลี้ยง(ให้)อาหารถึงต้องทำซ้ำกันถึง 7 วัน โดยที่ไม่ต้องอ่านตัลกีน 7 วัน ฉันขอกล่าวว่า เพราะผลประโยชน์ของการเลี้ยง(ให้)อาหารนั้น มันมีประโยชน์สูงกว่าและแผ่ไปถึงมัยยิดได้มากกว่า เพราะการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากมัยยิดนั้น เป็น ซ่อดาเกาะฮ์(บริจาคทาน) ซึ่งมันเป็น สุนัติ โดยมติเอกฉันท์... " ดู หนังสือ อัล-ฟะตาวา อัล-ก๊อบรอ อัลหะดีษะฮ์ ของท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ เล่ม 2 หน้า 30 - 31
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า

ولنختم الكتاب بلطائف :الأولى : أن سنة الإطعام سبعة أيام بلغني أنها مستمرة إلى الأن بمكة والمدينة فالظاهر أنها لم تترك من عهد الصحابة ألى الأن وأنهم أخذوها خلفا عن سلف ألى صدر الأول . ورأيت فى التوارخ كثيرا فى تراجم الأئمة بقولون : وأقام الناس على قبره سبعة أيام يقرؤون القران ، وأخرج الحافظ الكبير أبو القاسم بن عساكر فى كتابه المسمي تبيين كذب المفتري فيما نسب ألى الإمام أبى الحسن الأشعرى سمعت الشيخ الفقيه أبا الفتح نصر الله بن محمد بن عبد القوى المصيصي يقول : توفى الشيخ نصر بن إبراهيم المقدسى فى يوم الثلاثاء التاسع من المحرم سنة تسعين وأربعمائة بدمشق وأقمنا على قبره سبع ليال نقرأ كل ليلة عشرين ختمة

"เราาจงจบท้ายบท ด้วยเกล็ดความรู้ที่ละเอียดละออ  คือ  ประการที่หนึ่ง  สุนัตให้อาหาร(เป็นทาน) ในช่วง 7 วัน  ซึ่งได้ทราบถึงข้าพเจ้าว่า  การที่สุนัตให้อาหารเป็นทานแก่มัยยิด  ยังคงมีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องจากถึงปัจจุบัน ณ ที่นครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์  ดังนั้น  ที่ชัดเจนแล้ว คือ  การสุนัตให้อาหาร(เป็นทานแก่มัยยิด)นั้น ไม่เคยถูกทิ้งการกระทำมาเลยตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ  จวบจนถึงปัจจุบัน  และพวกเขาได้ทำการเอาการปฏิบัติดังกล่าว ของปราชญ์ค่อลัฟ จาก ปราชญ์สะลัฟ  จนกระทั่งถึงยุคแรก(ยุคซอฮาบะฮ์)   และข้าพเจ้า(คืออิมามอัสศะยูฏีย์) ได้เห็น(ทราบ)จากบรรดาปฏิบัติศาสตร์มากมายของบรรดานักปราชญ์  ซึ่งพวกเขากล่าวว่า "บรรดานักปราชญ์ได้ทำการอาศัยอยู่ที่กุบูรผู้เสียชีวติ 7 วัน เพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน , ท่านอัลหะฟิซฺผู้ยิ่งใหญ่ คือท่านอบู อัลกอซิม บิน อะซากิร  ได้นำเสนอรายงานไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า "ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรีย์ ฟีมา นุซิบ่า อิลา อัลอิมาม อบี อัลหะซัน อัลอัชอะรีย์ ว่า  ข้าพเจ้าได้ยินท่าน ชัยค์ ผู้เป็นนักปราชญ์ฟิกห์ คือ อบู อัลฟัตหฺ  นัสรุลเลาะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อัลดุลก่อวีย์ อัลมะซีซีย์  กล่าวว่า "ท่านชัยค์ นัสรฺ บิน อิบรอฮีม อัลมุก๊ออดิซีย์  ได้เสียชีวติในวันอังคารที่ 9 เดือน มุหัรรอม  ปี ที่ 490  ณ  นครดิมัชกฺ  และการทำการอาศัยที่อยู่ที่กุบูรของเขา 7 คืน  เพื่อเราทำการอ่านอัลกุรอานในทุก ๆ คือ ถึง 20 จบ" ดู  หนังสือ  อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา  เล่ม 2 หน้า 234
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ดังนั้น การทำบุญ หมายถึง  การที่น้องมุสลิมีนได้รว่มกันทำอหารเลี้ยงเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์แก่ผู้ตายนั่นเอง และบรรดาพี่น้องมุสลิมได้รวมตัวกันทำการอ่านอัลกุรอาน ซิกรุลเลาะฮ์ กล่าวตะฮ์ลีล อิสติฆฟาร และทำการดุอาอ์ให้แก่มัยยิด ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์และเป็นผลบุญไปถึงมัยยิดอย่างแน่นอน อินชาอัลเลาะฮ์

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมัจญฺมั๊วะของท่านว่า

أجمع المسلمون على أن الصدقة عن الميت تنفعه وتصله

"บรรดานักปราชญ์มุสลิมีน ได้มีมติเห็นพร้องว่า การทำทานซอดาเกาะฮ์แก่มัยยิดนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่มัยยิดและผลบุญถึงกับมัยยิด" ดู มัจญฺมั๊วะ เล่ม 5 หน้า 209

ท่าน อิบนุ กุดามะฮ์ กล่าวไว้ในหนังสือมุฆนีย์ของท่านว่า

فصل : وأي قربة فعلها , وجعل ثوابها للميت المسلم , نفعه ذلك , إن شاء الله , أما الدعاء , والاستغفار , والصدقة , وأداء الواجبات , فلا أعلم فيه خلافا , إذا كانت الواجبات مما يدخله النيابة , وقد قال الله تعالى : والذين جاءوا من بعدهم يقولون ربنا اغفر لنا ولإخواننا الذين سبقونا بالإيمان . وقال الله تعالى : واستغفر لذنبك وللمؤمنين والمؤمنات

" ไม่ว่าอิบาดะฮ์ใด ที่ทำมันขึ้นมา และทำการมอบผลบุญของมันให้แก่มุสลิมที่ตายนั้น ดังกล่าว ย่อมให้ผลประโยชน์แก่ผู้ตาย อินชาอัลเลาะฮ์ , สำหรับการขอดุอาอ์ อิสติฆฟาร การทำทาน และการปฏิบัติสิ่งที่วายิบ คือเมื่อมันเป็นสิ่งวายิบสามารถทำแทนกันได้ (เช่นทำฮัจญฺแทนมัยยิด) ดังนั้น ฉันจึงไม่ทราบเลยว่าในกรณีดังกล่าวนั้น มีการขัดแย้งกันเลย เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "และบรรดาบุคคลที่มาหลังจากพวกเขานั้น พวกเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ ผู้อภิบาลของเรา พระองค์โปรดอภัยให้แก่เรา และแก่บรรดาพี่น้องของเรา ที่มีศรัทธามาก่อนหน้าเราด้วยเถิด " และพระองค์ทรงตรัสอีกว่า "ท่านจงขออภัยโทษให้กับบาปของเจ้า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหญิงและชาย" ดู หนังสือ มุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่ม 3 หน้า 369

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า

وروى عمرو بن شعيب , عن أبيه , عن جده , { أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال لعمرو بن العاص : لو كان أبوك مسلما , فأعتقتم عنه , أو تصدقتم عنه , أو حججتم عنه , بلغه ذلك } . وهذا عام في حج التطوع وغيره , ولأنه عمل بر وطاعة , فوصل نفعه وثوابه , كالصدقة والصيام والحج الواجب

"รายงาน โดยอัมร์ บิน ชุอัยบ์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ว่า แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้กล่าวแก่ อัมร์ บิน อัลอาซ ว่า หากบิดาของท่านเป็นมุสลิม แล้วพวกท่านทำการปล่อยทาสแทนให้กับเขา หรือทำทานซอดาเกาะฮ์ให้แก่เขา หรือทำฮัจญฺแทนจากเขา แน่นอนว่า ดังกล่าวย่อมไปถึงเขา " หลักฐานนี้ ย่อมครอบคลุมถึงเรื่องทำฮัจญฺสุนัตและอื่น ๆ และเพราะว่า มันเป็นการปฏิบัติในเรื่องความดีงาม และการภักดี ดังนั้น ผลบุญและผลประโยชน์ย่อมไปถึงมัยยิด เช่นการทำทาน การถือศีลอด การทำฮัจญฺวายิบ " ดู หนังสือ มุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 372

เมื่อท่านผู้อ่านเข้าใจในสิ่งดังกล่าว เราอยากจะสร้างความเข้าใจกับผู้คัดค้านว่า ในปัญหาเรื่องการอิจญฺฮาด หรือการกระทำที่มีตัวบท  ไม่ว่าจะมีตัวบทเฉพาะเจาะจงหรือแบบกว้าง ๆ มารับรองนั้น ก็ไม่สมควรที่จะกล่าวหาพี่น้องมุสลิมด้วยกันว่าทำบิดอะฮ์ ชิริก หรือกระทำสิ่งที่หะรอม ด้วยกับการอ้างหลักฐานที่มีสายรายงานที่ฏออีฟอย่างนี้  และดูเหมือนว่าฝ่ายที่คัดค้านมีทัศนะต่อหะดิษฏออีฟว่านำมาใช้ไม่ได้เลย  เพราะยึดถือตามท่านอัลบานีย์ และมักจะตัดสินว่าหะดิษฏออีฟเหมือนกับหะดิษเมาฏั๊วะ  แล้วก็ตัดสินไปเลยว่า  เป็นบิดอะฮ์  ซึ่งสามารถจะสังเกตุเห็นได้ในเรื่องนี้  แต่พอหะดิษฏออีฟที่มันเข้าทางและตรงทัศนะที่ตนจะเอาหรืออารมณ์คล้อยตาม  ก็จะนำมาเป็นหลักฐานเหมือนกับว่ามันเป็นหะดิษซอฮิหฺ  นี่แหละที่เขาเรียกว่าทำตามอารมณ์ที่ไม่อยู่ในหลักการและถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่หลงผิดอย่างร้ายแรงเลยทีเดียว  ขออัลเลาะฮ์ทรงขี้นำด้วยเทอญ

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าอีกว่า

وأنه إجماع المسلمين ; فإنهم في كل عصر ومصر يجتمعون ويقرءون القرآن , ويهدون ثوابه إلى موتاهم من غير نكير

" แท้จริง มันเป็นมติของบรรดามุสลิมีน เนื่องจากแท้จริง พวกเขาเหล่านั้น ในทุกสมัยและทุกเมือง ได้รวมตัวกัน และทำการอ่านอัลกุรอานกัน และทำการฮาดิยะฮ์ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยที่ไม่มีการปฏิเสธแต่อย่างใดเลย" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 373

ท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ (ศิษย์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์) กล่าวไว้ว่า

وأى قرب فعلها من دعاء واستغفار وصلاة وصوم وحج وقراءة وغير ذلك وجعل ثواب ذلك للميت المسلم نفعه ذلك . قال أحمد : الميت يصل إليه كل شيء من الخير للنصوص الواردة فيه ولأن المسلمين يجتمعون فى كل مصر ويقرؤون ويهدون لموتاهم من غير نكير، فكان ذلك إجماعا وكالدعاء والإستغفار حتى لو اهداها للنبى صلى الله عليه وسلم، جاز ووصل اليه الثواب، ذكره المجد

" ไม่ว่าอิบาดะฮ์ใด ที่กระทำขึ้นมา  ไม่ว่าจะเป็นการดุอา อิสติฆฟาร การละหมาด การถือศีลอด การทำฮัจญฺ การอ่านอัลกุรอาน และอื่น ๆ จากสิ่งดังกล่าว และเอาผลบุญดังกล่าวนั้น มอบฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิดมุสลิม เขาย่อมได้รับผลประโยชน์จากสิ่งดังกล่าว ท่านอิมามอะหฺมัด กล่าวว่า ผู้ตายนั้น (ผลบุญ)ทุกๆ สิ่งจากความดีงามจะถึงไปยังเขา เพราะมีบรรดาตัวบทได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้  และเพราะบรรดามุสลิมีนในทุกเมือง ได้ทำการรวมตัวกัน และพวกเขาทำการอ่านอัลกุรอาน และพวกเขาก็ทำการฮะดียะฮ์(มอบผลบุญของทุกๆ สิ่งจากความดีงาม) ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยไม่ได้รับการตำหนิเลย ดังนั้น ดังกล่าวย่อมเป็นมติ(อิจญฺมาอ์) และเช่นการขอดุอา และการอิสติฆฟาร นั้น หากแม้ว่า จะฮาดิยะฮ์มอบแก่ท่านร่อซูล(ซ.ล.) ก็ถือว่าอนุญาติ และผลบุญก็ถึงไปยังเขา . ซึ่งได้กล่าวมันโดยท่านอัลมุจญฺ" ดู หนังสือ อัลมุบดิอ์ ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอฺ ของท่าน อิบนุ มุฟลิหฺ เล่ม 2 หน้า 254

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า

واما ما يصنع للميت ويصل اليه باتفاق العلماء وهو الصدقة ونحوها فاذا تصدق عن الميت بذلك المال لقوم مستحقين لوجه الله تعالي ، ولم يطلب منهم عملا أيضا ، كان نافعا للميت وللحى يتصدق عنه باتفاق العلماء

?สำหรับ สิ่งที่ถูกทำขึ้น ให้แก่ผู้ตาย โดยที่ผลบุญก็จะถึงผู้ตายด้วยมติของปวงปราชนญ์  นั่นคือ การทำทาน และอื่นๆ ดังนั้น เมื่อทรัพย์ดังกล่าวที่ถูกทำทานให้กับมัยยิด ได้บริจาคกับกลุ่มชนที่มีสิทธิ์จะได้รับ(คือบรรดามุสลิมีน) เพื่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาเพียงผู้เดียว และพวกเขาไม่ได้ถูกร้องขอให้กระทำด้วย  มันย่อมเป็นผลประโยชน์ให้กับมัยยิด และอนุญาตให้กับคนเป็น ทำทานซอดาเกาะฮ์แทนมัยยิดได้ โดยมติของปวงปราชญ์ "ดู ริซาละฮ์ อิฮฺดาอ์ อัษษะวาบ ลิลนะบีย์(ซ.ล.) และมะอาฮา มะซาอิล ฟีอิหฺดาอ์ อัลกุรุบาต ลิลอัมวาต ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า 142 ตีพิมพ์ที่ อัฏวาอ์ อัสสะลัฟ

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวอีกว่า

وأما الأكل من الطعام ، فان كان قد صنعه الوارث من ماله لم يحرم الأكل منه. وإن كان صنع من تركة الميت وعليه ديون لم توف وله ورثة صغار فى ذلك من حقوقهم لم يؤكل منه

? สำหรับการรับประทานอาหารนั้น  หากว่าทายาทได้กระทำ(ปรุง)มันขึ้นมาจากทรัพย์สินของพวกเขา ก็ไม่เป็นสิ่งต้องห้ามที่จะรับประทานจากมันและหาก(ทำทาน)สิ่งที่ถูกทำขึ้น จากมรดกของผู้ตาย โดยที่มัยยิดเองยังมีหนี้สินอยู่ที่ยังไม่ได้ชดใช้และผู้ตายก็มีทายาทที่เป็นเด็ก  ซึ่งในสิ่งดังกล่าวเป็นสิทธิของพวกเขา  ก็ถือว่ารับประทานไม่ได้ ? ริซาละฮ์ อิฮฺดาอ์ อัษษะวาบ ลิลนะบีย์(ซ.ล.) และมะอาฮา มะซาอิล ฟีอิหฺดาอ์ อัลกุรุบาต ลิลอัมวาต ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า 143 ตีพิมพ์ที่ อัฏวาอ์ อัสสะลัฟ

อิบตัยมียะฮ์ได้ถูกถามเกี่ยวกับ ผู้ที่กล่าว ตะฮ์ลีล ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ 70000 ครั้ง แล้ว ฮะดียะฮ์มอบผลบุญให้แก่มัยยิด โดยที่มัยยิดจะพ้นจากไฟนรกน้น เป็นหะดิษที่ซอเฮี๊ยะหฺหรือไม่? และผู้ที่ทำการกล่าวตะฮฺลีล และฮะดียะฮ์มอบผลบุญให้แก่มัยยิดนั้น ผลบุญจะไปถึงเขาหรือไม่ ?

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ตอบว่า

إذا هلل الإنسان هكذا : سبعون الفا، أو أقل أو أكثر وأهديت إليه نفعه الله بذلك، وليس هذا حديثا صحيحا ولا ضعيفا

"เมื่อคนหนึ่งได้ทำการกล่าว ตะฮ์ลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) เช่นนี้ 70000 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้น แล้วดังกล่าวก็ถูกฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด แน่นอน อัลเลาะฮ์จะทรงให้ดังกล่าวมีผลประโยชน์แก่มัยยิด  และหะดิษดังกล่าวนั้น ไม่ใช่หะดิษที่ซอฮิหฺ และฏออีฟ" ดู ฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 301

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวอีกว่า

يصل إلى الميت قرأءة أهله وتسبيحهم وتكبيرهم، وسائر ذكرهم لله تعالى ، إذا أهدوه الى الميت وصل إليه . والله أعلم

"ผลบุญการอ่านอัลกุรอานของครอบครัวมัยยิด และตัสบีหฺ การกล่าวตักบีร และบรรดาซิกรุลเลาะฮ์อื่นๆ จะถึงมัยยิด ดังนั้น เมื่อพวกเขาได้ทำการฮะดียะฮ์มอบให้แก่มัยยิด ผลบุญก็จะไปถึงเขา" ดูฟีตวา อิบนุ ตัยมียะฮ์ เล่ม 24 หน้า 302

ทั้งหมดนี้  บางกลุ่มอาจจะคัดค้านโดยกล่าวกับเราชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ว่า  รูปแบบเฉพาะการรวมตัวที่บ้านครอบครัวมัยยิด  เพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน  ซิกรุลเลาะฮ์  อิสติฆฟาร  การขออุดาอ์ให้แก่มัยยิด   เป็นบิดอะฮ์ เพราะไม่มีในสมัยท่านนบี(ซ.ล.)  ?  เราขอตอบว่า   การคัดค้านนี้ ดูเหมือนว่าทุก ๆ เรื่องของศาสนานั้น  ต้องมีซุนนะฮ์มาเจาะจงทั้งหมด  ย่อมเป็นหลักการที่ผิดไม่ถูกต้อง  และเป็นการจำกัดให้แคบในเรื่องของศาสนา  ยิ่งไปกว่านั้น  มันอาจจะเป็นการกล่าวหากับชาริอะฮ์อิสลามว่า  เป็นศัตรูกับทุกๆ สิ่งที่เกิดขึ้นมาด้วยการถามหรือขอตัวบทหลักฐานมาเจาะจงกับทุกๆ การปฏิบัติที่เกิดขึ้นมาจากหลักการแบบกว้างๆ   ดังนั้น  หนทางที่ทำให้หลักการของฝ่ายคัดค้านไม่ถูกต้อง ก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า  บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมีไม่สิ้นสุด  โดยที่ตัวบทมีจำกัด  ฉะนั้น  การตัดสินหรือหุกุ่มสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น  จำเป็นต้องครอบคลุมอยู่ภายใต้หลักการของชาริอะฮ์  ไม่ว่าจะด้วยบรรดาตัวบท  บรรดาหลักการ และบรรดาเจตนารมณ์หรือเป้าหมายของหลักชาริอะฮ์   ซึ่งใน ณ ที่นี้  การวินิจฉัยย่อมเข้ามามีบทบาทและเปิดกว้างแก่การทราบถึงหุกุ่มต่างๆ ของศาสนาที่มีหลักฐานยืนยันไม่เด็ดขาด (ซฺ๊อนนีย์)

ดังนั้น  การที่กลุ่มพี่น้องผู้คัดค้านต้องการหลักฐานในทุกๆ รูปแบบของการกระทำความดีงามนั้น  ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง  เนื่องจากที่ถูกต้องแล้ว  คือการกล่าวว่า  การอ่านอัลกุรอานเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริม  การซิกิร  การอิสติฆฟาร  การขอดุอาอ์เป็นสิ่งที่ศาสนาสส่งเสริม  การรวมตัวกันนั้นเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมและไม่ได้ห้าม  และยิ่งไปกว่านั้น การรวมตัวเพื่อกระทำความดีย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมแน่นอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นการรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือกันในการกระทำความดีและความยำเกรง  นั่นก็คือ  การมอบผลบุญฮะดียะฮ์และขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ตาย  การรวมตัวที่บ้านครอบครัวผู้ตายนั้น   มากสุดก็แค่มักโระฮ์  โดยที่ครอบครัวผู้ตายนั้น  ได้คำนึงเน้นหนักถึงผลประโยชน์ที่มากกว่า  คือ  การมอบผลบุญฮะดียะฮ์และขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิดของพวกเขา   และสิ่งที่มักโระฮ์นั้น  ก็อนุญาติให้กระทำได้  และนี่แหละที่เขาเรียกว่า "ฟิกห์"  พวกท่านโปรดเข้าใจให้ดีครับ 


ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ จากรายละเอียดที่ผมได้นำเสนอมานั้น ทำให้รู้ถึงความสำคัญของญาติพี่น้องของเรา  ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต ก็ให้เราทำการช่วยเหลือ โดยการทำอาหารให้กับครอบมัยยิดเป็นอันดับแรก และหากจะทำการช่วยเหลือครอบมัยยิดมากกว่านั้น  โดยมีระบบแบบแผนที่ดีในการร่วมมือกันช่วยเหลือตามที่ผมได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น ก็จะเป็นการดียิ่งสำหรับผู้ที่สมัครใจครับ พี่น้องผู้คัดค้านครับ ปัญหาข้อปลีกย่อยเหล่านี้ สมควรที่จะมีความใจกว้าง หากต่างฝ่ายก็มีหลักฐานที่ตนกระทำ การตะอัศศุบในทัศนะของตนและหุกุ่มผู้ที่ไม่ได้อยู่ในทัศนะของตนนั้น ย่อมเป็นการละเมิดในเรื่องศาสนา และนั่นก็ไม่ใช่แบบฉบับของสะลัฟ และเราก็ช่วยกันตักเตือนผู้ที่กระทำสิ่งที่ผิดหลักการครับ วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

หากมีสมาชิกอีกทัศนะหนึ่งพยายามที่จะอ้างอิงลิงค์เวปไซท์อิกเราะอฺ   เกี่ยวกับกรณีทำบุญเจ็ดวันละก็   ผมขอเสนอให้อ้างอิงลิงค์การเสวนาเปรียบเทียบจากมุสลิมไทยครับ  เพราะในนั้นได้อ้างอิงลิงค์จากหลายเวปไซท์ด้วยกัน  เพื่อให้มีการศึกษาได้อย่างหลากหลาย  ไม่ใช่อ้างอิงลิงค์เวปไซท์ดังกล่าวที่ฮุกุ่มพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่เป็นพวกบิดอะฮ์  ซึ่งผมไม่อนุญาตให้นำมาลิงค์ครับ

การเสวนาเรื่องปัญหาการทำบุญให้แก่ผู้ตาย  จากมุสลิมไทย

http://www.muslimthai.com/forum/index.php?topic=4456.0

วัสลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 12, 2007, 09:17 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
ข้อเสนอแนะ

แต่ระบบของสังคมบ้านเรานั้นถือว่าดี คือมี การทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิดและให้พวกเขารับประทานจนอิ่มนั้น เป็นเรื่องที่บรรดาพี่น้องมุสลิมเมืองไทยบ้านเราทำกันอยู่แล้ว และยิ่งไปกว่านั้น บรรดาพี่น้องมุสลิมก็จะช่วยกันทำอาหารและทำบุญให้กับครอบครัวของมัยยิด โดยที่พวกเขาจะทำการบริจาคเงินในขณะที่ไปเยี่ยมผู้ตาย และมีระบบการช่วยเหลือที่ดี ปัจจุบันนี้ หลายท้องที่ มีระบบการช่วยเหลือที่ดี คือจะมีการรวมกลุ่มเป็นสมาชิก เพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยผู้เป็นอิมามประจำมัสยิด หรือผู้นำในท้องถิ่น ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาและทำการนำเสนอโครงการร่วมเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจเพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยมีการตกลงร่วมกันว่า หากมีพี่น้องมุสลิมคนใดเสียชีวิต พวกเราจะทำการช่วยเหลือกันในวงเงินอย่างต่ำ เท่านั้น เท่านี้ แล้วแต่สมาชิกในหมู่บ้านจะตกลงกัน เช่น อย่างต่ำ 50 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต กรรมการก็จะทำการเก็บเงินของสมาชิกที่ได้ถูกระบุชื่อที่ตกลงกันไว้ หากมีสมาชิก 100 คน ก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 5000 บาท และหากมีสมาชิก 200 คน ครอบครัวผู้ตายก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 10000 บาท ซึ่งดังกล่าวนี้ ถือว่เป็นการเป็นการริเริ่มและช่วยเหลือกันการในการทำความดีงามเลยทีเดียว



เงินที่ได้จากระบบการช่วยเหลือนี้  สามารถนำมาทำอาหารเลี้ยงเป็นทานซอดาเกาะห์ให้แก่มัยยิตได้ถึง 7 วันเลยทีเดียว  :ameen:

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
ได้สัมผัสวิถีของอัลอิสลาม   มีความประทับใจอย่างล้นเหลือ

พี่น้องมุสลิมในละแวกบ้าน มีน้ำใจ  บ้านใครมีการทำอาหารเลี้ยงเพื่อเป็นทานซอดาเกาะห์ เค้าจะมาช่วย มาคุย เพื่อให้ญาติๆได้คลายความเศร้า...

สมัครใจมาอ่านอัลกุรอานให้ครบ 30 ยุซ  ตัสบีหฺ กล่าวตักบีร ซิกรุลเลาะฮ์เพื่อเป็นทานให้แก่มัยยิตในช่วงเจ็ดวัน

มีกองทุนจากระบบการช่วยเหลือของหมู่บ้านในยามมีผู้เสียชีวิต

ทุกคนช่วยเหลือกัน อย่างมีน้ำใจ...ขอให้สิ่งเหล่านี้ได้สืบทอด อย่าได้เลือนหายไปจากสังคมมุสลิมเรา

กลัวว่า สิ่งที่เราสิบทอดกันมากลับเลือนหาย ไม่ได้สืบสานจากลูกหลานของเรา เพราะไปฟังคนบางกลุ่มกล่าวหาว่า เป็นการทำบิดอะห์








ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
นบีไม่เคยอ่านกุรอาน30ญุส7วันให้ใคร นบีไม่เคยทำกองทุนแจกคนตาย จะไปทำแบบนั้นไม่ได้นะ บิดอะห์ลุ่มหลง 55555











สมมติเวลาคนในบ้านเขาตายไปไม่มีใครมาช่วยคงเหงาน่าดู แล้วจะรู้สึกผิดในสิ่งที่พูด
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
แค่ได้ยินชื่อเว็บก็ส่ายหัวแล้ว อย่าหวังว่าจะมาอ่าน
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ คะลัคคะลุย

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 670
  • เรื่อยไป
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
ข้อเสนอแนะ

แต่ระบบของสังคมบ้านเรานั้นถือว่าดี คือมี การทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิดและให้พวกเขารับประทานจนอิ่มนั้น เป็นเรื่องที่บรรดาพี่น้องมุสลิมเมืองไทยบ้านเราทำกันอยู่แล้ว และยิ่งไปกว่านั้น บรรดาพี่น้องมุสลิมก็จะช่วยกันทำอาหารและทำบุญให้กับครอบครัวของมัยยิด โดยที่พวกเขาจะทำการบริจาคเงินในขณะที่ไปเยี่ยมผู้ตาย และมีระบบการช่วยเหลือที่ดี ปัจจุบันนี้ หลายท้องที่ มีระบบการช่วยเหลือที่ดี คือจะมีการรวมกลุ่มเป็นสมาชิก เพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยผู้เป็นอิมามประจำมัสยิด หรือผู้นำในท้องถิ่น ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาและทำการนำเสนอโครงการร่วมเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจเพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยมีการตกลงร่วมกันว่า หากมีพี่น้องมุสลิมคนใดเสียชีวิต พวกเราจะทำการช่วยเหลือกันในวงเงินอย่างต่ำ เท่านั้น เท่านี้ แล้วแต่สมาชิกในหมู่บ้านจะตกลงกัน เช่น อย่างต่ำ 50 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต กรรมการก็จะทำการเก็บเงินของสมาชิกที่ได้ถูกระบุชื่อที่ตกลงกันไว้ หากมีสมาชิก 100 คน ก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 5000 บาท และหากมีสมาชิก 200 คน ครอบครัวผู้ตายก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 10000 บาท ซึ่งดังกล่าวนี้ ถือว่เป็นการเป็นการริเริ่มและช่วยเหลือกันการในการทำความดีงามเลยทีเดียว



เงินที่ได้จากระบบการช่วยเหลือนี้  สามารถนำมาทำอาหารเลี้ยงเป็นทานซอดาเกาะห์ให้แก่มัยยิตได้ถึง 7 วันเลยทีเดียว  :ameen:

ซุนนะฮ์บอกให้ทำอาหารแก่ครอบครัวมัยยิด  แต่พี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียงมีมาก  ชาวบ้านทั้งหมดจะทำอาหารมาให้  ครอบครัวมัยยิดก็จะกินกันไม่หมด  อาหารบูดเน่าเสียหมดล่ะครับ  ดังนั้นชาวบ้านจึงออกความคิดเห็นให้เงินที่ช่วยเหลือครองครัวมัยยิด  ซึ่งการช่วยเหลือครอบครัวมัยยิดนั้น  สำหรับ 1 วันกับ 1 คืนเท่านั้น    ไม่ใช่เอาไปช่วยเหลือการศึกษาของลูกผู้ตาย  นั่นมันเป็นการช่วยเหลือที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตายของครอบครัวมุสลิม 

ดังนั้นเมื่อเงินช่วยเหลือครอบครัวมัยยิดใน 1 วันกับ 1 คืนนั้น  เหลือเฟือ  ครอบครัวมัยยิดก็สามารถนำเงินที่พี่น้องช่วยเหลือ  มาทำบุญเป็นทานศ่อดาเกาะฮ์ให้แก่ผู้ตายของพวกเขาได้นั่นเองครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 28, 2009, 08:14 PM โดย บ้าวิชา^^ »
اللهم صل علي سيدنا محمد وعلي آل محمد وصحبه وسلم

 

GoogleTagged