อืม..ครับ แล้วถ้าผมคิดว่า ผมมาอยู่ก็นานแล้วนะ ผมจะถือว่า ผมเป็นคนพื้นที่นี้ได้หรือยังครับ คำว่าคนพื้นที่นี่ มีนิยามอย่างไรครับ ต้องเกิดที่นี่หรือเปล่า หรือว่า ต้องอยู่ที่นี่เป็นระยะเวลาอย่างไร นานเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า เป็นคนพื้นที่ แล้วถ้าสมมติว่าผมแต่งงานกับคนกรุงเทพ ผมก็จะเป็นคนพื้นที่นี้ใช่ไหมครับหรือยังเป็นคนต่างถิ่นอยู่
แล้วถ้าผมจะยึดประเทศไทยทั้งประเทศได้ไหมครับ ว่าผมอยู่ในประเทศไทย ผมก็เป็นคนพื้นที่ในประเทศไทย ผมจะเป็นคนต่างถิ่นได้ ก็ต่อเมื่อผมไปต่างประเทศเท่านั้น...คืออยากให้บังช่วยนิยามว่า คนพื้นที่หน่ะ มีนิยามอย่างไรหรอครับ...
แล้วถ้าผมเป็นคนต่างถิ่น ไปละหมาดวันศุกร์ในที่ต่างถิ่น ซึ่งจำนวนคนพื้นที่ก็ครบจำนวน ผลบุญหล่ะครับ จะได้เท่ากับคนพื้นที่หรือเปล่า เพราะมานับผมว่าผมเป็นคนต่างถิ่นหนิ เหมือนผมเป็นคนแปลกหน้าอะไรอย่างนั้น ทั้งๆที่เป็นมุสลิมด้วยกันทั้งนั้น ...นี่แหล่ะครับที่เป็นประเด็นที่ผมยังค้างคาใจอยู่ ผมไม่ได้ตำหนิมัสหับนะครับ แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยในประเด็นละหมาดวันศุกร์บางประเด็นเท่านั้นเอง
คุณต้องทราบประเด็นก่อนว่า สิ่งที่พี่น้องได้ถามมานั้น คือ กรณีผู้ไม่ได้เป็นคนพื้นที่ได้ทำการตั้งญุมอะฮ์ขึ้น ส่วนนักศึกษาที่ไม่ได้เป็นคนพื้นที่ หากได้ทำการละหมาดญุมอะฮ์ในพื้นที่นั้น ๆ ที่มีคุณพื้นที่ตั้งญุมอะฮ์ขึ้นมา ก็ถือว่าได้ญุมอะฮ์ และวายิบต้องละหมาดญุมอะฮ์
สำหรับคนที่มาจากพื้นที่อื่น แล้วมาอยู่ 4 วันขึ้นไป หรืออยู่นานโดยมิได้ตั้งใจปักหลักสร้างฐานอยู่ในพื้นที่นั้นโดยไม่ตั้งใจว่าจะกลับไปบ้านเกิดที่เป็นพื้นที่เดิมของตน ก็ถือเป็นคนมุกีม ก็วายิบจำเป็นต้องละหมาดญุมาอะฮ์ในพื้นที่ที่มีการละหมาดญุมาอะฮ์ (แต่คนมุกีมไม่สามารถตั้งญุมอะฮ์ขึ้นมาเองได้ นอกจากคนในพื้นที่(มุสเตาฏีล)เท่านั้น) ดังนั้น ถ้าหากคุณอยู่นาน ปักหลักสร้างฐานอาศัยอยู่ที่นั่นโดยไม่ตั้งใจว่าจะกลับไปพื้นที่เดิมอีกแล้ว ก็ถือว่าเป็นคน มุสเตาฏีน (คนในพื้นที่)
ส่วนคนมุสเตาฏีล (คนในพื้นที่) นั้น หมายถึง ผู้ที่อยู่อาศัยที่พื้นที่นั้นโดยไม่ได้เดินทางออกจากพื้นที่เลย นอกจากมีความจำเป็น เช่นออกเดินทางไปค้าขายหรือเดินไปเยี่ยมเยือนพี่น้องมุสลิมที่พื้นที่อื่น ดังนั้น การที่ต้องเป็นคนในพื้นที่นั้น ถือว่าเป็นเงื่อนไขของการตั้งญุมอะฮ์ขึ้นมา ไม่ใช่หมายความว่า หากไม่ใช่คนในพื้นที่แล้ว จะละหมาดใช้ไม่ได้นี่ครับ เนื่องจากตรงนี้เราพูดถึงเรื่องการตั้งญุมอะฮ์ขึ้นมาของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่
ดังนั้น หลักฐานของเงื่อนไขข้อนี้ก็คือ
ละหมาดญุมอะฮ์ไม่ได้มีการปฏิบัติในสมัยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ นอกจากเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว และชาวอาหรับเผ่าต่าง ๆ ก็อาศัยอยู่รอบ ๆ นครมะดีนะฮ์นั้น พวกเขาไม่ได้ทำละหมาดญุมอะฮ์ และท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่เคยใช้ให้พวกเขาทำญุมอะฮ์เลยเฉพาะฉะนั้น นักศึกษาที่เดินทางมาเรียนที่มหาลัย จะตั้งญุมอะฮ์กันขึ้นมาเองย่อมไม่ได้ เพราะไม่ครบเงื่อนไข แต่ให้ทำการละหมาดซุฮ์ริ
วัลลอฮุอะลัม