ท่าน Qortubah ครับ
เช่น เชค อัลบานีย์ยอมรับว่า บิสมินละฮีรรอมานีรรอฮีม ฯในซูเราะอัลฟาติหะนั้น เป็นอายะหนึ่ง และสายรายงานซอเหียะ
แต่ท่านกลับลำว่า เวลาละหมาดดัง นั้นให้อ่านเสียงค่อยเท่านั้น
ผมขอถามคุณว่า
ทำไม ท่านจึงห้ามไม่ให้อ่านบิสมิลลา.................เสียงดังด้วย....มีเหตุผลอันใด ในเมือท่านอีม่ามชาฟีอี ยวินิจฉัยแล้วว่า สามารถอ่านบิสมิลลา....เสียงดังในทุกครั้งที่ละหมาดดัง....
เห็นว่าท่านกุรตุบะฮฺกำลังเดินทาง ดังนั้นจึงขอแจมพลางๆก่อนก็แล้วกัน แบบสั้นๆ (อาจจะยาวก็ได้นะ)
1. อัลบานีย์ยอมรับว่าบิสมิลลาฮฺเป็นอายะฮิหนึ่งในสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ เพราะมีสายรายงานที่ซอเหียะ (ตามทัศนะของท่าน) มาระบุเช่นนั้น หมายความว่าที่ท่านยึดเช่นนั้น เพราะมีหะดีษมากำกับว่าบิสมิลลาฮฺ เป็นหนึ่งในเจ็ดอายะฮฺของสุเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ อันนี้เคลียร์
2. แต่เวลาละหมาดดัง ท่านกลับ (ลำ) ว่าให้อ่านบิสมิลลาฮฺค่อยเท่านั้น ถามว่าทำไม มีเหตุอันใด
คำตอบ
1. ที่จริงเชคอัลบานีย์ไม่ได้กลับลำนะ ใช่ท่านยอมรับว่าบิสมิลลาฮฺเป็นอายะฮฺหนึ่งในสูเราะฮิอัลฟาติหะฮฺ เพราะมีหลักฐานที่ถูกต้อง (ตามทัศนะของท่าน) มารับรอง
2. เหตุผลที่ท่านมีทัศนะว่าสุนนะฮฺให้อ่านค่อยในละหมาดดัง เพราะมีหลักฐานที่ถูกต้องและมีน้ำหนักกว่า (ตามทัศนะของท่าน) มารับรองเช่นกัน จะขอยกหะดีษที่ท่านใช้เป็นหลักฐานอ้างว่ามีสุนนะฮฺให้อ่านค่อยเฉพาะตัวบทก็แล้วกัน ดังนี้
ท่านกล่าวในศิฟาตเศาะลาตของท่านว่า
ثم يقرأ : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ } ولا يجهر بها
แล้วท่านก็ยกหลักฐานดังต่อไปนี้มาสนับสนุน
1. عن شعبة عن قتادة عن أنس :
أن النبي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، وأبا بكر ، وعمر رضي الله عنهما كانوا يفتتحون الصلاة بـ : { الحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ العَالَمِينَ } .
أخرجه البخاري (2/180) من " صحيحه " وفي " جزء القراءة " (12) ، ومسلم
(2/12) ، { وأبو عوانة [2/122] } ، والطحاوي (1/119) ، والدارقطني (119) ، والبيهقي
(2/51) ، والطيالسي (266) ، وأحمد (3/179 و 273 و 275) من طرق عنه به ، واللفظ
للبخاري
ولفظ مسلم ، { وأبي عوانة } ، والدارقطني ، والبيهقي، وأحمد في رواية :
صليت مع رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، وأبي بكر ، وعمر ، وعثمان ، فلم أسمع أحداً منهم يقرأ : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ } .
وكذلك لفظ الطحاوي ، إلا أنه قال :
يجهر بـ : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ } . وهو رواية للدارقطني له . وفي لفظ لأحمد :
فكانوا لا يجهرون بـ : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ } .
وكذلك رواه ابن حبان في " صحيحه " ، وزاد :
ويجهرون بـ : { الحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ العَالَمِينَ } - كما في " نصب الراية " (1/327) -
ورواه النسائي (1/144) من طريق عُقبة بن خالد قال : ثنا شعبة وابن أبي عروبة
عن قتادة عن أنس به ، بلفظ :
فلم أسمع أحداً منهم يجهر بـ : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ }
ขอยกสายรยงานเดียวพอ ที่เหลือหาอ่านได้ในหนังสืออัศลศิฟะตุสเศาะลาตของอัลบานีย์
หลังจากนั้น ท่านได้รวมหะดีษที่ปฏิเสธการอ่านและหะดีษที่ระบุว่าอ่านค่อยโดยยกเอาคำพูดของอัลหาฟิซอิบนุหะญัรในฟัตหุลบารีย์ (2/181) ว่า
" فطريق الجمع بين هذه الألفاظ حملُ نفي القراءة على نفي السماع ، ونفي السماع
على نفي الجهر ، وتؤيده رواية منصور بن زاذان : فلم يسمعنا قراءة : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ
الرَّحِيمِ } . وأصرح من ذلك رواية الحسن عن أنس : كانوا يسرُّون بـ : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ
الرَّحِيمِ } . فاندفع بهذا تعليل من أعله بالاضطراب - كابن عبد البر - ؛ لأن الجمع إذا
أمكن ؛ تعين المصير إليه " .
แล้วท่านก็สรุปในตอนท้ายว่า
وبذلك يتبين أن حديث أنس حجة في كونه صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كان يسر بالبسملة ، وكذلك
أصحابه الثلاثة ، ومثله حديث عبد الله بن مغفل . وقد قال الترمذي :
" والعمل عليه عند أكثر أهل العلم من أصحاب النبي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ؛ منهم : أبو بكر وعمر
وعثمان ، وغيرهم ، ومن بعدهم من التابعين ، وبه يقول سفيان الثوري وابن المبارك ،
وأحمد ، وإسحاق ؛ لا يرون أن يجهر بـ : { بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ } ؛ قالوا : ويقولها
في نفسه " .
قلت : وهو مذهب أبي حنيفة ، وصاحبيه - كما حكاه الطحاوي وغيره - ، ونص
عليه الإمام محمد في " الآثار " (15 - 16) ، وبه قال أكثر أصحاب الحديث - كما قال الحازمي (56)
وخالفهم الإمام الشافعي ، وأصحابه ، وبعض من سبقه من الصحابة
والتابعين ؛ فقالوا بالجهر بها ، وأنه السنة
หลังจากนั้นท่านก็ยกหลักฐานต่างๆที่อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ใช้เป็นหลักฐานและทำพากษ์ สรุปคำวิพากษ์ของท่านคือ หลักฐานของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ มีสองประเภท 1. หะดีษที่เศาะรีหฺ ระบุอย่างชัดเจนว่าท่านนบีอ่านดัง แต่สายรายงานอ่อน 2. หะดีษที่มีสายรายงานเศาะหีห แต่กลับไม่เศาะรีหฺ ไม่มีการระบุว่าอ่านบิสมิลลาฮิดัง ในละหมาดหรือนอกละหมาด
ดังนั้น ท่าจึงสรุปว่า ที่ถูกต้องคือทัศนะของอุละมาอ์ส่วนใหญ่ที่ระบุสุนนะฮฺในการอ่านบิสมิลลาฮฺ คืออ่านค่อยไม่ใช่ดัง
فالحق ما ذهب إليه الجمهور
من أن السنة الإسرار بها .
ومع هذا ؛ فالصواب أن ما لا يجهر به ، قد يشرع الجهر به لمصلحة راجحة ؛ فيشرع
للإمام أحياناً لمثل تعليم المأمومين ، ويسوغ للمصلين أن يجهروا بالكلمات اليسيرة أحياناً
3. ทำไมท่านจึงห้ามไม่ให้อ่านบิสมิลลาฮฺดัง
ท่านไม่ได้ห้ามในเชิงที่ว่า ถ้าทำแล้วเป็นบาป หรือละหมาดไม่เศาะหฺ หรือต้องสูญุดสะหฺวี ท่านเพียงแต่เห็นว่า การอ่านบิสมิลลาฮฺค่อยน่าจะสอดคล้องกับสุนนะนบีมากกว่า และอัฟฎ็อลกว่าเท่านั้นเอง ถึงแม้ว่าบิสมิลลาฮฺจะเป็นหนึ่งในอายะฮฺของอัลฟาติหะฮฺ แต่ในเมื่อสุนนะฮฺที่มีน้ำหนักกว่า (ตามทัศนะของท่าน) ระบุว่าท่านนบีอ่านค่อย ท่านจึงมีความเห็นว่าอัฟฎอลอ่านค่อย ส่วนการอัลหัมดุลิลลาฮฺ ไปจนถึงท้ายอายะฮฺ มีสุนนะฮฺว่านบีอ่านดัง ดังนั้น ท่านจึงระบุว่าสุนนะฮฺให้อ่านดัง ด้วยประการฉะนี้