ผู้เขียน หัวข้อ: ฮะดิษนี้อัลบานีย์นำวินิจฉัยถูกต้องหรือไม่?  (อ่าน 4845 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
ฟิกซุนนะ พิมด้วย สมาคมนักเรียนเก่า อาหรับใช่ไหมครับ เป็นอย่างนั้น สมัยก่อน เขาเรียก คณะใหม่นั่นแหละครับ

เราสามารถหาหนังสือในเครือได้ เช่น อัลกรุอานแปลไทย ของ สมาคม ที่แปลว่า มือ ของอัลลอฮฺ นั่นแหละครับ

ไม่ได้เป็น มัซฮับ ที่จะยึดเป็น ฮัมบาลี เป็นส่วนใหญ่ครับ เช่น เดียวกับ บางกอกน้อย สุเหร่าขาวอยุธยา คลอง19 อ.ซาฟีอี ดรอิสมาแอล

แต่พวกเขาไม่ได้ด่าว่าพี่น้องคนไหนไม่ทำตามเขาเป็น บิดอะตกนรก หมด แบบ อ ริดอ และ อ มุรีด อย่างที่ลูกศิษย์เขากล่าว

คุณคงเพิ่งมาใหม่มากกว่านะครับ ถึงยังชอบอ้างอิง อุลามะด้านเดียว

เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่อง คิลาฟิยะ มันจะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ศาสนาไม่ได้ชี้ขาดตายตัว เหมือนฮุก่ม เหล้า ซินา แต่เป็นเพียงเรื่องที่กล่าวไว้คร่าวๆ หรือครอบคลุมเสียมากกว่า

วัสลาม...

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
และในประเด็นการอ่านอัลกุรในกุบูร ผมก็เคยอ่านเจอคำกล่าวของอะลิมอาวุโสบางท่านด้วย ในเว็ปไซด์บางเว็บ ตัวอย่างเช่น

1  อิบนุกอ็ยยิม(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

ولم يكن من هديه أن يجتمع للغداء، ويقرأ له القرآن، لا عند قبره ولا غيره، وكل هذا بدعة حادثة مكروهة

และไม่ได้เป็นทางนำของท่านรซูล โดยการ ชุมนุมกันเพื่อรับประทานอาหาร และอ่านอัลกุรอ่านให้แก่เขา(มัยยิต) ไม่ว่าจะกระทำที่กุบูรของเขาหรืออื่นจากนั้นก็ตาม และทั้งหมดนี้ เป็นบิดอะฮ ที่เกิดขึ้นใหม่ ที่น่ารังเกียจ – ดูหนังสือ ซาดุ้ลมะอาด เล่ม 1 หน้า 523

2  อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

وأما جعل المصحف عند القبور لمن يقصد قراءة القرآن هناك وتلاوته فبدعة منكرة لم يفعلها أحد من السلف

“สำหรับ การนำอัลกุรอ่านไปไว้ที่กุบูร สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ที่จะอ่านอัลกุรอ่าน (อุทิศให้ผู้ตาย) และการอ่านมัน ณ ที่นั้น เป็นบิดอะฮ ที่ต้องห้าม ไม่มีชาวสะลัฟคนใดปฏิบัติกัน – มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 24 หน้า 301

3  อัลหาฟิซ อิบนิหะญัร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ว่า
أنه سئل عمن قرأ شيئا من القرآن وقال في دعائه : اللهم اجعل ثواب ما قرأته زيادة في شرف رسول الله صلى الله عليه وسلم ؟ فأجاب : هذا مخترع من متأخري القراء ، لا أعلم لهم سلفاً فيه "
ว่ามีผู้ถามเกี่ยวกับผู้ที่อ่านสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากอัลกุรอ่านและอ่านดุอาว่า "โอ้อัลลอฮ โปรดให้ผลบุญการอ่านอัลกุรอ่านของข้าพระองค์ เป็นการเพิ่มเกียรติแก่รซูลุ้ลลอฮ  " แล้วท่าน(อัลหาฟิซ)ตอบว่า" นี้คือสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมา จากนักอ่านอัลกุรอ่านยุคหลัง โดยที่ข้าพเจ้าไม่ทราบเลยว่าชนยุคสะลัฟ(ยุคก่อน)ของพวกเขา (ปฎิบัติ)ในเรื่องนั้น
- มะวาฮิบุลญะลีล 2/544

4 เช็คอับดุลอะซีซ บิน บาซ กล่าวว่า

لا تشرع قراءة يس ولا غيرها من القرآن على القبر بعد الدفن ولا غير الدفن ولا تشرع القراءة في القبور لأن النبي صلى الله عليه وسلم لم يفعل ذلك، ولا خلفاؤه الراشدون، كل ذلك بدعة

ไม่มีบัญญัติให้อ่านซูเราะฮยาสีน และอื่นจากนั้น จากอัลกุรอ่าน บนหลุมศพ หลังจากที่ได้ฝังมัยยิต และ อื่นจากการฝัง และไม่มีบัญญัติให้อ่านอัลกุรอ่าน ในกุบูร เพราะว่า ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยทำสิ่งนั้น และบรรดาเคาะลิฟะของท่านฮผู้ทรงธรรม ก็ไม่เคยทำ ทั้งหมดนั้น เป็นบิดอะฮ”  ฟะตาวาอิสลามมียะฮ เล่ม 1 หน้า 52

ครับนี่ก็เป็นบางส่วนของคำกล่าวของอุลามาอ์อาวุโส ซึ่งอุลามาอ์บางท่านนั้นท่านก็เคารพนับถือด้วยใช่มั๊ยครับ แล้วทำไมเขาถึงได้กล่าวสวนทางกับสิ่งที่ท่านได้นำเสนอพี่น้องครับ และคงจะไม่เห็นการวิจารย์อุลามาอ์ในทางลบเหมือนอย่างที่เคยวิจารย์เชคอัลบานย์อีกนะครับ

จริง ๆ แล้วกระทู้นี้  ผมต้องการจะเสวนาเพียงแค่ตัวบทฮะดิษเท่านั้น  ไม่ต้องการยกทัศนะความเห็นของอุลามาอ์  เพราะหากทางเราจะยกทัศนะอุลามาอ์  เราก็ยกไปนานแล้ว  แต่ที่ไม่ยกมา  เพราะว่าเรามีน้ำหนักพอที่จะบอกว่า  ไม่มีซุนนะฮ์ใด ๆ มาห้ามการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  และไม่มีหลักฐานใด ๆ มาห้ามการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  แต่มีหลักฐานที่มีความหมายโดยรวมให้ทำการอ่านอัลกุรอานไม่ว่าจะนอกกุบูรหรือในกุบูร  นอกจากมีฮะดิษมาระบุเจาะจงว่าท่านนบีได้ห้ามการอ่านอัลกุรอานในกุบูรเท่านั้น  ดังนั้งมีหลักฐานที่มีความหมายครอบคลุมโดยมูลรวม(อาม)ให้อ่านอัลกุรอาน  ก็อนุญาตให้อ่านสถานที่ใดก็ตามจนกว่าสถานที่นั้น ๆ มีหลักฐานมาเจาะจงห้าม

เช่นในฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์  ได้กล่าวว่า

أجمع العلماء على أن القراءة على القبر لا تَحْرُم، ولا يأثم فاعلها

"บรรดานักปราชญ์ได้ลงมติว่า  การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรไม่ฮะรอมและผู้กระทำไม่บาป"

ท่านชัยค์อัลอุษมานีย์  กล่าวว่า

وأجمعوا على أن الاستغفار، والدعاء، والصدقة، والحج، والعتق تنفع الميت ويصل إليه ثوابه، وقراءة القرآن عند القبر مستحبة

"บรรดานักปราชญ์ได้ลงมติว่า  การอิสติฆฟาร  การอ่านดุอา  การบริจาคทาน  การทำฮัจญ์  การปล่อยทาส  มีประโยชน์แก่มัยยิด  และผลบุญถึงมัยยิด  และการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นสิ่งที่สุนัตให้กระทำ" ดู  เราะหฺมะตุลอุมมะฮ์ ฟี อิคติลาฟ อัลอุมมะฮ์ หน้า 92  ฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์

ฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์   ได้ระบุว่า

 جاء الأمر الشرعي بقراءة القرآن الكريم على جهة الإطلاق ، ومن المقرر أن الأمر المطلق يقتضي عموم الأمكنة والأزمنة والأشخاص والأحوال ؛ فلا يجوز تقييد هذا الإطلاق إلا بدليل ، وإلا كان ذلك ابتداعًا في الدين بتضييق ما وسَّعه الله ورسوله صلى الله عليه وآله وسلم .
    وعلى ذلك فقراءة القرآن الكريم عند القبر حالة الدفن وبعده مشروعة ابتداءً بعموم النصوص الدالة على مشروعية قراءة القرآن الكريم

"ได้มีระบุมาโดยคำสั่งใช้ตามหลักศาสนาให้ทำการอ่านอัลกุรอานในรูปแบบกว้าง ๆ (มุฏฏ่อลัก) และส่วนหนึ่งจากหลักการที่ได้ถูกกำหนดไว้คือ  คำสั่งใช้ในรูปแบบกว้าง ๆ นั้น  ให้ความหมายครอบคลุมถึงสถานที่ (ไม่ว่าจะสถานที่นอกกุบูรหรือในกุบูรก็ตาม) , เวลา , บุคคล , และสภาพการณ์ ,  ดังนั้น  จึงไม่อนุญาตให้จำกัดหลักการกว้าง ๆ นี้ (คือไม่อนุญาตให้ระบุว่าการอ่านอัลกุรอานในกุบูรฮะรอม) นอกจากต้องมีหลักฐาน  หากไม่มีหลักฐาน(แล้วมาฮุกุ่มว่าฮะรอม)  แน่นอนว่าดังกล่าวนั้น  เป็นการบิดอะฮ์อุตริ(ฮุกุ่ม)ขึ้นมาในศาสนา  ด้วยการทำให้คับแคบในสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์เปิดกว้าง  และตามหลักการดังกล่าว  การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรขณะที่ฝังหรือหลังจยากฝังแล้ว  กระทำได้ตามหลักศาสนา  ด้วยบรรดาตัวบทหลักฐานแบบครอบคลุมที่ชี้ถึงให้กระทำการอ่านอัลกุรอานได้"  ฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์

ดังนั้น  อิบนุ อบี ชัยบะฮ์  ได้กล่าวรายงานไว้ว่า

حدثنا حفص بن غياث، عن المجالد، عن الشعبى قال : كانت الأنصار يقرأون عند الميت بسورة البقرة                         

"ได้เล่ากับเรา โดยหัฟซฺ บิน ฆอยยาษ  จาก อัลมุญาลิด  จากท่านอัชชะอฺบีย์  ท่านกล่าวว่า "บรรดาชาวอันซอร ได้ทำการอ่านอัลกุรอาน  ที่มัยยิด ด้วยกับซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ " ดู  อัลมุซันนัฟ เล่ม 4 หน้า 236 

และท่านค๊อลลาลได้รายงานจากสายรายงานเดียวกัน  ด้วยคำว่า

كانت الأنصار إذا مات لهم ميت اختلفوا غلى قبره يقرأون عنده القرأن                                     

"บรรดาชาวอันซอรนั้น  เมื่อมีผู้ตายคนหนึ่งของพวกเขาเสียชีวิตลง  พวกเขาก็จะทำการสลับกันไปที่กุบูรของผู้นั้น  โดยที่พวกเขาจะทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรของมัยยิดนั้น" ดู  หนังสือ  อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126

และหากเรากลับไปดูหนังสืออัลอุมมฺของอิมามอัช-ชาฟิอีย์  จากเรื่อง "อัลญะนาอิซฺ"  ในบทย่อยเกี่ยวกับเรื่อง "จำนวนการห่อมัยยิด"  ซึ่งท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวระบุไว้ว่า 

  وَأُحِبُّ لَوْ قُرِئَ عِنْدَ الْقَبْرِ، وَدُعِيَ لِلْمَيِّتِ وَلَيْسَ فِي ذَلِكَ دُعَاءٌ مُؤَقَّتٌ

"ฉันรัก หากมีการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร และมีการขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิด(ผู้ตาย)  และในเรื่องดังกล่าวนั้น  ไม่มีการขอดุอาอ์ที่ถูกกำหนดเวลาเอาไว้ตายตัว(คือขอดุอาให้ผู้ตายได้ทุกเวลา)" 

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ชัรฮุสศุดูร  ความว่า

يستحب لزائر القبور أن يقرأ ماتيسر من القرآن ويدعو لهم عقبها .نص عليه الشافعي ,واتفق عليه الأصحاب ,وزاد في موضع آخر وإن ختموا القران على القبر كان أفضل.وكان الإمام أحمد بن حنبل ينكر ذلك أولا حيث لم يبلغه أثر ,ثم رجع حين بلغه

"ถือว่าสุนัต(ชอบให้กระทำ)กับผู้ที่เยี่ยมกุบูร  ทำการอ่านสิ่งง่าย ๆ จากอัลกุรอาน  และถัดจากการอ่านก็ทำการขอดุอาอ์ให้กับพวกเขา ซึ่งอิมามอัชชาฟิอีย์ได้ระบุไว้ในหนังสืออัลอุม  และบรรดาสานุศิษย์ก็มีความเห็นพร้อง  และท่านอิมามอันนะวาวีย์ยังระบุเพิ่มในสถานที่อื่นอีกว่า  หากพวกเขาได้ทำการอ่านอัลกุรอานจบที่กุบูร  ถือว่าดีเยี่ยม  และอิมามอะห์มัด บิน ฮัมบัลนั้นตอนแรกท่านได้เคยปฏิเสธสิ่งดังกล่าวเพราะไม่มีสายรายงานมาถึงท่าน  หลังจากนั้นท่านได้ยกเลิก(การปฏิเสธการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร) ขณะที่มีสายรายงาน(ของท่านอิบนุอุมัร)ได้ทราบมาถึงท่าน" หน้า 296

ท่าน อัลมัรดาวีย์  ได้กล่าวระบุไว้ในหนังสือ  อัลอินซอฟ กล่าวว่า  "การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรไม่เป็นมักโระฮ์  ตามในสายรายงานซอฮิหฺที่สุด(ซึ่งมาจากอิมามอะหฺมัด) และ นี้ก็คือ มัซฮับ  ที่(ท่านอิบนุมุฟลิหฺ) ได้กล่าวไว้ใน หนังสืออัลฟุรั๊วะอ์ และได้ระบุเรื่องนี้ไว้ในมัซฮับ  , ผู้อธิบายได้กล่าวว่า นี้คือคำกล่าวที่เลื่องลือจากอิมามอะหฺมัด"  ดู  เล่ม 2 หน้า 532
ท่านอิบนุมุฟลิหฺ  กล่าวไว้ในหนังสือ  อัลมุบเดี๊ยะอ์  ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอ์ ว่า " การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  ไม่เป็นมักโระฮ์  ตามสองสายรายงานที่ซอฮิหฺยิ่งที่รายงานจากท่านอิมามอะหฺมัด และ นี้ก็คือ มัซฮับ(ของอิมามอะหฺมัด)"  ดู เล่ม 2 หน้า 281 

وأما القراءة على القبر فكرهها أبو حنيفة ومالك وأحمد في احدى الروايتين ولم يكن يكرهها في الأخرى ,وإنما رخص فيها لأنه بلغه ىأن ابن عمر أوصى أن يقرأ عند قبره بفواتح البقرة وخواتيمها وروى عن بعض الصحابة قراءة سورة البقرة زفالقراءة عند الدفن مأثورة في الجملة وأما بعد ذلك فلم ينقل فيه أثر والله أعلم

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์  กล่าวว่า  "สำหรับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น  ท่านอบูฮะนีฟะฮ์และท่านมาลิกถือว่ามักโระฮ์  และท่านอะห์มัดถือว่ามักโระฮ์ในสายรายงานหนึ่งจากท่าน  และท่านอิมามอะห์มัดถือว่าการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรไม่มักโระฮ์ในอีกสายรายงานอื่นอีก  และแท้จริงท่านอิมามอะห์มัดผ่อนปรนในเรื่องการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  เพราะได้ทราบถึงท่านว่า  ท่านอิบนุอุมัรได้สั่งเสียให้ทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรของเขาด้วยกับอายะฮ์ช่วงแรกของซูเราะฮ์บะกอเราะฮ์และอายะฮ์ช่วงท้ายของซูเราะฮ์บะกอเราะฮ์  และถูกรายงานจากซอฮาบะฮ์บางส่วนให้ทำการอ่านซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์  ดังนั้น  การอ่านอัลกุรอานขณะฝัง(ที่กุบูร)นั้น ได้มีรายงานจากซอฮาบะฮ์  สำหรับหลังจากนั้น  ก็ไม่มีสายรายงานจากซอฮาบะฮ์รายงานมาเลย  วัลลอฮุอะลัม" มุจญ์มั๊วะอฺ  อัลฟะตาวา  เล่ม 24 หน้า 298

ท่านอิบนุก๊อยยิม  ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า  "บรรดานักปราชญ์ได้ขัดแย้งเกี่ยวกับอิบาดะฮ์ที่กระทำด้วยร่างกาย  เช่น  การถือศีลอด  การละหมาด   การอ่านอัลกุรอาน  และการซิกรุลลอฮ์   ท่านอิมามอะห์มัด  และปราชญ์สะลัฟส่วนมาก  มีทัศนะว่า  ผลบุญการถือศีลอด  การละหมาด  การอ่านอัลกุรอาน  การซิกรุลลอฮ์  ถึงผู้ตาย  และมันยังเป็นทัศนะของกล่าวบางส่วนของสานุศิษย์อิมามอบูหะนีฟะฮ์  และท่านอิมามอะห์มัดได้กล่าวระบุไว้ในสายรายงานของมุฮัมมัด บิน อะห์มัด  อัลกะห์ฮาล  เขากล่าวว่า  "ได้กล่าวถามแก่ท่านอบีอับดิลลาฮ์ (คือท่านอิมามอะห์มัด) ว่า  ชายคนหนึ่งได้กระทำความดี  จากการละหมาด  การซอดาเกาะฮ์  และอื่น ๆ   แล้วมอบผลบุญครึ่งหนึ่งให้แก่บิดาหรือมารดาของเขา  ท่านอิมามอะห์มัดตอบว่า  "ฉันหวัง(ว่าผลบุญนั้นถึง)"  หรือท่านอิมามอะห์มัดกล่าวว่า "ทุก ๆ สิ่งจากการซอดาเกาะฮ์และอื่น ๆ นั้น  ผลบุญจะถึงแก่มัยยิด"  และท่านอิมามอะห์มัดกล่าวเช่นเดียวกันว่า "ท่านจงอ่านอายะฮ์กุรซีย์ 3 ครั้ง  ท่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัด  และท่านจงกล่าวว่า  "โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า  ความดีงามของมันนั้น  มอบแด่บรรดาชาวกุบูร"   หนังสือ  อัรรั๊วะห์  ของท่านอิบนุก๊อยยิม  1/117

ดังนั้น  มีสะลัฟคนใหนบ้างครับ  ที่ฮุกุ่มว่าการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรฮะรอม  แต่ทางตรงกันข้าม  กลับมีสะลัฟยอมรับในการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  ดังนั้นเมื่อสะลัฟเขายอมรับในเรื่องนี้  แต่ทำไมวะฮาบีปัจจุบันถึงค้าน  หรือว่าวะฮาบีปัจจุบันเข้าใจศาสนามากกว่าสะละฟุศศอลิห์

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 08, 2008, 07:23 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
salam
ลองไปค้นหาเพิ่มเติมในหนังสือฟิกฮุซซุนนะห์ เล่ม1 (เล่มเขียวปกแข็ง) หน้าที่ 436 มีใจความดังต่อไปนี้

บทที่ 34 สถานที่ ที่ห้ามละหมาด

ได้มีคำสั่งห้ามมิให้ละหมาดในสถานที่ดังต่อไปนี้..
1. การละหมาดในสุสาน
               จากบันทึกของอัลบุคอรีย์ และมุสลิม อะห์หมัด และอันนะซาอีย์ ที่รายงานโดยอาอิชะห์ว่า แท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
ความว่า" อัลลอฮได้ทรงสาบแช่งชาวยะฮูดี และนัศรอนี ที่ได้เอาสุสานบรรดานบีของพวกเขาเป็นมัสยิด" (ขอมะอัฟครับ พิมพ์อาหรับไม่เป็น)

               จากบันทึกของอะห์หมัดและมุสลิม ที่รายงานโดย อบีมุรษิด อัลฆ่อนะวีว่า แท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
           " อย่าละหมาดไปทางสุสานและอย่านั่งบนสุสาน "

              จากบันทึกของทั้งสองอีกเหมือนกัน ที่รายงานโดยญุนดุบ อิบนิอับดิลลาฮอัลบะญัลลีว่า ฉันได้ยินท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตห้าวันว่า
ความว่า " แท้จริงคนรุ่นก่อนพวกเจ้านั้น เคยเอาสุสานบรรดานบีของพวกเขาและคนดีๆของพวกเขาเป็นมัสยิด (ที่สุหญูด) พึงทราบเถิดว่า พวกท่านจงอย่าเอาสุสานเป็นที่สุหญูด ความจริงฉันขอห้ามพวกท่านในเรื่องดังกล่าว"

            รายงานจากอาอิชะห์ว่า แท้จริงอุมมะห์สะละมะห์ เคยเล่าให้ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัมฟัง ถึงโบสถ์หลังหนึ่งที่นางเคยเห็นที่ดินแดนอบิสสิเนีย ซึ่งเรียกกันว่า มารียะห์ นางได้เล่าให้ฟังถึงรูปภาพต่างๆที่นางได้เห็นในโบสถ์นั้น ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงได้กล่าวว่า

ความว่า " พวกเจ้านั้นเป็นกลุ่มชนที่เมื่อคนดีๆของพวกเขาเสียชีวิตลง พวกเขาจะสร้างสถานที่สำหรับกราบไหว้บนสุสานนั้น และวาดภาพคนเหล่านั้นไว้ เหล่านั้นเป็นคนชั่วคนเลวสำหรับอัลลอฮ " บันทีกโดย อัลบุคอรี มุสลิม และอันนะซะอี

และรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
ความว่า " อัลลอฮได้ทรงสาบแช่งผู้ไปเยี่ยมเยียนสุสานนั้น และผู้ที่เอาสุสานเป็นที่สุหญูดและประดับประดาโคมไฟ "

นักวิชาการส่วนใหญ่จึงถือเป็นการน่าเกลียดที่จะทำอย่างนั้น ไม่ว่าสุสานนั้นจะอยู่ข้างหน้าผู้ละหมาด หรืออยู่ข้างหลังก็ตาม

ส่วนทัศนะของพวกซอฮีรียะห์ ถือว่าการห้ามนั้นเป็นหะรามแล้วมีบาป และการละหมาดในสุสานนั้นใช้ไม่ได้ (1) (อธิบายเชิงอรรธ(1) นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างชัดเจนไม่ควรที่จะหันเหออก ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม บรรดาหะดีษ ก็ถูกต้องและปรากฏชัดอยู่แล้ว ในแง่ที่ห้ามมิให้ละหมาดในสุสานไม่ว่าเป็นสุสานเดียวหรือหลายสุสานก็ตาม)

ส่วนทัศนะของมัซฮับฮัมบาลี ก็เช่นเดียวกัน ถ้าปรากฏว่ามันประกอบด้วยหลุมฝังศพสามหลุมหรือเกินกว่า ส่วนสถานที่ที่มีหลุมฝังศพเพียง 1 หลุม หรือ 2 หลุม การละหมาดที่นั่นถือว่าใช้ได้แต่น่าเกลียด ถ้าทิศกิบละห์นั้นมีสุสานอยู่ ถ้าไม่มีอยู่ก็ไม่น่าเกลียดแต่ประการใด

2. การละหมาดในโบส์คริสต์ และในโบสถ์ยิว

จะไม่ขอพิมพ์นะครับ เพราะไม่ได้อยู่ในประเด็น

3. การละหมาดในที่ทิ้งขยะ โรงเชือดสัตว์ ตามทางที่พักอูฐ ห้องน้ำ และบนหลังคาบัยตุลลอฮ

จะไม่ขอพิมพ์นะครับ เพราะไม่ได้อยู่ในประเด็น

4. การละหมาดในกะบะห์

จะไม่ขอพิมพ์นะครับ เพราะไม่ได้อยู่ในประเด็น

**********************************************************************************************************
ผมก็เลยสงสัยในหะดีษที่ บังอัลอัซฮารีย์นำเสนอ ซึ่งมีใจความว่า "ได้บอกเล่าให้ฉันทราบโดยผู้ที่เดินพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   โดยเดินผ่านสุสานหนึ่งที่ถูกทิ้งร้างไว้  ดังนั้นท่านนบีจึงเป็นอิมามนำพวกเขา(ซอฮาบะฮ์) แล้วพวกเขาก็ทำการละหมาดตามหลังท่านนบี  ฉันจึงกล่าวถามว่า  ใครที่บอกเล่าให้ท่านทราบเรื่องนี้หรือ  โอ้ อะบาอัมร์  เขาตอบว่า  ท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา" รายงานโดยบุคอรี (1250)

ว่าหะดีษดังกล่าวท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดญานาซะห์หรือเปล่า หรือว่าละหมาดอะไรกันแน่ เพราะในหนังสือที่ผมได้นำเสนอนั้น ห้ามการละหมาดที่มีการสุหยูด ครับ

แล้วเรื่องการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรหล่ะครับ จากคำฟัตวาของอุละมาอ์ที่ผมนำเสนอ (ซึ่งบางคนก็ใส่ชื่อท่านไว้ในแฟ้มอุลามาอ์วะฮาบีย์ ซึ่งท่านเองเคยประกาศหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ว่าท่านเป็นวะฮาบีย์) ท่านมีความเห็นอย่างไรบ้าง

และคงจะไม่ได้ยินคำว่าหนังสือฟิกฮุซซุนนะห์ เป็นหนังสือวะฮาบีย์อีกนะครับ

มันคนละเรื่องแล้วครับคุณ *Qolbun_saleem* ประเด็นเรื่องละหมาดในกุบูรนั้น  ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะเสวนากัน  เพราะเรื่องนี้มีการขัดแย้งกันในมัซฮับทั้ง 4 และมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป  ดังนั้น เมื่อคุณอ่านในหัวข้อของกระทู้อย่างละเอียด  แล้วคุณจะรู้ว่ากระทู้นี้เขาพูดถึงเรื่องอะไร  และพูดถึงประเด็นใหนในการวินิจฉัยของชัยค์อัลบานี   

คุณลองทบทวนอีกทีดังนี้

ตามที่เราเคยทราบมาแล้วว่า ฟัตวาประเทศอียิปต์ยืนยันว่าไม่มีหลักฐานใดมาห้ามการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  แต่อัลบานีกลับยกฮะดิษมาแล้วอ้างว่ามันเป็นการห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  สรุปว่าอัลบานีย์ผิดพลาดในการวินิจฉัยฮะดิษหรือว่าฟัตวาประเทศอียิปต์ไม่เคยรู้หลักฐานนี้มาก่อนว่าห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  แล้วอุลามาอ์ฮะดิษของโลกอิสลามมันมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับฮะดิษที่ผมได้เน้นไว้ข้างต้น

นี่ไงครับ  ท่านอัลบานียกหลักฐานฮะดิษ  ซึ่งพวกเราก็รู้ถึงการอธิบายฮะดิษดังกล่าว  แต่ฮะดิษเหล่านี้  อยู่ดี ๆ ทำไมมันเกี่ยวกับการห้ามการอ่านอัลกุรอานในกุบูร  มันเกี่ยวโยงกันตรงใหน  ทำไมสะลัฟเขาไม่รู้เรื่องเลยว่า ฮะดิษที่รายงานโดยมุสลิมและติรมีซีย์  ห้ามการอ่านอัลกุรอานในกุบูรตามที่ชัยค์อัลบานีเข้าใจ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ละหมาดก็คือละหมาด อ่านอัลกุรอานก็คืออ่านอัลกุรอาน ความหมายและการปฏิบัติมันก็ต่างกันชัดเจน ไม่เข้าใจว่าท่านใช้ตรรกะยังไงในการเปรียบเทียบ หากมีอะไรนำเสนอเพิ่มเติม ก็ช่วยให้ความกระจ่างหน่อยนะครับ

ฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์  ได้ให้ความกระจ่างดังนี้

كما جاء الشرع الشريف بقراءة سورة الفاتحة على الجنازة ؛ وذلك لأن فيها من الخصوصية في نفع الميت وطلب الرحمة والمغفرة له ما ليس في غيرها ، كما في حديث عبادة بن الصامت رضي الله عنه قال : قال رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم : « أُمُّ القرآنِ عِوَضٌ عن غيرها ، وليس غيرُها عِوَضًا عنها » رواه الدارقطني وصححه الحاكم ، وبوَّب لذلك الإمام البخاري في صحيحه بقوله (باب قِرَاءَةِ فَاتِحَةِ الْكِتَابِ عَلَى الْجَنَازَةِ ) ، وهذا أعم من أن يكون في صلاة الجنازة أو خارجها : فمن الأحاديث ما يدل على أنها تُقرأ في صلاة الجنازة ، ومنها ما يدل على أنها تُقرأ عند الدفن أو بعده

"เฉกเช่นได้มีหลักศาสนาที่มีเกียตริมาระบุให้อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ให้กับญะนาซะฮ์  ดังกล่าว  เพราะซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์นั้น  มีความพิเศษในการให้ประโยชน์แก่มัยยิด  และขอความเมตตาและการอภัยโทษแก่มัยยิด  ซึ่งซูเราะฮ์อื่นจากอัลฟาติฮะฮ์นั้นไม่มี  เหมือนที่ได้ระบุไว้ในฮะดิษอุบาดะฮ์ บิน อัศศอมิต ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  เขากล่าวว่า  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า  "แม่บทของอัลกุรอาน(คืออัลฟาติฮะฮ์) เป็นตัวแทนจากซูเราะฮ์อื่น  และซูเราะฮ์อื่นจากฟาติฮะฮ์นั้น  ไม่สามารถแทนซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ได้" รายงานโดยอัดดารุกุตนีย์  และท่านฮากิมถือว่าเป็นฮะดิษซอฮิห์  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ท่านอิมามอัลบุคอรีย์  ได้ตั้งหัวข้อบทหนึ่งไว้ในหนังสือซอฮิห์ของท่านว่า "บทว่าด้วยเรื่องการอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ต่อญะนาซะฮ์"  ซึ่งการอ่านฟาติฮะฮ์แก่ญะนาซะฮ์นั้นไม่ความหมายครอบคลุมทั้งในละหมาดญะนาซะฮ์และนอกละหมาดญะนาซะฮ์  ดังนั้นจึงมีบรรดาฮะดษ  ที่ชี้ถึงให้มีการอ่านฟาติฮะฮ์ในละหมาดญะนาซะฮ์  และมีฮะดิษบางส่วนให้ทำการอ่านอัลฟาติฮะฮ์ขณะที่ฝังและหลังจากฝัง"  ฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์

และเป็นที่ทราบดีว่า  การละหมาดญะนาซะฮ์นั้น  มีการอ่านอัลกุรอานด้วย  คืออ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์  ดังนั้น  หากฮะรอมอ่านอัลกุรอานในกุบูร  แน่นอน  ท่านนบีจะไม่ละหมาดญะนาซะฮ์ในกุบูร  เพราะในการละหมาดญะนาซะฮ์มันมีการอ่านอัลกุรอ่านจากซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์ด้วย 

นั่นคือสิ่งที่ผมได้ชี้แจงไป  ซึ่งมันไม่เกี่ยวเลยว่า  ละหมาดนั้นจะมีสุยูดหรือไม่มีสุยูด  เพราะผมไม่ได้เน้นตรงนั้น  แต่ผมเน้นประเด็นที่ว่า  ละหมาด  มีการอ่านอัลกุรอานอยู่ด้วย นั่นคืออัลฟาติฮะฮ์  ไม่ว่าจะเป็นละหมาดที่มีการสุยูดหรือไม่มีก็ตาม

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 08, 2008, 02:52 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged