ผู้เขียน หัวข้อ: ฮุกุ่มการอ่านอัลกุรอานของผู้มียุนุบและสตรีผู้มีประจำเดือน  (อ่าน 5346 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

การอ่านอัลกุรอานของผู้มียุนุบและสตรีผู้มีประจำเดือน

การอ่านอัลกุรอานของผู้มียุนุบและประจำเดือนนั้น  ถือว่าฮะรอมตามทัศนะของปราชญ์ส่วนมาก  ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกยึดถือจากมัซฮับฮะนะฟีย์ , มัซฮับอัชชาฟิอีย์ , และมัซฮับฮัมบาลีย์

ท่านอัซซัยละอีย์กล่าวว่า  "ห้ามผู้มีประจำเดือนอ่านอัลกุรอาน  และห้ามเช่นเดียวกันสำหับผู้มียุนุบ  เพราะท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า : "ผู้มีประจำเดือนและญุนุบจะไม่อ่านสิ่งใดจากอัลกุรอาน"  และไม่มีการแบ่งแยกระหว่าง(การอ่าน)หนึ่งอายะห์กับการอ่านไม่ถึงอายะห์  ในสายรายงานของอัลกัรคีย์  และในสายรายงานของอัฏเฏาะฮาวีย์นั้น  อนุญาตให้ผู้มีประจำเดือนและญุนุบทำการอ่านสิ่งที่ไม่ถึงหนึ่งอายะห์"  หนังสือตับยีนุนฮะกออิก ชัรห์ กันซุลดะกออิก 1/57

ท่านอัลฮัศกะฟีย์  กล่าวว่า  "การมีฮะดัษใหญ่ห้ามอ่านอัลกุรอาน  หากแม้ว่าเจตนาอ่านไม่ถึงหนึ่งอายะฮ์ก็ตาม  บนทัศนะที่ถูกเลือกเฟ้น  ดังนั้นถ้าหากเขาเจตนาเป็นการกล่าวดุอา  หรือสรรเสริญ(อัลเลาะห์)  หรือเริ่มกระทำกิจงานหนึ่ง  หรือทำการสอน  และทำการสอนทีละถ้อยคำ ๆ ถือว่าอนุญาตตามทัศนะที่ชัดเจนยิ่งกว่า"  ฮาชียะห์อิบนุอาบิดีน 1/172-173

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า  "มัซฮับของเรา  ถือว่าฮะรอมผู้ที่มีญุนุบและประจำเดือนทำการอ่านอัลกุรอาน  ไม่ว่าจะอ่านน้อยหรือมาก  แม้กระทั่งอ่านบางส่วนของอายะฮ์ก็ตาม"  หนังสือมัจญ์มั๊วะอฺ 2/182

ท่านอัลค่อฏีบ  อัชชัรบีนีย์  กล่าวว่า  "อนุญาตให้ผู้ที่ถูกกล่าวมาแล้ว - คือผู้มีญุนุบและประจำเดือน - ทำการกล่าวซิกิรที่เป็นอัลกุรอานและอื่น ๆ เช่น  กล่าวขณะที่พูดตักเตือน  เรื่องเล่าของอัลกุรอาน  และข้อกำหนดต่าง ๆ ของอัลกุรอาน  โดยมิได้เจตนอ่านอัลกุรอาน  เช่นคำกล่าวขณะที่ขี่พาหนะที่ว่า  "ซุบฮานัลละซี  ซัคค่อร่อละนาฮาซา  วะมากุนนาละฮูมักรินีน"  และในขณะที่ประสบภัย  "อินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูน"  ดังนั้น  ถ้าหากเขามีเจตนาอ่านเป็นอัลกุรอานอย่างเดียวหรือเจตนา(อ่านอัลกุรอาน)พร้อมกับซิกิรด้วย  ถือว่าฮะรอม  แต่ถ้าหากเขากล่าวเฉย ๆ (โดยมิได้เจตนาว่าเป็นอัลกุรอาน) ถือว่าไม่ฮะรอม  เนื่องจากมิได้กระทำการอันบกพร่องต่อการให้เกียรติอัลกุรอาน  เพราะถือว่าไม่เป็น(การอ่าน)อัลกุรอนนอกจากด้วยมีเจตนา(ว่าอ่านอัลกุรอาน)  ตามที่อิมามอันนะวาวีย์และท่านอื่น ๆ ได้กล่าวไว้" หนังสืออิกนาอฺ  ตีพิมพ์พร้อมกับหนังสือฮาชียะห์อัลบุญัยรีมีย์ 1/236-237

ท่านอัลบุฮูตีย์  อุลามาอ์มัซฮับฮัมบาลีย์  กล่าวว่า  "ห้ามผู้ที่จำเป็นเหนือเขาต้องอาบน้ำ(ยกฮะดัษใหญ่) เพราะมีญุนุบหรืออื่น ๆ (เช่นมีประจำเดือน) ทำการอ่านอัลกุรอานหนึ่งอายะห์หรือมากกว่านั้น  เพราะมีฮะดิษของท่านอะลี  กล่าวว่า  "ท่านนบี (ซ.ล.) นั้น ไม่มีสิ่งใดจะมาปิดกั้นท่านได้จาก(การอ่าน)อัลกุรอาน  นอกจากมีญุนุบ" รายงานโดยอิบนุคุซัยมะห์ , อัลฮากิม , และอัดดารุกุฏนีย์ และท่านฮากิมและอัดดารุกุฏนีย์ตัดสินว่าเป็นฮะดิษซอฮิหฺ  และไม่ห้ามผู้ที่จำเป็นบนเขาต้องอาบน้ำ(คือผู้มีฮะดัษใหญ่)  ทำการอ่านบางส่วนของอายะฮ์(ไม่ถึงหนึ่งอายะฮ์)  เพราะถือว่าไม่มีความอรรถรสในบางส่วนของอายะฮ์นั้น  และอนุญาตให้เขาทำการกล่าวถ้อยคำที่ตรงกับอัลกุรอานที่เป็นประเภทของการซิกิรและต้องไม่เจตนาว่าอ่านเป็นอัลกุรอาน  เช่น  การกล่าวบิสมิลลาห์  ,  อัลฮัมดุลิลลาฮิร็อบบิลอาละมีน , อายะห์ต่างที่กล่าวขณะประสบภัยและขณะขี่พาหนะ  ดังนั้นถ้าหากเขาเจตนาอ่านเป็นอัลกุรอานถือว่าฮะรอม"  หนังสือดะกออิกอุลิลนุฮา ลิชัรหิลมุนตะฮา 1/81-82

ดังนั้น  ทัศนะการห้ามอ่านอัลกุรอานของผู้มีญุนุบและสตรีผู้มีประจำเดือนนั้น  เป็นทัศนะของปวงปราชญ์ส่วนมาก  ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า  "นักปราชญ์ของเราได้รายงานทัศนะนี้  จากท่านอุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏ๊อบ , ท่านอะลี บิน อะลีฏอลิบ , ท่านญาบิร , - ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ้ม -  และยังเป็นทัศนะของท่านอัลฮะซัน , ท่านอัซซุฮ์รีย์ , ท่านอันนะค่ออีย์ , ท่านก่อตาดะห์ , ท่านอะห์มัด , ท่านอิสฮาก"  หนังสือมัจญ์มั๊วะ 2/182

ท่านอัลค็อฏฏอบีย์ได้กล่าวว่า  "ปราชญ์ส่วนมากมีทัศนะว่าฮะรอม(อ่านอัลกุรอานสำหรับผู้ที่มีญุนุบและประจำเดือน)"  หนังสือมะอาลิมอัสสุนัน 1/77

หลักฐานฮุกุ่มดังกล่าว :

หลักฐานที่หนึ่ง :

ท่านอิบนุอุมัร  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา  ได้กล่าวว่า

عَنْ النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَالَ ‏ ‏لَا تَقْرَأْ الْحَائِضُ وَلَا الْجُنُبُ شَيْئًا مِنْ الْقُرْآنِ

จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ว่า  "ผู้มีประจำเดือนและญุนุบจะไม่อ่านสิ่งใดจากอัลกุรอาน" รายงานโดย อัตติรมีซีย์ (131) ฮะดิษนี้ซอฮิห์หรือฮะซันด้วยการมีฮะดิษอื่นที่ซอฮิห์มาสนับหนุน

ท่านอัตติรมีซีย์  กล่าวว่า  "ผู้ที่มีญุนุบและประจำเดือนห้ามอ่านอัลกุรอานนั้น  เป็นทัศนะของปราชญ์ส่วนมากจากซอฮาบะห์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เป็นทัศนะของตาบิอีน  และปราขญ์ยุคหลังจากตาบิอีน  เช่น  ท่านซุฟยานอัษเษารีย์  , ท่านอิบนุลมุบาร็อก , ท่านอัชชาฟิอีย์ , ท่านอะห์มัด , ท่านอิสฮาก"  สุนันอัตติรมีซีย์ 1/236

และฮะดิษนี้ได้รับการสนุนยกระดับ (มุตาบะอะฮ์)  จากสายรายงานของท่านอัดดารุกุฏนีย์  จากด้านสายรายงานของท่าน  อับดุลมาลิก บิน มัสละมะฮ์  เขากล่าวว่า  ได้เล่าให้ฉันทราบโดย  อัลมุฆีเราะห์ บิน อับดุรเราะห์มาน  จากมูซา บิน อุกบะฮ์  จากนาเฟี๊ยะอฺ  จากท่านอิบนุอุมัร  ท่านกล่าวว่า

قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لاَ يَقْرَأُ الجُنُبُ شَيْئًا مِنَ القُرْآنِ

ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า  "ผู้ที่มีญุนุบจะไม่อ่านสิ่งใดจากอัลกุรอาน"  สุนันอัดดารุกุฏนีย์ 1/89  ฮะดิษนี้ซอฮิห์ตามที่ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัดดิรอยะห์ (1/85)

หลักฐานที่สอง :

ท่านอะลี ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ได้กล่าวว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ يُقْرِئُنَا الْقُرْآنَ عَلَى كُلِّ حَالٍ مَا لَمْ يَكُنْ جُنُبًا

"ท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จะทำการอ่านอัลกุรอานแก่เราในทุกสภาพการตราบใดที่ไม่มียุนุบ" รายงานโดยอันติรมีซีย์ (136) ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า  ฮะดิษฮะซันซอฮิห์

ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า  "ฮะดิษนี้  มิใช่คนเดียวจากนักปราชญ์ซอฮาบะฮ์ของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  และอัตตาบิอีน  ได้กล่าวว่า  ชายคนหนึ่งจะอ่านอัลกุรอานโดยไม่ต้องมีน้ำละหมาด  และจะไม่อ่านจากเล่มของอัลกุรอานนอกจากเขาผู้เป็นที่มีความสะอาด(ปราศจากฮะดัษเล็กและฮะดัษใหญ่)  และด้วยทัศนะนี้  เป็นคำกล่าวของท่านซุฟยานอัษเษรีย์ , ท่านอัชชาฟิอีย์ , ท่านอะห์มัด , และอิสฮาก"  สุนัตอันติรมีซีย์ 1/274

หลักฐานที่สาม :

รายงานจากอับดุลเลาะห์ บิน ร่อวาฮะห์  เขากล่าวว่า

أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَهيَ أَنْ يَقْرَأَ أَحَدُنَا القُرْأنَ وَهُوَ جُنُبٌ

"แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ห้ามคนหนึ่งจากพวกเขาอ่านอัลกุรอานในสภาพที่เขามีญุนุบ" รายงานโดยท่านอัดดารุกุฎนีย์ (สุนันอัดดารุกุฏนีย์ 1/120) ท่านอัดดารุกุฏนีย์กล่าวว่า  ฮะดิษนี้ดี

หลักฐานที่สี่ :

ฮุฎัยน์  บิน  อัลมุงซิร  อะบี  ซัลซาน   ได้รายงานว่า

‏عَنْ ‏ ‏الْمُهَاجِرِ بْنِ قُنْفُذٍ ‏ ‏أَنَّه ُ‏أَتَى النَّبِيَّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏وَهُوَ يَبُولُ فَسَلَّمَ عَلَيْهِ فَلَمْ يَرُدَّ عَلَيْهِ حَتَّى تَوَضَّأَ ثُمَّ اعْتَذَرَ إِلَيْهِ فَقَالَ ‏ ‏إِنِّي كَرِهْتُ أَنْ أَذْكُرَ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا عَلَى طُهْرٍ
 
"จากอัลมุฮาญิร  บิน  กุรฟุซฺ  เขาได้ไปหาท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  โดยท่านนบีกำลังปัสสาวะอยู่  เขาก็ให้สลาม  ดังนั้นท่านนบีก็ไม่ตอบรับสลามจนกระทั่งอาบน้ำละหมาดเสียก่อน  หลังจากเขาท่านนบีก็กล่าวขอโทษเขา  และกล่าวว่า  ฉันรังเกียจที่จะกล่าวซิกรุลลอฮ์  นอกจากอยู่บนความสะอาด(คือมีน้ำละหมาด)เสียก่อน"  รายงานโดยอะบูดาวูด (16) ฮะดิษนี้ซอฮิห์

ฮะดิษนี้  ชี้ถึงหลักการกิยาส(เทียบเคียง)ที่มีผลฮุกุ่มที่ยิ่งกว่า  กล่าวคือเมื่อท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  รักเกียจที่จะกล่าวรับสลามว่า "วะอะลัยกุมุสลาม"  ขณะที่ยังไม่มีน้ำละหมาด  ดังนั้นการอ่านอัลกุรอานของผู้มีญุนุบและประจำเดือนย่อมไม่ยิ่งกว่าดอกหรือ!

เช่นเดียวกันนี้  คือการถือศีลอดของผู้ที่มีญุนุบนั้นเซาะห์ใช้ได้  ซึ่งแตกต่างกับผู้ที่มีประจำเดือน  เพราะการมีประจำเดือนนั้นถือว่าเป็นฮะดัษที่หนักหนากว่าการมีญุนุบ  ท่านอัลฮาฟิซฺ  อิบนุฮะญัร  อัลอัสก่อลานีย์ได้กล่าวว่า  "ท่านอุรวะห์ได้ทำการเทียบเคียงการมีประจำเดือนด้วยกับการมีญุนุบ  เพราะความน่ารังเกียจของผู้มีประจำเดือนนั้นมีมากกว่าผู้ที่มีญุนุบ"  ฟัตฮุลบารีย์ (1/401)  ดังนั้นเมื่อผู้มีญุนุบห้ามอ่านอัลกุรอ่าน  แน่นอนว่าผู้ที่มีประจำเดือนก็ถูกห้ามอ่านอัลกุรอานยิ่งกว่านั่นเอง

การอ่านอัลกุรอานขณะมีความจำเป็นของสตรีมีประจำเดือน :

การอ่านอัลกุรอานของผู้มีญุนุบหรือประจำเดือนที่ฮะรอมนั้น  คืออ่านขนาดให้ตนเองได้ยิน  ดังนั้นหากเขาได้อ่านในใจหรือขมิบปากถือว่าไม่ฮะรอมแต่อย่างใด  (หนังสืออิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 1/116) แต่บางครั้งสตรีมุสลิมะฮ์มีประจำเดือนขณะที่อยู่ในช่วงสอบซึ่งจำต้องท่องและอ่านอัลกุรอาน  "ดังนั้นการอ่านอัลกุรอานของสตรีผู้มีประจำเดือนนั้นมัซฮับของปราชญ์ส่วนมากมีทัศนะว่าห้ามอ่าน  แต่มัซฮับมาลิกีย์กล่าวว่าอนุญาตให้อ่านได้"  (หนังสือมัจญ์มั๊วะ 2/182  ของอิมามอันนะวาวีย์)  ฉะนั้นหากเราตักลีดตามมัซฮับอิมามอัลมาลิกีย์ในขณะที่มีความจำเป็นต้องอัลกุรอาน  ก็อนุญาตให้กระทำได้

ท่านอิมามอัลบาญูรีย์ได้กล่าวหลักการฟิกห์ไว้ตอนหนึ่งว่า

وَإِنْ كَانَ المُعْتَمَدُ عِنْدَهُمْ الحُرْمَةَ فَيَنْبَغِيْ لِمَنْ اُبْتُلِيَ بِشَيْءٍ مِنْ ذَلِكَ كَمَا يَقَعُ كَثِيْراً تَقْلِيدُ مَا تَقَدَّمَ مِنَ الحُرْمَةِ

"หากว่าทัศนะที่ถูกยึดถือตามทัศนะของเขาคือฮะรอม  ดังนั้นจึงสมควรแก่ผู้ที่ถูกทดสอบ(มีความจำเป็น)ต้องทำสิ่งหนึ่งจากสิ่งดังกล่าว(คือสิ่งที่ฮะรอมตามทัศนะของพวกเขา)ดังที่ได้เกิดขึ้นกันอย่างมากมาย  ก็ให้เขาทำการตักลีดตามสิ่งที่กล่าวผ่านมาแล้ว(คือตามทัศนะอุลามาอฺที่อนุญาตให้กระทำได้)เพื่อเขาจะได้รอดพ้นจากสิ่งต้องห้าม"  หนังสือฮาชียะห์อัลบาญูรีย์ 1/41

จากหลักการนี้  ก็ถือว่าอนุญาตให้อ่านอัลกุรอ่านได้เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องอ่านและท่องจำเพื่อทำการสอบ

แต่อีกหลักการหนึ่งที่อิมามอัรร็อมลีย์ได้ฟัตวาไว้ก็คือ  ผู้ที่มีประจำเดือนนั้น  ก็จะอ่านอัลกุรอานไม่ได้นอกจากมีเจตนาซิกรุลลอฮ์  มิใช่เจตนาอ่านอัลกุรอาน  ดังนั้นถ้าหากอ่านอัลกุรอานโดยเจตนาเหนียตเป็นซิกิรหรือซิกรุลลอฮ์ก็ย่อมกระทำได้  หากแม้ว่าจะอ่านหมดเล่มก็ตาม 

ท่านชัยค์ อับดุลหะมีด อัชชัรวานีย์  กล่าวว่า

أَمَّا إِنْ قَرَأَ شَيْأً مِنْهُ لاَ عَلَى قَصْدِ الْقُرْأنِ  فَيَجُوْزُ بَلْ أَفْتَى شَيْخِىْ أَيْ  الشَّهَاب الرَّمْلِى بِأَنَّهُ إِنْ قَرَأَ الْقُرْأنَ جَمِيْعَهُ لاَ بِقَصْدِ القُرْأنِ جَازَ

"สำหรับกรณีที่ว่า  หากผู้มีญุนุบได้อ่านสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากอัลกุรอาน  โดยไม่ได้เจตนาอ่านอัลกุรอาน(แต่เจตนาซิกิร) ดังนั้น  จึงเป็นการอนุญาตให้กระทำได้  ยิ่งกว่านั้น  ท่านอาจารย์ของข้าพเจ้า คือ  อิมาม ชิฮาบุดดีน อัรรอมลีย์  ได้ฟัตวาว่า แท้จริง หากเขา(ผู้มีญุนุบ)ได้ทำการอ่านอัลกุรอานทั้งหมด  โดยไม่ได้เจตนาอ่านอัลกุรอาน(แต่เจตนาเพียงแค่ซิกิร) ก็เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้"  ดู หนังสือ  หะวาชีย์ อัชชัรวานีย์ วะ อิบนุ กอซิม อัลอับบาดีย์  ซึ่งอธิบาย หนังสือ ตัวะห์ฟะตุลมั๊วะตาจญ์  เล่ม 1 หน้า 272
ท่านอิมามอัลบาญูรีย์กล่าวว่า  "หากคนมีญุนุบคนหนึ่งได้ทำการนะซัร(บนบาน)ว่าจะอ่านยาซีนในเวลานั้นเวลานี้  ปรากฏว่าเวลานั้นเกิดมีญุนุบขึ้นมา  ก็ให้เขาอ่านซูเราะห์ยาซีนได้เพราะมีความจำเป็น"  หนังสือฮาชียะห์อัลบาญูรีย์ 1/120

บทสรุป :

1.  อัลกุรอานนั้นเราต้องให้เกียรติ  ดังนั้นผู้ที่มีญุนุบและประจำเดือนจึงไม่อนุญาตให้อ่านอัลกุรอาน

2.  ถ้าหากเขาเจตนอ่านเป็นอัลกุรอานอย่างเดียวหรือเจตนา(อ่านอัลกุรอาน)พร้อมกับซิกิรด้วย  ถือว่าฮะรอม  แต่ถ้าหากเขากล่าวเฉย ๆ (โดยมิได้เจตนาว่าเป็นอัลกุรอานและซิกิร) ถือว่าไม่ฮะรอม

3.  การกล่าวซิกิรที่เป็นอัลกุรอานและอื่น ๆ เช่น  กล่าวขณะที่พูดตักเตือน  เรื่องเล่าจากอัลกุรอาน  และข้อกำหนดต่าง ๆ ของอัลกุรอาน  โดยมิได้เจตนอ่านอัลกุรอาน  ถือว่าไม่ฮะรอม

4.  หากนะซัรว่าจะอ่านอัลกุรอานในช่วงเวลาหนึ่ง  แต่เกิดมีฮะดัษใหญ่ขึ้นมา  ก็อนุญาตให้อ่านได้เพราะมีความจำเป็น

5.  หามีความจำเป็นต้องสอบอัลกุรอาน  แต่มีประจำเดือนก็ให้เขาเหนียตตักลีดตามมัซฮับอิมามมาลิก  หรืออ่านโดยเหนียตเป็นซิกิร

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 10, 2008, 02:40 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ mustura^@^

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 336
  • เพศ: หญิง
  • ALLAH is the only ONE !!!
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
ญาซากัลลอฮฺค็อยร็อน......  myGreat:

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะลัยกุ้มฯ

ช่วงฤดูหนาวนี่ลำบากหน่อย  พกอัลกุรอานออกจากบ้านเพื่อท่อง  พอออกจากบ้านไปมหาลัยบางทีก็เสียน้ำละหมาด  ก็หนาว ๆ จะอาบน้ำละหมาดก็ลำบาก (กรณีนี้ที่อียิปต์น่ะ)
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
 salam


รบกวนถามต่ออีกหน่อย

1. การอ่านกุรอ่าน ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นหมายถึงทั้งอ่านจากเล่มอัลกุรอ่าน และอ่านแบบท่องจำใช่ป้ะคะ
2. การอ่านอัลกุรอ่านแปลไทย ของหญิงมีประจำเดือน เป็นมักโระ ไหมคะ

ยะซากัลลอฮุคอยรอน
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
salam


รบกวนถามต่ออีกหน่อย

1. การอ่านกุรอ่าน ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นหมายถึงทั้งอ่านจากเล่มอัลกุรอ่าน และอ่านแบบท่องจำใช่ป้ะคะ
2. การอ่านอัลกุรอ่านแปลไทย ของหญิงมีประจำเดือน เป็นมักโระ ไหมคะ

ยะซากัลลอฮุคอยรอน



ตอบข้อ1ใช่ครับ


ข้อ2นั้นไม่ทราบครับ ผมไม่เคยอ่านเจอว่าอ่านแปลความหมายแล้วมักโรฮฺนะครับ

ขอโทษนะผมตอบแทนบังเขา ทั้งๆที่พี่นั้นถามบังเขา



นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
       อัสลามุอะลัยกุ้มฯ

       คำถามข้อ 2 นั้น  อนุญาตให้ศึกษาอัลกุรอ่านแปลได้  ยิ่งกว่านั้นยังเป็นความดีงามอีกด้วย  ดังนั้นผู้มีประจำเดือนยังอนุญาตให้กล่าวซิกรุลลอฮ์ได้เลย  เช่น  ซุบฮานัลลอฮ์  อัลฮัมดุลิลลาฮ์  ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์  อัลลอฮุบักบัร  ทำไมจะศึกษาอัลกุรอานไม่ได้ล่ะครับ 
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ sumsee

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 5
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ซื้ออหนังสือ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธ.ค. 20, 2010, 07:53 PM »
0
ซ้อหนังสือของอาจารอรุณบุญชมได้ที่ใหนนิติศาสอิสลาม party: party:

 

GoogleTagged