ผู้เขียน หัวข้อ: อัลฮาดิษ อัซซุนนะห์  (อ่าน 14242 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
อัลฮาดิษ อัซซุนนะห์
« เมื่อ: พ.ค. 04, 2007, 02:00 PM »
0

อัลฮาดิษ อัซซุนนะห์

เป็นที่ทราบกันว่า ทุกชีวิตของมนุษย์ที่ถือกำเนิดบนโลกนี้ ย่อมต้องมีทางนำหรือหลักการธรรมนูญ ของการดำเนินชีวิตที่จะนำพาชีวิตไปสู่แนวทางอันถูกต้องและประสบผลสำเร็จของชีวิตบนโลกนี้ ประดุจกับแสงเทียนที่ส่องทางชีวิต สำหรับแสงเทียนส่องทางชีวิตของบรรดามุสลิมที่จะนำพาการดำเนินชีวิตของพวกเขาไปสู่หนทางที่เที่ยงตรงพานพบกับความสุขของชีวิตในโลกนี้ และโลกหน้านั่นคือ อัลกุรอาน คือคัมภีร์ธรรมนูญชีวิต อันสูงสุด รองลงมาคือ อัซซุนนะห์ หรือ อัลฮาดิษ ต่อมา มติของปวงปราชญ์ และ อัลกิยาส แหล่งหลักการที่สำคัญทั้งสี่นี้ คือ บุคลิกภาพของอัลอิสลาม ในเมื่อซุนนะห์เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของอัลอิสลาม ดังนั้นพวกเราลองมาทำการรู้จักกับบุคลิกของอัซซุนนะห์ดู

قَالَ اللهُ تَعَالَى : وَمَايَنْطِقُ عَنِ الْهَوَى ? إِنْ هُوَ إِلاَّ وَحْيٌ يُوْحَى {سُوْرَةُ النَّجْمِ ۳?٤}

ความว่า ?และเขาไม่ได้พูดตามอารมณ์ สิ่ง(ที่เขาพูด) นั้นมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวิวรณ์ที่ถูกประทานลงมา?

คำนิยาม ของอัซซุนนะห์

อัซซุนนะห์ ตามหลักภาษาแล้ว มีหลากหลายความหมาย เช่น แนวทาง ธรรมชาติ แบบฉบับที่ถูกปฏิบัติและใบหน้า เป็นต้น
จากความหลากหลายของความหมายใคร่ขอหยิบยกมาพูดเพียงความหมายเดียวเท่านั้น คือ ความหมายแรก (แนวทาง) ดังนั้น อัซซุนนะห์ คือ แนวทาง ไม่ว่าจะเป็นแนวทางที่ดี ที่น่ายกย่องสรรเสริญ หรือแนวทางที่เลว ที่น่าตำหนิ

قَالَ اللهُ تَعَالَى : فَلَنْ تَجِدَ لِسُنَّةِ اللهِ تَحْوِيْلاً {سُوْرَةُ فَاطِرٍ ٤۳}

ความว่า ?โอ้มุฮำหมัด ท่านจะไม่พบการเปลี่ยนแปลงแนวทางของอัลเลาะห์


قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَنْ سَنَّ سُنَّةً حَسَنَةً فَلَهُ أَجْرُهَا وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا وَمَنْ سَنَّ سُنَّةً سَيِّئَةً فَعَلَيْهِ وِزْرُهَا (أَخْرَجَهُ مُسْلِمٌ)

ความว่า ?บุคคลใดได้สร้างแนวทางที่ดี เขาจะได้รับส่วนกุศล (จากแนวทางที่เขาได้สร้างไว้) และกุศลของบุคคลที่ปฏิบัติตามแนวทางนั้น และบุคคลใดได้สร้างแนวทางที่ไม่ดี เขาจะได้รับบาป (ตามแนวทางที่เขาได้สร้างไว้) เช่นเดียวกัน

อีกวจนะหนึ่ง

قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : لاَ تَتْبَعُنَّ سُنَنَ مَنْ قَبْلِكُمْ شِبْرًا بِشِبْرٍ وَذِرَاعًا بِذِرَاعٍ (أَخْرَجَهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِِمٌ )

ความว่า ?แน่นอนพวกท่านทั้งหลายย่อมเดินตามแนวทางของชนรุ่นก่อน คืบต่อคืบ ศอกต่อศอก?

คำนิยามของคำว่า อัซซุนนะห์ ตามมติปวงปราชญ์ และนักวิชาการแต่ละแขนง

1. มตินักวิชาการฮาดิษ อัซซุนนะห์คือ คำพูด การกระทำ การยอมรับ จรรยามารยาท ทุกอิริยาบถ ตามธรรมชาติของท่านร่อซู้ล ศ็อลฯ ก่อนแต่งตั้งหรือหลังแต่งตั้ง ตัวอย่าง คำพูดของท่านนบีศ็อลฯ ที่เกี่ยวกับบทฮู่ก่ม

قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِنَّمَا اْلأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ

ความว่า ?แท้จริงอาม้าลต่าง ๆ อยู่ที่เจตนา?


قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : اَلْبَيْعَانِ بِالْخِيَارِ مَا لَمْ يُفَرِّقَا

ความว่า ? ผู้ซื้อผู้ขาย มีสิทธิเลือก (ตกลงซื้อขาย หรือยกเลิก) ตราบใดที่ทั้งสองยังไม่ได้แยกออกจากสถานที่ทำสัญญา?
ตัวอย่าง การกระทำของท่าน มีมากมาย เช่น การกระทำการละหมาด ฮัจย์ และการถือศีลอดเป็นต้น

ตัวอย่างการยอมรับ เช่น การยอมรับการวินิจฉัยของบรรดาซอฮาบะห์ ในเรื่องการละหมาดอัสริ ในสมรภูมิบนีกุรอยเฎาะห์ } بَنِيْ قُرَيْظَةَ { การยอมรับการกินด๊อบ ว่าเป็นเรื่องฮาล้าล เป็นต้น

การให้คำนิยามต่ออัซซุนนะห์ของนักวิชาการฮาดิษนั้น บ่งบอกถึงการศึกษา วิเคราะห์ถึงจรรยามารยาทคำพูด การกระทำ และทุก ๆ อิริยาบถต่าง ๆ ของท่าน เพราะท่านคือแบบฉบับที่ดี ที่ต้องปฏิบัติตาม ทุกกระเบียดนิ้ว


قَالَ اللهُ تَعَالَى : وَمَا أَتَاكُمُ الرَّسُوْلُ فَخُذُوْهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوْا {سُوْرَةُ الْحَشْرِ ٧}

ความว่า ?สิ่งใดที่ท่านร่อซู้ลนำมายังพวกท่าน พวกท่านจงยึดเอามาปฏิบัติ สิ่งใดที่ท่านร่อซู้ลห้ามพวกท่านจงหยุดการปฏิบัติ?
2. มตินักวิชาการอุซูลุ้ลฟิกฮ์ คือคำพูด การกระทำ และการยอมรับที่มาจากท่านร่อซู้ล ศ็อลฯ จากคำนิยามของนักวิชาการอุซู้ลนั้น บ่งบอกถึงการศึกษา วิเคราะห์ถึงคำพูด การกระทำ การยอมรับของท่าน กลายมาเป็นกฎสากลต่าง ๆ ที่สำคัญ มาใช้เป็นธรรมนูญของการดำเนินชีวิต
3. มตินักวิชาการฟิกฮ์ คือ สุนัต ที่ตรงกันข้ามกับวายิบ ใครปฏิบัติได้รับส่วนกุศล ใครละทิ้งไม่โดนโทษ จากคำนิยามดังกล่าว บ่งบอกถึงการศึกษา วิเคราะห์การกระทำต่าง ๆ ที่กลายมาเป็นกฎฮุก่ม ชะเราะอ์ ทั้งห้า คือ วายิบ ฮารอม สุนัต มักโระห์ มุบาฮ์


หลักฐานของอัซซุนนะห์

อัซซุนนะห์คือแหล่งหลักการที่สอง รองลงมาจากอัลกุรอาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของบรรดามุสลิม ดังนั้นที่มาของอัซซุนนะห์ ที่ได้ถือเป็นหลักฐานที่สำคัญมีหลายหลักฐาน

1.อัลกุรอานได้บอกกล่าวได้บอกกล่าวไว้หลายโองการ

1.1 คำสั่งให้ศรัทธาต่อบรรดาร่อซู้ล เป็นหลักฐานวายิบ ต้องเชื่อฟัง

قَالَ اللهُ تَعَالَى : وَالَّذِيْنَ آمَنُوْا باِللهِ وَرَسُوْلِهِ أُولئِكَ هُمُ الصِّدِّيْقُوْنَ {سُوْرَةُ الْحَدِيْدِ ١٩}

ความว่า ?บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อพระองค์อัลเลาะห์ และบรรดาร่อซู้ล คือกลุ่มที่สัจจะ และเป็นพยาน ณ องค์อภิบาลของพวกเขา

และอีกโองการหนึ่ง

قَالَ اللهُ تَعَالَى : وَلَكِنَّ اللهَ يَجْتَبِيْ مِنْ رُسُلِهِ مَنْ يَشَاءُ فَآمِنُوْا بِاللهِ وَرُسُلِهِ {سُوْرَةُ آلَ عِمْرَانَ ۱٧٩}

ความว่า ?แต่ทว่าพระองค์อัลเลาะห์ได้ทรงคัดเลือกบรรดาร่อซู้ล จากบุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์ ดังนั้นพวกท่านจงศรัทธาต่ออัลเลาะห์และร่อซู้ล

1.2 ภักดีต่อร่อซู้ลพร้อมกับภักดีต่ออัลเลาะห์

قَالَ اللهُ تَعَالَى : وَأَطِيْعُوا اللهَ وَأَطِيْعُوا الرَّسُوْلَ لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُوْنَ {سُوْرَةُ آلَ عِمْرَانَ ١۳٢ }

ความว่า ?พวกท่านจงภักดีต่ออัลเลาะห์ และร่อซู้ล แน่นอนพวกท่านจะได้รับความเมตตา

1.3 คำสั่งใช้ให้ภักดีต่อร่อซู้ล


قَالَ اللهُ تَعَالَى : وَمَا أَتَاكُمُ الرَّسُوْلُ فَخُذُوْهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوْا {سُوْرَةُ الْحَشْرِ ٧}

ความว่า ?สิ่งใดที่ท่านร่อซู้ลนำมาจงยึดถือ นำมาปฏิบัติ สิ่งใดที่ท่านร่อซู้ลห้าม จงยุติ?

1.4 จำเป็นภักดีต่อท่านร่อซู้ลในช่วงท่านมีชีวิต และภายหลังท่านเสียชีวิต


قَالَ اللهُ تَعَالَى : يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا أَطِيْعُوا اللهَ وَأَطِيْعُوا الرَّسُوْلَ وَأُولِى اْلأَمْرِ مِنْكُمْ فَإِنَ تَنَازَعْتُمْ فِيْ شَيْءٍ فَرُدُّوْهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ {سُوْرَةُ النِّسَاءِ ٥٩}

ความว่า ? โอ้บรรดาผู้ศรัทธาจงภักดีต่ออัลเลาะห์และท่านร่อซู้ล และต่อผู้ปกครองของพวกท่าน หากพวกท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกัน ก็จงกลับไปหาอัลเลาะห์และร่อซู้ล?


2.อัซซุนนะห์ได้บอกไว้หลายวจนะ

2.1
رَوَى التِّرْمِذِيُّ عَنِ ابْنِ مَسْعُوْدٍ قَالَ سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُوْلُ نَضَّرَ اللهُ امْرَءً سَمِعَ مِنَّا شَيْئًا فَبَلَّغَهُ كَمَا سَمِعَهُ فَرُبَّ مُبَلِّغٍ أَوْعَى مِنْ سَامِعٍ
ความว่า ?เล่าโดยท่านอัตติรมีซี จากท่านอิบนิมัสอูดท่านได้กล่าวว่า ?ฉันได้ยินท่านร่อซู้ล ศ็อลฯ ได้กล่าวว่า อัลเลาะห์จะบันดาลใบหน้าให้มีรัศมีแด่บุคคลที่ได้ยินคำพูดของฉัน และเขาได้นำคำพูดที่เขาได้ยินไปเผยแพร่ ต่อผู้อื่น บางครั้งผู้ที่เผยแพร่ มีความจำ รักษา มากกว่าผู้ที่รับฟัง?


رَوَى الْحَاكِمُ عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَرَكْتُ فِيْكُمْ شَيْئَيْنِ لَنْ تَضِلُّوْا بَعْدَ هُمَا كِتَابُ اللهِ وَسُنَّتِيْ

2.2 ความว่า ?เล่าโดยฮากิม จากท่านอบีฮุรอยเราะห์ได้กล่าวว่า ท่านร่อซู้ล ศ็อลฯ ได้กล่าวว่า ฉันได้ละทิ้งสองประการให้กับท่าน ซึ่งพวกท่านจะไม่หลงทาง นั่นก็คือ อัลกุรอาน และอัซซุนนะห์ของฉัน
3.มติของปวงปราชญ์

3.1 ท่านอิหม่ามชาฟิอี (ร.ฮ.) ได้กล่าวว่า ฉันไม่เคยได้ยินนักวิชาการคนใดเลย ที่คัดค้านไม่ให้ปฏิบัติตามคำสั่งท่านร่อซู้ล ศ็อลฯ และยอมจำนนต่อการตัดสินของท่าน และคัดค้านต่ออัลกุรอาน และซุนนะห์

3.2 ท่านอิหม่ามอิบนุฮัซมิน ได้กล่าวถึงโองการที่ว่า

فَإِنَ تَنَازَعْتُمْ فِيْ شَيْءٍ فَرُدُّوْهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ {سُوْرَةُ النِّسَاءِ ٥٩}

ไว้ว่าแท้จริงปวงปราชญ์ได้ลงมติเอกฉันท์ว่า การตอบโต้ของโองการนี้มุ่งมายังพวกเราทั้งหลาย และทุก ๆ บุคคลที่ถูกสร้างด้วยจิตวิญญาณร่วมกัน จนกระทั่งวันกิยามัต ไม่ว่าญินหรือมนุษย์ และเช่นเดียวกัน โองการนี้ได้ตอบโต้ต่อกลุ่มซอฮาบะห์และกลุ่มชนรุ่นหลังซอฮาบะห์ และชนอื่น ๆ โดยไม่มีการแบ่งแยก

 มิฟตาห์ไคโร

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลฮาดิษ อัซซุนนะห์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เม.ย. 21, 2009, 07:39 PM »
0
ญะซากัลลอฮฺค็อยร็อน mycool:

 

GoogleTagged