ผู้เขียน หัวข้อ: มัซฮับ  (อ่าน 1920 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deen.

  • บุคคลทั่วไป
มัซฮับ
« เมื่อ: ก.ค. 22, 2008, 10:16 AM »
0

เราจำเป็น(วาญิบ)ต้องตามมัซฮับหนึ่งมัซฮับใดใช่ใหม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มัซฮับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ค. 25, 2008, 10:29 AM »
0
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

คนเอาวามสามัญชนทั่วไปที่ไม่สามารถวินิจฉัยอัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ต้องมีมัซฮับ  แต่ทว่าการสังกัดมัซฮับเดียวนั้น  ไม่จำเป็น(วายิบ) แต่เพียงแค่อนุญาต(ยาอิซฺ)เท่านั้น   

ท่านอัดดิฮ์ลาวีย์ ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ว่า

إن هذه المذاهب الأربعة المدونة المحررة قد إجمعت الأمة أو من يعتد به منها على جواز تقليدها إلى يومنا هذا ، وفى ذلك من المصالح مالا يخفى ، لا سيما فى هذه الأيام التى قصرت فيها الهمم جدا وأشربت النفوس الهوى وأعجب كل ذى رأى برأيه

ความว่า " แท้จริง บรรดามัซฮับทั้งสี่ที่ได้ถูกบันทึกหลักการไว้เรียบร้อยแล้ว อุมมะฮฺอิสลามได้ลงมติหรือผู้ที่ถูกนับด้วยกับเขาจากการลงมติได้ มีมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้ทำการตักลีดตามบรรดามัซฮับทั้งสี่ได้ จนกระทั้งถึงวันของเรานี้ และในสิ่งดังกล่าวเป็นการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบรรดายุคสมัยนี้ ซึ่งบรรดาปฏิธานความุ่งมั่นได้ถดถอยลงไปอย่างมาก และบรรดาจิตใจได้ดื่มด่ำกับอารมณ์ และทุก ๆ ผู้มีความเห็น ต่างก็อวดว่าดีด้วยความเห็นของเขา " ดู หนังสือ อัลอันซอฟ ของอิมามอัดดะฮฺละวีย์ หน้า 53 และหนังสือ อัลหุจญฺตุลบาลิเฆาะฮฺ ของอิมามอัดดะฮฺละวีย์ เล่ม 1 หน้า 123 ตีพิมพ์ที่ อัลค๊อยรียะฮ์

ท่านอัดดะฮฺละวีย์ ซึ่งท่านได้กล่าวต่อจากหน้าที่ 123 จากหนังสือ อัลหุจญฺตุลบาลิเฆาะฮฺ โดยที่ท่านอัดดะฮฺละวีย์ได้กล่าวอย่างชัดจนว่า ไม่ห้ามในการเฉพาะเจาะจงอิมามคนหนึ่งคนใด ท่านวะลียุลเลาะฮฺ อัดดะฮฺละวีย์ กล่าวต่อว่า

وكيف ينكر هذا أحد مع أن الإستفتاء والإفتاء لم يزل بين المسلمين من عهد النبى صلى الله عليه وسلم ، ولافرق بين أن يستفتى هذا دائما ، أو يستفتى هذا حينا وذاك حينا، بعد أن يكون مجمعا على ماذكرنا ، كيف لا ولم نؤمن بفقيه أياً كان أنه أوحى الله إليه الفقه وفرض علينا طاعته وأنه معصوم، فإن إقتدينا بواحد منهم فذالك لعلمنا بأنه عالم بكتاب الله وسنة رسوله ، فلا يخلو قوله إما أن يكون من صريح الكتاب والسنة أو مستنبطاً منهما بنحو من الإستنباط أو عرف بالقرائن أن الحكم فى صورة ما منوطة بعلة كذا وإطمأن قلبه لتلك المعرفة فقاس غير المنصوص على المنصوص ، فكأنه يقول : ظننت أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : كلما وجدت هذه العلة فالحكم هكذا ، والمقيس مندرج فى هذا العموم ، فهذا أيضاً معزى إلى النبى صلى الله عليه وسلم ولكن فى طريقه ظنون ، ولولا ذلك لما قلد مؤمن مجتهدا .

ความว่า " บุคคลหนึ่ง จะปฏิเสธกับกรณีนี้ได้อย่างไร ? ทั้งที่การถามเพื่อขอฟัตวา หรือการทำการฟัตวา ยังคงมีอยู่ระหว่างบรรดามุสลิมีน ตั้งแต่จากยุคสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) โดยที่ไม่มีการแบ่งแยกใด ๆ ระหว่างการขอฟัตวากับ(อิมาม)คนนี้ตลอดไป หรือขอฟัตวากับ(อิมาม)คนนี้ชั่วขณะหนึ่ง หรือ(อิมาม)คนนั้น ชั่วขณะหนึ่งไม่ได้หลังจากที่มันได้เป็นมติแล้วตามสิ่งที่เราได้กล่าวมา ทำไมจะไม่ได้ล่ะ โดยที่เราไม่เคยเชื่อว่าจะมีนักวิชาการฟิกหฺคนใดคนหนึ่งที่อัลเลาะฮฺได้ทรงประทานวะหฺยูกับวิชาฟิกหฺไปยังเขา และพระองค์ทรงกำหนดให้เราภักดีต่อเขา และเชื่อว่าเขานั้นปราศจากความผิด ดังนั้น แท้จริง การที่เราได้เจริญรอยตาม คนหนึ่งคนใดจากพวกเขา โดยที่เป็นแบบนั้น อันเนื่องจากเรารู้ว่า เขาเป็นผู้ที่มีความรู้ในอัลกุรอานและซุนนะฮฺของร่อซูล ดังนั้น คำพูดของเขาไม่พ้นจากการที่ว่า บางทีเขาพูด(วินิจฉัย)มาจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺที่ชัดเจน หรือทำการวินิจฉัยจากทั้งสองด้วยวิธีการหนึ่งจากการวิจัยหรือเขารู้บรรดาข้อความแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า แท้จริงหุกุ่มที่อยู่ในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดนั้น จะเกี่ยวพันธ์อยู่กับเหตุผลอย่างนั้น อย่างนี้ และหัวใจของเขาก็มีความมั่นคง ให้กับการรับรู้สิ่งดังกล่าว ดังนั้นเขาก็ทำการอนุมาณสิ่งที่ไม่ได้ระบุตัวบทเอาไว้ ไปเทียบเคียงกับสิ่งที่ได้ระบุตัวบทเอาไว้ ซึ่งเหมือนกับเขาได้กล่าวว่า ฉันคาดว่า ร่อซูลได้กล่าวไว้ว่า ทุกครั้งที่มีเหตุผล(ของหุกุ่มนั้น) หุกุ่มของมันก็เช่นนั้นด้วย และสิ่งที่ถูกเทียบเคียงนั้น ย่อมอยู่ภายใต้ความหมายที่ครอบคลุมนี้(คือเมื่อมีเหตุผลเหมือนกัน หุกุ่มก็เป็นเช่นนั้นด้วย เช่นเหล้านั้นเมา และหะรอม นะบีซฺ(เหล้าองุ่น)ก็ทำให้เมา ดังนั้นนะบีซฺก็หะรอมด้วย) ดังนั้น อันนี้ก็เช่นกัน ที่ถูกอ้างอิงไปยังท่านนบี(ซ.ล.)ได้ แต่หนทางของมัน(การอ้างอิงไปหานบี)นั้น เพียงแค่ค่อนข้างถูกต้องเท่านั้นเอง ซึ่งหากไม่มีสิ่งดังกล่าว มุอฺมินคนหนึ่งก็จะไม่ตักลีดตามมุจญฺฮิด " ดู หนังสืออัลหุจญฺตุลบาลิเฆาะฮฺ หน้า 124 - 125

บรรดานักปราชญ์ประวัติศาสตร์และนักปราชญ์ประวัตินิติศาสตร์อิสลามไม่ได้ลงมติดอกหรือว่า ในสมัยตาบิอีนนั้น มีสองมัซฮับที่สำคัญ คือ มัซฮับ ( مذهب الرأى) ที่มีเอกลักษณ์ในด้านการวินิจฉัยออกความเห็นที่อยู่ในอิรัก และมัซฮับ (مذهب الحديث) ที่มีการรับหะดิษมาได้มากกว่าที่อยู่แถบฮิญาซฺ(มักกะฮ์ มะดีนะฮ์ เป็นต้น) ดังนั้น คนเอาวามทั่วไปของชาวฮิยาซฺ ก็ทำการตักลีดตามมัซฮับที่แพร่หลายท่ามกลางพวกเขา และคนเอาวามทั่วไปของชาวอิรัก ก็ทำการตักลีดตามมัซฮับที่แพร่หลายท่ามกลางพวกเขา และให้กับมัซฮับนี้ก็มีปวงปราชญ์มุจญฮิดเป็นแกนนำ และอีกมัซฮับหนึ่งก็มีปวงปราชญ์มุจญฮิดเป็นแกนนำเช่นเดียวกัน ??!!

ดังนั้น อะไรหรือที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วขัดกับความเป็นจริงที่มีอยู่ในขณะที่มัซฮับทั้งสี่เกิดขึ้นมา โดยที่ไม่มีมัซฮับไหม่ขึ้นมาอีก ? ซึ่งบทสรุปก็คือ อิมามมัซฮับทั้งสี่นั้น ได้วางแนวทางและหลักสูตรในการวินิจฉัย และทำการแยกแยะหลักฐานต่าง ๆ จากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ วางกฏเกณฑ์ในใช้หลักความเห็นและการกิยาสที่ถูกต้อง และทำการแยะแยกระหว่างความเห็นและการกิยาสที่เป็นโมฆะออกไป แล้วมัซฮับ ( مذهب الرأى) และมัซฮับ (مذهب الحديث) จึงรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันจนการละเลยและความเลยเถิดได้เลือนหายไปทีละน้อย ๆ จนหมดสิ้นไป เพราะฉะนั้น อันนี้แหละ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่หลายของมัซฮับทั้งสี่ อีกทั้งยังเป็นฐานันดรที่สูงส่งในสนามแห่งการวิเคราะห์และวินิจฉัย และเป็นปัจจัยสำคัญในการตอบรับของกลุ่มชนระดับชั้นต่าง ๆ ในสังกัดและยึดถือมัซฮับทั้งสี่ และนี้ก็คือความจริงที่เกิดขึ้น อันเป็นที่รู้กัน

แล้วอะไรอีกเล่าที่จะเกิดเป็นข้อขัดแย้งในสารัตถะของความเป็นจริงที่เกิดการอิจญฮาดและการตักลีดขึ้นมา?? จนกระทั้งทำให้ผู้แต่งหนังสือกล่าวว่า "บรรดาผู้คนอยู่บนสิ่งใดหรือ ก่อนจากจะมีคนนั้นและคนนี้??" ดังนั้น มันเป็นความลุ่มหลงอันใดหรือ?ที่เกิดมีผู้คนที่ทำการตักลีดมัซฮับทั้งสี่ ซึ่งพวกเขาไม่มีอะไรเลยนอกจากเสมือนกับบรรดาคนเอาวามที่ทำการตักลีดนักปราชญ์ก่อนจากพวกเขาจากมัซฮับ ( مذهب الرأى) และมัซฮับ (مذهب الحديث) และเสมือนกับคนเอาวามที่ตักลีดตามนักปราชญ์ก่อนจากพวกเขาที่มาจากบรรดาซอฮาบะฮ์ชั้นนำและเป็นนักมุจญฮิด??!!

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged