ผู้เขียน หัวข้อ: ฮูก่มการเขียนป้าย ณ สุสาน ตามทัศนะของปราชญ์ มัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์  (อ่าน 1310 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มารบูรพาอึ้งเอี๊ยะซือ

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด

ฮูก่มการเขียนป้าย ณ สุสาน ตามทัศนะของปราชญ์ มัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์


คำถาม : ฉันเคยได้ยินมาว่า ตามทัศนะของปราชญ์ มัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์ถือว่า การวางแผ่นป้ายที่มีชื่อแซ่ของผู้ตายไว้ที่สุสานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่บังควร “มักโรฮ์” มิทราบว่าจะมีทัศนะอื่นๆที่เกี่ยวกับประเด็นนี้บ้างหรือไม่?
คำตอบ :
     ทัศนะที่ถูกยึดถือ “อัลมุอฺตะมัด” ในมัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์ นั้นถือว่า “เมื่อการเขียนดังกล่าวบนสุสานนั้นเป็นไปเพราะมีความจำเป็น “อัล-หาญะฮ์” เฉกเช่นเพื่อให้รู้(ที่ตั้งของ)ศพ ก็ไม่เป็นเรื่อง “มักโรฮ์” แต่อย่างใด”.

        ทว่าท่าน อัล-อีหม่าม อัต-ตะกี้ย์ อัส-สุบกีย์ ซึ่งเป็นปรมจารย์ชั้นครูของมัซฮับ อัช-ชาฟีอีย์ในยุคนั้นกลับมีทัศนะว่า “การวางสิ่งที่จะทำให้รู้ถึงที่ตั้งของสุสานดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่ถูกส่งเสริม “มุสตะหับ” ส่วนเรื่องที่ว่ามักโรฮ์นั้นคือการเพิ่มสิ่งอื่นๆที่ได้กล่าวมาแล้ว(ชื่อ)โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่ม อายะฮ์ อัล-กุรอ่าน(ที่ว่ามักโรอ์นั้น)อันเนื่องมาจากกลัวจะเปอะเปื้อนโดยสิ่งสกปรก หรือโดนเหยียบย่ำไปมา แต่หากไม่มีสิ่งดังกล่าวแล้ว(การเขียนสิ่งอื่นจากชื่อ)ก็เป็นที่อนุญาต  ไม่เป็นที่หะรอมแต่อย่างใด มิหนำซ้ำยังถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกส่งเสริมให้กระทำเสียด้วยซ้ำไป”.

     ท่านอัล-อีหม่าม อัล-อัซรออีย์ อัช-ชาฟีอีย์ ได้กล่าวตามการคัดลอกของท่านจาก ท่านอัล-อั้ลลามะฮ์ อิบนิ-หะญัร อัล-ฮัยตะมีย์ในตำรา “อัลฟะตาวีย์ อัล-ฟิกฮียะฮ์ อัล-กุบรอย์”ของท่านว่า “ในส่วนของประเด็นการเขียนชื่อของผู้ตายนั้น แท้จริงพวกเขา(ปราชญ์ อัช-ชชาฟีอีย์)กล่าวว่า แท้จริงการวางสิ่งที่ทำให้รู้ถึง(ที่ตั้ง)ของสุสานนั้นถือเป็นเรื่องมุสตะหับ และเมื่อว่า(การเขียน)ดังกล่าวนั้นเป็นหนทางที่ใน(การจะทำให้รู้ที่ของสุสาน)ดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่สมควรถูกส่งเสริมโดยให้อยู่ในขอบเขตที่จำเป็นของการบอกให้รู้ “อัล-เอียะอฺลาม”ซึ่งไม่ถือว่ามักโระฮ์แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นสุสานของ ผู้เป็นที่รักของอัลลอฮ์ “อัล-เอาลียาอฺ” และผู้ทรงคุณธรรม “อัส-สอลีหีน”นั้นก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะแท้จริงสถานที่ของสุสานเหล่านี้จะไม่ถูกรู้จักเมื่อระยะเวลาผ่านไปเนิ่นนาน เว้นแต่ด้วย(การเขียนชื่อแซ่)ดังกล่าว”.

     ท่าน อัล-อัลมะฮ์ อัล-บุญัยริมีย์ ได้กล่าวไว้ในตำรา “อัล-หะเชียะฮ์ อะลา ชัรหิ้ล ค่อตีบ อัชชิรบีนีย์ อะลา มัตนิ อะบี ชุญาอฺ”ของท่านว่า “และที่ว่ามักโระฮ์ในเรื่องการเขียน(ชื่อแซ่)บนสุสานนั้นตราบใดที่ไม่ได้เป็นเรื่องของความจำเป็นหากไม่เป็นเช่นนั้น กล่าวคือหากมีความต้องการ(จำเป็น)ในการเขียนชื่อแซ่เพื่อให้รู้จักสถานที่ จะได้มีการมาเยี่ยมเยียนก็ไม่เป็นเรื่องมักโระฮ์แต่อย่างใดยมีข้อแม้ว่าจะต้องจำกัดอยู่ในขอบเขตปริมาณของความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นสุสานของ อัล-เอาลียาอฺ , อัล-อุละมาอฺ (นักปราญ์)และ อัส-สอลีหีน เพราะแท้จริงสถานที่ของสุสานเหล่านี้จะไม่ถูกรู้จักเมื่อระยะเวลาผ่านไปเนิ่นนาน เว้นแต่ด้วย(การเขียนชื่อแซ่)-จบการอ้างจาก : ม.ร.”.

     ส่วนมัซฮับของอัล-หะนาบีละฮ์ (มัซฮับหัมบะลีย์)นั้นพวกเขาได้ตั้งเงื่อนไขมักโระฮ์(หรือไม่)ไว้กับการมีความจำเป็น(หรือไม่มี)  ดังที่ท่าน อัล-หัญญาวีย์  ใด้กล่าวเป็นตัวบทไว้ในตำรา “อัล-อิกนาอฺ”ว่า “ดังนั้นจึงไม่เป็นที่มักโระฮ์ในเรื่องของการเขียนชื่อแซ่ของผู้ตายตามทัศนะของพวกเขา(ปราชญ์ มัซฮับหัมบะลีย์) หากว่ามีความจำเป็นในเรื่องดังกล่าว และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการเขียนชื่อแซ่ของผู้ตายไว้บนสุสานนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้ในการแยกแยะในคราเยี่ยม ขอพร และสลามให้กับเขา”.
     และ(มีกฏเกณฑ์กล่าวไว้ว่า) :

(وَإِذَا ثَبَتَتِ الْحَاجَةُ انْدَفَعَتِ الْحَاجَةُ)
“และเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น ความไม่บังควรก็ถูกผลักไส”

และบรรดานักฟุกอฮาอฺ(ปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม)ได้กล่าวเป็นตัวบทไว้ว่า :

(أَنَّ الكَرَاهَةَ تَزُوْلُ بِأَدْنَىَ حَاجَةٍ)
“แท้จริงมักโระฮ์(สิ่งไม่บังควร)นั้นจะมลายหายไป อันเนื่องมาจากความจำเป็นแค่เล็กน้อย”
     นี่เป็นกฏเกณฑ์ทางนิติศาตร์อิสลาม “กออิดะฮ์ ฟิกฮียะฮ์” ทีบรราด มัซฮับทั้งหลายมากมายให้การยึดถือ.
วัลลอฮ์ ซุบหานะฮุวะตะอาลา อะลัม


______________________________________________________________
อ้างอิง
  สุอ่าลาต อัล-อะก้อลลียาต : ดารุ้ลอิฟตาอฺ อัล-มิศรียะฮ์ ฮศ. 1434  พิมพ์ที่ ดารุ้ล กุตุบ  วั้ลวะซาอิก อัล-เกามียะฮ์ กรุงไคโร 2013,  หน้า 188-189.



 

GoogleTagged