อัสลามุอะลัยกู้มฯ
ไปอ่านกระทู้เก่าๆ ที่ทางเราได้ตอบโต้พวกชีอะฮ์ในเรื่องอะกีดะฮ์
2. คำวิจารณ์หะดีษ ที่ 1
" นรกจะยังไม่เต็มจนกว่า พระองค์อัลลอฮฺจะทรงวางพระบาทของพระองค์" ปรากฎในบุคอรีและมุสลิม(ผมตรวจดุแล้วว่าหะดีษเหล่านี้มีจริงแต่จำเล่มและหน้าไม่ได้)
ชาราฟุดดีนได้วิจารณ์ว่า "ดูเหมือนว่า อบูฮุรอยเราะฮฺ มีความเชื่อว่าจะไม่มีคนบาปเพียงพอที่จะบรรจุนรกให้เต็มที่ในขณะที่อัลลอฮฺ ได้ทรงตรัสไว้ในกุรอานว่า "เป็นสัจธรรมโดยแท้ และข้าจะไม่พูดสิ่งใดนอกจากสัจจะ ข้าจะบรรจุนรกให้เต็มด้วยกับพวกเจ้าและผู้ใดก็ตามที่ตามเจ้าจากมวลหมู่พวกเขาทั้งหมด" ย่อมเห็นได้ชัดว่าในความคิดของอบูฮุรอยเราะฮฺ นั้นพระบาทของอัลลอฮฺต้องมีขนาดใหญ่ ซึ่งมันขัดกับกุรอานที่ได้ยกไปแล้วข้างต้น เหนืออื่นใด หะดีษนี้ยอมรับไม่ได้ทั้งหมดทั้งด้านสติปัญญา มุสลิมจะเชื่อหรือว่าอัลลอฮฺมีเท้า จะมีใครรับรองว่าอัลลอฮฺจะวางเท้าในนรก แล้วใครจะเชื่อว่านรกและสวรรค์โต้เถียงกันและกัน"
กรุณาชี้แจงด้วยครับ
อับดุลฮุเซน พยายามเข้าใจว่าความหมายของฮะดิษอยู่บนความเข้าใจแบบฮะกีกัต (คำแท้) คือพระบาทที่เป็นอวัยวะ ดังนั้นเมื่อเขาเข้าใจแบบคำแท้(ฮะกีกัต)นี้ ก็จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น(อัลละวาซิม) คืออัลเลาะฮ์ทรงมีอวัยวะที่ชื่อว่า พระบาท เมื่อพระองค์ทรงมีเท้าพระบาทแล้ววางลงไปนรก ก็แสดงว่าเท้าพระบาทของพระองค์ทรงใหญ่กว่านรก แล้วอับดุลฮุเซน ก็ทำการยัดเยียดความเข้าใจนี้ให้กับท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์และยัดเยียดให้กับแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
ตัวบทฮะดิษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ
فيضع قدمه عليها
"ดังนั้น พระองค์ทรงวาง กอดัม (แปลคำตรงและคำแท้ว่า เท้าพระบาท) บนนรก"
อีกสำนวนหนึ่งรายงานว่า
يضع الله فيها رجله
"พระองค์ทรงวาง ริจล์ (แปลคำตรงและคำแท้ว่าเท้าพระบาท) ของพระองค์ในนรก"
อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ มีจุดยืนต่อฮะดิษนี้ว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวฮะดิษเป็นภาษาอาหรับในเชิงเปรียบเปรยอุปมา (มะยาซฺ) ดังนั้น การที่ฮะดิษได้ให้สำนวนที่ว่า อัลเลาะฮ์ทรงวางเท้าพระบาทลงไปนรกญะฮันนัมขณะนั้นนรกได้กล่าวว่ายังมีเพิ่มอีกใหมนั้น หมายถึง พระองค์ทรงประสงค์ที่จะทำให้นรกที่เต็มไปด้วยบรรดาผู้ปฏิเสธนั้นมีความต่ำต้อย เหมือนกับว่าพวกเขาอยู่ภายใต้ฝ่าเท้า ไม่ใช่หมายความว่า อัลเลาะฮ์มีเท้าพระบาทในเชิงภาษาคำแท้ที่เป็นอวัยวะแบบจริง ๆ อนึ่ง ชาวอาหรับมักจะใช้อวัยวะต่าง ๆ ในเรื่องของการยกตัวอย่างอุทาหรณ์ เช่นคำว่า رغم أنفه "จมูกของเขาติดฝุ่น(คว่ำหน้า)" ซึ่งหมายถึง ต้องการให้เขาต่ำต้อย หรือคำว่า سقط في يده "บุคคลนั้นได้ตกอยู่ในมือของเขา" หมายถึง บุคคลนั้นได้อยู่ภายใต้อำนาจของเขาแล้ว (สรุปคำอธิบายของท่าน อัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ จากหนังสือ ฟัตหุลบารีย์)
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ อธิบายฮะดิษดังกล่าวว่า จุดยืนในฮะดิษนี้มีอยู่ 2 แนวทาง (ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์)
أحدهما : وهو قول جمهور السلف وطائفة من المتكلمين : أنه لا يتكلم في تأويلها بل نؤمن أنها حق على ما أراد الله , ولها معنى يليق بها , وظاهرها غير مراد .
1. ทัศนะคำกล่าวของสะลัฟส่วนมากและกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอ์กะลาม ว่า ไม่มีการพูดถึงการตีความฮะดิษซีฟาต แต่ทว่า เราขอศรัทธาว่าฮะดิษนี้เป็นความจริงตามความหมายที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ (ไม่ใช่มนุษย์) และให้กับซีฟาตนี้ มีความหมายที่เหมาะสมยิ่งสำหรับพระองค์ และความหมายแบบผิวเผิน(ฮะกีกัตคำแท้)นั้น ไม่ใช่จุดมุ่งหมายแน่นอน
والثاني : وهو قول جمهور المتكلمين أنها تتأول بحسب ما يليق بها
2. ทัศนะคำกล่าวของนักปราชญ์มุตะกัลลิมีนส่วนมาก ที่ว่า ฮะดิษซีฟาตนี้ถูกตีความ(ตะวีล) ตามความสิ่งที่มีความเหมาะสมด้วยกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์ตะอาลา
ส่วนการตีความนั้น พวกเขามีการขัดแย้งกันไป บ้างก็กล่าวว่า
المراد بالقدم هنا المتقدم , وهو شائع في اللغة ومعناه : حتى يضع الله تعالى فيها من قدمه لها من أهل العذاب , قال المازري والقاضي : هذا تأويل النضر بن شميل , ونحوه عن ابن الأعرابي
"จุดมุ่งหมายคำว่า กอดัม ณ ที่นี้ คือ المتقدم "ผู้ที่ถูกยื่นเสนอส่งไป(ในนรก)" ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลักภาษาอาหรับ ดังนั้น ความหมายของฮะดิษ
فيضع قدمه عليها
ก็คือ "จนกระทั่งอัลเลาะฮ์ตะอาลา ได้วาง ผู้ที่พระองค์ทรงยื่นส่งไปให้กับนรกจากผู้ที่ถูกลงโทษ" ท่านอัลมาซิรีย์และท่านอัลกอฏี กล่าวว่า นี้คือการตีความ(ตะวีล)ของท่าน อันนัฏร์ บิน ชะมีล (ซึ่งเป็นสะละฟุศศอลิห์) และคนอื่น ๆ จากท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้นำเสนอการตีความอีกเช่นกันว่า
ويجوز أيضا أن يراد بالرجل الجماعة من الناس , كما يقال : رجل من جراد , أي : قطعة منه
"และอนุญาตเช่นกันว่า จุดมุ่งหมายคำว่า الِرجْلُ หมายถึง กลุ่มหนึ่งจากมนุษย์ เช่นคนอาหรับกล่าวว่า رجل من جراد "กลุ่มหนึ่งจากตั๊กแตน"
يضع الله فيها رجله
"อัลเลาะฮ์ทรงวางกลุ่มหนึ่งจากมนุษย์ลงในนรก" (สรุปจากหนังสือ ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม ของท่านอิมามอันนะวาวีย์)
จากสิ่งที่ผมได้นำเสนอไปนั้น ก็ขอกล่าวว่า แนวทางที่หนึ่งในการมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์ย่อมดีกว่า และหนทางที่สองในการตีความนั้นย่อมดีกว่าสำหรับการตอบโต้พวกนอกลู่ วัลลอฮุอะลัม
ดังนั้น การที่อับดุล หุเซน เข้าใจความหมายฮะดิษแบบ ฮะกีกัต คำตรงคำแท้ นั้น ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดและไม่บังควร เพราะเป็นความเข้าใจที่ไม่ใช่แนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ผู้สัจจริง
นี่คือการอธิบายตอบโต้ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ที่มีต่อพวกชีอะฮ์นอกลู่ เพราะพวกชีอะฮ์พยายามเข้าใจซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่ระบุไว้ในฮะดิษซอฮิห์ที่มีความหมายคลุมเครือ
พวกชีอะฮ์เข้าใจฮะดิษแบบฮะกีดะฮ์คำตรงคำแท้ (ซึ่งเป็นหลักความเข้าใจพื้นฐานของอะกีดะฮ์วะฮาบีย์) จึงทำให้ชีอะฮ์ต้องนำมันมาโพทนาว่าฮะดิษที่รายงานโดยท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์บิดเบือนอย่างนั้นอย่างนี้
แต่ถ้าหากอธิบายตามหลักอะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ที่ว่า
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ อธิบายฮะดิษดังกล่าวว่า จุดยืนในฮะดิษนี้มีอยู่ 2 แนวทาง (ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์)
أحدهما : وهو قول جمهور السلف وطائفة من المتكلمين : أنه لا يتكلم في تأويلها بل نؤمن أنها حق على ما أراد الله , ولها معنى يليق بها , وظاهرها غير مراد .
1. ทัศนะคำกล่าวของสะลัฟส่วนมากและกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอ์กะลาม ว่า ไม่มีการพูดถึงการตีความฮะดิษซีฟาต แต่ทว่า เราขอศรัทธาว่าฮะดิษนี้เป็นความจริง
ตามความหมายที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ (ไม่ใช่มนุษย์) และให้กับซีฟาตนี้ มีความหมายที่เหมาะสมยิ่งสำหรับพระองค์ และความหมายแบบผิวเผิน(ฮะกีกัตคำแท้)นั้น ไม่ใช่จุดมุ่งหมายแน่นอน
والثاني : وهو قول جمهور المتكلمين أنها تتأول بحسب ما يليق بها
2. ทัศนะคำกล่าวของนักปราชญ์มุตะกัลลิมีนส่วนมาก ที่ว่า ฮะดิษซีฟาตนี้
ถูกตีความ(ตะวีล) ตามความสิ่งที่มีความเหมาะสมด้วยกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์ตะอาลา เมื่อเราใช้หลักอะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์มาอธิบายตอบโต้ ก็จะสามารถปิดประตูพวกชีอะฮ์จากการแอบอ้างและละเมิด่ต่อความเข้าใจที่มีให้กับฮะดิษของท่านนบี(ซ.ล.)ได้อย่างเด็ดขาดเลยทีเดียว
และนี่แหละครับที่พวกเราบอกว่าแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์เหมาะสมในทุกยุคสมัย
วัลลอฮุอะลัมบิสศ่อวาบ