ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือฟะรีดะฮ์ ซีฟัตที่ 13 อัลเลาะฮ์ทรงพูด (16)  (อ่าน 2082 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بسم الله الرحمن الرحيم

قال المصنف رحمه الله تعالي ونفعنا بعلومه فى الدارين 

13. กะลาม  แปลว่า "พูด" เป็นซีฟัตที่มีมาแต่เดิม  ซึ่งสถิตอยู่ที่ซ๊าตของพระองค์ที่แสดงออกหรือเป็นสื่อความหมายในทุกประการ  ไม่ว่าจะเป็นวาญิบ  ญาอิสหรือมุสต้าฮิ้ล  คำพูดของพระองค์นี้ไม่มีเสียง  และไม่มีอักษร  และตลอดจนคุณลักษณะใด ๆ ที่เหมือนกับคำพูดของมัคลู๊ก  คำพูดของพระองค์นี้มี  تعلق  คือมีหน้าที่หรือมีความสามารถพูดได้ในทุกเรื่องเหมือนกับหน้าที่ของ(ซีฟัต) อิลมุน (อัลเลาะฮ์ทรงรอบรู้)ดังได้กล่าวมาแล้ว  แต่มีต่างกันตรงที่  تعلق ของอิลมุนนั้น  เป็น تعلق إنكشاف  ( หน้าที่ในการรับรู้) และ تعلق الكلام  (ตะโล๊ะซีฟัตกะลาม) นั้น เป็น تعلق دلالة  (ตะโล๊ะดิละลาฮ์ คือ มีหน้าที่ของการแสดงออกหรือสื่อความเข้าใจอันหมายถึงทำให้เข้าใจ) นั่นเอง

และ  تعلق الكلام  (ตะโล๊ะซีฟัตกะลาม) อันหมายถึงคำพูดของพระองค์เมื่อพูดในสิ่งที่ไม่ใช่คำบัญชา  หรือคำห้าม  ซึ่งเรียกว่า  تنجيزى قديم  (ตันญีซีย์ ก่อดีม) สำหรับคำใช้  หรือคำห้ามนั้น  หากมิได้มีเงื่อนไขว่า "มีผู้รับบัญชาหรือห้าม"  เรียก  تعلق الكلام  (ตะโล๊ะซีฟัตกะลาม) ในลักษณะเช่นนี้ว่า تنجيزى قديم  (ตันญีซีย์ ก่อดีม) เช่นกัน  แต่หากมีเงื่อนไขว่า  "มีผู้รับคำบัญชาใช้หรือห้าม" เรียก تعلق الكلام  (ตะโล๊ะซีฟัตกะลาม) นั้นว่า تعلق صلوحى قديم  ดังกล่าวนี้  เมื่อพิจารณาถึงเวลาก่อนจากจะมีผู้สนองคำบัญชา  แต่เมื่อพิจารณาถึงในตอนหลังจากมีผู้สนองคำบัญชาแล้ว  ก็จะเรียกว่า تنجيزى حادث  (ตันญีซีย์ หาดิษ)

ซีฟัตมุสต้าฮีลที่ตรงกันข้ามกับ กะลามก็คือ "ใบ้" หรือมีเสียง  มีอักษร ฯลฯ อยู่ในคำพูดของพระองค์ 

หลักฐานที่ว่าอัลเลาะฮ์ท่านพูดได้นั้น  คือ  อัล-กุรอานที่ว่า

وكلم الله موسى تكليما

"อัลเลาะฮ์ทรงพูดกับมูซาอย่างแท้จริง"

หมายความว่า  อัลเลาะฮ์ท่านได้เปิดม่านให้ท่านนะบีมูซาและทำให้นะบีมูซาได้ยินคำพูดของพระองค์ที่มีอยู่แต่เดิม  มิได้หมายความว่า  พระองค์เพิ่งพูด  แวจะนิ่งหลังจากพูดเสร็จ เพราะพระองค์นั้น  ทรงพูดอยู่เสมอ (จงเข้าใจในคำว่าพูดของอัลเลาะฮ์ท่านให้ดีเสียก่อน  แล้วค่อยมาพิจารณาว่าอัลเลาะฮ์ทรงพูดอยู่เสมอ  เพื่อจะได้ไม่ประหลาดใจในคำที่ว่า  พระองค์ทรงพูดอยู่เสมอนี้)

และหลักฐานอีกแบบหนึ่งของกะลามนี้ก็คือ  หากพระองค์ไม่พูด  พระองค์ก็ใบ้  ซึ่งใบนั้นเป็นคุณลักษณะที่บกพร่อง  กล่าวคือเป็นสิ่งที่มุสต้าฮีล  พระองค์จึงต้องทรงคุณลักษณะกะลาม (พูด) ดังนั้น  เมื่อพระองค์พูดได้  ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจว่า  พระองค์ใบ้

والله تعالى أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
13. อัลกะลามุ อัลลออฺทรงพูด

    "...................และอัลลอฮฺได้ตรัสแก่มูซาจริงๆ" อัลกรุอาน 4 : 164

    คือได้ตรัสแก่นบีมูซาโดยตรงไม่มีสื่อกลางใดๆ  นั่นหมายถึง พระองค์ทรงพูด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 17, 2007, 07:20 PM โดย Goddut »

ออฟไลน์ คนเดินดิน

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1620
  • ขอให้ได้รับความโปรดปรานจากพระผู้ทรงเมตตาด้วยเถิด
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
จะรออ่านซีฟัตข้อต่อ ๆ ไปนะคะ ;) ;)
เพราะรู้ดีว่าเป็นเพียงหนึ่งคนที่อ่อนแอ  จึงทำให้คำนึงถึงคุณค่าของหนึ่งชีวิต  โปรดชี้แนะแนวทางที่เที่ยงตรงด้วยเถิด  ยาร็อบบี  سَلَّمْنَا مُسْلِمِيْنَ وَمُسْلِمَاتٍ فِي الدُّنْيَا وَ الأخِرَةِ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

อัลอะชาอิเราะฮ์  ไม่เคยปฏิเสธซีฟัต “อัรริฎอ” (คุณลักษณะความพอใจของอัลเลาะฮ์)  และซีฟัตอัลฆ่อฎ๊อบ (คุณลักษณะความโกรธกริ้วของอัลเลาะฮ์)  ดังนั้น  อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์จะปฏิเสธซีฟัต อัรริฎอและซีฟัตอัลฆ่าฎ๊อบได้อย่างไรในเมื่ออัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ยืนยันเกี่ยวกับซีฟัตนี้เอาไว้   ฉะนั้นผู้ใดที่กล่าวอ้างว่าอัลอะชาอิเราะฮ์ปฏิเสธสองซีฟัตดังกล่าว  ถือว่าเขาได้กระทำการอันผิดพลาดแล้ว  แต่ทว่าอัลอะชาอิเราะฮ์ได้ปฏิเสธการอธิบายเกี่ยวกับซีฟัตนี้ตามหลักอะกีดะฮ์วะฮาบีย์ต่างหาก

ท่านอิมามอัลบากิลลานีย์  กล่าวว่า  “ความโกรธกริ้วของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อผู้ที่พระองค์ทรงโกรธกริ้วและความพอใจของพระองค์ต่อผู้ที่พระองค์ทรงพอใจนั้น  ทั้งสองคุณลักษณะนี้หมายถึง  ความต้องการ(อัลอิรอดะฮ์)ของพระองค์ที่จะให้ผลบุญแก่ผู้ที่พระองค์ทรงพอใจและการลงโทษต่อผู้ที่พระองค์ทรงกริ้ว” หนังสืออัตตัมฮีด  ของท่านอิมามอัลบากิลลานีย์  หน้า 27

ท่านอิมามอัลบัยฮะกีย์  กล่าวว่า  “ความพอใจและความโกรธกริ้วของอัลเลาะฮ์ตามทัศนะบางส่วนแห่งนักปราชญ์ของเรานั้น  เป็นซีฟัตในเชิงการกระทำ  ซึ่งซีฟัตทั้งสองนี้  ตามทัศนะของท่านอบุลฮะซัน (อัลอัชอะรีย์) แล้วก็คือ  ซีฟัตความพอใจและความโกรธกริ้วย่อมกลับไปหาซีฟัตอิรอดะฮ์(ซีฟัตพระองค์ทรงประสงค์หรือเจตนา)  ดังนั้นคุณลักษณะอัรริฎอ  คือ  พระองค์ทรงประสงค์ (อิรอดะฮ์)ที่จะให้เกียรติบรรดาผู้ศรัทธาและให้ผลบุญต่อพวกเขาตลอดไป  และคุณลักษณะความโกรธกริ้วนั้น  คือพระองค์ทรงประสงค์ (อิรอดะฮ์) จะลงโทษพวกกุฟฟารตลอดไป  และทรงประสงค์ที่จะลงโทษบรรดามุสลิมที่ประพฤติชั่วตามที่พระองค์ทรงประสงค์” หนังสืออัสมาอ์วัสศิฟาต  หน้า 641

อุลามาอ์มัซฮับฮัมบาลีย์  คืออัลกอฏี อบูยะลา ได้กล่าวว่า  “อนุญาตให้พระองค์ทรงมีคุณลักษณะความโกรธกริ้วและความพอใจ...ซึ่งทั้งสองนั้น คือการที่พระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้ผลบุญต่อผู้ที่ถูกพอใจและจะทรงลงโทษผู้ที่ถูกโกรธกริ้ว”  หนังสือ อัลมั๊วะตะมัด ฟี อุศูลุดดีน  ของท่านอัลกอฏี อบูยะลา  หน้า 61

จากสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น   จะเห็นได้ว่าอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น  ไม่ได้ปฏิเสธซีฟัตอัรริฎอและซีฟัตอัลฆ่อฎ๊อบ  แต่ที่แตกต่างระหว่างอัลอะชาอิเราะฮ์กับมัซฮับวะฮาบีย์  คือการอธิบายซีฟัตทั้งสองที่แตกต่างกันต่างหาก  ดังนั้นเมื่อเราอธิบายแตกต่างจากวะฮาบีย์  เขาก็จะรีบอ้างสรุปไปว่า  เราปฏิเสธซีฟัตอัรริฏอและอัลฆ่อฎ๊อบ

เมื่อเราถามวะฮาบีย์ว่า  ซีฟัตอัรริฏอและซีฟัตอัลฆ่อฎ๊อบนั้นหมายถึงอะไร?  เขาก็จะตอบว่า  โกรธกริ้วก็คือโกรธกริ้ว  แต่เราไม่เข้าใจความหมายที่ว่าโกรธกริ้วตามทัศนะของวะฮาบีย์ว่ามันคืออะไร?  แต่เขาก็จะตอบว่า “มีความหมายตามหลักภาษาแบบฮะกีกัต(คำแท้)ที่ผู้คนทั่วไปเข้าใจกันดี”    ดังนั้นหากวะฮาบีย์ยืนยันซีฟัตโกรธกริ้วที่มีความหมายเช่นนี้  แน่นอนว่า  เราอัลอะชาอิเราะฮ์ปฏิเสธความหมายดังกล่าวตามที่วะฮาบีย์ได้หมายถึง  แต่หากวะฮาบีย์ถามเราว่า  ความหมายโกรธกริ้วตามทัศนะของเรานั้นคืออะไร?  เราขอตอบว่า  “ความโกรธกริ้วตามที่มนุษย์เข้าใจกันนั้น  ถูกประกอบขึ้นจาก 2 ปัจจัย  คือ  มีปฏิกิริยา( إنفعالات ) +  มีเจตนา الإرادة (อิรอดะฮ์) (คือมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาถึงความโกรธแล้วมีความประสงค์เจตนาที่จะโกรธตามมา  สำหรับการอยู่ดี ๆ ก็โกรธ หรือมีปฏิกิริยาแบบละเมอโกรธกริ้วแล้วไม่ตั้งใจโกรธนั้นคงเป็นการโกรธกริ้วไปไม่ได้)  ดังนั้น  การมีปฏิกิริยาถึงความโกรธ ( إنفعالات ) นั้นอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์พ้นจากสิ่งดังกล่าวและเป็นไปไม่ได้ที่จะมีที่พระองค์เพราะมันเป็นอาการหนึ่งของมนุษย์  อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า “ไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์  พระองค์ทรงทรงได้ยินและทรงเห็นยิ่ง” อัชชูรอ 11

 แต่การมีเจตนา الإرادة (อิรอดะฮ์) นั้น  เราขอยอมรับและยืนยันมันให้กับให้กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา  กล่าวคือเรายอมรับว่าอัลเลาะฮ์ทรงประสงค์เจตนาที่จะลงโทษผู้ที่ถูกโกรธกริ้ว  หากวะฮาบีย์กล่าวว่า  แบบนี้เป็นการตะวีล(ตีความ) เราก็ขอกล่าวว่า  หากมันคือการตีความท่านก็จะเรียกมันว่าเป็นการตีความเถิด  เพราะมันเป็นความถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

หากวะฮาบีย์กล่าวว่า  การมีเจตนา الإرادة (อิรอดะฮ์)  ก็มีความหมายถึง  “การโน้มเอียง”  เราขอกล่าวว่า  “เราไม่ยืนยันคุณลักษณะการโน้มเอียงให้กับอัลเลาะฮ์”  หากเขาถามว่า  “แล้วอะไรคือคำนิยามคำว่า การมีเจตนา الإرادة (อิรอดะฮ์) ตามทัศนะของท่าน”  เราขอตอบว่า  การมีเจตนา الإرادة (อิรอดะฮ์) ของอัลเลาะฮ์ตามทัศนะของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้นคือ

تَخْصِيْصُ الْمُمْكِنِ بِبِعْضِ مَا يَجُوْزُ عَلَيْهِ

“การเจาะจงสิ่งที่เป็นมุมกินด้วยกับบางส่วนที่อนุญาตต่อมัน” ดูหนังสือ ฮาชียะฮ์อัชชัรกอวีย์  หน้า 68 

กล่าวคือสิ่งที่ “มุมกิน” หมายถึง  สิ่งที่เป็นไปได้หรือเกิดขึ้นได้จากสิ่งต่าง ๆ   เช่น  ทำให้มีก็ได้หรือทำให้ไม่มีการได้  ทำให้คนที่เกิดมาเป็นชายก็ได้เป็นหญิงก็ได้  ดังนั้น  “การเจาะจง”  ก็หมายการที่พระองค์ให้น้ำหนักสิ่งหนึ่งเหนืออีกสิ่งหนึ่ง  กล่าวคือ  พระองค์ทรงให้น้ำหนักมนุษย์ที่จะเกิดมาเป็นผู้ชายมิใช่เป็นผู้หญิงเป็นต้นหรือพระองค์จะทรงประสงค์จะโกรธกริ้วบ่าวคนนี้และบ่าวคนนั้นก็ได้  เพราะอัลเลาะฮ์จะกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ นั่นคือคำนิยามของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์       

ดังนั้น  หากเราถามวะฮาบีย์ว่า  ซีฟัตโกรธกริ้ว นั้นมีความหมายตามที่มนุษย์รู้กันนั้นมันเป็นอย่างไร?  หากท่านตอบว่า  “มันคือการมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาถึงความโกรธแล้วมีความประสงค์เจตนาที่จะโกรธตามมา”  เราขอกล่าวว่านี้เป็นการยืนยันการคล้ายคลึงคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อมนุษย์  และสะละฟุศศอลิห์ก็มิได้เคยกล่าวไว้อย่างนั้น อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า “ไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์  พระองค์ทรงทรงได้ยินและทรงเห็นยิ่ง” อัชชูรอ 11 แต่หากวะฮาบีย์ตอบว่า  “โกรธกริ้วก็คือโกรธกริ้วแต่ไม่รู้ว่าอธิบายความหมายอย่างไร?”  เราขอกล่าวว่า  หลักการตอบแบบนี้มิใช่แนวทางของวะฮาบีย์ในปัจจุบันเพราะวะฮาบีย์ปัจจุบันนั้นรู้ความหมายและตัฟซีรอธิบายได้! 

สรุปคือ  อัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮาบีย์นั้น  มิได้ปฏิเสธซีฟัตอัรริฎอและซีฟัตอัลฆ่อฏ๊อบ  แต่แตกต่างกันในด้านการอธิบายความหมายของสองซีฟัตดังกล่าว   ดังนั้น  การอธิบายความหมายของซีฟัตที่ต่างกัน ณ ตรงนี้  ย่อมไม่เป็นการปฏิเสธซีฟัตนั่นเองครับ  ส่วนการอธิบายความหมายของซีฟัตทั้งสองนี้  อัลอะชาอิเราะฮ์อธิบายว่า  อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ให้บุญและลงโทษ   ส่วนวะฮาบีย์อธิบายว่ามันอยู่ในความหมายที่มนุษย์รู้กัน

วัลลอฮุอะลัม 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ zakinah

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 41
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

 

GoogleTagged