ผู้เขียน หัวข้อ: ดุลยภาพระหว่าง “ความถูกต้อง” กับ “ความเป็นพี่น้อง”  (อ่าน 4009 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nujjaba

  • บุคคลทั่วไป

ดุลยภาพระหว่าง
“ความถูกต้อง”  กับ “ความเป็นพี่น้อง”




โดย อัล อัค


วันหนึ่ง ... ในมัสญิดแห่งหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า “ชาวซุนนะฮฺ”  ได้เปิดให้คนนอกคนหนึ่งมาเป็นอีหม่ามนำละหมาดศุบฮฺ ปรากฏว่าอีหม่ามกล่าวกุนูต (ตามฟิกฮฺของชาฟิอียฺ) ผลก็คือมีมะอ์มูมส่วนหนึ่งเลิกละหมาดกลางคัน จนเกิดความวุ่นวาย ...

ต่อมาผมได้พบกับอีหม่ามตัวจริงที่บ้านของท่าน ผมบอกท่านไปว่า การเลิกละหมาดเป็นเรื่องใหญ่มากในทัศนะของอิสลาม มันเหมือนกับการสงสัยในความสมบูรณ์ของอีหม่านของคนนำละหมาดกันเลย  และผมไม่คิดว่าการกล่าวกุนูตจะถูกนับว่าเป็นบิดอะฮฺ ถ้าจะกล่าวในแง่ร้ายที่สุด ควรจะกล่าวแค่เป็นทัศนะที่อ่อนในมุมมองของฝ่ายตนเท่านั้นเอง และด้วยเหตุผลดังกล่าวก็ไม่ควรมีมะอ์มูมคนใดเลิกละหมาดเนื่องจากการกล่าวกุนูต หรือว่าไม่พึงพอใจที่อีหม่ามชาฟิอียฺเป็นอีหม่าม !!! 

ครับ ... ในการไปร่วมการอบรมกับพี่น้องที่หลากหลายทุกครั้ง ผมหวาดเสียวตรงละหมาดศุบฮฺทุกที ผมมักจะแนะนำให้น้อง ๆ ในทีมงานที่ถือมัซฮับชาฟีอียฺขึ้นนำละหมาด โดยให้อ่านตามแบบชาฟีอียฺ แต่ในหลายครั้งที่ไปพบเจอคนนำละหมาดที่ไม่ได้อ่านกุนูต ปรากฏว่ามีพี่น้องหลายคนที่กำหนดตัวเองให้อยูในมัซฮับชาฟีอียฺ ได้ทำการสุยูดซะฮฺวียฺ ผมเองเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ และตัวอีหม่ามเองก็ไม่พอใจเอามากทีเดียว แต่เมื่อผมคิดถึงภูมิหลังการเรียนรู้ของคนที่สุญูดสะฮฺวียฺ ก็ได้แต่อดทนไม่เข้าไปต่อว่าอะไร … 

ผมได้แต่รู้สึกมึน ๆ นิดหน่อย หากว่าคนที่มีจุดยืนเช่นนี้ไปอยู่ในเมืองที่อีหม่ามถือมัซฮับฟิกฮฺแบบอื่นที่ไม่กล่าวกุนูต เขามิต้องสุญูดสะฮฺวียฺกันทุกวันเลยหรือ …ยิ่งกว่านั้นบางคนมองโลกในแง่ร้ายมาก ชอบตั้งข้อหาตื้น ๆ ด้วยวิสัยทัศน์ที่คับแคบ ที่บอกว่าคนนำละหมาดที่ไม่กล่าวกุนูตเป็น “วะฮาบียฺ” นั้นเป็นเรื่องขบขันสำหรับผม เพราะคนนำละหมาดบางคนที่ผมรู้จักเป็นคนดำเนินตามมัซฮับฮะนาฟียฺ

ในอีกครั้งหนึ่งผมรู้สึกตึงเครียดระหว่างกันสนทนากับโต๊ะครูจากปอเนาะดังหลังหนึ่งทางภาคใต้เพราะท่านฟันธงว่า การละหมาดตามหลังมัซฮับฮานาฟียฺไม่ได้ เพราะพวกนี้โดนตัวผู้หญิงไม่เสียน้ำละหมาด คนเสียน้ำละหมาดจะมานำละหมาดเราได้อย่างไรกัน !!!

ผมมั่นใจพันเปอร์เซ็นต์ว่า นี่ไม่ใช่แนวคิดของมัซฮับทั้งสี่ นี่ไม่ใช่แนวคิดที่มาจากโครงสร้างของมัซฮับ แต่เกิดจากความถือทิฐิคลั่งไคล้ทางมัซฮับ หรือเกิดจากความไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า “ฟิกฮฺ” หรือนิติศาสตร์อิสลาม ... ความเข้าใจต่อข้อแตกต่างทางมัซฮับที่เราเล่าเรียนกันมาก็ไม่เคยสอนให้เลยเถิดถึงขั้นนี้ ผมแปลกใจต่อความเข้าใจต่อข้อแตกต่างทางฟิกฮฺเช่นนี้ เพราะมันจะนำไปสู่การแบ่งแยกอุมมะฮฺ นำไปสู่การแตกสลายของอุมมะฮฺออกเป็นเสี่ยง ๆ !!!
 
ในเดือนรอมฎอนของทุกปี ก็จะมีปัญหาจำนวนรอกาอัตของละหมาดตารอแวะห์มาถกกันเสมอ ระยะหลังนี้ผมค่อนข้างดีใจมากที่มีอุละมาอ์ที่ยืนยันในจำนวน 8 รอกาอัต ได้รับรองจำนวน 20 รอกาอัตว่าไม่ใช่บิดอะฮฺ เรื่องนี้เป็นแนวโน้มของการศึกษาที่เปิดกว้าง ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น   

ทุกวันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกแล้วที่มัสญิดที่ดำเนินตามมัซฮับชาฟิอียฺหลาย ๆ แห่ง มีคนละหมาดแค่ 8 รอกาอัตเป็นจำนวนค่อนมัสญิด … เมื่อไม่นานมานี้เองผมเคยละหมาดตามหลังผู้มีความรู้ในแนวมัซฮับชาฟิอียฺ ซึ่งเขาได้นำละหมาดแค่ 8 เท่านั้นเอง เนื่องจากคนตามส่วนใหญ่เป็นแนวที่เรียกตัวเองว่าสลาฟีย...

อย่างไรก็ตาม ผมเห็นด้วยกับละหมาด 20 รอกาอัตท่ามกลางคนส่วนใหญ่ที่มีทัศนะ 20 รอกาอัต เพราะว่าหลักการนี้ไม่ได้ผิด และยังเป็นที่คุ้นเคยของคนส่วนมาก และยังเป็นการส่งเสริมความรักใคร่ระหว่างพี่น้องมุสลิมอีกด้วย ... แต่ผมแนะนำให้ฝ่ายละหมาด 20 ลดระดับของรูปแบบบางอย่างลง เพื่อให้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่คุ้นเคย เพื่อพวกเขาจะได้เข้าร่วมได้อย่างสบายใจ แน่นอนว่าการลดรูปแบบที่ผมแนะนำไป ไม่ได้ทำให้ละหมาดตารอแวะห์ด้อยคุณค่าลงเลย ยิ่งกว่านั้นมันกลับเปี่ยมไปด้วยคุณค่า เนื่องจากการที่สามารถดำรงไว้ซึ่งความเป็นพี่น้องอีกฝ่ายได้อีกด้วย

การรักษาดุลระหว่าง “ความถูกต้อง”  กับ “ความเป็นพี่น้อง”  ระหว่างมุสลิมด้วยกันเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องจดจำไว้ในใจตลอดเวลาในการทำงาน ยิ่งกว่านั้นหากความเป็นพี่น้องเป็นสิ่งสำคัญต่อการนำไปสู่การแสวงหาความถูกต้อง นักทำงานอิสลามยังจะต้องพิจารณาสิ่งที่ “ผิด” ว่าอยู่ในระดับใด? และถึงเวลาที่ควรจะจัดการหรือไม่?

ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติธรรมดา สิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือการวัดระดับความขัดแย้งว่าอยู่ในระดับใด? หลังจากนั้นควรวางขั้นตอนจัดการกับมันอย่างไร?  เหตุการณ์ที่ผมคาดว่าน่าจะดีขึ้น แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ... ระยะหลัง ๆ น้อง ๆ หลายคนได้เข้าปรึกษาหารือผมถึงปัญหาความขัดแย้งลักษณะเช่นนี้ โดยไม่มีใครยินยอมกัน ในบางที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ในบางทีฝ่ายหนึ่งยอม แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการบังคับทำตามแบบของตัวเองเต็มสูตร จนอึดอัดใจแก่อีกฝ่าย บางที่อีกฝ่ายผ่อนปรน แต่อีกฝ่ายกร้าว  บอกตรง ๆ ว่า ผมฟังปัญหาบางครั้งถึงกับน้ำตาเล็ด เพราะถึงขั้นไม่ละหมาดตามหลังกัน …

ผมต้องหันกลับมาตั้งคำถามว่า ทำไมสถานการณ์เรื่องพรรค์นี้ที่ดูจะดีขึ้น กลับเลวร้ายลงในหมู่คนรุ่นใหม่ เกิดอะไรขึ้นกับอิสลามที่เขาเข้าใจ แรงกระตุ้นความรุนแรงในเรื่องปลีกย่อยแบบนี้มันก่อมาจากไหนกัน? พวกโต๊ะครูของทั้งสองฟากมีบทบาทแค่ไหนในการลดทอนความรุนแรงในเรื่องนี้ … หรือว่าเอาแต่ราดน้ำมันเข้าสู่กองเพลิง !!!
   
เมื่อแต่ละฝ่ายต่างแรง ก็พากันปฏิเสธโต๊ะครูแต่ละฝ่าย สายใหม่ก็เข้าไปไม่ได้ เพราะสายเก่าขวาง สายเก่าก็เข้าไม่ได้ เพราะสายใหม่ไม่เอา และอย่าคิดว่าแบบสายกลาง ๆ จะได้เข้า เพราะทั้งสองสายต่างไม่เอาทั้งคู่ บางฝ่ายพาลไม่ชอบพวกที่ถูกเรียกว่าสายกลาง เพราะคิดว่าอยู่กลางระหว่างบิดอะฮฺกับซุนนะฮฺ หรือเป็นพวกไม่ยอมฟันธง ทั้งที่กลางในแนวคิดผมคือ การไม่กำหนดตัวเองให้ไปอยู่ฟากใดฟากหนึ่งแบบสิ้นคิด ไม่ไปอยู่ระหว่างสองฝ่ายที่ผิด แต่ถ้าข้างใดถูกชัดเจนก็ต้องสนับสนุนข้างนั้น ... กลางของผมคืออะอฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ซึ่งเป็นการในการบูรณาการและการรักษาดุลระหว่าง “ความถูกต้อง”  กับ “ความเป็นพี่น้อง”  …

หากสถานการณ์เป็นแบบนี้ไปไม่นาน คงเป็นเรื่องยากที่นักดะอฺวะฮฺที่มีความจริงจังและจริงใจจะได้เข้าไปพบปะกับชมรมนักศึกษามุสลิมต่าง ๆ  หรือถ้าเข้าไปได้คงได้พูดแต่หัวข้อหน่อมแน่ม ประเภทฉันรักเธอ เธอรักฉัน ... ต่อไปคนที่เข้าไปได้สะดวกคงมีแต่พวกตลกทอล์คโชว์ และลิเกฮูลู  ...
   



อ้างอิง : http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=275&Itemid=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 04, 2008, 12:09 PM โดย nujjaba »

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ครับ ... ในการไปร่วมการอบรมกับพี่น้องที่หลากหลายทุกครั้ง ผมหวาดเสียวตรงละหมาดศุบฮฺทุกที ผมมักจะแนะนำให้น้อง ๆ ในทีมงานที่ถือมัซฮับชาฟีอียฺขึ้นนำละหมาด โดยให้อ่านตามแบบชาฟีอียฺ แต่ในหลายครั้งที่ไปพบเจอคนนำละหมาดที่ไม่ได้อ่านกุนูต ปรากฏว่ามีพี่น้องหลายคนที่กำหนดตัวเองให้อยูในมัซฮับชาฟีอียฺ ได้ทำการสุยูดซะฮฺวียฺ ผมเองเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ และตัวอีหม่ามเองก็ไม่พอใจเอามากทีเดียว แต่เมื่อผมคิดถึงภูมิหลังการเรียนรู้ของคนที่สุญูดสะฮฺวียฺ ก็ได้แต่อดทนไม่เข้าไปต่อว่าอะไร … 

                     ที่เขาสุยูดซะฮ์วี  เพราะเขาไม่ได้อ่านกุนูต  แต่เขายอมไม่อ่านกุนูตตามอิมามขณะที่เงยขึ้นจากเอี๊ยะอฺติดาล  เพราะเขาคิดว่าการละหมาดตามอิมามที่ไม่กุนูตนั้นใช้ได้  และการที่เขาสุยูดซะฮ์วีมิใช่เพราะอิมามทำละหมาดบกพร่อง  แต่เขาสุยูดซะฮ์วีเพราะตัวเขาเองไม่ได้อ่านกุนูตต่างหาก  แล้วอิมามเขารู้สึกไม่สบายใจเพราะอะไร  หรือว่าไม่สบายใจเพราะอิมามนึกว่ามะมูมคิดว่าอิมามทำละหมาดไม่สมบูรณ์หรือ?  กระผมว่าอิมามคิดไปเอง  และผู้เขียนก็คิดไปเองต่างหาก 

                แต่กระผมคิดว่า  ผู้เขียนลืมนำเสนอความดุลยภาพอีกจุดหนึ่งในเรื่องละหมาดซุบฮิก็คือ  ผู้เขียนน่าจะแนะนำอิมามนำละหมาดที่ไม่กุนูตว่า  เวลาเอี๊ยะติดาลนั้น  ก็ให้เอี๊ยะติดาลนานอีกสักนิดเพื่อรักษาดุลยภาพในเรื่องความแตกต่างในเรื่อกุนูต  โดยให้ผู้อ่านกุนูตเขามีโอกาสในการอ่านกุนูตแบบสั้นๆ ก็ยังดี  เพื่อไม่ให้มีการสุยุดซะฮ์วีที่ทำให้ผู้เขียนต้องถึงกับอดทนอดกลั้นหรืออิมามคิดระแวงมะมูมไปเองจนทำให้ตนเองไม่สบายใจ 

                 ทั้งนี้ทั้งนั้น  บทความดังกล่าวนี้  ถือว่าใช้ได้ครับ  mycool:   
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^

การเข้าใจและยอมรับในการซูหยูดซะฮฺวีย์ของพี่น้อง .. ก็ถือเป็นดุลยภาพเหมือนกันนะ

 ;D ก็ทำตามท่านอีหม่ามชะฟิอียมันผิดตรงไหนล่ะ สงสัยจัง  ;D 
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด

                    บางทีผู้เขียนหรืออิมามนำละหมาดอาจจะมีมุมมองแบบไม่ทั่วถึง  ดลยภาพทางจิตใจเลยเอียงไปนิดเพราะขาดความเข้าใจในบางแง่มุม  แต่โดยรวมแล้วมีเป้าหมายที่ดีในการเขียนครับ  wink:
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ในอีกครั้งหนึ่งผมรู้สึกตึงเครียดระหว่างกันสนทนากับโต๊ะครูจากปอเนาะดังหลังหนึ่งทางภาคใต้เพราะท่านฟันธงว่า การละหมาดตามหลังมัซฮับฮานาฟียฺไม่ได้ เพราะพวกนี้โดนตัวผู้หญิงไม่เสียน้ำละหมาด คนเสียน้ำละหมาดจะมานำละหมาดเราได้อย่างไรกัน !!!

ผมมั่นใจพันเปอร์เซ็นต์ว่า นี่ไม่ใช่แนวคิดของมัซฮับทั้งสี่ นี่ไม่ใช่แนวคิดที่มาจากโครงสร้างของมัซฮับ แต่เกิดจากความถือทิฐิคลั่งไคล้ทางมัซฮับ หรือเกิดจากความไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า “ฟิกฮฺ” หรือนิติศาสตร์อิสลาม ...

                    ที่ผู้เขียนเขาเครียดเนี่ย  เพราะเขายังไม่ศึกษาฟิกห์มัซฮับทั้ง 4 ให้ถี่ถ้วนในเรื่องการละหมาดตามมัซฮับอื่นไงล่ะครับ  เลยหาทางออกให้กับโต๊ะครูบางท่านที่ร่วมเสวนาด้วยไม่ได้  เลยเกิดความเครียด  จริงๆ แล้วเรื่องการละหมาดตามมัซฮับอื่นนั้น  มันอยู่ที่ตัวมะมูมเอง  หากมะมูมเอี๊ยะติก๊อตว่าอิมามที่เขาตามละหมาดไม่ใช้ไม่ได้  เขาก็ละหมาดตามใช้ไม่ได้  แม้นว่าจะเป็นอิมามที่อยู่ในมัซฮับชาฟิอีย์เองก็ตาม  แต่หากมะมูมมัซฮับชาฟิอีย์ตามอิมามที่อยู่ในมัซฮับอื่น  ซึ่งถ้าหากมะมูมเอี๊ยะติก๊อตว่าละหมาดของอิมามมัซฮับอื่นใช้ได้  การละหมาดของมะมูมก็ใช้ได้

                   ดังนั้นหากผู้เขียนศึกษามัซฮับทั้ง 4 อย่างถี่ถ้วน  ก็จะทราบถึงทางออกตรงนี้  และสามารถแนะนำโต๊ะท่านนั้นได้ว่า  ในตำรามัซฮับชาฟิอีย์นั้นบอกว่าละหมาดตามมัซฮับฺฮะนาฟีย์นั้นใช้ได้  หากมะมูมเอี๊ยะติก๊อตว่าละหมาดของอิมามใช้ได้ตามนัยยะของมัซฮับเขา  ความเครียดก็จะคลายลงไป

                    ฉะนั้นคำว่า "ผมมั่นใจพันเปอร์เซ็นต์..."  จึงไม่สมควรพูดมั่นใจในตัวเองจนเกินไปเหมือนกับว่าตนเองศึกษามาครบถ้วนแล้วเสียอย่างนั้น  ;D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 04, 2008, 01:30 PM โดย นูรุ้ลอิสลาม »
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^

เกตแระ ยะซากัลลอฮ  myGreat:
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ผมต้องหันกลับมาตั้งคำถามว่า ทำไมสถานการณ์เรื่องพรรค์นี้ที่ดูจะดีขึ้น กลับเลวร้ายลงในหมู่คนรุ่นใหม่ เกิดอะไรขึ้นกับอิสลามที่เขาเข้าใจ แรงกระตุ้นความรุนแรงในเรื่องปลีกย่อยแบบนี้มันก่อมาจากไหนกัน? พวกโต๊ะครูของทั้งสองฟากมีบทบาทแค่ไหนในการลดทอนความรุนแรงในเรื่องนี้ … หรือว่าเอาแต่ราดน้ำมันเข้าสู่กองเพลิง !!!

               ขอตอบจากใจจริงเลยน่ะครับ  สถานการณ์ที่เป็นเช่นนี้  ต้องไปปรับปรุงที่ตัวโต๊ะครูทั้งสองฝ่ายครับ  เพราะลูกศิษย์ถือหาง  โต๊ะครูแต่ละฝ่ายก็ทิฐิกันทั้งสองฝ่าย  ลูกศิษย์ก็เลยเชื่อมั่นในโต๊ะครูของตัวเองตามความทิฐิของโต๊ะครูที่ตนเองชื่นชอบ

               ดังนั้นหากโต๊ะครูแต่ละฝ่ายเข้าใจรากเหง้าของฟิกห์  เข้าใจประเด็นฟิกห์ที่ได้มาโดยหลักฐานที่เด็ดขาด (ยาเกนหรือมุตะวาติร) หรือไม่เด็ดขาด (ซ๊อนนีย์หรืออาฮาด)  ก็จะเกิดจิตใต้สำนึกขึ้นมาว่า  ทัศนะที่ข้ายึดอยู่นี้หลักฐานไม่ได้มุตะวาติรเด็ดขาดนี่หน่า  เราจะฟันธงร้อยเปอร์เซ็นว่าข้าถูกเสมอไปไม่ได้นี่หน่า

                ฉะนั้น  คนที่ฟันธงว่าทัศนะตนเองถูกต้องเด็ดขาดที่สุดแล้วนั้น  เขาเรียกว่าเอาอารมณ์มาตัดสิน  ไม่ใช่หลักนิติศาสตร์อิสลามของแท้มาตัดสิน 
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ ADB

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 235
  • Respect: +24
    • ดูรายละเอียด
    • ตับลีฆ
 salam

ดุลยภาพอีกอย่างที่ทำได้ง่ายมากคือ  การที่คนหนึ่งพูดแล้วอีกคนหนึ่งรับฟัง เมื่อทุกคนทั้งพูดและรับฟังความเข้าใจก้อจะเกิดขึ้น
น่ารักทั้งคนตั้งกระทู้และคนตอบครับ อีกนิดก้อดี คุยกันแบบนี้บ่อยๆ  myGreat:

ออฟไลน์ vrallbrothers

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 498
  • ALLAH MAHA BESAR...
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
อัสสลามุอะลัยกุมวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบารอกาตุฮ์

บังนูรุ้ลฯ ครับ แล้วถ้าหากว่า ผู้ที่ยึดตามมัสหับชาฟีอีย์แล้วละหมาดตามอิมามที่นำละหมาดที่ไม่ได้อ่านกูนุต แต่ตักลีดตามโดยที่ถ้าหากว่าละหมาดซุบฮ์(โดยไม่ได้อ่านกูนุต)แล้วละหมาดใช้ได้โดยไม่ต้องซุญุดซะห์วี เมื่อมะมูมละหมาดเสร็จเขาไม่ซูญุดซะห์วีนั้น การละหมาดของเขาจะสมบูรณ์หรือไม่ครับ(โดยการตักลีดนี้) ?

ญะซากัลลอฮ์ ล่วงหน้าครับ  loveit:


เวลาเปรียบเสมือนคมดาบ...หากท่านไม่ตัดมัน มันจะตัดท่าน



ยะฮูดีใช้ระเบิดฟอสฟอรัส... เลวร้าย ป่าเถื่อนยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
อัสสลามุอะลัยกุมวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบารอกาตุฮ์

บังนูรุ้ลฯ ครับ แล้วถ้าหากว่า ผู้ที่ยึดตามมัสหับชาฟีอีย์แล้วละหมาดตามอิมามที่นำละหมาดที่ไม่ได้อ่านกูนุต แต่ตักลีดตามโดยที่ถ้าหากว่าละหมาดซุบฮ์(โดยไม่ได้อ่านกูนุต)แล้วละหมาดใช้ได้โดยไม่ต้องซุญุดซะห์วี เมื่อมะมูมละหมาดเสร็จเขาไม่ซูญุดซะห์วีนั้น การละหมาดของเขาจะสมบูรณ์หรือไม่ครับ(โดยการตักลีดนี้) ?

ญะซากัลลอฮ์ ล่วงหน้าครับ  loveit:

                   ไม่ต้องตักลีด  เพราะละหมาดโดยไม่อ่านกุนูตเซาะฮ์ใช้ได้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  สิ่งที่เป็นรุกุ่นของละหมาดเราได้ทำสมบูรณ์แบบโดยรวมแล้ว   กระผมคิดว่าให้เน้นละหมาดแบบคุชั๊วะมีสามาธิและบริสุทธิ์ใจในการละหมาดดีกว่า  เพราะอัลเลาะฮ์จะทรงเน้นมองในเรื่องนี้       
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด

น่ารักทั้งคนตั้งกระทู้และคนตอบครับ อีกนิดก้อดี คุยกันแบบนี้บ่อยๆ  myGreat:

                        ความน่ารักให้คนตั้งกระทู้ดีกว่าครับเพราะผมขี้เหร่  ;D  แต่หากคนตั้งกระทู้คือ nujjaba  และคนตอบคือ قطوف من أزاهير النور  ก็ยกความน่ารักแบบมุสลิมะฮ์ประจำเว็บนี้ก็จัดให้ทั้งสองคนไปเลยครับ  ::)
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ JawhaR

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1303
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
 salam

บัง นูรุ๊ลฯ ครับ ปกติผมละหมาดซุบฮีอ่านกูนูต ถ้าหากว่าผมลืมกูนูตละครับ
ผมจำเป็นต้องซูญูดสะวี รึป่าว
ถ้าเป็นแต่ก่อนผมซูญูต แต่พอมาเรียนมหาลัย มีรุ่นพี่ที่ทำอย่างผม (ซะฟีอีย์เหมือนกัน) เขาบอกว่าไม่ต้องซูญูต
ผมลืมแล้วว่าเขาให้เหตุผลอะไร  จากนั้นเวลาผมลืม ก็ไม่เคยซูญูตสะวีย์เลย

ผมอยากได้คำตอบที่แน่นอน และให้ผมมั่นใจว่า ต้อง หรือ ไม่ต้อง ซูญูตครับ
แล้วที่มา ที่มีการอ่านกูนูต นี้เพราะอะไรหรอครับ

รบกวนตอบผมทีนะครับ ผมคนเรียนศาสนาน้อยคับ
ญาซากัลลอฮฯ
   
I'm just a Mini Muslim and will try to be   StrongeR. Insha-Allah

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
กลางของผมคืออะอฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ซึ่งเป็นการในการบูรณาการและการรักษาดุลระหว่าง “ความถูกต้อง”  กับ “ความเป็นพี่น้อง”  …

ใช่แล้วครับ  การรักษาไว้ซึ่งดุลระหว่างความถูกต้องเชิงคิลาฟกับความเป็นพี่น้องนั้น  คือเครื่องหมายของ  "อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์"  เป็นหลักปฏิบัติของซอฮาบะฮ์  สะละฟุศศอลิห์  อิมามมัซฮับทั้งสี่  และบรรดาปวงปราชญ์ที่อยู่ในมัซฮับทั้ง 4  ที่มาจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  ก็ได้ดำเนินตามแนวทางดังกล่าว

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ชุกรี

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัสสลามุอลัยกุม
    ผมเองรู้สึกชื่นชอบและชื่นชมคุณอัล อัค อย่างมาก  เพราะบทความทั้งหมดที่เขาเขียนนั้นล้วนแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลางทุกครั้ง ทำให้ผมเห็นว่าพี่น้องสลาฟีย์ที่ไม่ฮุก่มกาเฟร ไม่ว่าชีริกกับพี่น้อง และจิตใจกว้างขวางก็มีเยอะเหมือนกัน(ขออนุญาติไม่เรียกวะฮาบีย์นะครับ)และก็ดุอาอฺตลอดว่าขอให้สลาฟีย์ทุกคนมีความคิดแบบนี้ เพราะปัญหาจะไม่เกิดขึ้นเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ที่มักฮุก่มพี่น้องแบบฟันธง ซึ่งแน่นอนว่า อัลลอฮฺต้องตอบแทนพวกเขาในวันอาคีเราะห์
     บทความของคุณอัล อัคเป็นกลางแม้กระทั้งตอนกล่าวถึงญามาอัตตับลีฆซึ่งเป็นดั่งไม้เบื่อไม้เมาสำหรับพวกเขา(สลาฟีย์)ส่วนใหญ่(###อ้างอิงจากบทความ"เผื่อๆไว้บ้างก็ดี"รู้สึกในเว็บนี้ก็มีบทความนี้###)
     ผมคิดว่านี่แหละคือสลาฟีย์ที่แท้จริงที่อิหม่ามอิบนุ ตัยมียะฮฺนำมา

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^


อ้างถึง
หัวข้อ: ดุลยภาพระหว่าง “ความถูกต้อง” กับ “ความเป็นพี่น้อง”  (อ่าน 99 ครั้ง)

แหม .. เลขสวย  ;D
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

 

GoogleTagged