asan อ้างจาก: ezzulla ที่ 05 มีนาคม 50 , 22:37
وقد اباح ابن تيمية التلقين بعد الدفن وقال بعد ان عرض اراء الفقهاء وهدا اعدل الاقوال
และอิบนุ ตัยมียะฮ์ ได้อนุมัติการอ่านตัลกีนหลังจากการฝัง และท่านได้กล่าว
หลังจากได้นำเสนอทัศนะของบรรดาอุลามาอ์วิชาฟิกห์ ว่า และนี่คือคำพูดที่เที่ยงตรงยิ่ง
หนังสือฟัตวาย์ อิบนุ ตัยมียะฮ์ เล่มที่ 24 หน้าที่ 298
----------------
และมีข้อความตอนหนึ่งในคำพูดของอิบนุตัยมียะฮคือ
تلقينه بعد موته ليس واجبا بالإجماع ولا كان من عمل المسلمين المشهور بينهم على عهد النبى وخلفائه
การตัลกีนมัยยิต หลังจากฝัง ไม่เป็นวาญิบ โดยมติของปวงปราชญ์ และ ไม่ได้เป็นการกระทำของบรรดามุสลิม ที่แพร่หลาย ในสมัยของท่านนบี และบรรดาเคาะลิฟะฮของท่าน - หนังสือฟัตวา อิบนุ ตัยมียะฮ์ เล่มที่ 24 หน้าที่ 298
..........
สรุปว่า คงจะแอบทำกัน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย และก็แปลก ทำไมถ้าเป็นคำสอนนบีจริง ทำไม่จึงไม่แพร่หลาย และทำไมตอนที่ ท่านหญิงเคาะดียะฮ และบุตรชายของท่าน อิบรอฮีมเสียชีวิต ไม่ปรากฏรายงานว่าท่านอ่านตัลกีนให้แก่คนทั้งสอง
asan
الصحيح من قولي العلماء في التلقين بعد الموت أنه غير مشروع، بل بدعة، وكل بدعة ضلالة، وما رواه الطبراني في الكبيرعن سعد بن عبد الله الأودي عن أبي أمامة رضي الله عنه في تلقين الميت بعد دفنه، ذكره الهيثمي في الجزء الثاني والثالث من مجمع الزوائد، وقال: في إسناده جماعة لم أعرفهم
ที่ถูกต้อง จากทัศนะทั้งสองของอุลามาอฺ ในประเด็นการอ่านตัลกีน หลังจากตาย ว่า มันไม่มีบัญญัติให้กระทำ แต่ทว่า เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด และสิ่ง(หะดิษ)รายงานโดยอัฏฏอ็บรอนีย์ ในอัลกะบีร (เล่ม 8 หน้า 298-299 หะดิษหมายเลข 7979) จากสะอีด บิน อับดุลลอฮ อัล-เอาดีย์ จากอบีอุมามะฮ (ร.ฎ) ในการตัลกีนมัยยิต หลังจากฝัง ,อัลหัยษะมีย์ ได้ระบุมันไว้ใน ยุซที่ 2และ 3 จากหนังสือ มัจญมะอุซซะวาอิด โดยกล่าวว่า "ในบรรดาสายรายงานของมัน มีผู้รายงานกลุ่มหนึ่ง ข้าพเจ้าไม่รู้จักพวกเขา - ฟะตาวาคณะกรรมการถาวรฯ 9/92
Goddut บังอะสัน เอาอีกแล้ว
ข้างบนบอก อ่านตัลกีน ไม่วายิบ
มาข้างล่างบอก เป็น อุตริกรรมลุ่มหลง ลงนรก ซะละ
ผมตั้งใจเข้ามาเตือนเพื่อหวังดี
พี่น้อง เริ่มกันอีกแล้วหรือ ...
จะมีอีกกี่คำพูด แดกดัน กัน แขวะกันไปมา
นี่หรือ ประชาชาติตัวอย่าง
ยังทะเลาะกันเอง แบบนี้คนต่างศาสนิกจะเลื่อมใสได้อย่างไร ...
หากจะแลกเปลี่ยนทรรศนะ ก็ขอให้นุ่มนวล
เราควรให้เกียรติบรรดาผู้รู้ ในอดีตบ้าง
ไม่ว่าจะใครก็ตาม การงานเป็นของอัลลอฮฺ
เรื่องบรรดาทรรศนะต่างๆ ที่เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ก็แตกต่างกันบ้างตามหลักวินิจฉัย
เราชอบอย่างไรก็เลือกอย่างนั้น อย่ากล่าวหาทรรศนะอื่นลงนรก มันไม่ควร เพราะต่างก็มีหลักฐาน และหลักการด้วยกันทั้งนั้น
เรื่องบิดเบือนอัลกรุอาน ในส่วนที่เกี่ยวกับซีฟัตอัลลอฮฺ ผมก็ยังไม่ได้ลงหลักฐาน ของมัซฮับซาฟีอี พวกท่านก็เถียงกันจนกระทู้หายไปแล้ว
และมันยังมีอีกหลายๆ กระทู้ที่หายๆ ไป ทั้งผม และอีกหลายท่านก็คงรู้สึกเบื่อ ไม่รู้จะชี้แจงทำไมซ้ำไปซ้ำมาวกวน
แถมพิมลงเสร็จ ข้อมูลทั้งกระทู้มันก็หายไปอยู่ดี กลับมาอ่านกัน หาความรู้กัน ก็ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ และไร้สาระไปในที่สุด
สุดท้ายผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะเสวนากันด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมารยาทที่ดี
อินชาอัลลอฮฺ
วัสลาม..
asan อ้างจาก: Goddut ที่ 05 มีนาคม 50 , 23:41
บังอะสัน เอาอีกแล้ว
ข้างบนบอก อ่านตัลกีน ไม่วายิบ
มาข้างล่างบอก เป็น อุตริกรรมลุ่มหลง ลงนรก ซะละ
---------------
ลองอ่านดูซิครับ ว่าใครบอกว่า เป็นบิดอะฮ มาดูคำอธิยายหะดิษตัลกีน
الصواب في هذه المسألة أن التلقين ليس مشروعا بل الأظهر أنه بدعة؛ لأنه لم يثبت عن النبي-عليه الصلاة والسلام- والتلقين في هذا الباب من أجلِّ العبادات وأعظمها، يعني: تخصيص نوع من التلقين في هذا الموطن، فهو عبادة تحتاج إلى دليل، والقاعدة في باب العبادات أنَّا لا نقول هذا مشروع إلا بدليل
ที่ถูกต้อง ในประเด็นปัญหานี้ คือ แท้จริง การอ่านตัลกีน ไม่มีบัญญัติให้กระทำ แต่ที่ชัดเจนที่สุด แท้จริงมันเป็นบิดอะฮ เพราะไม่มีรายงานรับรองจากท่านนบี และการอ่านตัลกีน ในกรณีนี้นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอิบาดะฮที่มีเกียรติ และเป็นอิบาดะฮที่สำคัญ หมายถึง การจำกัดชนิดการอ่านตัลกีน ในที่นี้ เพราะ มันคือ อิบาดะฮ ที่ต้องอาศัยหลักฐาน และกฏ ในเรื่องอิบาดะฮนั้น เราจะไม่กล่าว ว่านี้คือ สิ่งที่ถูกบัญญัติให้กระทำ นอกจากต้องมีหลักฐาน
http://www.taimiah.net/Display.asp?ID=136&t=book50&pid=1&f=1blm00127.htm&printer=onMPW.SO อ้างจาก: al-azhary ที่ 05 มีนาคม 50 , 19:11
อย่างเช่น ท่านอิบนุหะญัร ได้วิจารณ์หะดิษตัลกีน ไว้ในหนังสือ นะตาอิญุลอัฟการ บอกว่า เป็น "หะดิษฏออีฟมาก ๆ" นั่นเพราะว่าท่านฮุกุ่มโดยพิจารณาสายรายงานของหะดิษนั้นเพียงหะดิษเดียว
แต่ท่านอิบนุหะญัร ได้วิจารณ์ในหนังสือ อัตตัลคีศอัลหะบีร ว่าเป็นหะดิษที่ صالح (ดี) เพราะว่าท่านได้นำสายรายงานอื่นจากท่าน สะอีด บิน มันซูร มาสนับสนุน
เราคงจะเข้าใจหลักพิจารณาหะดิษกันแล้วนะครับ
------------
คุณอัซฮารีครับ ผมข้องใจเกี่ยวกับวิธีการตักวียะฮฺ (การยกระดับ) ของหะดีษที่ฎออีฟมากๆ สมมุติว่าเราได้ข้อสรุปแล้วว่า มันเป็นหะดีษฎออีฟญิดดัน และในสายรายงานมีนักรายงานที่มัตรูกอยู่ ซึ่งอยู่ในระดับที่ 10 ตามการแบ่งของอิบนุหะญัร และอุละมาอฺระบุว่านักรายงานที่อยู่ในระดับนี้เราไม่สามารถที่นำหะดีษของเขามาอิอฺติบารได้ หมายความว่า ไม่สามารถจะยกระดับของมันให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ถึงแม้ว่าจะมีสายรายงานอื่นๆมาพยุงก็ตาม แล้วมันจะกลายเป็นหะดีษที่หะสันหรือเศาะหีหฺได้อย่างไร วัลลอฮุอะอฺลัม
al-azhary อ้างจาก: asan ที่ 05 มีนาคม 50 , 22:28
เขาบอกว่า อิบนิหะญัร วิจารณ์ว่า เป็นหะดิษที่ดี (صالح ) แต่ท่านอิบนุอะลาน(ابن علان ) ได้คัดลอกจากคำอธิบายหะดิษอบีอุมามะฮของท่านหาฟิซอิบนุหะญัร ว่า
هذا حديث غريب وسند الحديثين من الطريقين ضعيف جداً
นี้คือหะดิษเฆาะรีบ และสายรายงานของหะดิษสองบท จากสองทาง เฎาะอีฟอย่างมาก- อัลฟะตูหาตอัรรอ็บบานีย์ อะลัลอัซกัรอันนะวาวียยะฮ 4/196
------------------
ผมไม่จำเป็นต้องหักล้างคำกล่าวอ้างของบังอะสัน โดยที่บังอะสันไม่เคยทำความเข้าใจหลักพิจารณาหะดิษ บังอะสันอ้างอิงแบบตักลีดทั้งสิ้น คำพูดนี้ ผมได้พูดชัดเจนไปแล้วว่า
"ทัศนะที่บอกว่าเป็นหะดิษฎออีฟญิดดัน(มากๆ) นั่นเพราะว่าเขาพิจารณาสายรายงานเดียว ส่วนทัศนะที่บอกว่าเป็นหะดิษ صالح (ดี) หรือว่า قوى (มีน้ำหนัก) นั้น เพราะใช้หลักพิจารณาโดยเอาสายรายงานอื่นมาสนับสนุนตามหลักพิจารณาหะดิษ ก็เท่านั้น"
ดังนั้น ท่านอิบนุอะลาล บอกว่า เป็นหะดิษที่ฏออีฟมากๆ เพราะพิจารณาเพียงแค่สายรายงานหะดิษ แต่ท่านอิบนุหะญัรบอกว่า เป็นหะดิษ صالح (ดี) เพราะมีรายงานมาสนับสนุน
เพราะฉะนั้น หากบังอะสันต้องการจะหักล้างหลักฐานของเราอย่างผู้ที่เข้าใจหลักหะดิษจริงแล้ว บังอะสันต้อง มาหักล้างประเด็นของท่านอิบนุหะญัร ซึ่งหากบังอะสันหักล้างตรงนี้ได้ แสดงว่า ทัศนะของบังอะสันโปร่งใส แล้วบังอะสันรู้หรือเปล่าว่า ในนี้นั้น ท่านใดบ้างที่เข้าใจประเด็นมากที่สุด?? นั่นก็คือ คุณ MPW.SO ที่เขาได้ถามตรงประเด็น
al-azhary อ้างจาก: asan ที่ เมื่อวานนี้ เวลา 00:09
ลองอ่านดูซิครับ ว่าใครบอกว่า เป็นบิดอะฮ มาดูคำอธิยายหะดิษตัลกีน
الصواب في هذه المسألة أن التلقين ليس مشروعا بل الأظهر أنه بدعة؛ لأنه لم يثبت عن النبي-عليه الصلاة والسلام- والتلقين في هذا الباب من أجلِّ العبادات وأعظمها، يعني: تخصيص نوع من التلقين في هذا الموطن، فهو عبادة تحتاج إلى دليل، والقاعدة في باب العبادات أنَّا لا نقول هذا مشروع إلا بدليل
ที่ถูกต้อง ในประเด็นปัญหานี้ คือ แท้จริง การอ่านตัลกีน ไม่มีบัญญัติให้กระทำ แต่ที่ชัดเจนที่สุด แท้จริงมันเป็นบิดอะฮ เพราะไม่มีรายงานรับรองจากท่านนบีและการอ่านตัลกีน ในกรณีนี้นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอิบาดะฮที่มีเกียรติ และเป็นอิบาดะฮที่สำคัญ หมายถึง การจำกัดชนิดการอ่านตัลกีน ในที่นี้ เพราะ มันคือ อิบาดะฮ ที่ต้องอาศัยหลักฐาน และกฏ ในเรื่องอิบาดะฮนั้น เราจะไม่กล่าว ว่านี้คือ สิ่งที่ถูกบัญญัติให้กระทำ นอกจากต้องมีหลักฐาน
http://www.taimiah.net/Display.asp?ID=136&t=book50&pid=1&f=1blm00127.htm&printer=on--------------------
คำอธิบายที่บังอะสันว่ามาเนี่ย ใครพูด? เพราะถ้าหากมาจากทัศนะของผู้ไม่อ่านตัลกีน ก็ต้องพูดตามสไตล์นี้แหละครับ และผมเองก็บอกไปแล้วว่า เรามาพิจารณาหะดิษกันดีกว่า อย่ามายกทัศนะของอุลามาอ์ เพราะถ้าหากจะยกกันจริง ๆ แล้ว ทางเราก็มีอุลามาอ์มากที่ที่ยอมรับในเรื่องตัลกีน และสิ่งที่บังอะสันไปก๊อบมาจากคำพูดของใครก็ไม่รู้นั้น หากเรากลับไปลิ้งค์ดังกล่าวด้านล่าง ซึ่งบังอะสันไม่ยอมนำเสนอเพราะไม่ตรงกับสิ่งที่จะเอา ดังนี้ครับ
واختار -رحمه الله- قال إنه مباح، وقال: إنه لم يأت الأمر به وإنما جاء عن بعض السلف، ونقله عن أبي أمامة وعن واثلة بن الأصقع، فينظر في ثبوته إذا كان المعتمد على خبر أبي أمامة الذي عند الطبراني فهو لم يثبت عن أبي أمامة؛ لأن السند لا يصح، ويُنظر -أيضا- عما جاء عن واثلة بن الأصقع
"ท่านอิบนุตัยมียะอ์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) กล่าวว่า การตัลกีนนั้น มุบาห์(อนุญาตให้กระทำได้) และท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า แท้จริงไม่มีคำสั่งใช้(ที่ซอฮิหฺ)ด้วยกับมันเลย แต่ทว่ามันได้มีรายงานมาจากส่วนหนึ่งของสะลัฟ และได้ถ่ายทอดเรื่องตัลกีนมาจากท่านอบูอุมามะฮ์ และจากท่าน วาษิละฮ์ บิน อัศเกาะอฺ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเกี่ยวกับการยืนยันของหะดิษ เมื่อทัศะที่ถูกยึดถือต่อหะดิษของอบูอุมามะฮ์ที่ท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์(ได้รายงานงาน)นั้น ไม่ได้รับการยืนยัน(ที่ซอฮิหฺ)จากอบูอุมามะฮ์ เพราะสายรายงานไม่ซอฮิหฺ และให้พิจารณาจากสิ่งที่รายงานจากวาษิละฮ์ บิน อัสเกาะอฺเช่นกัน"
สรุปคือ ตามทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์นั้น บอกว่า การอ่านตัลกีน เป็นสิ่งที่มุบาห์(อนุญาตให้กระทำได้) ซึ่งตรงนี้บังอะสันไม่มีวันที่จะยกอ้างมาเด็ดขาด วัลลอฮุอะลัม
al-azhary อ้างจาก: asan ที่ 05 มีนาคม 50 , 23:21
يح من قولي العلماء في التلقين بعد الموت أنه غير مشروع، بل بدعة، وكل بدعة ضلالة، وما رواه الطبراني في الكبيرعن سعد بن عبد الله الأودي عن أبي أمامة رضي الله عنه في تلقين الميت بعد دفنه، ذكره الهيثمي في الجزء الثاني والثالث من مجمع الزوائد، وقال: في إسناده جماعة لم أعرفهم
ที่ถูกต้อง จากทัศนะทั้งสองของอุลามาอฺ ในประเด็นการอ่านตัลกีน หลังจากตาย ว่า มันไม่มีบัญญัติให้กระทำ แต่ทว่า เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด และสิ่ง(หะดิษ)รายงานโดยอัฏฏอ็บรอนีย์ ในอัลกะบีร (เล่ม 8 หน้า 298-299 หะดิษหมายเลข 7979) จากสะอีด บิน อับดุลลอฮ อัล-เอาดีย์ จากอบีอุมามะฮ (ร.ฎ) ในการตัลกีนมัยยิต หลังจากฝัง ,อัลหัยษะมีย์ ได้ระบุมันไว้ใน ยุซที่ 2และ 3 จากหนังสือ มัจญมะอุซซะวาอิด โดยกล่าวว่า "ในบรรดาสายรายงานของมัน มีผู้รายงานกลุ่มหนึ่ง ข้าพเจ้าไม่รู้จักพวกเขา - ฟะตาวาคณะกรรมการถาวรฯ 9/92
------------------------
คณะฟะตะวา ดังกล่าว ยึดหลักหลักฐานหะดิษท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ เพียงแค่สายรายงานเดียวเท่านั้น แล้วมาสรุปเรื่องตัลกีน ซึ่งหากพิจารณาสายรายงานเดียว พวกเราเองก็บอกว่าเป็นหะดิษฏออีฟ แต่คะฟาตาวาไม่ได้นำเสนอหลักการสนับสนุนหะดิษจากสายรายงานอื่นที่มายกระดับ เราจึงไม่ขอนำมาเป็นประเด็นยึดถือ
ผมน่ะ ไม่อยากจะยกทัศนะของอุลามาอ์ เพราะว่าหากอ้างอิงทัศนะอุลามาอ์กันจริง ๆ นั้น เรามีเยอะแยะมากมาย ไม่ไหวจะอ้างอิงกัน แต่หากบังอะสันนิยมการยกทัศนะของอุลามาอ์ที่ไม่มีการอ้างอิงหลักฐานหรือนำวิจารณ์การใหม่ ๆ ผมว่าเสียเวลา
แต่เมื่อบังอะสันยกอ้างอิงมา ผมก็ต้องยกอ้างอิงกันสักหน่อย ระหว่างฟัตวา ซาอุฯ กับ อียิปต์
สถาบันฟะตาวาแห่งประเทศอียิปต์ ได้ฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องตัลกีนว่า
وذهب جماعات من الشافعية إلى استحباب هذا التلقين.
فقد جاء فى المجموع للإمام النووى صفحة 303 من الجزء الخامس ما نصه الرابعة قال جماعات من أصحابنا (يعنى الشافعية) يستحب تلقين الميت عقب دفنه ........وسئل الشيخ عمرو ابن الصلاح رحمه اللّه.
عنه فقال التلقين هو الذى نختاره ونعمل به، قال روينا فيه حديثا من حديث أبى أمامة ليس إسناده بالقائم لكن اعتضد بشواهد وبعمل أهل الشام قديما.
هذا كلام أبى عمرو قلت حديث أبى أمامة رواه أبو القاسم الطبرانى فى معجمه بإسناد ضعيف ثم ذكره النووى وقال بعد ذلك قلت، وهذا الحديث وإن كان ضعيفا فيستأنس به.
وقد اتفق علماء المحدثين وغيرهم على المسامحة فى أحاديث الفضائل والترغيب والترهيب وقد اعتضد بشواهد من الأحاديث كحديث واسألوا له التثبيت، ووصية عمرو بن العاص وهما صحيحان سبق بيانهما قريبا ولم يزل أهل الشام على العمل بهذا فى زمن من يقتدى به وإلى الآن
"นักปราชญ์กลุ่มต่าง ๆ จากอัชชาฟิอียยะฮ์ มีทัศนะว่า สุนัตให้ทำการอ่านตัลกีนนี้ แท้จริง เรื่องตัลกีนได้มีระบุไว้ในหนังสือ มัจญฺมั๊วะของอิมามอันนะวาวีย์ เล่ม 5 หน้า 303 มีตัวบทดังนี้ "บรรดานักปราชญ์กลุ่มต่าง ๆ จากนักปราชญ์ของเรา(คือปราชญ์อัชชาฟิอียะฮ์) กล่าวว่า สุนัตให้ทำการตัลกีนมัยยิดถัดจากฝัง....ท่านชัยค์ อัมร์ บิน ศ่อลาห์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ได้ถูกถามจากเรื่องตัลกีน ดังนั้น ท่านชัยค์ตอบว่า "การอ่านตัลกีน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้เลือกเฟ้นและนำมาปฏิบัติด้วยกับมัน ท่านชัยค์กล่าวว่า เราได้รายงานหะดิษหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องตัลกีน จากหะดิษของอบูอุมามะฮ์ ซึ่งมีสายรายงานไม่(เที่ยงตรง)แน่นอน แต่สายรายงาน(นี้)ได้รับการสนับสนุนยกระดับ ด้วยความหมายของตัวบทหะดิษต่าง ๆ และ(สนับสนุน)ด้วยการปฏิบัติของนักปราชญ์เมืองชาม(ซีเรีย , อิรัก, ปาเลสไตน์ เป็นต้น) เพื่อให้มัยยิดมีความอบอุ่นด้วยกับการอ่านตัลกีน " (ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวต่อว่า) บรรดานักปราชญ์หะดิษและอื่น ๆ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ให้มีการผ่อนปรนในเรื่องของบรรดาหะดิษเกี่ยวกับอะมัลคุณงามความดี , ส่งเสริมให้ปฏิบัติความดี , และเตือนให้กลัวจากการทำความชั่ว แท้จริง หะดิษตัลกีน ได้รับการสนับสนุน ด้วยด้วยความหมายของตัวบทหะดิษต่าง ๆ เช่นหะดิษ واسألوا له التثبيت "พวกท่านจงขอให้มัยยิดมีความมั่นคง(ในคำตอบมะลาอิกะฮ์)" และการสั่งเสียของท่านอัมร์ บิน อัลอาซฺ ซึ่งทั้งสองมีสายรายงานที่ซอฮิหฺ และนักปราชญ์เมืองชามยังคงปฏิบัติการอ่านตัลกีนในช่วงเวลาของ(สะลัฟ)ผู้ถูกเจริญรอยตาม จวบจนปัจจุบัน"
สถานบันฟะตาวาแห่งประเทศอียิปต์
al-azhary อ้างจาก: asan ที่ 05 มีนาคม 50 , 22:40
วิจารณืหะดิษข้องต้น
1. อัลอิซ บิน อับดุสสลาม กล่าวว่า "
لم يصح في التلقين شيء وهو بدعة
ไม่มี (หะดีษ) ที่เศาะหีหฺในเรื่องตัลกีนแม้แต่หะดีษเดียว และมันคือ (การกระทำที่) บิดอะฮฺ (ฟะตาวาอัลอิซ บิน อับดุสสลาม หน้า 427)
2. เจ้าของหนังสือเอานุลมะอฺบูด กล่าวว่า
والتلقين بعد الموت قد جزم كثير أنه حادث
และการอ่านตัลกีนหลังจากเสียชีวิต แท้จริงได้มีอุละมาอฺจำนวนมากยืนยันว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ (8/268)
3. ศ็อนอานีย์ไม่ได้พูดลอยๆ แต่ท่านยังอ้างว่ามีระบุในหนังสืออัลมะนารด้วยว่า
إن حديث التلقين لا يشك أهل المعرفة بالحديث في وضعه
แท้จริง หะดีษตัลกีน บรรดาผู้รู้เกี่ยวกับหะดีษไม่สงสัยเลยถึงความเป็นหะดีษเมาฎูอฺของมัน (สุบุลุสสลาม 2/113)
4. อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า
"إسناده ضعيف
?สายสืบของมัน เฎาะอีฟ - อัลมัจญมัวะ (5/274)
5. อัศศอนอานีย์ กล่าวว่า
"يتحصل من كلام أئمة التحقيق أنه حديث ضعيف، والعمل به بدعة
และอัศศอ็นอานีย ได้กล่าว ว่า
"สรุปจากคำพูดของบรรดาผู้นำที่ได้รับการรับรอง ว่า แท้จริง มันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ และการนำมันมาปฏิบัตินั้น เป็นบิดอะฮ - สุบุลุสสลาม 2/161
------------------
ผมไม่จำเป็นต้องหักล้างคำกล่าวอ้างของบังอะสัน โดยที่บังอะสันไม่เคยทำความเข้าใจหลักพิจารณาหะดิษ บังอะสันอ้างอิงแบบตักลีดทั้งสิ้น คำพูดนี้ ผมได้พูดชัดเจนไปแล้วว่า
"ทัศนะที่บอกว่าเป็นหะดิษฎออีฟญิดดัน(มากๆ) นั่นเพราะว่าเขาพิจารณาสายรายงานเดียว ส่วนทัศนะที่บอกว่าเป็นหะดิษ صالح (ดี) หรือว่า قوى (มีน้ำหนัก) นั้น เพราะใช้หลักพิจารณาโดยเอาสายรายงานอื่นมาสนับสนุนตามหลักพิจารณาหะดิษ ก็เท่านั้น"