ผู้เขียน หัวข้อ: อัลเลาะฮ์ทรง"อิสติวาอฺ"เหนือบัลลังก์(วิเคราะห์ทัศนะอะกีดะฮ์เชิงเปรียบเทียบ)  (อ่าน 8979 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-fantazy

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 270
  • สูบบุหรี่เป็นสีแก่ปาก สูบมากๆ ระวังปากจะไม่มีสี
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด

 salam

ผมจะศึกษาเรื่อง อิสติวาอฺ คับ เลยตั้งหัวข้อใหม่สะเลย....คำว่า استواء  เนี๊ยะ  จะหมายถึงอะไรกันแน่ละคับ
หมายถึง استيلاء  , หรือ الجلوس  , หรือ القعود   , หรือ  استقرار  หรืออะไรกันแน่ละคับ ....

วัสลาม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 26, 2008, 04:20 PM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

วะฮาบีย์กล่าวว่า:

“ความเชื่อของมุอฺตะวิละฮฺที่ยังคงมีอิธิพลต่อความเชื่อของอะชาอิเราะฮฺจนกระทั่งเวลาปัจจุบัน ดังนี้”

อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์:

พี่น้องนักศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า  อัลอะชาอิเราะฮ์ในทุกยุคสมัยนั้น  มีสองแนวทางยอมรับและยืนยัน(ไม่ใช่ปฏิเสธ)คุณลักษณะของอัลเลาะฮ์  คือมอบหมายและตีความ  ซึ่งเป็นหลักการของสะลัฟทั้งสิ้น

ท่านอิมาม อัลมุจญฺฮิด อัลฟาฟิซฺ ตะญุดดีน อัศศุบกีย์ กล่าวว่า

لِلأَشَاعِرَةِ قَوْلاَنِ مَشْهُوْرَانِ فِيْ إِثْبَاتِ الصِّفَاتِ، هَلْ تُمَرُّ عَلَى ظَاهِرِهَا مَعَ اِعْتِقَادِ التَّنْزِيْهِ أَوْ تُؤَوَّلُ؟ وَالْقَوْلُ بِالإِمْرَارِ مَعَ اِعْتِقَادِ التَّنْزِيْهِ هُوَ الْمَعْزُوِّ إِلَى السَّلَفِ، وَهُوَ اِخْتِيَارُ الإِمَامِ فِي الرِّسَالَةِ النِّظَامِيَّةِ، وَفِي مَوَاضِعَ مِنْ كَلاَمِهِ فَرُجُوْعُهُ مَعْنَاهُ الرُّجُوْعُ عَنِ التَّأْوِيْلِ إِلَى التَّفْوِيْضِ، وَلاَ إِنْكَارَ فِيْ هَذَا، وَلاَ فِي مُقَابِلِهِ، فَإِنَّهَا مَسْأَلَةٌ اِجْتِهَادِيَّةٌ، أَعْنِي مَسْأَلَةَ التَّأْوِيْلِ أَوِ التَّفْوِيْضَ مَعَ اِعْتِقَادِ التَّنْزِيْهِ، إِنَّمَا الْمُصِيْبَةُ الْكُبْرَى وَالدَّاهِيَةِ الدَّهْيَاءُ الإِمْرَارُ عَلَى الظَّاهِرِ، وَالاِعْتِقَادُ أَنَّهُ الْمُرَادُ، وَأَنَّهُ لاَ يَسْتَحِيْلُ عَلَى الْبَارِيْ، فَذَلِكَ قَوْلُ الْمُجَسِّمَةِ عُبَّادِ الْوَثَنِ، الَّذِيْنَ فِيْ قُلُوْبِهِمْ زَيْغٌ يَحْمِلُهُمْ عَلَى اِتْبَاعِ الْمُتَشَابِهِ اِبْتَغاَءَ الْفِتْنَةِ، عَلَيْهِمْ لَعَائِنُ اللهِ تَتْرَى وَاحِدَةً بَعْدَ أُخْرَى، مَا أَجْرَأَهُمْ عَلَى الْكَذِبِ وَأَقَلَّ فَهْمَهُمْ لِلْحَقَائِقِ.اهـ

ให้กับ(แนวทาง)อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีอยู่สองทัศนะที่เลื่องลือ เกี่ยวกับการยืนยันเรื่องซิฟาต , คือผ่านมันไป(โดยอย่าหยุดเจาะจงความหมาย)บนความหมายผิวเผินของซีฟาตนั้น พร้อมยึดมั่นกับความบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายเหมือนกับมัคโลค) หรือว่าให้ทำการตีความ(ตะวีล)? และทัศนะคำกล่าวที่ว่า  ให้ผ่านมันไป พร้อมกับการยึดมั่นกับความบริสุทธิ์นั้น ถูกอ้างอิงไปยังทัศนะของสะลัฟ และมันก็คือทัศนะที่อิมาม(อัลญุวัยนีย์) ได้ทำการเลือกเฟ้นไว้ในหนังสือ อัรริซาละฮ์ อันนิซฺอมียะฮ์ และในบางคำพูดที่มาจากคำกล่าวของเขา(ท่านอิมามอัลญุวัยนีย์) ดังนั้น การที่ท่านอิหม่ามญุวัยนีย์ได้ยกเลิกการตีวีล(ตีความ)นั้น ความหมายก็คือท่านอิมามได้ยกเลิกจากการตีความ(ที่เป็นทัศนะที่ 2 ของอัลอะชาอิเราะฮ์)โดยกลับไปสู่การมอบหมาย(ที่เป็นทัศนะเดิมของอัลอะชาอิเราะฮ์) ซึ่งไม่มีการตำหนิใดๆ (เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะเลิกทัศนะใดก็ได้) ใน(การมอบหมาย)นี้  และไม่มีการตำหนิกับสิ่งที่ตรงข้ามกับการมอบหมาย(คือไม่มีการตำหนิการตีความที่ตรงข้ามกับการมอบหมาย) ฉะนั้น บรรดาคำพูดของท่านอิมามอัลญุวัยนีย์ ก็อยู่ในประเด็นของการวินิจฉัย(อิจญ์ติฮาด) ฉันหมายถึง  (อิจญฺติฮาด-วินิจฉัย)ประเด็นของการตีความและมอบหมายพร้อมกับยึดมั่นในความบริสุทธิ์(ซึ่งแล้วแต่จะเลือกเฟ้น) แต่ทว่าแท้จริง ความวิบัติอันยิ่งใหญ่และการหลอกลวงที่มีเลห์เหลี่ยม ก็คือการผ่านมันไปบนความหมายแบบผิวเผิญโดยยึดมั่นว่าแท้จริงความหมายแบบผิวเผินนั้นแหละคือจุดมุ่งหมาย และไม่ถือว่า(ความหมายแบบผิวเผิน)เป็นสิ่งที่มุสติฮีลต่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้น สิ่งดังกล่าวนี้ ก็คือ ทัศนะคำกล่าวของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์ ผู้อิบาดะฮ์รูปเจว็ด บรรดาหัวใจของพวกเขานั้น มีความเบี่ยงเบนซึ่งทำให้พวกเขาอยู่บนการติดตามความเคลือบแครงสงสัย เพื่อแสวงหาความฟิตนะฮ์ บรรดาอเปหิของอัลเลาะฮ์ ได้ประสบแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่องครั้งแล้วครั้งเล่า และมันเป็นความอาจหาญต่อความโกหกและขา ดความเข้าใจกับบรรดาข้อเท็จจริงของพวกเขาเสียกระไรนี่!” ดู หนังสือ เฏาะบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์ อัลก๊อบรอ เล่มที่ 5 หน้า 191

ท่านชัยคุลอิสลาม  อัลฮาฟิซฺ  อิบนุฮะญัร  กล่าวอธิบายความหมาย  “ทำการผ่านมันไป”  ว่า

وَمَعْنىَ الِإمْرَارِ عَدَمُ الْعِلْمِ بِالْمُرَادِ مِنْهُ مَعَ اعْتِقَادِ التَّنْزِيْهِ

"ความหมาย(อัลอิมร็อร)ทำการผ่านมันไป  หมายถึงไม่รู้ถึงจุดมุ่งหมาย(เฉพาะเจาะจง)จาก(ถ้อยคำซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย) พร้อมกับยึดมั่นว่าพระองค์ทรงบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายหรือเหมือนกับมัคโลคด้วยความเข้าใจแบบความหมายคำตรงคำแท้)"  หนังสือฟัตฮุลบารีย์ : 6/48

ท่านปรมาจารย์ อิมาม อัลลักกอนีย์ ได้กล่าวไว้ใน เญาฮะเราะฮ์ อัตเตาฮีดว่า

وَكُلُّ نَصٍّ أَوْهَمَ التَّشْبِيْهَا أَوِّلْهُ أَوْ فَوِّضْ وَرُمْ تَنْزِيْهًا

“ทุกตัวบท(จากอัลกุรอานและซุนนะฮ์)ที่ทำให้คลุมเคลือกับการคล้ายคลึง(กับมัคโลคเนื่องจากมีความหมายหลายนัย) ท่านก็จงทำการตีความมันหรือท่านจงทำการมอบหมายและเจตนามั่นกับความบริสุทธิ์(ต่อพระองค์)” หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมุรีด หน้า 215

แต่การโจมตีอัลอะชาอิเราะฮ์ของวะฮาบีย์ปัจจุบันนั้น  เขาจะพยายามยัดเยียดให้อัลอะชาอิเราะฮ์เป็นฝ่ายที่ตีความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แล้วก็ทำการวิจารณ์   นั่นคือการกระทำของผู้ที่มีความอคติต่ออัลอะชาอิเราะฮ์  โดยไม่มุ่งหวังที่จะทำความเข้าใจหลักอะกีดะฮ์ของอัลอะชาอิเราะฮ์ที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่ให้การรับรองเลย 
การตีความ  "อิสติวาอ์"  อยู่ในความหมายของ  "อำนาจปกครอง"  นั้น  เหตุใดที่วะฮาบีย์กล่าวหาว่ายังคงมีอิทธิพลต่อความเชื่อของอัลอะชาอิเราะฮ์อย่างเดียว  ทั้งที่ท่านอิมาม อิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์  ได้ทำการตีความเช่นเดียวกัน  หรือว่าท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์  ได้รับอิทธิพลมาจากมั๊วะตะซิละฮ์ด้วย!?

ท่าน อัฏเฏาะบะรีย์อุลามาอฺสะลัฟ ได้ให้น้ำหนักและทอนความหมายให้อยู่ในเชิงของนามธรรม(คือคุณลักษณะสูงส่ง) ครับ  ซึ่งท่านกล่าวว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "اِسْتَوَى" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. (ท่านอัฏเฏาะบะรีย์จึงกล่าวตอบโต้ว่า) ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" ดู ตัฟซีร เฏาะบะรีย์ เล่ม 1 หน้า 192

ท่านอิหม่ามอัซซัจญาจญฺ (ฮ.ศ. 241-311) ซึ่งเป็นปราชญ์ยุคสะลัฟได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า

فَقَالَ: (عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى) ، وَقَالُوْا مَعْنَى (اِسْتَوَى) : اِسْتَوْلَى , وَاللَّهُ أَعْلَمُ

“อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า “พระองค์ทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์  และพวกเขากล่าวว่า ความหมาย อิสตะวา คือ อิสเตาลา(ปกครองโดยไม่มีการแย่งชิง)วัลลอฮุอะลัม” ตัฟซีร มะอานี อัลกุรอาน เล่ม 3 หน้า 229.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 01, 2012, 06:41 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

วะฮาบีย์กล่าวว่า:

ส่วนหนึ่งของตัวอย่างการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺที่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่ออะกีดะฮฺอะชาอิเราะฮฺกุลลาบิยะฮฺจนกระทั่งเวลาปัจจุบันคือ การตีความอายะฮฺ
 
اَلرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
 
“พระผู้อภิบาลผู้ทรงเมตตาทรงอยู่สูงเหนืออะรัช” (ฏอฮา/5)

โดยอะชาอิเราะฮฺได้ให้ความหมายของอายะฮฺนี้ว่า “อิสเตาลา” หมายถึง “ครอบครอง” ซึ่งความหมายเช่นนี้เป็นการยึดมั่นของมุอฺตะซิละฮฺ (มะกอลาตอัลอิสลามิยีน หน้า 157, 211, อัลอิบานะฮฺ หน้า 120) ที่ค้านกับการให้ความหมายของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ (ที่ให้ความหมายว่า “อะลา วัรตะฟะอา หมายถึง อยู่สูงเหนือ)

อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์:

การตีความว่า "ปกครอง" ระหว่างมั๊วะตะซิละฮ์กับอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีความแตกต่างกัน  ซึ่งผมจะนำเสนอต่อไป 

ส่วนประเด็นที่เขาบอกว่า "ที่ค้านกับการให้ความหมายของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ (ที่ให้ความหมายว่า “อะลา วัรตะฟะอา หมายถึง อยู่สูงเหนือ)"  ผมขอชี้แจงดังกล่าวนี้ครับ

คำว่า "อฺะลา"  عَلا  "พระองค์ทรงสูง"นั้น
 
1. อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์มีทัศนะว่า  >------> อัลเลาะฮ์ทรงสูงส่ง

2. วะฮาบีย์มีทัศนะว่า  >------------------------------> อัลเลาะฮ์ทรงอยู่สถานที่สูง  และยิ่งกว่านั้น วะฮาบีย์จะให้ความหมายถึงการ "นั่ง" และ “สถิต” ตามหลักการตีความของ พวกอัลกัรรอมียะฮ์ , อัลกัลบีย์ , และมุกอติลผู้อยู่แนวทางบิดอะฮ์ตามที่ปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กล่าวไว้

อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม

1. แนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น  เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงสูงส่งในเชิงนามธรรมและทรงมีคุณลักษณะที่สูงส่งเหนือบัลลังก์(อะรัช)
ท่านชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ  อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์กล่าวว่า

وَلَا يَلْزَمُ مِنْ كَوْنِ جِهَتَىِ الْعُلُوِّ وَالسُّفْلِ مُحَالاً عَلىَ اللهِ أَنْ لاَ يُوْصَفُ بِالْعُلُوِّ ، لِأَنَّ وَصْفُهُ بِالْعُلُوَّ مِنْ جِهَةِ الْمَعْنَى ، وَالْمُسْتَحِيْلُ كَوْنُ ذَلِكَ مِنْ جِهَةِ الْحِسِّ وَلِذَلِكَ وَرَدَ فِىْ صِفَتِهِ الْعَالِى وَالعَلِىُّ وَالْمُتَعَالِى ، وَلَمْ يَرِدْ ضِدُّ ذَلِكَ ,إِنْ كَانَ قَدْ أَحَاطَ بِكُلِّ شَىْءٍ عِلْماُ جَلَّ وَعَزَّ

ความว่า “การที่มีสองทิศบน(คือมีสถานที่อยู่ทิศบน)และทิศล่างเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้(มุสตะฮีล)สำหรับอัลเลาะฮ์นั้น  ก็ไม่จำเป็นที่พระองค์จะไม่มีคุณลักษณะที่สูงส่ง เพราะลักษณะความสูงส่งของพระองค์นั้น มาจากด้านของนามธรรม(คือสูงส่งมิใช่รูปธรรมที่อยู่ในความหมายว่าพระองค์มีสถานที่สถิต) และเป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ กับ(การมีคุณลักษณะสูงส่ง)ดังกล่าวนั้นมาจากด้าน(ความหมาย)ที่เป็นรูปธรรมสัมผัสได้(คือมีสถานที่อยู่แบบสูงๆขึ้นไป) และด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ได้มีระบุว่าพระองค์มีคุณลักษณะ “อัลอาลีย์” “อัลอะลีย์” และ “อัลมุตะอาลีย์” (ทั้งสามเป็นพระนามของอัลเลาะฮ์ซึ่งหมายถึงพระองค์ทรงสูงส่งยิ่ง) และไม่มีระบุตรงกันข้ามกับสิ่งดังกล่าวเลย(คือไม่มีระบุว่าพระองค์ไม่ทรงสูงส่งเลย) และหากแม้ว่าพระองค์ทรงห้อมล้อมทุก ๆ สิ่งด้วยความรอบรู้ของพระองค์สักทีก็ตาม” ฟัตหฺอัลบารีย์: 6/136

2.  วะฮาบีย์เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงอยู่สูงในเชิงรูปธรรม  หมายถึง  อัลเลาะฮ์ทรงอยู่ในสถานที่ที่สูงยิ่งกว่านั้น 

ส่วนความหมายคำว่า “อิรตะฟะอ้า” إِرْتَفَعَ นั้น 

1. อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ให้ความหมายว่า >------>  คือบัญชาของพระองค์ได้ขึ้นไปสู่ฟากฟ้าหรือขึ้นการปกครองบริหารตามที่ท่านอิบนุญะรีรอัฏเฏาะบะรีย์ได้ให้น้ำหนักไว้

2. วะฮาบีย์ให้ความหมายว่า >------------------------------> คืออัลเลาะฮ์ได้ขึ้นไปสู่สถานที่ที่พระองค์ทรงนั่นประทับสถิตอยู่ด้วยซาตของพระองค์

ท่านอัลบัยฮะกีย์ นักปราชญ์อัลอะชาอิเราะฮ์ กล่าวว่า

وَمُرَادُهُ بِذَلِكَ وَاللهُ أَعْلَمُ إِرْتِفَاعُ أَمْرِهِ

“จุดมุ่งหมายของท่านอบีอาลียะฮ์ ด้วยกับสิ่งดังกล่าว(คืออิรตะฟะอ้า) - วัลลอฮุอะลัม – คือบัญชาของพระองค์ได้ขึ้นไป(มิใช่ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมุ่งลงมาจากฟากฟ้าแล้วขึ้นไป)”  ดู หนังสืออัลอัสมาอฺวะอัศศิฟาต หน้า 383

ท่านอิมามอัลกุรตุบีย์กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

 وَقَدْ حَكىَ الطَّبَرِيُّ عَنْ قَوْمٍ أَنَّهُمْ قَالُوْا: هُوَ الْعَلِيُّ عَنْ خَلْقِهِ بِإِرْتِفاَعِ مَكَانِهِ عَنْ أَمَاكِنِ خَلْقِهِ . قَالَ ابْنُ عَطِيَّة : هَذَا قَوْلُ جَهَلَةِ الْمُجَسِّمِيْنَ وَكَانَ الْوَجْهُ أَلاَ يُحْكَى

"ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้รายงานเล่าถึงชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพวกเขากล่าวว่า  อัลเลาะฮ์ทรงสูงห่างไกลจากมัคโลคด้วยการที่พระองค์ทรงสูงขึ้นไปด้วยการมีสถานที่ที่มิใช่บรรดาสถานที่อยู่ของบรรดามัคโลค  ท่านอิบนุอะฏียะฮ์กล่าวว่า  นี้คือทัศนะคำกล่าวของพวกมุญัสสิมะอ์(พวกพรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง)ผู้โง่เขลา  และทางที่ดีนั้นไม่ควรเล่ารายงาน" ตัฟซีร อัลญาเมี๊ยะอฺ ลิอะห์กามุลกุรอาน 3/278

ดังนั้น  พี่น้องคงเห็นถึงความแตกต่างและการให้ความหมายอันเหมาะสมยิ่งสำหรับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ตาอาลาแล้วนะครับว่า แนวทางใหน? 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

วะฮาบีย์กล่าวว่า:

“เรามาร่วมเป็นสักขีพยานต่อการยืนยันของแกนนำมุอฺตะวิละฮฺ และการปฏิเสธของบรรดาอุละมาอ์ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว ดังนี้

1. กอฎีอับดุลญับบาร อัลมุอฺตะซิลีย์ กล่าวว่า “แท้จริงความหมายของ “อิสตะวา” คือ “อิสเตาลา” (การครอบครอง) (ตันซีฮฺ อัลกุรอาน อัน อัลมะฏออิน ของกอฎี อับดุลญับบาร หน้า 175, 199, 253, ชัรหฺอัลอุศูล อัลค็อมสะฮฺ หน้า 226 อัลมุคตะศ็อล ฟีอุศูลิดดีน หน้า 333)”

อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์:

การเชื่อมั่นในเรื่อง "อิสติวาอ์" ที่อยู่ในความหมายของ "ปกครองหรือครอบครอง" ระหว่างมั๊วะติซะละฮ์กับอัลอะชาอิเราะฮ์นั้นต่างกันครับ

1.แนวทางสะลัฟ (แนวทางที่หนึ่งของอัลอะชาอิเราะฮ์) >--> เชื่อว่า พระองค์ทรงอิสติวาอฺ  ให้อ่านผ่านมันไปโดยไม่ได้เจาะจงความหมาย และมอบหมายความรู้ไปยังอัลเลาะฮ์

2. อัลอะชาอิเราะฮ์แนวทางที่สอง >----> เชื่อว่า  อัลอิสติวาอ์  ตีความว่า  ปกครอง  โดยเชื่อว่า อัลอิสติวาอ์นั้นเป็นซีฟัตหนึ่งของอัลเลาะฮ์

3. มั๊วะตะซิละฮ์ >--------> เชื่อว่า  อัลอิสติวาอ์  นั้น ตีความว่า ปกครอง  แต่พวกเขาปฏิเสธว่าอัลอิสติวาอ์เป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์

4. วะฮาบีย์ >----------->  เชื่อว่า  อิสติวาอ์ คือ การประทับนั่งและสถิตของอัลเลาะฮ์  และเชื่อว่าการนั่งสถิตนั้นเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์

ข้อสังเกตุ 2 ประการ

หนึ่ง :  การตีความว่าปกครองระหว่างมั๊วะตะซิละฮ์กับอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีผลต่างกัน  เมื่อตีความแล้ว  อัลอะชาอิเราะฮ์ถือว่าอัลอิสติวาอ์นั้นเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์ แต่มั๊วะตะซิละฮ์ปฏิเสธว่ามันเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์  ดังนั้น ความเชื่อของมั๊วะตะซิละฮ์กับอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น  จึงมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

สอง : วะฮาบีย์ทำการตัฟซีร(อธิบาย)อิสติวาอ์ ว่ามันคือการนั่ง เป็นการสถิตซึ่งเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์  สำหรับอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น เชื่อในอิสติวาอ์ แต่ทำการมอบหมายหรือให้ความหมายว่าปกครอง ซึ่งเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์

ท่านพี่น้องจงเป็นสักขีพยายนและทำการใตร่ตรองครับว่า  แนวทางใดที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ตาอาลา!
  
ในหนังสืออัฏเฏาะบะก็อตอัลฮะนาบิละฮ์  ระบุว่า

وَقَدْ أَجْمَعَ عُلَمَاءُ أَهْلِ الْحَدِيْثِ وَالأَشْعَرِيَّةِ مِنْهُمْ عَلىَ قَبُوْلِ هَذِهِ الأَحَادِيْثِ فَمِنْهُمْ مَنْ أَقَرَّهَا عَلىَ مَا جَاءَتْ وَهُمْ أَصْحَابُ الْحَدِيْثِ وَمِنْهُمْ مَنْ تَأَوَّلَهَا وَهُمْ الأَشْعَرِيَّةُ وَتَأْوِيْلُهُمْ إِيَّاهَا قَبُوْلٌ مِنْهُمْ لَهَا إِذْ لَوْ كَانَتْ عَنْدَهُمْ بَاطِلَةٌ لاَطْرَحُوْهَا كَمَا اطْرَحُوْا سَائِرَ الأَخْبَارِ الْبَاطِلَةِ وَقَدْ رُوِىَ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ: أُمَّتِيْ لاَ تَجْتَمِعُ عَلىَ خَطَأٍ وَلاَ ضَلاَلَةٍ

"แท้จริงได้ลงมติ(อิจญ์มาอฺ)โดยบรรดาอุลามา อฺอะฮ์ลุลฮะดิษและอัลอะชาอิเราะฮ์ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษ  เนื่องจากมีการรับบรรดาฮะดิษ(ที่เกี่ยวกับเรื่องซีฟาตของอัลเลาะฮ์) ดังนั้นส่วนหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษก็รับฮะดิษตามที่ได้ระบุมา  ซึ่งพวกเขาคืออัศฮาบุลฮะดิษ(คือกลุ่มอะษะรียะฮ์)  และส่วนหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษ  ทำการตีความ(ตะวีล)บรรดาฮะดิษซีฟาต  ซึ่งพวกเขาคืออัลอะชาอิเราะฮ์ และการตีความของพวกเขากับบรรดาฮะดิษซีฟาตของอัลเลาะฮ์นี้  ก็คือการที่พวกเขาได้ยอมรับบรรดาฮะดิษที่เกี่ยวกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์นั่นเอง(ไม่ได้ปฏิเสธ)  เนื่องจากว่าหากบรรดาฮะดิษที่เกี่ยวกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์เป็นสิ่งที่โมฆะตามทัศนะของอัลอะชาอิเราะฮ์แล้ว  แน่นอนว่า พวกเขาก็จะละทิ้งบรรดาฮะดิษนั้นไป  เสมือนที่พวกเขาละทิ้งบรรดาฮะดิษที่กุขึ้นมา  และแท้จริงได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ว่า  "ประชาชาติของฉันจะไม่ลงมติกันบนความผิดพลาดและลุ่มหลง" หนังสอเฏาะบะก็อตอัลฮะนาบิละฮ์  หน้า 479 รวบรวมโดย ท่านอิบนุอะบียะลาอุลามาอฺมัซฮับฮัมบาลีย์

ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ผู้เป็นอะฮ์ลุลฮะดิษนั้น เมื่อพวกเขาได้ตีความ  ก็มิได้ปฏิเสธซีฟัตของอัลเลาะฮ์  มิได้ปฏิเสธบรรดาฮะดิษที่พูดเกี่ยวกับเรื่องซีฟาต ซึ่งแตกต่างจากพวกมั๊วะตะซิละฮ์

ดังนั้นหากมีคนพูดว่า  เหตุใดอัลอะชาอิเราะฮ์ถึงตีความเหมือนมั๊วะตะซิละฮ์  เราขอตอบว่าไม่ได้ตีความเหมือนมั๊วะตะซิละฮ์  เนื่องจากมั๊วะตะซิละฮ์ตีความแล้วปฏิเสธซีฟาตอิสติวาอฺ  ส่วนอัลอะชาอิเราะฮ์ที่ตีความนั้นได้ทำการตีความพร้อมยืนยันในซีฟัตอิสติวาอฺ  แต่เราก็ขอถามวะฮาบีย์บ้างว่า  ทำไมพวกท่านถึงให้ความหมาย อิสติวาอฺ  ว่า “สถิต” เหมือนกับพวกอัลกัรรอมียะฮ์ , อัลกัลบีย์ ,และมุกอติล  ทำไมถึงความหมายว่าอัลเลาะฮ์ทรง “สถิต” อยู่เบื้องบนเหมือนกับพวกอัลกัรรอมียะฮ์  ทำไมพวกท่านถึงบอกว่าคำพูดของอัลเลาะฮ์คือสิ่งที่เพิ่งบังเกิดขึ้นมาที่ซาตของอัลเลาะฮ์ก่อนที่จะประทานเป็นคำภีร์ลงมาเหมือนกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์  ทำไมพวกท่านถึงเชื่อว่าที่ซาตของอัลเลาะฮ์มีสิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่เหมือนกับพวกอัลกัรรอมียะฮ์   และทำไมพวกท่านถึงชอบกล่าวหาผู้อื่นเหมือนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้  แล้วไม่ดูตนเองว่าแนวทางอะกีดะฮ์ของตนเหมือนกับกลุ่มบิดอะฮ์ใดบ้าง?!
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

วะฮาบีย์กล่าวว่า:

ผมอ่านเจอในวิทยานิพนธ์เล่มหนึ่งของนักศึกษาระดับปริญญาโท ที่ทำการวิจัยและวิจารณ์เกี่ยวกับอะชาอิเราะฮ์  ซึ่งเขากล่าว (โดยมีใจความสรุป) ว่า "การแปล "อิสติวาอ์" เป็น "อิสติลาอ์" นั้น ถือเป็นความหมายที่ไม่เคยเป็นที่รู้จักกันมาก่อนในแวดวงภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นความหมายที่เพิ่งเกิดขึ้นในเวลาต่อมานี้เอง (พูดง่ายๆ คือ เหมือนเป็นการทึกทึก หรือมั่วเอาเอง) เพื่อสนองตอบต่อทัศนะของตน ดังนั้น คำว่า "อิสติวาอ์" จึงเป็นความหมายที่สมควรถูกแปลเป็น اَلْإِسْتِقْرَارُ  แปลว่า  สถิต มากกว่าที่จะให้ความหมายเป็น   اَلْإِسْتِيْلاَءُ  แปลว่า  ปกครอง เพราะนั่นถือเป็นความหมายที่เป็นที่รู้จักกันในปวงอุละมาอ์และนักภาษาศาสตร์ภาษาอาหรับ ไม่ว่าจะเป็นสลัฟหรือค็ลัฟก็ตาม และนี่คือแนวทางของอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญมาอะฮ์ที่แท้จริง

อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์:

การให้ความหมายว่า  اَلْإِسْتِيْلاَءُ   แปลว่า  การปกครอง  นั้น  มียืนยันรับรองไว้ในภาษาอาหรับและในแวดวงหลักภาษาอาหรับเขาก็นำมาใช้กัน

ท่านอิหม่ามอัซซัจญาจญฺ (ฮ.ศ. 241-311) ซึ่งเป็นปราชญ์ยุคสะลัฟได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า

فَقَالَ: (عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى) ، وَقَالُوْا مَعْنَى (اِسْتَوَى) : اِسْتَوْلَى , وَاللَّهُ أَعْلَمُ

“อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า “พระองค์ทรงอิสตะวาเหนือบัลลังก์  และพวกเขากล่าวว่า ความหมาย อิสตะวา คือ อิสเตาลา(ปกครองโดยไม่มีการแย่งชิง)วัลลอฮุอะลัม” ตัฟซีร มะอานี อัลกุรอาน เล่ม 3 หน้า 229.

ปราชญ์ภาษาอาหรับ  ท่านอะบูลกอซิม อัลฮุซัยน์ บิน มุฮัมมัด  รู้จักในนาม อัรรอฆิบ อัลอัศฟะฮานีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 502) ได้กล่าวว่า

مَتَي عُدِّيَ ب (عَليَ) إِقْتََضَي مَعْنَي الإِسْتِيْلاَءِ كَقَوْلِهِ الرَّحْمنُ عَلَي العَرْشِ اسْتَوَي

"เมื่อคำว่าอิสติวาอฺถูกนำมาใช้ด้วยคำว่า อะลา (แปลว่าบน) ก็จะให้ความหมายนัยยะถึง การปกครอง  เช่นคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า "พระเจ้านามอัรเราะห์มาน(ผู้เมตตา) ทรงปกครองเหนือบัลลังก์" หนังสือ อัลมุฟร่อด๊าด ฟี ฆ่อรีบิลกุรอ่าน หน้า 251

ปราชญ์ภาษาอาหรับ  ท่านอะบูอับดุรเราะห์มาน อับดุลลอฮ์ บิน ยะห์ยา อิบนุ อัลมุบาร็อก อัลยะซีดีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 237) ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน อะบู ซะกะรียา อัลฟัรรออฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 207) ปราชญ์วิชานะฮูนามกระเดื่อง  ได้กล่าวว่า

عَلَي العَرْشِ اسْتَوَي : اِسْتَوْلَي

"พระองค์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์ : หมายถึง ทรงปกครอง(อิสตีลาอฺ)เหนือบัลลังก์" หนังสือ ฆ่อรีบุลกุรอานและตัฟซีรุฮู หน้า 113

ท่านอิมาม อัลฮาฟิซฺ อะบู ญะฟัร มุฮัมมัด อิบนุ ญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 310) หนึ่งในปราชญ์สะละฟุศศอลิห์  ไว้กล่าวในตัฟซีรของท่านว่า

قَالَ أَبُو جَعْفَر : الِاسْتِوَاء فِي كَلَام الْعَرَب مُنْصَرِف عَلَى وُجُوه

"อะบูญะฟัร(คือท่านอัฏเฏาะบีย์) ขอกล่าวว่า อัลอิสติวาอฺ ในคำพูดของอาหรับนั้น  ถูกนำมาใช้ได้หลายหนทาง"
 
หลังจากนั้นอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวว่า

وَمِنْهَا الِاحْتِيَاز وَالِاسْتِيلَاء كَقَوْلِهِمْ : اسْتَوَى فُلَان عَلَى الْمَمْلَكَة , بِمَعْنَى احْتَوَى عَلَيْهَا وَحَازَهَا

"ส่วนหนึ่งจากหนทางเหล่านั้น  คือให้ความหมายว่า  (อัลอิห์ติยาซฺ) การครอบครอง  และความหมาย (อัลอิสตีลาอฺ) การปกครอง  เช่นคำกล่าวของคนอาหรับที่ว่า  คนหนึ่งได้อิสติวาอฺเหนืออาณาจักร  หมายถึง เขาได้เป็นเจ้าของเหนืออาณาจักร์หรือครอบครองอาณาจักร" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ อธิบายซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ 29 เล่ม 1 หน้า 192

นี้คือท่านอิบนุญะรีร  ซึ่งเป็นหนึ่งในอุลามาอฺสะละฟุศศอลิห์  ได้ระบุว่า  การอิสติวาอฺ มีความหมายว่า ปกครอง  ก็คือหนึ่งในความหมายของภาษาอาหรับครับ

ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านอะห์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อะลี อัลฟัยยูมีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 770)  ได้กล่าวว่า

إِسْتَويَ عَليَ سَرِيْرِ المَلِكِ : كِنَايَةٌ عَنِ التَمَلُّكِ وَ إِنْ لَمْ يَجْلِسْ عَلَيْهِ

"การอิสติวาอฺ เหนือ บัลลังก์ของกษัตริย์  เป็นการเปรียบเปรยถึงการปกครองหากแม้นว่ากษัตริย์จะไม่นั่งบนบัลลังก์นั้นก็ตาม" หนังสือ อัลมิศบาหุลมุนีร หน้า 113

ปราชญ์ภาษาอาหรับ  ท่านอะบูลกอซิม อัซฺซัจญาจญ์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 340) ได้กล่าวว่า

فَقَوْلُ العَرَبِ : عَلاَ فُلاَنٌ فُلاَناً أي غَلَبََهُ وَقَهَرَهُ كَمَا قَالَ الشَّاعِرُ
فَلَمَّا عَلَوْنَا واسْتَوَيْنَا عَلَيْهِمْ  تَرَكْنَاهُمْ صَرْعَي لِنَسْرٍ وَكَاسِرِ
يَعْنِي غَلَبَنَاهُمْ وَقَهَرْنَاهُمْ واسْتَوْلَيْنَا عَلَيْهِمْ

"ดังนั้นคำกล่าวของชนอาหรับที่ว่า  ชายคนหนึ่งสูงเหนือชายคนหนึ่ง  หมายถึง เขาได้ชนะและมีอำนาจเหนือเขา  เฉกเช่นที่นักกวีได้กล่าวว่า
ขณะที่เราได้สูงเหนือพวกเขา  และเราได้(อิสติวาอฺ)ปกครองเหนือพวกเขา  เราได้ทิ้งพวกเขาให้เหยี่ยว"

หมายถึง เราได้พิชิตพวกเขา  มีอำนาจเหนือพวกเขา  และเราได้(อิสติวาอฺ)ปกครองพวกเขา" ดู หนังสืออิชติกอกุ้ อิสมาอิลลาฮ์ หน้า 109

ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านมุฮัมมัด บิน อะบีบักร์ อัรรอซี (ปี ฮ.ศ. 666) ได้กล่าวว่า

وَاسْتَوَي أَي اِسْتَوْليَ وَظَهَرَ

"อิสตะวา หมายถึง อิสเตาลา (ปกครอง) และปรากฏ" หนังสือมุคตาร อัศศิฮาหฺ หน้า 136

นี้คือบางส่วนจากปราชญ์สะลัฟและค่อลัฟที่ยืนยันว่า การอธิบาย คำว่า อิสติวาอฺ ที่อยู่ในความหมายของ อิสติลาอฺ (ปกครอง) นั้น  ก็คือหมายถึงหนึ่งในภาษาอาหรับ  ดังนั้น การกล่าวว่า "การแปล "อิสติวาอ์" เป็น "อิสติลาอ์" นั้น ถือเป็นความหมายที่ไม่เคยเป็นที่รู้จักกันมาก่อนในแวดวงภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นความหมายที่เพิ่งเกิดขึ้นใน" ถือว่าเป็นความอำเภอใจและไม่รอบคอบในการตรวจคำกล่าวของนักปราชญ์นั่นเองครับ

ส่วนความหมาย "อิสติวาอ์" เป็น اَلإِسْتِقْرَارُ  แปลว่า "สถิต" นั้น ต้นตอจากการให้ความหมายของพวก อัลมุญัสสิมะฮ์ (พวกพรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง) พวกเขาอัลกัรรอมียะฮ์ (พวกพรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่างและคล้ายคลึงกับมัคโลค) ซึ่งพวกเหล่านี้เป็นกลุ่มแนวทางที่ถูกนับอยู่ใน 72 พวกนั่นเอง และยังเป็นการให้ความหมายของ อัลกัลบีย์ ผู้ที่ฏ่ออีฟ กุฮะดิษ  และเป็นการให้ความหมายของ มุกอติล ที่ปราชญ์ได้ยืนยันแล้วว่าเขามีแนวทางบิดอะฮ์และพรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 01, 2012, 06:40 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

คำถาม:

จากแนวทางที่สองของอะห์ลิซซุนนะห์วัลญะมาอะห์นั้น เชื่อในซีฟัต "อัลอิสติวาอฺ" แล้วทำการตีความให้อยู่ในความหมาย"ปกครอง" โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องความบริสุทธิ์ของอัลลอฮ์ตะอาลาจากการเหมือนคล้ายกับมัคโลค นั้น... ในการตีความนี้ ได้มีการมอบหมายความหมายที่แท้จริงให้กับอัลลอฮ์ตะอาลา หรือว่ามีความมั่นใจอย่างเด็ดขาดต่อความหมายที่ตีความ(ปกครอง)นั้น หรือเพียงคาดว่า(ไม่ถึงกับยะเก่น)ว่าอยู่ในความหมายนี้(ปกครอง) ครับ?

คำตอบ:

การตีความ คือการตีความด้วยคุณลักษณะที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ ฯ การตีความนั้นต้องมาจากนักปราชญ์ผู้สันทัดอีกทั้งทรงความรู้ อีกทั้งทำการตีความที่ตรงกับหลักภาษาอาหรับที่พวกเขาเข้าใจกัน และหลังจากตีความนั้น ก็มอบหมาย(ตัฟวีฏ) กับความหมายที่ตีความไปยังอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ ฯ อีกที

ความหมาย "อิสติวาอฺ" ตามหลักภาษาอาหรับมีความหมายหลายนัย  ดังนั้นการให้ความหมาย "อิสติวาอฺ" ว่า "สถิต"  แล้วอ้างว่ามันเป็นจุดมุ่งหมายที่อัลเลาะฮ์ประสงค์และเป็นเป้าหมายของอัลกุรอาน  ถือว่าโกหกแอบอ้างเพราะพระองค์มิได้เจาะจงความหมายนั้นไว้  การให้ความหมาย "อิสติวาอฺ" ว่า "นั่งประทับ" แล้วอ้างว่ามันเป็นจุดมุ่งหมายที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์และเป็นเป้าหมายของอัลกุรอาน  ถือว่าโกหกแอบอ้างเพราะพระองค์มิได้เจาะจงความหมายนั้นไว้ และทั้งสองความหมายนี้เป็นความหมายที่วะฮาบีย์นำมายึด

ส่วนสะละฟุศศอลิห์นั้นพวกเขารู้ความหมายหลายนัยของคำว่า "อิสติวาอฺ" แต่ส่วนมากพวกเขามิได้เจาะจงความหมายเพราะไม่ยาเกนว่าความหมายใดกันแน่ที่เป็นเป้าหมายของอัลเลาะฮ์ พวกเขาจึงมอบหมายการรู้นั้นไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  พร้อมทั้งเข้าใจว่าอายะฮ์ที่พระองค์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์นั้น  ชี้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์เท่านี้ถือว่าเพียงพอ  นี่คือแนวทางที่ 1 ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์

ส่วนแนวทางการตีความ  อิสติวาอฺ  ว่า "ปกครอง" พร้อมกับยืนยันว่า "อิสติวาอฺ" เป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น  ไม่มีอุลามาอ์อัลอะชาอิเราะฮ์คนใดแอบอ้างว่ามันคือเป้าหมายของอัลเลาะฮ์  แต่พวกเขามั่นใจว่ามันเป็นการยืนยันถึง "อัตตันซีฮ์" (คือยืนยันในความบริสุทธิ์คุณลักษณะของพระองค์จากการไปคล้ายคลึงกับคุณลักษณะของมัคโลคและไม่สามารถจิตนาการไปได้เลย) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเตาฮีดต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  ซึ่งแนวทางนี้เหมาะสำหรับสามัญชนทั่วไป ซึ่งเป็นแนวทางที่ 2 ของอัลอะชาอิเราะฮ์
 
อนึ่ง  อายะฮ์ อัลอิสติวาอฺ นี้ถือว่าเป็นอายะฮ์มุตะชาบิฮาต(อายะฮ์ที่ให้ความหมายหลายนัย) หากจะทำการตีความก็ต้องตีความโดยให้กลับไปยังอายะฮ์ที่มั๊วะห์กัม(อายะฮ์ที่ให้ความหมายชัดเจนในคุณลักษณะและพระนามของพระองค์) ดังนั้นการตีความว่า "ปกครอง" ก็กลับไปยังคุณลักษณะและพระนามของพระองค์ที่ว่า القَاهِرُ (อัลกอฮิร) "ผู้ทรงอำนาจ" หรือ المَالِكُ (อัลมาลิก) "ผู้ทรงปกครอง" ซึ่งความหมายของคุณลักษณะนี้มีอายะฮ์อัลกุรอานมากมายได้รับมันไว้  ส่วนการให้ความหมายว่า "สถิต" หรือ "นั่ง" ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์นั้น  ปรากฏว่าไม่มีพระนามใดของอัลเลาะฮ์ที่ชื่อว่า المُسْتَقِرُّ (อัลมุสติกิร) "ผู้ทรงสถิต" และไม่มีปรากฏว่าพระองค์ทรงมีพระนามว่า الجَالِسُ (อัลญาลิส) "พระองค์ทรงนั่ง" และไม่มีอัลกุรอานและฮะดิษซอฮิหฺใดมายืนยันความหมายว่าอัลเลาะฮ์ทรงสถิตและทรงนั่ง

ด้วยเหตุนี้  บรรดาปราชญ์แห่งอุมมะฮ์ผู้เป็นทายาทท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงให้การตำหนิผู้ที่ให้ความหมายว่า "สถิต" หรือ "นั่งประทับ" ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  และซ้ำร้ายมันยังเป็นการให้ความหมายของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์ ,พวกอัลกัรรอมียะฮ์ , อัลกัลบีย์ ,และมุกอติล , วัลอิยาซูบิลลาฮ์
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

กลุ่มวะฮาบีย์มักจะอ้างคำอธิบายความหมายอิสติวาอฺที่ว่า  อ่านเพิ่มเติมจากกระทู้นี้ การให้ความหมาย อิสติวาอฺ ของกลุ่มวะฮาบีย์กลุ่มวะฮาบีย์

ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ : قَالَ الْكَلْبِي وَمُقَاتِل: اِسْتَقَرَّ

"การอิสติวาอฺบนบัลลังก์นั้น  อัลกัลบีย์และมะกอฏิลกล่าวว่า  หมายถึง  ทรงสถิตอยู่"
 
คำกล่าวของ อัลกะละบีย์และมุกอติล นี้แหละครับ ที่วะฮาบีย์ทั้งหลายเขายึดเอามาเป็นบรรทัดฐานในเรื่องของอะกีดะ ฮ์ เกี่ยวกับ อัลอิสติวาอ์ เพราะวะฮาบีย์จะแปลเกี่ยวกับอายะฮ์ อัลอิสติวาอ์นี้  บางทีแปลว่า "ประทับ(นั่ง)" (جَلَسَ) หรือแปลว่า "สถิต"  (اِسْتَقَرَّ) เท่านั้น และกลุ่มวะฮาบีย์ก็เลือกแปลแบบนี้  ซึ่งเมื่อตรวจสอบไปยังต้นขั่วเดิมก็เป็นคำกล่าวที่ให้ความหมายโดย  อัลกัลบีย์ และ มุกอติล

ท่านอิหม่ามอัลบัยฮะกีย์กล่าวเล่าถึงทัศนะการให้ความหมาย “สถิต) ว่า

فَأَمَّا مَا أَخْبَرَنَا أَبُوْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ مَحْبُوْرٍ الدَّهَّانُ ، أَنَا الْحُسَيْنُ بْنُ مُحَمَّدُ بْنُ هَارُوْنَ ، أَنَا أَحْمَدُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ نُصْرٍ اَللَّبَّادُ ، ثَنَا يُوْسُفُ بْنُ بِلاَلٍ ، عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مَرْوَانَ عَنِ الْكَلْبِيِّ ، عَنْ أَبِيْ صَالِحٍ ، عَنْ اِبْنِ عَبَّاسٍ ، رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا فِيْ قَوْلِهِ : (ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ) يَقُوْلُ : اِسْتَقَرَّ عَلَى الْعَرْشِ
 
“สำหรับสิ่งที่ได้บอกเล่าแก่เรา โดย อะบู อับดุรเราะห์มาน มุฮัมมัด บิน อับดุรเราะห์ บิน มุฮัมมัด บิน มะห์บูร อัดดะฮ์ฮาน,  ฉันคืออัลหุซัยน์ บิน มุฮัมมัด บิน ฮารูณ, ฉันคืออะห์มัด บิน มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด บิน นัศร์ อัลลับบาด, ได้เล่าแก่เราโดย ยูซุฟ บิน บิล้าล, จากมุฮัมมัด บิน มัรวาน รายงานจากอัลกัลบีย์, จากอะบีศอลิห์, จากท่านอิบนุ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา, เกี่ยวกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า  “หลังจากนั้นพระองค์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์” (อะร็อฟ 54) ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า “ทรงสถิตบนบัลลังก์” อัลอัสมาอ์ วะ อัสซิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 383

และท่านอิหม่ามอัลบัยฮะกีย์ได้ตัดสินสายรายงานดังกล่าวนี้ว่า

فَهَذِهِ الرِّوَايَةُ مُنْكَرَةٌ

“ดังนั้นสายรายงานนี้  ถือว่ามุงกัร” อัลอัสมาอ์ วะ อัสซิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 383

ต่อมาท่านอิหม่ามอัลบัยฮะกีย์ได้พิจารณาถึงสถานะภาพของ  อะบีศอลิห์, อัลกัลบีย์, และ อัลมุกติล ดังนี้  

1. อบูซอลิหฺ , อัล-กัลบีย์ , และมุฮัมมัด บิน มัรวาน

ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ได้กล่าววิจารณ์และถ่ายทอดคำวิจารณ์ของบรรดานักหะดิษว่า

وَأَبُوْ صَالِحٍ هَذَا وَالْكَلْبِيُّ وَمُحَمَّدُ بْنُ مَرْوَانَ كُلُّهُمْ مَتْرُوْكٌ عِنْدَ أَهْلِ الْعِلْمِ بِالْحَدِيْثِ ، لاَ يُحْتَجُّوْنَ بِشَيْءٍ مِنْ رِوَايَاتِهِمْ لِكَثْرَةِ الْمَنَاكِيْرِ فِيْهَا ، وَظُهُوْرِ الْكَذْبِ مِنْهُمْ فِيْ رِوَايَاتِهِمْ

“อบูซอลิหฺ , อัล-กัลบีย์ , และมุฮัมมัด บิน มัรวาน  ซึ่งพวกเขาทั้งหมดนี้  ถูกทิ้ง ตามทัศนะของอุลามาอ์หะดิษ ซึ่งบรรดานักฮะดิษจะไม่นำมาอ้างหลักฐานด้วยกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย จากบรรดาสายรายงานของพวกเขา  เนื่องจากมีสิ่งที่ขัดกับหลักการอย่างมาก และปรากฏความเท็จในบรรดาสายรายงานของพวกเขา” ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสซิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 384

ท่านอัลบัยฮะกีย์ต่อว่า

وَأَخْبَرَنَا أَبُوْ عَبْدِ اللهِ اَلْحَافِظُ ، أَنَا أَبُوْ بَكْرٍ اَلْحَفِيْدُ ، ثَنَا هَارُوْنُ بْنُ عَبْدِ الصَّمَدِ ، ثَنَا عَلِيُّ بْنُ الْمَدِيْنِيِّ ، قَالَ : سَمِعْتُ يَحْيَى بْنَ سَعِيْدٍ الْقَطَّانَ ، يُحَدِّثُ عَنْ سُفْيَانَ ، قَالَ : قَالَ الْكَلْبِيُّ : قَالَ لِيْ أَبُوْ صَالِحٍ : كُلُّ مَا حَدَّثْتُكَ كَذْبٌ

“ท่านอลี บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยิน ยะหฺยา บิน สะอีด อัลก็อฏฏอน ได้เล่า จากท่านซุฟยาน  ซึ่งท่านซุฟยานกล่าวว่า อัลกัลบีย์ กล่าวว่า "อบู ซอลิหฺ กล่าวกับฉันว่า ทุกสิ่งที่ฉันได้รายงานเล่ากับท่านนั้น เป็นการโกหก” เล่มเดียวกัน หน้าที่ 380

ท่านอัลบัยฮะกีย์เช่นกันว่า

وَأَخْبَرَنَا أَبُوْ أَحْمَدَ ، ثَنَا الْجُنَيْدِيُّ ، ثَنَا الْبُخَارِيُّ قَالَ : مُحَمَّدُ بْنُ السَّائِبِ أَبُوْ النَّضْرِ الْكَلْبِيُّ الْكُوْفِيُّ تَرَكَهُ يَحْيَى بْنُ سَعِيْدٍ وَعَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ مَهْدِيٍّ

“... อัล-กัลบีย์ นั้น ท่านยะหฺยา บิน สะอีด และ ท่านอับดุรเราะฮ์มาน บิน มะฮ์ดี ได้ทิ้ง(การรายงาน) กับเขา” เล่มเดียวกัน หน้าที่ 380
และท่านอัลกุรฏุบีย์กล่าวว่า  “อัลกัลป์บีย์นั้น ฎออีฟ” ดู  ตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 1 หน้า 271

2. มุกอติล บิน สุลัยมาน

มุกอติล ท่านนี้ ฏออีฟ อย่างมาก และเป็นพวกมุชับบิฮะฮ์ (กลุ่มที่พรรณาอัลเลาะฮ์คล้ายคลึงกับมัคโลค)

ท่านอะบุลอับบาส อิบนุ อัลค่อลิกาน  กล่าวว่า

وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ: مُقَاتِلُ بْنُ سُلَيْمَانَ صَاحِبُ التَّفْسِيْرِ مَا يُعْجِبُنْيْ أَنْ أَرْوِيَ عَنْهُ

“ท่านอะห์มัด บิน ฮัมบัล กล่าวว่า  มุกอติล บิน สุไลมาน  ที่เป็นนักตัฟซีรนั้น  ไม่มีสิ่งใดทำให้ฉันประทับใจที่ฉันจะรายงาน(สิ่งใด)จากเขาเลย” หนังสือวะฟะยาตุลอะอฺยาน เล่ม 5 หน้า 256

ท่านอะบุลอับบาส อิบนุ อัลค่อลิกาน  กล่าวว่า

وَقَالَ أَبُوْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ النَّسَائِيُّ: اِلْكَذَّابُوْنَ الْمَعْرُوْفُوْنَ بِوَضْعِ الْحَدِيْثِ عَلَى رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّمَ أَرْبَعَةٌ: اِبْنُ يَحْيَى بِالْمَدِيْنَةِ، وَالْوَاقِدِيُّ بِبَغْدَادَ، وَمُقَاتِلُ بْنُ سُلَيْمَانَ بِخُرَاسَانَ، وَمُحَمَّدُ بْنُ سَعِيْدٍ

“ท่านอะบูอับดิรเราะห์มาน อันนะซาอีย์  ได้กล่าวว่า  บรรดาจอมโกหกที่เป็นที่รู้จักกันดีว่าชอบกุฮะดีษแก่ท่านร่อซูลุลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น  มีอยู่ 4 คน  คือ: อิบนุ ยะห์ยา  ณ  อัลมะดีนะฮ์,  อัลวะกีดีย์ ณ บัฆดาด, มุกอติล บิน สุไลมาน ณ คุรอซาน, และมุฮัมมัด บิน ยะห์ยา ณ เมืองชาม” หนังสือวะฟะยาตุลอะอฺยาน เล่ม 5 หน้า 256

ท่านอัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์  ได้รายงานถึงท่านอะห์มัด บิน ยาซาร  ความว่า  "มุกอติลนั้นฮะดิษเขาถูกทิ้ง  โดยเขาได้พูดเกี่ยวกับบรรดาซีฟาตของอัลเลาะฮ์ด้วยกับสิ่งที่ไม่อนุญาตให้รายงานจากเขา" หนังสือตารีคบุฆดาด 13/162

ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮิบบาน กล่าวว่า

 كَانَ يَأْخُذُ عَنِ الْيَهُوْدِ وَالنَّصَارَى عَلْمَ الْقُرْآنِ الَّذِىْ يُوَافِقُ كُتُبَهُمْ وَكَانَ مُشَبِّهاً يُشَبِّهُ الرَّبَّ بِالْمَخْلُوْقِيْنَ وَكَانَ يُكَذِّبُ مَعَ ذَلِكَ فِي الْحَدِيْثِ

"มุกอติลได้รับเอามาจากพวกยาฮูดีและนะซอรอเกี่ยวกับวิชาอัลกุรอานเพื่อให้สอดคล้องกับพวกเขา และมุกอติลเป็นพวกมุชับบิฮะฮ์ที่พรรณาความคล้ายคลึงระหว่างอัลเลาะฮ์กับมัคโลคและพร้อมกับสิ่งดังกล่าว  เขายังโกหกเกี่ยวกับฮะดิษ" ดู หนังสืออัลมัจญฺรูฮีน 2/15 , หนังสืออัฏฏุอะฟาอฺ ของท่านอิบนุเญาซีย์ 1/136

ท่านสุไลมาน บิน ค่อลัฟ อัลบาญีย์กล่าวว่า

مَا يَرْوِيْهِ مُقَاتِلُ بْنُ سُلَيْمَانَ الْخُرَاسَانِيُّ الْبَلْخِيُّ الْمُفَسِّرُ فَإِنَّهُ كَذَّابٌ كَانَ يَسْأَلُ أَهْلَ الْكِتَابِ مِنَ الْيَهُوْدِ وَالنَّصَارَى وَيُفَسِّرُ بِذَلِكَ الْقُرْآنَ وَهُوَ مِشْهُوْرٌ بِالْكَذْبِ

“สิ่งได้มุกอติล บิน สุไลมาน อัลคุรอซานีย์ อัลบัลคีย์ นักตัฟซีรนั้น  เขาเป็นจอมโกหก  เขาได้ทำการถามพวกอะฮ์ลุลกิตาบจากยะฮูดีและนะซอรอ  และทำการตัฟซีรอัลกุรอานด้วยการถามดังกล่าว และเขานั้นเป็นที่เลื่องลือถึงความโกหก” หนังสืออัตตะดีล วัตตัจญ์รีห์ เล่ม 1 หน้า 271

ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์กล่าวว่า

وَسُئِلَ وَكَيْعٌ عَنْ تَفْسِيْرِ مُقَاتِلٍ، فَقَالَ: لاَ تَنْظُرُوْا فِيْهِ، فَقَالَ: مَا أَصْنَعُ بِهِ؟ قَالَ: اِدْفِنْهُ، يَعْنِى التَّفْسِيْرَ. وَقَالَ وَكِيْعٌ أَيْضًا: كَانَ مُقَاتِلُ بْنُ سُلَيْمَانَ كَذَّابًا

“ท่านวะเกี๊ยะอฺ ได้ถูกถามถึง ตัฟซีรของ มุกอติล  ท่านวะเกี๊ยะอฺกล่าวว่า  “พวกท่านอย่าไปดูในหนังสือตัฟซีรของมุกอติล”  ผู้ถามกล่าวว่า  “แล้วจะให้จัดการมันอย่างไ?”  ท่านวะเกี๊ยะอฺตอบว่า  “ท่านจงฝังตัฟซีรของเขาเถิด”  และท่านวะเกี๊ยะอฺกล่าวเช่นกันว่า  “มุกอติล บิน สุไลมาน นั้น เป็นจอมโกหก” หนังสือตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอฺ เล่ม 2 หน้า 140

เมื่อผู้ที่รายงานและผู้ที่กล่าวว่า อัลอิสติวาอ์ มีความหมายว่า "สถิต" นั้น เป็นบุคคลที่อุลามาอ์ไม่ให้ความเชื่อถือ พูดไม่สัจจะ  และยังเอาหลักความเชื่อของยะฮูดีเข้ามาอธิอบายอัลกุรอานอีกด้วย  ดังนั้นการแปลความหมายอิสติวาอฺของวะฮาบีย์ที่ว่า “สถิต” นั้น  จึงเป็นการแปลตามหลักอะกีดะฮ์ของกลุ่มอะกีดะฮ์บิดอะฮ์

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 21, 2011, 07:38 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged