ผู้เขียน หัวข้อ: ต้อนรับรอมาฎอน  (อ่าน 6574 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ salamah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 761
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้อนรับรอมาฎอน
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ก.ย. 09, 2007, 02:50 PM »
0

อัสลามมุอาลัยกุมค่ะ......
แวะมาต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยคนค่ะ.........
ถึงไม่รอบรู้ทุกด้าน    แต่ขอเป็นมุสลิมะห์ที่ดีก็พอ

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้อนรับรอมาฎอน
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ก.ย. 11, 2007, 01:47 PM »
0
ใกล้รอมดอนแล้วนะครับ
อีกไม่กี่วันแล้ว
อย่าลืมเหนียตนะครับว่า
ฉันเจตนาว่าถือศิลอดในวันพรุ่งนี้จากเดือนรอมดอน
ตามมัสฮับชาฟิอีแล้ว ถือว่าต้องเหนียตทุกๆวัน

ส่วนมัสฮับมาลิกีนั้น
ถือว่าคืนแรกนั้นหากเหนียตถือบวชรอมดอนทั้งเดือน
ก็ถือว่าใช้ได้ทั้งเดือนโดยไม่ต้องเหนียตซ้ำ

แต่ถ้าหากคืนแรกไม่ได้เหนียตแบบมัสฮับมาลิกี
จำเป็นที่จะต้องเหนียตทุกวัน เช่นเดียวกับมัสฮับชาฟิอ๊

เพราะฉะนั้นผู้ตามมัสฮับชาฟิอีให้เหนียตปรกติ
และสมควรที่จะเหนียตแบบมัสฮับมาลิกีด้วย
เพราะว่าเพื่อวันไหนลืมเหนียต การถือศิลอดของเราจะได้ถูกต้อง(เซาะฮฺ)ตามมัสฮับมาลิกี
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้อนรับรอมาฎอน
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ก.ย. 12, 2007, 09:26 PM »
0
รอมดอนมับรู๊ฏ
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้อนรับรอมาฎอน
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ก.ย. 27, 2007, 12:01 AM »
0
วะอะลัยกุมุสลาม

กระทู้นี้  ถือว่าเป็นกระทู้ที่ดีกระทู้หนึ่งครับ  แต่บางข้อความผมขอเสวนาในเชิงวิชาการหน่อยนะครับ เพื่อเป็นความรู้  ไม่ใช่เพื่ออคิตหรือเป็นศัตรูอะไร

ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่เจตนาละทิ้งการถือศีลอดโดยไม่มีความจำเป็นใดๆ เขาจะกลายเป็นผู้มุรตัด(ตกศาสนา) ดังหะดีษที่ท่านนบี(ศ็อลฯ) กล่าวว่า

" قواعد الدين ثلاثة عليهن أسس الإسلام من ترك واحدة منهن فهو بها كافر شهادة أن لا اله الا الله والصلاة المكتوبة وصوم رمضان " ( أبويعلى وصححه الذهبي)

ความว่า เสาหลักของศาสนามีสามประการ ผู้ใดที่ละเว้นอย่างใดอย่างหนึ่งในสามประการนี้ เขาจะกลายเป็นกาฟิร นั่นคือการปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ ( เพียงองค์เดียว ) การละหมาดห้าเวลา และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
ยังมีต่อ...อดใจรอหน่อยนะคร้าบ...

       หะดิษนี้ซอฮิห์จริงหรือเปล่าครับ  ทั้งที่หะดิษที่ซอฮิห์กว่าระบุว่าเสาหลักของอิสลามมี 5 ประการ แต่หะดิษนี้มีแค่ 3 ประการ   ซะก๊าตและฮัจญ์ หายไปใหนครับ  ดังนั้นหากหะดิษซอฮิห์น้อยกว่าไปขัดกับหะดิษที่ซอฮิห์มากกว่า  ถือว่าเป็นหะดิษชาซฺ แหวกแนวและขัดกับหลักการนะครับ  แล้วคุณ philosophy มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

มันเป็น เพราะ 3 ประการ อยู่เหนือ มุสลิมทุกคนน่ะครับ
ส่วน อีกสอง นั้น คือผู้ที่ไม่มีหนี้สิน ผู้มีอันจะกินน่ะครับ
กล่าวคือ หาก จนต้องหาเช้ากินค่ำ ก็คงไม่รู้จะเอาอะไรไปจ่ายซะกาต หรือ ไปทำฮัจย์ นั่นเอง
ส่วนอีก 3 ที่เหลือ จะยากดีมีจนค้นแค้นแสนสาหัส เพียงไร มันก็ต้องทำได้....

วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้อนรับรอมาฎอน
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ก.ย. 27, 2007, 03:27 PM »
0
السلام عليكم
ขออภัยช่วงนี้ติดสอบคร้าบ...
มาต่อกัน...
    เป็นเดือนที่ประเสริฐที่สุด ดังหะดีษที่รายงานโดยท่าน สะอีด อัลคุดรีย์

عن أبي سعيد الخدري قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : " سيد الشهور شهر رمضان ، " [ رواه البزار]

ความว่า รายงานจากท่านสะอีด อัลคุดรีย์ ท่านเราะซูลุลลอฮฺ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า ? จ้าวแห่งเดือนทั้งหลาย(ในรอบปี) คือเดือนรอมฎอน ?

คำว่า ? سيد ? (ซัยยิด) สามารถแปลได้อีกว่า เป็นผู้นำ เจ้านาย หรือผู้เป็นนาย หะดีษนี้จึงมีความหมายว่าเดือนรอมฎอนมีความเหนือกว่าหรือสำคัญกว่าเดือนอื่นๆ ดังนั้นเดือนรอมฎอนจึงเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและประเสริฐที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆในอิสลาม ดังหะดีษอีกบทหนึ่ง ท่านเราะซูลุลลอฮฺ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

" وأفضل الأيام يوم الجمعة ، وأفضل الشهور شهر رمضان ، وأفضل الليالي ليلة القدر ، " [ رواه الطبراني في الكبير] ،
ความว่า ? และวันที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาวันทั้งหลายคือวันศุกร์ และเดือนที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาเดือนทั้งหลายคือเดือนรอมฎอน และคืนที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาคืนทั้งหลายคือคืนอัล ก็อดรฺ ?
      เดือนแห่งอัลกุรอาน กล่าวคือในเดือนรอมฎอน อัลลอฮฺได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมายัง ท่านเราะซูลุลลอฮฺ (ศ็อลฯ) เพื่อเป็นทางนำและแนวทางในการดำเนินชีวิตของมวลมนุษย์ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

( شهر رمضان الذي أنزل فيه القرآن هدى للناس وبينات من الهدى والفرقان ، )

ความว่า ? เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำสำหรับมวลมนุษย์ เป็นคำแจกแจงที่มาจากแนวทางที่ถูกต้องและแยกสัจธรรมออกจากความมดเท็จ ? (อัลบะเกาะเราะฮฺ, 185)

และอีกอายะฮฺหนึ่งที่มีนัยว่าอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอน คืออัลลอฮฺได้ตรัสว่า

( إِنَّا أَنزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ )

ความว่า ? แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานในคืนอัลก็อดรฺ ? (อัลก็อดรฺ,1)

        ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าลัยละตุลก็อดรฺมีอยู่ในเดือนรอมฎอนเท่านั้น ท่านอิบนุอับบาส(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประทานอัลกุรอานในเดือนรอมฎอนอีกว่า

عن ابن عباس رضي الله عنهما قال: " أنزل القرآن كله جملة واحدة في ليلة القدر في رمضان إلى السماء الدنيا، فكان الله إذا أراد أن يحدث في الأرض شيئاً أنزله منه حتى جمعه "

แปลได้ความว่า ? อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาทั้งหมด (30 ญุซ) ในคืนอัลก็อดรฺในเดือนรอมฎอนจากเลาฮฺมะหฺฟูซ (لوح محفوظ) มายังฟากฟ้าชั้นดุนยา และเมื่อใดก็ตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์เพื่อให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเกิดเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดิน พระองค์ก็จะทรงประทานอายะฮฺต่างๆตามเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจนกระทั่ง บรรดาอายะฮฺที่ถูกประทานลงมานั้น ได้ถูกประทานครบถ้วนสมบูรณ์ ?

       นอกจากเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาแล้ว เดือนรอมฎอนยังเป็นเดือนที่ให้มีการส่งเสริมการอ่านอัลกุรอานและศึกษาความหมายของอัลกุรอานพร้อมกับทำความเข้าใจในความหมายนั้นอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ดั่งเช่น ท่านเราะซูลุลลอฮฺ (ศ็อลฯ)ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างในการศึกษาอัลกุรอานกับมะลาอิกะฮฺญิบรีลในเดือนรอมฎอน ดังรายงานจากท่านอิบนุอับบาส(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา)ว่า

" كان رسول الله صلى الله عليه وسلم أجود الناس، وكان أجود ما يكون في رمضان حين يلقاه جبريل ، وكان يلقاه في كل ليلة من رمضان ، فيدارسه القرآن ، "

ความว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)เป็นบุคคลที่ประเสริฐที่สุดในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย และท่านจะทำความดีมากที่สุดในเดือนรอมฎอน โดยเฉพาะเมื่อยามที่ท่านมะลาอิกะฮฺญิบรีลได้มาหาท่านในทุกๆคืนของเดือนรอมฎอน และทั้งสองก็จะศึกษาอัลกุรอานด้วยกัน

จากหะดีษข้างต้น ท่านอิมามนะวะวีย์ได้อธิบายว่า สิ่งที่ได้จากหะดีษบทนี้คือสุนัตให้มีการศึกษาอัลกุรอานในเดือนแห่งความศิริมงคลนี้

        ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า คุ่นค่าของหะดีษบทนี้คือการให้ความสำคัญกับเดือนรอมฎอน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเดือนที่เริ่มต้นด้วยการประทานอัลกุรอานลงมา และส่งเสริมให้มีการศึกษา ทำความเข้าใจในเนื้อหาที่มีอยู่ในอัลกุรอานอีกด้วย

        ท่านเราะบิอฺ อิบนุ สุลัยมาน กล่าวว่า ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ได้อ่านอัลกุรอานในเดือนรอมฎอนจบ (30 ญุซ) 60 ครั้ง ส่วนอิมามอัลบุคอรีย์อ่านอัลกุรอานในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอนจบ (30 ญุซ) วันละ 1 ครั้ง และในตอนกลางคืนหลังจากละหมาดตะรอวีหฺจบ(30 ญุซ) 3 คืนต่อ 1 ครั้ง
والسلام
 
 

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้อนรับรอมาฎอน
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ต.ค. 04, 2007, 04:07 PM »
0
ألسلام عليكم
เดือนแห่งการทำอิบาดะฮฺ เป็นเดือนแห่งการทำความดี ขวนขวายความโปรดปรานของอัลลอฮฺและแสวงหาความสำเร็จที่แท้จริง ตลอดจนเพื่อได้รับการปลดปล่อยจากไฟนรก ท่านนบี ( ศ็อลฯ ) ได้กล่าวว่า

" اذا كان أول ليلةٍ من شهر رمضان صفّدت الشياطين ومَرَدةُ الجنِّ وغلّقت أبواب النار فلم يفتح منها باب وفتحت أبواب الجنة فلم يغلق منها باب وينادي مناد : يا باغي الخير أقبل، ويا باغي الشر أقصر ، ولله عتقاء من النار، وذلك كل ليلة" (أحمد 4/311 )

ความว่า เมื่อคืนแรกของเดือนรอมฎอนได้มาถึง บรรดาชัยฏอนและญินที่ชั่วร้ายทั้งหลายจะถูกล่ามโซ่ไว้ และบรรดาประตูนรกทุกบานก็จะถูกปิดไว้จะไม่มีการเปิดแม้แต่บานเดียว และบรรดาประตูสวรรค์จะถูกเปิดไว้จะไม่มีการปิดแม้แต่บานเดียว และมะลาอิกะฮฺก็จะขานเรียกว่า ? โอ้ผู้ที่ปรารถนาที่จะแสวงหาความดีจงขวนขวายเถิด โอ้ผู้ที่ปรารถนาที่จะแสวงหาความชั่วจงหยุดเถิด ? และเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวในการปลดปล่อยบ่าวของพระองค์เป็นจำนวนมากจากไฟนรก และการปลดปล่อยจากไฟนรกนี้ก็จะเกิดขึ้นในทุกๆคืนของเดือนรอมฎอนนี้
     จากหะดีษบทนี้จะเห็นได้ว่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่ปลอดจากการรุกรานและการหลอกลวงจากชัยฏอนมารร้ายเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ศรัทธาที่ต้องการตักตวงความดีงามและขวนขวายความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีอยู่ในเดือนรอมฎอนอย่างเต็มที่ และผลตอบแทนก็กำลังเปิดอ้าแขนคอยต้อนรับอยู่นั่นก็คือประตูสวรรค์ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่แท้จริง อีกทั้งผู้ที่ติดคดีอันมีโทษถึงตกนรกก็มีโอกาสที่จะได้รับการปลดปล่อยในทุกๆคืนของเดือนรอมฎอนด้วยเช่นกัน

          นอกจากนั้นการทำอิบาดะฮฺในเดือนที่เปี่ยมไปด้วยความบะเราะกะฮฺนี้จะแตกต่างจากการทำอิบาดะฮฺในเดือนอื่นๆ กล่าวคืออิบาดะฮฺที่เป็นสุนัตจะได้รับผลบุญเทียบเท่ากับการทำอิบาดะฮฺที่เป็นวาญิบและสำหรับอิบาดะฮฺที่เป็นวาญิบก็จะได้รับผลบุญเพิ่มอีกหลายๆเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำอิบาดะฮฺในคืนอัลก็อดรฺ (لبلة القدر) จะได้รับผลบุญเท่ากับ 1,000 เดือน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

{إِنَّا أَنزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ وَمَا أَدْرَاكَ مَا لَيْلَةُ الْقَدْرِ لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِّنْ أَلْفِ شَهْرٍ تَنَزَّلُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ فِيهَا بِإِذْنِ رَبِّهِم مِّن كُلِّ أَمْرٍ سَلَامٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ}

ความว่า แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดรฺ และอะไรเล่าจะทำให้เจ้า(โอ้ มุฮัมมัด) รู้ได้ว่าคืนอัลก็อดรฺนั้นคืออะไร คืนอัลก็อดรฺนั้น(คือ) คืนที่ดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน บรรดามะลาอิกะฮฺและอัรรูฮฺ(ญิบรีล)จะลงมาในคืนนั้น โดยการอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขา เนื่องจากกิจการทุกสิ่ง คืนนั้นมีความศานติจนกระทั่งรุ่งอรุณ

          จากคำตรัสของอัลลอฮฺข้างต้นสามารถเข้าใจได้ว่าการทำอิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอนนั้น จะได้รับผลบุญอย่างมหาศาล เพียงคืนอัลก็อดรฺคืนเดียวเสมือนว่าได้ทำอิบาดะฮฺหนึ่งพันเดือนหรือ 83 ปี กับอีก 3 เดือน นี่คือความประเสริฐของเดือนรอมฎอน และคืนอัลก็อดรฺนี้จะมีอยู่ในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า

(تحروا ليلة القدر في العشر الأواخر من رمضان) رواه البخاري

ความว่า พวกท่านจงขวนขวายหาคืนอัลก็อดรฺในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน

          จากหะดีษบทนี้แสดงให้เห็นว่าคืนอัลก็อดรฺจะต้องมีอยู่ในสิบวันสุดท้ายนี้อย่างแน่นอน แต่ท่านนบีมิได้บอกอย่างชัดเจนว่าอยู่ในคืนที่เท่าใด ทิ้งไว้เป็นปริศนาทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชาติของท่านมีความอุตสาหะ ทุ่มเทในการทำอิบาดะฮฺอย่างจริงจังตลอดระยะเวลาสิบวันสุดท้าย และท่านนบีก็ได้ทำเป็นแบบอย่างโดยการเก็บตัวอยู่ในมัสยิดและปลีกตัวออกจากภารกิจทางโลก ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้เรียกว่า ? อิอฺติกาฟ ? (إعتكاف) ดังหะดีษที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า

" أن النبي (ص) كان يعتكف العشر الأواخر من رمضان حتى توفاه الله ثم إعتكف أزواجه من بعده "(متفق عليه)

ความว่า ท่านนบี (ศ็อลฯ) เคยทำการอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน จนกระทั่งอัลลอฮฺทรงให้ท่านวะฟาต(เสียชีวิต) ต่อมาบรรดาภริยาของท่านก็ได้ทำการอิอฺติกาฟสืบต่อจากท่าน

หะดีษอีกบทหนึ่งได้กล่าวถึงการทุ่มเทของท่านบีในสิบวันสุดท้ายของเดือนนี้ ดังที่อิมามมุสลิมได้บันทึกไว้ว่า

"كان النبي صلى الله عليه وسلم يجتهد في العشر الأواخر من رمضان، ما لا يجتهد في غيرها" رواه مسلم

ความว่า ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่(ในการทำอิบาดะฮฺ)ตลอดสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน อย่างที่ไม่เคยปรากฏในเดือนอื่นๆ

และท่านอะบูฮุร็อยเราะฮฺ ยังได้รายงานอีกว่า

" كان النبي صلى الله عليه وسلم يعتكف في كل رمضان عشرة أيام فلما كان العام الذي قبض فيه اعتكف عشرين يوما" . رواه البخاري

ความว่า ท่านนบี(ศ็อลฯ) เคยอิอฺติกาฟเป็นเวลาสิบวันในเดือนรอมฎอนของทุกๆปี แต่ในปีที่ท่านเสียชีวิตนั้น ท่านได้อิอฺติกาฟเป็นเวลาถึงยี่สิบวัน

ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้รายงานอีกว่า

(كان إذا دخل العشر أحيا الليل وأيقظ أهله وشد مئزره) رواه البخاري ومسلم

ความว่า เมื่อเข้าช่วงเวลาสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ท่านนบีจะตื่นเพื่อทำอิบาดะฮฺในตอนกลางคืน พร้อมกับปลุกบรรดาภริยาของท่าน และท่านก็จะกระชับผ้านุ่งที่สวมใส่ให้แน่น(เพื่อเตรียมตัวในการทำอิบาดะฮฺ)
มีต่อ...
 
 

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้อนรับรอมาฎอน
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ต.ค. 04, 2007, 04:10 PM »
0
ความหมายของ ? อิอฺติกาฟ ?

          บรรดาอุละมาอ์ได้ให้ความหมายของ ? อิอฺติกาฟ ? หมายถึง ความพยายามของบ่าวคนหนึ่งเพื่อเก็บตัวอยู่ในมัสยิดตามแบบอย่างของท่านนบี(ศ็อลฯ) เพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺและลัยละตุลก็อดรฺในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน

หุกมของ ? อิอฺติกาฟ ?

          อิมามทั้งสี่มัซฮับเห็นพ้องต้องกันว่า หุกมของ ? อิอฺติกาฟ ? ในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนนั้นเป็น ? สุนัต มุอักกะดะฮฺ ? นอกจากในกรณีที่มีการนะซัร (บนบาน)ไว้ว่าจะทำการอิอฺติกาฟ
 
 
องค์ประกอบ(รุกน)ของ ? อิอฺติกาฟ ?

1. ผู้ทำอิอฺติกาฟ ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้

    1.1 เป็นมุสลิม

    1.2 มีสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์

    1.3 ปลอดจากญะนะบะฮฺ

    1.4 ปลอดจากเลือดประจำเดือน และนิฟาส(กรณีที่เป็นผู้หญิง)

    1.5 ได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว

    1.6 ไม่ใช่ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอิดดะฮฺ   

2. เนียต หมายถึง การตั้งเจตนาเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาของการอิอฺติกาฟว่า ? ฉันตั้งใจที่จะทำการอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ ?

3. เก็บตัวอยู่ในมัสยิด กล่าวคือไม่ออกจากมัสยิดเว้นแต่ในบางกรณีที่หุกมได้อนุโลมให้เท่านั้น

  มัสยิดที่ใช้สำหรับอิอฺติกาฟ

         มัสยิดที่ดีที่สุดสำหรับการอิอฺติกาฟ คือ มัสยิดอัลหะรอม ณ นครมักกะฮฺ มัสยิดนบี ณ นครมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และมัสยิดอัลอักศอ ในประเทศปาเลสไตน์ ตามลำดับ สำหรับมัสยิดอื่นๆที่นอกเหนือจากนี้ก็ถือว่าใช้อิอฺติกาฟได้เช่นกัน

สำหรับการอิอฺติกาฟของผู้หญิงนั้นบรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันดังนี้

อิมามอะบูหะนีฟะฮฺและทัศนะเก่าของอิมามอัชชาฟิอีย์เห็นว่าการอิอฺติกาฟของผู้หญิงในบริเวณภายในบ้านที่ได้จัดไว้สำหรับการละหมาดนั้นถือว่าใช้ได้

อิมามอะหฺมัด อิบนุ ฮัมบัลเห็นว่าอนุโลมให้ผู้หญิงทำการอิอฺติกาฟร่วมกับสามีของนางได้

  วิธีการปฏิบัติในการอิอฺติกาฟสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน

1. เริ่มเข้ามัสยิดในเวลาเช้าหรือบ่ายก่อนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 20 ของเดือนรอมฎอน โดยตั้งเจตนาที่จะทำการอิอฺติกาฟสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนและออกจากมัสยิดในเช้าของวันที่ 1 เชาวาลหรือวันอีดิลฟิฏริหรือหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในคืนที่ 30 รอมฎอน

2. อนุญาตให้ผู้ทำการอิอฺติกาฟนำเสื่อหรือผ้าปูที่นอนเข้าไปในมัสยิดได้ และอนุญาตให้เขาเลือกเอาบริเวณใดบริเวณหนึ่งของมัสยิดเพื่อใช้ในการทำอิบาดะฮฺในช่วงอิอฺติกาฟของเขา แต่จะต้องไม่สร้างความคับแคบหรือกีดขวางผู้ที่จะมาละหมาดในมัสยิด

3. เมื่อเข้าไปในมัสยิดแล้วให้ละหมาดสุนัตตะฮียะตุลมัสยิด 2 ร็อกอะฮฺ หลังจากนั้นเริ่มเก็บตัวอยู่ในมัสยิดและไม่ออกจากมัสยิด เว้นแต่จะมีเหตุอันควรที่หุกมอนุญาตให้ออกได้เท่านั้น

4. อนุญาตให้ทำการอิอฺติกาฟแบบมุสตะฮับ (مستحب) กล่าวคือการอิอฺติกาฟไม่ครบสิบวันหรืออิอฺติกาฟแบบไม่ต่อเนื่องเช่นการอิอฺติกาฟเพียงหนึ่งหรือสองวัน หรืออิอฺติกาฟวันเว้นวัน หรืออิอฺติกาฟเฉพาะในเวลากลางคืนเท่านั้น

  กรณีต่างๆที่อนุโลมให้ออกนอกบริเวณมัสยิดได้

กรณีหรือเหตุผลต่างๆที่อนุญาตให้ผู้ทำการอิอฺติกาฟออกนอกบริเวณมัสยิดได้โดยไม่ต้องตั้งเจตนา(เนียต)ใหม่เมื่อกลับเข้ามาภายในมัสยิดอีกครั้ง หลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าวไปแล้ว มีดังนี้

1. ทำธุระส่วนตัว หมายถึง การขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระโดยใช้สุขาที่มัสยิดหรือที่บ้านก็ได้

2. อาบน้ำวาญิบ(ญะนาบะฮฺ) ซึ่งหมายถึงการอาบน้ำอันเนื่องมาจากการฝันเปียก

3. อาบน้ำละหมาด (วุฎูอฺ) เมื่อกระทำการใดๆที่ทำให้วุฎูอฺเป็นโมฆะ

4. ชำระล้างนะญิส (สิ่งสกปรก) ที่เปื้อนตามร่างกายหรือเสื้อผ้า

5. ป่วยหนัก หมายถึงเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องมีการรักษาเยียวยาหรือมีลักษณะอาการที่อาจทำให้มัสยิดสกปรกเลอะเทอะได้

6. มีเลือดประจำเดือน ส่วนเลือดอิสติฮาเฎาะฮฺนั้นอุละมาอ์ส่วนใหญ่เห็นว่าอนุโลมให้ทำการอิอฺติกาฟต่อได้ หากว่าไม่ทำความสกปรกให้กับมัสยิด

7. มีความจำเป็นเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของตนเองจากความกลัวหรือภัยต่างๆ

8. ถูกบังคับหรือข่มขู่จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

9. การกินหรือดื่ม ซึ่งตามทัศนะของมัซฮับอัชชาฟิอีย์ หมายถึง การออกไปเพื่อรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ แม้ว่าจะสามารถกระทำได้ภายในมัสยิดก็ตาม

         เมื่อใดก็ตามที่ภารกิจต่างๆดังกล่าวเสร็จสิ้นลง ผู้ทำอิอฺติกาฟจะต้องรีบกลับเข้ามาภายในมัสยิด มิเช่นนั้นแล้ว จะทำให้การอิอฺติกาฟเป็นโมฆะ เนื่องจากขาดความต่อเนื่องและจะต้องตั้งเจตนาใหม่อีกครั้ง

  สามี ? ภรรยาในช่วงการทำอิอฺติกาฟ

1. สิ่งที่อนุโลมให้กระทำได้ มีดังนี้

    1.1 การเยี่ยมเยียนและพูดคุยกับสามีที่อยู่ระหว่างการอิอฺติกาฟ

    1.2 การอยู่ตามลำพังสองต่อสองและการหยอกล้อกันโดยไม่มีกำหนด

    1.3 การช่วยเหลือสามี เช่น การหวีผมให้ โดยสามียื่นศรีษะออกไปนอกมัสยิด ตามที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ปฏิบัติต่อท่านนบี(ศ็อลฯ)

2. ข้อห้ามที่ไม่สามารถกระทำได้ มีดังนี้

         การร่วมประเวณี ทั้งขณะที่อยู่ภายในบริเวณมัสยิดและในเวลาที่ออกไปทำภารกิจนอกมัสยิดทั้งกลางวันและกลางคืน หากมีการละเมิดในเรื่องดังกล่าวนี้ ก็ถือว่าการอิอฺติกาฟเป็นโมฆะและเขาจะต้องรีบอาบน้ำวาญิบ และกลับเข้าสู่การอิอฺติกาฟพร้อมกับตั้งเจตนาใหม่ เว้นแต่เขากระทำไปเพราะความหลงลืมว่าเขากำลังอยู่ระหว่างการอิอฺติกาฟตามทัศนะของอิมามอัชชาฟิอีย์

สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ทำอิอฺติกาฟกระทำได้

1. การกินหรือดื่มภายในบริเวณมัสยิด พร้อมกับรักษาความสะอาด

2. ใช้น้ำหอมได้

3. การต้อนรับและสนทนากับแขกที่มาเยี่ยม

4. การซื้อขายเล็กๆน้อยๆในสิ่งที่จำเป็น

5. การสมรสหรือจัดการสมรสให้ผู้อื่น

6. การโกน(ขน,ผม) หวีผม หรือการตัดเล็บ

7. การเรียนและการสอนภายในมัสยิด

   สิ่งที่ไม่ควรกระทำ (มักรูฮฺ)

          ผู้ที่อยู่ในระหว่างอิอฺติกาฟไม่ควรกระทำสิ่งที่ไร้สาระ เช่น การพูดคุยหรือการกระทำที่เปล่าประโยชน์และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือการพูดหรือการกระทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ เช่นการด่าทอและพูดจาลามก

นี่คือการทำ ? อิอฺติกาฟ ? ที่ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้เรียกร้องเชิญชวนประชาชาติของท่านให้ปฏิบัติตามอย่างจริงจังตามแบบอย่างของท่าน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าภารกิจของท่านนั้นมีมากมายเหลือเกิน แต่ถึงกระนั้นท่านก็ยังจัด ? อิอฺติกาฟ ? อยู่ในตารางชีวิตของท่านจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านอิบนุ ชิฮาบ อัซซุฮฺรีย์ ได้กล่าวว่า

"عجباً للمسلمين تركوا الإعتكاف والنبي (ص) لم يتركه منذ دخول المدينة حتى قبضه الله "

แปลได้ความว่า ? เป็นเรื่องที่น่าแปลกเหลือเกินที่ประชาคมมุสลิมต่างพากันละทิ้งการอิอฺติกาฟ ทั้งๆที่ท่านนบี(ศ็อลฯ)ไม่เคยละทิ้งการอิอฺติกาฟเลย นับตั้งแต่ท่านได้เข้ามาสู่นครมะดีนะฮฺจนกระทั่งอัลลอฮฺได้ทรงให้ท่านเสียชีวิต ?
والسلام
 
 

 

GoogleTagged