بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
ลูกชิ้นปลา อนุญาตให้รับประทานได้ครับ ดังนั้นอาหารที่ไม่มีตราฮะล้าล มิใช่เป็นเครื่องยืนยันว่าสิ่งนั้นฮะรอมรับประทานเสมอไป แต่ตราฮะล้าลเป็นสิ่งที่มาย้ำความมั่นใจว่าอาหารดังกล่าวฮะล้าลค่อนข้างแน่นอนเท่านั้นเอง
ฉะนั้นลูกชิ้นปลาจึงเป็นสิ่งที่ฮะล้าลตามหลักนิติศาสตร์อิสลามที่ระบุความ ว่า
اَلْأَصْلُ فِى الأَشْياَءِ الإِبَاحَةُ حَتَي يَدُلَّ الدَّلِيْلُ عَلَى التَّحْرِيْمِ
"หลักเดิมในสรรพสิ่งต่าง ๆ นั้น คืออนุญาต จนกระทั่งมีหลักฐานมาบ่งชี้ถึงการห้าม"
ดังนั้นลูกชิ้นปลาเป็นสิ่งที่รับประทานได้อย่างแน่นอน แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าต้องผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดถูกต้องตามหลักอนามัยของศาสนาอิสลาม ฉะนั้นหากเราเป็นผู้ซื้อลูกชิ้นปลา ก็ต้องพิจารณาเอาเองว่าซื้อมาจากใคร มั่นใจว่าสะอาดได้ขนาดใหน ผู้ผลิตเป็นมุสลิมหรือเปล่า หากมิใช่ โรงงานที่ผลิตลูกชิ้นปลาได้ทำผลิตรวมภาชนะเดียวกับลูกชิ้นหมูหรือเปล่า ซึ่งตรงนี้เราพิสูจน์ลำบาก ทางที่ดีควรป้องกันไว้ก่อนด้วยการรับประทานอาหารที่มั่นใจว่าฮะล้าลครับ
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ