3.ขอบคุณคับสำหรับหลักฐานของอาจารย์ที่ว่า...ท่านอุมัรได้แยกภาษีสุราและสุกรดังกล่าวเป็นกองคลังเอกเทศและนำไปใช้สาธารณประโยชน์...กรณีที่แยกผมเองก็มองว่า
ยังไม่ตรงประเด็นอีกเช่นกันเพราะบริบทของรัฐอิสลามไม่ได้แน่นอนอยู่แล้วที่จะนำมาใช้ในกิจการศาสนาซึ่งท่านอุมัรเองตามที่ยกมาก็นำไปใช้สาธารณะประโยชน์...
จึงแตกต่างกับบริบทรัฐที่ไม่ใช่รัฐอิสลาม(อิคติลาฟุดดารอย)หรือรัฐที่ไม่ได้ใช้กฎหมายอิสลามปกครองประเทศ...เช่นประเทศไทย...
จึงอยากให้อาจารย์อัชฮารีย์ชี้แนะอีกเล็กน้อยคับ...วัสลาม
ผมไม่ได้กล่าวว่า ท่านอุมัรแยกภาษีสุราและสุกรเป็นกองคลังเอกเทศน์ แต่ผมได้บอกว่า เงินภาษีที่เก็บได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษีสุราและสุกรนั้น ล้วนต้องเข้ามาเก็บไว้ในบัยตุลมาล(คลังหลวง) แล้วนำมาทำนุบำรุงบ้านเมืองเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์แก่ประชาชนมุสลิมีนโดยรวม
หากเราพิจารณาคำว่า "บัยตุลมาล" ปรากฏว่า ในบัยตุลมาล (คลังหลวง)นั้น ก็ทรัพย์สินหลากหลายประเภทที่เป็นรายได้เข้ามาแก่คลังหลวง ซึ่งทรัพย์สินแต่ละประเภทในคลังหลวงก็ต้องจัดแบ่งแยกแยะไว้เป็นส่วน ๆ หรือหมวดหมู่ เช่น ในบัยตุลมาล (คลังหลวง) มีทรัพย์สิน อาทิเช่น
1. ทรัพสินประเภท "อัลฟัยอ์" คือทรัพย์สินที่มุสลิมีนได้ยึดได้มาจากพวกกุฟฟารโดยไม่ต้องทำสงคราม ซึ่งทรัพย์สินประเภทนี้มอบแต่บรรดามุสลิมทั่วไปหรือแล้วแต่การวินิจฉัยของผู้นำ
2. ทรัพย์สินประเภท "อัลฆ่อนีมะฮ์" คือทรัพย์สินที่มุสลิมได้ยึดได้มาพวกกุฟฟารหลังจากทำสงครามแล้ว ซึ่งต้องแบ่งตามที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า "แท้จริงเป็นของอัลเลาะฮ์ เศษหนึ่งส่วนห้าของมัน และของศาสนทูต , ของญาติสนิท(ของศาสนทูต) , ของลูกกำพร้า , ของคนอนาถา , และของคนเดินทาง (ที่ยากจน)" อัลอัมฟาล 41
3. ทรัพย์สินประเภท "อัลอุชูร" คือทรัพย์สินที่เก็บมาจากบรรดาพ่อค้าจากประเทศคู่สงคราม ที่ได้ผ่านเข้ามาในอาณาจักรอิสลาม
4.
ทรัพย์สินประเภท "อัลยิซยะฮ์" (เงินภาษี) ซึ่งเก็บมาจากพวกนะซอรอ , ยะฮูดี , มุญูซีย์ , ต่อการให้ความคุ้มครองและให้ความปลอดภัยต่อพวกเขา ซึ่งเงินภาษีนี้จะถูกนำมาใช้กับสาธานูประโยชน์โดยรวมของประเทศ5. ทรัพย์สินประเภท "อัศศ่อดะเกาะฮ์" ทรัพย์ที่มุสลิมได้บริจาคให้โดยมีเป้าหมายเพื่อผลบุญและฏออัตภักดี ซึ่งร่วมถึงการบริจาคแบบเชิงบังคับ เรียกว่า "ซะกาต" หรือบริจาคเชิงสมัครใจ เรียกว่า "ศ่อดะเกาะฮ์"
6. ทรัพย์สินประเภท "อัลค่อรอจญ์" (เงินภาษีแผ่นดิน) เก็บมาจากพวกกุฟฟารจากผืนดินทำกินของพวกเขาที่ผู้นำมุสลิมีนได้จัดสรรให้
ดังนั้นทรัพย์สินในบัยตุลมาล ก็สามารถนำมาใช้ในรูปแบบสาธารณะประโยชน์โดยรวม และประโยชน์แบบเฉพาะ และการนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของผู้นำด้วย ส่วนกรณีของท่านอุมัรนั้น หากเกี่ยวกับเรื่องศาสนาโดยตรง เช่นการบูรณะมัสยิด ท่านจะขอเงินบริจาคที่บริสุทธิ์ต้องมีการไตร่สวนที่มาของเงิน และเรื่องของศาสนาเช่นนี้ มันเป็นสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับอัลเลาะฮ์ ส่วนเรื่องสาธารณูประโยชน์นั้นเกี่ยวข้องกับมุสลิมีนโดยรวม ดังนั้นจึงชัดเจนว่า ท่านอุมัรไม่เอาเงินจากเก็บภาษีมาบูรณะมัสยิด โดยเฉพาะเงินภาษีสุราและสุกร ท่านไม่เอานำใช้เกี่ยวกับเรื่องศาสนาแน่นอน
ส่วนเงินภาษีที่รัฐมิใช่อิสลามนั้น หากเขานำมาช่วยเหลือแก่เรา ก็สมควรในการแยกแยะนำมาใช้ให้เหมาะสมตามหลักการที่ควรจะเป็น
วัลลอฮุอะลัม