ผู้เขียน หัวข้อ: การทักอีหม่ามเมื่อเขาลืมรอกาอัตมะมูมจะทำอย่างไร  (อ่าน 2511 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด

 salam
ก่อนอื่น...ผมไม่แน่ใจว่าคำถามนี้มีแล้วหรือยัง...แต่ผมก็ขอถามเลยว่า
การทักอีหม่ามเมื่อเขาลืมรอกาอัต หรือ (สมมติว่า) ตามจริงอาจจะเป็นรอกาอัตที่ 3 แล้วแต่เขานึกว่ารอกาอัตที่ 2 หรืออื่นๆ  ดังนั้นมะมูมควรจะทำหรือทักอีหม่ามอย่างไร
(ผมเคยเรียนมาว่าให้ทักอีหม่ามด้วยกับคำว่า سبحان الله ) แล้วถ้าหากกล่าวคำนี้ได้  ยังมีการอนุญาตให้ใช้คำอื่นๆอีกหรือไม่ และใช้ภาษาอื่นได้ไหม เช่น ภาษาไทย อังกฤษ (ในการทักอีหม่าม)  และอยากทราบว่า ใครจะเป็นผู้ที่ทักอีหม่ามหรือมะมูมคนใดคนหนึ่งหนึ่งใช่ไหม อย่างไร  (ช่วยอธิบายหน่อยครับ)
جزاكم الله خيرا كثيرا
والسلام   loveit:

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

อนุญาตให้มะมูมคนใดก็ได้  ทำการกล่าวซุบฮานัลลอฮ์เพื่อเตือนให้ทราบ  หรือทำการปรบมือด้วยการเอาฝ่ามือขวาตบที่หลังมือซ้าย  เมื่อเขาได้พบว่าอิมามได้ลืมองค์ประกอบ(รุกุ่น)บางอย่างในละหมาด หรืออนุญาตให้คนเข้ามาในบ้าน  หรือเตือนคนตาบอดเกรงว่าจะอยู่ในอันตราย  หรือมีสัตว์ร้ายย่างเข้ามา  เป็นต้น 

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า
 
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ التَّسْبِيحُ لِلرِّجَالِ وَالتَّصْفِيقُ لِلنِّسَاءِ

“ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า  การกล่าวตัสบีห์นั้นสำหรับผู้ชายและการปรบ(ด้วยหลัง)มือนั้นสำหรับผู้หญิง”  รายงานโดยมุสลิม (641)

นอกเหนือจากการกล่าวซุบฮานัลลอฮ์แล้ว  ยังอนุญาตให้กล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮ์ได้ในละหมาดได้อีกด้วย  ส่วนการกล่าวเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษนั้น  ถือว่าไม่ได้เพราะไม่ใช่เป็นถ้อยคำซิกิรตามที่ซุนนะฮ์ระบุไว้

ท่านอัลบุคอรีย์ได้กล่าวไว้ในบทว่าด้วยเรื่องการกล่าวซุบฮานัลลอฮ์และอัลฮัมดุลิลลาฮ์เป็นสิ่งที่อนุญาตในละหมาดสำหรับผู้ชาย  ความว่า

ท่านซะฮฺล์  บิน  สะอัด  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า

خَرَجَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏يُصْلِحُ بَيْنَ ‏ ‏بَنِي عَمْرِو بْنِ عَوْفِ بْنِ الْحَارِثِ ‏ ‏وَحَانَتْ الصَّلَاةُ فَجَاءَ ‏ ‏بِلَالٌ ‏ ‏أَبَا بَكْرٍ ‏ ‏رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا ‏ ‏فَقَالَ حُبِسَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏فَتَؤُمُّ النَّاسَ قَالَ نَعَمْ إِنْ شِئْتُمْ فَأَقَامَ ‏ ‏بِلَالٌ ‏ ‏الصَّلَاةَ فَتَقَدَّمَ ‏ ‏أَبُو بَكْرٍ ‏ ‏رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ‏ ‏فَصَلَّى فَجَاءَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏يَمْشِي فِي الصُّفُوفِ يَشُقُّهَا شَقًّا حَتَّى قَامَ فِي الصَّفِّ الْأَوَّلِ فَأَخَذَ النَّاسُ بِالتَّصْفِيحِ ‏ ‏قَالَ ‏ ‏سَهْلٌ ‏ ‏هَلْ تَدْرُونَ مَا التَّصْفِيحُ هُوَ التَّصْفِيقُ ‏ ‏وَكَانَ ‏ ‏أَبُو بَكْرٍ ‏ ‏رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ‏ ‏لَا يَلْتَفِتُ فِي صَلَاتِهِ فَلَمَّا أَكْثَرُوا الْتَفَتَ فَإِذَا النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏فِي الصَّفِّ فَأَشَارَ إِلَيْهِ مَكَانَكَ فَرَفَعَ ‏ ‏أَبُو بَكْرٍ ‏ ‏يَدَيْهِ فَحَمِدَ اللَّهَ ثُمَّ رَجَعَ ‏ ‏الْقَهْقَرَى ‏ ‏وَرَاءَهُ وَتَقَدَّمَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏فَصَلَّى

"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ออกมาทำการประนีประนอมระหว่างเผ่าอัมร์ บิน เอาฟ์ บิน ฮาริษ  ขณะถึงเวลาละหมาด  บิล้าลจึงไปหาท่านอบูบักร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา  แล้วบิล้าลกล่าวว่า  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมยังติดภาระกิจอยู่   ท่านจงเป็นอิมามนำละหมาดเถิด  ท่านอบูบักรกล่าวว่า  ได้เลย  หากพวกท่านต้องการ  ดังนั้นท่านบิล้าลจึงอิกอมะฮ์ละหมาด  แล้วท่านอบูบักร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  อยู่ขึ้นไปข้างหน้าแล้วทำการละหมาด  จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจึงเดินเข้ามาในบรรดาแถวแล้วทำการแหวกแหวกแถวจนกระทั่งท่านได้ยืนในแถวแรก  ดังนั้นบรรดาผู้คนจึงทำการ  ตัสฮีฟ  - ท่านซะฮฺล์กล่าวว่าพวกท่านรู้ไหมว่าอะไรคือตัสฮีฟ  มันก็คือการปรบมือ(ด้วยหลังมือ)นั่นเอง -  ท่านอบูบักร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ก็ไม่ยอมหันมาในละหมาดของเขา  ขณะที่พวกเขาได้ทำการปรบมือยิ่งมากขึ้น  ท่านอบูบักรจึงหันมา  ทันใดนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ก็อยู่ที่แถวแรกแล้ว  ท่านนบีจึงบ่งสัญญาณไปยังท่านอบูบักรว่า  "ให้ท่านจงอยู่ที่เดิมของท่าน"  ดังนั้นท่านอบูบักรจึงยกทั้งสองมือขึ้น  แล้วกล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮ์  หลังจากนั้นก็ถอยกลับให้อยู่ข้างหลังท่านนบี  แล้วท่านนบีก็อยู่ข้างหน้าและทำการละหมาด" รายงาานโดยบุคอรีย์ (1126)

อีกสายรายงานหนึ่งของท่านอัลบุคอรีย์ได้ระบุว่า

 فَلَمَّا فَرَغَ أَقْبَلَ عَلَى النَّاسِ فَقَالَ يَا أَيُّهَا النَّاسُ ‏ ‏مَا لَكُمْ حِينَ نَابَكُمْ شَيْءٌ فِي الصَّلَاةِ أَخَذْتُمْ ‏ ‏بِالتَّصْفِيحِ ‏ ‏إِنَّمَا ‏ ‏التَّصْفِيحُ ‏ ‏لِلنِّسَاءِ مَنْ نَابَهُ شَيْءٌ فِي صَلَاتِهِ فَلْيَقُلْ سُبْحَانَ اللَّهِ ثُمَّ الْتَفَتَ إِلَى ‏ ‏أَبِي بَكْرٍ ‏ ‏رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ‏ ‏فَقَالَ يَا ‏ ‏أَبَا بَكْرٍ ‏ ‏مَا مَنَعَكَ أَنْ تُصَلِّيَ لِلنَّاسِ حِينَ أَشَرْتُ إِلَيْكَ قَالَ ‏ ‏أَبُو بَكْرٍ ‏ ‏مَا كَانَ يَنْبَغِي ‏ ‏لِابْنِ أَبِي قُحَافَةَ ‏ ‏أَنْ يُصَلِّيَ بَيْنَ يَدَيْ رَسُولِ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ 

"ขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเสร็จสิ้น(จากละหมาด)  ท่านก็หันหน้าไปยังผู้คนทั้งหลาย  แล้วกล่าวว่า  โอ้บรรดาพวกท่านทั้งหลาย  ไม่บังควรแก่พวกท่าน  ขณะที่มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแก่พวกท่านในละหมาด  โดยทำการปรบมือ(ด้วยหลังมือ)  เพราะว่าการปรบมือนั้นสำหรับบรรดาสตรี  ดังนั้นผู้ใดที่มีสิ่งหนึ่งได้เกิดขึ้นแก่เขาในละหมาด  เขาก็จงกล่าวซุบฮานัลลอฮ์  หลังจากนั้นท่านนบีก็หันไปยังท่านอบูบักร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  แล้วกล่าวว่า  โอ้อบูบักร  อะไรหรือที่มาห้ามท่านนำละหมาดบรรดาผู้คนในตอนที่ฉันได้บ่งสัญญาณให้แก่ท่าน(อยู่ตรงที่เดิมเพื่อนำละหมาดต่อ)  ท่านอบูบักรกล่าวว่า  ไม่บังควรแก่อิบนุกุฮาฟะฮ์ (คือตัวท่านอบูบักร) ทำการ(นำ)ละหมาดขณะที่มีท่านร่อซูลอยู่" (1142)

ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร  กล่าวอธิบายว่า

وَأَنَّ مَنْ سَبَّحَ أَوْ حَمِدَ لِأَمْرٍ يَنُوبُهُ لَا يَقْطَعُ صَلَاتَهُ وَلَوْ قَصَدَ بِذَلِكَ تَنْبِيهَ غَيْرِهِ خِلَافًا لِمَنْ قَالَ بِالْبُطْلَانِ

"แท้จริงผู้ใดกล่าวซุบฮานัลลอฮ์หรืออัลฮัมดุลลิลลาฮ์เพราะมีประการหนึ่งที่มาเกิดประสบแก่เขา  ก็ไม่ทำให้การละหมาดของเขาเสีย และหากแม้นว่าการกล่าวนั้นเพื่อเตือนผู้อื่นทราบก็ตาม  ซึ่งฉันมีทัศนะที่ขัดแย้งกับผู้ที่กล่าวว่าเสียละหมาด(หากมีกล่าวเพราะมีเป้าหมายเพื่อให้คนอื่นรู้)" หนังสือฟัตฮุลบารีย์อธิบายซอฮฺห์บุคอรีย์ ฮะดิษที่ 1126

ท่านชัยค์อัลค่อฏีบอัชชัรบีนีย์  กล่าวว่า  "จำเป็นด้วยการกล่าวซุบฮานัลลอฮ์นั้น  เขาต้องเจตนาว่ามันเป็นการซิกิรพร้อมกับทำให้เข้าใจ(ในการเตือนให้ทราบ) ดังนั้นหากเขามีเจตนาทำให้เข้าใจ(ในการตักเตือนให้ทราบ)เพียงอย่างเดียวนั้น  ถือว่าละหมาดของเขาเสีย  และหากแม้นว่าท่านอิมามอัชชีรอซีย์ได้กล่าวในหนังสืออัลมุฮัซซับว่า  ละหมาดไม่เสียเพราะการกล่าวตัสบีห์เพื่อเตือนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกสั่งใช้  และท่านอิมามอันนะวาวีย์ก็นิ่งจากสิ่งดังกล่าว"  หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ : 1/376

ًوَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged