بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ
การหย่าแบบเขียน ถือว่าเป็นการหย่าประเภทกินายะฮ์ (หย่าโดยทางอ้อมมิได้ชัดเจน) ซึ่งต้องอาศัยการเหนียตหรือตั้งใจถึงจะมีผลบังคับใช้ ดังนั้นหากสามีได้เขียนเป็นหนังสือหรือจดหมายหย่าถึงภรรยาแล้วเขาไม่เหนียตตั้งใจหย่า ก็ถือว่าไม่ตกต่อล๊าก แต่หากเขาเขียนแล้วเหนียตตั้งใจที่จะหย่าภรรยา ก็ถือว่าตกต่อล๊ากครับ
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ มินฮาจญ์ของท่านว่า
لَوْ كَتَبَ نَاطِقٌ طَلاَقاً وَلَمْ يَنْوِهِ فَلَغْوٌ وَإِنْ نَوَاهُ فَالْأَظْهَرُ وُقُوْعُهُ فَإِنْ كَتَبَ إِذَا بَلَغَكِ كِتَابِيْ فَأَنْتِ طَالِقٌ فَإِنَّمَا تَطْلُقُ بِبُلُوْغِهِ وَإِنْ كَتَبَ إِذَا قَرَأْتِ كِتَابِيْ وَهِيَ قَارِئَةٌ فَقَرَأَتْهُ طَلُقَتْ وَإِنْ قُرِىءَ عَلَيْهَا فَلاَ فِي الأَصَحِّ وَإِنْ لَمْ تَكُنْ قَارِئَةً فَقُرِىءَ عَلَيْهَا طَلُقَتْ
"ถ้าหากผู้ที่พูดได้ ได้ทำการเขียนหย่าภรรยา โดยเขามิได้เหนียตตั้งใจจะหย่า ก็ถือว่าเป็นโมฆะ(คือไม่นับว่าเป็นการหย่าตามทัศนะที่ถูกต้อง) และถ้าหากเขาได้ทำการเหนียตหย่า ทัศนะที่ชัดเจนยิ่งคือตกต่อล๊าก ดังนั้นถ้าหากเขาได้เขียน(หนังสือหย่าภรรยาของตน)ว่า เมื่อหนังสือ(หย่า)ของฉันถึงเธอแล้วเธอถูกหย่า แน่นอนว่าภรรยาของเขาตกต่อล๊ากทันทีเมื่อหนังสือไปถึง (เพราะเงื่อนไขได้เกิดขึ้นก็คือหนังสือได้ไปถึงเธอแล้ว) และถ้าหากเขาเขียนว่า เมื่อเธออ่านข้อเขียนของฉัน - ในสภาพที่ภรรยาเป็นคนอ่านหนังสือได้ - แล้วเธอก็อ่านมัน ก็ถือว่าเธอได้ตกต่อล๊าก และถ้าหากข้อเขียนนั้นถูกอ่านให้เธอฟัง ก็ถือว่าไม่ตกต่อล๊ากตามทัศนะที่ถูกต้องกว่า (เพราะเธอไม่ได้อ่านมันทั้งที่มีความสามารถจะอ่านได้) และถ้าหากว่าเธออ่านหนังสือไม่ได้ (หมายถึงสามีก็รู้ดีกว่าภรรยาอ่านหนังสือไม่ได้) ดังนั้นเมื่อข้อเขียนถูกอ่านให้เธอฟัง ก็ถือว่าเธอตกต่อล๊าก (เพราะการอ่านให้กับผู้ที่เขียนไม่ได้อ่านไม่ออกได้รับฟังนั้นถือว่าเป็นการบอกให้รับรู้ถึงเนื้อหาที่มีอยู่ในจดหมายหรือหนังสือนั้นแล้ว)" ดู หนังสือมินฮาญุฏฏอลิบีน หน้า 95 และหนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ 4/488-489
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ