salam
ได้ไปอ่านเจอเว็บมัซฮับวะฮาบี
--------------------------------------------------------------------------------
หุกุมว่าด้วยการอ่านอัลกุรอ่านที่หลุมศพและวางดอกไม้และต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม
حكم قراءة القرآن عند القبر ووضع الورود والريحان
หุกุมว่าด้วยการอ่านอัลกุรอ่านที่หลุมศพและวางดอกไม้และต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม
نرى بعض الناس يقرأون القرآن عند قبر ميتهم إذا زاروه وآخرين يضعون بعض الورود والريحان عند القبر فما حكم ذلك ؟
เราเห็นผู้คนบางส่วนอ่านอัลกุรอ่านที่หลุมผู้ตายของพวกเขา เมื่อพวกเขาเยี่ยมกุบูร และคนอีกส่วนหนึ่ง วางบรรดาดอกไม้และต้นไม้หอมบางชนิดที่หลุมศพ ,ดังกล่าวนั้นมีข้อตัดสิน(หุกุม)ว่าอย่างไร ?
الحمد لله
أما قراءة القرآن عند زيارتها ، فمما لا أصل له في السنة
وهي غير مشروعة ومما يقوي عدم مشروعيتها قوله صلى الله عليه وسلم : (
لا تجعلوا بيوتكم مقابر ، فإن الشيطان يفر من البيت الذي يقرأ فيه سورة البقرة ) أخرجه مسلم والترمذي من حديث أبي هريرة ، فقد أشار إلى أن القبور ليست موضعاً للقراءة شرعاً ، فلذلك حض على قراءة القرآن في البيوت ونهى عن جعلها كالمقابر التي لا يقرأ فيها ،
อัลหัมดุลิลละฮ
สำหรับการอ่านอัลกุรอ่าน ขณะที่เยี่ยมเยียนกุบูรนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ไม่มีที่มาในสุนนะฮ และมันไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติให้กระทำ และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ยืนยันว่ามันไม่ได้ถูกบัญญัติ คือ คำพูดของ
นบี ที่ว่า (พวกท่านอย่าทำบ้านของพวกท่านให้เป็นดังเช่นสุสานฝังศพ (กุบูร) เพราะความจริง ชัยฏอน จะหนีออกจากบ้านที่ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮถูกอ่านในบ้านนั้น ) บันทึกโดย มุสลิมและอัตติรมิซีย์ จากหะดิษอบีฮุรัยเราะฮ ดังนั้น มันจึงชี้ให้เห็นว่า แท้จริง ในทางศาสนานั้น สุสานฝังศพ(กุบูร) ไม่ใช่สถานที่สำหรับอ่านอัลกุรอ่าน เพราะดังกล่าวนั้น สนับสนุนให้อ่านอัลกุรอ่านในบ้านและห้ามทำบ้านให้เป็นเหมือนสุสานฝังศพ(กุบูร) ที่มัน(อัลกรอ่าน)จะไม่ถูกอ่านในนั้น
، كما أشار في الحديث الآخر إلى أنها ليست موضعاً للصلاة أيضاً ، وهو قوله : (
صلوا في بيوتكم ، ولا تتخذوها قبوراً ) أخرجه مسلم وغيره عن ابن عمر ، وهو عند البخاري بنحوه . وترجم له بقوله : ( باب كراهة الصلاة في المقابر ) فأشار به إلى أن حديث ابن عمر يفيد كراهة الصلاة في المقابر ، فكذلك حديث أبي هريرة يفيد كراهة القرآن في المقابر ،
ดังสิ่งที่ปรากฏในหะดิษบทอื่นอีก มันชี้ให้เห็นว่า แท้จริงมัน(กุบูร))ไม่ใช่สถานที่สำหรับละหมาด และมันคือคำพูดของท่านนบี ที่ว่า
(พวกท่านจงละหมาด(สุนัต)ในบ้านของพวกท่าน และพวกท่านอย่าเอามันมาเป็นดังเช่นสุสานฝังศพ) บันทึกโดย มุสลิมและอื่นจากเขา จากอิบนุอุมัร โดยตัวบทที่บันทึกโดยบุคอรี ก็ในทำนองเดียวกัน และ เขาได้อธิบายมันด้วยการกล่าวว่า (บทว่าด้วยเรื่องมักรูฮละหมาดในสุสาน) ดังนั้น ด้วยมัน(ด้วยคำพูดของท่านอิหม่ามบุคอรีดังกล่าว) ได้ ชี้ให้เห็นว่า แท้จริง หะดิษอิบนุอุมัร มีความหมายว่า การละหมาดในสุสานนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ(มักรูฮ) แล้วในทำนองเดียวกันนั้น หะดิษอบูฮูรัยเราะฮ มีความหมายว่า การ
ละหมาดในสุสานนั้น เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ(มักรูฮ)
من مختصر أحكام الجنائز للألباني بتصرف .
-----------------------------------
ตามที่เราเคยทราบมาแล้วว่า ฟัตวาประเทศอียิปต์ยืนยันว่าไม่มีหลักฐานใดมาห้ามการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร แต่อัลบานีกลับยกฮะดิษมาแล้วอ้างว่ามันเป็นการห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูร สรุปว่าอัลบานีย์ผิดพลาดในการวินิจฉัยฮะดิษหรือว่าฟัตวาประเทศอียิปต์ไม่เคยรู้หลักฐานนี้มาก่อนว่าห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูร แล้วอุลามาอ์ฮะดิษของโลกอิสลามมันมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับฮะดิษที่ผมได้เน้นไว้ข้างต้น