โพลล์

สมควรแล้วหรือที่เราจะตอบโดยไม่มีบรรทัดฐาน

ไม่สมควร
0 (0%)
ไม่สมควรอย่างยิ่ง
1 (100%)

จำนวนผู้โหวตทั้งหมด: 1

ผู้เขียน หัวข้อ: การแนะนำผู้อื่น  (อ่าน 3126 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
การแนะนำผู้อื่น
« เมื่อ: ต.ค. 30, 2008, 11:23 AM »
0

แถลงการเรื่องหลักการในการให้คำแนะนำกับผู้อื่น
จงทราบเถิดว่าสำหรับผู้ที่อยู่ในสังกัดอิหม่ามซาฟิอีนั้นได้มีการประมวลในการให้คำแนะนำเรียงไว้ดังต่อไปนี้
1.   ปัญหาที่ท่านอิหม่ามรอฟิอีและท่านอิหม่ามนะวะวีย์มีความเห็นตรงกัน
2.   ปัญหาที่ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ลงความเห็นไว้ชัดเจน
3.   ปัญหาที่ท่านอิหม่ามรอฟิอีลงความเห็นไว้ชัดเจน
4.   ปัญหาใดที่บรรดาอุละมาอฺส่วนใหญ่ใหน้ำหนักเรียกปัญหานั้นว่า ตัรเยียะฮฺ (ترجيح)
5.   ปัญหาที่นักปราชญ์ยึดถือและปฏิบัติ
6.   ปัญหาที่คนวะเราะอฺ (ورع) ยึดถือและปฏิบัติ

ส่วนการให้คำแนะนำผู้อื่นนั้นเมื่อมุฟตีพบข้อความที่ตำราขัดแย้งกันให้ใช้ หนังสือตั๊วะฟะตุลมุตตารและหนังสือนิฮายะมุฮฺตารเป็นบรรทัดฐาน  ถ้าหากหนังสือทั้งสองขัดแย้งกันก็ใหมุฟตีเลือกเอาเล่มใดเล่มหนึ่งได้  หากไม่สามารถให้น้ำหนักได้  แต่หากสามารถให้น้ำหนักได้ก็ให้แนะนำตามที่ตนให้น้ำหนัก ต่อมาให้เขาใช้ของซัยคุ้ลอิสลามเรียงตามลำดับต่อไปนี้  
1.   شرح البهجة
2.   شرح المنهاج

สำหรับสองเล่มนี้มีปัญหา ضعيف  อยู่หลายปัญหาต้องใช้ความระวัง

สำหรับในกรณีที่ตำราของอิหม่ามอิบนิฮะญัรเกิดขัดแย้งกันเองให้เรียงลำดับดังต่อไปนี้
1.   หนังสือ     تحفة
2.   หนังสือ    فتح الجواد
3.   หนังสือ    امداد
4.   หนังสือ    بافضل
5.   หนังสือ    فتاوى  กับหนังสือ  شرح العبا د
ซึ่งสองเล่มหลังนี้มีค่าอยู่ในระดับเดียวกัน

ส่วนบรรดา  حاشية ของปวงปราชญ์รุ่นหลัง โดยมากจะสอดคล้องกับของท่านอิหม่ามรอมลี ดังนั้นจึงสามารถให้คำแนะนำตามปวงปราชญ์รุ่นหลังได้ด้วย

สำหรับบรรดา   حاشية ที่ยึอถือกันเรียงลำดับดังนี้
1.   الزيا دي
2.   ابن فاسم
3.   عميرة

ส่วน      حاشية ของนักปราชญ์ที่วินิจฉัยแย้งกับ  أصول المذهب
ก็ใช้เป็นคำแนะนำไม่ได้
ส่วนที่    ضعيفนั้นอนุญาติให้ใช้เพียงส่วนตัวเท่านั้นเมื่อมันไม่ถึงขั้น อ่อนมากแต่จะนำมาใช้เป็นคำแนะนำผู้อื่นไม่ได้
และทัศนะ ضعيف  นำมาใช้ตัดสินไม่ได้
(คำกล่าวของท่านอิหม่ามต่วนฮัจยีอาบิดีน  วิทยานันท์  อิหม่ามมัสยิดอัสลาม คลองกุ่ม)
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

 

GoogleTagged