ปราชญ์ในยุคสะลัฟส่วนน้อยที่อยู่ในแนวทางบิดอะฮ์น่ะซิ เพราะปราชญ์สะลัฟส่วนมากนั้นอยู่ในแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์
ยุคสะลัฟมีพวกบิดอะฮ์หลายกลุ่ม เช่น พวกมั๊วะตะซิละฮ์, พวกค่อวาริจญ์, พวกญะฮ์มียะฮ์, พวกกัรรอมียะฮ์, พวกมุญัสสิมะฮ์(เชื่ออัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง), พวกมุชับบิฮะฮ์(พวกยืนยันความคล้ายคลึงระหว่างคุณลักษณะอัลเลาะฮ์และมัคโลค), เป็นต้น เมื่อศึกษาอะกีดะฮ์วะฮาบีย์ ก็จะมีอะกีดะฮ์หลายอย่างที่ตรงกับพวกบิดอะฮ์ทั้งหลายเหล่านี้ ส่วนจะมาบอกว่าแนวทางบิดอะฮ์ทั้งหลายเหล่านี้ ก็มีส่วนที่ถูกต้องเหมือนกัน อันนี้เราก็ต้องมาพิสูจน์กันไปตามหลักวิชาการ
ด้วยเหตุนี้ คำว่า "สะลัฟ" จึงต้องมีคำว่า "ศอลิห์" เข้ามาพ่วงท้าย คำว่า "ศอลิห์" ก็หมายถึง "ผู้มีคุณธรรมอยู่ในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์" สะลัฟในแนวทางนี้ ถูกเรียกในนาม "สะลัฟศอลิห์" หรือ "อัสสะละฟุศศอลิห์" السَّلَفُ الصَّالِحُ เพื่อแยกแยะระหว่างสะลัฟส่วนใหญ่ที่อยู่ในแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กับสะลัฟส่วนน้อยที่ไม่ได้อยู่ในแนวทางนั่นเอง
เช่น การให้ความหมาย "อิสติวาอฺ" ว่า ประทับนั่ง หรือ สถิต นั้น ไม่ได้อยู่ในแนวทางของอัสสะละฟุศศอลิห์ ดังนั้นถ้าหากวะฮาบีย์บางคนบอกว่า "อิสติวาอฺ" คือ ประทับนั่งหรือสถิต เป็นอะกีดะฮ์สะลัฟ เราต้องถามว่า สะลัฟคนใหน ชื่ออะไร ที่ให้ความหมายอย่างนี้ ไม่งั้นเราถูกวะฮาบีย์ต้มหมดแหละครับ
ดังนั้นถ้าหากวะฮาบีย์บอกว่า เรามีอะกีดะฮ์อย่างนั้นอย่างนี้ตามสะลัฟ เราต้องถามว่า สะลัฟแบบใหน? หรือบอกว่ามีแนวทางอะฮ์ลุลฮะดีษ เราต้องถามว่า อะฮ์ลุลฮะดีษกลุ่มใหน? ไม่ใช่ว่า "สะลัฟ" แล้วจะหรูกันไปหมด เราต้องตรวจสอบกันก่อนน่ะครับ
อีกอย่างหนึ่งที่ผมมักพบเห็นจากวะฮาบีย์ คือ การพูดว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เป็นอุลามาอฺสะลัฟ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่อุลามาอฺสะลัฟ เพราะท่านอิบนุตัยมียะฮ์อยู่ในยุคศตวรรษที่ 7 ไม่ใช่อยู่ในยุค 300 ปีหลังจากนบีเสียชีวิต หรือวะฮาบีย์มีทัศนะใหม่ที่บอกว่าว่าอุลามาอฺสะลัฟคืออุลามาอฺที่อยู่ในยุค 700 ปีหลังนบีเสียชีวิต?!
แต่การตรวจสอบนั้น ต้องเข้าใจอะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อย่างแน่นแฟ้นเสียก่อน แล้วศึกษาหลักอะกีดะฮ์แนวทางอื่นให้กระจ่าง เพื่อแยกแยะแนวทางได้และไม่ให้สัจธรรมปะปนกับความเท็จ ไม่งั้นปวดกระบานแย่เลยล่ะครับ
น้องๆ นักศึกษาคลื่นลูกใหม่ในเว็บแห่งนี้ เมื่อศึกษาฟิกห์กระจ่างแล้ว ก็ต้องศึกษาอะกีดะฮ์ให้กระจ่างด้วย และอย่าลืมศึกษาตะเซาวุฟให้กระจ่างด้วยเช่นกันน่ะครับ