เชค ดร. มุฮัมมัด สะอีด เราะมะฏอน อัล-บูฏีย์
อุละมาอ์แห่งชาม(ซีเรีย)

อบู ริญาล เรียบเรียง
เชคมุฮัมมัด สะอีด เราะมะฏอน อัล-บูฏีย์ เกิดในปี ค.ศ. 1929 ในหมู่บ้านญีลกา ซึ่งอยู่ในเกาะบูฏอน(بوطان) บริเวณชายแดนตุรกี ทางตอนเหนือของอิรัก ท่านได้อพยพเข้ามาอาศัยในนครดามัสกัสของประเทศซีเรียตอนอายุได้ 4 ขวบพร้อมกับบิดาของท่าน ซึ่งเป็นอุละมาอ์คนสำคัญในยุคนั้น ชื่อว่า มุลลา เราะมะฏอน
เชคบูฏีย์ สำเร็จการศึกษาระดับษะนะวีย์จากสถาบันชี้นำอิสลามในเมืองดามัสกัส(มะอฺฮัด อัต-เตาญีฮฺ อัล-อิสลามียฺ) ในปีค.ศ. 1953 ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะชะรีอะฮฺ มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร และในปี ค.ศ. 1955 ได้ประกาศนียบัตร “อะลามียะฮฺ” (นานาชาติ) ในปีต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่คณะภาษาอาหรับของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร และได้รับวุฒิบัตรทางด้านการศึกษาภายในปีเดียวกัน
ใน ปีค.ศ. 1960 เชคบูฏีย์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยอาจารย์(มุอีด)ของคณะชะรีอะ ฮฺของมหาวิทยาลัยดามัสกัส และพร้อม ๆ กันนั้นได้เป็นตัวแทนเพื่อศึกษาระดับปริญญาเอกของอัล-อัซฮัรในสาขาวิชาอุศุล อัล-ชะรีอะฮฺ อัล-อิสลามียะฮฺ(รากฐานของกฎหมายอิสลาม) ซึ่งต่อมาท่านได้ปริญญาสาขานี้ในปีค.ศ. 1965
ตั้งแต่จบปริญญาเอก เชคบูฏีย์ก็ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนที่คณะชะรีอะฮฺที่มหาวิทยลัยดามัสกัส จนกระทั่งได้เป็นรองคณบดี และในที่สุดก็เป็นคณะบดีของคณะนี้
นอก จากนี้เชคบูฏีย์ยังคงเข้าร่วมที่ประชุมและงานสัมมนาในระดับนานาชาติมากมาย ท่านเป็นสามาชิกของสถาบันวิจัยอารยธรรมอิสลามของอัมมาน ประเทศจอร์แดน และเป็นคณะกรรมการระดับสูงของอ๊อฟอร์ด อเคเดมี ประเทศอังกฤษ
เชคบูฏีย์ เป็นคนที่รอบรู้ในศาสตร์ที่กว้างขวาง ท่านสามารถพูดได้หลายภาษา นอกจาภาษาอาหรับแล้วท่านยังใช้ภาษาเติร์กและภาษาเคิร์ดได้ดีมาก แม้แต่ภาษาอังกฤษท่านก็สามารถใช้ได้ดี
เชคบูฏีย์ เขียนหนังสือไว้มากกว่า 40 เล่ม ทั้งในเรื่องชะรีอะฮฺ วรรณกรรม ปรัชญา สังคมวิทยา ปัญหาอารยธรรม และอื่น ๆ ท่านยังเขียนบทความประจำให้กับวารสาร หนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมไปถึงการตอบคำถาม ให้คำฟัตวาแก่ผู้คนที่สับสน และได้ช่วยพวกเขาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
ท่าน ไม่ได้จำกัดการสอนเฉพาะในมหาวิทยาลัย แต่ยังได้บรรยายเป็นประจำทุกวันที่มัสญิดของดามัสกัส และเมืองอื่น ๆ ในซีเรีย คนนับพัน ๆ ได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายของท่าน
.........................................
ตัวอย่างหนังสือที่น่าสนใจของเชค อัล-บูฏียฺ
- على طريق العودة إلى الإسلام، رسم لمنهاج، وحل لمشكلات - บนวิถีแห่งการกลับคืนสู่อิสลาม: การออกแบบแนวทาง และการแก้ปัญหา
- الجهاد في الاسلام: كيف نفهمه؟ وكيف نمارسه؟ - ญิฮาดในอิสลาม: เราจะเข้าใจมันอย่างไร? และจะดำเนินการกับมันเช่นไร?
- الحوار سبيل التعايش - การสนทนา เส้นทางของการอยู่ร่วมกัน
- المذهب الاقتصادي بين الشيوعية والإسلام - สำนักเศรษฐศาสตร์ ระหว่างคอมมิวนิสต์และอิสลาม
- حوار حول مشكلات حضارية - สนทนาว่าด้วยปัญหาอารยธรรม
เป็นต้น
ที่มา
http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=323&Itemid=32