ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องการบนบาน(นะซัร)  (อ่าน 9169 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« เมื่อ: ธ.ค. 06, 2008, 06:36 PM »
0

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

ปัจจุบันมีพี่น้องหลายท่านเคยถามเกี่ยวกับเรื่องการบนบาน(นะซัร) แล้วไม่สะดวกหรือไม่มีความสามารถที่จะกระทำสิ่งที่บนบานได้  บ้างก็ยกเลิกการบนบานก่อนที่เงื่อนไขที่วางไว้จะขึ้น  ต่อไปนี้ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องการบนบานในบางแง่มุม  เพื่อเป็นกรณีศึกษาแก่พี่น้องครับ

การบนบาน  ตามหลักภาษาอาหรับหมายถึง : "การสัญญากระทำสิ่งที่ดีหรือไม่ดี" ส่วนการบนบานตามหลักนิติศาสตร์อิสลามหมายถึง : "การสัญญาว่าจะกระทำดีเป็นกรณีเฉพาะ"  หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/341 

อนึ่ง  การบนบานนั้นเราจะเล่น ๆ ไม่ได้เลย  หากจะบนบานต้องคิดพิจารณาใคร่ควรญให้รอบคอบ  เนื่องมันหมายถึงการสัญญาระหว่างเรากับอัลเลาะฮ์  เนื่องจากถ้าหากเราป่วยหรือกลัวเป็นโรคหนึ่ง  ซึ่งต่อไปภาคหน้าเราไม่รู้เลยว่า  อัลเลาะฮ์จะให้เราทดสอบเราให้ป่วยทนทุกข์ด้วยโรคร้ายนี้หรือไม่  หรือถ้าหากป่วยแล้วอาจจะทำให้เราเสียชีวิตหรือทำให้ชีวิตต้องลำบากด้วยการป่วยดังกล่าว   ดังนั้นผู้ที่อยู่สถาวะเช่นนี้  ไม่มีที่พึ่งอันใดนอกจำต้องกลับหาอัลเลาะฮ์อย่างมุ่งมั่นตั้งใจอย่างหนักแน่นโดยทำการบนบานว่า  หากพระองค์ทรงให้หวยป่วยหรือให้พ้นจากโรคร้าย  เขาจะทำการบริจาคทาน  เลี้ยงอาหาร  หรือไปทำอุมเราะฮ์  เป็นต้น  เพื่อต้องการให้พระองค์ทรงให้เขาพ้นจากโรคร้ายที่จะเกิดขึ้น  ทั้งที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงรู้มาก่อนแล้วว่า  เราจะทำการสัญญาบนบานต่อพระองค์  แล้วพระองค์ผู้ทรงเมตตายิ่ง  ก็ทำให้เราได้หายป่วยหรือพ้นจากโรคร้าย

ดังนั้น  เมื่อพระองค์ประทานให้แก่เราพ้นภัยจากโรคร้ายหรือบะลาแล้ว  หน้าที่ของผู้บนบานที่สัญญาไว้กับอัลเลาะฮ์  ก็จำเป็นต้องทำตามนั้น  ฉะนั้นหลังจากที่อัลเลาะฮ์ให้เราสุขสบายปลอดจากโรคร้าย  เราห้ามทำเป็นลืมอัลเลาะฮ์หรือหลีกเลี่ยงในการบนบานได้สัญญาไว้กับพระองค์เป็นอันขาด  เพราะถ้าหากพระองค์ให้เรากลับมาเป็นโรคร้ายและได้รับบะลาอีกครั้ง  ผู้บนบานอาจจะหมดสิทธิ์ยืนอุทรณ์ต่ออัลเลาะฮ์ก็เป็นได้  วัลอิยาซุบิลลาฮ์ 

เพราะฉะนั้น  การบนบาน  อิมามอัชชาฟิอีย์จึงไม่สนับสนุนและถือว่าสิ่งมักโระฮ์(ไม่บังควรกระทำ) เพราะเป็นการผูกมัดแก่ตนเองระหว่างเขากับอัลเลาะฮ์ทั้งที่พระองค์มิได้สั่งใช้กระทำการผูกมัด  แต่เมื่อสัญญาบนบานกับพระองค์แล้ว  บทบัญญัติศาสนาในเรื่องการบนบานก็ถูกกำหนดขึ้นมาทันที 

หลักฐานในเรื่องการบนบานและจำเป็นต้องกระทำตามสิ่งที่บนบานนั้น   คือ  :

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถึงบรรดาผู้มีคุณธรรมว่า

يُوفُونَ بِالنَّذْرِ وَيَخَافُونَ يَوْماً كَانَ شَرُّهُ مُسْتَطِيراً

"(ที่พวกเขาได้รับการตอบแทนก็เพราะ) พวกเขาได้ทำตามการบนบานอย่างครบถ้วน (ไม่บิดพริ้ว)  และพวกเขากลัววันหนึ่ง  ซึ่งโทษทัณฑ์ของมันโบยบินอยู่ทั่วไป (หลบหนีไปใหนไม่พ้น  วันนั้นคือวันกิยามะฮ์)"  อัลอันซาน 56

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَلْيُوفُوا نُذُورَهُمْ

"และพวกเขาต้องทำตามการบนบานให้ครบถ้วน"  อัลฮัจญฺ 29

ท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวตำหนิผู้ที่บนบานแล้วบิดพริ้วความว่า

إِنَّ بَعْدَكُمْ قَوْماً يَخُوْنُونَ وَلاَ يُؤْتَمَنُوْنَ وَيَشْهَدُوْنَ وَلاَ يُسْتَشْهَدُوْنَ وَيَنْذُرُوْنَ وَلاَ يَفَوْنَ وَيَظْهَرُ فِيْهِمْ السِّمَنُ

"แท้จริงหลังจาก(ยุคสมัย)พวกท่าน  จะมีกลุ่มชนหนึ่ง  ซึ่งพวกเขาจะบิดพริ้วและไม่ได้รับการไว้เนื้อเชื่อใจ  พวกเขาจะเป็นพยานโดยมิได้ถูกขอให้มาเป็นพยายาน   พวกเขาจะทำการบนบานโดยพวกเขาไม่ทำให้ครบสมบูรณ์(กับบนบานนั้น)  และในหมู่พวกเขาจะปรากฏการอวดกันในเรื่องดุนยา"  รายงานโดยบุคอรีย์ (2508) และมุสลิม (2535)

การบนบานมีสองประเภท

1. การบนบานแบบ  اللََجَاجُ (อัลละญาจญฺ)  คือการบนบานด้วยกับสิ่งที่เขาไม่ปรารถนา

2. การบนบานแบบ التَّبَرُّرُ (อัตตะบัรรุร)  คือการบนบานด้วยกับสิ่งที่เขาปรารถนาชอบที่จะกระทำ

อธิบายรายละเอียด

หนึ่ง : การบนบาน اللََجَاجُ (อัลละญาจญฺ) นั้นอยู่ในหลักการเดียวกับการสาบานในการยับยั้ง , การส่งเสริม , ให้บรรลุถึงที่บอกเล่า ,  ซึ่งดังตัวอย่างต่อไปนี้ :

(1) การยับยั้ง  กล่าวคือ  เขาได้ยับยั้งตนเองจากสิ่งหนึ่ง  เช่นเขากล่าวว่า  หากฉันพูดกับคนคนหนึ่ง  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉัน  ทำเช่นนั้นเช่นนี้ , หรือยับยั้งผู้อื่น  เช่นเขากล่าวว่า  หากคนนั้นคนนี้ได้กระทำเช่นนั้นเช่นนี้  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉันต้องทำเช่นนั้นเช่นนี้

(2) การกระตุ้นส่งเสริม  กล่าวคือ  การได้กระตุ้นส่งเสริมตนเอง  เช่นเขากล่าวว่า  หากฉันไม่เข้าไปในบ้าน  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉัน  ทำเช่นนั้นเช่นนี้ , หรือส่งเสริมผู้อื่น  เช่นเขากล่าวว่า  หากคนนั้นคนนี้ไม่กระทำเช่นนั้นเช่นนี้   ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉัน  ทำเช่นนั้นเช่นนี้

(3) ให้บรรลุถึงสิ่งที่บอกเล่า  เช่นเขากล่าวว่า  หากเรื่องนี้ไม่เป็นไปอย่างที่ท่านได้พูดหรือไม่เป็นไปอย่างที่เขาได้พูด  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉัน  ทำเช่นนั้นเช่นนี้

ฮุกุ่มของการบนบานประเภทนี้  คือให้เลือกเอาระหว่างการกระทำสิ่งที่บนบานไว้หรือไม่กระทำแต่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮ์(ค่าปรับ)ตามทัศนะที่มีน้ำหนัก

ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

كَفّارَةُ النَّذْرِ كَفَّارَةُ يَمِيْنٍ

"ค่าปรับของการ(ผิด)บนบานนั้น  คือค่าปรับของการ(ผิด)สาบาน"  รายงานโดยมุสลิม (1645)

ท่านอิมามอิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์  กล่าวว่า  "ไม่มีกัฟฟาเราะฮ์(เสียค่าปรับ)ในการบนบานแบบ(อัตตะบัรรุร)อย่างเด็ดขาด  ดังนั้นจึงต้องเจาะจงตีความฮะดิษนี้ในเรื่องของการบนบานแบบอัลละญาจญฺเพราะมีซอฮาบะฮ์มากมายที่ได้กล่าวเช่นนั้นโดยไม่มีผู้ใดให้การขัดแย้ง"  หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 4/406 ตีพิมพ์ที่มักตะบะฮ์อัษษะกอฟะฮ์อัดดีนียะฮ์

ท่านอิมามค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  ได้กล่าวว่า  "จุดมุ่งหมายของฮะดิษนี้  อยู่ในเรื่องการบนบานแบบอัลละญาจญฺ   ซึ่งได้รายงานทัศนะดังกล่าวนี้  จากท่านอุมัร , ท่านหญิงอาอิชะฮ์ , ท่านอิบนุอับบาส , ท่านอิบนุอุมัร , ท่านหญิงฮัฟเซาะห์ , ท่านนางอุมมุซะละมะฮ์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ้ม)"  หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/242

การเสียกัฟฟาเราะฮ์  ก็คือให้เลือกกระทำดังต่อไปนี้ 

1. การปล่อยทาสผู้มีความศรัทธา

2. การให้อาหารหนึ่งมุด(ประมาณ 600 กรัม) แก่คนยากจนอนาถา 10 คน

3. การบริจาคเสื้อผ้าที่ใช้สวมใส่ตามปกติแก่คนอนาถา 10 คน

ดังนั้น  หากผู้ผิดบนบานไม่มีความสามารถจากอันใดสิ่งดังกล่าวทั้งหมด  ก็ให้ถือศีลอด 3 วัน  ไม่ว่าจะถือศีลอดติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

สอง : การบนบานแบบ التَّبَرُّرُ (อัตตะบัรรุร)  คือการบนบานด้วยกับสิ่งที่เขาปรารถนาชอบที่จะกระทำเพื่อสร้างใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

(1)  การบนบานที่ไม่ได้วางข้อแม้กับสิ่งใด  เช่นเขากล่าวว่า  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์  จำเป็นบนฉันทำการถือศีลอด , ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉันทำการบริจาคทรัพย์สิน  เป็นต้น

(2) การบนบานในสิ่งดีงามโดยมีการวางข้อแม้   เช่นเขากล่าวว่า  หากอัลเลาะฮ์ให้ฉันหายป่วย  หรือทำให้คนป่วยของฉันหาย  หรือหากอัลเลาะฮ์ให้ฉันสอบผ่านหรือหากอัลเลาะฮ์ให้ฉันพ้นภัยจากบะลอที่ประสบอยู่ ,  ขอยืนยันต่อพระองค์ว่า  จำเป็นบนฉันต้องทำการถือศีลอด  ทำละหมาดสุนัต  ทำอุมเราะฮ์  หรือทำการบริจาคทรัพย์สิน  เป็นต้น

ฮุกุ่มของการบนบานประเภทนี้   ท่านอิมามอัลบาญูรีย์กล่าวว่า  "จำเป็นวายิบบนเขาต้องกระทำสิ่งที่บนบานเอาไว้  แต่อนุญาตให้ประวิงเวลาออกไปได้ถ้าหากเขามิได้เจาะจงเวลาที่เฉพาะ" หนังสือฮาชียะฮ์อัลบาญูรีย์ 2/330  หมายถึง  การบนบานแบบ อัตตะบัรรุรประเภทที่หนึ่งนั้น  เช่น  บนบานว่า  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉันทำการถือศีลอด  ก็ให้จำเป็นบนเขาต้องกระทำตามนั้นแต่ประวิงเวลาให้กระทำในช่วงเวลาที่สะดวกสำหรับผู้บนบาน  แต่สุนัตให้รีบกระทำ

แต่การบนบานแบบตะบัรรุรในประเภทที่สอง  เช่น  บนบานว่า  หากอัลเลาะฮ์ให้ฉันหายป่วยหรือให้พ้นจากโรคร้าย  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  จำเป็นบนฉันทำการถือศีลอดหรือทำอุมเราะฮ์  เป็นต้น  ก็ถือว่าจะเป็นต้องรีบกระทำเมื่อข้อแม้ได้เกิดขึ้น  คือเมื่ออัลเลาะฮ์ให้หายป่วยหรือทรงให้พ้นจากบะลอ

ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

مَنْ نَذَرَ أَنْ يُطِيْعَ اللهَ فَلْيُطِعْهُ

"ผู้ใดที่บนบานจะทำการฏออัตต่ออัลเลาะฮ์  ดังนั้นเขาจงกระทำการฏออัตต่อพระองค์เถิด"  รายงานโดยบุคอรีย์ (6696)

ท่านอิมามอิบนุฮะญัร  กล่าวว่า  "จำเป็นต่อผู้ทำการบนบานต้องกระทำสิ่งที่เขาได้บนบานไว้เมื่อข้อแม้ที่ตั้งขึ้นนั้นได้เกิดขึ้น  เพราะมีฮะดิษบุคอรีย์รายงานว่า  ""ผู้ใดที่บนบานจะทำการฏออัตต่ออัลเลาะฮ์  ดังนั้นเขาจงกระทำการฏออัตต่อพระองค์เถิด"  ซึ่งถ้อยคำชัดเจนของอิมามอันนะวาวีย์นั้น  จำเป็นให้ผู้บนบานต้องกระทำโดยรีบด่วนด้วยการปฏิบัติสิ่งที่บนบานหลังจากที่เกิดข้อแม้ที่ได้ตั้งขึ้น"  ตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 4/409  ตีพิมพ์ที่มักตะบะฮ์อัษษะกอฟะฮ์อัดดีนียะฮ์

ท่านอิมามอิบนุฮะญัร  อัลฮัยตะมีย์  กล่าวว่า  "ถ้าเขากล่าว(บนบาน)ว่า  หากอัลเลาะฮ์ให้หายกับ(ญาติ)ผู้ป่วยของฉัน  ดังนั้นขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  บนฉันจะทำฮัจญ์  แล้วพระองค์ก็ทรงทำให้หาย   ดังนั้นจึงจำเป็นบนเขาต้องทำฮัจญ์  และในการวายิบต้องทำฮัจญ์นั้น  จะไม่ถูกพิจารณาว่าจะมีต้องมีเสบียงและพาหนะ  แต่การมีทั้งสองนั้นจะถูกพิจารณาในเรื่องการปฏิบัติฮัจญ์หรือไม่?  ซึ่งทัศนะที่ชัดเจนของมัซฮับคือ  จำเป็นต้องพิจารณา"  ตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 4/409   หมายถึง  เมื่อเงื่อนไขในการบนบานเกิดขึ้น  วายิบบนเขาต้องทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์แม้ว่าจะไม่มีเสบียงหรือพาหนะก็ตาม   แต่เมื่อถึงเวลาจะไปทำฮัจญ์ต้องก็ต้องมีเสบียงและพาหนะหรือมะห์รอมสำหรับสตรีมุสลิมะฮ์

ดังนั้น  เมื่อวายิบบนเขาต้องทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์บนบาน  แต่ไม่มีความสามารถไปได้  เพราะเสบียงหรือค่าใช้จ่ายยังไม่เพียงพอ  หรือไม่มีมะห์รอมร่วมเดินทางไปด้วย  หรือไม่มีมุสลิมะฮ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับนาง  ก็ให้ผู้บนบานทำการกอฏอชดใช้ฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์บนบานในปีต่อไปเมื่ออัลเลาะฮ์ให้ผู้บนบานความสะดวกจริง  แต่ทั้งหมดนี้หากเขาไม่มีความสามารถไปทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์บนบานได้จริง ๆ  ก็ให้ว่าจ้างผู้อื่นไปทำแทน 

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ มุคลิศ

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 159
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธ.ค. 06, 2008, 09:10 PM »
0

การผิดสาบานมัซฮับอื่นมีว่าอย่างไรบ้าง

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธ.ค. 07, 2008, 02:04 AM »
0
นาซาง่ายๆพอ ยากๆเดี๋ยวทำไม่ได้ล่ะเสร็จเลย
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธ.ค. 07, 2008, 03:33 AM »
0
การผิดสาบานมัซฮับอื่นมีว่าอย่างไรบ้าง

ทัศนะการบนบานแบบพอสังเขปมีดังนี้

ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า

كَفّارَةُ النَّذْرِ كَفَّارَةُ يَمِيْنٍ

"ค่าปรับของการ(ผิด)บนบานนั้น  คือค่าปรับของการ(ผิด)สาบาน"  รายงานโดยมุสลิม (1645)

ท่านอิมามอิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์  กล่าวว่า  "ไม่มีกัฟฟาเราะฮ์(เสียค่าปรับ)ในการบนบานแบบ(อัตตะบัรรุร)อย่างเด็ดขาด  ดังนั้นจึงต้องเจาะจงตีความฮะดิษนี้ในเรื่องของการบนบานแบบอัลละญาจญฺเพราะมีซอฮาบะฮ์มากมายที่ได้กล่าวเช่นนั้นโดยไม่มีผู้ใดให้การขัดแย้ง"  หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 4/406 ตีพิมพ์ที่มักตะบะฮ์อัษษะกอฟะฮ์อัดดีนียะฮ์

ท่านอิมามค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  ได้กล่าวว่า  "จุดมุ่งหมายของฮะดิษนี้  อยู่ในเรื่องการบนบานแบบอัลละญาจญฺ   ซึ่งได้รายงานทัศนะดังกล่าวนี้  จากท่านอุมัร , ท่านหญิงอาอิชะฮ์ , ท่านอิบนุอับบาส , ท่านอิบนุอุมัร , ท่านหญิงฮัฟเซาะห์ , ท่านนางอุมมุซะละมะฮ์ (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ้ม)"  หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ 6/242


ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้อธิบายฮะดิษมุสลิมดังกล่าวไว้ว่า

‏اِخْتَلَفَ الْعُلَمَاء فِي الْمُرَاد بِهِ , فَحَمَلَهُ جُمْهُور أَصْحَابنَا عَلَى نَذْر اللِّجَاج , وَهُوَ أَنْ يَقُول إِنْسَان يُرِيد الِامْتِنَاع مِنْ كَلَام زَيْد مَثَلًا : إِنْ كَلَّمْت زَيْدًا مَثَلًا فَلِلَّهِ عَلَيَّ حَجَّة أَوْ غَيْرهَا , فَيُكَلِّمهُ فَهُوَ بِالْخِيَارِ بَيْن كَفَّارَة يَمِين وَبَيْن مَا اِلْتَزَمَهُ , هَذَا هُوَ الصَّحِيح فِي مَذْهَبنَا , وَحَمَلَهُ مَالِك وَكَثِيرُونَ أَوْ الْأَكْثَرُونَ عَلَى النَّذْر الْمُطْلَق , كَقَوْلِهِ : عَلَيَّ نَذْر , وَحَمَلَهُ أَحْمَد وَبَعْض أَصْحَابنَا عَلَى نَذْر الْمَعْصِيَة , كَمِنْ نَذَرَ أَنْ يَشْرَب الْخَمْر , وَحَمَلَهُ جَمَاعَة مِنْ فُقَهَاء أَصْحَاب الْحَدِيث عَلَى جَمِيع أَنْوَاع النَّذْر , وَقَالُوا : هُوَ مُخَيَّر فِي جَمِيع النُّذُورَات بَيْن الْوَفَاء بِمَا اِلْتَزَمَ , وَبَيْن كَفَّارَة يَمِين . وَاللَّهُ أَعْلَم

"บรรดาอุลามาอฺได้ขัดแย้งในจุดมุ่งหมายของฮะดิษ  ซึ่งอุลามาอ์มัซฮับของเราส่วนมากได้ตีความฮะดิษนี้อยู่ในเรื่องการบนบานแบบอัลละญาจญฺ  คือคนหนึ่งได้กล่าวเพื่อต้องการหักห้าม(ตนเอง)จากการพูดกับเซด  เป็นต้น  ว่า  "ถ้าหากฉันได้พูดกับเซต  ขอยืนยันต่ออัลเลาะฮ์ว่า  บนฉันต้องทำฮัจญ์หรืออื่นจากนั้น  แล้วเขาก็ทำการคุยกับเซต  ก็ให้เขาทำการเลือกกระทำการเสียค่าปรับ(กัฟฟาเราะฮ์)และกระทำตามสิ่งที่เขาได้บนบาน  นี้ทัศนะที่ถูกต้องตามมัซฮับของเรา(มัซฮับชาฟิอีย์) , และอิมามมาลิก  และอุลามาอฺส่วนมาก หรืออุลามาอ์ที่มากกว่า  ได้ตีความฮะดิษนี้ว่าเกี่ยวกับการบนบานแบบธรรมดา (คือนะซัรที่ไม่ได้วางข้อแม้แต่ประการใด) เช่นเขากล่าวว่า  จำเป็นบนฉันต้องทำการบนบาน(คือบนบานอะไรก็ได้สักอย่างนึงซึ่งหากเขาไม่ทำการบนบานก็ให้เสียค่าปรับ) , ส่วนท่านอิมามอะห์มัดและอุลามาอ์บางส่วนของเรา  ตีความฮะดิษว่าเกี่ยวกับการบนบานสิ่งที่ฝ่าฝืน  เช่นเขาบนบานว่าจะดื่มเหล้า (แต่ศาสนาห้ามดื่มเหล้าจึงทำการกระทำตามที่บนบานไม่ได้ก็ให้เสียค่าปรับ)  และส่วนหนึ่งจากอุละมาอฺฟิกห์ที่เป็นนักฮะดิษ  ได้ตีความฮะดิษนี้ว่าเกี่ยวกับประเภทของนะซัรทั้งหมด  ซึ่งพวกเขากล่าวว่า  ให้ผู้ทำการบนบาน(ไม่ว่าจะบนบานประเภทใดก็ตาม)ให้เลือกในทุกประเภทจากการบนบานนั้นระหว่างการทำตามที่บนบานไว้ให้ครบถ้วนกับการเสียค่าปรับ(กัฟฟาเราะฮ์)แบบสาบาน" ชัรหฺซอฮิห์มุสลิม

การเสียกัฟฟาเราะฮ์  ก็คือให้เลือกกระทำดังต่อไปนี้

1. การปล่อยทาสผู้มีความศรัทธา

2. การให้อาหารหนึ่งมุด(ประมาณ 600 กรัม) แก่คนยากจนอนาถา 10 คน

3. การบริจาคเสื้อผ้าที่ใช้สวมใส่ตามปกติแก่คนอนาถา 10 คน

ดังนั้น  หากผู้ผิดบนบานไม่มีความสามารถจากอันใดสิ่งดังกล่าวทั้งหมด  ก็ให้ถือศีลอด 3 วัน  ไม่ว่าจะถือศีลอดติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธ.ค. 07, 2008, 04:19 AM »
0
นาซาง่ายๆพอ ยากๆเดี๋ยวทำไม่ได้ล่ะเสร็จเลย

การบนบานด้วยการสัญญากับอัลเลาะฮ์  แล้วอยู่ ๆ มายกเลิกสัญญากับอัลเลาะฮ์นั้น  มิใช่จะทำกันตามใจตนเอง  เพราะการจะบนบานนั้นต้องคิดทบทวนไตร่ตรวงเสียก่อนให้จงหนักแล้วทำการบนบานสร้างข้อผูกมัดทางสัญญาระหว่างเรากับอัลเลาะฮ์  ดังนั้นเมื่อเราสัญญาบนบานก็ต้องบนบานในเรื่องที่สามารถกระทำได้สะดวก ไม่งั้นเราต้องมานั่งเศร้าตรมเพราะบนบานแล้วทำไม่ได้  ฉะนั้นการสัญญากับมนุษย์ก็ต้องรักษาไว้ซึ่งสัญญา แต่การสัญญากับอัลเลาะฮ์นั้นย่อมยิ่งใหญ่กว่า 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธ.ค. 07, 2008, 05:46 AM »
0
ครูที่ดารุลมุสตอฟาสอนผมว่า

หากเรานะซัรแล้ว จากผลบุญซุนนะฮฺจะกลายเป็นผลบุญวายิบ ซึ่งจะได้เป็นผลเป็น70เท่าของปรกติ

ผมอยากถามบังว่าที่ว่าได้70เท่านั้นมีหลักฐานอย่างไร(ตอนนั้นผมไม่ได้ถามครูนะครับ)หรือจากกิตาบฟิกเล่มไหน
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธ.ค. 07, 2008, 08:57 PM »
0
ครูที่ดารุลมุสตอฟาสอนผมว่า

หากเรานะซัรแล้ว จากผลบุญซุนนะฮฺจะกลายเป็นผลบุญวายิบ ซึ่งจะได้เป็นผลเป็น70เท่าของปรกติ

ผมอยากถามบังว่าที่ว่าได้70เท่านั้นมีหลักฐานอย่างไร(ตอนนั้นผมไม่ได้ถามครูนะครับ)หรือจากกิตาบฟิกเล่มไหน

การนะซัร(บนบาน)แบบตะบัรรุร  ก็คือการตั้งใจที่จะทำสิ่งที่ตออัตหรืออิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ที่จำเป็น แต่การเจาะจงที่ว่าได้ผลบุญ 70 เท่านั้น ด้วยความรู้อันน้อยนิดและไม่ค่อยได้ค้นคว้า ยังจึงยังไม่พบหลักฐานเจาะจงดังกล่าว  แต่พบหลักฐานตามนัยยะที่ครอบคลุมยิ่งกว่านั้น  คือได้ถึง 700 เท่า หรือมากกว่านั้น

รายงานจากท่านอิบนุอับบาส  ความว่า

‏عَنْ رَسُولِ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏فِيمَا يَرْوِي عَنْ رَبِّهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى قَالَ ‏ ‏إِنَّ اللَّهَ كَتَبَ الْحَسَنَاتِ وَالسَّيِّئَاتِ ثُمَّ بَيَّنَ ذَلِكَ فَمَنْ هَمَّ بِحَسَنَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا كَتَبَهَا اللَّهُ عِنْدَهُ حَسَنَةً كَامِلَةً وَإِنْ هَمَّ بِهَا فَعَمِلَهَا كَتَبَهَا اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ عِنْدَهُ عَشْرَ حَسَنَاتٍ إِلَى سَبْعِ مِائَةِ ضِعْفٍ إِلَى أَضْعَافٍ كَثِيرَةٍ وَإِنْ هَمَّ بِسَيِّئَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا كَتَبَهَا اللَّهُ عِنْدَهُ حَسَنَةً كَامِلَةً وَإِنْ هَمَّ بِهَا فَعَمِلَهَا كَتَبَهَا اللَّهُ سَيِّئَةً وَاحِدَةً

"จากท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ในสิ่งที่ท่านได้รายงานจาก พระผู้อภิบาลของท่าน  ซึ่งท่านว่า  แท้จริงอัลเลาะฮ์จะบันทึกบรรดาความดีงามและความชั่ว  หลังจากนันท่านนบีได้อธิบายสิ่งดังกล่าวว่า  ดังนั้นผู้ใดตั้งใจกระทำหนึ่งความดี  แล้วเขายังไม่ได้ทำ  อัลเลาะฮ์ก็จะบันทึกความดีงาม ณ ที่พระองค์  ถึงหนึ่งความดีงามที่สมบูรณ์  และหากเขาตั้งใจกระทำความดี  แล้วเขาก็ได้ลงมือกระทำมัน  อัลเลาะฮ์ก็จะบันทึกความดี ณ ที่พระองค์แก่เขาถึง 10 ความดีจนถึง 700 เท่าและยังทบเท่าทวีคูณอีกมากมาย  และหากเขาตั้งใจกระทำความชั่ว  แล้วเขามิได้ลงมือกระทำ  อัลเลาะฮ์ก็จะบันทึกความดีงาม ณ ที่พระองค์ถึงหนึ่งความดีงามที่สมบูรณ์  และหากเขาตั้งใจกระทำความชั่ว  แล้วเขาก็ได้ลงมือทำ  อัลเลาะฮ์ก็จะบันทึกผลกรรมชั่วเพียงแค่หนึ่งความชั่วเท่านั้น" รายงานโดยบุคอรี (6010) และมุสลิม (187)

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายว่า

‏فَفِيهِ تَصْرِيح بِالْمَذْهَبِ الصَّحِيح الْمُخْتَار عِنْد الْعُلَمَاء أَنَّ التَّضْعِيف لَا يَقِف عَلَى سَبْعمِائَةِ ضِعْف . وَحَكَى أَبُو الْحَسَن أَقْضَى الْقُضَاة الْمَاوَرْدِيّ عَنْ بَعْض الْعُلَمَاء أَنَّ التَّضْعِيف لَا يَتَجَاوَز سَبْعمِائَةِ ضِعْف , وَهُوَ غَلَط لِهَذَا الْحَدِيث . وَاَللَّه أَعْلَم

"ในฮะดิษนี้  บ่งชัดเจนด้วยมัซฮับที่ถูกต้องและถูกเลือกเฟ้นตามทัศนะของอุลามาอฺแล้วว่า  การทบเท่าทวีคูณมิได้หยุดเพียงแต่ 700 เท่าเท่านั้น  และท่านอะบูลอะซัน อัลมาวัรดี  ได้เล่ารายงานจากอุลามาอฺบางส่วนว่า  การทบเท่าทวีคูณนั้นไม่เกิน 700 เท่า  ถือว่าเป็นทัศนะที่ผิดพลาดเพราะมีฮะดิษนี้มายืนยันแล้ว  วัลลอฮุอะลัม" ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 07, 2008, 09:00 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ มัยซูน

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 280
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2008, 10:52 AM »
0
"...ดังนั้น  เมื่อวายิบบนเขาต้องทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์บนบาน  แต่ไม่มีความสามารถไปได้  เพราะเสบียงหรือค่าใช้จ่ายยังไม่เพียงพอ  หรือไม่มีมะห์รอมร่วมเดินทางไปด้วย  หรือไม่มีมุสลิมะฮ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับนาง  ก็ให้ผู้บนบานทำการกอฏอชดใช้ฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์บนบานในปีต่อไปเมื่ออัลเลาะฮ์ให้ผู้บนบานความสะดวกจริง  แต่ทั้งหมดนี้หากเขาไม่มีความสามารถไปทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์บนบานได้จริง ๆ  ก็ให้ว่าจ้างผู้อื่นไปทำแทน  ...."

จากบทความข้างบน แสดงว่า "เราไม่มีมะห์รอม แต่เรามีเพื่อนมุสลีมะห์เดินทางไปด้วย ก็สามารถไปทำอุมเราะห์เพื่อแก้บนได้ ??? "

ขอถามต่อเลยค่ะว่า เพื่อนมุสลีมะห์กี่คนคะถึงจะไม่ฮารอม เพราะบางที่อ่านเจอว่า 2 คน แต่ในที่นี้ไม่ได้ระบุ ก็เลยไม่แน่ใจค่ะ

จากเหตุแห่งปัญหาสรุปว่า zeezah ไปทำอุมเราะห์เพื่อแก้บนได้ โดยมีเพื่อนมุสลีมะห์ไปด้วยเป็นจำนวน.........คน (จากคำถามในกระทู้ zeezah เลือกใช้วิธีนี้ค่ะ (ไม่เลือกวิธีที่ต้องจ้างคนอื่นค่ะ)
ใช้สองมือหนึ่งหัวใจบอกเล่ากับพระองค์ก้มหน้าลง..แล้วขอความเมตตา

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2008, 12:16 PM »
0
ถ้าหลายคน แสดงว่า3ขึ้นไป
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ มุคลิศ

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 159
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธ.ค. 09, 2008, 05:04 PM »
0
จากเหตุแห่งปัญหาสรุปว่า zeezah ไปทำอุมเราะห์เพื่อแก้บนได้ โดยมีเพื่อนมุสลีมะห์ไปด้วยเป็นจำนวน.........คน (จากคำถามในกระทู้ zeezah เลือกใช้วิธีนี้ค่ะ (ไม่เลือกวิธีที่ต้องจ้างคนอื่นค่ะ)

ผมเห็นด้วยกับกรณีของคุณ zeezah ครับที่ไม่เลือกวิธีไปจ้างคนอื่นเพราะมันไม่คุ้มเลย  เนื่องว่าจากเราไปด้วยตนเองจะได้กำไรมหาศาลได้ไปละหมาดฟัรดู 5 เวลาและละหมาดสุนัตต่างๆ และทำอิบาดะฮ์ต่างๆ มากมายที่มัสยิดฮะรอมซึ่งได้รับผลบุญอย่างท่วมท้น  ขออัลเลาะฮ์ทรงประทานความสะดวกในการบนบานนี้แก่คุณ zeezah ครับ  และผมคิดว่าถ้าหากไปทำอุมเราะฮ์พร้อมกับฮัจญ์เลยนั้นก็จะดีไม่น้อยเพราะฟัรดูฮัจญ์และอุมเราะฮ์(บนบาน)ก็จะหลุดพ้นจากเราไปด้วยโดยปริยายยิ่งนกครั้งเดียวได้สองตัวเลย   mycool:

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธ.ค. 10, 2008, 01:55 AM »
0
ขอถามต่อเลยค่ะว่า เพื่อนมุสลีมะห์กี่คนคะถึงจะไม่ฮารอม เพราะบางที่อ่านเจอว่า 2 คน แต่ในที่นี้ไม่ได้ระบุ ก็เลยไม่แน่ใจค่ะ

จากเหตุแห่งปัญหาสรุปว่า zeezah ไปทำอุมเราะห์เพื่อแก้บนได้ โดยมีเพื่อนมุสลีมะห์ไปด้วยเป็นจำนวน.........คน (จากคำถามในกระทู้ zeezah เลือกใช้วิธีนี้ค่ะ (ไม่เลือกวิธีที่ต้องจ้างคนอื่นค่ะ)


การทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์ที่วายิบนั้น  หากมีเพื่อนมุสลิมะฮ์ที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้  เป็นที่รักจักว่านักนวลสงวนตัว  และเป็นคนมีศาสนา  ดังนั้นหากมีมุสลิมะฮ์ไปเป็นเพื่อนเพียงคนเดียว ก็อนุญาตแล้วครับ  ถ้ามีเพื่อนมุสลิมไปด้วยสองคนก็ยิ่งดี  แต่ถ้าหากมีเพื่อนมุสลิมะฮ์ไปด้วยสามคนยิ่งดีและจำเป็นต้องไปทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์ที่วายิบ  ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเดินไปโดยเดินทางร่วมกับหมู่คณะที่ไปทำฮัจญ์อุมเราะฮ์  เช่น  ไปกับคณะแซะฮ์คนใดคนหนึ่งก็ได้ (หลักการดังกล่าวอ้างอิงจาก หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ 2/232 , หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ 2/12 , หนังสืออิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 2/442-443 , หนังสือบุชร็อลกะรีม 2/88)

ส่วนการออกไปทำฮัจญ์ที่วายิบนั้น  หากเดินทางไปคนเดียวก็อนุญาตได้แต่มีเงื่อนไขต้องมั่นใจว่ามีความปลอดภัย  ซึ่งมุสลิมะฮ์ชาวไทยคงไปไม่ได้หรอกเพราะคงไม่ปลอดภัยและกงศุลซาอุฯ เขาไม่อนุญาตให้มุสลิมะฮ์เดินทางคนเดียวนอกจากมีมะห์รอมหรือสามีหรือเพื่อนมุสลิมะฮ์ที่เป็นหมู่คณะ

และผมก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่คุณ zeezah ไม่เลือกวิธีจ้างคนอื่นไปทำ เพราะเราไปทำเองได้ผลบุญมากมายนับไม่ถ้วนดังที่ฮะดิษข้างต้นที่ผมได้นำเสนอไป  ทางที่ดีก็คือไปในช่วงทำฮัจญ์เพื่อจะได้ทำอุมเราะฮ์นะซัน(บนบาน)ไปด้วย ซึ่งการทำอุมเราะฮ์บนบานดังกล่าวนั้น ไม่ต้องไปทำอุมเราะฮ์ในครั้งต่อไปแล้ว ถือว่าพ้นวายิบแล้ว  คือได้ทำอุมเราะฮ์บนบานและอุมเราะฮ์วายิบไปในตัวเลย

ก็ขอต่ออัลเลาะฮ์ให้คุณ zeezah มีความสะดวกในการทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์ด้วยเถิด ยาร็อบ..

วัสลาม
   
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธ.ค. 10, 2008, 07:16 AM »
0
ครูที่ดารุลมุสตอฟาสอนผมว่า

หากเรานะซัรแล้ว จากผลบุญซุนนะฮฺจะกลายเป็นผลบุญวายิบ ซึ่งจะได้เป็นผลเป็น70เท่าของปรกติ

ผมอยากถามบังว่าที่ว่าได้70เท่านั้นมีหลักฐานอย่างไร(ตอนนั้นผมไม่ได้ถามครูนะครับ)หรือจากกิตาบฟิกเล่มไหน

แต่พบหลักฐานตามนัยยะที่ครอบคลุมยิ่งกว่านั้น  คือได้ถึง 700 เท่า หรือมากกว่านั้น




ครับบัง
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ มัยซูน

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 280
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธ.ค. 10, 2008, 01:38 PM »
0
"..ไปทำอุมเราะฮ์พร้อมกับฮัจญ์เลยนั้นก็จะดีไม่น้อยเพราะฟัรดูฮัจญ์และอุมเราะฮ์(บนบาน)ก็จะหลุดพ้นจากเราไปด้วยโดยปริยาย.."

วายิบฮัจย์(ฟัรดู) ไปทำมาแล้วค่ะ ตอนนี้เหลือแต่ วายิบทำอุมเราะห์ส่วนที่บนบานเอาไว้เท่านั้นค่ะ




ใช้สองมือหนึ่งหัวใจบอกเล่ากับพระองค์ก้มหน้าลง..แล้วขอความเมตตา

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธ.ค. 10, 2008, 02:05 PM »
0
แสดงว่าเป็นโต๊ะฮาญีแล้วสิ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: เรื่องการบนบาน(นะซัร)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธ.ค. 10, 2008, 02:36 PM »
0
"..ไปทำอุมเราะฮ์พร้อมกับฮัจญ์เลยนั้นก็จะดีไม่น้อยเพราะฟัรดูฮัจญ์และอุมเราะฮ์(บนบาน)ก็จะหลุดพ้นจากเราไปด้วยโดยปริยาย.."

วายิบฮัจย์(ฟัรดู) ไปทำมาแล้วค่ะ ตอนนี้เหลือแต่ วายิบทำอุมเราะห์ส่วนที่บนบานเอาไว้เท่านั้นค่ะ

อัลฮัมดุลิลลาฮ์  เราขอต่ออัลเลาะฮ์ให้ท่านมีความสะดวกในการทำอิบาดะฮ์นะซัรนี้ด้วยเถิด ยาร็อบ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged