ผู้เขียน หัวข้อ: ใครว่าตีความไม่หะรอม  (อ่าน 9933 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ธ.ค. 03, 2008, 04:45 PM »
0
การตีความ คือการป้องกันจากการชุบหัต ของความคิดใดๆ
ดังนั้น การตีความ แม้เราไม่ทราบว่า จะใช่นัยยะที่อัลลอฮฺต้องการหรือไม่
แต่การตีความ ตามแนวทางอะฮฺลุสสุนนะฮ์ วัลญมาอะฮ์ อัลอชาอิเราะฮ์ ก็อยู่บนความเหมาะสมต่อศิฟัตอันสูงส่งของอัลลอฮฺ
พวกเรา หาได้ปฏิเสธศิฟัตเหล่านั้นไม่ หากแต่ศิฟัตที่ตัชบีหฺ (คลุมเครือ) เหล่านั้น มีความหมายหลายนัยยะ
เราไม่ทราบอย่างแท้จริง ว่าความหมายไหนคือ นัยยะที่อัลลอฮฺทรงหมายถึง
ดังนั้น การมอบหมายจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด ตามแนวทางสะละฟุศศอลิหฮฺ
แต่การตีความ ก็อยู่หลักการการมอบหมายความหมายที่ยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮฺ
ที่พระองค์สมควรได้รับจากการเรียกขานของบ่าวของพระองค์
วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 03, 2008, 05:51 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ธ.ค. 04, 2008, 01:09 PM »
0
การตีความ ระหว่างอัลอชาอิเราะฮ์กับมุอฺตะซิละฮ์ ย่อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
การตีความ ตามแนวทางอัลอชาอิเราะฮ์ ก็เพื่อให้นัยยะต่อความหมายที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ
แม้ว่าเรา มิอาจทราบได้ว่า เป็นนัยยะที่อัลลอฮฺทรงประสงค์หรือไม่ก็ตาม
แต่การตีความก็อยู่บนความสอดคล้องกับพระนามอันวิจิตรที่มีความหมายชัดเจน
ถูกรายงานด้วยสายรายงานที่มุตะวาติรฺ (มิอาจรวมหัวกันโกหกได้)
และในการตีความทุกครั้ง จะพร้อมด้วยกับการมอบหมายความหมายที่แท้จริงต่ออัลลอฮฺ สำทับอีกทีหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า แนวทางอะฮฺลุสสุนนะฮ์ วัลญมาอะฮ์ อัลอชาอิเราะฮ์ ในแนวทางที่ 2 (ตีความ) นั้น
จะครอบคลุมถึงการมอบหมายและตีความได้ทั้งสอง
หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ แนวทางที่สอง ในขณะเดียวกัน ก็มิได้ปฏิเสธแนวทางสลัฟเลย
หากท่านผู้มีปัญญาได้คิดอย่างไตร่ตรอง ท่านก็จะมองเห็น

แต่ในขณะเดียวกัน
การตีความ ของพวกมุอฺตะซิละฮ์นั้น
คือการผินจากความหมายเดิม กล่าวคือ ปฏิเสธความหมายหะกีกัตของมัน
และทำการตีความเสียใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งแล้ว มันก็คือ การปฏิเสธศิฟัตดังกล่าวของอัลลอฮฺนั้นเอง
ดังนั้น การปฏิเสธศิฟัตใดๆ ของอัลลอฮฺ แม้เพียงศิฟัตเดียว อกีดะฮ์ของเขาย่อมไม่ปลอดภัยเสียแล้ว
และการตีความของพวกมุอฺตะซิละฮ์ จะต้องสอดคล้องกับปัญญา
สติปัญญาต้องมาก่อนหลักฐานเสมอ หากขัดกับปัญญา ก็ถือว่า สิ่งนั้นมิอาจจะยอมรับได้เลยแม้แต่น้อย

ฉะนั้น พี่น้องสมควรที่จะทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกว่า
การตีความระหว่างทั้งสองนั้น เป็นอย่างไร
และพยายามหาข้อแตกต่างระหว่างทั้งสอง
และพี่น้องจะพบว่า สัจธรรมย่อมแตกต่างจากความเท็จอย่างแน่นอน
หากผิดพลาดประการใดขอการท้วงติง เพื่อปรับความเข้าใจได้เสมอเลยนะครับ
วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุ อลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮิ วะบะเราะก้าตุฮฺ
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ธ.ค. 05, 2008, 03:37 PM »
0
1. ในการอ่านอายะห์อัลกุรอานของท่านรอซูลุลลอฮ์ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมให้กับบรรดาซอฮาบะห์ของท่านฟังนั้น ไม่ทราบว่าท่านนบีฯ ได้มีการอธิบายอายะห์ต่างๆ ทุกๆ อายะห์หรือเปล่าครับ? หรือท่านนบีฯ มีการอธิบายเฉพาะบางอายะห์เท่านั้นครับ? (คิดว่าคงจะเกี่ยวกับกระทู้นี้นะครับผม)

สิ่งที่ท่านร่อซูลุลลอฮ์ได้อธิบายอายะฮ์อัลกุรอานนั้น  เรารู้เพียงแต่ฮะดิษที่รายงานมาบางส่วนเท่านั้น  แต่ไม่ทุกอายะฮ์หรอก  เพราะอายะฮ์ส่วนมากมีความชัดเจนและซอฮาบะฮ์ต่างก็ทราบและเข้าใจกันดีถึงเจตนารมณ์ของอายะฮ์อัลกุรอาน 

2. ในการตะวีลของซอฮาบะห์และอุลามาอ์นั้น ไม่ทราบว่า มีหลักการอย่างไรบ้างครับว่า คำๆ นึง (ที่สามารถให้ได้หลายความหมาย) ในอายะห์เหล่านั้น จะสามารถผินความหมายไปสู่ความหมายใด เพื่อที่จะทำให้อายะห์ที่มีความหมายคลุมเครือหรือหลายนัยดังกล่าวนั้นสามารถตีความได้? และในบางอายะห์เหล่านั้น มีบ้างไหมครับ ที่อุลามาอ์ที่ทำการตะวีลโดยให้ความหมายไม่เหมือนกันจากอายะห์เดียวกันครับ?

การตะวีลของซอฮาบะฮ์นั้น  ได้รับรายงานถึงเราน้อยมาก  เช่น  การตีวีลของท่านอิบนุอับบาส  เนื่องจากในยุคซอฮาบะฮ์หรือสะลัฟไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะพูดถึงของอายะฮ์ที่เกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีถ้อยคำหลายนัย  ส่วนทัศนะของอุลามาอฺที่มีการตีความต่างกันในอายะฮ์เดียวกันนั้น  ดูตัวอย่างได้ที่  กระทู้นี้ครับ : อัลเลาะฮ์ทรง"อิสติวาอฺ"เหนือบัลลังก์(วิเคราะห์ทัศนะอะกีดะฮ์เชิงเปรียบเทียบ)
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ธ.ค. 05, 2008, 04:24 PM »
0
 salam

ท่านอิมาม อัลฮาฟิซฺ อิบนุ อะซากิร ได้กล่าวว่า

فإنهم بحمد الله ليسوا معتزلة , ولا نفاة لصفات الله معطلة , لكنهم يثبتون له سبحانه ما أثبته لنفسه من الصفات , ويصفونه بما أتصف به في محكم الأيات , وبما وصف به نبيه - صلى الله عليه وسلم - في صحيح الروايات وينزهونه عن سمات النقص والآفات , فإذا وجدوا من يقول بالتجسيم أو التكييف من المجسمة والمشبهة , ولقوا من يصفه بصفات المحدثات من القائلين بالحدود والجهة فحينئذ يسلكون طريق التأويل , ويثبتون تنزيهه تعالى بأوضح الدليل ويبالغون في إثبات التقديس له والتنزيه خوفا من وقوع من لايعلم في ظلم التشبيه , فإذا أمنوا من ذلك رأوا أن السكوات أسلم , وترك الخوض في التأويل إلا عند الحاجه أحزم , ومامثالهم في ذلك إلا مثل الطبيب الحاذق الذي يداوي كل داء من الأدواء بالدواء الموافق , فإذا تحقق غلبة البرودة على المريض داواه بالأدوية الحارة , ويعالجه بالأدوية الباردة , عند تيقنه منه بغلبة الحرارة , وماهذا في ضرب المثال إلا كما روي عن سفيان : إذا كنت بالشام فحدث بفضائل علي  رضي الله عنه وإذا كنت بالكوفة فحدث بفضائل عثمان رضي الله عنه وما مثال المتأول بالدليل الواضح إلا مثال الرجل السابح , فإنه لايحتاج إلى السباحة مادام في البر , فإن اتفق له في بعض الأحايين ركوب البحر , وعاين هوله عند ارتجاجه وشاهد منه تلاطم امواجه , وعصفت به الريح حتى انكسر الفلك , وأحاط به إن لم يستعمل السباحه الهلك , فحينئذ يسبح بجهده طلباً للنجاةِ , ولايلحقه فيها تقصير حبا للحياة , فكذلك الموحد مادام سالكاً محجة التنزيه , أمناً في عقده من ركوب لجة التشبيه , فهو غير محتاج للخوض في التأويل لسلامة عقيدته من التشبيه والأباطيل , فأما إذا تكدر صفاءُ عقده بكدورة التكييف والتمثيل , فلابد من تصفية قلبه من الكدر بمصفاة التأويل , وترويق ذهنه برواق الدليل , لتسلم عقيدته من التشبيه والتعطيل

"แท้จริงพวกเขา(หมายถึงอัลอะชาอิเราะฮ์) อัลฮัมดุลิลลาฮ์  พวกเขามิใช่มั๊วะตะซิละฮ์  และมิใช่พวกที่ปฏิเสธซีฟัต คือพวกอัลมุอัฏฏิละฮ์  แต่ทว่าพวกเขาได้ยืนยันให้กับอัลเลาะฮ์  ซึ่งคุณลักษณะที่พระองค์ทรงยืนยันแก่พระองค์เอง , และอัลอะชาอิเราะฮ์ได้พรรณาคุณลักษณะของพระองค์ด้วยกับสิ่งที่พระองค์ได้พรรณาคุณลักษณะนั้นไว้ในอายะฮ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน  และด้วยกับสิ่งที่ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้พรรณาคุณลักษณะของพระองค์ไว้ในสายรายงานที่ซอฮิห์  และอัลอะชาอิเราะฮ์ได้ยืนยันความบริสุทธิ์ต่อพระองค์จากคุณลักษณะที่บกพร่อง  ดังนั้นเมื่อพวกเขาพบว่ามีคนหนึ่งที่กล่าว(พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์) แบบมีรูปร่างหรือมีวิธีการจากพวกมุญัสสิมะฮ์(กลุ่มที่พรรณาคุณลักษณะของพระองค์มีรูปร่าง)และพวกมุชับบิฮะฮ์(กลุ่มที่พรรณาคุณลักษณะของพระองค์โดยไปคล้ายคลึงกับมัคโลค)หรือเมื่อพวกเขาไปพบกับผู้ที่พรรณาคุณลักษณะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของบรรดาสิ่งที่บังเกิดใหม่จากบรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงมีขอบเขตจำกัดและทรงมีทิศ  แน่นอนว่าในขณะนั้น  อัลอะชาอิเราะฮ์ก็จะเดินอยู่ในแนวทางของการตะวีล(ตีความ)  พวกเขาจะทำการยืนยันซึ่งความบริสุทธิ์ของพระองค์ด้วยหลักฐานที่ชัดเจนยิ่งกว่า  พวกเขาจะล้ำลึกในการยืนยันมหาบริสุทธิ์ผุดผ่องแด่พระองค์เพราะเกรงว่าผู้ที่ไม่รู้จะตกไปอยู่ในความอธรรมของการตัชบีห์(การพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์โดยไปคล้ายคลึงกับมัคโลค)  ดังนั้นเมื่อพวกเขาปลอดภัยจากสิ่งดังกล่าว  พวกเขาก็จะเห็นว่าการนิ่ง(มอบหมาย)ย่อมปลอดภัยกว่า  และละทิ้งการเข้าไปในการตีความ(ตะวีล)นอกจากขณะที่มีความจำเป็นเท่านั้น  ย่อมมั่นคงกว่า 

และไม่มีการเปรียบเทียบของพวกเขาเกี่ยวกับในสิ่งดังกล่าวนั้น  นอกจากประหนึ่งนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการเยียวรักษาต่าง ๆ ด้วยตัวยาที่เหมาะสม  ดังนั้นเมื่อปรากฏผู้ป่วยว่ามีความหนาวมากเกินไป  พวกเขาก็จะเยี่ยวยาด้วยยาที่ทำให้อบอุ่น  และทำการเยียวยาผู้ป่วยด้วยตัวยาที่เย็นในขณะที่มั่นใจว่าผู้ป่วยมีอุณภูมิที่ร้อน  และในการยกตัวอย่างนี้มิใช่อื่นใดนอกจากว่ามันเหมือนกับสิ่งที่ได้รายงานจากท่านซุฟยานว่า  "เมื่อท่านอยู่ที่ชาม(ซีเรีย)  ท่านก็จงเล่าฮะดิษเกี่ยวกับคุณความดีของท่านอะลี ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ (เพราะที่ซีเรียในยุคท่านซุฟยานมีกลุ่มคนที่ไม่ชอบท่านอะลี) และเมื่อท่านอยู่ที่กูฟะฮ์(อิรัก)  ท่านก็จงเล่าฮะดิษคุณความดีของท่านอุษมาน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ(เพราะในที่กูฟะฮ์ในยุคนั้นมีคนคลั้งใคล้ท่านอะลีเกินไปจนละเมิดท่านอุษมาน)"   

และตัวอย่างของผู้ที่ตีความ(ตะวีล)ด้วยหลักฐานที่ชัดเจนนั้น  ประหนึ่งบุรุษที่ว่ายน้ำเป็น  เพราะเขาไม่ต้องการว่ายน้ำตราบใดที่อยู่บนบก  ดังนั้นถ้าหากในบางเวลาเขาต้องขี่เรือในทะเล  และเขาเห็นความน่ากลัวขณะที่(คลื่น)สร้างความสั่นไหว  และเห็นว่าบรรดาคลื่นเข้ามาปะทะ  ลมพักโหมกระหน่ำ  จนกระทั่งเรือแตก  และเขาก็รู้ว่าหากไม่ทำการว่ายน้ำก็จะเกิดความวิบัติ(ความตาย)เป็นแน่  ดังนั้น  ในขณะดังกล่าว   เขาจึงทำการว่ายน้ำอย่างสุดความสามารถเพื่อต้องกาความปลอดภัย  และเขาทำการว่ายน้ำเป็นอย่างดีเพราะรัก(ษาไว้ซึ่ง)ชีวิต  เพราะฉะนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับสิ่งดังกล่าวนี้แหละ  ผู้ที่มีเตาฮีดนั้น  ตราบใดที่เขาได้ดำเนินอยู่บนแนวทางที่ยืนยันความบริสุทธิ์แด่อัเลาะฮ์  อะกีดะฮ์ของเขาปลอดภัยจากความปั่นป่วนของคลื่นแห่งการตัชบีห์(พรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์โดยไปคล้ายคลึงกับมัคโลค)  ดังนั้นเขาจึงไม่ต้องการเข้าไปทำการตีความเพราะอะกีดะฮ์ของเขาปลอดภัยจากการตัชบีห์และสิ่งเหลวไหลต่าง ๆ  แต่สำหรับผู้ที่ความเชื่อของเขาขุ่นมัวด้วยความมัวหมองของการตักยีฟ(พยายามสร้างรูปแบบวิธีการให้กับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์) และการตัมซีล(การพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์โดยไปเหมือนกับมัคโลค)  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขัดเกลาจิตใจให้พ้นจากความมัวหมองด้วยการขัดเกลาให้บริสุทธิ์จากการตะวีล(ตีความ)  และทำให้สมองความนึกคิดของเขาแจ่มใสด้วยหลักฐานที่ชัดเจน  เพื่อให้อะกีดะฮ์ของเขาปลอดภัยจากการตัชบีห์และตะตีล(การไปปฏิเสธซีฟัต)"  หนังสือตีบยีน กัซบุล มุฟตะรีย์  หน้า 388 ของท่านอิมาม อัลฮาฟิซฺ อิบนุ อะซากิร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 05, 2008, 04:25 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ก.พ. 18, 2009, 06:15 AM »
0
11. อิมามมาลิกและท่านเอาซะอีย์

ท่านอิมามนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ใน ชัรหฺ ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม เกี่ยวกับฮะดิษ النزول คือฮะดิษเกี่ยวกับการลงมาจากฟากฟ้า ว่า ?ในฮะดิษนี้ และเหมือนๆ กับฮะดิษนี้ ที่มาจากบรรดาฮะดิษซีฟาตและอายะฮฺซีฟาต มีความเห็นอยู่ 2 มัซฮับที่เลื่องลือ(ที่มาจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ให้การยอมรับทั้งสองแนวทางนี้)

หนึ่ง : มัซฮับส่วนมากจากซะลัฟ และส่วนหนึ่งจากมุตะกัลลิมีน คืออีมาน ด้วยหะกีกัตของมันที่เหมาะสมกับพระองค์ และความหมายผิวเผินของมันอันเป็นที่รู้กันในสิทธิ์ของเรานั้น ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย และเราไม่กล่าวในการตีความมัน พร้อมกับเราเชื่อมั่นว่า อัลเลาะฮฺทรงบริสุทธิ์จากเครื่องหมายต่างๆ จากสิ่งที่เกิดใหม่

สอง : มัซฮับส่วนมากของมุตะกัลลิมีน และกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอฺสะลัฟ โดยมันได้ถูกรายงานเล่ามาจากอิมามมาลิก และอิมามอัลเอาซะอีย์ ว่า แท้จริงมันจะถูกตีความกับสิ่งที่พระองค์ทรงเหมาะสมด้วยกับมัน โดยพิจารณาตามสถานที่ของมัน ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ อัลฮะดิษ(บทนี้) จะถูกตีความได้สองอย่างด้วยกัน(ที่ได้กล่าวมาแล้ว....... (ดู ชัรหู ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม เล่ม 6 หน้า 37)

บรรดาปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์  ได้ทำการถ่ายทอดคำพูดของท่านอิมามมาลิกในการตีความนั้น  เป็นการถ่ายทอดที่เลื่องลือ مُسْتَفِيْضَةٌ (มุสตะฟีเฏาะฮ์) และโด่งดัง شُهْرَةٌ (ชุฮ์เราะฮ์) จากท่านอิมามมาลิกว่า

ท่านอิบนุอับดิลบัรริ  ได้ถ่ายทอดคำกล่าวของท่านอิมามมาลิกว่า

وَقَدْ يُحْتَمَلُ أَنْ يَكُوْنَ كَمَا قَالَ رَحِمَهُ اللهُ عَلَي مَعْنَي أَنَّهُ تَتَنَزَّلُ رَحْمَتُهُ وَقَضَاؤُهُ بِالْعَفْوِ وَالإِسْتِجَابَةِ

"บางครั้งถูกตีความการลงมาเหมือนกับที่ท่านอิมามาลิกกล่าวบนความหมายที่ว่า ความเมตตาของพระองค์จะทรงลงมาและการตัดสินของพระองค์ในการอภัยโทษและตอบรับดุอาได้ลงมา" หนังสืออัตตัมฮีด 7/143

ท่านอะบีอัมร์ อัดดานีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัรริซาละฮ์ อัลวาฟียะฮ์ หน้า 135-137 ว่า

قَالَ بَعْضُ أَصحَابِناَ : يَنْزِلُ أََمْرُهُ تَبَارَكَ وتَعَاليَ

"ปราชญ์บางส่วนแห่งเรากล่าวว่า : คำบัญชาของพระองค์ได้ลงมา"

ด้วยอ้างหลักฐานอัลกุรอาน(มาสนับสนุนเป็นก่อรีนะฮ์กรณีแวดล้อม)ที่ว่า

اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَمِنَ الْأَرْضِ مِثْلَهُنَّ يَتَنَزَّلُ الْأَمْرُ بَيْنَهُنَّ

"อัลเลาะฮ์ทรงบันดาลเจ็ดชั้นฟ้าและแผ่นดินไว้เท่าเทียบกับชั้นฟ้าเหล่านั้นโดยคำบัญชาของพระองค์จะลงมาระหว่างชั้น(ฟ้าและแผ่นดิน)เหล่านั้น" อัฏเฏาะล็าก 12

กระผมขอกล่าวว่า : บรรดาปราชญ์มัซฮับอิมามมาลิกย่อมรู้ถึงแนวทางของท่านอิมามมาลิกดียิ่งกว่าและเป็นที่เลื่องลือมายังพวกเขา ซึ่งการตีความเช่นนี้สอดคล้องกับอัลกุรอานทุกประการและชัดเจน


ท่านอิมามอะห์มัด  ได้กล่าวรายงานว่า

حَدَّثَنَا ‏ ‏عَبْدُ الرَّزَّاقِ ‏ ‏أَخْبَرَنَا ‏ ‏مَعْمَرٌ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏الزُّهْرِيِّ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏عَمْرِو بْنِ شُعَيْبٍ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏أَبِيهِ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏جَدِّهِ ‏ ‏قَالَ سَمِعَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَوْمًا ‏ ‏يَتَدَارَءُونَ ‏ ‏فَقَالَ ‏ ‏إِنَّمَا هَلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ بِهَذَا ضَرَبُوا كِتَابَ اللَّهِ بَعْضَهُ بِبَعْضٍ وَإِنَّمَا نَزَلَ كِتَابُ اللَّهِ يُصَدِّقُ بَعْضُهُ بَعْضًا فَلَا تُكَذِّبُوا بَعْضَهُ بِبَعْضٍ فَمَا عَلِمْتُمْ مِنْهُ فَقُولُوا وَمَا جَهِلْتُمْ ‏ ‏فَكِلُوهُ ‏ ‏إِلَى عَالِمِهِ

ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุรร็อซซาก  ได้บอกให้เราทราบโดย มะอฺมัร  จากท่านอัซซุฮ์รีย์  จากอัมร์ บิน ชุอัยบฺ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา  ได้กล่าวว่า  "ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ยินว่ามีกลุ่มนี้กำลังโต้แย้งกัน  ดังนั้นท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จึงกล่าวว่า  แท้จริง  ผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกท่านนั้นได้วิบัติด้วย(การโต้แย้ง)นี้  พวกเขาไม่สนใจกิตาบุลลอฮ์บางส่วนด้วยเหตุของบางส่วน  ทั้งที่ความจริง  กิตาบุลลอฮ์ได้ประทานลงมาในลักษณะที่มันต่างยืนยัน(สนับสนุน)ซึ่งกันและกัน  ฉะนั้นพวกท่านก็อย่ากล่าวโกหก(ไม่ยอมรับ)บางส่วนด้วยกับบางส่วน  ดังนั้นสิ่งใด(อายะฮ์ใด)ที่พวกท่านรู้   พวกท่านก็จงกล่าวมัน(ตามที่ท่านรู้)  และสิ่งใด(อายะฮ์ใด)ที่พวกท่านไม่รู้  พวกท่านก็จงมอบหมายมันไปยังผู้ที่รู้(คือมอบหมายไปยังอัลเลาะฮ์และร่อซูลลุลอฮ์)" รายงานโดยท่านอะห์มัดไว้ในมุสนัดของท่าน (6453) , ท่านอับดุรร็อซซากได้รายงานไว้ในหนังสือ อัลมุซ็อนนัฟ 11/216

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มี.ค. 28, 2009, 08:16 PM »
0
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمْ الْأَنْبَاءُ الْحُجَجُ
الشرح‏:‏
قوله‏:‏ ‏(‏سورة القصص - بسم الله الرحمن الرحيم‏)‏ سقطت ‏"‏ سورة البسملة ‏"‏ لغير أبي ذر والنسفي‏.‏
قوله‏:‏ ‏(‏إلا وجهه‏:‏ إلا ملكه‏)‏ في رواية النسفي ‏"‏ وقال معمر ‏"‏‏:‏ فذكره‏.‏
ومعمر هذا هو أبو عبيدة بن المثنى، وهذا كلامه في كتابه ‏"‏ مجاز القرآن ‏"‏ لكن بلفظ ‏"‏ إلا هو ‏"‏ وكذا نقله الطبري عن بعض أهل العربية، وكذا ذكره الفراء‏.

อัสลามุอะลัยกุมครับบังอัซฮะรี่
ในซอฮีฮฺบุคอรี นั้น คำว่าอิลลาวัจฮะฮู ที่ท่านตะวีลว่าอิลลามุลกุฮู
เพื่อนผมวะฮะบีบอกว่า ไม่ใช่คำพูดของอิหม่ามบุคอรี แต่เป็นคำพูดของมะอฺมัร
แล้วผมลองหาในฟัตฮุลบารีปรากฏว่า เจอประโยคนี้ 
قوله‏:‏ ‏(‏إلا وجهه‏:‏ إلا ملكه‏)‏ في رواية النسفي ‏"‏ وقال معمر ‏"‏‏:‏ فذكره
ตรงนี้เราจะแปลว่าอย่างไรครับ
แล้วท่านมะอฺมัร ท่านนี้อยู่ในยุคไหนครับ ก่อนหรือหลังอิหม่ามบุคอรี
แล้วเราจะตอบพวกเขาอย่างไรคับ
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มี.ค. 31, 2009, 08:02 AM »
0
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمْ الْأَنْبَاءُ الْحُجَجُ
الشرح‏:‏
قوله‏:‏ ‏(‏سورة القصص - بسم الله الرحمن الرحيم‏)‏ سقطت ‏"‏ سورة البسملة ‏"‏ لغير أبي ذر والنسفي‏.‏
قوله‏:‏ ‏(‏إلا وجهه‏:‏ إلا ملكه‏)‏ في رواية النسفي ‏"‏ وقال معمر ‏"‏‏:‏ فذكره‏.‏
ومعمر هذا هو أبو عبيدة بن المثنى، وهذا كلامه في كتابه ‏"‏ مجاز القرآن ‏"‏ لكن بلفظ ‏"‏ إلا هو ‏"‏ وكذا نقله الطبري عن بعض أهل العربية، وكذا ذكره الفراء‏.

อัสลามุอะลัยกุมครับบังอัซฮะรี่
ในซอฮีฮฺบุคอรี นั้น คำว่าอิลลาวัจฮะฮู ที่ท่านตะวีลว่าอิลลามุลกุฮู
เพื่อนผมวะฮะบีบอกว่า ไม่ใช่คำพูดของอิหม่ามบุคอรี แต่เป็นคำพูดของมะอฺมัร
แล้วผมลองหาในฟัตฮุลบารีปรากฏว่า เจอประโยคนี้ 
قوله‏:‏ ‏(‏إلا وجهه‏:‏ إلا ملكه‏)‏ في رواية النسفي ‏"‏ وقال معمر ‏"‏‏:‏ فذكره
ตรงนี้เราจะแปลว่าอย่างไรครับ
แล้วท่านมะอฺมัร ท่านนี้อยู่ในยุคไหนครับ ก่อนหรือหลังอิหม่ามบุคอรี
แล้วเราจะตอบพวกเขาอย่างไรคับ

ท่านมะมัรเกิดก่อนท่านอัลบุคอรีครับ

อิมามบุคอรีย์ได้ทำการตีความไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง ตัฟซีรซูเราะฮฺ อัลเกาะซ๊อซว่า

كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ

ความว่า  "ทุกๆ สิ่งนั้นพินาจสิ้นนอกจาก وَجْهَهُ (พระพักตร์)ของพระองค์"  (อิมามบุคคอรีย์ตีความว่า) "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์"  หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364

ดังนั้นในหนังสือซอฮิห์อัลบุคอรีย์ที่ฉบับที่ถูกยึดถือส่วนมาก  ได้ระบุว่า  ท่านอัลบุคอรีได้ทำการตีความ وَجْهَهُ "อำนาจการปกครองของพระองค์"  แต่ในรีวายะฮ์ของท่านอันนะซะฟีย์  ได้กล่าวว่า บอกว่าเป็นคำกล่าวของ ท่านมะมัร ซึ่งเขาเป็นปราชญ์สะลัฟทางด้านภาษาอาหรับ เสียชีวิตในปีที่ 208 ฮ.ศ. (ส่วนท่านบุคอรีเกิดปี 194 ฮ.ศ. - เสียชีวิต ปี 256 ฮ.ศ.)  แต่การที่ท่านอิบนุฮะญัรและท่านอื่น ๆ ได้ยืนยันการตีความดังกล่าวไว้ในซอฮิห์บุคอรีและเป็นคำพูดของท่านบุคอรีย์นั้น  เพราะว่าเมื่อไปดูจากหนังสือ "มะญาซุลกุรอาน" ของท่านมะมัรเอง  ก็ไม่ได้กล่าวถ้อยคำตีความที่ว่า إِلَّا مُلْكَهُ แต่กลับกล่าวตีความว่า إلا هو ครับ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม  การตีความ وَجْهَهُ เป็น "อำนาจการปกครองของพระองค์" นั้นล้วนเป็นการตีความของปราชญ์สะลัฟ  ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าการตีความเป็นสิ่งที่อนุญาตด้วยเช่นกันนั่นเองครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มี.ค. 31, 2009, 10:11 PM »
0
ขอบคุณบังอัซฮะรี่ ท่านมะอฺมัรเสียในปี208 แสดงว่าท่านก็เป็นสะลัฟเหมือนกัน



คือเด็กที่วิทยะลัยหาว่าไม่ใช่คำพูดของอิหม่ามบุคอรี แต่เป็นคำพูดของมะอฺมัร พูดชวนให้หลงว่ามะอฺมัรว่าเกิดหลังอิหม่ามบุคอรี

แล้วถูกต่อเติมเข้ามาในกีตาบ

ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลยครับ

นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: เม.ย. 02, 2009, 02:48 PM »
0
อยากถามว่า อุละมาอ์ที่เกิดภายในเขตปีก่อนปี ฮ.ศ.300 แต่เสียชีวิตหลังปี ฮ.ศ.300 นั้นจะถือว่าเป็นชนสลัฟไหม ตัวอย่างเช่น อุละมาอ์ ก. เกิดปี ฮ.ศ. 298 หรือ 299 แต่เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 350 เป็นต้น อย่างนี้จะถือว่า เป็นอุละมาอ์สลัฟไหม หากเขาได้เป็นอุละมาอ์ และเขามีหลักเกณฑ์ใดอื่นๆ อีกไหม ที่จะบ่งบอกว่าอุละมาอ์ท่านนี้เป็นสลัฟหรือค็ลัฟ โดยเฉพาะในกรณีรอยเขตของช่วงปีระหว่างยุคสลัฟกับค็ลัฟ - วัสสลาม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: เม.ย. 02, 2009, 02:59 PM »
0
ถ้าเกิดปี298 ตอนนั้นยังเด็ก พูดไม่รู้เรื่อง ถึงเจอพวกซาลัฟก็ไม่ใช่ได้คุยกันที อาเกบาเลก็ปี300กว่าๆแล้ว ผมว่าน่าจะอยู่ในชาวคอลัฟนะ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: เม.ย. 02, 2009, 03:34 PM »
0
อยากถามว่า อุละมาอ์ที่เกิดภายในเขตปีก่อนปี ฮ.ศ.300 แต่เสียชีวิตหลังปี ฮ.ศ.300 นั้นจะถือว่าเป็นชนสลัฟไหม ตัวอย่างเช่น อุละมาอ์ ก. เกิดปี ฮ.ศ. 298 หรือ 299 แต่เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 350 เป็นต้น อย่างนี้จะถือว่า เป็นอุละมาอ์สลัฟไหม หากเขาได้เป็นอุละมาอ์ และเขามีหลักเกณฑ์ใดอื่นๆ อีกไหม ที่จะบ่งบอกว่าอุละมาอ์ท่านนี้เป็นสลัฟหรือค็ลัฟ โดยเฉพาะในกรณีรอยเขตของช่วงปีระหว่างยุคสลัฟกับค็ลัฟ - วัสสลาม

ครับ ถือว่าเป็นอุลามาอฺสะลัฟครับ  เช่นท่าน อัฏเฏาะบะรีย์  เกิดปี 224 ฮ.ศ.  เสียชีวิตปี 310 ฮ.ศ.
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: เม.ย. 02, 2009, 06:28 PM »
0
อ่าวแล้วคนที่เกิด298อย่างที่ผมสมมติล่ะ เขาน่าจะอยู่ในช่วงไหน
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ tksarb

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 109
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พ.ค. 03, 2009, 08:03 AM »
0
ดังนั้น การมอบหมายจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด ตามแนวทางสะละฟุศศอลิหฮฺ

รู้สึกเห็นด้วยกับประโยคนี้ เพราะมันง่ายกับคนเอาวามดีไม่ต้องไปคิดเรื่องของอัลลอฮให้ปวดหัวเราก็ก้มหน้าก้มตาทำอีบาดัตอย่างเดียว
อ่านอัลกุรอานเจอโองการนี้แล้วเสียววาบครับ

23. และนั่นและการนึกคิดของพวกเจ้าซึ่งพวกเจ้านึกคิดต่อพระเจ้าของพวกเจ้านั้น เป็นการทำให้พวกเจ้าประสบความหายนะแล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นผู้ขาดทุน (*1*) 

(1)  และนั่นคือการนึกคิดของพวกเจ้า ซึ่งมาต่อพระเจ้าของพวกเจ้า ซึ่งเป็นการนึกคิดที่ผิดจึงทำให้พวกเจ้าประสบความพินาศแล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นผู้ขาดทุน 
เย่อหยิ่ง ทะนงตน โอ้อวดต่อผู้อื่นในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็น คิดว่าตนเองแจ๋วกว่าผู้อื่น ชอบตำหนิมุสลิม ทั้งหมดนี้เป็นซีฟัตของใครหว่า คุ้นๆ ?

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พ.ค. 03, 2009, 09:51 AM »
0
เราคนสามัญชนไม่ได้ไปตีความเองสักหน่อย ผู้รู้เขาตีความให้ เราก็เรียนมา
ดังนั้น เราไม่ได้คิดเอง
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: พ.ค. 03, 2009, 09:56 AM »
0
ดังนั้น การมอบหมายจึงเป็นหนทางที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด ตามแนวทางสะละฟุศศอลิหฮฺ
รู้สึกเห็นด้วยกับประโยคนี้ เพราะมันง่ายกับคนเอาวามดีไม่ต้องไปคิดเรื่องของอัลลอฮให้ปวดหัวเราก็ก้มหน้าก้มตาทำอีบาดัตอย่างเดียว

แสดงว่าเรามีจุดยืนที่ไม่ต่างกัน เพราะผมเคยประกาศจุดยืนของกระผมไปแล้วว่า

อ้างถึง
ใช่แล้วครับ  เดิมทีนั้น  ตอนที่บังร่ำเรียนอะกีดะฮ์หรือเตาฮีดที่ปอเนาะก็จะเน้นแนวค่อลัฟของอัลอะชา อิเราะฮ์เพราะช่วงนั้นยังวัยรุ่นอีหม่านยังน้อยจิตใจยังไม่สงบมั่นคง  แต่เมื่อเรียนมากขึ้น ๆ จิตใจก็รู้สึกสงบมั่นคง  จึงเลือกแนวทางสะลัฟของอัลอะชาอิเราะฮ์ (คือมอบหมายการรู้ไปยังพระองค์) ดังนั้นบังจึงเข้าใจว่าการเรียนอะกีดะฮ์แนวทางค่อลัฟนั้นเป็นสะพานทำให้จิต ใจของเรามีความมั่งคงสู่แนวทางสะลัฟ  แต่เมื่อศึกษาไปเรื่อย ๆ จึงทราบว่าสะละฟุศศอลิห์เองก็มีการตีความ(ตะวีล)เช่นเดียวกันเหมือนกับค่อ ลัฟ  ด้วยเหตุนี้แม้บังจะให้น้ำหนักแนวทางสะลัฟ  แต่ก็ไม่ตำหนิแนวทางค่อลัฟเลยยิ่งกว่านั้นยังปกป้องอีกด้วย  เพราะหากเราตำหนิแนวทางค่อลัฟ  ก็เท่ากับเราได้ตำหนิสะละฟุศศอลิห์บางส่วนเช่นเดียวกัน

นั่นคือจุดยืนของกระผมครับ ซึ่งผมได้เคยบอกไปแล้วในเว็บแห่งนี้  ซึ่งเป็นจุดยืนที่มีความชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลงอีกด้วย  แต่คุณอ่านศึกษายังไม่ถี่ถ้วนนั่นเองครับ

อ่านอัลกุรอานเจอโองการนี้แล้วเสียววาบครับ
23. และนั่นและการนึกคิดของพวกเจ้าซึ่งพวกเจ้านึกคิดต่อพระเจ้าของพวกเจ้านั้น เป็นการทำให้พวกเจ้าประสบความหายนะแล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นผู้ขาดทุน (*1*)  

(1)  และนั่นคือการนึกคิดของพวกเจ้า ซึ่งมาต่อพระเจ้าของพวกเจ้า ซึ่งเป็นการนึกคิดที่ผิดจึงทำให้พวกเจ้าประสบความพินาศแล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นผู้ขาดทุน  

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

وَذَلِكُمْ ظَنُّكُمُ الَّذِي ظَنَنْتُمْ بِرَبِّكُمْ أَرْدَاكُمْ

"และนั่นและการนึกคิดของพวกเจ้าซึ่งพวกเจ้านึกคิดต่อพระเจ้าของพวกเจ้านั้น เป็นการทำให้พวกเจ้าประสบความหายนะแล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นผู้ขาดทุน" ฟุศศิลัต 23

อายะฮ์นี้ที่คุณ tksarb อ้างอิงมานั้น มันไม่เกี่ยวกับเป้าหมายที่คุณต้องการ  มันไม่เกี่ยวกับการคิดจินตนาการว่าอัลเลาะฮ์เป็นแบบนั้นแบบนี้และไม่เกี่ยวกับเรื่องการห้ามตีวีลตีความ แต่มันเกี่ยวกับการนึกคิดของพวกปฏิเสธและคนชั่วที่นึกคิดไปว่าอัลเลาะฮ์ทรงไม่รู้ในพฤติกรรมของพวกเขาต่างหาก

ท่านอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ ได้กล่าวอธิบายอายะฮ์นี้ว่า

 وَهَذَا الَّذِي كَانَ مِنْكُمْ فِي الدُّنْيَا مِنْ ظَنّكُمْ أَنَّ اللَّه لَا يَعْلَم كَثِيرًا مِمَّا تَعْمَلُونَ مِنْ قَبَائِح أَعْمَالكُمْ وَمَسَاوِئِهَا , هُوَ ظَنّكُمْ الَّذِي ظَنَنْتُمْ بِرَبِّكُمْ فِي الدُّنْيَا أَرْدَاكُمْ

"นี้คือสิ่งที่มาจากพวกเจ้าในโลกดุนยา อันมาจากการนึกคิดของพวกเจ้าว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์นั้นไม่ได้รู้มากมายนักจากสิ่งที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติ อันมาจากการปฏิบัติที่น่ารังเกียจและเลว  ซึ่งมันคือการนึกคิดของพวกเจ้าที่พวกเขาได้นึกคิดเกี่ยวกับผู้อภิบาลของพวกเจ้าในโลกดุนยา ซึ่งมันได้ทำลายพวกเจ้า" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ อายะฮ์ 23 ซูเราะฮ์ฟุศศิลัต

หมายถึงการที่พวกปฏิเสธได้ทำการคิดไปว่า อัลเลาะฮ์ไม่รู้พฤติกรรมของพวกเขาหรอก นั่นแหละเป็นการคิดหรือเข้าใจที่ทำให้พวกเขาวิบัติ

ท่านอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ ได้กล่าวอธิบายอีกว่า

عَنْ مَعْمَر , قَالَ : تَلَا الْحَسَن : { وَذَلِكُمْ ظَنّكُمْ الَّذِي ظَنَنْتُمْ بِرَبِّكُمْ أَرْدَاكُمْ } فَقَالَ : إِنَّمَا عَمَل النَّاس عَلَى قَدْر ظُنُونهمْ بِرَبِّهِمْ ; فَأَمَّا الْمُؤْمِن فَأَحْسَنَ بِاللَّهِ الظَّنّ , فَأَحْسَنَ الْعَمَل ; وَأَمَّا الْكَافِر وَالْمُنَافِق , فَأَسَاءَا الظَّنّ فَأَسَاءَا الْعَمَل

"รายงานยากมะมัร เขากล่าวว่า ท่านอัลฮะซัน ได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า "และนั่นและการนึกคิดของพวกเจ้าซึ่งพวกเจ้านึกคิดต่อพระเจ้าของพวกเจ้านั้น เป็นการทำให้พวกเจ้าประสบความหายนะแล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นผู้ขาดทุน" แล้วท่านกล่าวว่า "แท้จริงมนุษย์นั้นจะปฏิบัติตามขนาดของความนึกคิด(ไม่แง่ที่ดีหรือแง่ไม่ดี)ของพวกเขาที่มีต่อผู้อภิบาลของพวก เขา สำหรับผู้ศรัทธานั้น เขาจะคิดในแง่ดีต่ออัลเลาะฮ์ แล้วเขาก็ปฏิบัติอะมัลอย่างดีงาม และสำหรับกาเฟรและคนชั่วนั้น  เขาพวกเขาจะคิดในแง่ลบต่ออัลเลาะฮ์(คิดว่าอัลเลาะฮ์ไม่รู้ในการปฏิบัติของเขา) เขาก็จะปฏิบัติอะมัลเลว" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ อายะฮ์ 23 ซูเราะฮ์ฟุศศิลัต

ดังนั้นอายะฮ์นี้  จึงไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณต้องการและมันไม่เกี่ยวกับเรื่องการตีความหรือไม่ตีความน่ะครับ โปรดเข้าใจอัลกุรอานก่อนที่จะอ้างอิงอัลกุรอานครับ เพราะในเว็บมุสลิมไทยนั้น มีอยู่คนหนึ่งใช้นิคเนมว่า "สับสน" เขาชอบยกอายะฮ์อัลกุรอาน แต่เขาไม่เข้าใจเป้าหมายของอัลกุรอาน วัลอิยาซุบิลลาฮ์!

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 03, 2009, 09:58 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged