มาดูบุรดะฮของเช็คอัล-บูศิรี ต่อ
فإن من جودك الدنيا وضرتها * * * ومن علومك علم اللوح والقلم
เพราะความสมบูรณ์พูนสุขทั้งโลกนี้แหละโลกหน้า ก็เป็นส่วนหนึ่งจากความกรุณาของท่าน , และส่วนหนึ่งจากวิชาการของท่าน คือ วิชาขิง อัล-ลูหฺ และ อัล-เกาะลัม
..............................
ท่านเช็คมุหัมหมัดบิน ญะมีล ซัยนู ได้โต้แย้งบทโคลงดังกล่าวว่า
وهذا تكذيب للقرآن الذي يقول الله فيه { وإن لنا للآخرة والأولى } فالدنيا والآخرة هي من الله ومن خلْقِهِ، وليست من جود الرسول صلى الله عليه وسلم وخلقه، والرسول صلى الله عليه وسلم لا يعلم ما في اللوح المحفوظ، إذ لا يعلم ما فيه إلا الله وحده، وهذا إطراء ومبالغة في مدح الرسول صلى الله عليه وسلم حتى جعل الدنيا والآخرة من جود الرسول وأنه يعلم الغيب الذي في اللوح المحفوظ بل إن ما في اللوح من علمه وقد نهانا الرسول صلى الله عليه وسلم عن الإطراء فقال: { لا تطروني كما أطرت النصارى ابن مريم، فإنما أنا عبد، فقولوا عبد الله ورسوله } رواه البخاري
และนี้คือ การกล่าวเท็จให้แก่อัลกุรอ่าน ซึ่ง อัลลอฮได้ตรัสไว้ในนั้นว่า "(อำนาจนั้น)เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ทั้งในปรโลกและโลกนี้ " เพราะโลกนี้และโลกหน้า มันมาจากอัลลอฮ และมาจากการสร้างของพระองค์ และมันไม่ได้เกิดจากความกรุณา(ประทาน)ของท่านรซูลุ้ลลอฮ :sallallah: และไม่ใช่เกิดจากการสร้างของท่าน โดยที่ท่านรซูล :sallallah: ไม่รู้สิ่งที่อยู่ใน เลาหุ้ลมะหฺฟูซ เพราะ ไม่มีผู้ใดรู้ในนั้น นอกจากอัลลอฮ องค์เดียวเท่านั้น และนี้คือ การสรรเสริญจนเกินความเป็นจริงและการยกย่องท่านรซูลุ้ลอฮ :sallallah: จนเลยเถิด จนกระทั้ง กำหนดให้โลกนี้และโลกหน้า เกิดจากบารมี ของท่านรซูลุ้ลลอฮ :sallallah: และ ว่าแท้จริงท่านรซูลรู้สิ่งเร้นลับ ที่อยู่ในเลาหุ้ลมะหฺฟูซ แต่ทว่า ความจริง สิ่งที่อยู่ในเลาหุลมะหฺฟูซนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากความรู้พระองค์ และแท้จริงท่านรซูลุ้ลลอฮ :sallallah: ได้ห้ามพวกเราไม่ให้ สรรเสริญเกินความเป็นจริงโดยกล่าวว่า (พวกท่านอย่าสรรเสริญข้าพเจ้าจนเกินความเป็นจริง ดังเช่นพวกนะศอรอ สรรเสริญ บุตรของมัรยัม เพราะแท้จริง ข้าพเจ้าคือ บ่าวคนหนึ่ง ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า "บ่าวของอัลลอฮ และศาสนทูตของพระองค์ - รายงานโดยบุคอรี - หนังสือ มะอฺลูมาต มุฮิมมะตุน อะนิดดีน
فجعل الدنيا والآخرة من عطاء النبي -صلى الله عليه وسلم- وإفضاله، والجود هو العطاء والإفضال ؛ فمعنى الكلام أن الدنيا والآخرة له -صلى الله عليه وسلم-، والله - سبحانه وتعالى - يقول ((وإنَّ لَنَا لَلآخِرَةَ والأُولَى
แล้วเขา(อัลบูศิรี) ได้กำหนดให้โลกนี้และโลกหน้า เป็นส่วนหนึ่งจาก การประทานให้ของท่านนบี :sallallah:และความกรุณาของท่าน และคำว่า "อัลญูดุ" หมายถึง การให้ และความกรุณา แล้วความหมายของคำพูดคือ แท้จริงโลกนี้และโลกหน้า เป็นกรรมสิทธิ์ของท่านนบี :sallallah: ทั้งๆที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า "
"(อำนาจนั้น)เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ทั้งในปรโลกและโลกนี้ " - อัลลัย /13 - อัดดุรรุสสะนียฮ 9/52
http://nosra.islammemo.cc/onenew.aspx?newid=1981
ท่านพี่น้องลองอ่านดูครับ จะพบว่า การอธิบายของวะฮาบีย์กับอุลามาอ์อะฮ์ซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ต่างกันราวฟ้ากับเหว
ท่านอิมามอัลบูซีรีย์ ได้กล่าวกวีสรรเสริญท่านนบี คือในบทกวีที่ 152 - 153 ท่านอิมามอัลบูซีรีย์ ได้กล่าวถึงการ ชะฟาอัตของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในวันกิยามะฮ์ ซึ่งในบทกวีตอนที่ 154 ถัดมาท่านได้ให้เหตุผลตกย้ำสิ่งดังกล่าวว่า
فإن من جودك الدنيا وضرتها * * * ومن علومك علم اللوح والقلم
"เพราะแท้จริง ส่วนหนึ่งจากความเผื่อแผ่ของท่าน คือ(ความดีงาม)ทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์ *** และส่วนหนึ่งจากวิทยาการของท่านนั้น คือความรู้จากเลาฮิลมะห์ฟูซฺและปากกา(ที่เขียนในเลาฮิลมะห์ฟูซฺ)
ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ อธิบายว่า
فإن
"เป็นคำที่ชี้ถึงการตอกย้ำและให้บอกเหตุผลให้กับบทกวีที่ผ่านมาก่อนจากนั้น"
من جودك
"บางส่วนจากความเผื่อแผ่ของท่าน"(คือคำว่า من ตรงนี้ للتبعيض มีความหมายแค่บางส่วน)
الدنيا وضرتها
"(คือดุนยา)และอาคิเราะฮ์ หมายถึง ความดีงามของดุนยาและอาคิเราะฮ์ ดังนั้น ความเผื่อแผ่ที่ดีเลิศของดุนยา คือ ทางนำของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มาสู่บรรดามนุษย์ทั้งหลาย และความดีงามในโลกอาคิเราะฮ์คือ ชะฟาอัต(การให้ความช่วยเหลือ)ของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในขณะที่เกิดวิกฤติความวุ่นวายในวันกิยามะฮ์"
ومن علومك
"คือส่วนหนึ่งจากวิทยาการของท่านที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบให้แก่ท่าน" (คือคำว่า من ตรงนี้ للتبعيض มีความหมายแค่บางส่วน)
علم اللوح
"ร่างรัศมีที่ถูกบันทึกในมัน กับสิ่งที่ผ่านมาแล้วและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"
والقلم
"ตัวตนที่เป็นรัศมี ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงสร้างมันขึ้นมา และพระองค์ทรงใช้ให้มันเขียนสิ่งที่ผ่านมาแล้วและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"
ปัญหาที่วะฮาบีย์กำลังกล่าวหานักปราชญ์ วะลียุลลอฮ์ อย่างเช่น อิมามอัลบูซีรีย์ นี้ คือประเด็นการกล่าวหาของวะฮาบีย์ที่ว่า บทกวีนี้ ชี้ให้เห็นว่า ดุนยาและอาคิเราะฮ์เป็นกรรมสิทธิ์ของท่านนบีด้วย จึงดูเหมือนว่าพวกเขาจะอธิบายให้อยู่ในหนทางของชิริก แล้วทำการฮุกุ่มผู้อื่นโดยอธรรม ทั้งที่ความจริงไม่ใช่มีความหมายเช่นนั้น
เพราะคำว่า
فإن من جودك الدنيا وضرتها
หมายถึง "ความเผื่อแผ่อันดีเลิศของท่านนบี ทั้งในโลกนี้และโลก กล่าวคือ ดังนั้น ความเผื่อแผ่ที่ดีเลิศของดุนยา คือ ทางนำของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มาสู่บรรดามนุษย์ทั้งหลาย และความดีงามในโลกอาคิเราะฮ์คือ ชะฟาอัต(การให้ความช่วยเหลือ)ของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในขณะที่เกิดวิกฤติความวุ่นวายในวันกิยามะฮ์" ดู หนังสือ อัลอุมดะฮ์ ฟี ชัรหฺ อัลบุรดะฮ์ ของท่าน อิมาม อิบนะหะญัร อัลฮัยตะมี หน้า 665
ซึ่งหากวะฮาบีย์อ่านบทกวีอย่างมีคุณธรรมก่อนจากนี้ ก็จะทราบถึงจุดมุ่งหมายของท่านอิมามอัลบูซีรีย์เป็นอย่างดี ซึ่งไม่ใช่เหมือนกับที่วะฮาบีย์จะเอา!
ประเด็นต่อไป
วะฮาบีย์พยายามบอกว่าท่านร่อซูลไม่รู้สิ่งเร้นลับไปเลาฮิลมะห์ฟูซฺ เพราะอัลเลาะฮ์เท่านั้นที่รู้ ก็แสดงว่า วะฮาบีย์เข้าใจว่า การที่ท่านนบีรู้สิ่งเร้นลับในเลาฮิลมะฮ์ฟูซฺนั้น เหมือนกับการรู้ของอัลเลาะฮ์! ซุบหานัลลอฮ์ !
ได้รายงานจากอบูซัรริน อัลฆิฟารีย์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า
لقد تركنا رسول الله صلى الله عليه وسلم وما يحرك طائر حناحيه فى السماء إلا ذكرنا منه علما
"ขอยืนยัน แท้จริง เราได้ทิ้งท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) (คือเราได้จากท่านร่อซูลไป) โดยที่ไม่มีสองปีกนกในท้องฟ้าทำการเคลื่อนไหว นอกจากเสียว่า เราได้ทำการกล่าววิทยาความรู้จากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)" รายงานโดย อัฏฏ๊อบรอนีย์ ท่านนูรุดดีน อัลฮัยษะมีย์ กล่าวว่า นักรายงานของท่านอัลฏ๊อบรอนีย์นั้น ซอฮิหฺ นอกจาก มุฮัมมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน ยะซีด ซึ่งเป็นคนเป็น เชื่อถือได้(ษิเกาะฮ์) (ดู หนังสือ มัจญ์มะอ์ อัซซะวาอิด เล่ม 8 หน้า 36
เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า ท่านนบีได้บอกสิ่งเร้นลับไปอนาคตไว้มากกมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของสวรรค์ นรก ทราบถึงว่าผู้ใดบ้างที่ได้เข้าสวรรค์ เช่นซอฮาบะฮ์ทั้งสิบที่ได้รับข่าวดีเข้าสวรรค์ ซึ่งดังกล่าวเป็นสิ่งเร้นลับ แต่ โดยผ่านทางวะห์ยู ที่ญิบรีลนำมาบอกโดยนำมาจากเลาฮิลมะห์ฟูซฺ
และการรู้สิ่งเร้นลับของท่านนบี (ซ.ล.)นั้น คืออัลเลาะฮ์ทรงสอนและประทานให้แก่ท่านนบี ไม่ใช่หมายความว่า ท่านนบีรู้สิ่งเร้นหลับเหมือนกับอัลเลาะฮ์หรือมีหุ้นส่วนในการรู้สิ่งเร้นลับร่วมภาคีกับอัลเลาะฮ์ตามที่วะฮาบีย์เข้าใจ เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นมันกุฟุร และความเข้าใจของวะฮาบีย์นี้ ก็ต้องการจะกล่าวกุฟุรกับพี่น้องมุสลิม
การรู้สิ่งเร้นลับนั้น มีสองประเภท
1. علم الغيب المطلق รู้สิ่งที่เร้นลับโดยอิสระไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น นั่นคือ การรู้ของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสยืนยันไว้ว่า
قُل لَّا يَعْلَمُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ الْغَيْبَ إِلَّا اللَّهُ وَمَا يَشْعُرُونَ أَيَّانَ يُبْعَثُونَ
"จงประกาศเถิด ใครก็ตามในฟากฟ้าและแผ่นดิน ย่อมไม่สามารถรู้ความลี้ลับได้นอกจากอัลเลาะฮ์เท่านั้น และพวกเขาไม่รู้หรอกว่า พวกเขาจะถูกให้ฟื้นขึ้นมาอีกเมื่อไหร่?" อันนัมลิ 65
2. علم الغيب المقيد รู้สิ่งที่เร้นลับโดยมีข้อแม้ หมายถึง ต้องมีผู้อื่นบอกให้รับรู้สิ่งเร้นลับนั้น เช่น การรู้ของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ดังที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงยืนยันรับรองในสิ่งดังกล่าวว่า
عَالِمُ الْغَيْبِ فَلَا يُظْهِرُ عَلَى غَيْبِهِ أَحَداً إِلَّا مَنِ ارْتَضَى مِن رَّسُولٍ
"ผู้ทรงรู้ความลี้ลับ แล้วพระองค์มิได้เปิดเผยความลี้ลับแก่ผู้ใดทั้งสิ้น ยกเว้นผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย นั่นคือ ศาสนทูต" อัลญิน 25 - 26
ดังนั้น จึงไม่มีแง่มุมใดสำหรับวะฮาบีย์ ที่จะกล่าวกาเฟร กล่าวบิดอะฮ์ หรือกล่าวลุ่มหลง กับผู้กล่าวว่าท่านร่อซุลุลเลาะฮ์รู้สิ่งเร้นลับที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานความรู้ดังกล่าวให้แก่ท่านนบี แต่ในทางตรงกันข้าม ความกุฟุร บิดอะฮ์ และความหลงลุ่ม จะประสบแก่วะฮาบีย์ ผู้ที่ปฏิเสธความรู้อันเร้นลับของท่านนบีที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้ และยังเป็นการตำหนิอัลกุรอานอีกด้วย วัลอิยาซุบิลลาฮ์
ดังนั้น วะฮาบีย์เลิกสร้างฟิตนะฮ์ สร้างความเข้าใจผิดกับผู้ทั้งหลาย โดยอ้างว่าปกป้องอะกีดะฮ์ของตนเองเถิดครับ เนื่องจากปกป้องที่ตนเองอ้างนั้น อาจจะกลายเป็นกุฟุรเสียเอง วัลอิยาซุบิลลาฮ์!!
วัลลอฮุอะลัม