ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านอัฏฏ๊อบรีย์ตีความอิสติวาอ์เป็นอำนาจการปกครอง!  (อ่าน 3952 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป

อัสลามุอะลัยกุ้มครับท่านพี่น้อง

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ ได้ตะวีล ตีความ อัลอิสติวาอ์ว่าเป็นการมีอำนาจปกครอง อายะฮ์ที่ว่า

ثم استوى إلى السماء

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ กล่าวว่า" ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า " استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า

فكذلك فقل : علا عليها علو ملك وسلطان لا علو انتقال وزوال .

"ดังนั้น แบบนั้นแหละ ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร ฏ๊อบรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)

ท่านอิมาม อิบนุญีรีร อัฏฏ๊อบรีย์  ปราชญ์สะลัฟ  ได้ตีความคำว่า  อิสติวาอฺ หมายถึง  อำนาจการปกครอง  แสดงว่าท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์  คงเป็นพวกมั๊วะตะซิละฮ์ ตามคำกล่าวหาของ วะฮาบีย์อีกตามเคยครับท่านพี่น้อง  และตรงนี้ก็แสดงให้เห็นว่า สะลัฟ ก็ยังตีความ  อัลอิสติวาอฺ ว่า เป็นการปกครอง!!

วัสลามครับท่านพี่น้อง

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

นี่คือคำชี้แจงของบังนูรุ้ลอิสลาม  จากการกล่าวหาของวะฮาบีย์

อัสลามุอะลัยกุ้มฯ

       ทราบมาว่ามีวะฮาบีย์คนหนึ่งที่กำลังพยายามหลอกลวงพวกตนอยู่  และไร้เดียงสาเชิงวิชาการอยากเป็นผู้รู้กับเขาด้วยได้บอกว่า  ทางเรากล่าวเท็จต่อท่านอัฏเฏาะบะรีย์  ในการอธิบายอายะฮ์ที่ 29 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ที่ว่า

       ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์อุลามาอฺสะลัฟ ได้ให้ความหมายในเชิงนามธรรมด้วยเช่นกัน  ซึ่งท่านกล่าวว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

       "ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร ฏ๊อบรีย์ เล่ม 1 หน้า 192 อธิบายอายะฮ์ที่ 29 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์)

       แล้วเขาอ้างว่าทางเราแบบโกหกว่า  การอธิบายดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกับอายะฮ์ที่ 5 ซูเราะฮ์ ฏอฮา  โดยอ้างว่ามันเป็นคนละอายะฮ์กันกับอายะฮ์ที่ 29 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ มันไม่เกี่ยวกัน  โดยเขาอ้างอิงคำพูดของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ว่า

وقوله ( الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى ) يقول تعالى ذكره: الرحمن على عرشه ارتفع وعلا

"คำตรัสของพระองค์ที่ว่า "อัรเราะห์มาน อิสติวาอฺ อยู่บนอารัช"  คือพระองค์ทรงตรัสว่า  อัรเราะห์มาน  ได้ขึ้น(โดยคำบัญชา)และสูง(สูง)เหนืออารัช"

       แต่พอเรากลับไปดูตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์  วะฮาบีย์ผู้ไร้เดียงสาเชิงวิชาการคนนี้กลับตัดทอนคำพูดของท่านอัฏเฏาะบะรีย์  ซึ่งข้อเต็มๆมีดังต่อไปนี้

وقوله ( الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى ) يقول تعالى ذكره: الرحمن على عرشه ارتفع وعلا وقد بيَّنا معنى الاستواء بشواهده فيما مضى وذكرنا اختلاف المختلفين فيه فأغنى ذلك عن إعادته في هذا الموضع

       "คำตรัสของพระองค์ที่ว่า "อัรเราะห์มาน อิสติวาอฺ อยู่บนอารัช"  คือพระองค์ทรงตรัสว่า  อัรเราะห์มาน  ได้ขึ้น(โดยคำบัญชา)และสูง(สูง)เหนืออารัช และแท้จริงเราได้อธิบายความหมายของอิสติวาอฺมาด้วยบรรดาหลักฐานต่างๆมาสนับสนุนความหมาย(ในเชิงภาษา)มาแล้วก่อนหน้านี้  และเราได้กล่าวการขัดแย้งของนักตัฟซีรเกี่ยวกับอิสติวาอฺ  ดังนั้นดังกล่าวจึงไม่จำเป็นที่จะกลับไปทบทวนอีกในสถานที่ดังกล่าว"

       จากข้อความสีแดง วะฮาบีย์คนนั้นเขาตัดทอนไปเพื่อปกปิดและกล่าวเท็จต่อท่านอัฏเฏาะบะรีย์  เนื่องจากในอายะฮ์ที่ 5 ซูเราะฮ์ฏอฮานี้ มันคาบเกี่ยวกับการอธิบายคำว่าอิสติวาอฺในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 เพราะท่านอัฏเฏาะบะรีย์บอกว่าท่านได้นำเสนอรายละเอียดไปแล้วและไม่ต้องการนำมากล่าวซ้ำอีกและรายละเอียดในเรื่องอิสติวาอฺนั้น  คือคำอธิบายในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 ที่อ่านมานั่นเอง  ดังนั้นวะฮาบีที่กล่าวหาเราโกหกนั้น ที่จริงเขาได้โกหกต่อตนเองและผู้อื่นนั่นเอง

วัลลอฮุอะลัมบิสศ่อวาบ[/size]

มีวะฮาบีย์บางคนบอกว่าผมกล่าวเท็จต่อท่านอัฏเฏาะบะรีย์  ทั้งที่คนพูดเช่นนี้เขามีหัวใจที่ไม่เข้าใจหลักการและไม่รู้ว่าอะกีดะฮ์ของตนคืออะไรและสะลัฟเป็นอย่างไร การที่ไม่ตะวีลนั้นเราให้การยอมรับตามทัศนะของสะลุฟศอลิห์ที่อยู่ในเชิงของการมอบหมาย  แต่เราคัดค้านการไม่ตะวีลและไปพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์จนเลยเถิดเกินงาม

อ้างถึง
1. คำอธิบายข้างต้นของ อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ ท่านได้อธิบายอายะฮ ที่ 29 ซูเราะฮ อัลบะกาะเราะฮ ที่ว่า
هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُمْ مَا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاءِ فَسَوَّاهُنَّ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
29. พระองค์คือผู้ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งมวลในโลกไว้สำหรับพวกเจ้า ภายหลังได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า (*1*) และได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้นเป็นเจ็ดชั้นฟ้า และพระองค์นั้นได้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง
(1) ซึ่งขณะนั้นฟากฟ้ายังเป็นหมอกควันอยู่ ดังที่พระองค์ทรงแจ้งไว้ว่า “แล้วพระองค์ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า ขณะที่มันยังเป็นหมอกควันอยู่
.........
ประโยคที่ว่า ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء แปลว่า ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า และความหมายคำว่า اسْتَوَى إِلَى แปลว่า มุ่งไปสู่ ,เจตนา ดังที่อิบนุกะษีร อธิบายว่า
أَيْ قَصَدَ إِلَى السَّمَاء وَالِاسْتِوَاء هَاهُنَا مُضَمَّن مَعْنَى الْقَصْد وَالْإِقْبَال لِأَنَّهُ عُدِّيَ بِإِلَى
หมายถึง เจตนามุ่งไปสู่ฟากฟ้า และคำว่า “อัลอิสติวาในที่นี้ ประกอบด้วยความหมายของคำว่า الْقَصْد (เจตนา)และคำว่า َالْإِقْبَال ( ไปข้างหน้า) เพราะ ว่ามัน(คำว่า อิสตะวา )ถูกให้เป็นกริยาสกรรมกริยา ด้วยคำว่า الى (อิลา) - ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 29 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
.................
จะเห็นได้ว่า เรื่องข้าง ต้นไม่เกี่ยวกับ อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฎอฮา ที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
2. เพราะอายะฮที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตอยู่บนบัลลังก์
อิหม่ามอัฏฏอ็บรีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อรรถาธิบายว่า
وَقَوْله : { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش
اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره : الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا
และอัลลอฮ ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ ) พระองค์ผู้ซึ่งการกล่าวถึงพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า
ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ หมายถึง อยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป - ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 5 ซูเราะฮ ฏอฮา
.......................
จะเห็นได้ว่า โต๊ะครูเว็บซุนนะฮสะติวเด้น กล่าวเท็จแก่อิบนุญะรีร อย่างน่าละอายยิ่ง

ผมขอนำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมจากบังนูรุ้ลฯ จากจุดประสงค์ของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ (ไม่เกี่ยวกับท่านอิบนุกะษีร) ดังนี้ครับ

ในอายะฮ์ที่ 29 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์  ท่านอัลฏเฏาะบะรีย์  ได้อธิบายคำว่า "อิสติวาอฺ" อย่างยืดยาวละเอียดถี่ยิบไว้ทุกทัศนะเลยทีเดียว  คืออธิบายเหมือนกับว่า  หากอายะฮ์หลังซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ที่มีคำว่า "อิสติวาอฺ" แล้วเนี่ย  ก็ไม่ต้องกลับไปอธิบายซ้ำอีกแล้วนั่นเอง  นี่คือเป้าหมายของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ในการอธิบายคำว่า "อิสติวาอฺ" อย่างละเอียดในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 29 และส่วนหนึ่งที่ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้อธิบายคำว่า  عَلَا  "สูง" ในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์นั้น  คือถ้อยคำของท่านดังต่อไปนี้ครับ 

ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์อุลามาอฺสะลัฟ ได้ให้ความหมายในเชิงนามธรรมด้วยเช่นกัน  ซึ่งท่านกล่าวว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร ฏ๊อบรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)

หลังจากนั้น  พอมาถึงซูเราะฮ์ฏอฮา  อายะฮ์ที่ 5 ก็กล่าวคำว่า "อิสติวาอฺ" อีก  ซึ่งแน่นอนว่าท่านอัฏเฏาะบะรีย์ไม่อธิบายอย่างละเอียดอีกต่อไปแล้ว  เพราะท่านได้อธิบายเป็นบทนำไว้ที่ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์  อายะฮ์ที่ 29 เรียบร้อยแล้ว  และท่านก็ใช้ให้กลับไปทบทวนความหมาย "อิสติวาอฺ" ในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ 29 อีกที  ซึ่งท่านอัฏเฏาะบะรีย์  ได้กล่าวขณะที่อธิบายอายะฮ์ที่ 5 ซูเราะฮ์ฏอฮาว่า

وَقَوْله : { الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش اسْتَوَى } يَقُول تَعَالَى ذكْره : الرَّحْمَن عَلَى عَرْشه ارْتَفَعَ وَعَلَا . وَقَدْ بَيَّنَّا مَعْنَى الاسْتوَاء بشَوَاهده فيمَا مَضَى وَذَكَرْنَا اخْتلَاف الْمُخْتَلفينَ فيه فَأَغْنَى ذَلكَ عَنْ إعَادَته في هَذَا الْمَوْضع

"คำตรัสของพระองค์ที่ว่า "(อัลเลาะฮ์นาม)อัรเราะห์มาน  ทรงอิสติวาอฺ  เหนือบัลลังก์"  ดังนั้น  อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสหมายถึง  "(อัลเลาะฮ์นาม)อัรเราะห์มาน  ทรงขึ้นและสูงเหนือบัลลังก์"  และแท้จริงเราได้อธิบายความหมาย  "อัลอิสติวาอฺ"  และเราได้อธิบายการขัดแย้งของปราชญ์ตัฟซีรที่เกี่ยวกับอิสติวาอฺด้วยกับการมีหลักฐาน(ในเชิงภาษาอาหรับ)ต่าง ๆ มาสนับสนุนนั้น  ถือว่าเป็นสิ่งที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว  ซึ่งไม่จำเป็นต้องกลับไปทบทวนอีกในสถานที่ดั้งกล่าว(คือได้อธิบายไว้แล้วในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29)" 

ดังนั้นเมื่อการอธิบายรายละเอียดของคำว่า "อิสติวาอฺ"  ในซูเราะฮ์ฏอฮา อายะฮ์ที่ 5 นี้  ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้ใช้เรากลับไปทบทวนในการอธิบายคำว่า อิสติวาอฺ  ในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 แล้วผมกล่าวเท็จต่อท่านอัฏเฏาะรีย์ตรงใหน?  แล้วทำไมคนที่กล่าวหาต้องตะกียะฮ์ปิดบังอำพรางข้อความของท่านอัฏเฏาะบะรีย์หลังจากที่เขาอ้างอิงด้วย  อยากจะเลียนแบบหลักตะกียะฮ์ของพวกชีอะฮ์หรืออย่างไรกันครับ?

ในทำนองเดียวกันนี้  ยังมีอายะฮ์อื่น ๆ ที่กล่าวถึงเรื่อง  อิสติวาอฺ  และท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้อธิบายเหมือนกันโดยให้กลับไปทบทวนความหมายอิสติวาอฺในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29

เช่นในซูเราะฮ์อัลอะร็อฟ  อายะฮ์ ที่ 54  ก็กล่าวถึง  อัลอิสติวาอฺ เช่นกัน  ซึ่งท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวอธิบายว่า

 ثُمَّ اِسْتَوَى عَلَى الْعَرْش : وَقَدْ ذَكَرْنَا مَعْنَى الِاسْتِوَاء وَاخْتِلَاف النَّاس فِيهِ فِيمَا مَضَى قَبْل بِمَا أَغْنَى عَنْ إِعَادَته

"(คำตรัสของพระองค์ที่ว่า) "หลังจากนั้นพระองค์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์"   ซึ่งแท้จริงเราได้กล่าวความหมายของ อัลอิสติวาอฺ มาแล้ว และกล่าวการขัดแย้งของปราชญ์ตัฟซีรที่เกี่ยวกับอิสติวาอฺมาก่อนหน้านี้แล้ว  ซึ่งไม่จำเป็นที่ต้องกลับไปทบทวนอีกแล้ว(หมายถึงได้อธิบายไว้ในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 อย่างละเอียดแล้วนั่นเอง)"

และในซูเราะฮ์อัรเราะอฺดู้  อายะฮ์ ที่ 2  ก็กล่าวถึง  อัลอิสติวาอฺ เช่นกัน  ซึ่งท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวอธิบายว่า

وَأَمَّا قَوْله : { ثُمَّ اِسْتَوَى عَلَى الْعَرْش } فَإِنَّهُ يَعْنِي : عَلَا عَلَيْهِ . وَقَدْ بَيَّنَّا مَعْنَى الِاسْتِوَاء وَاخْتِلَاف الْمُخْتَلِفِينَ فِيهِ وَالصَّحِيح مِنْ الْقَوْل فِيمَا قَالُوا فِيهِ بِشَوَاهِدِهِ فِيمَا مَضَى بِمَا أَغْنَى عَنْ إِعَادَته فِي هَذَا الْمَوْضِع

"สำหรับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "หลังจากนั้นพระองค์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์"  แท้จริงมันหมายถึง  ทรงสูงเหนือบัลลังก์ (แต่จะสูงอย่างไรต้องกลับไปทบทวนในการอธิบายคำว่า อิสติวาอฺ ในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่29ครับ) และแท้จริงเราได้อธิบายความหมายอิสติวาอฺผ่านมาแล้ว  และได้อธิบายการขัดแย้งของปราชญ์ตัฟซีรที่เกี่ยวกับอิสติวาอฺ  และทัศนะที่ถูกต้องจากคำกล่าวในสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวมาเกี่ยวกับอิสติวาอฺด้วยกับการมีหลักฐานสนับสนุนต่าง ๆ (ในเชิงภาษา) นั้น  ถือว่าเป็นสิ่งที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว  ซึ่งไม่จำเป็นต้องกลับไปทบทวนอีกในสถานที่ดั้งกล่าว(คือได้อธิบายไว้แล้วในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29)

เมื่อเรากลับไปที่ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์อุลามาอฺสะลัฟ ได้ให้ความหมายในเชิงนามธรรมว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร ฏ๊อบรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)

หมายเหตุ : วะฮาบีย์บอกว่าอัลลอฮ์ทรงเคลื่อนย้าย  ทั้งที่ท่านอัฏเฏาะบารีย์  บอกว่าอัลเลาะฮ์ไม่ทรงเคลื่อนย้าย  และท่านอัฏเฏาะบะรีย์บอกว่อัลเลาะฮ์ทรงสูงส่งในเชิงบริหารปกครอง  ไม่ใช่สูงแบบมีสถานที่สถิตบนอยู่ข้างบนบัลลังก์  และวะฮาบีย์ให้ความหมายว่า "อัลเลาะฮ์ทรงสถิตบนบัลลังก์"  ทั้งที่ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ให้ความหมายว่า  "สูงส่ง"  ซึ่งเราสามารถสรุปได้ว่า  ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ไม่ได้มีหลักอะกีดะฮ์เหมือนกับวะฮาบีย์นั่นเองครับ
 

ดังนั้นคำว่า "อิสติวาอฺของอัลเลาะฮ์" ในอายะฮ์ต่าง ๆ ของอัลกุรอาน  ไม่ว่าจะเป็นอายะฮ์ที่ 29 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์และอายะฮ์ที่ 5 ซูเราะฮ์ฏอฮา  ซึ่งบรรดาอายะฮ์เหล่านั้นล้วนมาอธิบายซึ่งกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น(ไม่ใช่หมกเม็ด)  ฉะนั้นการแยกอธิบายอายะฮ์ในเรื่อง "อิสติวาอฺของอัลเลาะฮ์"  ถือว่าเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่เข้าใจการอธิบายอัลกุรอานด้วยกับอัลกุรอาน  และยิ่งกว่านั้นยังไม่เข้าใจการอธิบายอัลกุรอานด้วยกับฮะดิษ

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

وهو القاهر فوق عباده

“และพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือข้าทาสของพระองค์” อัลอันอาม 18

ท่าน อัฏเฏาะบะรีย์  ได้สรุปอธิบายอายะฮ์นี้ว่า

 فَهُوَ فَوْقهمْ بِقَهْرِهِ إِيَّاهُمْ , وَهُمْ دُونه

" ดังนั้นพระองค์จึงอยู่เหนือพวกเขาด้วยอำนาจของพระองค์ต่อพวกเขา(มิใช่ด้วยซา ตของพระองค์)และพวกเขาก็อยู่ภายใต้(อำนาจ)พระองค์" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ ซูเราะฮ์อัลอันอาม อายะฮ์ที่ 18

ดังนั้นเมื่อบรรดาตัวบทอัลกุรอานและฮะดิษที่ซอฮิห์ได้ระบุว่า  อัลเลาะฮ์อยู่ใกล้ชิดเรายิ่งกว่าเส้นเอ็นที่ต้นคอ , พระองค์อยู่กับเราไม่ว่าเราจะอยู่ใหน , พระองค์อยู่ระหว่างเรากับกิบลัต , พระองค์อยู่เหนือบัลลังก์ , และมะลาอิกะฮ์ผู้แบกบัลลังก์ยังไม่รู้ว่าอัลเลาะฮ์อยู่ที่ใหน , แต่กลับมีฮะดิษซอฮฺห์บอกว่าเลาฮิลมะห์ฟูซฺอยู่บนบัลลังก์ , ซึ่งประมวลหลักฐานทั้งหมดโดยที่เราไม่ปฏิเสธหลักฐานใดหลักฐานหนึ่ง  แล้วทำการรวมหลักฐานและนำมาเกลื้อหนุนซึ่งกันและกัน  ย่อมชี้ให้เห็นว่า  อัลเลาะฮ์ทรงมีฐานันดรทรงสูงส่งมิใช่พระองค์ทรงสถิตนั่งอยู่บนสถานที่สูง

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

أَفَتُؤْمِنُونَ بِبَعْضِ الْكِتَابِ وَتَكْفُرُونَ بِبَعْضٍ

"พวกเจ้าจะศรัทธาคำภีร์เพียงบางส่วนและปฏิเสธมันเพียงบางส่วนกระนั้นหรือ?" อัลบะกอเราะฮ์ 85

วัลลอฮุอะลัม
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 31, 2008, 04:21 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ tholib

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
วะอะลัยกุมุสสลามครับ

ขออนุญาตยกคำพูดของอิมามฏอบารีก่อนหน้านี้น่ะครับ

والعجبُ ممن أنكر المعنى المفهوم من كلام العرب في تأويل قول الله:"ثم استوى إلى السماء"، الذي هو بمعنى العلو والارتفاع، هربًا عند نفسه من أن يلزمه بزعمه -إذا تأوله بمعناه المفهم كذلك- أن يكون إنما علا وارتفع بعد أن كان تحتها - إلى أن تأوله بالمجهول من تأويله المستنكر. ثم لم يَنْجُ مما هرَب منه! فيقال له: زعمت أن تأويل قوله"استوى" أقبلَ، أفكان مُدْبِرًا عن السماء فأقبل إليها؟ فإن زعم أنّ ذلك ليس بإقبال فعل، ولكنه إقبال تدبير، قيل له: فكذلك فقُلْ: علا عليها علوّ مُلْك وسُلْطان، لا علوّ انتقال وزَوال. ثم لن يقول في شيء من ذلك قولا إلا ألزم في الآخر مثله.

อยากให้บัง ๆ ช่วยอธิบายด้วยครับ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
วะอะลัยกุมุสสลามครับ

ขออนุญาตยกคำพูดของอิมามฏอบารีก่อนหน้านี้น่ะครับ

والعجبُ ممن أنكر المعنى المفهوم من كلام العرب في تأويل قول الله:"ثم استوى إلى السماء"، الذي هو بمعنى العلو والارتفاع، هربًا عند نفسه من أن يلزمه بزعمه -إذا تأوله بمعناه المفهم كذلك- أن يكون إنما علا وارتفع بعد أن كان تحتها - إلى أن تأوله بالمجهول من تأويله المستنكر. ثم لم يَنْجُ مما هرَب منه! فيقال له: زعمت أن تأويل قوله"استوى" أقبلَ، أفكان مُدْبِرًا عن السماء فأقبل إليها؟ فإن زعم أنّ ذلك ليس بإقبال فعل، ولكنه إقبال تدبير، قيل له: فكذلك فقُلْ: علا عليها علوّ مُلْك وسُلْطان، لا علوّ انتقال وزَوال. ثم لن يقول في شيء من ذلك قولا إلا ألزم في الآخر مثله.

อยากให้บัง ๆ ช่วยอธิบายด้วยครับ

salam

พี่น้องนักศึกษาเรามาเข้าใจประเด็นคำที่ว่า ซีฟัตอุลู้ว์  صِفَةُ الْعُلُوِّ  "คุณลักษณะอันสูง..."  ของอัลเลาะฮ์ กันครับ  ซึ่งคำว่า  الْعُلُوِّ (อัลอุลุ้วฺ) ที่แปลว่า "สูง" นี้  ในหลักภาษาอาหรับให้ความหมายได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม  ซึ่งตรงนี้จึงมีความเข้าใจในหลักอะกีดะฮ์ที่ต่างกัน

1. หลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์ : คืออัลเลาะฮ์มีคุณลักษณะที่สูง (ให้ความหมายในรูปธรรม)  หมายถึง  สถิตอยู่ในสถานที่สูง ๆ ขึ้นไป 

2. หลักอะกีดะฮ์ของอัลอะชาอิเราะฮ์ : คืออัลเลาะฮ์มีคุณลักษณะที่สูง (ให้ความหมายในนามธรรม) หมายถึง  มีคุณลักษณะที่สูงส่ง   

ท่าน อัฏเฏาะบะรีย์อุลามาอฺสะลัฟ ได้ให้น้ำหนักและทอนความหมายให้อยู่ในเชิงของนามธรรม(คือคุณลักษณะสูงส่ง) ครับ  ซึ่งท่านกล่าวว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "استوى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. (ท่านอัฏเฏาะบะรีย์จึงกล่าวตอบโต้ว่า) ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร เฏาะบะรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)

หมายเหตุ : แต่วะฮาบีย์บอกว่าอัลเลาะฮ์เคลื่อนย้าย!?

ท่านชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ  อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์กล่าวว่า

وَلَا يَلْزَمُ مِنْ كَوْنِ جِهَتَىِ الْعُلُوِّ وَالسُّفْلِ مُحَالاً عَلىَ اللهِ أَنْ لاَ يُوْصَفُ بِالْعُلُوِّ ، لِأَنَّ وَصْفُهُ بِالْعُلُوَّ مِنْ جِهَةِ الْمَعْنَى ، وَالْمُسْتَحِيْلُ كََوْنُ ذَلِكَ مِنْ جِهَةِ الْحِسِّ وَلِذَلِكَ وَرَدَ فِىْ صِفَتِهِ الْعَالِى وَالعَلِىُّ وَالْمُتَعَالِى ، وَلَمْ يَرِدْ ضِدُّ ذَلِكَ ,إِنْ كَانَ قَدْ أَحَاطَ بِكُلِّ شَىْءٍ عِلْماُ جَلَّ وَعَزَّ

ความว่า “ ไม่จำเป็นจากการมีสองทิศสูง(บน)และทิศล่างนั้น เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับอัลเลาะฮ์ที่พระองค์ไม่มีคุณลักษณะที่สูงส่ง เพราะลักษณะความสูงส่งของพระองค์นั้น มาจากด้านของนามธรรม(คือสูงส่งมิใช่รูปธรรมที่อยู่ในความหมายที่พระองค์มี สถานที่สถิตอยู่ให้กับพระองค์) และเป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ กับ(การมีคุณลักษณะสูงส่ง)ดังกล่าวนั้นมาจากด้าน(ความหมาย)ที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้(คือมีสถานที่อยู่แบบสูงๆขึ้นไป) และด้วยเหตุดังกล่าวนี้ คำว่า العالى والعلى والمتعالى (หมายถึงพระองค์ทรงสูงส่งยิ่ง) จึงมีมาอยู่ในลักษณะของพระองค์ และไม่มีระบุมาโดยตรงกันข้ามกับสิ่งดังกล่าวเลย และหากแม้ว่าพระองค์ทรงห้อมล้อมทุก ๆ สิ่งด้วยความรอบรู้ของพระองค์สักทีก็ตาม” ดู ฟัตหฺ อัลบารีย์ เล่ม 6 หน้า 136

วะฮาบีย์อ้างว่าการมีอยู่ของมัคโลคนั้นสิ้นสุดที่บัลลังก์ (อะรัช)  แล้วอ้างว่าบนบัลลังก์นั้นไม่มีสิ่งใดแล้วนอกจากอัลเลาะฮ์ตะอาลา  แต่มีฮะดิษซอฮิห์ได้มาลบล้างการกล่าวอ้างของพวกเขา ดังนี้

ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ความว่า

 ‏ ‏قَالَ لَمَّا ‏ ‏قَضَى ‏ ‏اللَّهُ الْخَلْقَ كَتَبَ كِتَابًا عِنْدَهُ‏ ‏سَبَقَتْ رَحْمَتِي غَضَبِي فَهُوَ عِنْدَهُ فَوْقَ الْعَرْشِ

"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า  ในขณะที่อัลเลาะฮ์ทรงตัดสินบรรดามัคโลค  พระองค์ทรงบันทึกในสิ่งบันทึกหนึ่ง(คือเลาฮิลมะห์ฟูซฺ) ณ ที่พระองค์  ว่า  ความเมตตาของข้านำหน้าความกิ้วของข้า ซึ่งบัญชี(เลาฮิลมะห์ฟูซฺ) ณ พระองค์นั้น  ได้อยู่บนอะรัช"  รายงานโดยบุคอรีย์ (6988)

ท่านอัลฮาฟิซฺ  อิบนุ ฮะญัร กล่าวอธิบายว่า

وَالْغَرَض مِنْهُ الْإِشَارَة إِلَى أَنَّ اللَّوْح الْمَحْفُوظ فَوْق الْعَرْش

"จุดมุ่งหมายจากฮะดิษ  ชี้ให้เห็นว่า  เลาฮิลมะห์ฟูซฺนั้น  อยู่บนอะรัช"  หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 3/526

ดังนั้นกลุ่มวะฮาบีย์บอกได้ไหมว่า  อัลเลาะฮ์ทรงมีอยู่บนอะรัชโดยหุ้นส่วนพร้อมกับเลาฮิลมะห์ฟูซฺที่อยู่บนอะรัชด้วย  ซึ่งมันไม่ค้านกับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "พระองค์ทรงไม่คล้ายเหมือนกับสิ่งหนึ่งใด" ดอกหรือ?   หรือจะบอกว่าอัลเลาะฮ์มีสถานที่อยู่บนอะรัชและเลาฮิลมะห์ก็ฟูซฺอยู่บนอะรัชด้วย?! 

ดังนั้นคำว่า เหนือบัลลังค์ของเลาฮิลมะห์ฟูซฺ  คือให้ความหมายแบบรูปธรรม  ซึ่งหมายถึงเลาฮิลมะห์ฟูซฺมีสถานที่อยู่บนบัลลังก์  ส่วนอัลเลาะฮ์ตะอาลาเหนือบัลลังก์นั้นคืออยู่ในความหมายนามธรรม(จะเป็นรูปธรรมไม่ได้) ซึ่งหมายพระองค์ทรงสูงส่งเหนือบัลลังก์  มิใช่มีสถานที่สถิตนั่งอยู่บนบัลลังก์ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์  เพราะมิเช่นนั้นจะเป็นชิริกหุ่นส่วนภาคีในคุณลักษณะของพระองค์ด้วยการมีสิ่งที่อยู่บัลลังก์อยู่ 2 คืออัลเลาะฮ์และเลาฮิลมะห์ฟูซฺ  ซึ่งเป็นไปไม่ได้

ดังนั้นเมื่อบรรดาตัวบทอัลกุรอานและฮะดิษที่ซอฮิห์ได้ระบุว่า อัลเลาะฮ์อยู่ใกล้ชิดเรายิ่งกว่าเส้นเอ็นที่ต้นคอ , พระองค์อยู่กับเราไม่ว่าเราจะอยู่ใหน , พระองค์อยู่ระหว่างเรากับกิบลัต , พระองค์อยู่เหนือบัลลังก์ , และมะลาอิกะฮ์ผู้แบกบัลลังก์ยังไม่รู้ว่าอัลเลาะฮ์อยู่ที่ใหน , แต่กลับมีฮะดิษซอฮฺห์บอกว่าเลาฮิลมะห์ฟูซฺอยู่บนบัลลังก์ , ซึ่งประมวลหลักฐานทั้งหมดโดยที่เราไม่ปฏิเสธหลักฐานใดหลักฐานหนึ่ง  แล้วทำการรวมหลักฐานทั้งหมด  ย่อมชี้ให้เห็นว่า  อัลเลาะฮ์ทรงมีฐานันดรทรงสูงส่งมิใช่พระองค์ทรงสถิตนั่งอยู่บนสถานที่สูง

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

أَفَتُؤْمِنُونَ بِبَعْضِ الْكِتَابِ وَتَكْفُرُونَ بِبَعْضٍ

"พวกเจ้าจะศรัทธาคำภีร์เพียงบางส่วนและปฏิเสธมันเพียงบางส่วนกระนั้นหรือ?" อัลบะกอเราะฮ์ 85

วัลลอฮุอะลัม   


โปรดเข้าไปอ่านเพิ่มเติมครับ : เราได้อธิบายรายละเอียดไว้ในกระทู้นี้แล้วครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 25, 2008, 12:03 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
อ้างถึง
พี่น้องนักศึกษาเรามาเข้าใจประเด็นคำที่ว่า ซีฟัตอุลู้ว์  صِفَةُ الْعُلُوِّ  "คุณลักษณะอันสูง..."  ของอัลเลาะฮ์ กันครับ  ซึ่งคำว่า  الْعُلُوِّ (อัลอุลุ้วฺ) ที่แปลว่า "สูง" นี้  ในหลักภาษาอาหรับให้ความหมายได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม  ซึ่งตรงนี้จึงมีความเข้าใจในหลักอะกีดะฮ์ที่ต่างกัน

              คำว่า "สูง" แม้ในภาษาไหนๆ ก็ตาม ก็ส่วนใหญ่จะมีความหมายทั้งในเชิงรูปธรรม และนามธรรม ใยฝ่ายวะฮาบีย์จึงเน้นที่ความหมายในเชิงรูปธรรมอย่างเดียว แล้วมาเลี่ยงว่า เหมาะสมกับอัลลอฮฺ ไม่เหมือนกับมัคลูก คำพูดเช่นนี้ ไม่สมควรที่จะถูกกล่าวแก่สาธารณชน เพราะผู้คนส่วนใหญ่จะเป็นคนเอาวาม ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักภาษา โดยเฉพาะภาษาอาหรับที่มีความหมายหลากหลาย ต้องระมัดระวังในการใช้ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่คนเอาวามอาจจะเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของมัน ซึ่งการพูดในสิ่งที่คลุมเครือที่เสี่ยงต่อการเข้าใจที่ผิดพลาดของคนเอาวามในสิ่งที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ถือเป็นสิ่งที่หะรอม เพราะฉะนั้น แนวทางอะชาอิเราะฮ์จึงได้ตระหนักถึงตรงนี้ และป้องกันมันไว้อย่างเรียบร้อยมาแต่แรกแล้ว แต่ก็มิวายโดนบางกลุ่มกล่าวหาว่าสืบทอดเจตนารมณ์ของมุอฺตะซิละฮ์ ช่างอนาจเสียจริง สำหรับผู้ที่ปิดตัวเองจากการรับรู้ที่ถูกต้อง แต่กลับเชื่อในสิ่งที่ไม่มีมูล และกล่าวเองเข้าใจเอง และตกลงปลงใจเชื่อมันอย่างนั้นเอง นอูฑุบิลลาฮิมินฑาลิก ผมเชื่อว่า แนวทางของวะฮาบีย์ในอนาคตก็คงจะต้องประสบกับปัญหา และต้องหาทางแก้ไขในการนำเสนออะกีดะฮ์เสียใหม่ และเชื่อว่า ในที่สุดอะกีดะฮ์แบบวะฮาบีย์ก็คงจะมองเห็นถึงวิธีป้องกันที่ดีกว่าและรอบคอบของอะชาอิเราะฮ์อย่างแน่นอน เพราะหลายสิ่งในปัจจุบันของวะฮาบีย์นั้น เริ่มไปในทางการยอมรับแนวทางของอะชาอิเราะฮ์มากขึ้นแล้ว เช่นเรื่องการตะวัสสุล (การขอดุอาอ์ผ่านสื่อ) และเรื่องเมาลิดุรฺร็สูล ที่บางประเทศในอาหรับ และอุละมาอ์บางท่าน อย่างเช่น เชคยุสูฟ อัลก็อรฎ็วีย์ เริ่มออกมายอมรับอย่างเปิดต่อหน้าบรรดาอุละมาอ์ด้วยกันว่า เป็นการไม่สมควรที่จะตำหนิต่อบรรดาผู้ทำเมาลิดินนบีย์ว่าหลงทาง เพราะกิจกรรมดังกล่าวย่อมเป็นการแสดงออกถึงความรักต่อท่านร็สูลผู้ซึ่งอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา และท่านก็ได้ยกอายะฮ์อัลกุรฺอานที่ว่า "วะมา อัรฺสัลนากะ อิ้ลละ ร็อหฺมะตั้ลลิลอาละมีน" ความว่า "และเรามิได้ส่งเจ้า (มุหัมมัด) มาเพื่อสิ่งอื่นใดเลย เว้นแต่เพื่อเป็นความโปรดปรานสำหรับสากลจักรวาล" เพื่อสนับสุนนการทำเมาลิดุรฺร็สูล - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 01, 2008, 02:51 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ zakinah

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 41
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

หากมีบางท่านกล่าวว่า  อัลเลาะฮ์ทรงอยู่เหนือทุก ๆ สิ่ง  อัลเลาะฮ์ทรงอยู่เหนือมัคโลค  ตามหลักสะละฟุศศอลิห์แล้ว หมายถึงอัลเลาะฮ์ทรงไม่อยู่ร่วมกับมัคโลคและทรงอำนาจอยู่เหนือเรานั่นเองครับ 

อัลเลาะฮฺทรงตรัสยืนยันไว้เองว่า

وَهُوَ القَاهِرُ فَوْقَ عِبَادِهِ

“และพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือข้าทาสของพระองค์” อัลอันอาม 18

ท่าน อัฏเฏาะบะรีย์ ได้สรุปอธิบายอายะฮ์นี้ว่า

فَهُوَ فَوْقهمْ بِقَهْرِهِ إِيَّاهُمْ , وَهُمْ دُونه

" ดังนั้นพระองค์จึงอยู่เหนือพวกเขาด้วยอำนาจของพระองค์ต่อพวกเขา(มิใช่ด้วยซา ตของพระองค์)และพวกเขาก็อยู่ภายใต้(อำนาจ)พระองค์" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ ซูเราะฮ์อัลอันอาม อายะฮ์ที่ 18

นี่คือคำให้น้ำหนักของอุลามาอ์สะละฟุศศอลิห์อย่างท่านอัฏเฏาะบะรีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged