การบริหารงานของอุมัรุ
( 1 ) ผู้บุกเบิกประชาธิปไตยแห่งอิสลาม
อุมัรุจัดว่าเป็นผู้บุกเบิกการก่อตั้งรัฐที่วางพื้นฐานอยู่บนระบบประชาธิปไตยแห่งอิสลามที่เพิ่งจะถูกนำมาใช้ในตะวันตกในศตวรรษที่ 19 และ 20 เขาเป็นนักบริหารประชาธิปไตยตัวอย่างที่ไม่มีใครเปรียบเทียบได้ ไม่เพียงแต่ประวัติศาสตร์อิสลามเท่านั้น แต่ในประวัติศาสตร์ของอารยธรรมสมัยใหม่ด้วย บริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลในตะวันออกกลาง อาณาจักรเปอร์เซียและไบแซนตินได้ถูกพิชิตในช่วง 10 ปีแห่งการเป็นเคาะลีฟะฮุของเขา
ธรรมนูญของรฐอิสลามที่ปกครองด้วยเคาะลีฟะฮุในสมัยของอุมัรุนั้นวางพื้นฐานอยู่บนระบบประชาธิปไตยอิสลาม เรื่องต่าง ๆ ทั้งหมดได้ถูกตัดสินหลังจากการปรึกษากับ ? ชูรอ ? ( สภาที่ปรึกษา ) อุมัรุกล่าวว่า ?มันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเคาะลีฟะฮุที่จะต้องปรึกษาหารือกับชูรอ?ครั้งหนึ่งเขากล่าว?ฉันไม่ต้องการให้พวกท่านมาตามสิ่งที่มาจากอำเภอใจของฉัน?อุมัรุได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในหลายครั้งที่ว่าเขาจะต้องได้รับการเชื่อฟังตราบใดที่เขายังเชื่อฟังอัลลอฮุและรอซูลของพระองค์
( 2 ) สาธารณรัฐอิสลามบนพื้นฐาน ? ชูรอ ?
ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าในสมัยการปกครองของอุมัรุกิจการทุกเรื่องจะถูกตัดสินหลังจากการปรึกษากับ
?ชรอ? ( สภาที่ปรึกษา ) ดังนั้น ในที่นี้จึงขอทำความเข้าใจให้เป็นที่ชัดเจนก่อนเสียว่า ?ชูรอ? มีสามประเภทหลักๆ ด้วยกัน ?ชูรอ? ประเภทประกอบด้วยสาวกคนสำคัญๆ ของท่านศาสดามุฮัมมัด อย่างเช่น อุษมาน. อะลี. อับดุรเราะมาน บิน เอาฟุ. มุอาซ บิน ญะบัล. อุบัยด์ บิน กะอับ. เซด บิน ษาบิต. ฏ็อลฮะฮุ และ ซุเบรุ คนเหล่านี้เป็นสมาชิกถาวรของ ?ชูรอ? เรื่องสำคัญๆ ทั้งหมดจะถูกตัดสินในการประชุมปรึกษาหารือกับคนเหล่านี้ ?ชูรอ? นี้อาจถูกเรียกว่า ?สภาที่ปรึกษาสูง? ก็ได้
?ชูรอ? ประเภทที่สองเป็นสภาที่ปรึกษาทั่วไปซึ่งประกอบด้วยบรรดาสาวกจากชาวอันศอรุ (ชาวเมืองมะดีนะฮุเดิม) และชาวมุฮาญิรีน (บรรดามุสลิมที่อพยพจากมักก๊ะฮุไปยังมะดีนะฮุ) รวมทั้งหัวหน้าตระกูลและหัวหน้าเผ่าต่างๆ แต่ ?ชูรอ? นี้จะให้ความสำคัญแก่บรรดาผู้ที่เข้าร่วมในสงครามบะดัรุก่อน เรื่องทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยทั่วไปจะถูกนำ
มาปรึกษาหารือกันในสภานี้
?ชูรอ?ประเภทที่สามจัดอยู่ระหว่างสภาที่ปรึกษาสูงและเป็นสภาที่ปรึกษาทั่วไปสภานี้ประกอบด้วยสาวกที่ได้รับการคัดสรรมาจากกลุ่มชาวมุฮาญิรีน และกลุ่มชาวอันศอรุ เพื่อพิจารณาเรื่องที่เป็นประโยชน์เฉพาะบางอย่าง
ใน ?ชูรอ? ทุกคนที่เป็สมาชิกจะได้รับอนุญาตให้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ หลายครังด้วยกันที่อุมัรุกล่าวว่า ?ฉันมิได้เป็นอะไรนอกไปจากคนธรรมดาเหมือนพวกท่านฉันได้แต่ขอร้องพวกท่านให้ร่วมมือกับฉันในงานที่พวกท่านหมอบหมายความไว้วางใจให้แก่ฉัน?
( 3 ) การเรียกประชุม ?ชูรอ? ทั่วไป
เนื่องจาก ?ชูรอ? พิเศษประกอบไปด้วยสมาชิกเพี่ยงไม่กี่คนดังนั้น จึงไม่มีวิธีการเฉพาะในการเรียกประชุม ส่วนวิธีการเรียกประชุมเสภาที่ปรึกษาทั่วไปก็ทำโดยการให้ใครคนหนึ่งประกาศด้วยเสียงดังว่า ?อัศเศาะลาตุล ญามิอ๊ะฮุ? จากที่สูงของมัสญิดของนบี เมื่อได้ยินเสียงดัวกล่าว ผู้คนก็จะรู้กันทันที่ว่ามีการเรียกประชุมและจะไปชุมนุมกันที่มัสญิด ก่อนการประชุมอุมัรุจะนามซ 2 ร็อกอัต แล้วจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม
( 4 ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
เสรีภาพในการแสดงความเห็นไม่เพียงแต่จะเป็นที่อนุญาตในการประชุมเท่านั้น แต่ยังได้รับอนุญาตในทุก
โอกาสด้วย เคาะลีฟฮุเป็นผู้นำหลักการนี้มาใช้ ดังจะเห็นได้จากคำปราศรัยของท่าน ดังต่อไปนี้
?ประชาชนทั้งหลาย ฉันมิได้เป็นอะไรนอกไปจากผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลทรัพย์สินของเด็กกำพร้า ถ้าหากฉันร่ำรวย ฉันจะไม่เอาค่าตอบแทนการทำงาน แต่ในกรณีที่จำเป็น ฉันก็จะรับแต่เฉพาะที่จำเป็น เพื่อนๆ ทั้งหลาย พวกท่านมีสิทธิบางอย่างเหนือฉันและพวกท่านได้รับอนุญาตเต็มที่ในการที่จะเรียกร้องสิทธิของพวกท่านเมื่อใดก็ได้ สิทธิอย่างหนึ่งก็คือ : อย่าปล่อยให้ฉันนำเอาภาษีญิซยะฮุและทรัพย์สินที่ยึดได้จากการสงครามไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง พวกท่านมีสิทธิที่จะตรวจสอบว่าคนอยากจน คนอนาถาในหมู่พวกท่านได้รับปัจจัยสำหรับการยังชีพของพวกเขา พวกท่านมีสิทธิที่จะทำให้แน่ใจว่าพรมแดนของรัฐได้รับความปลอดภัยและพวกท่านไม่อย่ในอันตราย ?
คำพูดดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงหลักการเสรีและพื้นฐานแห่งรัฐบาลของเขา อุมัรุไม่เคยแบ่งแยกระหว่างมุสลิมและผู้ที่มิใช่มุสลิมในเรื่องของความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
( 5 ) การบริหารท้องถิ่น
อุมัรุเป็นแบบอย่างที่โดดเด่นสำหรับผ้ปกครองมุสลิมรุ่นต่อๆมาในเรื่องของการบริหารในขณะที่ปกครองรัฐอิสลามอยู่นั้น อุมัรุแบ่งรัฐอิสลามออกเป็นแคว้นๆ โดยให้แต่ละแคว้นมีเมืองหลวงของตัวเองใน ฮ.ศ. 23 ซึ่งเป็นยุคปลายสมัยของอุมัรุ รัฐอิสลามแบ่งออกเป็นแคว้นต่างๆ โดยมีผู้ปกครองดังต่อไปนี้
แคว้น เมืองหลวง ผู้ปกครอง
1. อิญาซ มักก๊ะฮุ นะฟี บิน อะบูฮาริษ
2. ซีเรีย ดามัสกัส มุอาวิยะฮุ บิน อบูซุฟยาน
3. อิหร่าน บัสเราะฮุ อบูมูซา อัล อัชอารี
4. อิรัก กูฟะฮุ มุฆีเราะฮุ บิน ชุบ๊ะฮุ
5. อิยิปต์ ฟุสตาต อัมรุ บิน อัลอาศ
6. ปาเลสไตน์ เยรูซาเล็ม อัลกอมะฮุ บิน มะญาซ
7. ญะซีเราะฮุ ฮิมส์ ( ฮอมส์ ) อุมัยร์ บิน ซะด์
8. อารเบียกลาง
( 6 ) เคาะลีฟะฮุเป็นผู้นำทางศาสนาของรัฐ
เคาะลีฟะฮุเองก็เป็นผู้นำทางศาสนาของรัฐทำหน้าที่นำนมาซประจำวัน5เวลาและการนมาซวันศุกร์ในมัสญิดของนบี
ที่นครมะดีนะฮุ ในช่วงเวลาทำฮัจญ์ เคาะลีฟะฮุก็จะทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประกอบพิธีฮัจญ์ แต่ถ้าหากว่าเคาะลีฟะฮุไม่ได้มาร่วม ก็จะมีการแต่งตั้งตัวแทนมาทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประกอบพิธีฮัจญ์ให้ ในเรื่องของศาสนา เคาะลีฟะฮุจะออกคำตัดสินให้ตามหลักกฎหมายอิสลาม ( ชะรีอ๊ะฮุ )
( 7 ) กระบวนการยุติธรรม
การทำหน้าที่ด้านกระบวนการยุติธรรมจะถูกมอบหมายให้ ?กอฏี? (ผู้พิพากษา) กอฏีจะเป็นอิสระโดยสินเชิงจากฝ่ายบริหารมีหลายครั้งด้วยกันที่เคาะลีฟะฮุอุมัรุเองต้องไปปรากฏตัวต่อหน้ากอฏีเพื่อ ให้คำให้การต่อผู้พิพากษา
ใน หนังสือ ?เฎาะบะกอตุล ฟุกอฮา? และหนังสือ ?มะวาร์ดี? ได้มีการอ้างอิงคำสั่งของเคาะลีฟะฮุอุมัรุที่มีไปยังกอฎีในเขตปกครองต่างๆ ไว้ เช่น
?กอฎีจำเป็นต้องยุติธรรมในการตัดสินและต้องไม่เห็นแก่คนที่ถือว่าสำคัญในสังคม ผู้ร้องทุกข์จะต้องหาหลักฐานมา สนับสนุนในคดีของตน ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องได้รับอนุญาตให้รอมชอมยอมความกันได้ ยกเว้นเมื่อการรอมชอมกันนั้นทำให้สิ่งที่ต้องห้ามเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย หรือสิ่งที่ถูกกฎหมายเป็นที่ต้องห้าม ถ้าหากตัดสินคดีไปแล้วและมารู้ความจริงทีหลัง อนุญาตให้ท่านพิจารณาคดีใหม่และเปลี่ยนคำตัดสินได้ เมื่อท่านไม่พบทางนำในกรุอานหรือในฮะดิษ (การปฏิบัติและคำพูดของท่านนบีมุฮัมมัด) เพื่อใช้เป็นคำตัดสินก็ให้ไตร่ตรอง (บนพื้นฐานของหลักกฏหมายอิสลาม) และ ค้นหาข้อยุติจากคำพิพากษาของบรรดาผู้ทรงธรรมความรู้ก่อนหน้าพวกท่าน (ในกรณีที่หาไม่ได้) แล้วจึงใช้ดุลพินิจ ของตัวท่านเองโดยเปรียบเทียบจาการปฏิบัติของท่านนบีมุฮัมมัด?
ในหนังสือ ?กันซุ อัล-อุมมาล? ได้มีการอ้างถึงคำสั่งของอุมัรุไปถึงกอฎีว่า
?จงตัดสินคดีความตามคำภีร์อัลกรุอาน ถ้าหากไม่พบข้อยุติในคัมภีร์อัลกรุอานก็ให้ตัดสินบนพื้นฐานของฮะดิษ ในกรณีไม่พบฮะดิษที่เหมาะสม ก็จงหาดูจากมติการตัดสินที่เป็นเอกฉันท์ของบรรดาผู้ทรงคุณธรรมความรู้ก่อนหน้าท่าน ถ้าหากว่าหาไม่ได้ก็ให้ท่านตัดสินโดยใช้ดุลพินิจของท่านบนพื้นฐานของกรุอาน และ ฮะดิษ ของท่านนบี ?
เนื่องจากอุมัรุเองก็เป็นนักกฏหมายคนหนึ่ง ดังนั้น เขาจึงหนักเป็นผู้พิพากษาด้วย และบางครั้งก็ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าหัวหน้าผู้พิพากษา ครั้งหนึ่ง เขาเคยตัดสินลงโทษ อบูชะฮุมะฮุ
บุตรชายของเขาเองด้วยการเฆี่ยน 80 ทีโทษฐานที่กินเหล้า และยังผลให้ลูกชายของเขาเสียชีวิต มีตัวอย่างอีกหลายกรณี
ที่แสดงให้เห็นว่าในเวลานั้นความยุติธรรมตามหลักการอิสลามเป็นสิ่งที่ถูกนำมาปฏิบัติจริงๆ ทั้งมุสลิมและผู้ที่มิใช่มุสลิมต่างเท่าเทียมกัน ต่อหน้าความยุติธรรมของเขา เพราะเขาเคยตัดสินลงโทษประหารชีวิตมุสลิมที่ฆ่าชาวคริสเตรียนมาแล้ว
เนื่องจากอุมัรุเองก็เป็นนักกฏหมายคนหนึ่ง ดังนั้น เขาจึงหนักเป็นผู้พิพากษาด้วย และบางครั้งก็ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าหัวหน้าผู้พิพากษา ครั้งหนึ่ง เขาเคยตัดสินลงโทษ อบูชะฮุมะฮุ
บุตรชายของเขาเองด้วยการเฆี่ยน 80 ทีโทษฐานที่กินเหล้า และยังผลให้ลูกชายของเขาเสียชีวิต มีตัวอย่างอีกหลายกรณี
ที่แสดงให้เห็นว่าในเวลานั้นความยุติธรรมตามหลักการอิสลามเป็นสิ่งที่ถูกนำมาปฏิบัติจริงๆ ทั้งมุสลิมและผู้ที่มิใช่มุสลิมต่างเท่าเทียมกัน ต่อหน้าความยุติธรรมของเขา เพราะเขาเคยตัดสินลงโทษประหารชีวิตมุสลิมที่ฆ่าชาวคริสเตรียนมาแล้ว
( 7 ) งานด้านการศึกษา
เคาะลีฟะฮุให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องการปลูกฝังความรู้ทางด้านอิสลามให้แก่มุสลิม คัมภีร์อัลกรุอานได้ถูกรวบรวมขึ้นเป็นเล่มในระหว่างสมัยอบูบักรุโดยการสนับสนุนของอุมัรุ ขณะที่อยู่ในตำแหน่งเคาะลีฟะฮุ อุมัรุได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนกรุอานในทุกพื้นที่ที่มุสลิมยึดครองได้ โรงเรียนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในบริเวณมัสญิด นักเขียนหลายคนได้กล่าวว่าครูตามโรงเรียนๆ ได้รับเงินเดือนอย่างดี นอกจากจะสอนกรุอานแล้ว ครูเหล่านั้นยังฝึกอบรมผู้คนอ่านและเขียนด้วยคนที่สามารถท่องจำกุรอานได้ทั้งเล่ม ( ฮาฟิซ ) จะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ
( 9 ) งานด้านตำรวจ และเรือนจำ
เคาะลีฟะฮุเป็นผู้นำรัฐอิสลามคนแรกที่ก่อตั้งกรมตำรวจขึ้นมาเพื้อดูแลความเรียบร้อยภายในรัฐ กรมตำรวจในเวลานั้นเป็นที่รู้จักกันในนามว่า ? อะฮุดัษ ? และเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกว่า? ซอฮิบุล อะฮุดัษ ? อบูฮุร๊อยเราะฮุได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น ? ซอฮิบุล อะฮุดัษ ? ประจำบาเรน และเมื่อตอนที่เขาได้ถูกส่งไปประจำหน้าที่ เคาะลีฟะฮุอุมัรุได้มีคำสั่งแก่เขาดังนี้
?จงรักษาความสงบในพื้นที่ อย่าให้คนละเมิดกฎหมาย จะต้องไม่ให้ผู้คนชั่งตวงอย่างผิด ๆ อย่าให้ผู้คนสร้างอาคารบ้านเรือนบนถนนขว้างทางสัญจร ผู้คนจะต้องไม่ให้สัตว์บรรทุกน้ำหนักเกินและจะต้องไม่อนุญาตให้ขายหรื่อซื้อสุรา?
ก่อนหน้าสมัยเคาะลีฟะฮุอุมัรุ ในอารเบียไม่มีคุก อุมัรุได้ซื้อบ้านในมักก๊ะฮุไว้ห้าหลังเพื่อใช้เป็นคุก นอกจากนั้นยังได้สร้างคุกขึ้นมาในจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายแห่ง การลงโทษโดยการเนรเทศได้ถูกเคาะลีฟะฮุอุมัรุนำมาใช้ โดยการที่ได้เนรเทศ อบู มิฮุญาน ษะกอฟี ไปยังเกาะแห่งหนึ่ง ในฐานที่ดื่มสิ่งมึนเมา
( 10 ) บัยตุลมาล (กองคลังสาธารณะ) และการบริหารรายได้
กองสาธารณะ (บัยตุลมาล) ได้ถูกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยท่านนบีมุฮัมมัดในรูปของกองทุนเพื่อสาธารณะประโยชน์ ในระหว่างสมัยของเคาะลีฟะฮุอบูบักรุได้มีการซื้อบ้านไว้หลังหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์นี้
ในระหว่างสมัยของเคาะลีฟะฮุอุมัรุ บัยตุลมาลมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เคาะลีฟะฮุอุมัรุจัดระบบกองคลังโดยอาศัยความยุติธรรมและความมั่นคงเป็นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่บัยตุลมาลจะถูกเรียกว่า ?ซอฮิบุล บัยตุลมาล? และในแต่หัวเมืองจะมีเจ้าหน้าที่บัยตุลมาลประจำอยู่ ในมะดีนะฮุมีกองคลังกลางเป็นผู้ดูแลรักษาบัญชีรายได้
ในตอนนั้น รายได้ประจำของรัฐอิสลามมาจาก
1) ญิซยะฮุ ( ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่มิใช่มุสลิม )
2) ซะกาต ( ภาษีที่มุสลิมถูกกำหนดให้จ่าย )
3) เคาะรอจญ์ ( ภาษีที่ดิน )
4) อุชร์ ( ภาษีพืชผลจากที่ดิน )
5) ทรัพย์สินที่ได้จากสงครามหรือการยึดครองที่ดิน
6) ภาษีจกาพ่อค้าที่มิใช่มุสลิมซึ่งเดินทางเข้ามาค้าขายในรัฐอิสลาม
อุมัรุให้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการใช้จ่ายกองทุนจากบัยตุลมาล ครั้งหนึ่ง ฮัฟเซาะฮุลูกสาวของท่านซึ่งเป็นภรรยาม่ายคนหนึ่งของท่านนบีมมุฮัมมัด มาหาท่านและได้ร้องขอส่วนแบ่งในทรัพย์สินที่ยึดมาได้จากสงคราม โดยกล่าวว่า ? ให้ส่วนแบ่งแก่ฉันบ้าง เพราะญาติของท่านมีสิทธิบางอย่างเหนือท่าน ? อุมัรุจึงตอบว่า ? ใช่ ญาติของฉันมีสิทธิบางอย่างในทรัพย์สินส่วนตัวของฉัน แต่ไม่ได้มีสิทธิในทรัพย์สินของมุสลิม ?
อีกครั้งหนึ่ง อุมัรุได้ล้มป่วยลงและแพทย์ได้แนะนำให้เขากินน้ำผึ้ง ซึ่งในบัยตุลมาลมีอยู่มากมาย เขาจึงได้ไปยังมัสญิดของนบีและได้เรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อผู้ที่ถูกเรียกประชุมมาพร้อมกันแล้ว เขาก็ได้กล่าวว่า ? ฉันต้องการน้ำผึ้ง ฉันจะขอบคุณพวกท่านถ้าหากพวกท่านอนุญาตให้ฉันเอาน้ำผึ้งจากบัยตุลมาล ?
อุมัรุได้ให้ความเอาใจใส่เป็นการส่วนตัวต่อทรัพย์สินของบัยตุลมาลเป็นอย่างมาก ครั้งหนึ่งอฐูตัวหนึ่งซึ่งเป็นทรัพย์สินของบัยตุลมาลได้วิ่งหนี้ไป อุมัรุได้ออกตามหาอูฐตัวนั้นด้วยตัวเอง ขณะนั้น มีหัวหน้าตระกูลคนหนึ่งได้เขามาหา อุมัรุจึงได้บอกคนผู้นั้นว่า ? กรุณาช่วยฉันหน่อย ฉันกำลังตามหาอูฐของบัยตุลมาล ?
เมื่ออุมัรุเห็นคนที่มิใช่มุสลิมกำลังขอทานอยู่ เขาได้ถามคนผู้นั้นถึงเหตุผลที่ต้องมาขอทาน ชายชราผู้นั้นได้กล่าวว่า เขาต้องจ่างญิซยะฮุ อุมัรุจึงนำชายชราผู้นั้นกลับไปบ้านและให้เงินจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นเขาก็ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ไม่ให้เก็บภาษีญิซยะฮุจากชายชราผู้นั้นอีก อุมัรุมีความห่วงต่อคนที่มิใช่มุสลิมเป็นอย่างมากจนถึงกลับสั่งเสียว่า ? จงเอาใจใส่พวกซิมมี จงอย่าทำลายข้อตกลงใด ๆ ที่ทำไว้กับพวกเขา จงอย่าให้งานที่พวกเขาไม่สามารถทำได้ และจงต่อสู้เพื่อคุ้มครองพวกเขา ( ถ้าหากมีใครที่โจมตีพวกเขา ) ? นี่คือการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างอันดีงามที่ชนชาติหนึ่งจะสามารถที่จะให้แก่คนที่ถูกยึดครอง
( 11 ) การใส่ใจต่อสังคมและการช่วยเหลือคนพิการและคนจน
ครั้งหนึ่ง คาราวานขบวนหนึ่งได้มายังเมืองมะดีนะฮุและพักอยู่นอกเมือง อุมัรุได้ออกไปดูแลกองคาราวานในตอนกลางคืนเพื่อดูว่าจะให้ความช่วยเหลืออะไรได้บ้าง คืนหนึ่ง ขณะที่เดินตรวจตราบริเวณชานเมือง เขาได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งกับลูก ๆ อาศัยอยู่นอกเมืองและลูก ๆ ของหญิงคนนั้นกำลังร้องไห้ อุมัรุจึงได้เอาแป้งและเนยจากบัยตุลมาลมาทำอาหารให้แก่ลูก ๆ ของนางกินด้วยตัวเอง ในตอนที่นำแป้งมานั้นอัสสัมคนใช้ของอุมัรุต้องการที่จะช่วยแบกถุงแป้งมาให้ แต่เขาได้กล่าวว่า ? เจ้าไม่สามารถช่วยอุมัรุในวันแห่งการตัดสินได้ เขาเองจะต้องรับผิดชอบ ?
ทุกวันหลังจากการนมาซร่วมกัน อุมัรุจะนั่งอยู่ที่มัสญิดเพื่อฟังคำร้องทุกข์ของผู้คน ใครก็ตามที่ต้องการความช่วยเหลือ นอกจากนี้แล้ว เขายังได้ให้เงินช่วยเหลือประจำแก่คนยากจนและพิการโดยไม่คำนึงถึงว่าคนเหล่านั้นจะนับถือศาสนาอะไร
( 12 ) การก่อสร้างมัสญิดและโรงเรียน
อุมัรุได้ก่อสร้างโรงเรียนไว้หลายแห่ง มัสญิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้ถูกใช้ให้เป็นสถานที่ให้ความรู้ทางศาสนาและเขายังได้สร้างมัสญิดเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง โดยเมืองกูฟะฮุได้มีการมัสญิดสำหรับทุกเผ่า นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าอุมัรุได้สร้างมัสญิดถึงสี่พันแห่ง
ส่วนมัสญิดอัล- ฮารอมในมักก๊ะฮุซึ่งเล็กเกินไปสำหรับมุสลิมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น อุมัรุจึงได้ขยายบริเวณมัสญิดออกไปและได้สร้างกำแพงล้อมรอบเพื่อแยกมัสญิดออกจากตัวเมือง นอกจากนี้แล้วยังได้ให้มีการจัดทำผ้าอันงดงามจากอียิปต์มาคลุมก๊ะฮุบ๊ะฮุแทนการใช้ผ้าธรรมดา
มัสญิดของท่านนบีที่นครมะดีนะฮุได้ถูกขยายด้วยเช่นกัน อุมัรุได้ซื้อบ้านและที่ดินรอบมัสญิดเพื่อขยายบริเวณมัสญิดออกไป
( 13 ) การก่อสร้างอาคารสำนักงานและการก่อสร้างเมืองใหญ่
อุมัรุได้สร้างสำนักงานหลายแห่งเพื่อตอบสนองความจำเป็นในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วยังมีการสร้างที่พักสำหรับนักเดินทาง มีการสร้างถนนใหม่หลายสายและสะพานใหม่ ๆ หลายแห่ง ถนนระหว่างมักก๊ะฮุและมะดีนะฮุได้ถูกขยายให้กว้างขึ้นพร้อมกับมีการสร้างที่พักและสถานีตำรวจบนถนนสายนี้หลายแห่ง และ ยังได้มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาหลายแห่ง โดยมีวัตถุปรสงค์ต่าง ๆ ในการสร้างดังนี้
เมืองบัสเราะฮุ : ถูกสร้างขึ้นมาใน ฮ.ศ. 14 ใกล้พรมแดนอิหร่านปัจจุบัน ในระหว่างสมัยของอุมัยยะฮุ เมืองบัสเราะฮุเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งซึ่งมีคนอยู่อาศัยถึง 120,000 คน
เมืองกูฟะฮุ : ถูกสร้างขึ้นมาในตอนกลางของอีรัก อุมัรุให้ความสนใจเป็นการส่วนตัวต่อการสร้างเมืองนี้และได้ส่งแผนที่และแบบก่อสร้างที่เขาเตรียมด้วยตัวเองไปให้เป็นแนวทางในการก่อสร้าง อุมัรุจะเรียกเมืองนี้ว่า ? เราะซุลอิสลาม? ( ผู้นำแห่งอิสลาม ) เมืองนี้ได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของนักวิชาการมุสลิมคนสำคัญ ๆ อย่างเช่น นะคออี ,
ฮัมมาด , อบู ฮะนีฟะฮุ และ ชุบี ดังนั้น เมืองนี้จึงกลายเป็นศูนย์กลางแห่งความเรียนรู้แห่งอิสลามและการเรียนการสอนอิสลามในศตวรรษต่อ ๆ มา ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสายตาอันยาวไกลของอุมัรุ
เมืองฟุสตาด : ถูกสร้างขึ้นในอียิปต์โดย อัมรุ บิน อัลอาศ ตามคำสั่งของอุมัรุและได้กลายเป็นเมืองใหญ่ในยุคต่อมาของประวัติศาสตร์อิสลาม ในศตวรรษที่ 4 แห่งฮิจญ์เราะฮุศักราช ฟุสตาดเป็นเมืองที่สวยที่สุดของรัฐอิสลามถัดไปจากนครแบกแดด
โมซุลและญิซะฮุ ก็เป็นอีกสองเมืองที่สร้างโดยอุมัร เดิมทีโมซุลเป็นเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง แต่อุมัรุได้เปลี่ยนมันเป็นเมืองและอยู่ตรงกลางของส่วนตะวันออกและตะวันตกของรัฐอิสลาม ญิซะฮุถูกสร้างขึ้นหลังจากพิชิตอเล็กซาน
เดรียในอียิปต์
( 14 ) ความสนใจเป็นพิเศษในด้านการเกษตร
เนื่องจากการเกษตรเป็นแหล่งหลายได้หลักในช่วงเวลานั้น อุมัรุจึงได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่องานด้านการเกษตรและสวัสดิการของเกษตรกร นอกจากจะขุดคลองชลประทานหลายสายแล้ว อุมัรุยังได้สั่งให้มีการจัดสร้างสวนขึ้นหลายแห่ง เขาได้ออกกฎหมายไม่อนุญาตให้มุสลิมเข้ายึดครองที่ดินจากเจ้าของที่ดินเดิมในเขตที่ยึดครอง แต่อนุญาตให้ซื้อที่ดินดได้ และเขาได้ให้การสนับสนุนเกษตรการทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม