ผู้เขียน หัวข้อ: คนตายละหมาดในกุบูร เขาว่าเป็นนิยายปรัมปรา? โดย bos101  (อ่าน 15456 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ admin

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนสนิท (._.")
  • *****
  • กระทู้: 464
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • ..
ดูตัวงานอย่าดูที่คน เหมือนอิสลามสมบูรณ์ แต่มุสลิมทำตัวแย่ยังมีให้เห็น
ไม่แน่ถ้าท่านเองได้ออก ท่านก็จะเป็นคนนึงที่เข้าใจ และตักเตือนคนดะวะฮ์เอง

เป้าหมายหลักของงานนี้คือ พยายามบนอีหม่าน ของตัวเองก็เป็นส่วนสำคัญ เนียตรเพื่อปรับปรุงตัว ยังไงๆก็ต้อง ปรับปรุงจนถึงวันกียามัตแหละครับ ดุอาอ์ให้ด้วย


ผมว่าเปลี่ยนเป็นพูดเรื่องเดิมที่เจ้าของกระทู้ตั้งดีกว่าไหมครับ อย่าพูดเรื่องดะวะฮ์เลยเกรงใจเขา  smile:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 08, 2008, 06:02 PM โดย admin »

ออฟไลน์ jaseen

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
...อัสลามุอะลัยกุม ว่าเาะห์มาตุลลอฮ์ ว่าบ่าร่อกาตุฮ์...
...ขออนุญาต ร่วมแจมด้วยคนนะครับ เป็นน้องใหม่...
...ถามบังๆทั้งหลายนะครับ ว่าคนที่ชื่อ อบูซันนาน เห็นคนคนตายละหมาดใน กุบูรได้อย่างไร...
...เรื่องเล่าของ อบูซันนาน ก็มิได้สืบไปถึง นบีซักนิด...
...แต่ผมพอสรุปโดยรวมของผมเองที่อ่านมาในกระทูนี้นะครับ...
...ความเชื่อในลักษณะนี้เป็นไปในแนวทาง ซูฟี พวกตะเซาวุฟ ที่คิดว่า คนกะรอมะห์นั้น เป็นกันได้อย่างดาษดื่น เกิดกันอย่างง่ายๆ...
...ผมคิดของผมอย่างนั้นนะ มีไรช่วยชีแนะด้วย...
...วัสลามมุอะลัยกุม ว่าเราะห์มาตุลลอฮ์ ว่าบ่าร่อกาตุฮ์...

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

ในเมื่อคุณไม่ได้ปฏิเสธหลักกะรอมัต  ดังนั้นหากมีตาบิอีนที่มีคุณธรรมรายงานอย่างท่านษาบิต อัลบุนานีย์เล่ามาถึงเราด้วยสายรายงานที่ซอฮิห์  ก็ไม่ควรฟันธงว่าเป็นสิ่งโกหก เนื่องจากตาบิอีนที่เล่ารายงานมานั้น  เขาไม่ใช่เป็นคนโกหก

วัสลาม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ jaseen

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
...คนที่เล่าคือ ท่านอบูซันนาน ครับ มิใช่ ท่านษาบิต อัลบุนานีย์...
...ผม อ้างอิงตามนี้ ในมือผมไม่มีหนังสือ คุณค่าอามั้ล แตเดี๋ยว วัน สอง วันนี้ คงได้ อินชาอัลลอ์...

ท่านอบูซันนานได้เล่าว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ฉันเองเป็นคนหนึ่งในจำนวนผู้นำมัยยิต (ศพ) ของท่านซาเบตไปฝัง หลังจากได้ทำการฝังท่านเสร็จ ทันใดนั้นเองหินก้อนหนึ่งที่อยู่ริมกุโบรตกลงไปในหลุม ฉันพยายามแอบมองทางรูที่หินนั้นลงไป ฉันตกใจตลึงงันเพราะได้เห็นว่าท่านซาเบตกำลังละหมาดอยู่ในหลุม เมื่อกลับบ้านได้ไปถามกับลูกสาวของท่านและเล่าเหตุการณ์ให้หล่อนฟัง หล่อนก็บอกว่า บิดาของหล่อนไม่เคยทิ้งละหมาดตะฮัจญุดเลยตลอดระยะเวลา 50 ปี และท่านดุอาต่ออัลลอฮ์ให้อนุญาตให้ท่านได้ละหมาดในกุโบร”

...คุณ al-azhary ตรงนี้ขอให้ปรับให้ตรงกันก่อน...
...ถ้าผมเข้าใจผิด ก็บอกด้วย...

ออฟไลน์ jaseen

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
...สิ่งที่ผมถามคือ คนที่ชื่อ อบูซันนาน เห็นคนคนตายละหมาดใน กุบูรได้อย่างไร...
...ผมต้องการคำตอบตรงนี้ก่อน แล้วค่อยไปประเด็นต่อไป...
...ตามตัวบทที่ผมอ้างอิง...

ท่านอบูซันนานได้เล่าว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ฉันเองเป็นคนหนึ่งในจำนวนผู้นำมัยยิต (ศพ) ของท่านซาเบตไปฝัง หลังจากได้ทำการฝังท่านเสร็จ ทันใดนั้นเองหินก้อนหนึ่งที่อยู่ริมกุโบรตกลงไปในหลุม ฉันพยายามแอบมองทางรูที่หินนั้นลงไป ฉันตกใจตลึงงันเพราะได้เห็นว่าท่านซาเบตกำลังละหมาดอยู่ในหลุม เมื่อกลับบ้านได้ไปถามกับลูกสาวของท่านและเล่าเหตุการณ์ให้หล่อนฟัง หล่อนก็บอกว่า บิดาของหล่อนไม่เคยทิ้งละหมาดตะฮัจญุดเลยตลอดระยะเวลา 50 ปี และท่านดุอาต่ออัลลอฮ์ให้อนุญาตให้ท่านได้ละหมาดในกุโบร”

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
...สิ่งที่ผมถามคือ คนที่ชื่อ อบูซันนาน เห็นคนคนตายละหมาดใน กุบูรได้อย่างไร...
...ผมต้องการคำตอบตรงนี้ก่อน แล้วค่อยไปประเด็นต่อไป...
...ตามตัวบทที่ผมอ้างอิง...

ท่านอบูซันนานได้เล่าว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ฉันเองเป็นคนหนึ่งในจำนวนผู้นำมัยยิต (ศพ) ของท่านซาเบตไปฝัง หลังจากได้ทำการฝังท่านเสร็จ ทันใดนั้นเองหินก้อนหนึ่งที่อยู่ริมกุโบรตกลงไปในหลุม ฉันพยายามแอบมองทางรูที่หินนั้นลงไป ฉันตกใจตลึงงันเพราะได้เห็นว่าท่านซาเบตกำลังละหมาดอยู่ในหลุม เมื่อกลับบ้านได้ไปถามกับลูกสาวของท่านและเล่าเหตุการณ์ให้หล่อนฟัง หล่อนก็บอกว่า บิดาของหล่อนไม่เคยทิ้งละหมาดตะฮัจญุดเลยตลอดระยะเวลา 50 ปี และท่านดุอาต่ออัลลอฮ์ให้อนุญาตให้ท่านได้ละหมาดในกุโบร”

เวลาพูดถึงกุบูร  บางครั้งเราก็นึกว่ากุบูรนั้นเหมือนกับกุบูรบ้านเราคือขุดหลุมแล้วฝังกลบด้วยดินโดยไม่มีทางที่ก้อนหินจะตกลงไปได้  แต่หากคุณมาที่อียิปต์ก็จะทราบทันทีว่ากุบูรของอียิปต์นั้นไม่เหมือนกับที่เมืองไทย  ซึ่งกุบูรจะทำเป็นหลุมอุโมงค์ลงไปแล้วเอามัยยิดไปตั้งเรียงกันแล้วก็เอาหินปิดผาอุโมงค์ไว้  หากใครเสียชีวิตอีกก็จะทำการเปิดผาหินอุโมงค์ลงไปใต้ดินแล้วเอามัยยัยิดไปวางแล้วอ่านตัลกีน  มัยยิดที่เรียงรายอยู่ใต้ดินนั้นเราก็เห็นกันอยู่โดยสภาพที่มัยยิดถูกห่อศพเอาไว้เรียบราย

ที่อียิปต์ก็มีกุบูรของนักเรียนไทยที่สถานทูตทางมาเลเซียได้ประสานงานกับชาวมาเลผู้ใจบุญ  ทำการซื้อที่ดินผืนเล็ก ๆ เพื่อทำเป็นกุบูรสำหรับนักเรียนไทย  เพราะมีนักเรียนไทย 5 - 6 คนที่เสียชีวิตไปแล้วเนื่องจากประสบอุบัติเหตุบ้าง  เป็นโรคประจำตัวบ้าง  ซึ่งลักษณะกุบูรนั้นมิใช่อยู่ในรูปแบบฝังลงหลุมแล้วกลบด้วยดินเหมือนเมืองไทยเลย  แต่เป็นลักษณะของหลุมอุโมงค์แล้วเอามัยยิดไปเรียงรายตามหลุมที่ตะเตรียมเอาไว้  ดังนั้นเมื่อมีนักศึกษาไทยเสียชีวิต  ก็จะไปติดต่อกับชาวอาหรับที่ดูแลเฝ้ากุบูรประตูกุบูรให้  เมื่อจัดการมัยยิดเรียบร้อยแล้ว  ก็จะเปิดอุโมงค์กุบูรแล้วเอามัยยิดไปตั้งที่หลุมที่ตระเตรียมไว้  แล้วมีคนลงไปอ่านตัลกีนและดุอาให้  หลังจากนั้นก็ขึ้นมาข้างบนแล้วปิดปากหลุมเอาไว้

อาหรับที่ดูแลเรื่องกุบูร(ซึ่งทางสมาคมก็ให้เงินเดือนเขาเล็กน้อยเหมือนกัน) เคยเล่าให้ฟังว่า  เมื่อเข้าไปในอุโมงค์กุบูร  ก็จะมัยยิดหนึ่งซึ่งยังคงสภาพเดิมหมายถึงไม่วันฝังแรก ๆ กับช่วงเวลาเป็นปีผ่านไปนั้น  เมื่อลงไปดู(ขณะที่มีมัยยิดใหม่)ก็จะเห็นสภาพเดิมไม่เปลื่อยแห้ง  ซึ่งนายกสมาคมบังดลมานบอกกับเจ้าหน้าที่อาหรับคนนั้นว่า มัยยิดนั้นเป็นมัยยิดของนักศึกษาไทยมุสลิมะฮ์ที่ท่องจำอัลกุรอาน(ฮาฟิซอัลกุรอาน)  แต่ประสบอุบัติเหตุรถชนเสียชีวิต  ซึ่งผมอยู่ละหมาดญะนาซะฮ์ให้ด้วย

ดังนั้นเมื่อลักษณะกูบูรเป็นเช่นนี้  จึงเป็นไปได้ที่หินจะตกลงไปและเห็นมัยยิดในกุบูร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกะรอมัตของท่านษาบิต  ผู้รายงานฮะดิษซอฮิห์เกี่ยวกับเรื่องนบีละหมาดในกุบูรด้วย

วัลลอฮุอะลัม   
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ jaseen

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
...มิใช่ครับ ลักษณะของกุบูรนั้น ไม่ใช่ประเด็นสำหรับผม...
...หลุมจะเปิดกว้าง หรือกลบฝัง ไม่เป็นไร แต่ที่ต้องการทราบคือ อบูซันนาน ผู้เล่าเหตุการ์ณ เห็นคนตายละหมาดในกุบูรได้อย่างไร...
...เห็นในลักษณะไหน และเห็นแต่ผู้เดียว อีกทั้งยังมีเงื่อนไขสำหรับผู้ตายที่จะละหมาดในกุบูรได้อีก...
...เรื่องราวดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ อากีดะห์โดยตรงครับ การที่เราจะสอนและรับเอามาเป็น อากีดะห์นั้น ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน หนักแน่น...
...และการรายงานต้องสืบไปถึงท่าน ร่อซูล ซ.ล.  แต่จากเรื่องเล่านี้เป็นเพียงแต่เรื่องเล่าเรื่องหนึ่งเท่านั้น...
...ผมเองก็ฟังได้ครับ แต่หากจะรับเอามาเป็นอากีดะห์นั้น หรือแนวทางปฏิบัตินั้น พี่น้องต้องไตร่ตรองนิดนึงนะครับ...
...หากจะหาคำตอบจากเรื่องราวในลักษณะนี้ ผู้ที่ตอบได้คงเป็น กลุ่มซูฟี ตอริกัต หรือ พวกแนวตะเซาวูฟ ครับ...
...คงไม่ต้องแปลกใจเพราะกลุ่ม ญะมะอัตตับฆีษ ก็มีอากีดะห์ในแนวทาง ซูฟี อยู่แล้ว จากในหนังสือ คุณค่าอามั้ล ก็มีเรื่องเล่ามากมายที่ อ้างอิงจาก อะห์ลุซซูฟีท่านหนึ่งว่าอย่างโน้น ท่านนั้นว่าอย่างนี้ กล่าวอยู่เนืองๆในหนังสือ ผมเคยอ่านผ่านตามาบ้าง...
...หรือแม้กระทั่งในหนังสือ คู่มือมุสลิมเบื้องต้น (ผมไม่ขอเอ่ยนามผู้เรียบเรียงแล้วกัน เดี๋ยวจะไปพาดพิงท่านไม่สมควร)เล่มเล็ก หน้าปกสีตองอ่อนออกเขียวๆ เล่ม 1...
...หน้า 83 เขียนว่า " มีเรื่องที่เล่ากล่าวไว้เรื่องหนึ่ง คือ มีชายหนุ่มคนหนึ่งจาก "อะห์ลิ้ลกัซฟี" (คือผู้ที่อัลลอฮ์เปิดให้เห็นความลับต่างๆ) " และในบรรทัดถัดๆมาก็เขียนว่า " ในบรรดาผู้ที่มาชุมนุมอยู่นั้นมี แซ็ก "อะลิสซูฟี" คนหนึ่ง ...
...ผมจะไม่ขอออกความเห็นกับเรื่องเล่าเรื่องนี้เดี๋ยวจะเป็นประเด็น แต่ที่เขียนให้ดูนั้นว่า หลักอากีดะห์หรือคำสอนนั้นก็อยู่ในแนวๆเดียวกัน...
...บัง อัชอารี ช่วยการันตี หน่อยได้ไหมว่า เรื่องราวต่างๆนั้น เอามาเป็นอากีดะห์ เป็นหลักปฏิบัติได้หรือไม่...
...ช่วยการันตีให้ทีครับ...

ปล."เรื่องราวที่ บัง อัชอารีเล่ามานั้น ก็เป็นเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งครับผมฟังได้ และคนละเรื่องกับการเห็นผู้ตายละหมาดในกุบูร"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 09, 2008, 10:04 AM โดย jaseen »

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
เรื่องราวต่างๆนั้น เอามาเป็นอากีดะห์ เป็นหลักปฏิบัติได้หรือไม่...

       ขอเสริมเสวนาสักหน่อยครับ  คือจากสิ่งที่พี่น้องเขานำเสนอกันมานั้น  สรุปประเด็นหลักๆ ได้ 3 แง่มุม

1.  ษาบิต อัลบุนานีย์  เป็นตาบิอีนที่มีคุณธรรมเชื่อถือได้  เขาได้ทำตะฮัจญุดเป็นประจำและขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ให้ได้ละหมาดในกุบูร

2.  เขาได้รับกะรอมัต(รับเกียตริ)จากอัลเลาะฮ์  ให้ได้ละหมาดในกุบูร

3.  อัลเลาะฮ์จึงให้คนหนึ่งเห็นเขาละหมาดในกุบูร

       สรุปเรื่องอะกีดะฮ์ของประเด็นนี้คือ  เรื่องกะรอมัต  เรื่องมุมินละหมาดในกุบูร  ดังนั้นเรื่องกะรอมัต  เป็นอะกีดะฮ์ข้อปลีกย่อยที่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ให้การยอมรับว่ามุมินผู้มีคุณธรรมนั้นสามารถได้รับกะรอมัตจากอัลเลาะฮ์ได้  และการละหมาดในกุบูรตามรูปแบบที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์นั้น  มิได้ขัดกับอะกีดะฮ์อะไรเลยยิ่งกว่านั้นอัลบานีเองก็ยังยืนยันรับรองว่ามุมินละหมาดในกุบูรได้

       ตามที่เราได้เข้าใจจากเรื่องเล่ากะรอมัตที่นักปราชญ์ฮะดิษได้บันทึกไว้นั้น  ในแง่ของอะกีดะฮ์คือ  ในอิสลามมีกะรอมัต  ส่วนแง่มุมของหลักปฏิบัติคือ ส่งเสริมให้ละหมาดตะฮัจญุด  แต่หากจะถามว่า  เอาหลักการคนละหมาดในกุบูรมาเป็นหลักฐานละหมาดตะฮัจญุดได้หรือ  เราขอตอบว่า  เรื่องการเห็นคนตายที่ชอบละหมาดตะฮัจญุดในละหมาดนั้น  นำมาพูดกันเพื่อให้มีความอุ่นใจเป็นอุทาหรณ์ للتأنيس  ไม่ใช่นำมาเป็นหลักฐานด้านคุณความดีของตะฮัจญุด للتدليل 

       ดังนั้นใครปฏิเสธการมีกะรอมัต  เขาไม่ใช่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์  ใครปฏิเสธความเป็นไปได้ที่มุมินจะละหมาดในกุบูร เขาไม่ใช่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 09, 2008, 11:20 AM โดย นูรุ้ลอิสลาม »
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ AhlZran

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 20
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam  ครับขอบคุณที่ช่วยตอบนะ ครับแต่ผม อยากอธิบาย สิ่งที่ บังAl Fatoni    โพสไว้ที่ว่า
ออกไปทำอมัลอิบาดะฮ์เชิญชวนผู้คนสู่ความดีละเว้นความชั่ว และวันนี้ยังเราสูบบุหรี่ ทั้งๆ ที่โพกสาระบันใหญ่โต ละหมาดยังไม่ถูกจนแม้แต่ชาวบ้านยังมองออก อาบน้ำละหมาดแบบมักง่าย ใช้สอยมัสญิดอย่างไม่มีมารยาท และอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งที่ผมพูดนั้น แม้แต่อมีรฺดะอฺวะฮ์ก็เน้นหนักหลายต่อหลายครั้ง ที่น้อยคนมากที่จะใส่ใจ อยากให้รอเข้าแต่การบอกว่า คุณไม่เข้าใจดะอฺวะฮ์ คุณต้องมาลองเอง คุณถึงจะรู้  เขาจะเข้าใจดะอฺวะฮ์อย่างไรเล่า ในเมื่อเราเองยังเข้าใจดะอฺวะฮ์อย่างไม่ถ่องแท้เสียมี เพราะติดนิสัยเดิม ผมหมายถึงบางคนนะครับ -  ฝากไว้พิจารณาด้วยนะครับ พี่น้องของผมทั้งหลาย - วัสสลามุ อลัยกุม 

ผมเห็นด้วยในตอนแรก นะครับ แต่ ช่วงที่ผมยกมานี่  กระผมคิดว่าบัง Al Fatoni อาจจะ มองที่ตัวบุคคลมากเกินไป ครับ  และ บัง    Admin  โพสไว้ผมเห็นด้วยอย่างมากครับ คืออยากให้มองตรงจุดนี้
ดูตัวงานอย่าดูที่คน เหมือนอิสลามสมบูรณ์ แต่มุสลิมทำตัวแย่ยังมีให้เห็น
ไม่แน่ถ้าท่านเองได้ออก ท่านก็จะเป็นคนนึงที่เข้าใจ และตักเตือนคนดะวะฮ์เอง

เป้าหมายหลักของงานนี้คือ พยายามบนอีหม่าน ของตัวเองก็เป็นส่วนสำคัญ เนียตรเพื่อปรับปรุงตัว ยังไงๆก็ต้อง ปรับปรุงจนถึงวันกียามัตแหละครับ
           

และผมคิดว่า หากมีคนมากล่าวมาตักเตือนเราด้วยความจริงใจโดยไม่หวังสิ่งใดๆจากเรา  เราไม่เชื่อเขาเหล่านั้นเพียงเพราะเค้าเป็นคนกวาดขยะกระนั้นหรือ?   เราเชื่อเพราะเค้าเป็นคนมีเกียรติให้ทันศนะของเรากระนั้นหรือ?

และการดาวะห์ นั้นเป็นการเริ่มต้นปรับปรุง (อิสละ)และการดาวะห์ เป็นจุดเริ่มต้น ในการที่จะได้มาซึ่ง อีหม่านที่ ฮัก(ที่แท้จริง) จะเห็นได้ว่า  เมื่อท่าน อุมัร( ร.ฏ) เมื่อท่านได้รับกะลีม่ะ  ท่านก็ประกาศตน ณ ใบตุ้ล ลอฮ์และทำการเรียกร้องเชิญชวน ผู้อื่น ให้เข้ารับ อิสลาม  (และหากศึกษาประวัติ ซอฮาบะ ท่าน สำคัญๆ เกือบทุกท่าน เมื่อได้กล่าว กะลิม่ะ แล้วท่านเหล่านั้น ต่างก็รีบทำการ ดาวะหฺ เรียกร้องมนุษย์ไปสู่ความดีทั้งๆที่  หลักการ อิบาดะ ต่างๆยังไม่ถูก ประทานลงมาเลย และพวกท่านเหล่านั้น มีความรูมากมายเป็นบุคคลดี กระนั้นหรือ?
 เปล่าเลยท่านเหล่านั้นได้เคยกระทำบาป มาก่อนเช่นท่าน อุมัร (รฎ) ท่านได้เคยฝังลูกสาวทั้งเป็น    แต่ด้วยกัความเมตตา ของพระองค์ อัลเลาะฮฺ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงพวกเขา เหล่านั้น ด้วยกับการไปบอกผู้อื่น (ดาวะหฺ)จะเห็นได้ว่า อุลามะฮฺ อาวุโส ต่างๆก็พยายามบอก ว่าหากต้องการอีหม่าน ก็ต้องดาวะหฺในเรื่อง อีหม่าน คือการพูดให้มาก ในเรื่องอีหม่าน    และด้วยกับการที่เราพยายามบอกผู้อื่น พระองค์ อัลเลาะฮฺ จะทรงใส่อีหม่าน(ตบแต่ง) อีหม่านของเรา ให้เป็นอีหม่านที่ แท้จริง เช่น บรรดา ซอฮาบะ  ตาบีอีน คนก่อนๆครับ
และ หลังจากที่บรรดา ซอฮาบะ  มีอีหม่านแล้ว พระองค์ ก็ ทรงประทาน ฮูก่ม ต่างๆลงมา   
ที่ผม จะบอกก็คือว่า งานดาวะหฺ เป็นงานที่ สำคัญและมาก่อน อาม้าล อื่นๆ มิได้ บอกว่า ต้องดาวะหฺ เพียงอย่างเดียว ที่ผมบอกก็ คือก่อนที่ อิสลามจะ สมบูรณ์ ครับคือในยุคต้น ของอิสลาม ในมักกะฮฺ ท่านนบี และ ซอฮาบะ ก็ ดาวะหฺ กันในเรื่อง อิหม่าน เพียงอย่างเดียว     
คือ อย่าดูที่ตัวคน ให้ดูที่งาน ให้ดูที่สิ่งที่เค้าพยายามจะบอกกับเรา ทั้งๆที่เค้าไม่รูเค้าพยามตักเตือนเรา  แต่เมื่อเทียบกับ ผู้มีความรู้แต่พวกเขา เฉยเมยไม่เคยที่จะตักเตือนเรา ท่านคิดว่าผู้ใดหวังดีกับเรา และเป็นห่วงเรา มากกว่ากัน ละ ครับ

วัสลาม- หากผิดพลาดโปรดตักเตือนด้วยครับ ผมมิได้มีความรูอันได้เพียงแค่ได้ยยินได้ฟัง และได้ ศึกษาเล็กน้อยๆ ครับ  มาอัฟกันด้วยนะครับ 

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ผมยอมรับครับ ว่ามองที่ตัวบุคคล เพราะผมเจาะจงที่ตัวบุคคลที่มีปัญหา ส่วนหลักการนั้น ผมไม่จำเป็นต้องลงหลัก เพราะผมเห็นด้วย แล้วก็เคยสัมผัสมาเองแล้ว เหตุที่ผมต้องเจาะจงที่ตัวบุคคลมาก ก็เพื่อเป็นการตักเตือนซึ่งกันและกัน หลักการดีและคนปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักการ ก็ยากที่คนอื่นจะมองว่าหลักการนั้นดี เพราะอย่างน้อย การปรับปรุงตัวเราเองให้เข้ากับหลักการ ก็ถือเป็นการดะอฺวะฮ์อีกทางหนึ่ง สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น เราก็ต้องให้เวลา แต่สำหรับผู้ที่เริ่มมานานแล้ว แต่การออกดะอฺวะฮ์ยังไม่ได้ช่วยอะไรให้เขาได้ดีขึ้น ผมว่าสมควรที่มาตรวจสอบตัวเองนะครับ เพราะก่อนนอน ตามมารยาทของชาวตับลีฆที่จะกระทำกันนั้นก็คือ การตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของตัวเอง ว่าวันนั้นได้ทำอะไรลงไปบ้าง หากดีแล้ว ก็ให้ดีขึ้น หรือคงไว้อย่างนั้นตลอด หากไม่ผิดพลาดก็แก้ไขต่อไป อิสติฆฟัรฺและเตาบะฮ์ ขอลุกแก่โทษ หากมันผิดมาก ที่ต้องการนั้น ผมต้องการติที่ตัวบุคคลเป็นการเฉพาะครับ แสดงว่าคุณเข้าใจตรงกับที่ต้องการสื่อแล้วครับ ขอบคุณครับ หลักการยอดเยี่ยมแล้ว หากแต่ตัวบุคคลบางคนที่ยังติดนิสัยเดิมอยู่ ผมว่าปรับปรุงได้แล้วนะครับ ถือว่าเป็นการตักเตือนกัน ขอย้ำว่า ขอเน้นที่ตัวบุคคลที่ติดนิสัยเดิม ควรที่มีการเปลี่ยนแม้เพียงเล็กน้อย จากทุกครั้งที่ออกดะอฺวะฮ์นะครับ เพื่อประโยชน์ของท่านเองและครอบครัวของท่าน และบางครั้งเราอย่าลืมความรับผิดชอบบางอย่างที่อยู่บ้านเราด้วยนะครับ พวกเขาต้องการเรา หลังจากที่ออก 3 วันอิสติกอมะฮ์แล้ว หมั่นทำหะละเกาะฮ์ที่บ้านด้วยก็จะดียิ่ง ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่จะทำ แต่ผมหมายถึงบางคนที่ยังไม่ได้เริ่ม ถ้าจะถามผมว่า แล้วคุณหละทำไหม ก็ขอตอบว่า ทำครับ แต่ต้องยอมรับ ฝืดนิดหน่อย เนื่องด้วยภาระการเรียนที่มหาลัยด้วย ซึ่งหากมีเวลาก็จะทำครับ ขอย้ำอีกที ผมขอเจาะจงการติที่ตัวบุคคลครับ ส่วนหลักการผมก็ไม่ได้เห็นต่างจากพวกท่านแต่อย่างใด
                หากทำให้ไม่พอใจตรงไหนก็ขอมาอัฟด้วยละกัน ชอบความตรงไปตรงมามากกว่าอ้อมค้อม เพราะจะแก้ทัน วัสสลาม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
บางครั้งการดะอฺวะฮ์ เราอย่านึกแต่เพียงการออก 3 วันหรือมากกว่านั้น เพราะรูปแบบย่อมมีหลากหลาย หากแต่แบบไหนที่ผลมากที่สุด ผมยอมรับว่า การออกไป เป็นสิ่งที่ดี และสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากมาย ทำให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ได้รับรู้ความเป็นอยู่ของผู้คนอีกมุมหนึ่ง เพราะแม้บางคนที่เดินผ่านบ้านหลังหนึ่ง แต่กลับไม่เคยรับรู้ว่า คนในบ้านหลังนี้ละหมาดหรือไม่ คนในบ้านหลังมีวิกฤตทางอีมานอยู่ หลักการทำงานของญมาอะฮ์ตับลีฆนับได้ว่าสมบูรณ์แบบมากครับ เพราะครอบคลุมและป้องกันทั้งตัวเราเอง คนรอบข้าง (ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเรา เพื่อนบ้าน) รวมถึงสังคมที่เราอยู่ เช่นชุมชน และชุมชนถัดๆ ไป เป็นต้น แต่ก็ขอหวนกลับมาที่ตัวบุคคลอีกนั่นแหละครับ เพราะการทำงานดะอฺวะฮ์เราต้องทุ่มเท และคิดมัตอย่างจริงจังจริงๆ บางครั้งเราอยู่บ้านทำกับข้าวไม่เป็น ไม่เคยบริการใคร แม่หรือคนที่บ้านทำให้ตลอด แต่การออกดะอฺวะฮ์ทำให้เรารู้จักคิดมัต หรือบริการคนอื่นโดยมิหวังผลตอบแทน จนบางครั้งการล้างส้วม เราก็เต็มใจทำโดยไม่ต้องรอใครสั่ง ความรู้สึกเหล่านี้ ล้วนแต่มาจากการขัดเกลาทีละนิดที่เกิดจากการอยู่ร่วมกัน และได้เห็นแบบอย่างจากผู้ร่วมดะอฺวะฮ์ในญมาอะฮ์เดียวกัน สำหรับบางคนเวลาในปรับตัวก็อาจจะนิดเดียว แต่บางคนก็ต้องใช้เวลาพอสมควร ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ไม่ต้องฝืน แต่ก็สมควรที่จะมีการเปลี่ยนบ้างในทุกๆ ครั้งที่ออกไป แม้เพียงเล็กน้อย หากแต่บางคน (เจาะที่ตัวบุคคลนะครับ) ก็สมควรที่ตรวจสอบตัวเราว่า วันนี้กับเมื่อวาน มีอะไรในตัวเราเปลี่ยนแปลงไปบ้าง...?
               สิ่งหนึ่งที่ผมได้รับจากการออกดะอฺวะฮ์คือ การรู้จักมองตัวเอง รู้จักตรวจสอบตัวเอง รู้จักมองให้ต่ำ (หมายถึงในทางโลก) รู้จักการเสียสละ รู้จักบริการ และอื่นๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวขัดเกลาจิตใจให้เกิดความถ่อมตนได้อย่างดี แต่วิธีที่อื่นๆ จากนี้ก็ย่อมมีอย่างแน่นอน ตามแต่ระดับความสามารถของแต่ละคนไป สิ่งที่ค้นพบอย่างหนึ่งคือ ญมาอะฮ์ตับลีฆ เปรียบเสมือนการทำตัวอย่างสมถะ เป็นกลาง มีตศ็อวฺวุฟอ่อนๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกๆ อิริยาบถ นับเป็นสิ่งที่ดีมากครับ เพราะธรรมคนสมัยนี้ จะไปเปิดกิตาบเรียนตศ็อวฺวุฟ หรือฟังบรรยายธรรม ก็คงจะยากพอควร แต่การออกดะอฺวะฮ์ แม้เราไม่มีเวลาออก 3 วัน แต่เราก็สามารถปฏิบัติเองได้ โดยอุทิศเวลาเพื่อศาสนา เพื่อทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ อย่างน้อย 2 ชม.ครึ่ง หากมีความสามารถอีกก็เพิ่มเป็น 4 ชม.ครึ่ง หรือ 8 ชม.ครึ่ง ตามแต่ความสามารถของแต่ละคนไป ส่วนตัวผมถือว่า หลักการทำงานแบบญมาอะฮ์ตับลีฆเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับมุสลิม โดยเฉพาะยุคสมัยนี้ แต่ที่ผมมักจะเน้นที่ตัวบุคคลมากนั้น ก็เพราะว่า การทำงานดะอฺวะฮ์ก็ต้องการไปยังการขัดเกลาปัจเจกบุคคลมิใช่หรือ คนหนึ่งคนกับอีกคนหนึ่งมารวมกันเป็นสองคน บางทฤษฎีก็ถือว่าเป็นสังคมแล้ว หากต่างคนต่างทำงานในองค์กรที่มีหลักการดีเยี่ยม แต่ขาดความเข้าใจการทำงาน มันอาจจะขาดประสิทธิภาพได้ พื้นฐานของแต่ละคน มิใช่สิ่งที่เราจะต้องสนใจแต่ประการใด เพราะศ็หาบะฮ์เอง หลายต่อหลายท่าน พื้นฐานก็มาจากความญาฮิลกันทั้งหลาย หากแต่เมื่ออิสลามเกิดขึ้น ทำให้พวกเขาเกิดการเปลี่ยนขึ้นไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งก็ประจักษ์แก่พวกเรากันอยู่แล้ว แต่ฉันใดฉันนั้น หลักการดี แต่ผู้ปฏิบัติ (โดยเฉพาะผู้ที่อยู่วงการนั้นนานๆ) หากพบว่าตัวเอง ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จากมัน ก็จงรีบกระทำ ก่อนที่เขาจะบอก หรือสั่งให้เราเปลี่ยน ขอเน้นที่ตัวปัจเจกบุคคลนะครับ ) - والسلام 
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ AhlZran

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 20
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam  ครับ ผมเห็นด้วน นะครับที่ว่า บางคนอยู่ในงาน มานาน ไม่มีการปรับตัว  ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
ครับแต่หากเราได้มองอีกมุม หนึ่ง ว่านี้แหละหากเราไม่พยายามเราก็จะหลงทาง อย่างงี้ แหละเราก็ได้แต่ ขอดุอาอย่าให้ อัลเลาะห์ ทรงปิดหัวใจ ปิด ตาเราให้มืด บอด  และหาก คิดว่านี้คือการ ทดสอบ ของพระองค์  เราก็จะปลอดภัย ในประเด็นที่ว่า  อย่ามองความผิดผู้อื่น ครับ

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
จุดสรุปก็คือ เราจะทำอย่างไรดีครับ มาเสนอวิธีกัน  ดุอาอ์ + อิตติยารฺ = ความสำเร็จ

          แล้วมาร่วมหาสาเหตุว่าทำไมเขาถึงอยู่ในจุดเดิม ยังไม่คิดที่จะเปลี่ยน ผมชื่นชมครับ ที่อมีรฺบางคนให้ความสำคัญตรงนี้ กล่าวคือ ท่านใช้หลักการ โดยดูที่ตัวบุคคลว่า คนแบบนี้ควรทำแบบนี้ คนแบบนี้ควรทำแบบนั้น เพราะถ้าหากออกดะอฺวะฮ์ และบะยานด้วยคำพูดที่สวยหรู แต่ผู้ฟังไม่เข้าใจ ใช้ระดับเดียวกันหมด โดยอ้างว่าหลักการเขาว่าอย่างนี้ ผมเห็นด้วยครับ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หมายถึง สำหรับบางคนต้องเริ่มที่ศูนย์ เพราะผมเคยอ่านในชีวประวัติของท่านเมาลานาอิสยาส ว่า เริ่มแรกท่านจะจ้างผู้คนให้มาทำอิบาดะฮ์ก่อน จ้างด้วยเงิน เพื่อทำแทนอาชีพที่เขาทำอยู่ จ้างให้เรียนศาสนา จะเห็นได้ว่าเริ่มแรกท่านไม่ได้ตามหลักการเลยเสียทีเดียว กล่าวคือ ทำอย่างไรก็ได้ดึงเขามาก่อน ส่วนหลักการค่อยว่าอีกที เมื่อเขามาอยู่กับเราแล้ว เราก็ใส่หลักการให้เขาทีละนิด ละนิด ผมเห็นด้วยกับวิธีนี้เป็นอย่างมาก เพราะสอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของธรรมชาติมนุษย์ (ตามความเห็นผมนะ)

          เป็นความจริงที่เราไม่ควรมองแต่ความผิดของตัวบุคคล แต่ประเด็นที่ผมหมายถึง การออกดะอฺวะฮ์ จุดประสงค์หลักคือ การอิศลาหฺ ตัวเอง หนึ่งในวิธีนั้นก็คือ การตรวจสอบ บางครั้งการมองหาความผิดพลาดของตัวเอง มันก็มองหม่เห็น หากแต่ต้องให้ผู้อื่นชี้ หรือบอกให้รู้ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องการสื่อคือ เมื่อเรามาอยู่ญมาอะฮ์ เราควรน้อมฟังในบางสิ่งที่ผิดพลาดในตัวเราจากการบอกกล่าวของผู้อื่น ผมว่าส่วนใหญ่ก็น้อมฟังดีอยู่แล้ว ที่ผมพูดไปมันอาจจะขัดกับบางท่าน แต่ผมขอพูดโดยรวมละกันว่า บุคคลที่พยายามจะจำกัดตัวเอง เพียงแค่การเรียนรู้จากการออกดะอฺวะฮ์อย่างเดียว ผมว่ามันคงไม่เพียงพอครับ เพราะการออกดะอฺวะฮ์ ในความคิดของผมที่ได้มาจากความเข้าใจจากการฟังบะยานของอมีรฺท่านหนึ่งท่านกล่าวว่า "ช่วงเวลาที่ออกดะอฺวะฮ์ เปรียบดังช่วงหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความดี หลังจากที่เราได้คัดมันมาแล้ว จากการเรียนรู้ที่ปอเนาะ หรือที่มัสญิด เมื่อเรามาออกดะอฺวะฮ์ มันก็คือเวลาที่เราจะต้องเอาเมล็ดเหล่านั้นมาหว่านเสียที พร้อมทั้งแบ่งปันมันแก่ผู้อื่นด้วย" สิ่งที่ต้องการสื่อก็คือ ช่วงที่เหลือ ที่ไม่ได้ออกดะอฺวะฮ์ก็จงแสวงหาความรู้เถิด สำหรับผู้ไม่ได้แสวงหา สำหรับผู้ที่ดำรงตนอย่างถูกต้องแล้ว ผมคงมิต้องกล่าวถึง ผมไม่รู้ว่าท่านๆ จะเข้าใจอย่างที่สื่อหรือเปล่านะ หวังว่าจะเข้าใจครับ ผมสื่อไม่ค่อยจะแจ่มด้วย บางทีก็ต้องการสื่ออีกแบบ แต่เขาเข้าใอกแบบ ก็ต้องมาแก้ต่าง ถือเอาเสียว่า มาร่วมหาวิธีอิศลาหฺตนเอง นะกันครับ ตามแต่มุมมองของแต่ละคน ส่วนของผม ขอเน้นที่ตัวบุคคลในปรับตัวเข้าหาหลักการนะครับ - วัสสลาม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ AhlZran

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 20
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam  ครับ Al Fatoni  ผมก็เห็นด้วยทุกอย่าง ครับ  ว่าเราไม่ควรศึกษา เฉพาะตอนออก ดาวะหฺ   เราควรพยายามศึกษา ตลอดครับไม่ว่าอยู๋ที่ไหน  แต่ความรู้ที่ได้ จากการออกนั้น  มันเป็นความรู้  ที่แตกต่างจากความรูทั่วไปเท่านั้นเอง ครับ  และที่ ท่านพูด มีเหตุผล ครับ ที่ว่าไม่ใช่ทั้งหมด 
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่า  ถ้าท่านสังเกตุ  บางคนเรียนมาจากที่ๆเดียวกัน หนังสือเล่มเดียวกัน  แต่ความเข้าใจ(ฮิกมะฮฺ)ต่างกัน
และ มิใช่บางคนด้วยครับเกือบส่วนใหญ่ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน  แม้แต่การตับซีร กรุอ่านยังไม่เหมือนกัน  (เช่น 4มัสฮับ)

 

GoogleTagged