ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)  (อ่าน 22863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

          salam   มีโอกาสรวบรวมคำแปลฟะรีดะห์แปลโดยท่านอาจารย์การีม  วันแอเลาะน่าจะเหมาะสมกับกระทู้  อินชาอัลเลาะห์จะทยอยนำมาลงให้ครับ

-----------------------------------------------------------------------

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

اَلْحَمْدُ للهِ الَّذِيْ أَطْلَعَ فِيْ سَمَاوَاتِ قُلُوْبِ الْمُؤْمِنِيْنَ شُمُوْسَ الْمَعْرِفَةِ بِأَنْوَارِ التَّوْحِيْدِ وَالْيَقِيْنِ

          การสรรเสริญทั้งมวลนั้น   เป็นสิทธิแห่งอัลลอฮ์  ผู้ซึ่งทำให้เกิดม๊ะริฟัตด้วยรัศมีของเตาฮีด  และยะกีนขึ้นในหัวใจของมุมินีน  อันเปรียบได้กับฟากฟ้าที่มีดวงอาทิตย์หลายดวง

وَالصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ تُرْجُمَانِ أُلُوْهِيَّتِهِ وَدَلِيْلِ وَحْدَانِيَّتِهِ سِيِّدِنَا مُحَمَّدٍ الْمَبْعُوْثِ بِبَاهِرِ الْمُعْجِزَاتِ لِتَأْيِيْدِ رِسَالَتِهِ وَتَصْدِيْقِ هِدَايَتِهِ

          ขอซอละหวาต  (ความสุข)  และสลาม (ความสันติ)  จงประสพแด่ที่ทำให้จักการเป็นพระเจ้าและการเป็นเอกะของพระองค์  คือ  มุฮัมหมัด  นายของเราผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง  โดยมีอภินิหารที่พิชิตหลายอย่างมาแสดงเพื่อเป็นการสนับสนุนการเป็นร่อซู้ล   และยืนยันในการชี้นำของท่าน

وَعَلىَ آلِهِ الَّذِيْنَ بَلَغُوْا الدَّرَجَاتِ الْعُليَ بِعُلُوِّ مِقْداَرِهِ وَأَصْحَابِهِ الَّذِيْنَ بَزَغُوْا نُجُوْمَ الْهُدَى بِنَصِّ أَخْبَارِهِ

          และแด่บรรดาเครือญาติซึ่งมีตำแหน่งอันสูงส่งด้วยบารมีแห่งเกียรติยศของท่านตลอดจนบรรดามิตรสหายอันเปรียบได้กับดวงดาวที่ส่องรัศมีประกายดังที่ท่านได้อุปมาอุปมัยไว้

وَبَعْدُ فَهَذِهِ رِسَالَةٌ فِيْ فَنِّ التَّوْحِيْدِ جَمَعْتُهَا مِنْ عِدَّةِ كُتُبٍ مُعْتَبَرَةٍ أَخَذْتُ مِنْ رِيَاضِهَا فَوَاكِهَ شَهِيَّةً وَمِنْ حِيَاضِهَا جَوَاهِرَمُفْتَخَرَةً

          นี่คือหนังสือเล่มหนึ่งที่ว่าด้วยวิชาเตาฮีด  ข้าพเจ้าได้รวบรวมจากหนังสือต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้    ข้าพเจ้าได้เก็บผลไม้เก็บผลไม้ดี ๆ จากสวนต่าง ๆ และเพชรติลจินดาหรืออัญมณีอันล้ำค่าจากบรรดามหาสมุทร

فَجَائَتْ بِحَمْدِ اللهِ تَعَالىَ عَقِيْدَةَ حَقٍّ سُنِيَّةَ الَّلَمَعَانِ سُنِيَّةَ الإِعْتِقَادِ وَقَعِيْدَةَ رُشْدٍ تَسْكُنُ بَيْتَ الإِيْمَانِ أُعِيْذُهَا بِهِ تَعَالىَ مِنْ شَيْطَانِ الإِنْتِقَادِ

          ซึ่งในที่สุดด้วยการสรรเสริญในอัลลอฮ์  ก็เกิดหลักความเชื่อที่ถูกต้อง  ที่มีรัศมีสวยงาม  อีกทั้งเป็นความเชื่อที่เป็นไปตามแนวทางชองอะฮ์ลิซซุนนะฮ์  อันเป็นการชี้นำที่ทำให้หัวใจของบรรดามุมีนีนมีความสงบ  ข้าพเจ้าขอให้อัลลอฮ์ได้ปกป้องให้พ้นจากการคัดค้านที่มาในมาดของซาตาน

أَشْعَرِيَّةَ الْمَشْرَبِ، مَلَيُوِيَّةَ الْمُعْرَبِ ، فَطَانِيَّةَ الْعِبَارَةِ، بَيَانِيَّةَ الإِشْارَةِ

          หนังสือเล่มนี้ได้เขียนขึ้นตามแนวทัศนะของ  อิหม่ามอะบิ้นหะซัน- อัล-อัซอะรีย์  และเป็นภาษามาลายู  อันเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวปัตตานี  อีกทั้งด้วยสำนวนที่ชัดเจนด้วย


تُنَزَّلُ بَيْنَ نَظَائِرِهَا مَنْزِلَةَ الإِنْسَانِ مِنَ الْعَيْنِ، تُفَضَّلُ عَلَيْهَا تَفْضِيْلُ الْعَقْيَانِ عَلىَ اللُّجَيْنِ

          หนังสือเล่มนี้  เมื่อได้เปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กพอ ๆ กัน  ก็เปรียบได้กับตาดำเล็กกลางลูกตา  และเป็นหนังสือที่เด่นกว่าเล่มอื่น ๆ ซึ่งเสมือนทองคำที่มีคุณค่ามากกว่าเงิน

حُرِّيَّةً بِأَنْ يُحْرَصَ عَلَيْهَا وَتُخْدَرَ سُوَيْدَاءِ الْفَؤاَدِ، وَحَقِيْقَةً بِأَنْ تُرْفَعَ عَلىَ مِنَصَّةِ التَّرْجِيْحِ وَالإِعْتِمَادِ

          ที่จริงนั้น  ควรจะได้สนใจเรียนรู้  และจดจำสาระต่าง ๆ ไว้ในหัวใจ  อีกทั้งควรจะได้เก็บหนังสือเล่มนี้ไว้บนที่ที่มีเกียรติ

وَسَمَّيْتُهَا فَرِيْدَةَ الفَرَائِدِ فِيْ عِلْمِ الْعَقَائِدِ

          ข้าพเจ้าตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า  “ฟะรีดะตุ๊ลฟะรอเอ็ด”  ซึ่งว่าด้วยวิชาที่เกี่ยวกับการยึดมั่นต่าง ๆ
 
وَعَلىَ اللهِ تَعَالىَ أَعْتَمِدُ ، وَمِنْ فَيْضِ فَضْلِهِ أََسْتَمِدُّ

          อัลเลาะห์ท่านนั้น  ข้าพเข้ายอมสยบ  และในความกรุณาของอัลเลาะห์เท่านั้น ข้าพเจ้ามุ่งหาความเพิ่มพูน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 06, 2015, 07:14 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ย. 15, 2008, 10:28 PM »
0
ต่อครับ

------------------------------------------------------

          วิชาเตาฮีดนั้นคือใจความจากประมวลการยึดมั่น  (เอี๊ยะติกอด) ทางศาสนาที่นำมาจากหลักฐานที่แน่นอน

          วิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องซ๊าตของอัลเลาะห์ในเรื่องเกี่ยวกับ  (วาญิบ)  สิ่งที่จำเป็นต้องมีและ  (มุสต้าฮิ้ล)  สิ่งที่ปัญญาไม่ยอมรับว่ามีตลอดจนสิ่งที่อาจมีหรือไม่มี  (ฮาโรส) ณ.เบื้องอัลลอฮ์  และร่อซู้ลของพระองค์  ตลอดจนว่าด้วยคำสอนต่าง ๆ  ที่ร่อซู้ลนำมาสั่งสอน  เช่น  เรื่องของวันกิยามะฮ์  และอื่น ๆ
   
          ประโยชน์ของวิชานี้   คือผู้ศึกษาจะมีความสุข  ประสบโชคดีตลอดกาล
   
          ศาสนานั้น คือใจความจากประมวล (หู่ก่ม)  หลักการของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ที่พระองค์ได้ทรงส่งท่านร่อซู้ลมายังปวงบ่าวของพระองค์  อันทำให้เขาเหล่านั้นประสบแต่คุณงามความดีอันถาวรสืบไป


          เครื่องหมายของศาสนานั้นมี  4  ประการ
          1.  การเชื่อที่ถูกต้อง  กล่าวคือ  การเชื่อมั่นอย่างเด็ดขาดต่อสิ่งที่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์เชื่อมั่น
          2.  มีเจตนาที่ถูกต้อง  กล่าวคือ  ทำอิบาดะห์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
          3.  ปฏิบัติตามสัญญาให้สมบูรณ์  กล่าวคือ  ทำในสิ่งที่ใช้
          4.  ไม่ล่วงละเมิดขอบเขต  กล่าวคือ  ละทิ้งสิ่งที่ห้าม

          คือการทำอิบาดะฮ์โดยความอิคลาศต่ออัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ไม่ทำอิบาดะฮ์ด้วยการมีหุ้นในสิ่งอื่นจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  อัลกุรอ่านกล่าวว่า


فَمَن كَانَ يَرْجُو لِقَاء رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلاً صَالِحاً وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَداً

          ความว่า “ใครก็ตามหวังที่จะพบกับผู้อภิบาลของเขา  ก็จงทำอะมั้ลที่ดีโดยไม่หุ้นส่วนสิ่งใด ๆ  กับผู้อภิบาลของเขาในการทำอิบาดะฮ์”

          บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะต่างกันเกี่ยวกับผู้ทำอิบาดะฮ์ที่กระทำเพื่ออัลเลาะห์  และดุนยาด้วย  อีหม่ามอิบนุอับดิสสลาม  และท่านอื่น ๆ  มีทัศนะว่า  ผู้ทำอิบาดะฮ์ที่มีเจตนาเช่นนี้จะไม่ได้รับกุศลเลย  อิหม่ามฆอซาลีมีทัศนะว่า  ต้องพิจารณาเหตุที่เป็นสิ่งจูงใจให้ทำอิบาดะฮ์นั้น  กล่าวคือ  หากแรงจูงใจทางอาคิเราะห์มากกว่า  ก็จะได้รับผลยุญตามจำนวนที่มี  แต่ถ้าหากแรงจูงใจทางดุนยามีมากกว่าก็จะไม่ได้รับผลบุญเลย  และหากมีเท่า ๆ กัน  ก็จะไม่ได้รับผลบุญอะไรเลยเช่นกัน  ทัศนะของอิบนุหะญัร  ในซัรห์ดีดอฮ์ให้ความเข้าใจว่า  จะได้รับผลบุญตามที่จะมีเจตนา   เนื่องจากมีโองการจากอัลกุรอ่านว่า

 
فَمَن يَعْمَلْ مِثْقَالَ ذَرَّةٍ خَيْراً يَرَهُ

          ความว่า  “ใครที่ทำดีเท่าผงธุดีเดียว  เขาก็จะได้เห็นมัน”


          ศาสนานั้นมีองค์ประกอบอยู่ 3 ประการคือ 
          1.) อิสลาม 
          2.) อีหม่าน  และ
          3.) เอี๊ยะซาน

          อิสลามนั้น  คือการตามและยอมรับโดยภายนอกของบุคคลต่อสิ่งที่ร่อซู้ล  (ศ้อล ฯ)  นำมาได้แก่สิ่งที่พึงรับรู้จากศาสนาในทางด่อรูเราะฮ์  กล่าวคือ  โดยไม่ต้องพินิจพิจารณา  เช่น  สองกะลีมะฮ์ซะฮาดะฮ์  ละหมาด  เป็นต้น

          จุดมุ่งหมายของคำว่า  ตามและยอมรับนั้น  คือยอมรับโดยวาจา  โดยไม่ปฏิสธ  แม้จะไม่ได้กระทำก็ตาม  เช่น  ไม่ละหมาด  และอื่น ๆ  เป็นเนืองนิตย์


          รู่ก่นอิลามนั้นมี  5  ประการ
          1.  ปฏิญานว่า  “ไม่มีพระเจ้านอกจากอัลเลาะห์  และมุฮัมมัดเป็นร่อซู้ลของพระองค์   สำหรับรู่ก่นนี้บังคับเฉพาะกาเฟรที่ต้องการเข้ารับนับถืออิสลาม
          2.  ละหมาดห้าเวลา
          3.  บริจาคซะกาต
          4.  ถือบวชเดือนรอมฎอน
          5.  บำเพ็ญฮัจย์  ณ. ไบตุลลอฮ์  สำหรับผู้ที่สามารถจะเดินทางไปได้


          อิหม่านนั้น  คือ  ใจเชื่อในสิ่งต่าง ๆ ที่ร่อซู้ลนำมา  ได้แก่  สิ่งที่พึงรับรู้จากศาสนาในทางด่อรูเราะฮ์
   
          จุดมุ่งหมายของคำว่า  “เชื่อ”  นั้นคือใจคล้อยตามและยอมรับในสิ่งต่าง ๆ     ข้างต้น  ซึ่งมิใช่แต่เพียงรู้ว่า  นะบีเป็นนะบีที่แท้จริงโดยไม่ตามและยอมรับ  ด้วยเหตุนี้จึงไม่เรียกส่วนใหญ่ของกาเฟรที่รู้และเชื่อว่ามูฮัมหมัดเป็นนะบีและร่อซู้ลว่าเป็นผู้ที่มีอิหม่าน  เพราะใจพวกเขามิได้เชื่อ  และยอมรับในสิ่งต่าง ๆ ที่นะบีนำมาเผยแพร่


          รู่ก่นอีหม่านนั้นมี  6 ประการ
          1.  มีอีหม่าน  คือ เชื่อมั่นในอัลเลาะห์
          2.  มีอีหม่านในมะลาอิกะฮ์
          3.  มีอีหม่านในบรรดาคัมภีร์
          4.  มีอีหม่านในบรรดาร่อซู้ล
          5.  มีอีหม่านในวันสุดท้าย
          6.  มีอีหม่านในกอดัร  ไม่ว่าดีหรือชั่ว  กล่าวคือ  ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าดี  เช่น  การภักดี  (ตออัต)  หรือไม่ดี  เช่นความชั่ว (มะอ์ซิยัต)  เกิดขึ้น  โดยการกระทำของอัลเลาะห์ (ซบ.)  ที่สอดคล้องกับเจตนาของพระองค์ที่มีอยู่แล้วตั้งแต่บรรพกาล  (อะซัลลีย์)


          เอี๊ยะห์ซาน (คุณธรรม) คือการทำดีด้วยความอิคลาศ  (บริสุทธิ์ใจ)  กล่าวคือเราทำอิบาดะห์ต่ออัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ประหนึ่งเราเห็นอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  จีงไม่ควรที่จะผินไปอื่นจากพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางใจ  (บาเต็น)  หรือทางอวัยวะส่วนภานอก  (ซอเฮร)  โดยที่เราก็รู้ว่าพระองค์ทรงเห็นเรา  เราจึงเกิดความละอายขึ้น  ในขณะนั้น  หากเราขาดควาวมสนใจในการทำอิบาดะฮ์

          เอี๊ยะห์ซานนี้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้อิสลามและอีหม่านสมบูรณ์  ดังนั้น  อิสลามหรืออีหม่านจะสมบูรณ์ไม่ได้  หากไม่มีเอี๊ยะห์ซาน

          สิ่งแรกที่ศาสนากำหนดเป็นความจำเป็นสำหรับมุกัลลัฟคือ  ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะ  ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง  นั้นคือ  การรู้จักอัเลาะห์  (ซ.บ.)  กล่าวคือ  รู้บรรดาหู่ก่มซิฟัตและบรรดาหู่ก่ม  การเป็นพระเจ้าของพระองค์  พร้อมทั้งรู้บรรดาสิ่งที่ทำให้รู้จักสิ่งต่าง ๆ ดังได้กล่าวแล้ว  และรู้ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบรรดาร่อซูล  ดังนั้น  ความหมายของคำว่า  รู้จัก  อัลลอฮ์นั้น  มิได้หมายความว่า  รู้จักรูปร่างของพระองค์  ทั้งนี้  เพราะของใหม่ไม่อาจรู้ถึงรูปร่าง  (หะกีเกาะฮ์)  ของ ๆ  เก่า  (ก่อดีม) ได้

          ดังนั้น  คำว่า   “รู้จัก”  และ  “รู้”  นั้น  จึงหมายถึง  รู้ที่ตรงกับความจริงที่ก่อให้เกิดเป็นความรู้นั้น  อันเป็นความรู้ที่มีหลักฐาน  กล่าวคือ  มีการยึดมั่น  (เอี๊ยะติกอด)  ที่เด็ดขาด  ที่ตรงกับความจริง  ซึ่งการเอี๊ยะติกอดนั้น  เกิดขึ้นจากเครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นการเอี๊ยะดิกอดที่ถูกต้อง
   
          จำเป็นสำหรับมุกัลลัฟต้องรู้ถึงบรรดาสิ่งที่วาญิบทางปัญญา  ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้าของเรา  ตลอดจนสิ่งที่มุสตะฮิ้ลบนพระองค์  และฮาโรสสำหรับพระองค์ด้วย

          และจำเป็นต้องรู้ถึงสิ่งที่เป็นวาญิบสำหรับบรรดาร่อซู้ลอะลัยฮิมุซซอลาตุวัสสลาม  และมุสตะฮิ้ล  ตลอดจนฮาโรสสำหรับท่านเหล่านั้นด้วย


          คำนิยามของศัพท์เทคนิคที่ใช้ในหนังสือนี้
          1.  วายิบทางศาสนา  หมายถึง  สิ่งที่เป็นผลบุญแก่ผู้กระทำ  และลงโทษผู้ที่ไม่กระทำ  เช่น  รู้ว่าอัลเลาะห์มี   ผู้รู้ก็จะได้รับผลบุญ  ส่วนผู้ไม่รู้ก็จะต้องได้รับโทษ
          2.  วายิบทางปัญญา  หมายถึง  สิ่งที่ปัญญาไม่ยอมรับว่า  ไม่มี   เช่น  สสารเอาที่อยู่
          3.  มุสตาฮิ้ล  หมายถึง  สิ่งที่ปัญญาไม่ยอมรับว่ามี  เช่น  สสารนั้นไม่นิ่งและไม่กระดิก  (ในเวลาเดียวกัน)
          4.  ยาอิสนั้น  หมายถึง  สิ่งที่ปัญญาเชื่อว่าอาจมีหรืออาจไม่มีก็ได้  เช่น  สสารนิ่งและกระดิก  (หมายถึง  ไม่นิ่งก็กระดิกกล่าวคือจะมีทั้งนิ่งและกระดิกในเวลาเดียวกันหรือ  ไม่มีทั้งนิ่งและกระดิกในเวลาเดียวกันไม่ได้)

          ผู้ที่เป็นมุกัลลัฟแล้วทุกคนจำเป็น (ฟัรดูอีน)  ต้องรู้หลักฐานของสิ่งที่วาญิบ  มุสตะฮิ้ลและยาอิสด้วย  เพื่อจะได้ไม่เป็นมุกอลลิด  คือ  ผู้ที่เชื่อคำพูดของคนอื่นโดยไม่รู้ว่ามีหลักฐานอย่างไร
 
          บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะแตกต่างกันว่า  บุคคลที่เป็นมุกอลลลิดนั้น  เป็นกาเฟรหรือไม่ ?   ทัศนะที่ซอเฮี๊ยะห์กล่าวว่า  เป็นมุอ์มินพร้อมกับมีโทษ  เพราะไม่เรียน  ไม่พิจารณาหาเหตุผลทั้งนี้หากเขาเป็นคนที่สามารถเรียน  และหาเหตุผลได้

          ความมุ่งหมายของคำว่า  หลักฐานนั้น  คือ  หลักฐานอิจมาลี  คือ  หลักฐานที่ไม่อาจโต้ตอบหรือชี้แจงความสงสัยที่เกิดขึ้นได้  เช่น  มีความสงสัยตั้งเป็นคำถามขึ้นว่า  อะไรคือหลักฐานทำให้ท่านเชื่อว่ามีอัลเลาะห์ (ซ.บ.)   เขาก็จะตอบว่าโลกนี้  แต่ก็ไม่อาจชี้แจง  แนวทางที่ชี้ว่าโลกนี้  เป็นหลักฐานได้  หรือว่าสามารถชี้แจงได้  แต่หากมีคำคัดค้านเกิดขึ้น  เขาก็ไม่อาจชี้แจงเพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้คัดค้านหรือสงสัยต้องการได้   ก็ถือว่า  เขาผู้นั้นพ้นไปจากสภาพการเป็นตักลีด  (ผู้ตาม)  โดยการที่เขารู้หลักฐานอิจมาลีย์ดังได้กล่าวแล้ว

          สำหรับหลักฐานตัฟซีลีย์นั้น  คือ  หลักฐานที่สามารถยืนยันและชี้แจงบรรดาความสงสัยที่เกิดขึ้นได้

          ต่อไปนี้เราจะได้อธิบายถึงบรรดาสิ่งที่ต้องเชื่อ  (عَقَائِد )  ตามที่ศาสนากำหนดไว้มีทั้งบรรดาสิ่งที่วาญิบ  และสิ่งสิ่งที่มุสตะฮีล  และสิ่งที่ฮาโรส  ทั้งที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)   และร่อซู้ล (ศ้อลฯ)  พร้อมกันนั้น  เราจะได้นำหลักฐานมาประกอบในทุก ๆ   สิ่งที่จำเป้นต้องเชื่อ  (عقيدة )   ซึ่งหลักฐานทั้งหมดที่จะนำมานั้นเป็นหลักฐานที่ยืนยันสิ่งที่วาญิบ   และปฏิเสธสิ่งที่มุสตะฮีลไปในตัว

          อัลเลาะห์นั้น  พระองค์ต้องทรงคุณลักษณะที่สมบูรณ์  ที่คู่ควรกับพระองค์  ซึ่งมีมากมายหลายประการ  ไม่มีใครรู้ได้ว่ามีจำนวนเท่าใดนอกจากพระองค์  ดังน้น  จำเป็น (วาญิบ)  ที่ทุกคนจะต้องยอมรับในทางอิจมาลีย์

          และ ณ. อัลลอฮ์นั้น  เป็นไปไม่ได้  (مستحيل ) ที่จะทรงคุณลักษณะที่บกพร่องซึ่งลักษณะที่บกพร่องนั้น  มีมากมาย  ไม่มีใครรู้ได้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่  นอกจากพระองค์  ดังนั้นจำเป็น  (วาญิบ)   ในทางอิจมาลีย์ที่ทุกคนจะต้องยอมรับในความบริสุทธิ์ปราศจากคุณลักษณะที่บกพร่องทั้งปวง


          สำหรับหลักฐานเพื่อยืนยันและปฏิเสธคัณลักษณะต่าง ๆ ตามที่กล่าวนั้น  คือ
          หากพระองค์มิได้ทรงคุณลักษณะที่สมบูรณ์  พระองค์ก็ต้องทรงคุณลักษณะที่บกพร่องและการบกพร่องที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)นั้น  เป็นเรื่องมุสตะฮีล  เพราะหากอัลเลาะห์ทรงคุณลักษณะที่บกพร่องอัเลาะห์ก็มิสามารถให้บังเกิดสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ได้  ซึ่งนั้นเป็นเรืองที่ไม่ถูกต้อง   เพราะโลกนี้มีแล้วโดยสายตาที่สัมผัสได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 31, 2011, 02:14 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ก.ย. 15, 2008, 10:32 PM »
0
          ส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่จำเป็นต้องรู้ในรายละเอียดนั้นมีอยู่  13  ประการหรือ 20 ประการตามความขัดแย้งของนักวิชาการดังจะได้กล่าวต่อไป  ซึ่งตามทัศนะที่รอแญ๊ะฮ์  (ชัดเจน) นั้นคือ  ทัศนะแรก (อันได้แก่ 13  ประการ)  สำหรับอีก 7  ประการนั้นถือว่าจำเป็นต้องรู้โดยอิจมาลีย์  (สรุป)  ไม่อนุญาตให้ปฏิเสธคุณลักษณะเหล่านั้นโยมติของนักวิชาการ  เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งจากความสมบูรณ์แห่งพระองค์  ใครปฏิเสธก็เป็นกาเฟร  (วัลอยาซุบิลลาฮิตะอาลา)  สรุปแล้วก็คือ  ไม่จำเป็นต้องรู้ในทางตัฟซีลเท่านั้น


          พึงรู้ว่า  ที่จำเป็นต้องรู้ในทางตัฟซีลีย์นั้น  คือ ในทุก ๆ  ท้องถิ่นต้องรู้ในทางฟัรดูกิฟายะฮ์  กล่าวคือ  เมื่อมีคนหนึ่งคนใดรู้  คนอื่น ๆ  ในท้องถิ่นนั้นก็พ้นโทษ  ดังนั้น  ในระยะทางที่สามารถละหมาดก่อศอรได้  จำต้องมีผู้รู้ในทางตัฟซีลีย์  นอกจากนี้  ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นอื่น ๆ ก็เช่นกัน  เช่น  ต้องมีผู้พิพากษาในท้องถิ่นที่มีปัญหาขัดแย้ง  เป็นต้น



คุณลักษณะทั้ง 13 ประการคือ

“1.) วุญูด
” 
          แปลว่า  “มี”  จุดมุ่งหมายของคำว่า  “วุญูด”  นั้นคือ  วุญูดที่เกี่ยวกับซ๊าต  หมายถึง  การมีอัลลอฮ์นั้น  มิได้มีเพราะสิ่ง  อื่นทำให้มี  อีกทั้งเป็นการมีที่ไม่มีไม่มี  (ไม่มีอวสาน  มีตลอด)   ทั้งในอดีต   (บรรพกาล)  และในอนาคต  (อนาคตกาล)  และ  “วุญูด”  นี้เป็นคุณลักษณะที่แสดงให้เป็นที่ปรากฏ  เป็นคุณลักษณะที่บ่งบอกให้รู้ถึงการมี  มิใช่บ่งบอกถึงส่วนเกินอื่นจากซ๊าต  สำหรับผู้ที่เป็นมุกัลลัฟ(บรรลุศาสนภาวะ)  รู้ว่าอัลเลาะห์ (ซ.บ.)มีก็พอแล้ว   อันหมายถึงปัญญาต้องไม่ปฏิเสธการมีนั้นด้วย

          มุกัลลัฟไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีหรือวุญูดนั้น  คือ  อีนซ๊าต (ตัวตน  ตัวซ๊าต)  หรืออื่นจากซ๊าต  เพราะนั่นเป็นความรู้ที่ละเอียดอ่อน  และลึกซึ้งของวิชานี้

          และซีฟัตมุสตะฮีล  ซึ่งเป็นซีฟัตตรงข้ามกับวุญูดนั้นคือ  “อะดัม”  แปลว่า  “ไม่มี”
          และหลักฐานที่ว่าอัลเลาะห์มีนั้นคือ  บรรดามัคลู๊ก  (สิ่งที่ถูกสร้าง)  นี้.....เพราะ   มันเป็นของมุมกิน  คือ  ของที่อาจจะมีและอาจไม่มีก็ได้  ซึ่งทุก ๆ สิ่งที่เป็นมุมกินนั้น  แน่นอนต้องมีสิ่งที่ทำให้มันบังเกิด....หรือเราะมันเป็นของใหม่  คือของที่มีซึ่งเคยไม่มีมาก่อน  (เพิ่งมี)  และของใหม่ทุกอย่างนั้น  แน่นอน  ต้องมีผู้ที่ทำให้มันใหม่  คือ  ทำให้มันมี

          หากมีความสงสัย  หรือมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น  ท่านจงตอบคลี่คลายความสงสัยหรือข้อโต้แย้งนั้น  อนึ่ง  ผู้ที่ทำให้เกิดหรือทำให้มี  มีนามว่า  “อัลเลาห์”  (ซ.บ.)  และอื่น ๆ  อีก 98 พระนามนั้นรู้ได้จากคำบอกกล่าวของบรรดาศาสนทูต  อะลัยฮิมุซซอลาตุวัสสลาม  ดังนั้น  เมื่อเป็นที่ชัดเจนถึงการมีอัลเลาะห์  (ซ.บ.)แล้ว  ก็ต้องปฏิเสธการไม่มีพระองค์  (พึงสังเกตว่า  ต้องมียอมรับและมีปฏิเสธพร้อม ๆ กันด้วย  ใครแยกระหว่างทั้งสอง  เขายังเป็นกาเฟรอยู่)



“2.) กิดัม”

          แปลว่า  “เดิม”  จุดมุ่งหมายของคำว่า “เดิม” ณ.ที่นี้คือ  เดิมที่เกี่ยวกับซ๊าต  หมายถึง  ไม่มีจุดเริ่มต้นแห่งการมี  กล่าวคือ  อัลเลาะห์ไม่มีไม่มีมาก่อน  คำว่า  เดิมที่เกี่ยวกับซ๊าต  ทำให้เข้าใจว่า  มิใช่เดิที่เกี่ยวกับเวลา  คือ  เวลานานพร้อม ๆ  กับเคยไม่มีมาก่อน  ซึ่งนั่นมิใช่ความมุ่งหมาย ณ.ที่นี้

          และซี่ฟัตมุสตะฮีล  ซึ่งเป็นซีฟัตตรงกันข้ามกับ  “กิดัม”  นั้นคือ  “หุดูษ”  แปลว่า  “ใหม่”

          สำหรับหลักฐานที่ว่า  อัลเลาะห์ทรงคุณลักษณะกิดัมนั้นคือ  หากอัลเลาะห์เป็นของใหม่อัเลาะห์ท่านก็จำเป็นต้องมีสิ่งที่ทำให้พระองค์ใหม่  ซึ่งดังกล่าวนั้นเป็นมุสตะฮีล  เพราะเป็น.... “โด๊ร”   คือ  วนเวียนหรือต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีจุดจบ  ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นมุสตะฮีล  ดังนั้น  เมื่อเป็นที่แน่นอนว่า  พระองค์ทรงคุณลักษณะกิดัม  ก็เป็นไปไม่ได้  (มุสตาฮีล)   ที่พระองค์จะเป็นของใหม่



3.) “บะกออ์”

          แปลว่า  คง  ซึ่งมีความหมายว่า  ไม่มีอวสานการมี  กล่าวคือการมีของพระองค์ไม่มีขาดตอน      และซีฟัตมุสตะฮีลซึ่งเป็นซีฟัตรงกันข้ามกับบะกออ์นั้นคือ  “เสียหาย”  (พินาศ,  ดับสูญ)

          สำหรับหลักฐานที่ว่าอัลลอฮ์ทรงคุณลักษณะ “บะกออ์” นั้นคือ   หากพระองค์เสียหาย(พินาศ, ดับสูญ)   แน่แท้พระองค์ก็ต้องเป็นของใหม่  เพราะสิ่งที่เสียหายได้นั้น  อาจมีและอาจไม่มีก็ได้   ซึ่งนั่นคือลักษณะของสิ่งที่เป็นของใหม่  และการที่จะเข้าใจว่า   อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  เป็นสิ่งใหม่นั้น  จึงเป็นเรื่องมุสตะฮีล  ทั้งนี้เพราะเป็นที่ประจักษ์ชัดโดยหลักฐานแล้วว่า  พระองค์ทรงคุณลักษณะกิดัม   ด้วยเหตุดังกล่าวจึง  เป็นที่แน่นอนว่า  พระองค์ต้องมีคุณลักษณะ     “บะกออ์”  ดังนั้น  เมื่อพระองค์มีคุณลักษณะ “บะกออ์”   การที่จะเข้าใจว่าพระองค์เสียหาย  (พินาศ,  ดับสูญ)  จึงเป็นไปไม่ได้



4.) “มุคอละฟะตุฮูตะอาลาลิ้ลหะวาดิษ”

          แปลว่า   อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ไม่เหมือนกับบรรดาของใหม่  ความว่า   พระองค์ไม่เหมือนมัคลู๊กใด ๆ  ไม่ว่าจะในทางหนึ่งทางใดก็ตาม   เพราะบรรดาของใหม่นั้น   ไม่เป็นสสาร  (คือสิ่งที่มีตัวตน  มีน้ำหนัก  ต้องการที่อยู่  และสัมผัสได้)    ก็เป็นคุณลักษณะ  (เช่น  สีต่าง ๆ  หรือการกระดิก  การนิ่งตลอดจนใกล้หรือไกล  เป็นอทิ)    ซึ่งอัลเลาะห์ตะอาลามิใช่สสาร  และก็มิใช่คุณลักษณะด้วย  ดังนั้น  อัลเลาะห์จึงไม่เหมือนสิ่งใด ๆ จากมัคลู๊กเลย

          หากซาตานหลอกลวงหรือหลอกหลอน   หรือทำให้เกิดการสับสนขึ้นในหัวใจของท่านว่า  เมื่อพระเจ้าไม่ใช่สสาร  และไม่ใช่คุณลักษณะ  แล้วพระองค์จะเป็นเช่นไร  ท่านจงกล่าวผลักความสับสนที่เกิดขึ้นนั้นว่า   ไม่มีใครรู้ว่าซ๊าตของอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  เป็นอย่างไร  นอกจากพระองค์เท่านั้น


ليس كمثله شئ وهوالسميع البصير

          ความว่า  “  "ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์  พระองค์คือผู้ทรงได้ยิน  และทรงเห็น"”

          พึงรู้ว่า! ไม่สามารถรู้ได้นั่นแหละรู้แล้ว
   
          และซีฟัตมุสตะฮีลซึ่งเป็นซีฟัตที่ตรงกันข้ามกับมุคอละฟะตุฮูตะอาลาลิ้ลหะวาดิษนั้นคือ  พระองค์เหมือนกับบางสิ่งบางอย่าง  จากสิ่งที่ถูกสร้าง

          พึงรู้ว่า!   เมื่ออัล-กุรอาน  หรือัล-ฮาดีสให้ความเข้าใจว่า  อัลเลาะห์เหมือนกับของใหม่  มัสฮับอัสซะลัฟมอบจุดมุ่งหมายนั้นต่ออัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ส่วนมัซฮับ  อัล-ค่อลัฟจะตีความว่า   เช่น  อัล-กุรอานที่ว่า ...


الرحمن على العرش استوى

          ความว่า  “อัลเลาะห์ (ซ.บ.)ผู้ทรงเมตตานั้นสูงส่งเหนือบัลลังก์”

          มัซฮับซะลัฟอธิบายคำว่า  “เหนือ”  ว่า  เป็นเบื้องบนที่เราไม่อาจรู้สถานภาพได้  ด้วยเหตุนี้  จึงได้มอบจุดมุ่งหมายอันนี้ต่ออัลเลาะห์  (ซ.บ.)   ส่วนมัสฮับค่อลัฟ   กล่าวความหมายของคำว่า  “เหนือ”  ณ.ที่นี้คือ  อำนาจการปกครอง  หรือการมีกรรมสิทธิ์

          สำหรับหลักฐานที่ว่า   อัลเลาะห์ไม่เหมือนของใหม่นั้นคือ  หากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  เหมือนกับของใหม่อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ก็ต้องเป็นของใหม่ด้วย   ซึ่งเป็นเรื่องมุสตะฮีล  ทั้งนี้  เพราะเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า   อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ท่านทรงมีมาแต่เดิมตามหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว  ด้วยเหตุนี้  อัลเลาะห์ท่านจึงไม่เหมือนกับของใหม่และเมือเป็นเช่นนี้  ก็เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะเหมือนกับของใหม่



5.)   ดำรงด้วยพระองค์เอง

          ความว่า  พระองค์ทรงยืนด้วยพระองค์เอง  ซึ่งดังกล่าวนี้มิใช่หมายความว่า  พระองค์ทรงยืนตรงได้โดยไม่มีผู้ใดช่วยอันเป็นความเข้าใจที่เกิดขึ้นในทันทีที่ได้ยินคำนี้  ดังน้น  ความหมายที่แท้จริงของคำว่า  “ยืนด้วยพระองค์เอง”  ณ.ที่นี้  ก็คือ  การมีอยู่ของพระองค์ก็มิได้อาศัยตัวตนเหมือนกับการมีอยู่ของคุณลักษณะที่ต้องอาศัยตัวตน  อีกทั้งมิได้มีสิ่งใดให้บังเกิดพระองค์อีกด้วย  หากแต่พระองค์เท่านั้น  ที่เป็นผู้ให้บังเกิดสิ่งสิ่งต่าง ๆ

          และซีฟัตมุสต้าฮีลซึ่งเป็นซีฟัตตรงกันข้ามกับกิยามุฮูตะอาลาบินัฟซิฮี  นั้นคือ  พระองค์จำต้องมีตัวตน  หรือจำต้องมีผู้ให้บัเกิดพระองค์

          สำหรับหลักฐานที่ว่า  พระองค์ดำรงด้วยพระองค์เองนั้นคือ  หากพระองค์มิได้ดำรงด้วยพระองค์เอง  แต่ต้องอาศัยตัวตน  แน่แท้พระองค์ก็เป็นซีฟัต (คุณลักษณะ)  ซึ่งการที่ว่าพระองค์เป็นซีฟัตนั้น  เป็นเรื่องที่ปัญญาไม่ยอมรับ (มุสต้าฮีล)  เพราะหากพระองค์เป็นซีฟัต  พระองค์ก็ต้องไม่มีซีฟัตมะอานี   และซึฟัตมะนะวียะฮ์  ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป  ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เชื่อไม่ได้  เพราะมีหลักฐานมากมายแสดงให้เห็นว่า   พระองค์ทรงซีฟัตมะอานีและมะนาวียะฮ์



6.)   วะห์ดานียะฮ์

          แปลว่า  อัลเลาะห์ (ซ.บ.)ทรงเอกะในซ๊าต  ในซีฟาต  และในอัฟอ๊าล ความว่า  อัลเลาะห์ (ซ.บ.)นั้น  ซ๊าตของพระองค์มิได้ประกอบมาจากสองซ๊าตหรือมากกว่า  ซึ่งผิดกับสิ่งที่เป็นมัคลู๊ก  สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นจากหลายซ๊าต  หมายถึงหลายส่วน  ซึ่งการประกอบขึ้นในทำนองนี้  เรียกว่า  كم متصل فد دات       (หลายส่วนมาประกอบกัน) 
   
          และอัลเลาะห์ไม่มีองค์ที่สอง  ซึ่งจะทำให้นับจำนวนได้  ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีชื่อเรียกว่า   كم منفصل فددات   ทั้งสองลักษณะดังกล่าวนี้  ไม่ปรากฏในซ๊าตของพระองค์  (กล่าวคือถูกปฏิเสธ)

          และอัลเลาะห์ (ซ.บ.)นั้น  ไม่มีสองซีฟัต  หรือมากกว่า  ทั้งนี้หมายถึงในชนิดเดียวกัน  เช่น  มีกุดรัตสองหรือสาม  เป็นต้น  ลักษณะดังกล่าวนี้  มีชื่อเรียกว่า   كم متصل فد صفات

          และก็ไม่มีสิ่งอื่นจากอัลเลาะห์(ซ.บ.) มีคุณลักษณะใด  ๆ  เหมือนคุณลักษณะของพระองค์  ซึ่งการมีซีฟัตของสิ่งอื่นเหมอืนกับพระองค์นี้มีชื่อเรียกว่า  كم منفصل فد صفات       ทั้งสองลักษณะดังกล่าวนี้  ก็ไม่ปรากฏที่ซีฟัตของพระองค์  (กล่าวคือถูกปฏิเสธเช่นเดียวกัน)

          และอัลเลาะห์ (ซ.บ.)นั้น  ก็ไม่มีสิ่งอื่นใดร่วมให้ผลลัพธ์  (ร่วมสร้างหรือร่วมทำลาย)  พร้อม ๆ กับพระองค์  ซึ่งการมีสิ่งอื่นมาเป็นส่วนร่วมดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกว่า   كم متصل فد أفعال    

          และแท้จริงไม่มีสิ่งอื่นใดจากพระองค์มีพลังสร้างหรือทำลายได้โดยสันโดษแต่การที่นิยมพาดพิงไปนั้น  ก็โดยพิจารณาถึงการกระทำและการเลือกซึ่งการมีสิ่งอื่นจากพระองค์สามารถทำได้โดยสันโดษนี้มีชื่อเรียกว่า  كم منفصل فدأفعال     ทั้งสองลักษณะดังกล่าวนี้  ไม่มีปรากฏในอัฟอ๊าลของพระองค์  (กล่าวคือถูกปฏิเสธ)

          และซีฟัตมุสต้าฮี้ล  ซึ่งเป็นซีฟัตตรงกันข้ามกับวะห์ดานียะฮ์นั้นคือ  พระองค์มิได้เอกะในทุกสิ่งที่กล่าวมาแล้ว  กล่าวคือ  ไม่ว่าจะเป็นเอกะในซ๊าต  ในอัฟอ๊าล  หรือในซีฟัติก็ตาม

          สำหรับหลักฐาน  วะฮ์ดานียะฮ์นั้นคือ  หากพระเจ้ามีหลายองค์  แน่นอนพระเจ้าทุกองค์ต้องไร้ความสามารถ  และเมื่อไร้ความสามารถ  โลกนี้ก็มีไม่ได้  ซึ่งดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  เพราะเราได้เห็นว่าโลกนี้มีอยู่แล้วด้วยตาของเรา  ดังนั้น  พระเจ้าจึงไม่ได้มีหลายองค์  เมื่อมิได้มีหลายองค์ก็ต้องมีองค์เดียว  และเมื่อมีองค์เดียว  คำอ้างที่ว่าหลายองค์จึงเป็นอันตกไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 22, 2013, 11:12 PM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ก.ย. 16, 2008, 05:59 AM »
0
7.)   “กุดรัต”

           แปลว่า  ความสามารถ  คือคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม  เป็นซีฟัตที่อยู่ที่ซ๊าตของอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ซึ่งมีหน้าที่ให้บังเกิดมุมกิน  หรือให้มุมกินไม่เกิด  ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับอิรออะฮ์

           คุณลักษณะนี้มี  تعلق   หน้าที่จำแนกออกได้เป็น  7 ลักษณะ  คำว่า  تعلق   หมายถึงงานอื่นจากการสถิตอยู่กับซ๊าต  ซึ่งซีฟัตที่มี   تعلق  นี้คือ  ซีฟัตมะอานีเท่านั้น  (และก็มิใช่ทุกซีฟัต  เช่น  ซีฟัตหะยาตก็ไม่มี  تعلق     ซึ่งซีฟัตนี้ก็เป็นซีฟัตมะอานีย์)

   
           คนมุกัลลัฟทุกคน  ไม่จำเป็นต้องรู้ถึง   تعلق   ดังกล่าวเหล่านี้เพราะเป็นข้อมูลที่ลึกซึ้ง  ทั้ง 7 ลักษณะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

           - تعلق    ลักษณะแรกนั้น มีชื่อเรียกว่า   تعلق صلوحي قديم ก็คือความสามารถ (ความพร้อม) ของกุดรัตที่มีอยู่ตั้งแต่บรรพกาล  ซึ่งสามารถสร้างสรรค์หรือทำลายสิ่งใด ๆ  ได้ตั้งแต่เวลา (คือ   ช่วงเวลาระหว่างที่อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  สร้างรัศมีของท่านนะบี (ศ้อล  ฯ  จนถึงปัจจุบันและในอนาคตต่อไป)   ซึ่งมีลักษณะเดียว

           تعلق     อีกสามลักษณะ  คือ    تعلق تنجيزي حادث    ความหมายของคำว่า   تنجيز    ก็คือ  บรรลุ       สำเร็จ  เพราะด้วยกุดรัตทำให้เกิดเป็นผลสำเร็จตามความมุ่งหมายหรือเจตนา   إرادة   มาตั้งแต่บรรพกาล   أزل      ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสามลักษณะ

           (1)   تعلق    ให้บังเกิดของมุมกิน  ที่ไม่เคยมีมาก่อน
           (2)   تعلق    ให้ไม่มีของมุมกินที่เคยมีมาแล้ว
           (3)   تعلق    ให้มีขึ้นมาอีก  คือ  ให้ฟื้นขึ้นมาจากกุโบร์
           
           تعلق     อีกสามลักษณะสุดท้าย มีชื่อว่า   تعلق قبضة    ซึ่งมีอยู่สามลักษณะเช่นกัน  ความหมายของคำว่า    قبضة   นั้นคือ กำ  หรือ อุ้งมือ  จุดมุ่งหมาย ณ. ที่นี้ คือ  ของมุมกินนั้น  อยู่ในอุ้งพระหัตถ์แห่งความต้องการของพระองค์  ซึ่งหากมีพระประสงค์จะให้มันคงไม่มีต่อไป    มันก็จะไม่มี  หรือหากมีพระประสงค์จะให้มันมี  มันก็มีขึ้นมา  และหากเป็นพระประสงค์ให้มันไม่เหมือนสภาพเดิมของมัน  พระองค์ก็จะทดแทนคือเปลี่ยนสภาพมัน  สามลักษณะดังกล่าวคือ

           (1)   تعلق    ให้คงไม่มีมุกินในเวลาที่อิมกาน  (คือเวลาที่มีได้หลังจากที่ยังไม่มี)
           (2)   تعلق    ให้คงมีต่อไป  หลังจากที่เคยไม่มีมาก่อน
           (3)   تعلق    ให้คงไม่มีหลังจากที่เคยมี

           และซีฟัตมุสต้าฮี้ล  ซึ่งเป็นซีฟัตตรงกันข้ามกับกุดรัตก็คือ  ความอ่อนแอ  ไร้ความสามารถ

           สำหรับหลักฐานกุดรัต”  นั้นคือ  หากพระองค์ไร้ความสามารถ  แน่แท้จะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นในโลกนี้  ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้    เนื่องจากโลกนี้เป็นสิ่งที่มีเป็นสิ่งที่เห็นด้วยตาอยู่แล้ว  จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า  พระองค์นั้นทรงพลัง  (กุดรัต)  และเมื่อพระองค์ทรงพลังก็เป็นไปไม่ได้  (มุสต้าฮี้ล)  ที่พระองค์จะไร้ความสามารถ  (ไม่มีกุรัต)


8.   อิรออดัต

           แปลว่า  ต้องการ,  เจตนา  ความหมายของคำว่า  “ต้องการ”  หรือ  “เจตนา”  ณ.ที่นี้  คือ  ทุกสิ่งทุกประการเกิดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการหรือเจตนาตามอำนาจของพระองค์  คำว่าต้องการ  เจตนานั้น  มิได้หมายความว่า  (ประสงค์)  ดังที่เข้าใจ  เมื่อได้ยินคำนี้  เพราะประสงค์นั้น  เป็นเรื่องมุสต้าฮี้ล (คือปัญญาไม่ยอมรับว่าพระองค์จะมีคุณลักษณะเช่นนั้น)
   
           อิรอดัตนี้  เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิมสถิตอยู่ที่ซ๊าตของพระองค์  มีหน้าที่ในการเจาะจงสิ่งที่เป็นไปได้จากของมุมกิน  เช่น  เจาะจงให้  “มี”  หรือให้เป็นสีขาว  สีดำ  สั้น  ยาว ฯลฯ

           อิรอดัตนี้   تعلق   (สัมพันธ์)  กับของมุมกินทุกอย่างเหมือนกับกุดรัต  ต่างกันเพียง    تعلق قدرة    (ความสัมพันธ์ของพลัง)  นั้น  มีหน้าที่หรือมีงานด้านการให้บังเกิด  ส่วน   تعلق إرادة    (ความสัพันธ์ของเจตนา)  นั้นมีหน้าที่หรือมีงานด้านการเจาะจง  ด้วยเหตุนี้จึงไม่   تعلق    กับของวาญิบ  และมุสต้าฮี้ล 

           มุมกินนั้น  มีความหมายถึงทั้งของดีและของไม่ดี  ส่วนพวกมั๊วะตะซิละฮ์กล่าวว่า  อิรออัตของอัลเลาะห์ (ซ.บ.)นั้น  ไม่   تعلق    (สัมพันธ์)  กับของไม่ดี  ของที่พึงรังเกียจ  แต่เราจำเป็นต้องรักษามารยาทต่ออัลเลาะห์  โดยไม่พาดพิงสิ่งที่ไม่ดี  สิ่งที่น่ารังเกียจไปยังอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ยกเว้นในเวลาที่ทำการศึกษาเท่านั้น  และไม่เป็นที่อนุญาตให้การอ้างว่า  ความชั่วนั้น  เกิดขึ้นจากความต้อง  และกุดรัตของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ก่อนจากจะเกิดม๊ะซิยัต  ทั้งนี้เพื่อเป็นทางทำม๊ะซิยัตนั้น

           การอ้างหลักฐานที่ผิดพลาดนี้มีเกิดขึ้นมาก  เป็นสำคัญสำหรับผู้มีอำนาจ  หรือคนใหญ่คนโต  เมื่อต้องการจะทรยศหรืออธรรมต่อผู้อยู่ใต้การปกครอง  หรือเมื่อต้องการจะผิดประเวณี  โดยเข้าใจว่า  การอ้างเช่นนั้น   จะทำให้พ้นจากการลงโทษ  และความโกรธกริ้ว   ของพระองค์  และความเข้าใจดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับเป็นการอนุญาต  สิ่งที่พระองค์ทรงห้าม  เช่น  การทรยศ  อธรรม  หรือผิดประเวณี  ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นกุฟร    والعيادبالله   
   
           ในทำนองเดียวกัน  ไม่อนุญาตให้ยึดถือตามหลักฐาน  (คำอ้าง)  ข้างต้น  หลังงจากที่ได้ทำมั๊วะซิยัตแล้ว  ทั้งนี้หากมีเจตนาให้พ้นการลงโทษหรือประจาน  ตามความผิดที่ได้กระทำ

           แต่หากมีเจตนาในคำอ้างนั้น  เพื่อให้พ้นการครหาหรือร่ำลือ  จึงจะอนุญาตให้ยึดเป็นหลักฐานอ้างอิงได้  แต่ก็ไม่อนุญาตให้ยินดีกับม๊ะซิยัตนั้น  ถึงแม้ว่าจริง ๆ  แล้วมันเกิดขึ้นจากอิรออัตของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ก็ตาม   ก็เป็นที่ต้องห้าม  เพราะการยินดีในม๊ะซิยัตนั้น   เป็นม๊ะซิยัตด้วย  และจำเป็นต้องยอมรับหรือยินดีว่า   การที่ม๊ะซิยัตเกิดขึ้นนั้น  เกิดขึ้นจากการที่พระองค์มีอิรอดัตเพราะนั่นเป็นการยินดีหรือยอมรับในหลักปฏิบัติของพระองค์

           และซีฟัตมุสต้าอี้ลซึ่งเป็นซีฟัตที่ตรงกันข้ามกับ   إرادة    นั้นคือ  มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัลเลาะห์ (ซ.บ.)มิได้เจตนา  เช่น  เกิดขึ้นโดยถูกบังคับ  หรือหลงลืม  หรือเกิดขึ้นโดยมีสาเหตุหรือโดยธรรมชาติ  ความแตกต่างระหง่างสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุกับที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินั้น  คือ สิ่งที่มีขึ้นจากการมีสาเหตุนั้น  มันก็จะต้องรอให้มีเหตุเกิดขึ้นก่อนโดยไม่คำนีงถึงสิ่งอื่นใด  ดังนั้นเมื่อพบสาเหตุก็จะพบมัน  เช่น  นิ้วกะดิก  แท้จริงมันคือเหตุที่ทำให้แหวนกระดิก  ดังนั้น  เมื่อสิ่งแรกเกิดขึ้น  สิ่งที่สองก็ต้องเกิดขึ้น  ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นทางธรรมชาตินั้น   มันต้องรอเงื่อนไข  และไม่มีสิ่งขวางกั้น  เช่น  ไฟ  มันจะไม่เผาไหม้   นอกจากต้องสัมผัสซึ่งเป็นเงื่อนไข  และไม่เปียกซึ่งเป็นสิ่งขวางกั้น

           ดังนั้น ใครเชื่อ  (เอี๊ยะติกอด)  ว่า  สิ่งต่าง ๆ นั้น  ให้ผลลัพธ์จากสาเหตุหรือจารธรรมชาติ  อันหมายถึงด้วยกับตัวของมันเอง  ถือว่าผู้ที่เข้าใจทำนองนั้นกุฟร   โดยไม่มีการขัดแย้งกันในหมู่นักวิชาการ

           และใครเชื่อ  (เอี๊ยะติกอด)  ว่า  สิ่งต่าง  ๆ  ให้บังเกิดหรือผลลัพธ์  หรือให้ผลงานได้ด้วยกับพลังหรือความสามารถ     ที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ให้มีอยู่ในสิ่งนั้นถือว่า  ผู้ที่เชื่ออย่างนั้นเป็นคนฟาซิก  เป็นคนบิดอะห์  ส่วนจะถือว่าเป็นกุฟรหรือไม่นั้น   นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกัน   ซึ่งนักวิชาการที่รอแญะฮ์กว่ามีทัศนะว่า  ไม่ถึงกับเป็นกุฟร

           และมีบางท่านเชื่อ  (เอี๊ยะติกอด)  ว่าบ่าวนี้ให้บังเกิดผลงานตามที่ได้กระทำด้ยกุดรัตที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)ให้มีอยู่ในสิ่งนั้น

           และใครเชื่อ  (เอี๊ยะติกอด)  ว่าอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  เท่านั้นเป็นผู้มีผลงาน  แต่ก็ผูกพันกับสาเหตุตามวิสัยซึ่งสอดคล้องกับปัญญา  โดยมิอาจจะเป็นไปอย่างอื่นได้  ถือว่าเป็นคนโง่ในแก่นแท้ของหู่ก่มอาดี  วึ่งอาจถึงกับเป็นกุฟรได้

           และใครเชื่อ  (เอี๊ยะติกอด) ว่า บรรดาสาเหตุต่าง  ๆ  นั้น เป็นของที่เพิ่งเกิดขึ้น (ของใหม่)  และสาเหตุนั้น  มิได้บังเกิดผลงาน  ตลอดจนธรรมชาติก็มิได้ให้บังเกิดและในทางพลังที่ว่าพระองค์ให้มีอยู่ในสิ่งใด  ๆ  ก็มิได้ให้บังเกิดผลงานด้วย  และยังเชื่อ  (เอี๊ยะติกอด) ว่า  อาจไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือเหตุผล  เช่น  พบเหตุอันได้แก่การกิน  แต่ไม่พบผลของเหตุนั้น  อันได้แก่การอิ่ม  โดยเชื่อว่า  ผู้ที่ให้ผลดังกล่าวนั้นคืออัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ผู้ที่เชื่อเช่นนี้แหละ  ผู้ที่รู้จักคำว่า  เอกภาพ  เป็น  ผู้ที่พ้นความผิดด้วยความรัก  และความกรุณาของพระองค์

           พึงรู้ว่า  อิรอดัต   ตามความเข้ามจของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์นั้น  มิใช่หมายถึงใช้  ยินดีและรู้พร้อม ๆ  กันเสมอ  กล่าวคือ  บางครั้งพระองค์ต้องการพร้อมทั้งใช้และยินดีไปพร้อม ๆ กัน  เช่นอีหม่านของอะบูบักร  ร.ด.  และบางครั้งไม่ต้องการ  และไม่ยินดี  เช่น  การเป็นกุฟรของอบูบุกร  และในบางครั้งมีความต้องการ  แต่มิได้ใช้  มิได้ยินดี  เช่นการเป็นกุฟรของฟิรอูน  และในบางครั้งใช้และยินดี  แต่มิได้ต้องการ  เช่น  การเป็นผู้มีอีหม่านของฟิรอูน  ดังกล่าวนี้  มีวิทยปัญญา  แฝงอยู่    لايسأل عما يفعل وهم يسأ لون     “พระองค์จะไม่ถูกถามในสิ่งที่พระองค์กระทำ  และพวกเขาคือผู้ที่จะถูกถาม”

           จึงสรุปได้ว่า  อิรอดัตนี้มีอยู่  4  ประการ  โดยมีความยินดีอยู่กับใช้เสมอ

           แผนภูมิสรุปอิรอดัต


 
           สำหรับหลักฐาน  “อิรอดัต”  นั้นคือ  หากพระองค์ไม่มีเจตนา  (อิรอดัต)  พระองค์ก็ไม่มีความสามารถเพราะกุดรัต  (พลัง  ความสามารถ)  นั้น  จะไม่ปฏิบัติหน้าที่  นอกจากต้องมีอิรอดัตอยู่ก่อน  ซึ่งการลำดับเช่นนี้   เป็นตามกฏเกณฑ์ทางปัญญา

           ดังนั้น  หากพระองค์ไร้พลัง  ความสามารถ  พระองค์ก็ไม่สามารถให้บังเกิดสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ได้  ความเข้าใจดังกล่าวนั้น  จึงเป็นอันตกไป  เนื่องจากตาของเราได้เห็นผลงานของพระองค์แล้ว  ดังนั้น   จึงเป็นที่น่านอนว่าพระองค์ทรงพลัง  และความสามมารถ  และเมื่อพระองค์ทรงพลัง  (กุดรัต)  พระองค์ก็ต้องทรงเจตนา  (อิรอดัต)  และเมื่อพระองค์มีเจตนา  ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะมีบางอย่างเกิดขึ้นได้โดยที่พระองค์มิได้มีเจตนาให้บังเกิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 01, 2011, 03:20 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ก.ย. 16, 2008, 09:00 AM »
0
อัสสลามุ อลัยกุม

             ดีมากๆ เลยครับ ที่เอามานำเสนอ ซึ่งก่อนหน้านี้บังอัลฯ ก็เอามานำเสนอแล้ว โดยแยกเป็นหลายๆ กระทู้ตามหัวข้อๆ ไป ซึ่งผมก็ได้รวบรวมแล้ว แต่เสียดายข้อมูลดังกล่าวได้หายไปพร้อมกับแฮนดี้ตอนผมไปปทุมฯ ช่วงปิดเทอมใหญ่ที่ผ่าน พลอยทำให้ข้อมูลอื่นๆ ที่เตรียมจะลงให้พี่น้องได้โหลดกันในรูปของเวิร์ดหายไปด้วย (เป็นการหายของข้อมูลครั้งที่สอง ที่หายไปจนหมดเกลี้ยงจริงๆ ก็ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บนี้เสียส่วนใหญ่นั่นแหละครับ) จึงต้องเริ่มที่ศูนย์ใหม่อะครับ พี่น้อง ว่าๆ ไปแล้ว ผมรู้สึกละอายแก่ใจมากๆ ที่พูดว่าจะทำนั่นทำนี่ แต่ก็ยังไม่ได้นำเสนอสักที ขอมาอัฟพี่น้องด้วยละกันครับ

วัสสลามุ อลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ ad-dalawy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 193
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ก.ย. 16, 2008, 09:33 AM »
0

ดีมากมายเลยครับ  ญะซากัลลอฮุคอยร็อน...  นำเสนอมาเรื่อยๆ ครับ  แล้วจะติดตามก็อบเก็บเอาไว้  อินชาอัลเลาะฮ์

ออฟไลน์ itoursab

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ก.ย. 16, 2008, 01:56 PM »
0
ขอบคุณครับ
(แต่แผนภูมิสรุปอิรอดัต ไม่ทราบอย่างไรนะครับ)
คอยอ่านต่อครับ

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ก.ย. 16, 2008, 04:30 PM »
0
 salam
ไม่ทราบสาเหตุเหมือนกันครับ  ทำไมตารางอิรอดัตก๊อปมาแล้วไม่ติดจะพยามดูครับ
   9.   อิลมุน   แปลว่า  “รู้”  เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิม  เป็นซีฟัตที่ปรากฏอยู่ที่ซ๊าตของพระองค์  ซึ่งมีผลทำให้พระองค์รับรู้ในสิ่งทั้งมวลตามสภาพที่ตรงกับสิ่งนั้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่วาญิบ  ฮาโรส   และแม้แต่มุสต้าฮี้ลก็ตาม  ดังกล่าวนั้น  เป็นการรู้ที่ครอบคลุม  เป็นการรู้อย่างละเอียด  และโดยไม่เคยไม่รู้มาก่อน  (หมายถึงความรู้ของพระองค์นั้น  มิได้หมายความว่า  พระองค์เคยไม่รู้มาก่อน)  (รู้มาแต่เดิม)

   ซีฟัตนี้มีหน้าที่   تعلق    ในลักษณะเดียว  นั่นคือ   تنجيزي قديم    อันหมายถึงอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ทรงรู้ถึงทุกสิ่ง  ทุกประการตั้งแต่อะซัลลีย์  (บรรพกาล)  แม้ว่า  บางสิ่งเหล่านั้น  จะไม่มีที่สิ้นสุดก็ตาม  เช่น  จำนวนความสมบูรณ์ของพระองค์  ตลอดจนจำนวนลมหายใจของชาวสวรรค์

   และซีฟัตมุสต้าฮี้ล  ซึ่งเป็นซีฟัตตรงกันข้ามกับ  “อิลมุน”  คือ  “ไม่รู้”  หรือ  “โง่”

   สำหรับหลักฐานที่ว่า  พระองค์ทรงมีความรู้นั้นคือ  หากพระองค์โง่  พระองค์ก็ไม่รู้  ซึ่งเป็นเรื่องมุสต้าฮี้ล  (สติปัญญาไม่ยอมรับ)  เพราะได้เป็นที่ยืนยันแล้วว่า  พระองค์ทรงมีเจตนา  ตามหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว  ด้วยเหตุนี้  พระองค์จึงเป็นผู้ทรงรู้  และเมื่อเป็นที่ชัดเจนเช่นนี้   ความไม่รู้  หรือ  โง่  ก็ต้องไม่เป็นคุณลักษณะของพระองค์

   10.   หะยาต  แปลว่า  “ชีวิต”  เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิม  สถิตย์อยู่ที่ซ๊าตของอัลลอฮ์  (ซ.บ.)  และด้วยคุณลักษณะประการนี้  ที่ทำให้พระองค์ทรงความรู้ตลอดจนคุณลักษณะอื่น  ๆ  (หมายถึงหากไม่มีชีวิต  ก็ไม่มีความรู้  และไม่มีซีฟัตอื่น ๆ)   

   การมีชีวิตของพระองค์นั้น  มิใช่มีด้วยวิญญาน  จึงไม่อนุญาตให้เอี๊ยะติกอดว่าพระองค์มีวิญญาน  แม้จะเอี๊ยะติกอดว่า  เป็นวิญญาณที่มีมาแต่เดิมก็ตาม

   ซีฟัตหะยาตนี้   ไม่มีหน้าที่   تعلق    กับสิ่งใด  ๆ  เลย  และซีฟัตมุสต้าอี้ลที่ตรงกันข้ามกับหะยาตคือ  “ตาย”

   สำหรับหลักฐาน  “หะยาต” ของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  คือ  หากพระองค์ตาย  พระองค์ก็ไม่มีความสามารถ  ไม่มีเจตนา  ไม่มีความรู้  ซึ่งเป็นไปไม่ได้  (มุสต้าฮี้ล)  เพราะเป็นที่แน่ชัดมาแล้วว่าพระองค์ทรงคุณลักษณะดังกล่าว   ทั้งนี้โดยหลักฐานมากมายดังได้กล่าวมาแล้ว  จึงเป็นที่ชัดเจนว่า  พระองค์ทรงมีชีวิต  (หะยาต)  เมื่อเป็นดังนั้น  จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะไม่มีชีวิต (ตาย)

   11.   ซะมะ  แปลว่า   ได้ยิน

   12.   บาศ๊อร  แปลว่า  เห็น

   ทั้งสองซีฟัตนี้เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิมต่างก็สถิตอยู่ที่ซ๊าตของอัลเลาะห์  มีหน้าที่เปิดเผยให้พระองค์ทรงได้ยิน  และเห็นของที่มี  ไม่ว่าจะเป็นซ๊าต  เป็นสี  เป็นเสียง  หรืออื่น ๆ  ทั้งสองซีฟัตนี้มีหน้าที่เปิดเผย   إنكشاف   เช่น  หน้าที่  تعلق        ของ  “อิลมุน”  เป็นต้น

   และเราจำเป็นจะต้องเอี๊ยะติกอดว่า    إنكشاف    ที่ได้จาก  “ซะมะ”  นั้น  ไม่ใช่หรือไม่เหมือนกับ   إنكشاق   ที่ได้จาก  “บะศ๊อร”   และ    إنكشاف    ที่ได้จากทั้งสองนี้ก็ไม่เหมือนกับ   إنكشاف   ที่ได้จากอิลมุน

   และ  إنكشاف    ทั้งสามนี้  จะเป็นเช่นไรนั้น  เป็นสภาพที่เราจะต้องมอบแด่พระองค์ท่าน

   สำหรับ  “ซะมะ”   และบะศ๊อรนี้มีสามหน้าที่    คือ

   (1)   تعلق تنجيزي قديم     คือ  หรือหน้าที่ของทั้งสอง   (ซะมะ   และบซ๊อร)   มีมีต่อซ๊าตของอัลเลาะห์ (ซ.บ.) และบรรดาซีฟัตของพระองค์

   (2)   تعلق صلوحي قديم    คือ  หรือหน้าที่ของ  ซะมะและบะศ๊อรที่มีต่อพวกเราก่อนจากมีพวกเรา

   (3)    تعلق تنجيزي حادث   คือ  หรือหน้าที่ของซะมะและบะศ๊อรที่มีต่อพวกเราหลังจากมีพวกเราแล้ว 

   และซีฟัตมุสต้าฮี้ลที่ตรงกันข้ามกับ   “ซะมะ”  คือ  “หนวก”  และที่ตรงกันข้ามกับบะศ๊อร  คือ  “บอด”  สำหรับหลักฐานซะมะ  และบะศ๊อร  คือ  อัลกุรอ่านที่ว่า
وهوالسميع البصيرا
ความว่า   “และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน  ผู้เห็น”

   และหลักฐานของ  “ซะมะ”  และ  “บะศ๊อร”  นั้น  หากพระองค์ไม่ทรงคุณลักษณะทั้งสองนี้  แต่แท้พระองค์ก็ต้องหนวก  และบอด  ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
   13.   กะลาม  แปลว่า  “พูด”  เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิมซึ่งสถิตอยู่ที่ซ๊าตของพระองค์ที่แสดงออกหรือเป็นสื่อความหมายในทุกประการ   ไม่ว่าจะเป็นวาญิบ  ญาอิสหรือมุสต้าฮี้ล  คำพูดของพระองค์นี้ไม่มีเสียง  และไม่มีอักษร  และตลอดจนคุณลักษณะใด  ๆ  ที่เหมือนกับคำพูดของมัคลู๊ก  คำพูดของพระองค์นี้มี   تعلق   คือ  มีหน้าที่หรือมีความสามารถพูดได้ในทุกเรื่อง  เหมือนกับหน้าที่ของอิลมูลดังได้กล่าวแล้ว  แต่มีต่างกันตรงที่       تعلق  ของอิลมูนนั้น  เป็น   تعلق انكشاف  (หน้าที่ในการรับรู้)   และ    تعلق كلام     นั้นเป็น    تعلق دلالة     (การแสดงออกหรือสื่อความเข้าใจ   อันหมายถึงทำให้เข้าใจ)  นั่นเอง 

   และ   تعلق كلام     อันหมายถึงคำพูดของพระองค์เมื่อพูดในสิ่งที่ไม่ใช่คำบัญชา  หรือคำห้าม  เรียกว่า   تنجيزي قديم      สำหรับในคำใช้   หรือคำห้ามนั้น  หากมิได้มีเงื่อนไขว่า   “มีผู้รับบัญชาใช้หรือห้าม”  เรียกว่า   تعلق كلام    ในลักณะเช่นนี้ว่า   تنجيزي قديم    เช่นกัน

   แต่หากมีเงื่อนไขว่า  “มีผู้รับบัญชาใช้หรือห้าม”   เรียกว่า   تعلق كلام     นั้นว่า   تعلق صلوحي قديم   ดังกล่าวนี้   เมื่อพิจารณาถึงเวลาก่อนจากจะมีผู้สนองคำบัญชา  แต่เมื่อพิจารณาถึงในตอนหลังจากมีผู้สนองคำบัญชาแล้ว   ก็จะเรียกว่า    تنجيزي حادث     

   ซีฟัตมุสต้าอี้ลที่ตรงกันข้ามกับ   กะลามก็คือ  “ใบ้”  หรือมีเสียง  มีอักษร  ฯลฯ  อยู่ในคำพูดของพระองค์

   หลักฐานที่ว่าอัลเลาะห์ (ซ.บ.)ท่านพูดได้นั้นคืออัลกุรอานที่ว่า
وَكَلَّمَ الله مُوْسى تكليما
ความว่า  “อัลเลาะห์  (ซ.บ.)   ทรงพูดกับมูซา”
   หมายความว่า    อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ท่านได้เปิดม่านให้ท่านนะบีมูซาและทำให้นะบีมูซาได้ยินคำพูดของพระองค์ที่มีอยู่แต่เดิม  มิได้หมายความว่า  พระองค์เพิ่งพูด  แล้วจะนิ่งหลังจากพูดเสร็จ  เพราะพระองค์นั้น   ทรงพูดอยู่เสมอ  (จงเข้าใจในคำว่าพูดของอัลเลาะห์ (ซ.บ.)ท่านให้ดีเสียก่อน  แล้วค่อยมาพิจารณาว่า  อัลเลาะห์  (ซ.บ.)พูดอยู่เสมอ  เพื่อจะได้ไม่ประหลาดใจในคำที่ว่า  พระองค์ทรงพูดอยู่เสมอนี้)

   และหลักฐานอีกแบบหนึ่งของกะลามนี้ก็คือ  หากพระองค์ไม่พูด   พระองค์ก็ใบ้ซึ่งใบ้นั้นเป็นคุณลักษณะที่บกพร่อง  กล่าวคือเป็นสิ่งที่มุสน้าอ็ล  พระองค์จึงต้องทรงคุณลักษณะ  กะลาม (พูดป  ดังนั้น  เมื่อพระองค์พูดได้  ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจว่า  พระองค์ทรงใบ้
   ซีฟัตที่หนึ่งคือ  (วุญูด)  ของซีฟัตต่าง ๆ  ที่กล่าวมานี้มีชื่อเรียกว่า    صفة نفسية     เป็นซีฟัตที่เกี่ยวข้องกับการมีซ๊าตเท่านั้น
   
   และอีกห้าซีฟัตถัดจากนั้น  (กิดัม  บะกอ  มุคอละฟะตุฮู ฯ  กิยามุฮู ฯ  วะห์ดานียะห์)  คือ   صفة سلبية    คำว่า  سلب   หมายถึงปฏิเสธเพราะซีฟัตทั้งห้านี้ปฏิเสธคุณลักษณะที่บกพร่องออกจากอัลเลาะห์  (ซ.บ.)

   และอีกเจ็ดซีฟัติถัดไป  (กุดรัต  อิรอดัต  อิลมุน  หะยาต  ซะมะ  บะศ๊อร  กะลาม)   เรียกว่า    صفات معاني    (ซีฟัตที่เกี่ยวกับความหมาย)   เพาะเป็นความหมายแสดงถึงสภาพการต่าง ๆ   ที่สถิตย์อยู่ที่ซ๊าตของอัลเลาะห์ (ซ.บ.)



 


   ทั้งหมดที่กล่าวมานี้   คือ  13  ซีฟัต  พร้อมบรรดาซีฟัตมุสต้าฮี้ล  และบรรดาหลักฐาน   ที่เราจำเป็นต้องรู้ในรายละเอียด  ตามทัศนะของอุละมาอ์ที่รอแญะฮ์    คือ  ทัศนะของอิหม่ามอัชอารีย์

   ส่วนทัศนะของกอดี  และอีมามุ้ลหะรอมัยน์นั้น   กล่าวว่า   ซีฟัตที่เราจำเป็นจะต้องรู้ในรายละเอียดมีทั้งหมด  20  ซีฟัต   โดยเพิ่มซีฟัตม๊ะนาวียะฮ์อีกเจ็ดซีฟัต  ซึ่งฟัต   ซึ่งท่าน  เชค  สนูซีย์ได้ดำเนินตามทัศนะนี้ไว้ในหนังสือของท่าน   ชื่อ  อุมมุ้ลบะรอฮีน     ทัศนะนี้เป็นทัศนะที่นิยมศึกษากันในปัจจุบัน

   เจ็ดคุณลักษณะนั้นคือ
      (1)   كَوْنُهُ قادرا    ความว่า   อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ทรงเป็นผู้มีความสามารถ  (ผู้ทรงพลัง)   โดยมีซีฟัตมุสต้าฮี้ลว่า   อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ทรงไร้ความสามารถ

   ความหมายของคำว่า   ผู้มีความสามารถหรือผู้ทรงพลังนั้นคือ “การที่ความสามารถ หรือตัวพลังมีอยู่ที่ซ๊าตของพระองค์”     ดังกล่าวนี้เป็นการให้ความหมายของทัศนะที่หนึ่ง  (คือทัศนะของอีหม่ามอัชอารีย์)   ส่วนทัศนะที่สองคือ  (ทัศนะของกอดีและอิมามุ้ลหะรอมัยน์)  กล่าวว่าเป็น  “สภาพอันหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างมี   และ  ไม่มี   ที่แยกกันไม่ออกกับกุดรัต”

   เช่นนี้แหละในอีก  6  ซีฟัตต่อไปนี้

      (2)   كونه مريدا    ความว่า  พระองค์ทรงเจตนา  ซึ่งมีซีฟัต   มุสต้าฮี้ลว่า   มีบางอย่างเกิดขึ้นโดยพระองค์มิได้มีเจตนาให้เกิด

      (3)   كونه عالما       ความว่า      พระองค์ทรงรู้   ซึ่งมีซีฟัตมุสต้าฮี้ลว่า  พระองค์ไม่มีความรู้

      (4)   كونه حيا       ความว่า    พระองค์ทรงมีชีวิตทรงมีชีวิต   ซึ่งมีซีฟัตมุสต้าฮี้ลว่า  พระองค์ตาย  (ไม่มีชีวิต)

      (5)   كونه سميعا   ความว่า   พระองค์ทรงได้ยิน  ซึ่งมีซีฟัต  มุสต้าฮี้ลว่า  พระองค์หนวก  (ไม่ได้ยิน)

      (6)   كونه بصيرا   ความว่า    พระองค์ทรงเห็น   ซึ่งมีซีฟัตมุสต้าฮี้ลว่า   พระองค์บอด  (ไม่เห็น)

      (7)   كونه متكلما     ความว่า      พระองค์ทรงพูด   ซึ่งมีซีฟัตมุสต้าฮี้ลว่า  พระองค์ใบ้  (พูดไม่ได้)

   สำหรับหลักฐานของบรรดาซีฟัต (คุณลักษณะ)  ข้างต้น  ตามทัศนะที่ว่า  ต้องมีซีฟัตเหล่านี้  คือ  หลักฐานต่าง ๆ  ที่กล่าวมาแล้วในซีฟัตมะอานี
   บรรดาซีฟัตเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า  ซีฟัตม๊ะนาวียะฮ์  คือ  ซีฟัตที่เกี่ยวข้องกับซีฟัตมะอานีย์   ทั้งนี้เพราะซีฟัตเหล่านี้แยกกันไม่ออกกับซีฟัตมะอานีย์

   พึงรู้ว่า   คำว่า   الكون قادرا    คือพระองค์ผู้ทรงพลัง   الكون مريد    คือพระอง๕ผู้ทรงเจตนา    الكون عالم    (คือพระองค์ผู้ทรงรอบรู้  และ   الكون     อื่น ๆ   นั้น  เป็นซีฟัตที่ต้องปรากฏแน่นอน   โดยไม่มีการขัดแย้งกันในหมู่นักวิชาการ   ซึ่งต่างก็ถือว่าวาญิบต้องมีที่อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  แน่   ทัศนะดังกล่าวนี้เป็นของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์   มั๊วะตะซิละห์  ตลอดจนแนวทางของปวงปราชญ์ที่ยืนยันว่าต้องมี     أحْوال     และปฏิเสธในเรื่อง  أحوال    การที่อุละมาอ์มีทัศนะต่างกันนั้น  ตรงที่เป็นซีฟัตนอกเหนือไปจากวีฟัตมะอานีย์หรือไม่   ซึ่งเป็นเรื่องของการพิจารณา   أمورإعتبارية       คือสิ่งที่พิจารณากันทางใจเท่านั้น  มิใช่เรื่องที่ปรากฏทางภายนอก  เมื่อเป็นเช่นนี้   การที่อุละมาอ์บางกลุ่มปฏิเสธในเรื่อง    أحوال    นั้น   เป็นการปฏิเสธในส่วนเกินไปจากซีฟัตมะอานีย์   มิใช่ปฏิเสธในการมีคุณลักษณะมะอานีย์เหล่านั้น   เพราะการปฏิเสธซีฟัตมะอานีย์นั้น   ถือเป็นกุฟร   เนื่องจากเป็นซีฟัตที่ปวงปราชญ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า   พระองค์ทรงคุณลักษณะดังกล่าว   จนไม่จำเป็นต้องนับจำนวนในรายละเอียด   ดังกล่าวนี้เป็นทัศนะที่รอแญ๊ะฮ์   และจำเป็นต้องมีอีหม่านด้วยเพราะเป็นส่วนหนึ่งจากความสมบูรณ์

   การปฏิเสธซีฟัตนัฟซียะฮ์   หรือซีฟัตใด ๆ  จากซีฟัตซัลบียะฮ์นั้นถือว่าเป็นกุฟร  หรือเชื่อในทำนองว่า  ซีฟัตเหล่านี้เป็นของใหม่  หรือสงสัยว่าเป็นของเก่าหรือของใหม่หรือสงสัยว่ามีมาแต่เดิมหรือเปล่า  หรือไม่สนใจว่า  จะใหม่หรือเก่า

   สำหรับการปฏิเสธซีฟัตมะอานีย์   เช่น  มี๊วะตะซีละฮ์ที่กล่าวว่า   อัลเลาะห์ (ซ.บ.)ไม่มีซีฟัตมะอานีย์  แต่เชื่อว่าอัลเลาะห์ (ซ.บ.)เป็นผู้ทรงพลังด้วยซ๊าตของพระองค์  มีเจตนาด้วยกับซ๊าตของพระองค์   เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นกาเฟร   แต่ถือว่าเป็นฟาซิก   เป็นมุบตะเดี๊ยะอ์  นอกจากเมื่อปฏิเสธซีฟัตมะอานีย์แล้ว   ไปยืนยันซีฟัตที่ตรงกันข้ามด้วย  เช่นนี้เป็นกาเฟร   แน่นอน       والعيادبالله تعا لى     

     ทัศนะของกอดีและอิมามุ้ลหะรอมัยน์ว่าต้องมีซีฟัตอิดร๊อก      ความว่า  “รู้สึก”   ซีฟัตนี้  ตามทัศนะของเขาถือว่า   เป็นซีฟัตที่มาแต่เดิมสถิตอยู่ที่ซ๊าตของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ทำให้พระองค์มีความรู้สึกเมื่อกระทบ  หรือจูบ  จุมพิต  โดยไม่ต้องติดต่อกับสิ่งที่กล่าวมาแล้ว  และบางทัศนะว่า  มีความรู้สึกกับทุก ๆ  สิ่งที่มีอยู่แล้ว  มีมุสต้าฮี้ลว่าไม่มีความรู้สึกต่อสิ่งใด ๆ
    
   มาตุรีดียะห์   ยังได้กล่าวถึงซีฟัตตักวีน    تكوين     ความว่า  “ทำให้มี”   ซึ่งถือว่า   เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิม  สถิตย์อญุ่ที่ซ๊าตของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)   ด้วยการมีซีฟัตนี้  ทำให้อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  บังเกิดหรือทำให้อัลเลาะห์ทำลายสิ่งที่มีอยู่แล้ว  แต่มีชื่อเรียกให้ต่างกัน  กล่าวคือ  หาก   تعلق    ทำให้บังเกิดเรียกว่า     إيجاد     และ   تعلق   ทำให้มลาย   เรียกว่า     إعدام      ให้มีชีวิต  เรียกว่า     إحياء     และหาก  تعلق     ให้ริสกี   เรียกว่า    رازق    เช่นนี้แหละในการ  تعلق    กับสิ่งอื่น ๆ

   ซีฟัต     تكو ين    นี้  ชาวอาชาอิเราะฮ์ปฏิเสธโดยกล่าวว่า   ซีฟัตนี้คือ     تعلق تنجيزي حادث    ของ  قدرة   และซีฟัตมุสต้าฮิ้ลของ   تكوين     นี้ก็คือ  ไม่สามารถให้บังเกิด  (ไม่สามารถประกาศิต)
   ตามทัศนะที่ถือว่า   อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ท่านมีคุณลักษณะที่เรียกว่า    إدراك    และ   تكوين    นั้น  บรรดาอุละมาอ์ในยุคหลัง ๆ  ทีมีความลึกซึ้งกล่าวเสริมว่า   ควรจะได้เพิ่มซีฟัตม๊ะนาวียะฮ์ให้แก่สองซีฟัตนี้ดวย  คือ

   1.   كونه تعالى مدركا      ความว่า   อัลเลาะห์ (ซ.บ.)ทรงรู้  สัมผัสได้  ซึ่งผูกพันอยู่กับซีฟัต   إدراك   และเป็นมุสต้าฮี้ลด้วยเช่นกัน

   2.   كونه تعالى مكونا          ความว่า   อัลเลาะห์  (ซ.บ.)ทรงให้บังเกิด   (ผ้ทรงประกาศิต)  และซีฟัตมัสต้าฮี้ลด้วยเช่นกัน

   ดังกล่าวนั้น   เมื่อนับจำนวนซีฟัตต่าง ๆ  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  ซีฟัตที่วาญิบสำหรับอัลเลาะห์ท่าน   ก็จะมีจำนวนถึง  ยี่สิบสี่ซีฟัต  และมีมุสต้าฮี้ลยี่สิบสี่ซีฟัตเช่นกัน

   พระองค์อัลเลาะห์  ผซ.บ.)  ท่านจะทรงให้ของมุมกินเกิด  (มีขึ้น)  หรือไม่มีก็ได้   มุมกินนั้นก็คือ  ทุก ๆ  สิ่งที่อาจมีหรืออาจไม่มีก็ได้

   หลักฐานที่ว่า   อัลเลาะห์ท่านาจะให้บังเกิดของมุมกินหรือไม่ก็ได้นั้น  คือ  หากวาญิบ  (จำเป็น)  ที่อัลเลาะห์  (ซ.บ)  ต้องให้บังเกิดสิ่งใด  ๆ  หรือไม่ให้บังเกิดสิ่งใด  ๆ  แน่แท้สิ่งที่ยาอิส   (สิ่งที่ฮาโรส)นั้น  ก็จะกลายเป็นวาญิบหรือก็จะกลายเป็นมุสต้าฮี้ล

   จำต้องเข้าใจได้ว่า   ไม่ได้มีความจำเป็นที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ต้องสร้างหรือต้องทำสิ่งใด  ๆ   จากมุมกิน   แต่ชาวมั๊วะซิละห์เชื่อกันว่า   จำเป็นที่อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ต้องสร้างสิ่งที่มีประโยชน์      ( صلاح     และ   أصلح  )    คือสิ่งที่ดี   และดีเยี่ยม   ซึ่งจริง ๆ  แล้ว  เป็นเพียงเรื่องฮาโรสเท่านั้น     ที่พระองค์จะทรงสร้างสิ่งทั้งสองนั้น  หรือไม่ทรงสร้างสิ่งทั้งสองนั้น  คำว่า  صلاح      นั้นคือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ    صلاح      เช่นให้อาหารที่อร่อยแก่ผู้อื่นกิน   ซึ่งก็ตรงกันข้ามกับให้อาหารที่ไม่อร่อยแก่ผู้อื่นกิน    บางทัศนะกล่าวว่า   ทั้งสองอย่างนั้น  คือ  สิ่งเดียวกัน

   ชาวมั๊วะตะซิล์ยังเชื่ออีกว่า   วาญิบที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)    ต้องแต่งตั้งบรรดาศาสนทูต   ซึ่งจริง  ๆ  แล้วมิได้วาญิบ   หากแต่เป็นเพียงฮาโรสเท่านั้น     ที่พระองค์จะทรงแต่งตั้งหรือไม่

   และชาวมั๊วะตะซีละฮ์ยังปฏิเสธในเรืองการเห็นซ๊าตของอัลเลาะห์   ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเรื่องฮาโรสที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  จะให้เห็นได้  แต่ในดุนยานี้  ยังไม่อาจเห็นได้  นอกจากท่าน นะบี  ศ้อล ฯ  เท่านั้น  ที่ได้เห็นพระองค์ในคืน

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ก.ย. 17, 2008, 09:22 AM »
0
อิสรออ์   ซึ่งได้เห็นอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ด้วยตาของท่านนะบี (ศ้อล ฯ) เอง  และในขณะที่ท่านนบี (ศ้อลฯ)  ตื่น   อันเป็นการเห็นที่ไม่อาจบอกได้ว่า   เป็นอย่างไร   ดังนั้นใครก็ตามที่อ้างว่าเห็นอัลเลาะห์ในดุนยานี้   และในขณะที่ตื่นด้วย  ก็ไม่ต้องสงสัยในการเป็นกุฟรของผู้นั้น  ดังกล่าวนี้  นอกจากท่านนะบี (ศ้อล ฯ)  ดังได้กล่าวแล้ว

   สำหรับการอ้างว่า  เห็นอัลเลาะห์ในขณะนอนหลับนั้น  เป็นเรื่องที่เป็นไปได้โดยมติของนักวิชาการ  แต่ที่แน่ ๆ  นั้น  มุอ์มินทุกคนจะได้เห็นอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ในโลกอาคิเราะห์
   บางส่วนจากของ   ممكنات     มุมกินนั้น  ก็คือการกระทำ  ของปวงบ่าวที่ได้เลือกกระทำ  ซึ่งในเรื่องการกระทำของปวงบ่าวนี้  มีทัศนะ  ต่างกันถึงสามทัศนะ

   1.   مدهب أهل السنة    คือมัสฮับที่ถือว่า    การกระทำใด  ๆ  ที่คิดจะกระทำมันจะไม่เกิดขึ้นได้  นอกจากต้องคิด  และลงมือกระทำด้วย   (ไม่มีการกระทำใด ๆ  ที่อิคติยาร  นอกจากต้องอุซฮา)

   อิคติยาร      นั้นคือ   ใจเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำ
   อุซฮา      นั้นคือ   พลังของบ่าวที่เกิดขึ้นพร้อมกับการกระทำ   

   ดังนั้นมัสฮับอะฮ์ลุซซุนนะฮ์  จึงถือว่า  บ่าวมิได้ถูกบังคับให้กระทำ  ซึ่งไม่เหมือนกับญะบีรียะห์  ที่เชื่อว่า  บ่าวถูกบังคับให้กระทำ

   นอกจากบ่าวจะไม่ได้ถูกบังคับดังกล่าวแล้ว   ปวงบ่าวก็ไม่ได้ให้บัเกิดการกะทำนั้น  อันหมายถึงในแง่ที่ให้ผล  ดังกล่าวนี้  คือ  มัสฮับอะฮ์ลุซซุนนะฮ์

   สำหรับมัสฮับมั๊วะนะซิละฮ์ถือว่า  บ่าวเป็นผู้กะทำ

   2.   مدهب جبرية        คือมัสฮับที่ถือว่า  บ่าวนั้นไม่มีอุซฮาอยู่เลย   กล่าวคือถูกบังคับโดยตลอดเหมือนกับขนสัตว์ที่ลอยอยู่กลางอากาศเมื่อถูกลมพัด   ซึ่งจะลอยไปทางไหนก็อยู่ที่ทิศทางลม

   3.   مدهب معتزلة      คือ  มัสฮับที่ถือว่า  บ่าวเป็นผู้กำหนดการกะทำที่อิคติยารขึ้นเอง  ทั้งนี้เกิดขึ้นด้วยพลังของดุดรัตที่อัลลอฮ์ให้มีอยู่ที่บ่าว

   เมื่อพิจารณาแล้วจึงเห็นว่า  มัสฮับอะฮ์ลุซซุนนะฮ์นั้น  คือ  มัสฮับที่มีทัศนะเป็นกลางประหนึ่ง   นมที่ออกมาระหว่างเลือดและอุจจาระ   (คือไม่ใช่เลือด  และก็ไม่ใช่อุจจาระ  แต่มันคือนมที่สะอาด  ไม่เปื้อนอุจจาระและก็ไม่เปื้อนเลือดด้วย)

   สิ่งที่วาญิบสำหรับบรรดาศาสนทูตมี  4  ประการ

   1.   ซิดกุ   แปลว่า  จริง  สัจจะ (มีสัจจวาจา)   คำว่าสัจจะนั้นคือ  ตรงกับเรื่องราว  ซึ่งวาญิบที่เราทุกคนจะต้องเชื่อ  ในคำบอกเล่าของท่านเหล่านั้น  ที่เกี่ยวกับการเป็นนะบีและการเป็นร่อซู้ล  ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ  ที่ท่านเหล่านั้นนำมาจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  และคำบอกเล่าที่เกี่ยวกับเรื่องเร้นลับ  เช่น  สภาพเหตุการณ์ต่าง  ๆ  ของบรรดานะบี ๆ  ในอดีต  ตลอดจนสภาพต่าง ๆ  ของวันกิยามะฮ์ที่จะมีขึ้นในอนาคต  รวมถึงเรื่องนรก  สวรรค์ด้วย  และอื่น ๆ  แม้จะเป็นคำพูดในเชิงหยอกเย้าก็ตาม  มีซีฟัตมัสต้าฮี้ล  “มุสา”  สำหรับหลักฐานที่ว่าด้วยการมีสัจจวาจาของบรรดาศาสนทูตนั้นคือ   พวกท่านเหล่านั้นมุสา  คำบอกเล่าจากอัลล์ (ซ.บ.)   ก็ต้องเป็นมุสาด้วย  เพราะพระองค์เป็นผู้ยืนยันในการเป็นศาสนทูตของท่านเหล่านั้น  ได้อนุเคราะห์ให้มีมั๊วะยีซัตยืนยันในพระวาจาของพระองค์ที่ว่า   “บ่าวเรืองมุสต้าฮี้ล   จึงเป็นที่แน่ชัดว่า  ท่านเหล่านั้นมีสัจจะวาจา   และเมื่อเป็นเช่นนี้  การที่บรรดาศานสทูตจะมุสาวาจา   จีงเป็นเรื่องมุสต้าฮี้ล

   2.   อะมานะฮ์   แปลว่า  ไว้ใจได้  เชื่อถือได้  ได้รับการปกป้อง  และพิทักษ์ไม่ให้กระทำสิ่งต้องห้าม   หรือสิ่งที่ไม่ควร   ตลอดจนสิ่งที่ไม่คู่ควร  ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย  ไม่หลงเวลาที่ยังเป็นเด็กอยู่หรือโตแล้ว   และทั้งก่อนการเป็นนะบี   และหลังการเป็นนะบีและมุสต้าฮี้ล  “บิดพลิ้ว”  สำหรับหลักฐานที่ว่า  ท่านเหล่านั้นไว้ใจได้หรือเชื่อถือได้นั้นคือหากพวกท่านบิดพลิ้ว  แน่แท้เราก็เป็นผู้ถูกใช้ให้บิดพลิ้ว  แต่เราก็ไม่ได้ถูกใช้ให้ปฏิบัติเช่นนั้นเพราะพระองค์มิได้ใช้ให้เราทำชั่วใด ๆ เลย

   3.   ตับลีฆ  แปลว่า  นำทุกสิ่งที่ได้รับมาเผยแพร่แก่ชาวโลก

   วะฮีของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ที่ประทานมายังศาสนทูตนั้น  แบ่งออกเป็นสามประเภทคือ 

   ก.   พระองค์ใช้ ศาสนทูตไม่ให้มาเผยแพร่แก่ชาวโลก  ซึ่งในเรื่องเช่นนี้ท่านเหล่านั้น  จะ   นำมาเผยแพร่ไม่ได้ (ไม่อนุญาต)

   ข.   พระองค์ใช้ให้ศาสนทูตเลือกว่า  จะนำมาเผยแพร่หรือไม่   ซึ่งก็เป็นที่   อนุญาตที่พวก   ท่านเหล่านั้นจะเผยแพร่หรือไม่เผยแพร่ก็ได้

   ค.   พระองค์ทรงใช้ให้ศาสนทูตเผยแพร่   ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้นำมาเผยแพร่  โยมิได้อำ   พรางหรือปิดบังแต่ประการใด

   มีมุสต้าฮี้ลว่า   “อำพรางหรือปิดบัง”  สิ่งต่าง ๆ  สำหรับหลักฐานที่ว่า  ศานทุตเผยแพร่สิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์บัญชานั้น  คือ  หากศานทูตปิดบังหรือำพรางสิ่งต่าง ๆ  ที่ได้รับบัญชามาให้เผยแพร่  เราก็ต้องถูกใช้ให้ปิบังความรู้  เพราะพระองค์ใช้เราปฏิบัติตามศาสนทูตเหล่านั้น  ซึ่งแน่นอนเป็นไปไม่ได้ที่เราจะถูกใช้ให้อำพรางหรือปิดบัง  เพราะผู้ที่ปิดบังความรู้นั้น  เป็นผู้ที่น่ารังเกียจ  จึงเป็นที่แน่นอนว่า   ท่านเหล่านั้น  ทำการเผยแพร่และมุสต้าฮี้ลที่ว่า  อำพรางหรือปิดบังจึงเป็นสิ่งที่เชื่อไม่ได้

   4.   ฟะตอนะฮ์  แปลว่า  ฉลาด  สามารยับยั้งคำพูดของฝ่ายค้านได้  ทั้งนี้โดยหลักฐาน  และสามารถลบล้างคำอ้างของฝ่ายค้านที่ ผิด ๆ  นั้นได้ด้วย   และมีมุสต้าฮี้ลว่า  “โง่”   สำหรับหลักฐานที่ว่า  ศานนทูตมีความเฉลียวฉลาดนั้นคือ  หากศาสนทูตไม่มีความเฉลียวฉลาด  ท่านเหล่านั้นก็ไม่สามารถอ้างหลักฐานลบล้างฝ่ายค้านได้  ซึ่งเป็นเรื่องมุสต้าฮี้ล  เพราะอัลกุรอ่านได้ระบุยืนยันว่า  ท่านเหล่านั้น  นำหลักฐานต่าง  ๆ  มายืนยันเพื่อลบล้างฝ่ายค้านได้จึงเป็นที่แน่นอนถึงความฉลาดของบรรดาศาสนทูต  เมื่อเป็นเช่นนี้  “โง่”  จึงเป็นเรื่องมุสต้าฮี้ล

   ฮาโรส  หรือเป็นที่อนุญาตสำหรับบรรดาศาสนทูตให้มีลักษณะโดยทั่ว ๆ  ไปเหมือนมนุษย์ที่ไม่ทำให้สถานภาพการเป็นศาสนทูตต้องบกพร่อง  เช่น  กิน  ดื่ม  ป่วย  หยอกล้อที่อนุญาตบรรดาศาสนทูตนั้น  ไม่มีลักษณะของการเป็นพระเจ้า  หรือลักษณะของมะลาอิกะฮ์  เช่น  ไม่กิน  ไม่ดื่ม  ไม่นอนเป็นต้น   เช่น  สิ่งที่ทำให้เสียศักดิ์ศรี  หรือเสียเกียรติ  ตลอดจนไม่คลาดแคล้ว  จากการกะทำที่ไม่เหมาะสม  เช่น  ทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม  และทำในสิ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องต่อหิกมะฮ์ที่อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ได้แต่งตั้งท่านเหล่านั้น   ซึ่งหิกมะฮ์ดังกล่าวนั้นคือ  กระทำตามหลักการที่ศาสนาบัญญัติด้วยการเผยแพร่สู่ประชากร  จนเป็นที่ยอมรับของปวงประชากร  ในสิ่งที่ท่านเหล่านั้นนำมา  ตัวอย่างของสิ่งที่ทำให้เสียศักดิ์ศรีหรือเสียเกียรติของการเป็นศาสนทูตนั้น  เช่น สติปัญญาไม่เฉียบแหลม  ชาติตระกูลไม่ดี  หุนหันพัแล่น  ลำพองตน  ตาบอด  และเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ  เป็นต้น

   สำหรับหลักฐานที่ว่า  บรรดาศาสนทูตมีลักษณะทั่ว ๆ ไปเหมือนมนุษย์  เฉพาะในส่วนของลักษณะที่ไม่เป็นสิ่งที่ทำให้หย่อนสถานภาพแห่งเกียรติยศนั้น  เราได้พบอยู่ในท่านเหล่านั้น   (หมายถึงพฤติกรรมวจีกรรม  และมโนกรรมของท่านเหล่านั้นเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชาติอยู่แล้ว)

   บรรดาคุณลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมานี้  มีความสามารถรวมกันอยู่ภายใต้สองประโยคชาฮาดะห์ที่ว่า
لاَإِله إلاَّالله مُحَمَّدٌ رَسُوْلُ الله
“ความว่า”  ไม่มีพระเจ้านอกจากอัลเลาะห์   มูฮัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์”    ซึ่งมีรายละเอียดของการรวบรวมกังกล่าวข้างต้น  ดังต่อไปนี้

   ประโยคแรกคือ  لاَإَله إِلاَّالله     นั้นคือ  ยอมรับในการปฏิเสธการเป็นพระเจ้าอื่นนอกจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  และยืนยันในการเป็นพระเจ้าของพระองค์  คำว่าพระเจ้านั้น  คือผู้ที่ถูกสักการะโดยแท้จริง  (หมายถึงผู้ที่คู่ควรแก่การได้รับสักการะโดยบริสุทธิ์และเที่ยงแท้   ซึ่งเข้าใจได้ว่า  พระองค์มิต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งใด ๆ  หากแต่ทุกสิ่งต้องพึ่งพาอาศัยพระองค์

   ความหมายของประโยค   لاَإِله إِلاَّ الله     นี้คือ  ไม่มีผู้ที่ถูกสักการะโดยเที่ยงแท้ในความเป็นจริง  นอกจากอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ซึ่งเข้าใจได้ชัดเจนว่า........
لاَمُسْتَغْنِيًاعن كُلِّ ما سِوَاه وَلاَمُفْتَقَرًّا إلَيْه كُلِّ ما عَداه إِلاَّ الله
ความว่า    “  ไม่มีสิ่งใดไม่พึ่งพาอาศัยพระองค์  และไม่มีสิ่งใดที่สิ่งต่าง ๆ  ต้องการนอกจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.) เท่านั้น”   

   จากความชัดเจนนี้  ให้ความเข้าใจว่า   คุณลักษณะต่าง ๆ  ตลอดจนหลักความเชื่อต่าง ๆ  ที่มีต่อพระองค์  ได้รวมอยู่ภายใต้ประโยค   لاَإِله إِلاَّ الله    ทั้งหมด

   คำว่า   “อิสติฆนาอ์”   พระองค์ไม่พึ่งพาอาศัยสิ่งใด  ๆ  นั้น  ทำให้เกิดความเชื่อใน

      1.   การมี
      2.   การมีมาแต่เดิม
      3.   การมีอย่างตลอดกาล
      4.   การที่พระองค์ไม่เหมือนสิ่งใด ๆ
      5.   การดำรงด้วยพระองค์เอง

   ตลอดจนทำให้เกิดความเชื่อขึ้นมาว่า  พระองค์ต้อง

      1.   ได้ยิน
      2.   เห็น
      3.   พูด

   และบรรดาซีฟัตมะนาวียะฮ์ของทั้งสามคุณลักษณะดังได้กล่าวแล้วตามทัศนะที่ถือว่าต้องมีซีฟัตม๊ะนาวียะฮ์   เพราะหากพระองค์ไม่มีคุณลักษณะเหล่านี้  พระองค์ก็ต้องมีผู้ให้บังเกิด   หรือการมีของพระองค์ต้องอาศัยซ๊าต   หรืออาศัยผู้ที่คอยปกป้องความบกพร่องอันอาจจะเกิดขึ้นที่พระองค์

   ดังนั้น   เมื่อพระองค์จำต้องมีคุณลักษณะต่าง ๆ  เหล่านี้  ก็เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะมีคุณลักษณะในทางตรงกันข้าม

   ทั้งหมดที่กล่าวมานี้   ยี่สิบสอง  คุณลักษณะ  คือ  ทั้งลักษณะที่เป็นวาญิบ  และเป็นมุสต้าฮี้ลเมื่อนำมานับรวมกัน  ดังแผนภูมิต่อไปนี้

إسْتِغْنَاء ن تعالى

      1.   วูญูด                  12.   อะดะมุ
      2.   กิดัม                  13.   ฮู่ดูษุ
      3.   บะกออ์                  14.   ฟะน่าอุ            4.   มุคอละฟะห์ ฯ                                     15.   มุมาซะละตุลิฮะวาดิซิ
      5.   กิยามุฮู ฯ                                     16.   เอี๊ยะห์ติยาญุอิลัลฆอยริ
      6.   ซะมะอ์                  17.   ซ่อมะมุ
      7.   บะศ๊อร                  18.   อะอ์มา
      8.   กะลาม                  19.   บะกะมุ         
      9.   เกานุฮูซะมีอัน                                     20   เกานุฮูซ่อมีญัน
      10.   เกานุฮูบะซีรอน               21.   เกานุฮูอะอ์มีญัน
      11.   เกานุฮูมุนะกัลลิมัน                                  22.   เกานุฮู บะกีมัน
   
   และภายใต้อิสติฆนาอ์นี้  ยังหมายถึงต้องปฏิเสธด้วยว่า  พระองค์มิได้จำเป็นต้องทำหรือไม่ทำของมุมกิน   เพราะหากไม่เป็นเช่นนี้  พระองค์ก็ไม่อิสติฆนาอ์  ตามที่ได้เข้าใจมาแล้ว  จึงให้ความเข้าใจตรงนี้อีกอะกีดะฮ์หนึ่ง  คือ  ฮะโรส   อันหมายถึงไม่มีสิ่งใดบังคับกล่าวคือจะทำหรือไม่ทำของมุมกินก็ได้  และเมื่อเป็นดังนี้  คุณลักษณะต่าง  ๆ  ที่อยู่ภายใต้ความหมายของคำ  อิสติฆนาอ์นี้  จึงมีด้วยกันทั้งหมดยี่สิบสามอะกีดะฮ์

   และคำว่า   “อิฟติกอร”   คือ  บรรดาสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น  ทั้งหมดต้องพึ่งพระองค์นั้น   ให้ความเข้าใจชัดเจนเช่นกันว่า  พระองค์ต้องมีคุณลักษณะ .-

      1.   ชีวิต                  5.   ทรงมีชีวิต
      2.   สามารถ                  6.   ทรงสามารถ
      3.   เจตนา                  7.   ทรงเจตนา            4.   รู้                  8.   ทรงรู้

   ดังกล่าวนี้ตามทัศนะที่เชื่อว่ามีซีฟัตม๊ะนาวีย์  และอิฟติกอรนี้   ยังหมายถึง  ต้องมีซีฟัตวะฮ์ดานียะฮ์ของพระองค์รวมอยู่ด้วย  และเมื่อเป็นเช่นนี้  คุณลักษณะซึ่งตรงกันข้ามกับคุณลักษณะทั้งหมดนี้  จึงไม่มีที่พระองค์  และจึงนับคุณลักษณะทั้งหมดที่เข้าอยู่ภายต็คำว่า   อิฟติกอรนี้  สิบแปดคุณลักษณะ   หรือสิบแปดอะกีดะฮ์   ดังแผนภูมต่อไปนี้ .










إفتقار
   
      1.   หะยาต                     10.   เมาต์
      2.   กุดรัต                     11.    อัจญซุห์
      3.   อิรอดัต                     12.   อิกรอฮุ
      4.   อิลมุน                     13.   ญะห์ลุน         5.   เกานุฮูฮัยยัน                                        14.   เกานุฮูมัยยิตัน
      6.   เกานุฮูกอดิรอน                  15.   เกานุฮูอาญิซัน
      7.   เกานุฮูมุรีดัน                  16.   เกานุฮูมุกร่อฮัน
      8.   เกานุฮูอาลิมัน                  17.   เกานุฮูญาฮิลัน
      9.   วะห์อานียะฮ์                  18.   ตะอัดดุดุ

   บรรดาคุณลักษณะชึ่งอยู่ภายใต้ความหมายของคำว่า  “อิฟติก๊อร” นี้  จึงมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสิบแปดอะกีดะฮ์

   ประที่สอง  คือ   مُحَمَّدٌ رَسُوْلُ الله     นั้นทำให้ต้องยอมรับในการเป็นศาสดาของท่านนะบี มูฮัมมัด   ศ้อล  ฯ   ซึ่งก็หมายถึงต้องยอมรับและปฏิบัติตามทุก  ๆ  สิ่งที่ท่านได้นำมารวมไปถึงต้องยอมรับในคุณลักษณะวาญิบต่าง ๆ  ของบรรดาศาสนทูตด้วย

رَسُوْلٌ


           วาญิบ                         มุสต้าฮี้ล
      -     สัจจะ                     -   โกหก
      -    ไว้ใจได้                     -    บิดพลิ้ว
      -    เฉลียวฉลาด                     -    โง่
      -    เผยแพร่                     -    อำพราง

   และต้องยอมรับว่า   บรรดาศาสนทูตนั้น   ย่อมมีคุณลักษณะโดยทั่ว  ๆ  ไปเหมือนมนุษย์   ทั้งนี้เฉพาะบรรดาคุลัษณะที่ไม่บกพร่องในเกียรติแห่งการเป็นศาสนทูต  ทั้งนี้เพราะท่านนะบีมูฮัมมัด  ได้บอกให้เรายอมรับในการเป็นศาสดาของบรรดาศาสดาในอดีต  และทั้งท่านนะบีมูฮัมัด   ได้บอกให้เรายอมรับในการเป็นศาสดาของบรรดาศาสดาในอดีต  และทั้งหมดดังกล่าวมานี้  (บรรดาคุณลักษณะของร่อซู้ล ฯ)  รวมเป็นเก้าลักษณะ  ดังนั้น   เมื่อรวมกับบรรดาคุณลักษณะ  (หลักยึดมั่น   อะกีดะฮ์)  ของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  จึงเป็น  ห้าสิบอะกีดะห์   หากเรานับบรรดา     أحوال   เข้าไปด้วย   แต่ไม่ได้นับ  صفة إدراك     และ   صفة تكوين    ตลอดจนซีฟัตม๊ะนาวียะฮ์ของทั้งสอง  และมุสต้าฮี้ลของทั้งหมดเข้าไปด้วย  ดังนั้นหากนับรวมกันทั้งหมด   ก็จะได้อะกีดะฮ์ที่รวมอยู่ภายต็สองประโยคนี้      ห้าสิบแปดอะกีดะฮ์      

   อนึ่ง   หากไม่นับ    أحْوال     และซึฟัตต่าง ๆ  ที่กล่าวมาแล้วเข้าไปด้วย   ก็จะมีอยู่เพียงสามสิบหกเท่านั้น   นั่นคือ  เมื่อไม่นับซีฟัตม๊ะนะวียะฮ์ทั้งเจ็ด   ตลอดจนซีฟัตมุสต้าฮี้ลเข้าไปด้วย     ดังกล่าวนี้เป็นเพียงการไม่นับเป็นจำนวนรวมเข้าไป   แต่เชื่อมั่นว่า  มีที่พระองค์แน่    ซีฟัตทะนะวียะฮ์และมุสต้าฮี้ลเมื่อรวมกันแล้วก็เป็นสิบสี่  และเมื่อตัด     إدراك    และ   تكوين     ตลอดจนบรรดาคุณลักษณะที่พัวพันอยู่กับทั้งสองนี้   ซึ่งก็มีอีกถึงแปดอะกีดะฮ์  อันได้แก่
         1.   إدراك            2.   .......  مستحيل    
         3.   كونه مدركا       4.   ........  مستحيل
         5.   تكوين            6.   ........  مستحيل
         7.   كونه مكونا         8.   ........  مستحيل
   ก็เป็นที่ชัดเจนสำหรับท่านแล้วว่า  ทั้งสองประโยคนี้  ได้ครอบคลุมและรวบรวมบรรดาอะกีดะฮ์ดังได้กล่าวมาแล้วไว้ทั้งหมด  ยิ่งไปกว่านั้น   ยังหมายถึงบรรดาหู่ก่มต่าง ๆ  ทั้งหมดนั้น   อยู่ภายใต้ประโยคที่ว่า ...........
محمدرسول الله
จนกระทั่งอุละมาอ์บางท่านถึงกับกล่าวว่าแท้จริง   محمد رسول الله    นั้นเป็นประดุจมหาสมุทร   ซึ่ง   لاإله إلاالله    เป็น(เพียง)หยดเดียวของน้ำในท้องมหาสมุทรเท่านั้น   อันหมายความว่า   การมีเตาฮีดในอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  นั้น  เป็นส่วนหนึ่งจากหลักการต่าง  ๆ  ที่ท่านนะบีนำมาเผยแพร่
   และด้วยหิกมะฮ์อันนี้  กล่าวคือ  ประโยคทั้งสองได้รวบรวมหลักการทั้งหมดซึ่งเป็นประโยคสั้น ๆ  ที่ศาสนาถือเอาเป็นคำแปลหัวใจว่า   มีอีหม่านหรือไม่   และไม่รับรองการเป็นอิสลามของใคร  ๆ  นอกจากต้องยึดมั่นอยู่ในดุดมการณ์ของสองประโยคนี้

   พีงรู้ว่า    لاإله إلاالله    นั้นแปลเป็นภาษามาลายูว่า   “ไม่มีพระเจ้านอกจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)”    ความว่า   ไม่มีพระเจ้าที่ถูกสักการะโดยจริงจังนั้นมี   นอกจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)   ซึ่งหมายถึงพระเจ้าที่เที่ยงแท้นั้น   มีองค์เดียวเท่านั้น

   คำว่า      لا       นั้น   หมายถึง   ปฏิเสธ   คือ  ยนยันการปฏิเสธ
   คำว่า     إله      นั้น   หมายถึง   สิ่งที่ถูกปฏิเสธ   คือ  สิ่งที่ตัดสินแน่นอนแล้วว่าไม่มี
   คำว่า       إلا     นั้น   หมายถึง   ยกเว้น   คือเอาออกจากที่ถูกปฏิเสธ
   คำว่า   الله   นั้น   หมายถึงสิ่งที่ถูกยกเว้น  คือ  สิ่งที่ถือนำออกมาจากที่ถูกปฏิเสธ  กล่าวคือ  ที่ยืนยันหลังจากถูกปฏิเสธ

   เมื่อเป็นดังนี้   พึงรู้ว่า   ปฏิเสธนั้น  หมายถึงปฏิเสธสิ่งที่ถูกสักการะโดยเที่ยงแท้ในความเป็นจริง   และเมื่อเป็นดังนี้   ความหมายของการที่เรากล่าวว่า    ไม่มีพระเจ้านอกจากอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  นั้น   เป็นการปฏิเสธสิ่งที่ถูกสักการะโดยเที่ยงแท้ในความเป็นจริง  นอกจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)   ซึ่งพระองค์เท่านั้นที่ไม่ได้ถูกปฏิเสธ

   หากมีคนกล่าวว่า  สิ่งที่ถูกสักการะโดยเที่ยงแท้ในความเป็นจริงนั้น  ไม่มีอื่นจากอัล์  (ซ.บ.)  ไม่มีแน่นอน  เมื่อเป็นเช่นนี้   การปฏิเสธไม่เกิดประโยชน์  เพราะการปฏิเสธสิ่งมีไม่มีนั้น   เป็นการซ้ำซาก   تحصيل الحاصل   ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้   مستحيل

   เราขอตอบว่า   ความหมายของการปฏิเสธดังได้กล่าวนั้น  คือ  การบอกกล่าว  (คำบอกเล่า)   ทั้ง  ๆ  ก็รู้อยู่แล้วว่าไม่มี  มิใช่หมายความว่า  ไปปฏิเสธสิ่งที่ไม่มี

   และก็สามารถตอบได้ว่า   การปฏิเสธนั้น  คือ  ปฏิเสธสิ่งที่อยู่ในใจของมุมินเพราะหัวใจนั้น   อาจสมมติขึ้นได้ว่า   มีพระเจ้าหลายองค์ที่ถูกสักการะโดยแท้จริง  หลังจากสมมติขึ้นมาแล้วก็ปฏิเสธทั้งหมดที่สมมตินั้น  ยกเว้นอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  เพียงพระองค์เดียวที่ไม่ปฏิเสธ
   
   คำตอบดังกล่าวนี้ยังไม่อาจทำให้กาเฟรเข้าใจได้  นอกจากจะต้องพิจารณากันถึงสภาพความจริง  และก็ไม่อาจกล่าวว่า   ปฏิเสธนั้น  คือ  การปฏิเสธสิ่งที่อยู่ในหัวใจของกาเฟร  เพราะในหัวใจของกาเฟรนั้น  มีเทวรูป  และอื่น  ๆ  และความจริงก็มีอยู่ทั่ว ๆ  ไปด้วย  จึงไม่อาจปฏิเสธได้

   สรุปแล้ว  สิ่งที่ถูกปฏิเสธนั้นคือ  หนึ่งจากสองประการนี้  คือ   หนึ่ง  ปฏิเสธบรรดาพระเจ้าที่ถูกสักการะโดยแท้จริง  และในความเป็นจริงอื่นจากอัลเลาะห์  (ซ.บ.)   สอง  ปฏิเสธสิ่งที่อยู่ในหัวใจของมุมินที่สมมติกันขึ้นมาว่ามีอยู่มากมาย  ดังนั้น  การปฏิเสธจึงปฏิเสธสิ่งทั้งสองนี้หลังจากปฏิเสธแล้วก็ยกเว้นอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  กล่าวคือ  อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  นั้นมี   และพระองค์คือพระเจ้าแท้  มิใช่เทียม
   และจำเป็นบนผู้ที่กล่าว   لاإله إلاالله    ต้องระวังในตอนกล่าวเน้นว่าอัลเลาะห์  (ซ.บ.)มิได้ถูกปฏิเสธตั้งแต่เริ่มกล่าว   กล่าวคือ  อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  มิได้เข้าอยู่ในมวลพระเจ้าที่ถูกปฏิเสธตั้งแต่ก่อนปฏิเสธและในตอนปฏิเสธ  ดังนั้น  หากใครเหนียตว่า  อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ก็อยู่ในจำนวนของพระเจ้าที่ถูกปฏิเสธ  เขาก็จะกลายเป็นผู้ปฏิเสธ  (กาเฟร)  ทันที

   และคำที่ว่า  “นอกจากอัลเลาะห์  (ซ.บ.)”   นั้น  เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสิ่งที่ต้องการตั้งแต่แรกกล่าว   นั้นคือบ่งบอกว่า    อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  มิได้รวมอยู่ในบรรดาพระเจ้าที่ถูกปฏิเสธ


ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ก.ย. 17, 2008, 09:47 AM »
0
   พึงรู้ว่า   การยืนยันในเอกภาพของอัลเลาะห์ด้วยการกล่าวว่า   “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์นั้น   เมื่อกล่าวหรือเมื่อเขียนให้ตักดีร  “มุฮัมมะดุ๊รร่อซูลุลลอฮ์”  ต่อท้ายด้วยเสมอ  ทั้งนี้  หากไม่ตักดีรดังได้กล่าวนี้ด้วย  ก็จะเข้าใจได้ว่า   การยืนยันในเอกภาพแห่งอัเลาะห (ซ.บ.)   ก็จะไปเหมือนกับพวกยิว   ดังกล่าวนี้เป็นทัศะหนึ่งของนักวิชาการ

   ผู้ที่ลรรลุศาสนภาวะแล้วทุกคนต้องยอมรับและปฏิบัติทุกสิ่งอุกอย่างที่ท่านร่อซู้ล (ศ้อลฯ)  นำมาเผยแพร่   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำสอนทางศาสนาโดยตรง  หรือสิ่งที่ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่เร้นลับ

   ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ทุกคนต้องอีหม่านต่อบรรดาร่อซู้ลและบรรดานะบี  หมายถึง  ต้องเอี๊ยะติกอดว่า   อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  นั้นมีร่อซู้ล  และบรรดานะบีอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งทัศนะที่ซอเฮี๊ยะกล่าวว่า  ไม่อาจนับจำนวนความมากมายนั้นได้  ดังที่มีบางทัศนะกล่าวว่า  บรรดานะบีทั้งหมดนั้นมี  124,000  ท่าน  ซึ่งเป็นร่อซู้ล  313  ท่าน  สำหรับยี่สิบห้าท่าน  ที่อัล-กุรอ่านกล่าวนามของท่านเหล่านั้น  จำเป็นต้องอีหม่านในรายละเอียด  กล่าวคือ  หากมีมตรเอ่ยถึงชื่อของศาสดาท่านใด  ต้องตอบได้ว่านั่นคือร่อซู้ล  ซึ่งไม่ได้หมายความว่า  ต้องท่องจำทั้งหมด    และถ้าหากปฏิเสธการเป็นร่อซูลของท่านใด  ก็ถือว่าเป็นกุฟรโดยมติของนักวิชาการ  แต่หากว่าไม่รู้  หรือตอบว่าไม่รู้ว่าเป็นร่อซู้ล   นักวิชาการส่วนใหญ่ก็ถืกันว่าเป็นกุฟร  แต่ก็มีบางท่านกล่าวว่า   ไม่ถึงกับเป็นกุฟร

   บรรดาร่อซู้ลที่มีชื่อในอัล-กุรอานทั้งหมดเป็นลูกหลานของนะบีอิบรอฮีม  นอกจากห้าท่านคือ   อิดรีส  นั๊วะฮ์  ฮูด  ซอและฮ์  และลูฏ  (สงสัยท่านนบีอาดำ)

   บรรดาร่อซู้ลทั้งยี่สิบห้าท่านนั้นคือ .-

      อาดำ      อิดรีส      นั๊วะฮ์       ฮูด      ซอและห์
      อิบรอฮีม   ลูฏ      อิสหาก      อิสมาแอน   ยะอ์กู๊บ               ยูซูฟ      อัยยูบ      ซูอีบ      ฮารูน      มูซา               อัล-ยัสอะ   ซุ๊ลกิฟลิ      ดาวู๊ด      สุลัยมาน   อิลย๊าส
      ยูนุศ      ซะการียา     ยะห์ยา      อีซา      มูฮัมมัด
صلوات الله وسلامه عليه وعليهم أجمعين
     
   ทัศนะที่รอแญ๊ะฮ์ถือว่า    الخضر عليه السلام     เป็นนะบีท่านหนึ่งแต่ไม่ถือว่าลุกมาน  และซุ๊ลก๊อรนัยน์   ซี่งเป็นกษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงธรรมในราชวงศ์ฮิยัร  (เมืองยะมัน)  ตลอดจน  อิสกันดัร  อัรรูมี  เป็นนะบี

   และท่านต่อไปนี้ก็เป็นนะบีเช่นกัน   คือ  คอลิด บิน  ซินาน  ซึ่งเป็นลูกหลานของนะบีอิสมาอีล  จากตระกูลอัมส์  เป็นผู้ที่อยู่ในสมัยเดียวกันกับกิสรอหรือซีรวาน   หลังนะบีอีซาสามร้อยปี  เป็นผู้เชิญชวนให้มวลมนุษย์ดำเนินชีวิตตามแบบฉบับการเผยแพร่ของนะบีอีซา  และฮันซอละฮ์  บิน  ซ๊อฟวาน  หลังคิดลิดหนึ่งร้อยปี   ซึ่งสิ้นพระชนม์  โดยถูกพรรคพวกลอบสังหาร

   จำเป็นจะต้องเชื่อว่า  การเป็นนะบีนั้น  ไม่มีใครสถาปนาได้   แม้ว่าจะเป็นผู้ที่มีคุณความดีมากมายสักปานใดก็ตาม   แต่การเป็นนบีนั้น   เป็นความกรุณาซึ่งพระองค์มีต่อท่านเหล่านั้น

   และจำเป็นจะต้องเชื่อว่า  อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ท่านได้ทรงสนับสนุนยืนยันการเป็นนะบีของท่านเหล่านั้นด้วยอภินิหารหลายประการ  อภินิหาร (มั๊วะญิซัต)   นั้น  หมายถึงปรากฏการณ์ที่แปลกซึ่งไม่เป็นไปตามกฎธรรมชาติที่เกิดขึ้น  เมื่อพระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ได้ทรงแต่งตั้งบรรดาร่อซู้ลเพื่อเป็นเครื่องหมายในความแท้จริงของร่อซู้ลนั้น ๆ การผ่าเดือน  การที่ต้นไม่และหินพูดได้  ตลอดจนการที่มีน้ำไหลออกมาจากซอกนิ้วมือของท่านนะบี  ศ้อล ฯ

   และจำเป็นจะต้องเชื่อว่า  “กะรอมัต”  นั้นปรากฏมีที่บรรดาวะลี ๆ  ทั้งในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้วได้  ดังที่ปรากฏในอัล-กุรอานถึงเรื่องเกี่ยวกับพระนางมัรยัม  ตลอดจนนะซะการียา  เป็นต้น

   กะรอมัตนั้น  คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นจากคนที่ซอและห์   โดยไม่เป็นไปตามธรรมชาติคนซอและห์นั้น  คือ  ผู้ที่ดำรงตนให้เป็นไปตามหน้าที่  ๆ  อัเลาะห์  (ซ.บ.)  ทรงกำหนด 
    และจำเป็นจะต้องเชื่อว่า  อัลเลาะห์  (ซ.บ.)ท่านมีมวลมะลาอิกะฮ์อยู่มากมาย  มะลาอิกะฮ์นั้น  คือ  บ่าวของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ที่ไม่ประพฤติชั่ว  และไม่มีคุณลักษณะใด  ๆ  เหมือนมนุษย์  และมีจำนวนมาก  ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ถึงจำนวนได้  นอกจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  มะลาอีกะฮ์เหล่านั้น  มีสี่ท่านที่เป็นระดับแนวหน้า  คือ  ญิบรีล มีกาอีล  อิสรอฟีล  อิซรออีล

   บางส่วนของมะลาอีกะฮ์นั้น  มีหน้าที่ทูลอะรัช   حملة العرش    ซึ่งในขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้นสี่ท่าน  และจะมีถึงแปดท่านในวันกิยามะฮ์

   มวลมะลาอิกะฮ์ที่เราจำเป็นต้องรู้จักนั้น  มีสิบท่าน  คือ  สี่ท่านที่ได้กล่าวนามมาแล้ว  และมุงกัร  นะกีร  ซึ่งมีหน้าที่สอบสวนคนตาย  ริดวาน  มีหน้าที่ในการดูแลสรวงสวรรค์  มาลิกมีหน้าที่ดูแลขุมนรก  รอกิบและอะติด   ท่านหนึ่งอยู่ทางซ้ายของมนุษย์  และอีกท่านหนึ่งอยู่ทางขวา  ทั้งสองมีหน้าที่บันทึกทั้งความดีและความชั่วทั้งหมด

   และจำเป็นจะต้องเชื่อว่า  อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ท่านได้ประทานคัมภีร์หลายเล่มให้แก่ร่อซู้ลหลายท่าน  เช่น  คัมภีร์เตารอตของนะบีมูซา  คัมภีร์อิบญิลของนะบีอีซา  และคัมภีร์ซะบู๊รของนะบีดาวู๊ด  และคัมภีร์อัล-กุรอานของท่านนะบีมูฮัมมัด  (ศ้อล ฯ)  และจะต้องเชื่อว่า   ท่านนะบีมูฮัมมัดนั้น   เป็นมัคลู๊กที่ประเสริฐที่สุด  ถัดไปนะบีอิบรอฮีม  นะบีมูซา  นะบีอีซา  และนะบีนูฮ์ทั้งห้าท่านนี้ได้ชื่อว่า   أولوالعزم   คือ  บรรดาผู้ที่มีความอดทน  หรือบรรดาผู้ที่  حزم    คือ  ผู้ที่แบกรับภาระอันหนักหน่วง  (อนึ่ง  คัมภีร์เตารอต  และอินญีลฉบับเดิมนั้นสูญไปแล้วตั้งแต่ก่อนสมัยท่านนะบีมูฮัมมัด  สำหรับคัมภีร์ที่มีชื่อว่า    العهد القديم    และ   العهدالجديد    ที่เรียกกันว่า   เตาคอตและอินญีลนั้น  ไม่ใช่คัมภีร์เตารอตและอินญีลที่กล่าวถึง  ณ.ที่นี้  แต่เป็นคัมภีร์ที่มนุษย์เป็นผู้เรียบเรียง  ดังที่ผู้แต่งหนังสือ   إظهارالحق   ได้กล่าวไว้)
   บรรดาผู้ที่ประเสริฐถัดจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น  คือ  บรรดานะบีที่ไม่ได้เป็นร่อซู้ล  ซึ่งก็มีความประเสริฐลดหลั่นกันในทัศนะของพระองค์  ถุดจากนั้น  ก็เป็นบรรดามะลาอีกะฮ์ชั้นแนวหน้า  และถัดไปก็คือ  บรรดามะลาอีกะฮ์ของพระองค์  และบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านบะบี  ซึ่งก็มีระดับของความประเสริฐลดหลั่นกัน   ซึ่งผู้ที่ประเสริฐที่สุดก็คือ  ท่านอบูบักร  อูมัร  อุษมาน  และอาลี  ตามลำดับการเป็นคอลีฟะฮ์

   คอลีฟะฮ์สิบท่านด้วยกันที่ได้รับแจ้งข่าวดีจากท่านนะบีว่า  จะได้เข้าสวรรค์แน่  คือ  บรรดาคอลีฟะฮ์ทั้งสี่  และตอลฮะ  บิน  อับดุลเลาะห์  ซุเบร  บิน  อัล-อะวาม   อับดุลเราะห์มาน  บิน  อาว์ฟ  สะอัดบิน  อะบีวะก๊อศ  สะอี๊ด  บินเซด   และอุบัยดะฮ์  อามิร  บิน  อัล-ญะรอห์

   ความประเสริฐถัดจากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด  คือ  บรรดาตาบิอีน  (คือบรรดาผู้ที่ตามซอฮาบะฮ์  อันได้แก่ผู้ที่พบกับบรรดาซอฮาบะฮ์)  และถัดไปก็คือ  บรรดาผู้ที่ร่วมสมัยเดียวกันกับบรรดาตาบิอีน  และถัดจากนั้นก็คือ  บุคคลที่อยู่ในยุคถัดไป  คือ  ในศตวรรษถัดไป   คือ  ในศตวรรษถัดไป

   การที่ไม่รู้ว่าบรรดานะบี  ๆ  ประเสริฐกว่าบรรดามะลาอีกะฮ์  หรือใครประเสริฐกว่าใครดังได้กล่าวมาแล้วนี้  มิได้เป็นสิ่งที่ทำให้อีหม่านบกพร่องแต่ประการใด  ท่านสะยูตีย์   และซุบกีย์กล่าวว่า  หากไม่เคยรู้เลยว่า  นะบีประเสริฐกว่ามะลาอีกะฮ์  อัลเลาะห์  (ซ.บ.)ท่าน   ก็จะไม่สอบถามเขาในวันอาคีเราะฮ์แต่อย่างใด

   และจำเป็นต้องเชื่อว่า  (เอี๊ยะติกอด)  ว่านะบีของเรานั้น   เป็นชาวอาหรับตระกูลกุเรช  ท่านมีชื่อว่า  มูฮัมมัด  มีบิดาชื่ออับบดุลเลาะห์  เป็นบุตรของอับดุลมุตตอลิบ   เป็นบุตรของฮาชิม  เป็นบุตรของอับดุลมะนาฟ  เป็นบุตรของกุศอยย์   เป็นบุตรของกิล๊าบ  เป็นบุตรของมุรเราะฮ์  เป็นบุตรของกะอับ   เป็นบุตรของลุวัย  เป็นบุตรของฆอเล็บ  เป็นบุตรของเฟี๊ยะฮ์ริน   เป็นบุตรของมาลิก  เป็นบุตรของอันฎ๊อร   เป็นบุตรของกินานะฮ์   เป็นบุตรของคุซัยมะฮ์เป็นบุตรของมุดริกะฮ์  เป็นบุตรของอิลยาส  เป็นบุตรของมุฎีอร   เป็นบุตรของนิซ๊าร  เป็นบุตรของมะอัด  เป็นบุตรของอัดนาน

   มารดาของท่านมีนามว่า  อามีนะฮ์  บุตร วะฮับ  บุตรอัลดุลมะนาฟ  บุตรซูฮ์เราะฮ์  บุรกิลาบ  ดับดุลมะนาฟท่านมิใช่อับดุลมะนาฟท่านเดียวกับผู้มีนามนี้ตามที่ปรากฏทางเชื้อสายฝ่ายบิดา

   ผิวพรรณของท่านขาวค่อนไปทางแดง  ท่านเป็นศาสดาองค์สุดท้าย  ดังนั้น  หากใครอ้างว่าเป็นนะบีหลังจากท่าน  เขาผู้นั้นคือ  กาเฟร    والعيادبالله تعالى     

   ท่านเกิดที่มักะฮ์   ได้รับการแต่งตั้งเนร่อซู้ลที่มักกะฮ์   เมื่อตอนมีอายุสี่สิบปีโดยอยู่ที่มักกะฮ์สิบสามปี  แล้วโยกย้ายไปอยู่ที่มะดีนะฮ์อีกสิบปี  สิ้นชีวิตที่นั่น  ฝังที่นั่น  (คือที่ ๆ สิ้นชีวิต)  คือ  ที่บ้านของพระนางอาอีซะฮ์  ร่อดิยั้ล ฯ  รวมอายุทั้งหมดหกสิบสามปี

   และจำเป็นจะต้องเอี๊ยะติกอดว่า  ชะรีอัตที่ท่านนำมาเผยแพร่นั้น  ลบล้างชะรีอัตของบรรดานะบี ๆ  องค์ก่อน  ๆ  และชะรีอัตของท่าน  จะคงอยู่ต่อไปจนถึงวันกิยามะฮ์

   และวาญิบจะต้องเอี๊ยะติกอดว่า  อัลเลาะห์ได้ให้ท่านเดินในยามค่ำคืนจากมักกะฮ์ยังบัยตุ้ลมักดิส  และได้ให้ท่านขึ้นไปบนฟากฟ้าทั้งเจ็ด  จนถึง   سدرة المنتهى     ถึง      كرسى     ถึง   مستوى       ถึง     عرش  และได้เห็นอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  อันเป็นลักษณะการเห็นที่คู่ควรกับพระองค์   อีกทั้งยังได้พูดกับพระองค์  โดยพระองค์ได้ทรงกำหนดการละหมาดห้าเวลาแด่ท่านนะบี  (ศ้อล ฯ)   และประชากรของท่าน

   สมควรที่ทุกคนจะได้รู้ว่า  ลูกของท่านนะบีมีกี่คน   ชื่ออะไรบ้าง  ?   ลูกของท่านนะบีมีเจ็ดคนดังนี้  คือ .- 

سيدنا القاسم      سيدتنازينب    سيدتنافاطمة    سيدتناأم كلثوم      และ     سيدناعبد الله    ซึ่งได้รับฉายาว่า     الطيب      และ    الطاهر    และ  سيدناإبراهيم    ทั้งหมด  เป็นลูกของ    سيدتناخديجة الكبرى
นอกจาก    سيدناإبراهيم     เท่านั้นที่เป็นลูกของ      مية القبطية
رضي الله عنهم أجمعين

   สำหรับภรรยาของท่าน  ที่มีชีวิตอยู่หลังจากที่ท่านได้วายชนม์แล้วมีเก้าคน  คือ.-

سيدنا عائشة بنت أبي بكر  ،       سيدتنا حفصة بنت سيدنا عمر  ،   سيدتنا سودةبنت زمعة ،   سيدتنا صفية بنت حي       (จากวงค์วานของนะบีฮารูน)    سيدتنا ميمونة بنت الحا رث ،     سيدتنارملة بنت أبي سفيان،                                          سيدتنا هند بنت أبي أمية ،      سيدتنا بنت جحش،     سيدتناجويرية بنت الحارث

   มุกัลลัฟทุกคน  ต้องปฏิบัติในสิ่งที่ถูกใช้  และหลีกห่างในสิ่งที่ถูกห้าม  อีกทั้งต้องใช้กันให้ทำความดี  หักห้ามกันในเรื่องความชั่ว  (มุงกัร)  แม้ว่ากำลังทำของมุงกัรเหมือนกับที่จะห้ามก็ตาม   ด้วยเหตุนี้  คนที่ทำซินาก็ยังมีหน้าที่ต้องห้ามการทำซินา

   และวาญิบจะต้องรักษากุลลียาตทั้งหก  (กุลลียาตหมายถึงที่กำเหนิดของสิ่งทั้งปวงที่มีชื่อว่า   กุลลียาตก็เพราะมีหลักการเป็นกิ่งก้านสาขาอยู่มากมาย)

   (1)   “ศาสนา”  การรักษาศานาก็คือ  ต้องระวังมิให้ตกไปเป็นกุฟร  ตลอดจนละเมิดสิ่งที่วาญิบ  และหะรอม  และด้วยเหตุที่ให้รักษาศาสนาไว้นี้  จึงได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการสงคราม  โดยเฉพาะต่อกาเฟรที่เรียกกันว่า    كافرحربي    และมุรตัด  นอกจากนั้น   ยังได้มีบัญญัติให้มีการเตรียมพร้อมในทุกด้าน  เช่น  ด้านกองกำลัง   ด้านการวางแผนที่สามารถยับยั้งการคุกคามของพวกเหล่านั้น
   
   (2)   “นัฟซุน”  อันหมายถึง  ร่างกาย  หรือสังขารของเรา  ซึ่งการรักษาก็คือ  ระวังและป้องกันไม่ให้บกพร่องเสียหาย   หรือระวังไม่ให้มีความเป็นไปที่ไม่ดี

   (3)   “อะก๊อล”   หมายถึงสติปัญญา   การรักษาก็คือ  ต้องระวังไม่ให้ฟั่นเฟือนหรือหมดสติ  หรือระวังมิให้บกพร่องด้วยประการใด ๆ

   (4)   “นะซับ”  คือ  เชื้อสาย  ชาติตระกูล  ระหว่างบิดากับบุตร  การรักษาสิ่งนี้ก็คือ  ไม่ทำซินา
   (5)   “เกียรติภูมิ”  คือ  ไม่ใส่ร้าย  ผูกใจเจ็บ  อาฆาต  หรือพยาบาท
   
   (6)   “ทรัพย์สิน”  การรักษาก็คือ  ไม่ใช้จ่ายไปทางที่ศาสนาไม่อนุญาต

   

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ก.ย. 17, 2008, 09:50 AM »
0
   สิ่งที่สำคัญที่สุด  ที่มุกัลลัฟพีงระวังก็คือ  เรื่องของริดดะฮ์  คือ  ขาดจากการเป็น  อิสลาม เรียกว่ามุรตัด  ซึ่งเป็นกุฟรที่ต่ำที่สุด    نعودبالله منها     และผลพวงที่เกิดจากริดดะห์ก็คือ  ผลกรรมความดีทั้งหมดที่ทำไว้ในปางก่อนนั้น  มลายสิ้น

สิ่งที่ทำให้เกิดริดดะห์ได้นั้นมี 3 ประการ

   1. ทางใจ เช่น เชื่อที่ไม่ตรงความจริง เชื่อที่ผิด เช่น เชื่อว่าไม่มีพระเจ้าหรือสงสัยว่า มีหรือไม่มี หรือสงสัยในคุณลักษณะหนึ่งคุณลักษณะใดจากบรรดาคุณลักษณะที่นักวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกัน เช่น พระองค์ทรงเอกะ พระองค์ทรงพลัง หรือเชื่อว่าไม่มีนะบีโดยเฉพาะนะบีที่นักวิชาการมีทัศนะสอดคล้องกันว่าเป็นนะบี ตลอดจนปฎิเสธวันกิยามะห์ ปฎิเสธนรก สวรรค์ และอื่นๆ ที่ปวงปราชญ์มีมติว่าต้องเชื่อ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนั้นรับรู้ได้โดยง่ายกล่าวคือ เป็นเรื่องที่มุสลิมทั่วๆไปรู้ เช่น ละหมาดเป็นวาญิบ บวชวาญิบ ซินาการเสพของมึนเมาตลอดจนความอธรรหรือฉ้อฉลนั้นฮะรอม

   2. คำพูด เช่น  เรียกมุสลิมว่า  กาเฟร  ยิว  คริสต์   หรือพูดว่าฉันหลุดพ้นจากอัลลอฮ์หรือนะบีหรือกุรอานหรืออิสลาม หรือ เช่น  เบาความต่อกุรอาน  หรืออ่านกุรอ่านโดยมีเจตนาอ่านเล่นๆหรือไม่ให้เกียรติกุรอาน
         
    3.  ทางการกระทำ  เช่น  สุหยูด   (กราบ)   สิ่งอื่นจากอัลลอฮ์  หรือ  ไม่ให้เกียรติอัลกุรอาน   เช่น  ปล่อยให้ตกอยู่ในที่ ๆ ไม่เหมาะสม  ดังกล่าวนี้มีความหมายรวมไปถึงตำราฮ่าดีส  หรือตำราทางศาสนาอื่น  ๆ  ด้วย

   เมื่อใครเป็นมุรตัด  วาญิบบนผู้ปกครอง  เช่นกษัตริย์   ต้องใช้ให้เขากลับคืนสู่การเป็นมุสลิม   โดยการกล่าวสองกะลีมะฮ์ซะฮาดะฮ์    และทำการเตาบัตจากโทษซึ่งเป็นเหตุทำให้ตกมุรตัดนั้น   ซึ่งหากใช้ให้กล่าวแล้ว   เขายังไม่กลับคืนสู่อิสลาม  วาญิบบนผู้ปกครองต้องประหารชีวิตเขา
   
   สำหรับการกระทำความผิดอื่น ๆ  นอกจากริดะห์นี้  ไม่ถือว่าเป็นกาเฟร  และก็ไม่ถือว่าผู้ที่อำบิดอะห์นั้น   เป็นกาเฟร   เช่น  บิดอะห์ของชาวมั๊วะตะซีละฮ์ที่เชื่อว่า  บ่าวของพระองค์นั้น  เป็นผู้กระทำอะไรได้ด้วยตนเอง  ตลอดจนการปฏิเสธ  (ไม่เชื่อ)  ว่า  จะได้เห็นอัลเลาะห์   เพราะบิดอะฮ์ดังกล่าวนี้ย่อมตีความ  (ต๊ะวีล)   ไปเป็นอื่นได้  ดังกล่าวทั้งหมดนี้  นอกจากบิดอะฮ์ทีว่าอัลเลาะห์ (ซ.บ.)มีตัวตน  หรือไม่เชื่อว่าอัลเลาะห์ (ซ.บ.)ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง  เช่นนี้ถือว่าเป็นกาเฟรโดยมติของนักวิชาการ

   มุสลิมผู้บรรลุศาสนภาวะทุกคนจำเป็นต้องเตาบัตตัวให้พ้นจากความชั่วโดยรีบด่วน แม้ความชั่วนั้นจะเป็นความชั่วที่เล็กน้อยก็ตาม

   และไม่ถือว่าการเตาบัตจะเสียหาย  เมื่อได้กลับไปกระทำความผิดอีก  หากแต่จำเป็นต้องกระทำเตาบัตให้พ้นจากความผิดใหม่นั้นอีก
   สำหรับคนที่ตายไม่ทันเตาบัตจากความผิดนั้น  ก็แน่ว่าจำต้องถูกลงโทษเสมอไปเพราะอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ท่านอาจอภัยให้แก่เขา  ทั้งนี้นอกจากโทษฐานกุฟร  ซึ่งอัลเลาะห์  (ซ.บ.)ท่านจะไม่ให้อภัยโดยเด็ดขาด  ทั้งนี้หากได้ตายในสภาพนั้น
      
   อิหม่ามอัซอารีย์มีทัศนะว่า  ความผิดใหม่เมื่อเกิดขึ้นต้องถูกลงทัณฑ์  ซึ่งอาจจะเป็นบางส่วนของผู้กระทำผิดเท่านั้น

   การเตาบัตนั้น   ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ  3  ประการคือ.-
      1.   เลิกทำความผิด
      2.   เสียใจต่ออัลเลาะห์  (ซ.บ.)ที่ได้กระทำไป  ซึ่งนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการเตาบัต
      3.   มั่นใจว่า   จะไม่หวนไปกระทำความผิดนั้นอีก

      และหากความผิดนั้นเกี่ยวข้องกับมนุษย์  เช่น  ขโมย  ผิดประเวณีกับภรรยาผู้อื่นองค์ประกอบชองการเตาบัตก็ต้องเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งเป็นประการที่สี่คือ   ให้นำกลับคืนให้ผู้เป็นเจ้าของ   หรือขอโทษผู้เป็นเจ้าของโดยละเอียดในทัศนะของมัสฮับซาฟีอี    สำหรับมัสฮับมาลิกีย์ถือว่า   การขอโดยสรุปกล่าวคือไม่ต้องชี้แจงในรายละเอียดก็ใช้ได้


   มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องรักษาหัวใจให้พ้นจากความผิด  เช่น  เข้าใจผิดในอัลเลาะห์  (ซ.บ.)  หรือเข้าใจว่าได้ทำความดีมามากแล้ว  ทำผิดเพียงครั้งเดียวหรือเล็ก ๆ น้อย ๆ  อัลเลาะห์ท่านไม่เอาโทษ  หรือหมดหวังในความกรุณาของอัลเลาะห์  หรือยะโสต่อปวงบ่าวของพระองค์  หรือโอ้อวด  กล่าวคือ  อวดความดีของตนเองให้ผู้อื่นรู้ว่า  ได้ทำมากกว่าผู้อื่น   หรือภูมิใจตัวเอง  (หลงตัวเอง)   ในการตออัตที่ได้กระทำมา  หรืออิจฉาพี่น้องมุสลิมด้วยกัน  กล่าวคืออยากให้อัลเลาะห์  (ซ.บ.)ได้หยุดยั้งการให้เนี๊ยะมัตแก่ผู้อื่น  หรือคิดจะทำร้ายพี่น้องมุสลิมด้วยกัน   หรือนึกในใจอยู่เสมอว่า   จะทำม๊ะซียัตอีก    ไม่ว่าจะเป็นอย่างที่เคยทำมาแล้วหรือม๊ะซียัตประเภทอื่น  ๆ   หรือเสียดายในสิ่งที่ได้บริจาคไปในทางของอัลเลาะห์ (ซ.บ.)   เช่น  เสียดายซะกาต  เป็นต้อน  หรือการมีความเข้าใจผิดต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน   หรือเหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ในทางที่ศาสนาไม่อนุญาต  ตลอดจนการไม่ให้ความสำคัญ  (มักง่าย)  ในการปกป้องหรือหลีกห่างในเรื่องม๊ะซิยัต

   และมุสลิมทุกคนต้องรักษาร่างกายไม่ให้กระทำของที่เป็นม๊ะซียัต  เช่น  กินริบา  (ดอกเบี้ย)   ดื่มของมึนเมา  กินทรัพย์สินเด็กกำพร้า   กินสิ่งที่อัลเลาะห์  (ซ.บ.)  ห้าม   นินทา  คือพูดเรื่องที่ผู้ถูกพูดถึงไม่ชอบ   ไม่ว่าจะเป็นต่อหน้าหรือลับหลัง  ยุแยงตะแคงรั่ว  โกหก  สาปแช่ง  มองสตรีที่แต่งงานกันได้   มองเด็กหนุ่มด้วยตัณหา  มองสิ่งพึงอาย (เอารัต)  ฟังการนินทา  ชั่ง  ตวง วัด  ไม่มีความยุติธรรม  บิดพลิ้ว  ขโมย  ทำร้าย   ฆ่าโดยไม่จำเป็น  ประพฤติตัวตามแนวต้องห้าม     ซินา   ลิว๊าต  ทำให้น้ำอสุจิเคลื่อนออกมาโดยมือของผู้ที่มิใช่ภรรยา  เนรคุณพ่อแม่   หนีสงครามที่ต่อสู้กับกาเฟร  ตัดขาดญาติมิตร   ฉ้อฉล
   การดุอาอ์นั้น  คือ   การนอบน้อมถ่อมตนเพื่อขอสิ่งที่ต้องการจากอัลเลาะห์  (ซ.บ.)   อนุญาตให้ขอได้ทั้งขอให้แก่ตัวเอง  หรือ  ของให้แก่ผู้อื่นที่ยังไม่ตายหรือตายแล้ว   และจะเกิดเป็นผลไม่ว่าจะขอดีหรือขอไม่ดี

   มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่า   สิ่งทั้งปวงอื่นจากอัเลาะห์  (ซ.บ.)  นั้นพินาศสิ้น   นอกจากสิบประการต่อไปนี้.-

      1.   الروح       วิญญาณ
      2.   عجب الدنب    กระดูกก้อนหนึ่งที่เล็กมาก  อยู่ในตอนท้ายสุดของกระดูกสันหลัง  กระดูก                  ก้อนนี้มนุษย์มีทุกคน   กระดูกนี้จะไม่พินาศและด้วยกระดูกก้อนนี้   มนุษย์               จะฟื้นขึ้นมาอีกในวันกิยามะห์    มีหลักฐานปรากฏในหะดีษบุคคอรีย์และ               มุสลิม 
      3.   جسد الأنبياء    เรือนร่างของบรรดานะบี  ๆ   
      4.   جسدالشهداء   เรือนร่างของบรรดาผู้ที่สิ้นชีวิตในสมรภูมิเพือปกป้องอธิปไตยของศาสนา                 (มรณสัขขี)
      5.   العرش      อะรัช  คือ  อณาจักรอันยิ่งใหญ่ซึ่งปกคลุมสากลโลกอยู่นักวิชาการฝ่าย               สภาวะให้ทัศนะว่า  อะรัชนั้นเป็นรูปทรงกลมหรือโดมแห่งจักรวาลอัน               ไพศาล  อันเป็นที่ยอมรับกันในฝ่ายอะห์ลิซซุนนะห์  บางท่านมีทัศนะว่าอะ               รัชเป็นสิ่งถูกสร้างแรกที่อุบัตขึ้น  ในปัจจุบัมีมะลาอิกะฮ์ค้ำจุนอยู่  4  ท่าน                  และในวันกิยามะฮ์  จะมีมะลาอิกะฮ์ทำหน้าที่ค้ำจุน  8  ท่าน   ทีเป็นเช่นนั้น                  เพราะฤทธานุภาพแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทรงไขแสดงในวันนั้น  ดังปรากฏ               หลักฐานในพระคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า

   “มะลาอิกะฮ์  8  ท่านจะทำหน้าที่ค้ำจุนอะรัชแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้าซึ่งอยู่เหนือพวกเขาในวันนั้น”
   
   เราไม่อาจชี้ชัดได้ว่าสภาพความเป็นอะรัชนั้นเป็นอย่างไร  เนื่องจากไม่พบรายละเอียดจากตัวบทเกี่ยวกับเรื่องนี้  แต่วาญิบที่เราจะต้องศรัทธาและยอมรับตามที่ระบุอยู่ในอัลกุรอ่าน  อัลหะดีษ  และอิจมาอ์  ผู้ใดปฏิเสธ  ผู้นั้นเป็นกาเฟร

      6.   الكرسي    กุรซีย์   คือ  โครงสร้างแห่งรัศมีอันยิ่งใหญ๋อยู่เบื้องหน้าอะรัชเหนือฟ้าชั้นที่               เจ็ด   วายิบที่เราต้องอีหม่านและละสภาพความเป็นจริงของกุรซีย์ไว้ให้เป็น               กิจของอัลเละห์ (ซ.บ.)  เพรามีหลักฐานจากอัลกุรอ่าน   อัลหะดีษ  และอิจ               มาอ์  ระบุชัดในเรื่องนี้   ผู้ใดปฏิเสธ  ผู้น้นเป็นกาเฟร  ในหะดา  ที่รายงาน               มาจากอบูซัรร์  ระบุว่า

ماالكرسي في العرش إلا كحلقة من حديد  بين ظهراني فلاة من الأرض
“กุรซีย์  ในอะรัชนั้นมิใช่อื่นใด  นอกจากเป็นเหมือนเหล็กทรงกลมที่ตั้งอยู่บนพื้นที่กว้าง”
      
      7.   القلم       กอลั่ม  คือ  ลำแสงแห่งรัศมีที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างขึ้น  และทรงบัญชาให้               บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดตราบถึงวันกิยามะฮ์ วายิบที่เราต้องอีหม่านและ               ละสภาพความเป็นจริงของกอลั่มไว้ให้เป็นกิจของอัลเลาะห์  (ซ.บ.)                 ผู้ใดปฏิเสธ  ผู้นั้นเป็นกาเฟร  เพราะมีหลักฐานระบุอยู่อ่างชัดเจนในอัล-                      กุรอ่าน -อัลหะดีษและอิจมาอ์
      8.   اللوح      เลาห์  คือ  พื้อนผิวแห่งรัศมีอันยิ่งใหญ่  ซ่งปกากาหรือกอลั่มใช้บันทึกสิ่งที่               เกิดขึ้นทั้งหมดตราบถึงวันกิยามะห์  เอาไว้     เราไม่อาจกำหนดสภาพเป็น               จริงได้ถูกต้อง
   
   อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ทรงสร้างสิ่งดังกล่าวทั้งหมดโดยมีเหตุผลส่วนพระองค์  พระองค์มได้สร้างเพื่อพักอาศัย  เพื่อประทับนั่ง  หรือเพื่อจดบันทึกกันลืมแต่ประการใด
      9.   الجنة      สวรรค์
      10.   النار       นรก

   วิญญาณนั้นไม่มีใครรู้ว่ามีลักษณะอย่างไร  ?  นอกจากอัลเลาะห์  (ซ.บ.)   และจะต้องเชื่อว่าความตายนั้นเกิดขึ้นโดยอำนาจของอัลเลาะห์   และสิ่งอื่นจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ทั้งหมดต้องพบกับความตาย  และจะต้องเชื่อว่า   ملك الموت     นั้น    มีหน้าที่เอาวิญญาณของทุกสิ่ง  และวิญญาณนั้น  หลังสังขาร (เรือนร่าง)  ตายแล้ว   จะถูกลงโทษหรือจะได้รับเน๊ยะมัติ  จนกว่าจะกลับคืนสู่เรือนร่างใหม่  และสิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะยังไม่ตายจนกว่าริสกีของเขาจะหมด  แม้ว่าเขาจะถูกฆ่าก็ตามกล่าวคือจะไม่ตาย (ไม่ตายเพราะถูกฆ่า  แต่จะตายเพราะหมดริสกี)

   คำว่า  أجل    นั้นคือ  เวลาที่อัลเลาะห์ (ซ.บ.)  ได้ทรงกำหนดไว้ตั้งแต่   أزل    ว่าชีวิตของสิ่งนั้นจะจบลง

   เมื่อตายแล้วจะถูกมุงกัร   และนะกีรสอบถามว่า  ใครคือพระเจ้  นับถือศาสนาใด  นะบีชื่ออะไร   ทั้งนี้หลังจากที่ได้ถูกนำไปฝังแล้ว  นอกจากบางกลุ่มชนเท่านั้นที่จะไม่ถูกสอบถาม  อาธิ  บรรดาผู้มรณะสัขขี  คือบรรดาผู้ที่ตายในสมรภูมิรบเพื่อป้องอธิปไตยของอิสลาม

   คนตายนั้น  บางคนก็ถูกลงโทษ  บางคนก็ได้รับเนี๊ยะมัติ   การลงโทษในกุโบร์นั้นบางทีก็เป็นไปในลักษณะที่ถูกด้านซ้ายและขวาของกุโบร์บีบ  จนกระทั่งกระดูกซี่โครงสลักกัน  ซึ่งไม่มีใครหลุดพ้นภาวะดังกล่าวได้  นอกจากบางคนเท่านั้น  เช่นคนที่อ่าน   سورة الإخلاص   ในการเจ็บที่เป็นเหตุให้เขาตาย

   คนทุกคนจะต้องฟื้นคืนชีพใหม่ในวันกิยามะฮ์   และทุกคนต้องถูกสอบถามในผลกรรมที่ทำไว้  ยกเว้นบางคนที่ได้เข้าสวรรค์โดยไม่ต้องถูกสอบถาม  และผลกรรมทั้งหมดของทุกคนจะต้องถูกนำไปชั่งบนตราชู  และทุกคนจะต้องผ่าน  “ศิรอต”  คือ  สะพานที่ทอดไปสวรรค์  หรือทอดไปนรก

   มุอ์มินทุกคนไปดื่มน้ำที่บ่อของท่านนะบี  ศ้อล ฯ  และจะได้รับความช่วยเหลือ  (ชะฟะอัต)ในวันกิยามะฮ์  และซะฟะอัตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  คือ  การไปนั่งอยู่ ณ. สถานที่แห่งหนึ่งในทุ่งมะห์ซัรอันเป็นสถานที่ที่ชาวสวรรค์กำลังจะเดินทางไปสวรรค์  และชาวนรกจะเดินทางไปนรก

   มุสลิมทุกคนต้องเชื่อว่านรกมีจริง  และมีอยู่แล้วในขณะนี้  ซึ่งเป็นสถานที่ของกาเฟรที่จะต้องอยู่ในนั้นตลอดกาล  แต่มุสลิมที่ทำความผิดนั้น  แม้จะต้องตกนรก  แต่ก็จะได้ออกมาเมื่อถูกชำระโทษหมดสิ้นแล้ว

   และสวรรค์ก็มีจริง   ซึ่งก็มีอยู่แล้วในปัจจุบัน   ซึ่งนักวิชาการบางท่านเสนอทัศนะว่าสวรรค์นั้นอยู่บนฟ้า  โดยที่คนกาเฟรจะไม่มีโอกาสให้เข้าไปเลย  สวรรค์เป็นสถานที่พำนักอย่างตลอดกาลของบรรดาผู้มีศรัทธา  ซึ่งจะมีความสุขอยู่ในนั้น  ด้วยเนี๊ยะมัตต่าง ๆ  ที่สถาพร  สำหรับเนี๊ยะมัตของชาวสวรรค์ที่ดีที่สุดนั้นคือ  การได้เห็นพระพักตร์ของผู้อภิบาลผู้ทรง  อัล-กะรีม
رزقنا الله تعالى دلك مع المنعم عليهم من النبيين والصديقين والشهداء والصالحين وحسن أولئك رفيقا والحمد لله رب العالمين
وصلى الله وسلم على خير خلقه محمدوعلى آله وصحبه أجمعين آمين

   




   




ได้เขียนหนังสือเล่มนี้เสร็จในเวลาตอนสาย ๆ  คือเวลาประมาณสามโมงเช้า (09.00น.)  ของวันจันทร์  12  เดือนร่อบิอุ้ลเอาวั๊ล  ซึ่งเป็นวันเวลาคล้ายวันประสูติของท่านศาสดามูฮัมหมัด  ศ้อล ฯ  ปี  ฮ.ศ.  1313  ณ.นครมักกะฮ์  โดยผู้เขียนผู้มีนามว่า  อะห์มัด  บินมุฮัมมัดเซน  บิน  มุสตอฟา  บินมูฮัมมัด  อัล-ฟะตอนีย์  “ขอพระองค์ได้โปรดอภัยความผิดให้แก่เขาและขอพระองค์ปิดบังความลับของเขา  และขอพระองค์เปลื้องความทุกข์ของเขา   และการขอดังกล่าวทั้งหมดนี้  จงประสบแด่บุพการีย์ผู้สืบสันดาน   ผู้ที่รักชอบและมวลมิตรสหาย   
ตลอดจนมวลมุสลิมีนโดยทั่วกัน”





บทส่งท้าย
   
   ผมได้แปลหนัง  “ฟะรีดะตุ้ลหะรอเอ็ด”  เสร็จก็ได้ยินเสียงอะซานบอกเวลาอะซัร  ของวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์  2530  ขอให้อัลเลาะห์ได้โปรดมอบภาคผลอันพึงมีจากการแปลหนังสือนี้แด่อาเยาะห์ของผม  อัลมัรฮูมฮัจยีชาฟีอี  วันแอเลาะ   ขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทานคุณงามความดีดังที่ท่านนะบีมูฮัมมัดเคยขอ  และขอพระองค์ทรงปกป้องความชั่วทั้งปวงดั่งที่ท่านนะบีมูฮัมหมัดเคยขอ   จงประสบแด่ตัวผมและครอบครัง  บรรบุรุษและผู้สืบตระกูล  ตลอดจนพี่น้องมุสมีน  และมุสลิมาตโดยทั่วไป

ขอพระองค์ทรงโปรด

(นายอรุณ  วันแอเลาะ)
13 กุมภาพันธ์  พุทธศักราช 2530




ออฟไลน์ colidlayla

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 111
  • Respect: -1
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ก.ย. 17, 2008, 10:03 AM »
0
 salam
ญาซากัลลอฮ
เป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ
ขออัลลอฮทรงตอบแทนความดี

ออฟไลน์ mjehoh

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 45
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ก.ย. 17, 2008, 10:24 AM »
0
 salam
ข้อความที่ผิดพลาดเป็นความรับผิดชอบที่ผมต้องรับผิดชอบเอง  ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการพิมพ์นะครับ   และยินดีรับคำแนะนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้นครับ  ข้อมูลเดิมที่มีอยู่เป็นเอกสารสอนหลักสูตรพิเศษ โดยท่านอาจารย์อับดุลการีม  วันแอเลาะ
วัสสลามครับ 

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ก.ย. 18, 2008, 03:39 AM »
0
 salam

ถึงท่าน mjehoh ครับ  ขออัลลอฮ์ทรงตอบแทนความดีงามแด่ท่านได้นำเสนอข้อความเชิงการนี้  ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บรรดาพี่น้องนักศึกษามากมาย

อนึ่ง  หนังสือฟาริดะฮ์ฉบับภาษาไทยนี้  เป็นหนังสือว่าด้วยเรื่องหลักอะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์แบบขยายความ(อัตตัฟซีลีย์)สำหรับนักศึกษาที่ต้องการเรียนรู้หลักอะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อีกระดับที่สูงขึ้นไป  ดังนั้นหากมีพี่น้องท่านใดไม่เข้าใจตรงใหน  ก็โปรดอ้างอิงถามมาได้เลยครับ  พี่น้องของเราจะทำการอธิบายให้มีความชัดเจน  อินชาอัลเลาะฮ์ 

ฉะนั้นกระทู้นี้  ผมจึงอยากให้เป็นการเสวนาถามและอธิบายเกี่ยวกับอะกีดะฮ์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ อัลอะชาเราะฮ์  เพื่อผลประโยชน์ความดีงาม  จะได้แก่  ท่านอาจารย์อับดุลการีม วัลแอเลาะ , บิดาของท่านอาจารย์การีม วันแอเลาะ , ผู้แต่งหนังสือฟารีดะฮ์ , ท่าน mjehoh ผู้พิมพ์นำเสนอ , พี่น้องที่เข้ามาศึกษา , และทีมงานผู้เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมของเว็บไซต์แห่งนี้โดยทั่วกัน  อามีนยาร็อบ

วัสลาม 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หนังสือฟารีดะฮ์ (เตาฮีดภาคภาษาไทย)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ก.ย. 18, 2008, 03:52 AM »
0
salam
ข้อความที่ผิดพลาดเป็นความรับผิดชอบที่ผมต้องรับผิดชอบเอง  ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการพิมพ์นะครับ   และยินดีรับคำแนะนำความผิดพลาดที่เกิดขึ้นครับ  ข้อมูลเดิมที่มีอยู่เป็นเอกสารสอนหลักสูตรพิเศษ โดยท่านอาจารย์อับดุลการีม  วันแอเลาะ
วัสสลามครับ 

ว่าง ๆ ผมจะช่วยตรวจทานให้อีกครั้งครับ  ดังนั้นหากตรงใหนที่พิมพ์ตกไป  ผมก็ขออนุญาตท่าน mjehoh เพื่อทำการแก้ไขเลยนะครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged