بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
การยกเลิกนะซัรในรูปแบบดังกล่าว ที่ได้ทำการบนบานต่ออัลเลาะฮ์เรียบร้อยแล้วนั้น ไม่อนุญาตให้ยกเลิก เพราะเป็นการบนบานแบบ التَّبَرُّرُ (อัตตะบัรรุร) คือการบนบานด้วยกับสิ่งที่เขาปรารถนาชอบที่จะกระทำสิ่งที่สร้างใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
(1) การบนบานที่ไม่ได้วางข้อแม้กับสิ่งใด เช่นเขากล่าวว่า ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ จำเป็นบนฉันทำการถือศีลอด , ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า จำเป็นบนฉันทำการบริจาคทรัพย์สิน เป็นต้น
(2) การบนบานในสิ่งดีงามโดยมีการวางข้อแม้ เช่นเขากล่าวว่า หากอัลเลาะฮ์ให้ฉันหายป่วย หรือทำให้คนป่วยของฉันหาย หรือหากอัลเลาะฮ์ให้ฉันสอบผ่านหรือหากอัลเลาะฮ์ให้ฉันพ้นภัยจากบะลอที่ประสบ อยู่ , ขอยืนยันต่อพระองค์ว่า จำเป็นบนฉันต้องทำการถือศีลอด ทำละหมาดสุนัต ทำอุมเราะฮ์ หรือทำการบริจาคทรัพย์สิน เป็นต้น
ฮุกุ่มของการบนบานแบบตะบัรรุรนี้ ท่านอิมามอัลบาญูรีย์กล่าวว่า "จำเป็นวายิบบนเขาต้องกระทำสิ่งที่บนบานเอาไว้ แต่อนุญาตให้ประวิงเวลาออกไปได้ถ้าหากเขามิได้เจาะจงเวลาที่เฉพาะ" หนังสือฮาชียะฮ์อัลบาญูรีย์ 2/330 หมายถึง การบนบานแบบ อัตตะบัรรุรประเภทที่หนึ่งนั้น เช่น บนบานว่า ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า จำเป็นบนฉันทำการถือศีลอด ก็ให้จำเป็นบนเขาต้องกระทำตามนั้นแต่ประวิงเวลาให้กระทำในช่วงเวลาที่สะดวก สำหรับผู้บนบาน แต่สุนัตให้รีบกระทำ แต่ถ้าหากบนบานแบบวางเงื่อนไข เช่น หากพระองค์ให้ฉันสอบผ่าน จำเป็นบนฉันต้องบริจาคทานหรือเลี้ยงอาหาร ก็ให้รีบกระทำถ้าหากเงื่อนไขดังกล่าวได้ปรากฏ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
مَنْ نَذَرَ أَنْ يُطِيْعَ اللهَ فَلْيُطِعْهُ
"ผู้ใดที่บนบานจะทำการฏออัตต่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้นเขาจงกระทำการฏออัตต่อพระองค์เถิด" รายงานโดยบุคอรีย์ (6696)
ท่านอิมามอิบนุฮะญัร กล่าวว่า "จำเป็นต่อผู้ทำการบนบานต้องกระทำสิ่งที่เขาได้บนบานไว้เมื่อข้อแม้ที่ตั้ง ขึ้นนั้นได้เกิดขึ้น เพราะมีฮะดิษบุคอรีย์รายงานว่า ""ผู้ใดที่บนบานจะทำการฏออัตต่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้นเขาจงกระทำการฏออัตต่อพระองค์เถิด" ซึ่งถ้อยคำชัดเจนของอิมามอันนะวาวีย์นั้น จำเป็นให้ผู้บนบานต้องกระทำโดยรีบด่วนด้วยการปฏิบัติสิ่งที่บนบานหลังจากที่ เกิดข้อแม้ที่ได้ตั้งขึ้น" ตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 4/409 ตีพิมพ์ที่มักตะบะฮ์อัษษะกอฟะฮ์อัดดีนียะฮ์
ดังนั้น ผู้ที่บนบานในเรื่องการสอบ คือการบนบานให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้น ก็ต้องรอสิ่งที่อัลเลาะฮ์จะทรงให้เกิด แล้วทำตามบนบานนั้น
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ