ผู้เขียน หัวข้อ: การละหมาดญุมุอะฮ์ของ นศ.มหาลัย "เศาะหฺ" ไหม?  (อ่าน 16613 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด

อัสสลามุ อลัยกุม

            คือว่า ที่มหาลัยของผม มีมัสญิดด้วย คงทราบดีว่ามหาลัยอะไรนะครับ คือว่า ที่นี่มีการทำญุมุอะฮ์ทุกๆ สัปดาห์ ซึ่งก็มีผู้คนมาละหมาดมากมาย มีทั้ง อ., นศ., และบุคคลภายนอก เป็นต้น แต่ปัญหาคือว่า มี นศ บางกลุ่มไม่ยอมละหมาดที่มัสญิดดังกล่าว เพราะให้เหตุผลว่า ไม่เศาะหฺ อันเนื่องจากหนึ่งในเงื่อนไขของการเศาะหฺญุมุอะฮ์คือ ต้องเป็นคนในพื้นที่ดั้งเดิม แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ทั้ง อ., นศ., และบุคคลภายนอกที่เข้ามาละหมาดญุมุอะฮ์ข้างใน ก็เกือบทั้งหมดจะไม่ใช่คนในพื้นที่ดั้งเดิม (ผมจำไม่ได้ว่าเรียกอะไร) เพราะฉะนั้นประเด็นก็คือ ผมอยากให้ท่านๆ ผู้รู้ช่วยชี้แจงหน่อยครับว่า...
                (1) เงื่อนไขของการเศาะหฺญุมุอะฮ์มีอะไรบ้าง
            (2) หนึ่งในเงื่อนไขข้างต้นที่ว่า "ต้องเป็นคนในพื้นที่ดั้งเดิม" ตรงนี้จะพิจารณากันอย่างไรครับ
            (3) หากนับกันจริงๆ แล้วปรากฏว่า ในจำนวนคนที่ทำญุมุอะฮ์นั้น ไม่ครบ 40 คน หรืออย่างน้อยตามก็อวฺม์ก็ดีม (ชาฟิอีย์) ที่ถือว่าเศาะหฺญุมุอะฮ์ด้วย 12 คนแล้ว ปรากฏว่า ไม่ถึงเช่นกัน แต่ก็ยังมีการดึงดันจะทำญุมุอะฮ์อยู่ดี ในกรณีนี้จะถือว่าเศาะหฺหรือไม่ แล้วหุกุมการละหมาดจะถือว่าโมฆะไหม
           
วัสสลามุ อลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นเป็นเงื่อนไขของการละหมาดญุมุอะฮ์

คำถาม: ฮุกุ่มการจัดทำละหมาดญุมุอะฮ์ของนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่อาศัยของตน

ฟัตวาโดยเชคบินบาซฺ: บรรดานักปราชญ์ได้ระบุว่า  ไม่จำเป็นบนพวกท่าน(นักศึกษา)และผู้ที่อยู่ในฐานะเหมือนกับพวกท่าน(เช่น ผู้ที่เดินทางมาทำการค้าขาย)จัดทำละหมาดญุมุอะฮ์  ยิ่งกว่านั้น  ในการใช้ได้(เศาะห์)ของละหมาดญุมุอะฮ์นั้น  ต้องพิจารณาก่อน  เพราะแท้จริงจำเป็นบนพวกท่านต้องละหมาดซุฮ์ริ  เพราะพวกท่านคล้ายกับพวกที่เดินทางและพวกที่อยู่แถบในทะเลทราย  และความจริงแล้วการละหมาดญุมุอะฮ์นั้นจำเป็นแก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เท่านั้น 

หลักฐานสิ่งดังกล่าว  ก็คือ  แท้จริงท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่เคยใช้ให้คนเดินทางและผู้ที่อยู่ในแถบทะเลทรายทำละหมาดญุมุอะฮ์  และท่านนะบีย์และเหล่าศอฮาบะฮ์เองก็ไม่เคยทำละหมาดญุมุอะฮ์ในการเดินทางของพวกเขา  และได้มีบรรดาหลักฐานหะดีษที่ซอฮิห์ได้ระบุว่า ในปีฮัจญ์อำลานั้นท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำละหมาดซุฮ์ริที่ทุ่งอะร่อฟะฮ์ในวันศุกร์และท่านนะบีย์ก็ไม่ได้ละหมาดญุมุอะฮ์และไม่ได้ใช้ให้บรรดาหุจญาจญฺ(ผู้ที่ไปทำฮัจญฺ)ทำละหมาดญุมุอะฮ์อีกด้วยเนื่องจากพวกเขาอยู่ในหุกุ่มของผู้ที่เดินทาง และข้าพเจ้าก็ไม่รู้เลยว่ามีการขัดแย้งกันในหมู่นักวิชาการอิสลามเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮ์  นอกจากมีการขัดแย้งที่แหวกแนวจากตาบิอีนบางส่วนที่ไม่ควรนำมาเป็นบรรทัดฐาน

แต่ถ้าหากพบกว่ามีบรรดามุสลิมีนที่เป็นคนในพื้นที่ทำการจัดตั้งละหมาดญุมุอะฮ์   แน่นอนว่าตามบทบัญญัติศาสนานั้น  อนุญาตให้พวกท่านหรือผู้ที่มีสภาพเหมือนกับพวกท่านที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นชั่วคราวเพื่อทำการศึกษาและค้าขาย เป็นต้น  ต้องทำการละหมาดญุมุอะฮ์พร้อมกับคนในพื้นที่ได้เพื่อจะได้รับคุณความดีในละหมาดญุมุอะฮ์  และมีปราชญ์กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า  จำเป็นแก่ผู้ที่เดินทางแล้วอยู่อาศัยเกินระยะเวลาที่ห้ามย่อละหมาด  ต้องทำการละหมาดการละหมาดญุมุอะฮ์ตามคนในพื้นที่

วัลลอฮุอะลัม


อ้างอิงจาก: เว็ปไซต์ของเชคบินบาซฺ http://www.binbaz.org.sa/mat/1327 (16/9/2555)

สิ่งที่ได้รับจากฟัตวาของชัยค์ บิน บาซฺ  คือ

1. การละหมาดญุมุอะฮ์นั้น  มีเงื่อนไขว่าต้องกระทำขึ้นโดยคนในพื้นที่เดิม  ส่วนนักศึกษาไม่ใช่เป็นคนในพื้นที่เดิม  แต่เป็นผู้ที่ไปอยู่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น  จึงจัดตั้งการทำละหมาดญุมุอะฮ์ไม่ได้

2. ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยใช้ให้มุสลิมที่อยู่แถบทะเลทรายทำละหมาดญุมุอะฮ์  ทั้งที่บรรดาผู้คนที่อยู่แถบทะเลทรายมีมากมาย และสามารถรวมตัวกันละหมาดญุมุอะฮ์ได้  แต่พวกเขาไม่ได้อาศัยอยู่ในแถบทะเลทรายแบบถาวร  ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงไม่ใช้ให้พวกเขาละหมาดญุมุอะฮ์แต่ใช้ให้พวกเขาละหมาดซุฮ์ริ  ดังนั้นนักศึกษาก็เช่นเดียวกัน  ที่เดินทางออกจากบ้านเกิดตนเอง  แล้วไปอาศัยอยู่ในแถวมหาวิทยาลัยแบบชั่วคราวและห่างไกลจากมัสยิดในพื้นที่  ก็ให้ละหมาดซุฮ์ริ  ไม่ใช่ละหมาดญุมุอะฮ์

3. ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เดินทางไปทำฮัจญ์อำลาและตั้งใจที่จะอาศัยอยู่หลายวัน  แต่ท่านกลับไม่ทำละหมาดญุมุอะฮ์ในวันศุกร์และท่านทำละหมาดซุฮ์ริตามปกติ

4. ผู้ที่เดินทางแล้วอยู่อาศัยในพื้นที่นั่นจนเกินกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ย่อละหมาดได้นั้น  หากมีคนในพื้นที่จัดตั้งละหมาดญุมุอะฮ์ขึ้น  ก็จำเป็นแก่ผู้ที่มาอาศัยชั่วคราวทำการละหมาดร่วมกับคนในพื้นที่นั้น  และนักศึกษามหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน  ที่เดินทางมาอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยและอาศัยอยู่หลายวันจนไม่สามารถย่อละหมาดได้  ก็จำเป็นต้องละหมาดญุมุอะฮ์ในกรณีที่คนในพื้นที่ได้จัดตั้งละหมาดญุมุอะฮ์ขึ้น  แต่ถ้าหากคนในพื้นที่ไม่ได้จัดตั้งละหมาดญุมุอะฮ์ขึ้นหรืออยู่ไกลมัสยิด  ก็ให้นักศึกษาละหมาดซุฮ์ริตามปกติ

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 16, 2012, 03:42 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
อุสตาสผมบอกว่า ไม่วาญิบบนเขาในการละหมาดวันศุกร์ แต่ทำไงได้ เราเคยละหมาดทุกสัปดาห์ พอถึงเวลาก็ต้องไป พอไม่ไปแล้ววันอยู่ไม่ถูก เหมือนไม่ได้ทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำยังไงไม่รู้ครับ สรุปว่าผมต้องกอดอหมดหรือนี่ที่ผ่านๆมา
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

มีหะดิษรายงานว่า  ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

من ترك الجمعة ثلاثاً من غير عذر فهو منافق

"ผู้ใดที่ทิ้งญุมุอะฮ์ 3 ศุกร์  โดยที่ไม่อุปสรรคอันใด  เขาย่อมเป็นผู้กลับกลอก"  หะดิษซอฮิหฺ

หมายถึงผู้ที่ทำการทิ้งละหมาดญุมุอะฮ์มีคุณสมบัติพร้อม ครบองค์ประกอบและเงื่อนไขในการละหมาดญุมุอะฮ์  ดังนั้น หากเขาละทิ้งละมาดญุมุอะฮ์ 3 ครั้ง  โดยเจตนา , เกียจคร้าน , และทำเบาความ  แน่นอน เขาย่อมอยู่ในหมู่พวกหน้าไว้หลังหลอก

เงื่อนไขผู้ที่วายิบต้องละหมาดญุมุอะฮ์

1. เขาต้องเป็นผู้ที่บรรลุศาสนภาวะ

2. เขาต้องเป็นชาย

3. เขาต้องเป็นอิสระชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทำละหมาดญุมุอะฮ์  โดยที่ไม่มีอุปสรรค์ใด ๆ เช่น ป่วย  ชรา เป็นต้น

4. เขาต้องพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ทำละหมาดญุมุอะฮ์  คือพักอาศัยอยู่ 4 วัน หรือมากกว่านั้น  ซึ่งบุคคลประเภทนี้  หากรวมตัวกันทำละหมาดญุมุอะฮ์  ก็ย่อมไม่เป็นละหมาดญุมุอะฮ์  แต่หากพวกเขาได้ยินเสียงอะซานของพื้นที่ทำการละหมาดญุมุอะฮ์นั้น  ก็จำเป็นต้องละหมาดญุมุอะฮ์ร่วมกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้น 

เงื่อนไขของการทำให้ละหมาดญุมุอะฮ์ใช้ได้

1. การละหมาดญุมุอะฮ์ต้องทำเป็นญะมาอะฮ์

2. ต้องครบ 40 คน ตามมัซฮับของอิมามอัชชาฟิอีย์  เพราะท่านนบีไม่เคยละหมาดญุมุอะฮ์ นอกจาก เกินกว่า 40 คน

3. อยู่ในสถานที่ถูกนับว่าเป็น เมือง หมู่บ้าน  ตำบล  หมายถึง  มีที่อยู่อาศัยของบรรดาผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้น  มีที่ทำการ  มีตลาด  เป็นต้น

4. ให้กระทำในเวลาละหมาดซุฮริ 

5. ต้องมี 2 คุฏบะฮ์  ก่อนทำการละหมาดญุมุอะฮ์     

(ดู จากหนังสืออิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 2 หน้า 84 - 101 ดารุลฟิกร์) 

รายละเอียด

จำนวนผู้ละหมาดวันศุกร์ไม่เป็นปัญหาในกลุ่มประเทศอาหรับ  เพราะว่าพวกเขาละหมาดแต่ละครั้งผู้คนล้นมัสยิดเกิน 40 คนไม่รู้กี่เท่า  ประเด็นมันอยู่ในประเทศที่ไม่ใช่อาหรับ อย่างเช่นบางมัสยิดในประเทศไทย  เป็นต้น 

การละหมาดวันศุกร์  มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากละหมาดฟัรดูทั่วไป  เงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ที่ทำการละหมาดก็ไม่เหมือนกัน  ตามมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์  ถือว่า  ผู้ที่ไม่ใช่เป็นคนพื้นที่จะทำการรวมกลุ่มทำการละหมาดญุมอะฮ์ไม่ได้  แต่ให้ละหมาดซุฮ์รี่ตามปกติ  และผู้ที่ทำการละหมาดวันศุกร์ต้องมีคนในพื้นที่ 40 คน  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยทำการละหมาดวันศุกร์นอกจากต้องมี 40 คนขึ้นไป

ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านนบีกล่าวความว่า 

صلوا كما رأيتمونى أصلى

"พวกท่านจงละหมาด  เสมือนที่พวกท่านเห็น(รู้)ฉันทำละหมาด" รายงานโดย อัลบุคอรีย์

ส่วนรายละเอียดของผู้ที่มีคุณสมบัติในการตั้งละหมาดวันศุกร์ได้นั้น  ท่าน อัลหาฟิซฺ  อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมี (ร่อฮิมะฮุลเลาะฮ์) กล่าวเช่นกันว่า

فلا تنعقد بمن يلزمه حضورها من غير المستوطين لأنه صلي الله عليه وسلم لم يقم الجمعة بعرفة في حجة الوداع مع عزمه علي الإقامة أياما

"ดังนั้น  ถือไม่เป็นการละหมาดวันศุกร์  ด้วยกับบุคคลที่จำเป็นกับเขาต้องไปละหมาดวันศุกร์จากบรรดาผู้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ทำการละหมาดวันศุกร์ที่อะรอฟะฮ์ในช่วงฮัจญีอำลา  พร้อมกับท่านนบีตั้งใจจะอยู่หลายวัน"  ดู  หะวาชีย์ อัชชัรวานีย์ วะ อิบนุ กอซิม อัลอับบาดีย์ อะลา ตั๊วะฟะฮ์  อัลมั๊วะหฺตาจญ์  เล่ม 2 หน้า 434

ท่าน อัลหาฟิซฺ  อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมี (ร่อฮิมะฮุลเลาะฮ์) กล่าววินิจฉัยไว้ว่า

فلا تنعقد بمسافر ومقيم علي عزم عوده لوطنه ولو بعد مدة طويلة

"ดังนั้น ถือว่าไม่เป็นการละหมาดวันศุกร์  ด้วยกับคนเดินทางและผู้ทำการอาศัยอยู่(โดยไม่ใช่เป็นคนพื้นที่) โดยตั้งใจว่าเขาจะกลับไปยังบ้านเกิดของเขา และหากแม้นว่าการตั้งใจจะกลับนั้นหลังจากอาศัยอยู่ในระยะเวลาที่ยาวนานก็ตาม"  แหล่งอ้างอิงเดียวกัน  เล่ม 2 หน้า 435

อนึ่ง  การละหมาดวันศุกร์นั้น  มีบทบัญญัติไว้ในอัลกุรอานซูเราะฮ์  อัลญุมุอะฮ์  แบบสรุปความว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำละหมาดในวันศุกร์"

แต่อายะอ์นี้ยังต้องการรายละเอียดข้อปลีกย่อยต่าง ๆ โดยพิจารณาการกระทำละหมาดวันศุกร์ของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านนบีกล่าวความว่า 

صلوا كما رأيتمونى أصلى

"พวกท่านจงละหมาด  เสมือนที่พวกท่านเห็น(รู้)ฉันทำละหมาด" รายงานโดย อัลบุคอรีย์

รายงานจาก อับดุรเราะฮ์มาน บุตร กะอับ บิน มาลิก - ซึ่งเขาเป็นผู้นำทางบิดาของเขา(คือกะอับ)หลังจากที่ตาของเขาบอด - (อับดุรเราะหฺมาน) ได้รายงานจาก บิดาของเขา(คือกะอับ) ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า "แท้จริง  เมื่อเขา(กะอับ)ได้ยินเสียงอะซานในวันศุกร์  เขาจะกล่าวขอความเมตตาแด่ ท่านอัสอัด บิน ซุรอเราะฮ์  เขา(อับดุรเราะฮ์มาน)เล่าว่า  ฉันได้กล่าวกับเขา(บิดา)ว่า  เมื่อท่านได้ยินเสียงอะซานในวันศุกร์  ท่านขอความเมตตาแก่ท่าน ท่านอัสอัด บิน ซุรอเราะฮ์ กระนั้นหรือ? เขากล่าวว่า เพราะเขาคือบุคคลแรกที่รวบรวมพวกเราทำละหมาดญุมอะฮ์ที่ ฮัซม์อันนะบีต จากหมู่บ้านหัรเราะฮ์บนีบะยาเฏาะฮ์ ในที่สถานที่นะเกียะ ซึ่งถูกเรียกว่า นะเกี๊ยะอัลค่อฏิมาต  ฉันกล่าวว่า  ในวันนั้นพวกท่านมันกันเท่าไหร่หรือ? เขาตอบว่า  40 คน"  รายงานโดย อบูดาวูดและอิบนุมะญะฮ์ 

หะดิษนี้ได้นำเสนอรายงานเช่นกัน โดยท่านอิบนุหิบบานและท่านอัลบัยฮะกีย์  ซึ่งท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า หะดิษนี้  ซอฮิหฺ  ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์  กล่าวว่า  สายรายงานของหะดิษนี้  หะซัน(เกณฑ์ดี) ... (ท่าน อัชเชากานีย์กล่าวว่า) ในสายรายงานนี้  มีมุฮัมมัด บิน อิสหาก  ซึ่งในตัวของเขา  มีการวิจารณ์(ขัดแย้ง)ที่ทราบกัน (แต่หะดิษนี้หะซัน) (ดู หนังสือ นัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 290)

ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวว่า

"ในการวางเงื่อนไข 40 คนดังกล่าวนั้น  เพราะมีสายรายที่ซอฮิหฺ ระบุว่า แท้จริง  ละหมาดญุมอะฮ์แรกที่ถูกทำขึ้น ณ นครมะดีนะฮ์นั้น  มี 40 คน" ดูหนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 432

ท่านอิมาม อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวว่า

ท่านอิมาม อัลบัยฮะกีย์  รายงานจาก ท่านอิบนุมัสอูด (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ว่า

"ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทำละหมาดญุมอะฮ์  โดยที่พวกเขานั้น มี 40 คน"

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า "บรรดานักปราชญ์ของเรากล่าวว่า  หนทางบ่งชี้ของหะดิษนี้คือ  แท้จริง  อุมมะฮ์ได้ลงมติว่า ละหมาดญุมอะฮ์ต้องมีจำนวนคนละหมาด  ซึ่งเดิมแล้วมันคือละหมาดซุฮฺริ  ดังนั้น  จึงไม่จำเป็นต้องละหมาดญุมอะฮ์นอกจากด้วยจำนวนที่การสั่งสอน(แบบอย่าง)ของท่านนบีได้ยืนยันไว้เท่านั้น และแท้จริงได้ยืนยันแล้วว่า อนุญาตให้ทำการละหมาดญุมอะฮ์ได้ด้วยจำนวน 40 คน  และได้มีหะดิษยืนยันว่า "พวกท่านจงละหมาด  เสมือนที่พวกท่านเห็น(รู้)ฉันทำละหมาด" และไม่หะดิษใดยืนยันเลยว่า การละหมาด(ญุมุอะฮ์)ของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะมีจำนวนน้อยกว่า( 40 ) นี้  ดังนั้น  จึงไม่อนุญาตให้ละหมาดญุมุอะฮ์น้อยกว่า 40 คน" ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 1 หน้า 517 , ดูหนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 432

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  กล่าวว่า "ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้นำเสอนรายงานหะดิษนี้  ถือว่าเป็นหลักฐานที่แข็งแรงที่สุด  ที่ชี้ถึงว่า  ท่านอัลบัยฮะกีย์ไม่พบว่ามีบรรดาหะดิษใดที่มาบ่งถึงประเด็นนี้อย่างชัดเจนอีกแล้ว" ดู หนังสือ นัยลุลเอาฏอร เล่ม 3 หน้า 292

ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า

أَخْبَرَنَا إبْرَاهِيمُ بْنُ مُحَمَّدٍ قَالَ‏:‏ أَخْبَرَنَا عَبْدُ الْعَزِيزِ بْنُ عُمَرَ بْنِ عَبْدِ الْعَزِيزِ عَنْ أَبِيهِ عَنْ عُبَيْدِ اللَّهِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عُتْبَةَ قَالَ‏:‏ كُلُّ قَرْيَةٍ فِيهَا أَرْبَعُونَ رَجُلاً فَعَلَيْهِمْ الْجُمُعَةُ

"ได้เล่าให้เราทราบ โดยอิบรอฮีม บิน มุฮัมมัด เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย อับดุลอะซีซฺ บุตร ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซฺ  จากบิดาของเขา  จากอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับดิลลาฮ์ บิน อุตบะฮ์  เขากล่าวว่า "ทุก ๆ หมู่บ้านที่ผู้ชายมี 40 คน  ดังนั้น จำเป็นบนพวกเขาต้องละหมาดญุมอะฮ์"

ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวเช่นกันว่า

أَخْبَرَنَا الثِّقَةُ عَنْ سُلَيْمَانَ بْنِ مُوسَى أَنَّ عُمَرَ بْنَ عَبْدِ الْعَزِيزِ كَتَبَ إلَى أَهْلِ الْمِيَاهِ فِيمَا بَيْنَ الشَّامِ إلَى مَكَّةَ جَمَعُوا إذَا بَلَغْتُمْ أَرْبَعِينَ رَجُلاً

"ได้เล่าให้เราทราบโดยผู้ที่เชื่อถือได้  จากสุไลมาน บิน มูซา ว่า แท้จริง ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ  ได้เขียนสารถึงชาวมิญาฮ์ ที่อยู่ระหว่างเมืองชามกับมักกะฮ์  ให้ทำการรวมละหมาดญุมอะฮ์ เมื่อพวกท่านครบ 40 คน"  ดู หนังสือ อัล-อุม บท จำนวนผู้ที่อยู่หมู่บ้านหนึ่งและจำเป็นบนพวกเขาต้องละหมาดวันศุกร์

หากกล่าวว่า "เหตุการณ์ที่ทำให้ซอฮาบะฮฺเหลือแค่ 12 คนนั้นลองนึกภาพดูว่า เหลือ 12 คนแสดงว่า ตอนเริ่มอ่านคุตบะฮฺคงไม่ใช่ 12 คนอย่างแน่นอนแต่ทำไมเหตุการณ์นั้นนบีจึงไม่ตำหนิ ซอฮาบะฮฺ เป็นไปได้ว่าในตอนนั้นยังไม่มีเงื่อนไขที่แน่นอน ซอฮาบะฮฺที่ไม่ทราบจึงออกไป ในกองคาราวานนั้น"

อิมามอันนะวาวีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ตอบว่า "บรรดาสานุศิษย์ของอิมามอัชชาฟิอีย์และบุคคลอื่น ๆ ที่วางเงื่อนไข 40 คน  ทำการตอบว่า หะดิษดังกล่าวตีความว่า  พวกเขาเหล่านั้นได้หวนกลับมาหรือส่วนหนึ่งจากพวกเขาได้หวนกลับมา โดยครบ 40 คน ดังนั้น ละหมาดญุมอะฮ์จึงครอบ 40 คน  และได้มีหะดิษปรากฏไว้ซ่อฮิหฺอัลบุคคอรีย์ว่า "ระหว่างที่เราได้ทำการละหมาดพร้อมกับท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อกองคาราวานได้มาแล้ว...(จนจบหะดิษ)"  ดู  หนังสือ ชัรหฺมุสลิม เล่ม 3 หน้า 416

ท่านอิมาม อัชชัรวานีย์ กล่าวถ่ายทอดคำฟัตวาของท่าน ชัยคุลอิสลาม อัลบุลกินีย์ว่า

"ท่านอัลบุลกินีย์ได้ถูกถามเกี่ยวกับชาวหมู่บ้านหนึ่ง  ที่จำนวนของพวกเขาไม่ถึง 40 คน  ซึ่งจะให้พวกเขาทำการละหมาดวันศุกร์หรือว่าจะทำละหมาดซุฮฺริ? ท่านชัยคุลอิสลาม อัลบุลกินีย์(ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ตอบว่า  ให้พวกเขาทำการละหมาดซุฮ์ริตามมัซฮับของอิมามอัชชาฟิอีย์  และแท้จริงมีอุลามาอ์กลุ่มหนึ่งได้ทำการ(ฟัตวา)อนุญาตให้พวกเขาละหมาดวันศุกร์ได้  ซึ่งมันเป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก  ดังนั้น หากพวกเขาทั้งหมด(ชาวหมู่บ้านนั้น)ได้ตักลีดตามคำกล่าวของทัศนะนี้  ก็ให้ให้พวกเขาเผื่อปกป้องกันไว้  โดยทำการละหมาดวันศุกร์หลังจากนั้นก็ทำละหมาดซุฮฺริ  ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี"  หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์  เล่ม 2 หน้า 431

การนำเสนอที่ผ่านมานั้น  เป็นการนำเสนอหลักการของมัซฮับอิมามอัชชาฟิอีย์เท่านั้น  กระผมไม่ได้หมายความว่า การละหมาดญุมอะฮ์ 12 คน จะใช้ไม่ได้  เนื่องจากเราให้เกียตริมัซฮับท่านอิมามมาลิก (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์)  และเราไม่ไปตำหนิวิจารณ์หรือแสดงความไม่พอใจกับทัศนะที่แตกต่างกับเรา  เพราะนั่นย่อมหมายถึง  ความมีมานะทิฐิอันสุดโต่งที่อิสลามไม่ส่งเสริม  ไม่ใช่เป็นแบบฉบับของสะฟุศศอลิหฺและยังเป็นพฤติกรรมบิดอะฮ์ตามแบบอย่างของพวกค่อวาริจญ์อีกด้วย 

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
เหรืองมาญั่งสี้ซิบคนถั่งเพ ห้ามายเหรืองมาญั่งข้องคนน๋อกเลยนิ ญังฮิดเดี๊ยว
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ มุคลิศ

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 159
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
สลามุนอะลัยกุ้ม

นบีไม่เคยละหมาดวันศุกร์นอกจากมี 40 คนขึ้นไป  นี่คงเป็นหลักฐานให้กับวะฮาบีที่ชอบว่า  หากนบีไม่เคยทำแล้วไม่ได้อย่างนั้นอย่างนี้   ;D

ออฟไลน์ มุคลิศ

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 159
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ตอนผมอยู่ รร.เก่า พอละหมาดวันศุกร์ เขาจะละหมาด ซุฮริ อีกทีหนึง  คนมากเป็นร้อยก็จริง แต่มาจากที่อื่นทั้งเพ

ละหมาดวันศุกร์เสร็จ  แล้วก็ไปละหมาดซุฮ์รีอีก  มีหลักฐานและรายละเอียดอย่างไร  ผู้รู้โปรดชี้แจงหน่อย

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
ก็คือละหมาดซุฮุรเพื่อว่าละหมาดวันศุกรไม่เซาะ

ความจริงแล้วมันก็ไม่เซาะนั้นแหละครับเพราะว่าไม่มีคนพื้นที่(มุสเตาติน)

เรื่องละหมาดในคุกก็เหมือนกันครับ

หากไม่มีคนพื่นที่ก็ละหมาดใช่ไม่ได้เหมือนกัน ละหมาดซุฮุรก็พอครับ

แต่ถ้าหากว่ามีคนที่ถูกสั่งขังคุกตลอดชีวิตครบ40คน นั้นก็ถือว่าละหมาดวันศุกรได้ครับหากเขามาร่วมละหมาดทั้งหมด

เพราะคนที่ถูกสั่งขังตลอดชีวิตนั้นกลายเป็นมุสเตาตินไปแล้ว

ปัญหาที่พบคือเวลาชาวตับลีฆไปเยี่ยมคนคุก แล้วถูกเชิญให้เป็นอิหม่าม

ตัวเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี

เพราะไม่รู้หุกุมว่าจะละหมาดได้รึปล่าว

นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
สุดท้าย สรุป ผมต้องกอดอ?!?!
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ ۞QolbunSaleem۞

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 168
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ตอนผมอยู่ รร.เก่า พอละหมาดวันศุกร์ เขาจะละหมาด ซุฮริ อีกทีหนึง  คนมากเป็นร้อยก็จริง แต่มาจากที่อื่นทั้งเพ

ละหมาดวันศุกร์เสร็จ  แล้วก็ไปละหมาดซุฮ์รีอีก  มีหลักฐานและรายละเอียดอย่างไร  ผู้รู้โปรดชี้แจงหน่อย

อัสตัฆฟิรุลลอฮ!!!!

คนเป็นร้อยแล้วยังละหมาดยุมอะห์ไม่เซาะห์ เพราะติดกับเงื่อนไขในมัสหับ นี่ประชาชาติอิสลามเราจะตกต่ำขนาดไหนเนี่ยะ.. frown

ออฟไลน์ vrallbrothers

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 498
  • ALLAH MAHA BESAR...
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
 salam

อัสตัฆฟิรุลลอฮ!!!!

คนเป็นร้อยแล้วยังละหมาดยุมอะห์ไม่เซาะห์ เพราะติดกับเงื่อนไขในมัสหับ นี่ประชาชาติอิสลามเราจะตกต่ำขนาดไหนเนี่ยะ.. frown

แล้วตกลงแล้วเป็นอย่างไร และเราจะต้องทำอย่างไรครับเนี๊ยะ? ท่าน Qolbun_saleem หรือท่านผู้รู้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยได้ไหมครับ



เวลาเปรียบเสมือนคมดาบ...หากท่านไม่ตัดมัน มันจะตัดท่าน



ยะฮูดีใช้ระเบิดฟอสฟอรัส... เลวร้าย ป่าเถื่อนยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อัสตัฆฟิรุลลอฮ!!!!

คนเป็นร้อยแล้วยังละหมาดยุมอะห์ไม่เซาะห์ เพราะติดกับเงื่อนไขในมัสหับ นี่ประชาชาติอิสลามเราจะตกต่ำขนาดไหนเนี่ยะ.. frown

อย่าคิดอะไรสั้น ๆ ครับคุณ   ไม่ได้ติดเงื่อนไขของมัซฮับ  แต่มันขัดกับซุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ท่านได้กระทำเอาไว้  เพราะผู้ทำการละหมาดวันศุกร์ในสมัยของท่านนบีนั้น  คือผู้ที่อยู่ในพื้นที่  ซึ่งสามารถตั้งญุมอะฮ์ขึ้นมาได้  แต่คนอยู่ในทะเลทรายอยู่อาศัยอย่างไม่ถาวรนั้น  ถือว่าไม่ใช่เป็นคนในพื้นที่  ก็ไม่สามารถตั้งญุมอะฮ์เองได้

และคำว่ามัซฮับ  มิเคยทำให้ประชาชาติตกต่ำ  เพราะมัซฮับมีมาเป็นพันปีเพียงคู่กับศาสนาอิสลามโดยตลอด  และอิสลามยังคงดำรงอยู่ด้วยปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามผู้มีมัซฮับมาทุกยุคสมัย  ส่วนผู้ที่เรียกร้องไม่มีมัซฮับในปัจจุบันต่างหาก  ที่ทำให้อิสลามตกต่ำ  วัลอิยาซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรร่อญีม!!

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านนบีกล่าวความว่า 

صلوا كما رأيتمونى أصلى

"พวกท่านจงละหมาด  เสมือนที่พวกท่านเห็น(รู้)ฉันทำละหมาด" รายงานโดย อัลบุคอรีย์

ส่วนรายละเอียดของผู้ที่มีคุณสมบัติในการตั้งละหมาดวันศุกร์ได้นั้น  ท่าน อัลหาฟิซฺ  อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมี (ร่อฮิมะฮุลเลาะฮ์) กล่าวเช่นกันว่า

فلا تنعقد بمن يلزمه حضورها من غير المستوطين لأنه صلي الله عليه وسلم لم يقم الجمعة بعرفة في حجة الوداع مع عزمه علي الإقامة أياما

"ดังนั้น  ถือไม่เป็นการละหมาดวันศุกร์  ด้วยกับบุคคลที่จำเป็นกับเขาต้องไปละหมาดวันศุกร์จากบรรดาผู้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ทำการละหมาดวันศุกร์ที่อะรอฟะฮ์ในช่วงฮัจญีอำลา  พร้อมกับท่านนบีตั้งใจจะอยู่หลายวัน"  ดู  หะวาชีย์ อัชชัรวานีย์ วะ อิบนุ กอซิม อัลอับบาดีย์ อะลา ตั๊วะฟะฮ์  อัลมั๊วะหฺตาจญ์  เล่ม 2 หน้า 434

แม้จะมีเป็นร้อยคน  หากไม่ใช่คนในพื้นที่  และตั้งใจจะกลับบ้านเกิดของตน  ก็ไม่สามารถตั้งญุมอะฮ์ได้  ดังนั้น  การนำเสนอของท่านอิบนุหะญัร  จากการกระทำของท่านนบีนี้  เด็กวิทยาลัยที่ตั้งญุมอะฮ์กันเองโดยตนเองมิใช่เป็นคนมุสเตาฏีล(คนในพื้นที่)  ก็ถือการละหมาดญุมอะฮ์นั้นใช้ไม่ได้  ตามทัศนะของมัซฮับชาฟิอีย์โดยอ้างหลักฐานจากการกระทำของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  นั่นเอง 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 24, 2008, 10:00 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ۞QolbunSaleem۞

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 168
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ตอนผมอยู่ รร.เก่า พอละหมาดวันศุกร์ เขาจะละหมาด ซุฮริ อีกทีหนึง  คนมากเป็นร้อยก็จริง แต่มาจากที่อื่นทั้งเพ

ละหมาดวันศุกร์เสร็จ  แล้วก็ไปละหมาดซุฮ์รีอีก  มีหลักฐานและรายละเอียดอย่างไร  ผู้รู้โปรดชี้แจงหน่อย

อัสตัฆฟิรุลลอฮ!!!!

คนเป็นร้อยแล้วยังละหมาดยุมอะห์ไม่เซาะห์ เพราะติดกับเงื่อนไขในมัสหับ นี่ประชาชาติอิสลามเราจะตกต่ำขนาดไหนเนี่ยะ.. frown

ไม่ได้ติดเงื่อนไขของมัซฮับ  แต่มันขัดกับซุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ที่ท่านได้กระทำเอาไว้  เพราะผู้ทำการละหมาดวันศุกร์ในสมัยของท่านนบีนั้น  คือผู้ที่อยู่ในพื้นที่  ซึ่งสามารถตั้งญุมอะฮ์ขึ้นมาได้  แต่คนอยู่ในทะเลทรายอยู่อาศัยอย่างไม่ถาวรนั้น  ถือว่าไม่ใช่เป็นคนในพื้นที่  ก็ไม่สามารถตั้งญุมอะฮ์เองได้

และคำว่ามัซฮับ  มิเคยทำให้ประชาชาติตกต่ำ  เพราะมัซฮับมีมาเป็นพันปีเพียงคู่กับศาสนาอิสลามโดยตลอด  และอิสลามยังคงดำรงอยู่ด้วยปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามผู้มีมัซฮับมาทุกยุคสมัย  ส่วนผู้ที่เรียกร้องไม่มีมัซฮับในปัจจุบันต่างหาก  ที่ทำให้อิสลามตกต่ำ 

วัลลอฮุอะลัม
 

 salam
คือผมไม่ได้ตำหนิมัสหับนะครับท่าน... แต่ผมไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องละหมาดวันศุกร์ ที่ไม่ครบเงื่อนไข ก็ไม่ต้องละหมาด ...

แล้วอย่างนักศึกษาที่มาเรียนมหาลัยในกรุงเทพ บางมหาลัยก็มีมุสลิมเป็นร้อยๆ และแถวๆนั้นอาจจะไม่มีมัสยิดอยู่ เราไม่ใช่คนกรุงเทพ ก็ไม่ต้องทำละหมาดวันศุกร์หรือครับ..เพราะตอนบ่ายโมงตรง บางคนก็ติดเรียน จะไปละหมาดมัสยิดไกลๆมหาลัย ก็เกรงจะเลยเวลาเรียน ...

แล้วมุสลิมอย่างเราๆ ไม่ทำละหมาดยุมอะห์ เป็นปีๆ บ้างก็สี่ปีถ้าเรียนคณะทั่วๆไป บ้างก็มีห้าปี หกปีก็มี แล้วขณะศึกษาอยู่ ไม่ได้ทำละหมาดวันศุกร์เลย ทั้งๆที่คนมุสลิมในมหาลัยมีเป็นร้อยๆ แล้วเจตณารมณ์ของการรวมตัวละหมาดวันศุกร์หล่ะครับ มันไม่ใช่เพื่อการรวมตัวของมุสลิมหรือ ? เป็นผมแค่ขาดละหมาดศุกร์เดียวก็จะตายแล้วครับท่าน...แล้วคนขาดละหมาดวันศุกร์เป็นเดือนๆเป็นปีๆ ไม่ทราบเหมือนกันว่า จิตใจจะสงบได้อย่างไร...

อืม..ครับ แล้วถ้าผมคิดว่า ผมมาอยู่ก็นานแล้วนะ ผมจะถือว่า ผมเป็นคนพื้นที่นี้ได้หรือยังครับ คำว่าคนพื้นที่นี่ มีนิยามอย่างไรครับ ต้องเกิดที่นี่หรือเปล่า หรือว่า ต้องอยู่ที่นี่เป็นระยะเวลาอย่างไร นานเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า เป็นคนพื้นที่ แล้วถ้าสมมติว่าผมแต่งงานกับคนกรุงเทพ ผมก็จะเป็นคนพื้นที่นี้ใช่ไหมครับหรือยังเป็นคนต่างถิ่นอยู่

แล้วถ้าผมจะยึดประเทศไทยทั้งประเทศได้ไหมครับ ว่าผมอยู่ในประเทศไทย ผมก็เป็นคนพื้นที่ในประเทศไทย ผมจะเป็นคนต่างถิ่นได้ ก็ต่อเมื่อผมไปต่างประเทศเท่านั้น...คืออยากให้บังช่วยนิยามว่า คนพื้นที่หน่ะ มีนิยามอย่างไรหรอครับ...

แล้วถ้าผมเป็นคนต่างถิ่น ไปละหมาดวันศุกร์ในที่ต่างถิ่น ซึ่งจำนวนคนพื้นที่ก็ครบจำนวน ผลบุญหล่ะครับ จะได้เท่ากับคนพื้นที่หรือเปล่า เพราะมานับผมว่าผมเป็นคนต่างถิ่นหนิ เหมือนผมเป็นคนแปลกหน้าอะไรอย่างนั้น ทั้งๆที่เป็นมุสลิมด้วยกันทั้งนั้น ...นี่แหล่ะครับที่เป็นประเด็นที่ผมยังค้างคาใจอยู่ ผมไม่ได้ตำหนิมัสหับนะครับ แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยในประเด็นละหมาดวันศุกร์บางประเด็นเท่านั้นเอง

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
คือผมไม่ได้ตำหนิมัสหับนะครับท่าน... แต่ผมไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องละหมาดวันศุกร์ ที่ไม่ครบเงื่อนไข ก็ไม่ต้องละหมาด ...

แล้วอย่างนักศึกษาที่มาเรียนมหาลัยในกรุงเทพ บางมหาลัยก็มีมุสลิมเป็นร้อยๆ และแถวๆนั้นอาจจะไม่มีมัสยิดอยู่ เราไม่ใช่คนกรุงเทพ ก็ไม่ต้องทำละหมาดวันศุกร์หรือครับ..เพราะตอนบ่ายโมงตรง บางคนก็ติดเรียน จะไปละหมาดมัสยิดไกลๆมหาลัย ก็เกรงจะเลยเวลาเรียน ...

แล้วมุสลิมอย่างเราๆ ไม่ทำละหมาดยุมอะห์ เป็นปีๆ บ้างก็สี่ปีถ้าเรียนคณะทั่วๆไป บ้างก็มีห้าปี หกปีก็มี แล้วขณะศึกษาอยู่ ไม่ได้ทำละหมาดวันศุกร์เลย ทั้งๆที่คนมุสลิมในมหาลัยมีเป็นร้อยๆ แล้วเจตณารมณ์ของการรวมตัวละหมาดวันศุกร์หล่ะครับ มันไม่ใช่เพื่อการรวมตัวของมุสลิมหรือ ? เป็นผมแค่ขาดละหมาดศุกร์เดียวก็จะตายแล้วครับท่าน...แล้วคนขาดละหมาดวันศุกร์เป็นเดือนๆเป็นปีๆ ไม่ทราบเหมือนกันว่า จิตใจจะสงบได้อย่างไร...

อืม..ครับ แล้วถ้าผมคิดว่า ผมมาอยู่ก็นานแล้วนะ ผมจะถือว่า ผมเป็นคนพื้นที่นี้ได้หรือยังครับ คำว่าคนพื้นที่นี่ มีนิยามอย่างไรครับ ต้องเกิดที่นี่หรือเปล่า หรือว่า ต้องอยู่ที่นี่เป็นระยะเวลาอย่างไร นานเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า เป็นคนพื้นที่ แล้วถ้าสมมติว่าผมแต่งงานกับคนกรุงเทพ ผมก็จะเป็นคนพื้นที่นี้ใช่ไหมครับหรือยังเป็นคนต่างถิ่นอยู่

แล้วถ้าผมจะยึดประเทศไทยทั้งประเทศได้ไหมครับ ว่าผมอยู่ในประเทศไทย ผมก็เป็นคนพื้นที่ในประเทศไทย ผมจะเป็นคนต่างถิ่นได้ ก็ต่อเมื่อผมไปต่างประเทศเท่านั้น...คืออยากให้บังช่วยนิยามว่า คนพื้นที่หน่ะ มีนิยามอย่างไรหรอครับ...

แล้วถ้าผมเป็นคนต่างถิ่น ไปละหมาดวันศุกร์ในที่ต่างถิ่น ซึ่งจำนวนคนพื้นที่ก็ครบจำนวน ผลบุญหล่ะครับ จะได้เท่ากับคนพื้นที่หรือเปล่า เพราะมานับผมว่าผมเป็นคนต่างถิ่นหนิ เหมือนผมเป็นคนแปลกหน้าอะไรอย่างนั้น ทั้งๆที่เป็นมุสลิมด้วยกันทั้งนั้น ...นี่แหล่ะครับที่เป็นประเด็นที่ผมยังค้างคาใจอยู่ ผมไม่ได้ตำหนิมัสหับนะครับ แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยในประเด็นละหมาดวันศุกร์บางประเด็นเท่านั้นเอง

กรณีที่เราได้นำเสนอนี้  ไม่ใช่ห้ามนักศึกษาทำการละหมาดวันศุกร์  มีมากมายที่นักศึกษาได้ทำการละหมาดวันศุกร์ในมัสยิดที่อยู่ไม่ไกลจากมหาลัยที่พวกเขาเรียนอยู่  ดังนั้น  หากนักศึกษาอยู่ในเขตของมัสยิดในพื้นที่นั้น  ก็วายิบ  จำเป็น  ต้องละหมาดวันศุกร์  เพราะไปอยู่เกิน 3 วัน  ถือว่าเป็นคน มุกีม จำเป็นต้องละหมาดอยู่แล้ว 

ส่วนเด็กมหาลัยที่อยู่หลายปีหลายนั้น  ไม่ใช่อยู่ที่มหาลัยโดยไม่ได้ออกไปใหนกันเป็นปี ๆ พวกเขามีโอกาสละหมาดวันศุกร์กันเยอะ  อย่าคิดแบบว่าอยู่ในมหาลัยกันเป็น  4 - 6 ปี  เหมือนคุกที่ไม่ได้ออกไปใหนนี่ครับ  ในหนึ่งปีนั้น  อยู่ในมหาลัยกี่เดือน??  การที่บอกว่าไม่ได้ทำวันศุกร์เลยนั้น  มันขัดกับความจริง 

แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า   นักศึกษาตั้งญุมอะฮ์ขึ้นกันเอง โดยมิใช่คนในพื้นที่ตั้งญุมอะฮ์  ซึ่งถือว่าการละหมาดใช้ได้หรือไม่? 

ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านนบีกล่าวความว่า

صلوا كما رأيتمونى أصلى

"พวกท่านจงละหมาด  เสมือนที่พวกท่านเห็น(รู้)ฉันทำละหมาด" รายงานโดย อัลบุคอรีย์

ส่วนรายละเอียดของผู้ที่มีคุณสมบัติในการตั้งละหมาดวันศุกร์ได้นั้น  ท่าน อัลหาฟิซฺ  อิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมี (ร่อฮิมะฮุลเลาะฮ์) กล่าวเช่นกันว่า

فلا تنعقد بمن يلزمه حضورها من غير المستوطين لأنه صلي الله عليه وسلم لم يقم الجمعة بعرفة في حجة الوداع مع عزمه علي الإقامة أياما

"ดังนั้น  ถือไม่เป็นการละหมาดวันศุกร์  ด้วยกับบุคคลที่จำเป็นกับเขาต้องไปละหมาดวันศุกร์จากบรรดาผู้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ทำการละหมาดวันศุกร์ที่อะรอฟะฮ์ในช่วงฮัจญีอำลา  พร้อมกับท่านนบีตั้งใจจะอยู่หลายวัน"  ดู  หะวาชีย์ อัชชัรวานีย์ วะ อิบนุ กอซิม อัลอับบาดีย์ อะลา ตั๊วะฟะฮ์  อัลมั๊วะหฺตาจญ์  เล่ม 2 หน้า 434

แล้วทำไมท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ไม่ได้ทำละหมาดญุมอะฮ์  ที่อะรอฟะฮ์ในช่วงทำฮัจญ์วะดาอฺ ล่ะครับ  ทั้งที่ท่านพำนักที่นั่นหลายวัน?
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged