بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ
การละหมาดพร้อมกับหญิงอื่นที่แต่งงานกันได้สองต่อสองถือว่าฮะรอมและละหมาดใช้ไม่ได้
ท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لَا يَخْلُوَنَّ رَجُلٌ بِامْرَأَةٍ إِلَّا وَمَعَهَا ذُو مَحْرَمٍ وَلَا تُسَافِرْ الْمَرْأَةُ إِلَّا مَعَ ذِي مَحْرَمٍ
"ชายคนหนึ่งจะไม่อยู่ตามลำพังกับหญิงคนหนึ่งนอกจากพร้อมกับนางนั้นต้องมีผู้ที่แต่งงานกันไม่ได้ และผู้หญิงคนหนึ่งจะไม่ทำการเดินทางนอกจากพร้อมกับผู้ที่แต่งงานกันไม่ได้" รายงานโดยมุสลิม (2391)
ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า "ปราชญ์ของเรากล่าวว่า ไม่มีการแบ่งแยกในการฮะรอมอยู่ตามลำพัง กล่าวคือเราถือว่าฮะรอมอยู่ตามลำพังไม่ว่าจะอยู่ในละหมาดหรือนอกละหมาดก็ตาม" ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม : 5/120
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวเช่นกันว่า "นักปราชญ์ของเรากล่าวว่า เมื่อชายคนหนึ่งได้เป็นอิมามนำละหมาดภรรยาของเขาหรือผู้ที่แต่งงานกันไม่ได้สำหรับเขาและอยู่ตามลำพังกับนาง ถือว่าอนุญาตโดยไม่มักโระฮ์แต่อย่างใด เพราะอนุญาตให้เขาอยู่ตามลำพังนอกละหมาดกับนางได้ และถ้าหากคนหนึ่งได้นำละหมาดผู้หญิงอื่นและทำการอยู่แบบตามลำพังกับนาง ถือว่าฮะรอมบนเขาและนางเพราะมีบรรดาฮะดิษซอฮิห์ได้ระบุไว้" หนังสือมัจญ์มั๊วะอฺ ของอิมามอันนะวาวีย์ ; 4/277
ดังนั้น การอยู่ร่วมกันตามลำพังกับหญิงอื่นเป็นสิ่งที่ฮะรอม การละหมาดร่วมกันตามลำพังกับนางก็ถือว่าฮะรอมและละหมาดใช้ไม่ได้เช่นกัน
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ