بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ
ภรรยาสามารถออกซะกาตแทนสามีได้ แต่ด้วยเงื่อนไขว่าสามีต้องมอบหมาย(วะกีล)ให้ภรรยาทำการออกซะกาตแทน และเช่นเดียวกัน บิดาไม่สามารถออกซะกาตให้กับบุตรที่บรรลุศาสนภาวะแล้วนอกจากผู้เป็นบุตรได้ทำการมอบหมายให้บิดาทำการออกซะกาตแทน
ท่านอิมามอันนนะวาวีย์ได้กล่าวว่า "นักปราชญ์ของเรากล่าวว่า หากคนหนึ่งได้ทำการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์แทนจากคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเขา ถือว่าใช้ไม่ได้โดย(ปวงปราชญ์)ไม่มีการขัดแย้งกัน เพราะซะกาตฟิตเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ ซึ่งอิบาดะฮ์นั้นจะไม่ตกไปจากสิ่งที่ถูกบังคับใช้โดยการไม่ได้รับอนุญาตจากเขา และหากเขาได้อนุญาตและทำการออกซะกาตแทน ก็ถือว่าใช้ได้ ซึ่งเสมือนกันประเด็นที่ว่า หากเขากล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านโปรดจงชดใช้หนี้แทนฉัน หรือเขาได้มอบหมายให้ทำการจายซะกาตทรัพย์สินของเขา หรือมอบหมายในการเชือดกุรบานของเขา(ก็ถือว่าใช้ได้)..." หนังสือมัจญ์มัวะอฺ : 6/136
ًوَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ