ผู้เขียน หัวข้อ: ก็อวฺม์ก็ดีม - ก็อวฺม์ญดีด ของอิมามอัชชาฟิอีย์  (อ่าน 2849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Qortubah

  • บุคคลทั่วไป


แถว 3จ. เวลาพูดถึงทัศนะเก่ากับใหม่ของอิมามชาฟิอีย์ ก็จะใช้ทับศัพท์ไปเลยว่า ก็อวฺม์ก็ดีม (เกากอเด็ง) กับ ก็อวฺม์ญดีด (เกาญาดิ) ซึ่งจริงอยู่ที่ความหมายโดยแท้จริงของคำว่า ก็อวฺม์ แปลว่า พวก, กลุ่ม แต่โดยทั่วไปแล้ว คนที่นี้จะเข้าใจในความหมายที่หมายถึง ทัศนะ ด้วย หมายถึงในเรื่องนี้นะครับ ส่วนในประเด็นอื่น และคนพื้นที่อื่นจะเข้าใจแบบนี้หรือไม่ ผมไม่ทราบ ถือว่าแลกเปลี่ยนเกร็ดความรู้กัน
             

คือถ้าว่ากันตามหลักวิชาการแล้วละก็ ทัศนะเก่าของอิมามชาฟิอีย์ (ก่อนท่านย้ายไปพำนัก ณ ประเทศอิยิปต์) เราจะเรียกว่า القول القديم (อัลเกาลุลเกาะดีม) ครับ หรือมีบ้างที่เรียกว่า المذهب القديم (อัลมัซฮะบุลเกาะดีม) ซึ่งทั้งสองนั้นก็ล้วนแปลว่า ทัศนะเก่า ไม่ใช่ القوم القديم (อัลเกามุลเกาะดีม) ครับ

เช่นเดียวกับทัศนะใหม่ของท่าน (หลังจากท่านเข้าไปยังอิยิปต์) ก็จะเรียกว่า القول الجديد หรือบางครั้งก็เรียกว่า المذهب الجديد ซึ่งล้วนแปลว่าทัศนะใหม่ ไม่ใช่ القوم الجديد ครับ

และโต๊ะครู หรือบาบอบ้านเรา เวลาพูดถึง "ก็อวฺม์ก็ดีม (เกากอเด็ง)" หรือ "ก็อวฺม์ญดีด (เกาญาดิ)" อย่างที่น้องว่านั้น ท่านจะหมายถึง قول ครับ ไม่ใช่ قوم อย่างแน่นอน เพราะหากว่าการตามหลักมัซฮับอิหม่ามชาฟิอีย์แล้ว ถ้าพูดถึงทัศนะเก่า-ใหม่ของท่าน ก็จะเรียกว่า "เกาล์" เกาะดีม หรือ ญะดีด นั่นเอง จะไม่มีการกล่าวถึง "เกาม์" เลยครับ วัลลอฮุอะลัม


ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ญาซากั้ลลอฮุ ค็อยร็อนครับ ที่ช่วยท้วงติง ก็อาจเป็นจริงอย่างที่บังว่าครับ - วัสสลามุ อลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-fantazy

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 270
  • สูบบุหรี่เป็นสีแก่ปาก สูบมากๆ ระวังปากจะไม่มีสี
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด


แถว 3จ. เวลาพูดถึงทัศนะเก่ากับใหม่ของอิมามชาฟิอีย์ ก็จะใช้ทับศัพท์ไปเลยว่า ก็อวฺม์ก็ดีม (เกากอเด็ง) กับ ก็อวฺม์ญดีด (เกาญาดิ) ซึ่งจริงอยู่ที่ความหมายโดยแท้จริงของคำว่า ก็อวฺม์ แปลว่า พวก, กลุ่ม แต่โดยทั่วไปแล้ว คนที่นี้จะเข้าใจในความหมายที่หมายถึง ทัศนะ ด้วย หมายถึงในเรื่องนี้นะครับ ส่วนในประเด็นอื่น และคนพื้นที่อื่นจะเข้าใจแบบนี้หรือไม่ ผมไม่ทราบ ถือว่าแลกเปลี่ยนเกร็ดความรู้กัน
             

คือถ้าว่ากันตามหลักวิชาการแล้วละก็ ทัศนะเก่าของอิมามชาฟิอีย์ (ก่อนท่านย้ายไปพำนัก ณ ประเทศอิยิปต์) เราจะเรียกว่า القول القديم (อัลเกาลุลเกาะดีม) ครับ หรือมีบ้างที่เรียกว่า المذهب القديم (อัลมัซฮะบุลเกาะดีม) ซึ่งทั้งสองนั้นก็ล้วนแปลว่า ทัศนะเก่า ไม่ใช่ القوم القديم (อัลเกามุลเกาะดีม) ครับ

เช่นเดียวกับทัศนะใหม่ของท่าน (หลังจากท่านเข้าไปยังอิยิปต์) ก็จะเรียกว่า القول الجديد หรือบางครั้งก็เรียกว่า المذهب الجديد ซึ่งล้วนแปลว่าทัศนะใหม่ ไม่ใช่ القوم الجديد ครับ

และโต๊ะครู หรือบาบอบ้านเรา เวลาพูดถึง "ก็อวฺม์ก็ดีม (เกากอเด็ง)" หรือ "ก็อวฺม์ญดีด (เกาญาดิ)" อย่างที่น้องว่านั้น ท่านจะหมายถึง قول ครับ ไม่ใช่ قوم อย่างแน่นอน เพราะหากว่าการตามหลักมัซฮับอิหม่ามชาฟิอีย์แล้ว ถ้าพูดถึงทัศนะเก่า-ใหม่ของท่าน ก็จะเรียกว่า "เกาล์" เกาะดีม หรือ ญะดีด นั่นเอง จะไม่มีการกล่าวถึง "เกาม์" เลยครับ วัลลอฮุอะลัม






ที่คุณ  QorTuBah  อธิบายเนี๊ยะ ถูกเผงเลยค้าบบบบบบบบ  ไม่มีผิดฉักกะข้อเยยนิ๊....เก่งม๊าก  ขอปรบมือให้ 2 ทีเลย  แป๊ะ แป๊ะ ...หุหุ

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
^
^
^
ล้อเลียนหรือพี่
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
อัสสลามุ อลัยกุม

              เข้าประเด็นดีกว่านะครับพี่น้อง ใครที่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมกว่านี้ เชิญเต็มที่เลยนะครับ เพื่อที่ผมจะได้มีหลักฐานในการชี้แจงเพื่อนๆ บางคนที่มหาลัย และเผื่อ อ.จะถามโดยที่เราไม่คาดคิดก็ได้ ส่วนตัวผมเองก็กำลังหาข้อมูลอยู่เหมือนกัน แต่คงไม่ได้มากนัก ฝากผู้รู้ด้วยนะครับ

วัสสลามุ อลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
อัสสลามุ อลัยกุม

              ผมขอถามอีกประเด็นในกระทู้นี้ควบไปเลยละกันครับว่า มัฑฮับชาฟิอีย์ กับ มัฑฮับชาฟิอียะฮ์ มันต่างกันตรงไหนหรือ และการตามมัฑฮับชาฟิอียะฮ์ถือว่าเป็นการตามมัฑฮับชาฟิอีย์หรือไม่ เพราะผมรู้สึกว่า อ.ที่สอนผมบางท่าน และเพื่อนๆ วะฮาบีย์ที่มหาลัย มักจะนำมาอ้างเป็นประเด็นว่าคนที่สังกัดมัฑฮับชาฟิอีย์ มักจะไม่ตามอิมามชาฟิอีย์ แต่ไปตามพวกชาฟิอียะฮ์แทน แล้วไหลหละที่บอกว่าตามอิมามชาฟิอีย์ ผมสุดจะทนอะครับ ใครก็ได้ช่วยชี้แจงเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวให้ผมนำไปชี้แจงอีกที คนเดียวหัวหาย หลายคนเพื่อนตายนะครับ ผมต้านคนเดียวคนไม่ไหวอะครับ ใครที่อยู่ที่เดียวกับผมจะรู้เรื่องนี้ดี มันมาลับๆ ไม่เอิกเกริก แต่มันก็กินลึกครับพี่น้อง

วัสสลามุ อลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
รู้สึกว่าเคยมีคนมาตอบแล้วเรื่องนี้ จำไม่ได้แล้วครับว่าอยู่กระทู้ไหน
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Qortubah

  • บุคคลทั่วไป

ระหว่างที่รอผู้รู้เข้ามาตอบ ขอลองแย็บๆดูซะหน่อย..


มัซฮับเกาะดีม (ฮ.ศ.195 - 199) :

ลักษณะความพร้อมทางการอิจญฺติฮาดอย่างเป็นอิสระของอิหม่ามชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ เริ่มโดดเด่นขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังจากที่ท่านเดินทางกลับจาก บัฆดาด มุ่งหน้าสู่ มักกะฮฺ (ในครั้งแรกที่ท่านเดินทางไปยังบัฆดาด) ในปี ฮ.ศ.189 โดยท่านทำการสอนและฟัตวา ในหะละเกาะฮฺที่มัสยิดหะรอม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าความพร้อมในการอิจญฺติฮาดของท่านนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ฮ.ศ.179 หลังจากที่อิหม่ามมาลิก เราะหิมะฮุลลอฮฺ อาจารย์ของท่านเสียชีวิตลง

การเดินทางของท่านไปยังเมืองบัฆดาดในครั้งที่ 2 (ฮ.ศ.195) คือจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริงของมัซฮับของท่าน ระหว่างนั้นท่านได้เขียนตำรา อัลหุจญะฮฺ الحجة (ฟิกฮฺ) และ อัรริสาละฮฺ (ฉบับแรก) الرسالة (อุศูลุลฟิกฮฺ) และตำราเล่มอื่นๆ โดยท่านได้มีสานุศิษย์มากมาย เช่น ท่านอัลหะสัน อัซซะอฺฟะรอนีย์ ซึ่งในภายหลังท่านเหล่านั้นก็เป็นผู้รายงานและจดบันทึกมัซฮับของท่าน ซึ่งตำราที่ท่านแต่งขึ้นในช่วงเวลานี้ได้สูญหายไปทั้งสิ้น วัลลอฮุอะลัม

หลังจากนั้น ท่านก็เดินทางออกจาก บัฆดาด มุ่งหน้าสู่ มักกะฮฺ อีกครั้งในปี ฮ.ศ.197 และในปีต่อมา (ฮ.ศ.198) ท่านก็เดินทางไปยัง บัฆดาด อีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3 และถือเป็นครั้งสุดท้าย..ซึ่งในระหว่าง ปี ฮ.ศ.195 - 199 ก็ไม่พบว่าท่านได้เปลี่ยนทัศนะในประเด็นทางฟิกฮฺ หรืออุศูลุลฟิกฮฺแต่อย่างใด และก็ไม่พบว่าท่านเขียนตำราที่ระบุถึงทัศนะใหม่ของท่านแต่อย่างใด แต่ยังคงยึดไว้ซึ่งทัศนะเดิมของท่าน จึงอาจถือได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าว คือ มัซฮับเดิม المذهب القديم ของท่าน และเรียกทัศนะของท่านในช่วงเวลาดังกล่าวว่า القول القديم


เดี๋ยวมาต่อ ด้วยมัซฮับญะดีด และรายละเอียดส่วนอื่นๆ อินชาอัลลอฮฺ


 

GoogleTagged