อัสสลามมุอะลัยกุม ครับ
แต่ที่เห็นกลุ่มบุคคล ที่เป็นกลุ่มออก 3 วัน 7 วัน 40 วัน 4 เดือน นั่นนะมันคืออะไรครับ
มันถูกหลักศาสนาหรือเปล่า ลูกเมีย หมู่บ้าน เห็นมีแต่ผลกระทบที่ไม่ดี มันน่าจะมีการเผยแพร่ที่ดีกว่านี้
ประเด็นแบ่งเป็นสี่ส่วนครับ
๑. การออกสามวัน สี่สิบวัน สี่เดือนที่ว่าคืออะไร?
๒. ถูกต้องตามหลักศาสนาหรือไม่?
๓. ครอบครัวที่ห่างไป มีผลกระทบแค่ไหน?
๔. ลักษณะการเผยแพร่มีที่ดีกว่านี้มั้ย?
๑. การออกสามวัน สี่สิบวัน สี่เดือนที่ว่าคืออะไร?
การออกไปในลักษณะดังกล่าว เข้าใจว่าน่าจะหมายถึง งานการพยายามรูปแบบที่เมาลานาอิลยาซได้นำเสนอแก่ประชาชาตินี้ครับ เรื่องของเมาลานาอิลยาซ สามารถอ่านได้จากหนังสือ "เมาลานาอิลยาซ นักดะวะฮ์แห่งศตวรรษ" หรือไปที่
http://www.muslimthai.com/forum/index.php?topic=3109.0
จำนวนดังกล่าวไม่ใช่รูปแบบตายตัว สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเห็นชอบของผู้รับผิดชอบในแต่ละท้องที่
... ทำไมต้องเป็นจำนวนดังกล่าว?
จำนวนสี่สิบวัน บันทึกโดยอับดุลรอซซ๊าก ในหนังสือซุนันของท่าน ในกิตาบบุ้ลญิฮาด บาบว่าด้วยเรื่อง การเฝ้าระวังเขตแดนของมุสลิม เล่ม๕ หน้า ๒๘ จากท่านยะซีด บิน อบรฮุบัยบ์ กล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านอุมัร (ร.ด.) ท่านถามว่า "เจ้าหายไปไหนมา?" เขากล่าวว่า "ฉันไปเฝ้าชายแดนมา" "ท่านไปนานเท่าไหร่?" เขาตอบว่า "สามสิบวัน" ท่านอุมัรจึงกล่าวแก่เขาว่า "จะดีกว่าหากท่านทำจนครบสี่สิบวัน" บันทึกทำนองนี้พบได้ใน กันซุ้ลอุมม้าล เล่ม๒. หน้า ๒๘๘
รายงานจากท่านอบูฮุรอบเราะฮ์เช่นกัน บันทึกโดยอับดุลร็อกซ๊าก และซะอี๊ดบินมันซูร (เป็นฮะดิษมุ๊ตตะซิ้ลจากอบูฮุรอยเราะฮ์) กล่าวว่า "ใครก็ตามที่ได้รับมอบหมายให้เฝ้าระวังเขตแดนมุสลิม และเขาอยู่จนครบเวลาสี่สิบวัน แท้จริงเขาได้ลุล่วงงานของเขาแล้ว"
สี่เดือน เช่น เรื่องราวของท่านอุมัร กับ ซัยยิดะฮ์ฮัฟเซาะฮ์ เกี่ยวกับคำถามที่ว่า "ผู้หญิงสามารถทนต่อการห่างหายไปของสามีได้นานเท่าไหร่?" ท่านหญิงกล่าวเป็นนัยยะว่า สามเดือน และเปลี่ยนเป็นสี่เดือน หาดูได้จากหนังสือ ฮะยาตุ้สซอฮาบะฮ์ โดยเมาลานา ยูซุฟ กานดะเลวีย์ กิตาบบุ้ลญิฮาด อ่านบทที่ว่าด้วยเรื่อง "การออกในหนทางของอัลลอฮ์เป็นเวลาสี่สิบวันติดต่อกันมากกว่าหนึ่งครั้ง" ที่มัรกัสอ่านกันทุกคืนครับ
ส่วนสามวัน ในสมัยท่านเมาลานาอิลยซ ไม่มีการออกลักษณะนี้ครับ

แต่เพื่อความเหมาะสมจึงเพิ่มลงไปเท่านั้นเอง ... ยังมีออก 24 ชั่วโมง เจ็ดวัน หรือกระทั่ง1ปี ด้วยครับ ... ไม่ใช่สาระของกลุ่มเท่าไหร่ เพราะหากออกสี่เดือน แต่ไม่เกิดการปรับปรุงตัวเองในทางที่ดีขึ้ย ถือว่าล้มเหลวครับ ทางกลับกันกับคนที่ออกสามวัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

๒. ถูกต้องตามหลักศาสนามั้ย?
ในทุกๆส่วนของงานนี้มีตัวบทรับรอง แม้ว่าจะต่างรูปแบบกันจากที่ทำในสมัยนบี(ซ.ล) ทั้งนี้ต้องทดเวลาที่แตกต่าง บนสังคมที่แตกต่างไว้ในใจด้วยครับ
หากสนใจเรื่องนี้ต่อ รบกวนยกมาคุยเป็นข้อๆดีกว่าครับ
๓. ครอบครัวข้างหลัง มีผลกระทบมั้ย?
ส่วนนี้เป็นเรื่องของครอบครัวครับ

หากมีปัญหาจากการออกดะวะฮฺของผู้ชายที่บ้าน โดยมากผู้หญิงจะมาปรึกษากับภรรยาของผู้รับผิดชอบท้องที่นั้นๆ แล้วนำมาปรึกษากัน ... เท่าที่สังเกตดู คนภายนอกมองปัญหาของครอบครัวที่สามีออกดะวะฮฺ จะเป็นคล้ายๆกับคนต่างศาสนิกมองการคลุมฮิญาบของมุสลิมะฮฺเราเป็นเรื่องยาก ทั้งๆที่มันไม่ได้ลำบากอะไรเลยสำหรับมุสลิมะฮฺเรา

ผมคงพูดถูกน่ะครับ

๔. ลักษณะการเผยแพร่มีที่ดีกว่านี้มั้ย?
เราต้องดูหลายๆเรื่องครับก่อนจะบอกว่าดีมั้ย

ส่วนตัวแล้ว หากมองที่ผลของงานนี้ที่นำมาสู๋ประชาชาติอิสลาม ผมว่างานนี้ดีครับ