ผู้เขียน หัวข้อ: สะลัฟและคอลัฟ  (อ่าน 9483 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
สะลัฟและคอลัฟ
« เมื่อ: ส.ค. 10, 2007, 03:59 AM »
+1

สะลัฟและเคาะลัฟ

การที่ผมนำเสนอเกี่ยวกับเรื่อง สะลัฟและเคาะลัฟนี้  อันเนื่องจากว่า  มีบางกลุ่มยังเข้าใจคำว่า สะลัฟและเคาะลัฟผิดไป  หรือเข้าใจหลักการอากิดะฮ์ของสะลัฟและเคาะลัฟผิดพลาด  โดยอ้างว่าตนเองนี้มีอากิดะฮ์สะลัฟ  ไม่ใช่อากิดะฮ์เคาะลัฟ   หรืออ้างว่าตนเองนี้มีอากิดะฮ์สะลัฟ  ส่วนผู้อื่นจากตนนั้นมีอากิดะฮ์เคาะลัฟซึ่งเป็นบิดอะฮ์   ซึ่งคำพูดอย่างนี้ไม่ใช่เพียงแต่พูดในการหมู่คนทั่วไปเท่านั้น  แต่ยังครอบคลุมไปถึงผู้รู้บางท่านอีกด้วย  ดังนั้น  กระผมจึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะชี้แจงข้อเท็จเกี่ยวกับสะลัฟและเคาะลัฟนี้  เพื่อให้พี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ได้เข้าใจ 

อนึ่ง  คำว่าสะลัฟและเคาะลัฟนั้น  เป็นชื่อเรียกของบรรดาบุคคลที่อยู่ในช่วงสมัยหนึ่งๆ  เท่านั้น  คือทัศนะที่มีน้ำหนักก็คือ  สะลัฟคือกลุ่มชนมุสลิมีนที่อยู่ในช่วง 300 ปี หลังจากที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้ว  และเคาะลัฟ  ก็คือ กลุ่มชนมุสลิมีนที่อยู่ในช่วงหลังจาก 300 ถัดเรื่อยมา 

           คำว่า ซะลัฟ ( السلف ) ในเชิงภาษาอาหรับนั้น หมายถึง ก่อน หรือ เวลาที่ผ่านมาแล้ว ศัพท์เทคนิคตามหลักวิชาการ หมายถึง กลุ่มชนสามศตวรรษแรกของอุมมะฮฺอิสลาม ที่จากประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.)
ท่านอิบนุมัสอูด (ร.ฏ.)รายงานจากท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ (ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า " บรรดามนุษย์ที่ประเสริฐสุดคือศตวรรษของฉัน จากนั้นบรรดาบุคคลที่ถัดจากพวกเขา และจากนั้นบรรดาบุคคลที่ถัดมาจากพวกเขา ..." รายงานโดยท่านอิมามบุคอรีย์และมุสลิม

กลุ่มชนสามศตวรรษแรกนั้น สามารถจำแนกได้ดังนี้ คือ

1. บรรดาซอฮาบะฮฺซึ่งพวกเขาเป็นชนกลุ่มแรกที่รับอุดุมการณ์และอะกีดะฮฺต่างๆ จากท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)โดยตรง หลักการต่างๆ จึงมั่นคงและมีเสถียรภาพอยู่ในสติปัญญาและหัวใจของพวกเขา โดยยังความบริสุทธิ์จากความมัวหมองของบิดอะฮฺและความคลุมเครือ

2. บรรดาตาบิอีนซึ่งพวกเขาก็ยังได้รับสัมผัสทางนำของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยการเจริญรอยตามบรรดาซอฮาบะฮฺของท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.) และได้รับการชี้นำจากพวกเขาด้วยการได้เห็น อยู่ร่วม และได้รับอิทธิพลจากคำสอนต่างๆ ของท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)

3. ตาบิอิตตาบิอีน ซึ่งพวกเขาอยู่ในยุคที่ความบริสุทธิ์ของหลักการอัลอิสลามได้ถูกแทรกซึมจากหลักการภายนอกที่ไม่ใช่อัลอิสลาม จึงทำให้บิดอะฮฺเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย โดยบิดอะฮฺ ความลุ่มหลง และอารมณ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จากสมัยหนึ่ง มายังอีกสมัยหนึ่ง จนกระทั้งถึงปัจจุบัน โดยที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.)ได้กล่าวยืนยันไว้แล้ว ท่านอะนัส บิน มาลิก รายงานจากท่านร่อซูลุลเลาะฮฺ(ซ.ล.) ว่า " ...กาลสมัยหนึ่งจะไม่ผ่านมากับพวกเจ้า นอกจากว่ากาลสมัยหลังจากนั้นจะเลวร้ายยิ่งกว่า" รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม

ดังนั้น  เมื่อหลังจากยุคสะลัฟจะเกิดสิ่งที่เลวร้ายหรือบิดอะฮ์ขึ้นมาบ้างในศาสนาอิสลาม  แต่บรรดานักปราชญ์เคาะลัฟก็จะทำการแบกรับและปกป้องหลักการและอากิดะฮ์อิสลามจากศรัตรูและพวกบิดอะฮ์  จนกระทั้งหลักการต่างๆ ที่นักปราชญ์เคาะลัฟได้มีการรับสืบทอดมาจากนักปราชญ์สะลัฟ  จวบจนถึงเราในปัจจุบัน 

  ได้มีหะดิษที่ซอเฮียะฮฺที่ได้รับการสนับสนุนจากสายรายงานอื่น มีความว่า

مثل أمتى مثل المطر ، لا يدرى أوله خير أم أخره

" ประชาชาติของฉัน อุปมาดังสายฝน โดยที่ไม่รู้ว่าฝนช่วงแรกหรือช่วงหลังที่ดีกว่ากัน " รายงานโดยอิมามอะหฺมัด เล่ม 3 หน้า 130 และท่านตัรมิซีย์ เล่ม 5 หน้า 152 ฮะดิษที่ 2869

ท่านจะพบว่า หะดิษนี้ชี้ถึงความประเสริฐของชนเคาะลัฟเช่นเดียวกับสะลัฟ

แต่กระนั้น  ก็ยังมีบางกลุ่มกล่าวว่า  อากิดะฮ์สะลัฟ  ดีกว่าอะกีดะฮ์เคาะลัฟ   ซึ่งความเป็นจริงแล้ว  คำว่าเคาะลัฟและสะลัฟ ไม่ใช่เป็นคำที่ชี้ถึงความเป็นอากิดะฮ์  เนื่องจากสะลัฟและเคาะลัฟนั้น  มีอากิดะฮ์เดียวกัน  และพวกเขาก็มีอะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์เดียวกัน   แต่ความแตกต่างบางประการระหว่างสะลัฟและเคาะลัฟในเรื่องอากิดะฮ์นั้น  คือ เกี่ยวกับ แนวทาง (الطريق) หรือ วิธี (الكيفية)  ในการอ้างหลักฐานจากบรรดาตัวบทต่างๆ  ที่เกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ ซุบหานะฮ์ ฯ ที่ยังมีความคลุมเคลือในจุดมุ่งหมายของมัน เพื่อพวกเขาจะไปสู่หลักอะกีดะฮ์เดียวกันในการยึดมั่นถึงความบริสุทธิ์ (التنزيه) กับบรรดาซีฟัตของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ ฯ โดยให้พ้นจากการไปมีความเชื่อในการยืนยันถึงความเสมอเหมือนหรือคล้ายคลึงกับบรรดาคุณลักษณะของมัคโลค   

คือบรรดาสะลัฟส่วนมากนั้นจะทำการมอบหมาย(التفويض)  คืออ่านผ่านมันไปตามที่ได้ระบุมา  โดยไม่ทำการอธิบายความหมาย  และทำการมอบหมายความรู้ไปยังอัลเลาะฮ์  ซุบหานะฮ์ และท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม   และส่วนมากของสะลัฟนั้นทำการตีความ(التأويل) ด้วยความหมายที่เหมาะสมกับความเกรียงไกรของอัลเลาะฮ์  ซุบหานะฮ์ ฯ โดยตรงกับหลักภาษาอาหรับซึ่งเป็นภาษาของคำภีร์อัลกุรอาน

เรามักจะพูดและได้ยินคำพูดที่ว่า

  السلف أسلم و الخلف أعلم

"สะลัฟนั้นปลอดภัยกว่า  และเคาะลัฟนั้นรู้มากกว่า"

ซึ่งคำกล่าวในความหมายทำนองนี้  จะเป็นคำกล่าวของบรรดานักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ จากอัลอิชาอิเราะฮ์และอัลมุตูริดียะฮ์   จนกระทั้งมีบางแนวทางในปัจจุบันที่มีความอคติกับอัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมุตูริดียะฮ์  โดยทำการโพธนาแอบอ้างและเก็บเกี่ยวจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนทั่วไปว่า  "อัลอะชาอิเราะฮ์กล่าวว่าเคาะลัฟนั้นมีความรู้มากกว่าสะลัฟ"!!!  ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ใช่เป็นอย่างนั้นเลยแม้แต่น้อย และเท่าไหร่แล้วจากคำกล่าวที่ถูกต้องที่มีผู้ตำหนิอันเนื่องจากเขามีความเข้าใจที่ป่วยไข้

ความจริงแล้ว  ถ้อยคำดังกล่าว  ไม่ใช่หมายถึงเคาะลัฟมีความรู้มากกว่าสะลัฟ  แต่มันหมายถึง  "วิธีหรือแนวทางการอ้างหลักฐานของสะลัฟนั้นปลอดภัยกว่า และวิธีหรือแนวทางการอ้างหลักฐานของเคาะลัฟนั้นให้ความรู้ยิ่งกว่า" 

ท่าน อิมาม อัศศุบกีย์  กล่าวว่า

والتفويض مذهب السلف وهو أسلم، والتأويل مذهب الخلف وهو أعلم، أى أحوج الى مزيد علم

"การมอบหมายนั้น  คือแนวทางของสะลัฟ  โดยที่มันปลอดภัยกว่า  และการตีความนั้น  คือแนวทางของเคาะลัฟ  โดยที่มีความรู้มากกว่า  ซึ่งหมายถึง  ต้องการไปยังการเพิ่มความรู้ได้มากกว่า"  ดู หะชียะฮ์ อัลอัฏฏ๊อร อะลา ชัรหฺ ญัมอิลญะวาเมี๊ยะ  เล่ม 1 หน้า 461

ท่านอัลอัฏฏ๊อรอธิบายว่า

قوله أى أحوج : وليس المراد أن الخلف أعلم من السلف

"คำกล่าวของท่านอัศศุบกีย์ ต้องการไปยังการเพิ่มความรู้มากกว่า นั้น  ไม่ใช่หมายถึง  เคาะลัฟมีความรู้มากกว่าสะลัฟ"  ดู หะชียะฮ์ อัลอัฏฏ๊อร อะลา ชัรหฺ ญัมอิลญะวาเมี๊ยะ  เล่ม 1 หน้า 461

นั่นคือความหมายที่นักปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์มีเจตนาและเข้าใจอย่างนั้น 

ท่านชัยค์ อลี อัศศ่ออีดีย์ อัลอะดะวีย์  อัลมาลิกีย์  ได้กล่าว โดยถ่ายทอดคำพูดของ  อัลลามะฮ์  อิบนุ อบี ยูซุฟ ว่า

مذهب السلف أسلم فهو أولى بالإتباع كما قال بعض المحققين، ويكفيك على أنه أولى بالإتباع ذهاب الأئمة الأربعة إليه، وأما طريقة الخلف فهى أحكم بمعنى أكثر إحكاما أى إتقانا لما فيها من إزالة الشبه عن الإفهام. وبعض عبر بأعلم بدل أحكم بمعنى أن معها زيادة علم لبيان المعنى التفصيلى

"แนวทางของสะลัฟนั้น ปลอดภัยกว่า  ดังนั้นมันจึงดีกว่าในการเจริญรอยตาม  เหมือนที่ส่วนหนึ่งจากอุลามาอ์ที่แน่นแฟ้นในความรู้ได้กล่าวเอาไว้ , และเป็นการเพียงพอแก่ท่าน  ที่มันเป็นการดีกว่าในการเจริญรอยตาม  เพราะเป็นทัศนะของบรรดาอิมามทั้งสี่  และสำหรับแนวทางของเคาะลัฟนั้น  ย่อมประณีตกว่า หมายความว่า  มีความประณีตมากกว่า  คือมีความละเอียดละออ ให้กับสิ่งที่อยู่ในแนวทางนี้ที่มีการขจัดบรรดาความคลุมเครือออกไปจากการทำความเข้าใจ  และนักปราชญ์ส่วนหนึ่งได้ให้สำนวนว่า  รู้มากกว่า แทนคำว่า  ประณีตมากกว่า  ซึ่งหมายถึง  พ้รอมกับแนวทางนี้นั้น  มีการเพิ่มของความรู้ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายในเชิงรายละเอียดมากกว่า"  ดู  หาชียะฮ์ อะลา กิฟายะฮ์ อัฏฏอลิบ อัรร๊อบบานีย์  ลิ ริซาละฮ์ อิบนุ อบีอัลก๊อยร่อวานีย์   ของท่านชัยค์  อลี อัศศ่ออีดีย์ อัลอะดะวีย์  อัลมาลิกีย์   ตีพิมม์ที่ มุสฏ่อฟา อัลหะลาบีย์  ปี ฮ.ศ. 1357 - ค.ศ. 1938

ท่านอิมาม อัล-บาญูรีย์ กล่าวว่า

وطريق الخلف أعلم وأحكم لما فيها من مزيد الإيضاح والرد على الخصوم وهى الأرجح، ولذلك قدمها المصنف، وطريق السلف أسلم : لما فيها من السلامة من تعيين معنى قد يكون غير مراد له تعالى

"และหนทางของเคาะลัฟนั้น รู้มากกว่า และประณีตมากกว่า  เพราะในแนวทางนี้  มีสิ่งที่ทำให้เพิ่มความชัดเจนและสามารถโต้ตอบผู้คัดค้านได้ และมันก็เป็นแนวทางที่มีน้ำหนักกว่า  ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้แต่งหนังสือ(คือท่านอัลลักกอนีย์)ได้นำมันมาอยู่ก่อน  , และแนวทางของสะลัฟนั้น ปลอดภัยกว่า  เพราะในแนวทางนี้  มีสิ่งที่ทำให้มีความปลอดภัยจากการเจาะจงความหมายหนึ่งๆ  ที่บางครั้งอาจจะไม่ตรงกับพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์  ตะอาลา.."

ดังนั้น  จากคำพูดของท่านอิมาม อัลบาญูรีย์ นี้ หมายถึง  แนวทางของเคาะลัฟในการอธิบายแจกแจงและนำเสนอในประเด็นปัญหาต่างๆ  ในเรื่องของอะกีดะฮ์นั้น  ย่อมมีทำให้มีความรู้มากกว่า  คือทำให้ในหัวใจของพวกเขามีความชัดเจนและมีความประณีตมากขึ้น  หมายถึง การพิจาณาถึงยุคสมัยของพวกเขานั้นมีความต้องการอย่างยิ่งยวดในการโต้ตอบพวกบิดอะฮ์และผู้ที่อยู่ในแนวทางเหมือนกับพวกเขา  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  การตีความแบบเคาะลัฟจึงมีน้ำหนักมากกว่าในสมัยของท่าน  คือมีน้ำหนักกว่าในการตอบโต้พวกบิดอะฮ์ เช่นพวกชีอะฮ์อัรรอฟิเฏาะฮ์  พวกอัลมุญัสสิมะฮ์  พวกอัลญะฮ์มียะฮ์  พวกอัลอัชวียะฮ์ และพวกอื่นๆ   ,ไม่ใช่การมีน้ำหนักตามทัศนะของท่านอิมามอัลบาญูรีย์คือหมายความว่าแนวทางของเคาะลัฟดีกว่าสะลัฟ      และแนวทางของสะลัฟนั้น  คือ แนวทางในการนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องอะกีดะฮ์ที่มีความปลอดภัยมากกว่า  เนื่องจากมันเป็นความปลอดภัยจากการเจาะจงความหมายที่บางครั้งอาจจะไม่ตรงตามประสงค์ของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา และเนื่องจากในช่วงสมัยของสะลัฟนั้น  พวกบิดอะฮ์มีไม่มาก จึงไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่จะการอธิบายหลักการในการโต้ตอบพวกบิดอะฮ์  ซึ่งแตกต่างกับเคาะลัฟ  ดังนั้นในยุคสะลัฟนั้น  ส่วนมากแล้วความรู้อันแน่แฟ้นก็ยังอยู่ในหัวใจของพวกเขา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของพวกเขาที่มีความมั่นคงแน่นแฟ้นในการเข้าใจภาษาอาหรับ  ฉะนั้นในยุคสมัยของพวกเขาจึงมีปัญหาน้อยมาก  ซึ่งไม่เหมือนกับยุคสมัยหลังจากพวกเขา

จากที่ผมได้นำเสนอไปแล้วเบื้องต้น  บรรดานักปราชญ์ได้กล่าวว่า  การมอบหมาย(ตัฟวีฏ) คือ มัซฮับของสะลัฟ  และการตีความ(ตะวีล) คือมัซฮับของเคาะลัฟ  ดังนั้น  สิ่งดังกล่าวก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสะลัฟทำการตีความ  แต่หมายความว่า  โดยสรุปแล้วนั้นพวกเขาจะอยู่ในแนวทางของการมอบหมาย  แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเลยทีเดียว  เนื่องหลักฐานที่ระบุว่า มีการรายงานจากส่วนหนึ่งของพวกเขาว่า มีการตีความบางอายะฮ์และบางตัวบท  และเช่นเดียวกันกับการตีความ(ตะวีล)ของเคาะลัฟ  ซึ่งไม่จำเป็นว่าเคาะลัฟทุกคนจะทำการตีความ  แต่เอกลักษณ์ส่วนมากของพวกเขาจะมีการตีความ  แต่กระนั้น  ก็ยังมีบางส่วนที่ยึดแนวทางของสะลัฟ   ดังนั้น  การที่แอบอ้างว่า อัลอะชาอิเราะฮ์กล่าวว่า เคาะลัฟมีความรู้มากกว่าสะลัฟนั้น  จึงเป็นสิ่งที่ผู้มีสติปัญญาไม่พูดกัน

ความแตกต่างในแต่ละช่วงยุคสมัยนั้น  ย่อมไม่ถูกตำหนิใดๆ  กับผลที่เกิดขึ้นตามมา  จากการมีความแตกต่างในวิธีการนำเสนอหลักการ  ไม่ว่าจะเป็นแบบรายละเอียด หรือแบบสรุป  เนื่องมีการสนองความต้องการของพวกเขาแบบเฉพาะการณ์ในสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ  ดังนั้น  ในสมัยของซอฮาบะฮ์  จึงมีความแตกต่างในแง่ของปัญหาต่างๆ ที่ต้องการไปยังการแก้ไขและพิจารณา  เพราะฉะนั้น  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิธีการของนักปราชญ์ในการเผชิญกับปัญหาหรือประเด็นต่างๆ นั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป

กล่าวคือ ในช่วงสมัยของซอฮาบะฮ์และตาบิอีนนั้น  ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอากิดะฮ์จึงมีน้อยมาก  ด้วยเหตุนี้  พวกเขาจึงยึดแนวทางแบบสรุป คือแนวทางการมอบหมาย(ตัฟวีฏ) โดยที่พวกเขาก็ไม่ได้ห้ามการตีความ(ตะวีล) ด้วยหลักฐานที่ว่า มีรายงานการตีความจากพวกเขาด้วย  และสิ่งดังกล่าวนั้น  ก็คือในยุคสมัยดังกล่าวก็ไม่เคยมีช่องว่างจากการสร้างปัญหาที่มาจากลิ้นของผู้ที่ชอบสร้างความสงสัย  ออกนอกลู่

 และคนเอาวามทั่วไปที่ไม่ค่อยมีความเข้าใจประเด็นหนึ่งๆ  แล้วพวกเขาก็มีความต้องการเข้าใจในสิ่งดังกล่าวแบบรายละเอียด  แล้วบรรดานักปราชญ์ก็ทำการตีความ(ตะวีล)  และในขณะที่การสร้างความสงสัยต่างๆ หรือประเด็นปัญหาต่างๆ นั้นมีน้อย  แน่นอนว่า  สิ่งที่รายงานจากการตีความของพวกเขาจึงมีน้อยตามไปด้วย  เพราะฉะนั้น  ในขณะที่ปัญหาต่างๆ ได้เพิ่มทวีคูณและความเข้าใจที่ผิดพลาดได้เกิดขึ้นหลังจากที่ยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมา   บรรดานักปราชญ์จึงมีความจำเป็น  เพื่อปกป้องศาสนาและยืนหยัดภาระหน้ากิจของพวกเขาที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบภาระหน้าที่ให้แก่พวกเขา  ไปยังการชี้แจงแบบรายละเอียดที่เกี่ยวบรรดาตัวบทบางส่วนโดยการตีความ(ตะวีล)  ซึ่งดังกล่าวนั้น  ก็เพื่อพวกเขาจะทำการปกป้องอากิดะฮ์และทำการจำแนกสัจจะธรรมออกจากความเท็จ 

หุจญะตุลอิสลาม อัลอิมาม อัลฆอซาลีย์ (ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า ? ในยุคสะลัฟช่วงแรกๆนั้น เป็นยุคสมัยที่หัวใจมีความสงบมั่นคง พวกเขามีความเข้มงวด ในการหลีกห่างจากการตีความ เพราะเกรงว่าแรงผลักดันเรียกร้องจะเคลื่อนไหวและบรรดาหัวใจจะสับสน ดังนั้นผู้ใดที่ขัดแย้งกับพวกเขาในยุคนั้น เขาก็จะกลายเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนความวุ่นวาย และโยนความคลางแคลงสงสัยให้อยู่ในบรรดาหัวใจของผู้คนทั้งหลาย ทั้งที่ไม่มีความต้องการมันเลย ดังนั้นเขาเหมาะสมที่จะรับบาป แต่สำหรบปัจจุบันนี้ สิ่งดังกล่าวไว้แพร่หลาย จึงเป็นการผ่อนปรนให้เปิดเผยสิ่งดังกล่าว(การตีความ) เพื่อหวังว่าจะสามารถขจัด ความคลางแคลงสงสัยที่ไม่ถูกต้อง ให้พ้นออกจากบรรดาหัวใจให้มากยิ่งขึ้น ? ดู หนังสือ อิลญาม อัลเอาวาม หน้า 28 ของอิมาม อัลฆอซะลีย์

ดังนั้น  ทั้งหมดจากแนวทางของสะลัฟและแนวทางของเคาะลัฟ  ก็ย่อมเป็นแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  อัลอิชาอิเราะฮ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 28, 2008, 05:17 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: สะลัฟและคอลัฟ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 13, 2007, 04:14 AM »
0
ความแตกต่างในแต่ละช่วงยุคสมัยนั้น  ย่อมไม่ถูกตำหนิใดๆ  กับผลที่เกิดขึ้นตามมา  จากการมีความแตกต่างในวิธีการนำเสนอหลักการ  ไม่ว่าจะเป็นแบบรายละเอียด หรือแบบสรุป  เนื่องมีการสนองความต้องการของพวกเขาแบบเฉพาะการณ์ในสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ  ดังนั้น  ในสมัยของซอฮาบะฮ์  จึงมีความแตกต่างในแง่ของปัญหาต่างๆ ที่ต้องการไปยังการแก้ไขและพิจารณา  เพราะฉะนั้น  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิธีการของนักปราชญ์ในการเผชิญกับปัญหาหรือประเด็นต่างๆ นั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป

กล่าวคือ ในช่วงสมัยของซอฮาบะฮ์และตาบิอีนนั้น  ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอากิดะฮ์จึงมีน้อยมาก  ด้วยเหตุนี้  พวกเขาจึงยึดแนวทางแบบสรุป คือแนวทางการมอบหมาย(ตัฟวีฏ) โดยที่พวกเขาก็ไม่ได้ห้ามการตีความ(ตะวีล) ด้วยหลักฐานที่ว่า มีรายงานการตีความจากพวกเขาด้วย  และสิ่งดังกล่าวนั้น  ก็คือในยุคสมัยดังกล่าวก็ไม่เคยมีช่องว่างจากการสร้างปัญหาที่มาจากลิ้นของผู้ที่ชอบสร้างความสงสัย  ออกนอกลู่

 และคนเอาวามทั่วไปที่ไม่ค่อยมีความเข้าใจประเด็นหนึ่งๆ  แล้วพวกเขาก็มีความต้องการเข้าใจในสิ่งดังกล่าวแบบรายละเอียด  แล้วบรรดานักปราชญ์ก็ทำการตีความ(ตะวีล)  และในขณะที่การสร้างความสงสัยต่างๆ หรือประเด็นปัญหาต่างๆ นั้นมีน้อย  แน่นอนว่า  สิ่งที่รายงานจากการตีความของพวกเขาจึงมีน้อยตามไปด้วย  เพราะฉะนั้น  ในขณะที่ปัญหาต่างๆ ได้เพิ่มทวีคูณและความเข้าใจที่ผิดพลาดได้เกิดขึ้นหลังจากที่ยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมา   บรรดานักปราชญ์จึงมีความจำเป็น  เพื่อปกป้องศาสนาและยืนหยัดภาระหน้ากิจของพวกเขาที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบภาระหน้าที่ให้แก่พวกเขา  ไปยังการชี้แจงแบบรายละเอียดที่เกี่ยวบรรดาตัวบทบางส่วนโดยการตีความ(ตะวีล)  ซึ่งดังกล่าวนั้น  ก็เพื่อพวกเขาจะทำการปกป้องอากิดะฮ์และทำการจำแนกสัจจะธรรมออกจากความเท็จ 

หุจญะตุลอิสลาม อัลอิมาม อัลฆอซาลีย์ (ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า ? ในยุคสะลัฟช่วงแรกๆนั้น เป็นยุคสมัยที่หัวใจมีความสงบมั่นคง พวกเขามีความเข้มงวด ในการหลีกห่างจากการตีความ เพราะเกรงว่าแรงผลักดันเรียกร้องจะเคลื่อนไหวและบรรดาหัวใจจะสับสน ดังนั้นผู้ใดที่ขัดแย้งกับพวกเขาในยุคนั้น เขาก็จะกลายเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนความวุ่นวาย และโยนความคลางแคลงสงสัยให้อยู่ในบรรดาหัวใจของผู้คนทั้งหลาย ทั้งที่ไม่มีความต้องการมันเลย ดังนั้นเขาเหมาะสมที่จะรับบาป แต่สำหรบปัจจุบันนี้ สิ่งดังกล่าวไว้แพร่หลาย จึงเป็นการผ่อนปรนให้เปิดเผยสิ่งดังกล่าว(การตีความ) เพื่อหวังว่าจะสามารถขจัด ความคลางแคลงสงสัยที่ไม่ถูกต้อง ให้พ้นออกจากบรรดาหัวใจให้มากยิ่งขึ้น ? ดู หนังสือ อิลญาม อัลเอาวาม หน้า 28 ของอิมาม อัลฆอซะลีย์

ดังนั้น  ทั้งหมดจากแนวทางของสะลัฟและแนวทางของเคาะลัฟ  ก็ย่อมเป็นแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  อัลอิชาอิเราะฮ์ 

         ตรงกับที่น้องเว๊บมาสเตอร์ได้กล่าวไว้เลยครับว่า

      ผมประทับใจคำกล่าวของท่านอบูหะนีฟะฮ์ที่ว่า   ขณะที่มีคนหนึ่งได้ถามท่านอบูหะนีฟะฮ์ว่า "เหตุใดพวกท่านถึงพูดกันเรื่องวิชากะลาม  ทั้งที่ซอฮาบะฮ์ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลย"  ท่านอบูหะนีฟะฮ์ตอบว่า "บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ประหนึ่งมนุษย์ที่ไม่มีผู้ใดมาสู้รบกับพวกเขา  ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ต้องการที่จะเผยอาวุธออกมาใช้ และพวกเราก็ประหนึ่งมนุษย์ที่มีผู้เข้ามาสู้รบ  ดังนั้นพวกเราจึงต้องการเผยอาวุธเพื่อมาใช้ต่อสู้กับพวกเขา"

        ชัดเจนขอรับ  ;D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 25, 2008, 06:05 PM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ ฮัยฟาอ์

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 263
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟและคอลัฟ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เม.ย. 30, 2009, 01:29 PM »
0
วาทะของท่านอบูหะนีฟะฮ์ คมคายมาก mycool:

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟและคอลัฟ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เม.ย. 15, 2010, 12:33 PM »
0
ปัจจุบัน วะฮาบีย์พยายามจะนิยามคำว่าสลัฟนั้น ครอบคลุมถึงบุคคลที่ยึดแนวทางสลัฟด้วย แม้ในความเป็นจริงบุคคลคนหนึ่งจะไมได้อยู่ในยุคสลัฟก็ตาม ฉะนั้น คำว่าสลัฟของวะฮาบีย์จะหมายรวมถึงคนที่มีอกีดะฮ์ หรือดำเนินชีวิตแบบสลัฟด้วย ซึ่งตามความเห็นของพวกเขา จึงถือว่าท่านอิบนุตัยมียะฮ์และอิบนุ ก็อยยิม เป็นอุละมาอ์สลัฟด้วย ซึ่งผมไม่ทราบว่า นิยามนี้อุละมาอ์อื่นเห็นเป็นงัยบ้าง หรือมันจะเป็นนิยามใหม่ของพวกวะฮาบีย์เพื่ออ้างสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวในเรื่องนี้ - วัลลอฮุอะอ์ลัม, วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ sidsid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 41
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: สะลัฟและคอลัฟ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เม.ย. 03, 2013, 03:13 PM »
+1
ผมว่าของเก่าเขาทำถูกแล้ว พวกมาใหม่มาเปลี่ยนใหม่หลายอย่าง เช่น ไม่ยกมือ ไม่ทำเมาลิด ไม่ให้ออกดะวะห์ ไม่ไปบ้านคนตายหลังจากฝังแล้ว พวกนี้เรียกว่า มูดอ พวกใหม่ ซุนน๊ะ วะฮาบี แล้วแต่จะเรียก เผยแพร่ทางจานดำ พูดน้ำไหลไฟดับ ชอบพูดว่านบีไม่ทำ ของเก่าหลักฐานปลอม นบีไม่ขี่เครื่องบินอย่าขี่น๊ะนี้เกียวกับเทคโนโลยี่ สวนศาสนา เช่น ยกมือหลังละหมาด ตาบีอีนทำ มัซฮับทั้ง4คือตาบีอีน นบีบอกให้เชื่อได้ ยุค300ปี นบีบอกว่าเชื่อได้ อย่าออกทีวีทางจานนะ นบีไม่ทำแต่นบีชี้แนะ เป็นสิ้งที่ดีทำได้ครับ ไม่ใช่นบีไม่ทำแล้วไม่ทำ อิสลามสมบูรณ์แล้วนบีบอก ยุคทีดีทีสุดคือยุก300ปีแรก ไม่ใช่ยุกนี้ เรื่องศาสนาเหล่านี้ อุลมายุกก่อนเขาเถียงกันมามากแล้วเขายอมกันแล้ว ซอฮาบะกลับมาเกิดใหม่อีกหรือ ถึงมาตัดสินว้า สิ่งไหนถูกผิด
 อิสลามมาใหม่อีกหรือ วัสลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 01, 2016, 09:37 PM โดย sidsid »

 

GoogleTagged