ผู้เขียน หัวข้อ: เฟมินิสม์...เราเผลอคิดเหมือนเค้าหรือเปล่า?  (อ่าน 1588 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ คนเดินดิน

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1620
  • ขอให้ได้รับความโปรดปรานจากพระผู้ทรงเมตตาด้วยเถิด
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด


 
 
1)ช่วงนี้มีเรื่องให้ต้องออกไปพูดหน้าชั้นเรียนหลายครั้ง

ตอนแรก...ก็มีแรงฮึด ด้วยประโยคบางประโยคที่ติดอยู่ในหัวมานาน  นั่นคือ "ต้องพยายามแสดงให้ผู้คนทั่วไปเห็นว่า...ผู้หญิงมุสลิมก็เก่งไม่น้อยหน้าใคร" เพื่อบรรดาผู้บูชาความเก่งกาจทั้งหลายจะมาดูถูกเราและศาสนาของเราไม่ได้

แต่วินาทีที่ออกไปยืนท่ามกลางสายตานานาประเภทของคนในห้อง  ความคิดชนิดนั้นดูเหมือนจะถูกตั้งคำถามอย่างรุนแรง

 

...มุสลิมะฮฺถูกสร้างมาเพื่อจะยืนอยู่ตรงนี้จริง ๆ น่ะหรือ?

 

2) เหมือนอัลลอฮฺทดสอบให้คิดมากขึ้นไปอีก...

เมื่อวันก่อนเข้าไปอ่านเจอกระทู้1 ในเว็บบอร์ดยอดนิยมของชาวสยาม หัวข้อกระทู้ประมานว่า "มีพฤติกรรมอะไรในตัวคุณที่คิดว่าแปลกประหลาดกว่าชาวบ้าน?" ตอนแรกก็อ่านแบบคิดไปขำไปนะ เพราะมีคนมาตอบทั้ง "จะเลิกใส่เสื้อผ้าที่มีคนอื่นมาบอกว่าชอบทันที"  "ชอบกัดเล็บแล้วกลืนเล็บตัวเองลงไปเลย"    "เห็นใบไม้แห้งที่ไหนไม่ได้ ต้องเข้าไปเหยียบให้มันดังกรอบ ๆ แกรบ ๆ" ฯลฯ

แต่พอมาเจอคำตอบ1 ถึงกับขำไม่ออกเลยทีเดียว  เค้าบอกว่า "ผมมักจะคิดสกปรก(เค้าใช้คำที่มีความหมายประมาณนี้ แต่หยาบกว่านี้) เวลาเห็นผู้หญิงแสดงความเก่งของตัวเองออกมา"  !!!

 

...ความสามารถ / คุณภาพ / ความเก่งกาจ ในนิยามของญาฮิลียะฮฺ - เป็นสิ่งที่มุสลิมะฮฺถูกสร้างมาเพื่อแสดงให้สังคมที่สกปรกถึงขั้นนี้ได้ประจักษ์ จริง ๆ น่ะหรือ? 

 

3) ในหมู่เพื่อนฝูง  เราเคยถามกันว่าเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยที่สวมใส่ ทำให้หัวใจเราไม่บริสุทธิ์บ้างหรือเปล่า?

เพื่อนหลาย ๆ คนยอมรับว่า...คล้ายกับจะมีความภาคภูมิใจบางอย่างในเครื่องแบบ หรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงชื่อของมหาวิทยาลัยที่เราสังกัด  มันเป็นความรู้สึกที่ยากจะกดเอาไว้ และทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกไม่ดี - เราไม่ควรมีความรู้สึกภูมิใจในสถาบันที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับอิสลามเลยไม่ใช่หรือ?

 

มีบางคนเสนอว่า...มันไม่ใช่ความรู้สึกภูมิใจ  แต่เป็นความสะใจที่แสดงให้พวกคนที่เคยมองเราด้วยสายตาหมิ่นแคลนทั้งหลายได้รู้ว่า  ผู้หญิงมุสลิมที่เคร่งครัดในศาสนา...ผู้หญิงที่พวกเค้าเคยนึกดูถูกถึงความคร่ำครึและล้าหลัง  ก็สามารถเรียนในสถาบันที่พวกเขานิยมได้

แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเลยกับข้อเสนอนี้...คุณค่าของเราคือการเป็นมุสลิมะฮฺที่ยืนหยัด เคร่งครัดในอิสลาม  ในขณะที่ชื่อสถาบันญาฮิลียะฮฺนั้นเป็นอะไรที่ไร้ค่าโดยสิ้นเชิง

 

...เราไม่จำเป็นต้องพิสูจน์คุณค่าของสิ่งที่มีค่าอยู่แล้ว ด้วยการกระทำในสิ่งที่ไม่มีค่ามิใช่หรือ?

 


 

4) กลับมานั่งใคร่ครวญถึงแนวคิดที่ทำให้เรารู้สึกว่าการไปยืนแสดงความเก่งหน้าห้องเป็นหน้าที่ และยี่ห้อสถาบันเป็นสิ่งพิสูจน์คุณภาพของเรา

...มันเป็นแนวคิดที่คุ้น ๆ นะ

ช่วงศตวรรษที่ 19...มีแนวคิดกระแสหนึ่งก่อรูปขึ้นในโลกตะวันตก เบื้องต้นก็เป็นแนวคิดที่พยายามชี้ให้เห็นว่าสังคมของพวกเขาได้ทำให้ผู้หญิงมีสถานภาพเป็นรองผู้ชายอย่างไร ถูกกดขี่ ข่มเหง และล่วงละเมิดอย่างไร ต่อมาจึงได้แตกแขนงเป็นหลายกลุ่ม หลายแนวคิดย่อย แต่ทั้งหมดนั้นถูกเรียกรวม ๆ กันในชื่อ "สตรีนิยม" หรือเฟมินิสม์ (Feminism) ซึ่งออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องอะไรต่อมิอะไรมากมาย ในทำนองที่ต้องการให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในสังคมเทียบเท่าผู้ชาย...ในความคิดของเฟมินิสม์ การเข้าไปมีบทบาทในสังคมอย่างเท่าเทียมผู้ชายเป็นการพิสูจน์คุณค่าของผู้หญิง ในขณะที่การอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนของผู้หญิงถือเป็นการถูกกดขี่

 

 ไม่รู้ซิ  แต่มันคล้าย ๆ กัน - ว่ามั้ย? ... ความคิดของเราตอนนี้ กับความคิดพวกเขา เพียงแต่ของเราเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปว่าผู้หญิงที่ต้องพิสูจน์คุณค่าของตนเอง ต้องเป็น 1) มุสลิม  และ 2)เคร่งครัดในหลักการอิสลาม

ตรรกะของเฟมินิสม์ : ผู้หญิงก็สามารถเรียนหนังสือระดับสูงในสถาบันดี ๆ  มีความคิดสร้างสรรค์ มีตำแหน่งหน้าที่และที่ยืนอย่างสง่างามในสังคมได้

ตรรกะของเรา : ผู้หญิงมุสลิมที่เคร่งครัดในหลักการอิสลามก็สามารถเรียนหนังสือระดับสูงในสถาบันดี ๆ  มีความคิดสร้างสรรค์ มีตำแหน่งหน้าที่และที่ยืนอย่างสง่างามในสังคมได้

 

 ...ตกลงเรากำลังพิสูจน์อะไร?

 

5) แล้วเราควรทำ หรือคิดยังไง?

นี่เป็นคำถามที่ต้องช่วยกันหาคำตอบ

เท่าที่คิดออกตอนนี้คือวิธีคิดที่เป็นไปในทำนองเดียวกับเฟมินิสม์ดังกล่าวไม่น่าจะถูก

วิธีคิดที่น่าจะถูกต้องมากกว่าความพยายามแสดงคุณค่าตัวเองให้ญาฮิลียะฮฺเห็น ด้วยการทำในสิ่งที่มีคุณค่าตามนิยามของพวกเขา (เช่น มีความกล้าหาญที่จะแสดงความคิดเห็นอันชายฉลาดต่อหน้าประชุมขน หรือเรียนดีจนได้เกียรตินยม) คือการนิยามคุณค่าเสียใหม่

 

ที่จริงอิสลามวิจารณ์เฟมินิสม์ด้วยวิธีการแบบนี้มาตลอดอยู่แล้ว  เช่น ให้นิยามคุณค่าของงานและบทบาทในบ้านเสียใหม่ ว่ามันไม่ใช่งานชั้นต่ำอย่างที่พวกเขานิยาม แต่มันเป็นงานที่สูงส่ง มีเกียรติ และสำคัญเหลือเกินต่อสังคม

แปลกที่เรากลับไม่ใช้วิธีคิดแบบนี้ในกรณีนิสิต/นักศึกษามุสลิมะฮฺ (เอ้อ เนื่องจากมีคนที่อาการหนักเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการศึกษานอกระบบมหาวิทยาลัยอยู่หลายราย ฉะนั้นจะขอข้ามกรณีนอกระบบนี้ไป แล้วพูดถึงเฉพาะกรณีที่เราจำเป็นต้องอยู่ในระบบ)

 

ในกรณีที่เราจำเป็นต้องยืนอยู่ในระบบจริง ๆ ...เราน่าจะเปลี่ยนนิยามคุณค่าของเราในระบบนี้เสียใหม่  แทนที่จะเป็น " 'คุณค่า' ตามนิยามของคนทั่วไป " เช่น ความเก่งกาจในความรู้ดุนยาที่แสดงออกผ่านการอภิปรายหน้าชั้นเรียนได้อย่างฉะฉาน (ส่วนมากที่เราต้องอภิปรายหน้าห้องมักเป็นเรื่องความรู้ดุนยา แต่แม้สามารถหาทางเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นกับอิสลามได้ ก็ยังสงสัยอยู่ว่ามีความเหมาะสมแค่ไหนที่มุสลิมะฮฺจะแสดงบทบาทนี้[เหตุผลอยู่ในข้อ 2]  แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องออกไปยืนตรงนั้นจริง ๆ  ความพยายามหาทางให้เรื่องที่เราพูดมีส่วนเชื่อมโยงกับอิสลามไม่ว่าทางใดทาง 1 ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด) หรือการได้เกียรตินิยม (ซึ่งบางครั้งมาจากการยอมทำงานหรือตอบข้อสอบในแนวทางที่อาจารย์น่าจะพอใจ แม้ว่าอัลลอฮฺอาจไม่พอใจก็ตาม) มาเป็น " 'คุณค่า' ในทัศนะอิสลาม" เช่น ความซื่อสัตย์ในการทำข้อสอบ   การรักษาคำพูดกับเพื่อนฝูง  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย มีน้ำใจ และชอบช่วยเหลือ (ในสิ่งที่เป็นความดีงามตามทัศนะอิสลามเช่นกัน)   รวมถึงการวางตัวที่ดีกับคนกลุ่มต่าง ๆ และแสดงทัศนะที่มีต่อปัญหาในสังคมตามแนวทางอิสลาม ให้บุคคลที่เหมาะสม (คือไม่นำมาซึ่งฟิตนะฮฺ)ได้รับทราบตามโอกาสที่สมควร...นี่น่าจะเป็นคุณค่าที่เรามุ่งแสดงมากกว่าการเป็น "คนเก่ง" ในสายตาญาฮิลียะฮฺ   

 

การเป็นคนเก่งไม่ใช่ความผิดแน่นอน...แต่การรณรงค์ให้พวกเรามุ่งแสดงความเก่ง / ความสามารถ / คุณภาพในนิยามของญาฮิลียะฮฺ  เพื่อพิสูจน์คุณค่าของมุสลิมะฮฺ / เพื่อไม่ให้ใครมาดูถูกมุสลิมะฮฺ...ไม่น่าจะเป็นวิธีคิดที่ถูก  โดยเฉพาะในสังคมทุกวันนี้ที่สกปรกเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างมาเพื่อสะอาดอย่างมุสลิมะฮฺ

 

สำหรับพวกเราที่ "จำเป็น" (ความจริงเราควรให้นิยามคำนี้ใหม่เหมือนกัน - ว่ามั้ย?)  ต้องยืนอยู่ในสังคมนี้จริง ๆ ก็ขอให้ยืนอยู่ด้วยความพยายามที่จะรักษาอีมานให้เข้มแข็ง  เพราะการรักษาอีมานให้มั่นคงเป็นพันธะแรกของชีวิตผู้ศรัทธาที่ต้องดำเนินการ 

ดังนั้นเลือกทำในสิ่งที่ดีต่ออีมานของเราที่สุด  และโปรดเห็นใจคนบางคนที่ตัดสินใจเลือกกระทำการบางอย่างที่เขาเห็นว่ามันดีต่ออีมานของเขามากกว่า แม้ว่ามันจะเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทัศนะของใครหลาย ๆ คน เช่น การไม่เข้าเรียนบางวิชา เป็นต้น

 

6) บทความนี้เขียนขึ้นในเชิงตั้งคำถาม บางส่วนผู้เขียนเองยังคิดไม่ออก และอีกบางส่วนก็ยังคิดไม่เสร็จ

ดังนั้นทุกคนสามารถเห็นต่างได้อย่างเต็มที่  และอันที่จริงก็อยากจะฟังคนที่เห็นต่าง  เพราะต้องยอมรับว่าหลายครั้งผู้เขียนก็มองอะไรเพียงด้านเดียว เพียงแต่เรื่องที่เขียนมานี่พยายามมองหลายด้านแล้ว แต่ก็มองไม่เห็น...คิดไม่ออก

การมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันที่แสนจะซับซ้อนนี้น่าจะเป็นสิ่งที่เรายอมรับฟังกันได้โดยปราศจากความขุ่นเคือง  เราต้องแยกให้ออกระหว่างความคิดกับบุคคล  หลายครั้งไปที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับบางความคิด  โดยที่ยังรู้สึกดี ๆ กับพี่น้องเจ้าของความคิดนั้น อย่างไรก็ตามถ้าความคิดนั้นดูผิดพลาดไปมากจากรากฐานแห่งอิสลาม ก็เป็นหน้าที่ของเราทุกคนต้องช่วยกันแนะนำตักเตือน

 

สุดท้าย...ขออัลลอฮฺอย่าให้ลูกสาวของผู้ศรัทธาคนไหนต้องมายืนอยู่ในจุดที่ผู้เขียนกำลังยืนอยู่อีกเลย!
 

ที่มา : สเปซพี่หนูดี

วัสสลาม
เพราะรู้ดีว่าเป็นเพียงหนึ่งคนที่อ่อนแอ  จึงทำให้คำนึงถึงคุณค่าของหนึ่งชีวิต  โปรดชี้แนะแนวทางที่เที่ยงตรงด้วยเถิด  ยาร็อบบี  سَلَّمْنَا مُسْلِمِيْنَ وَمُسْلِمَاتٍ فِي الدُّنْيَا وَ الأخِرَةِ

ออฟไลน์ คนเดินดิน

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1620
  • ขอให้ได้รับความโปรดปรานจากพระผู้ทรงเมตตาด้วยเถิด
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
เมื่อถูกกำหนดมาแล้วให้ถูกทดสอบด้วยประการเหล่านี้ทางออกที่คิดได้ตอนนี้ก็คือ

อ้างถึง
  SKSM Ibn. Qadirเขียน:
 

ผู้หญิงสามารถทำงานนอกบ้านได้หรือไม่?
 
ตอบคำถามโดย ชัยค ดร. ยูซุฟ อัล ก็อรฎอวียฺ
อุมมุ ฟิดาอ์ แปลและเรียบเรียง

คำถาม

          อยากทราบว่าอิสลามอนุญาตให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้าน โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้จัดการต่าง ๆ ได้หรือไม่?

 
คำตอบ

            แท้จริงแล้วการงานที่มีค่ายิ่งของสตรีนั้น คือการดูแลบรรดาลูก ๆ และสามีของเธอ ส่วนการทำงานนอกบ้านเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพ ถือเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

             ประการแรก คือ การงานนั้น ๆ ต้องถูกต้องตามหลักการของศาสนา สตรีมุสลิมไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสถานที่ซึ่งเธอจะต้องอยู่ตามลำพังกับบุรุษที่ไม่ใช่มะหฺร็อม หรือต้องไม่ทำงานในร้านซึ่งมีการจำหน่ายเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

            ประการที่สอง เธอจะต้องยึดมั่นอยู่ในหลักการของอิสลามทั้งในเรื่องของการแต่งกาย การพูดคุย และมารยาทอื่น ๆ ทุก ๆ ด้าน

             ประการที่สาม สตรีผู้ซึ่งทำงานนอกบ้านนั้นจะต้องไม่ใช้เวลาในการทำงาน จนทำให้สูญเสียเวลาสำหรับหน้าที่หลัก นั่นคือ การดูแลลูก ๆ และสามีของเธอ
 

       วัสสลาม

เพราะรู้ดีว่าเป็นเพียงหนึ่งคนที่อ่อนแอ  จึงทำให้คำนึงถึงคุณค่าของหนึ่งชีวิต  โปรดชี้แนะแนวทางที่เที่ยงตรงด้วยเถิด  ยาร็อบบี  سَلَّمْنَا مُسْلِمِيْنَ وَمُسْلِمَاتٍ فِي الدُّنْيَا وَ الأخِرَةِ

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
 salam

ขอบคุณค่ะสำหรับบทความที่สะท้อนภาพสังคม...

เมื่อตอนเด็กๆเคยถามพ่อผู้ให้กำเนิดว่า...
ถ้าอยากเก่งต้องทำยังไง(เพราะว่าอยากเป็นคนเก่ง เป็นท่ีชื่นชมของใครๆ)...

ยังจำได้เลยค่ะว่าพ่อจะตอบประมาณว่่า...
คนเก่งคือคนที่สามารถทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
นั่นแหล่ะคนเก่งล่ะ...

ก็เลยถามว่า...แล้วหน้าที่ที่ว่าคืออะไร...พ่อบอกว่า...
เราก็ต้องเรียนรู้ว่่า เรามีหน้าที่ที่ต้องทำอะไรบ้างในชีวิตของเรา...
ไม่ว่าหญิงหรือชาย ทุกคนต่างเกิดมามีหน้าที่ของตนเองกันทั้งนั้น...
หากเราทำหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายมาอย่่างดีไม่มีขาดตกบกพร่อง
ใครไหนเลยจะมาตำหนิเราได้...นั่นล่ะ...คนเก่ง...

คนฉลาดไม่ใช่ว่าจะเก่งเสียทุกคน(พ่อบอกมาอย่่างนั้นค่ะ)...
เพราะคนฉลาดจะใช้สมองในการคิด มีสติปัญญาเฉียบแหลม
แต่คนเก่งน้ัน คือคนที่คิดได้ ทำได้ คือคนที่มีความสามารถ...
คือคนเก่งจะเน้นการปฏิบัติ หากคิดได้อย่างชาญฉลาดแต่ทำไม่ได้
ก็หาได้เป็นคนเก่งไม่...เหมือนการเรียนรู้ที่ไร้การปฏิบัติ ไร้การฝึกฝน
เพราะคนจะเก่งได้ ต้องผ่านการฝึกฝนมาอย่างหนัก...
ตามกำลังและหน้าที่ของตน...นั่นคือสิ่งที่ผู้ให้กำเนิดมักย้ำเสมอว่่า
หากอยากเก่งก็ต้องฝึกฝนปฏิบัติ และต้องทำหน้าที่ได้รับมา
อย่่างไม่ขาดตกบกพร่อง...

และแน่นอนค่ะว่า...ที่ผ่านมาพ่อคือคนที่ไม่เคยเอ่ยให้ข้าน้อยได้ยินเลยว่า
ตัวพ่อเองน้ันเก่งหรือลูกของพ่อนั้นเก่ง...
แต่มักจะบอกว่าให้เราพยายามต่อไป...
เมื่อก่อนน้อยใจ เพราะเราอุตส่าห์เฝ้าพยามทำทุกอย่่างไม่ให้ขาดตกบกพร่อง...
แต่กลับไม่ได้รับคำชมนอกจากรอยยิ้มบนใบหน้าที่บ่งบอกความพอใจเท่านั้น...
แต่เมื่อโตขึ้นทำให้เข้าใจว่า...มนุษย์ผู้มีความบกพร่องนั้น
จะทำหน้าที่ได้ไม่ขาดตกบกพร่องเป็นไปได้ยากเหลือเกิน...
คำๆนั้นข้าน้อยจึงไม่มีโอกาสได้ยินจากพ่อ...และยอมรับด้วยหัวใจว่า
เรานั้นไม่เก่งจริงๆ...ด้วยรู้ดีว่า...ตัวเองนั้นขาดตกบกพร่องอะไรไป...
และที่สำคัญคือ...เรายังเรียนรู้หน้าที่ที่เราได้รับมาไม่หมด...
บางอย่างเราไม่รู้ว่่านั่นคือหน้าที่ที่เราต้องทำด้วยซ้ำไป...
เราจึงขาดตกบกพร่องด้วยความไม่รู้ ด้วยความโง่เขลาของตัวเอง...
กว่าจะเก่งได้ในนิยามของพ่อ...
ข้าน้อยอาจจะต้องพยายามไปจนหมดลมหายใจ

นั่นแค่เก่งสำหรับนิยามที่ผู้ให้กำเนิดบอกมา ข้าน้อยยังทำไม่ได้
ดังนั้น...การจะเก่งในสายตามนุษย์ทุกผู้ย่อมเป็นไม่ได้อย่างแน่นอน...

และท่ียากยิ่งกว่าคือ...การเป็นคนเก่งตามหลักศาสนา...
ข้าน้อยก็คงต้องใช้เวลาทั้งหมดของชีวิตเพื่อพิสูจน์มัน...


ด้วยเพราะเติบโตมาท่ามกลางครอบครัวที่มีท้ังชายและหญิง
เลยทำให้ซึมซับคำสอนผ่านการกระทำของพ่อแม่และพี่ๆน้องๆว่า...

ผู้หญิงที่เก่ง...หาใช่ผู้หญิงที่สามารถทำในสิ่งที่ผู้ชายทำได้
แต่เป็นผู้หญิงที่สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

ผู้ชายที่เก่ง...หาใช่ผู้ชายที่สามารถอยู่เหนือคนทุกผู้หรือมีชัยเหนือผู้คนได้
แต่คือผู้ชายที่สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง...

และหน้าที่นั้น...อัลลอฮฺกำหนดมาให้เราแล้ว...
และเราต้องเรียนรู้และทำมันให้ได้น่ะค่ะ... ;D

ชายกับหญิงถูกสร้างมาไม่เหมือนกัน...

ความเท่าเทียมและสิทธิที่สตรีบางคนในปัจจุบันกำลังเรียกร้องนั้น
มันอยู่ตรงไหนกัน...
แล้วทำไมผู้ชายเขาไม่เรียกร้องสิทธิบุรุษกันบ้าง ทำไม ?

หรือว่าผู้หญิงนั้นอ่อนแอ ก็เลยตกเป็นเป้าหมายของชัยตอน
และผู้ชายในคราบซาตานหรือชัยตอนในร่างมนุษย์
ที่คอยล่อลวงด้วยคำว่าสิทธิบางอย่างที่แสดงกันให้เห็นอยู่ในทุกวันนี้ ?

เป็นความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ...

ปล.ตามหลักศาสนา...
มุสลิมะฮฺสามารถออกความคิดเห็นได้ใช่ไหมคะ hehe

วัสลามค่ะ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged