salam
อยากทราบรายละเอียดว่าทำได้หรือไม่อย่างไรเช่นกันค่ะ...
เพราะว่่าปกติช่วงเวลาปีใหม่นั้นจะหยุดงานและหยุดเรียนยาว
เลยมีการรวมพลกันในบ้าน ทำอาหารเลี้ยงกัน
และจะแลกของขวัญกันภายในครอบครัวประจำน่ะค่ะ...
เป็นการแลกที่ต่างฝ่ายต่างเต็มใจแลกกัน
โดยจะหาของขวัญแปลกๆมาแลกกัน...
ไม่มีการกำหนดตัวของขวัญและอัตราราคาสินค้าภายในโดยเฉพาะ...
เพราะแลกกันตั้งแต่เด็กไม่ถึงขวบ
(ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ยังทำการค้าไม่ได้ ให้พ่อแม่ของเด็กทำการแลกอีกที)
ไปจนถึงผู้ใหญ่หกสิบกว่าปีน่ะค่ะ...
ซึ่งไม่ว่าใครจะแลกได้อะไรอย่างไร ก็จะเป็นประมาณเรือล่มในหนอง
ของขวัญจะไปไหนเสีย

ล่าสุดได้ข่าวมาว่า ที่บ้านมีการแอบใส่ขนุนที่ต้นหลังบ้าน
ในกล่องของขวัญด้วยค่ะ...
กล่องโตและหนักที่สุดจนใครๆหมายตากัน สุดท้ายคนที่ได้
ต้องมานั่งผ่่าขนุนแบ่งกันกินภายในบ้าน อิ่มกันถ้วนหน้า...ฮาดีค่ะ...
คนที่ได้ขนมก็มานั่งแกะขนมแล้วแจกกินกัน...
มีอะไรแบบนี้ประจำค่ะ...ซึ่งสำหรับพวกเรานั้น
การแลกของขวัญเหมือนการละเล่นภายในครอบครัวอย่างหนึ่ง
เวลารวมตัวกันได้...เป็นการกระชับความสัมพันธ์ของเครือญาติ
ทั้งที่ออกเรือนไปแล้วและยังไม่ได้ออกเรือนน่ะค่ะ...
โดยที่คนรับและคนให้ต่างยินยอมก่อนทำการละเล่นน่ะค่ะ...
คล้ายๆกับต้องการมอบของขวัญให้กลุ่มสมาชิก
แต่เป็นการให้ที่มีเงื่อนไขร่วมกันคือ ไม่เจาะจงคนให้ว่าต้องเป็นใคร
แต่เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ร่วมกันเล่น...
เลยคิดว่า...การแลกของขวัญไม่น่าจะอยู่ในการค้าขายนะคะ
(เพราะของบางอย่างเราไม่ได้ซื้อมาเสมอไป อย่างขนุนที่บ้าน
หรือของที่เราทำเองกับมือ หนังสือที่เราเขียนเอง
และของบางอย่างที่ประมูลราคาไม่ได้ เป็นต้น

)
แต่เป็นการให้ เช่นการให้ของขวัญ เพียงแต่ไม่เจาะจงว่าจะให้ใคร
เป็นการเฉพาะ โดยเลือกเอาวิธีจับฉลาก(กลายเป็นการละเล่น)...
ได้ลุ้นบ้างอะไรบ้างน่ะค่ะ...
เพราะการให้ บางครั้งเราก็ไม่ได้ต้องการอะไรตอบแทนมากมายนัก
แต่บางครั้งเราก็อยากได้คืนบ้างอะไรบ้าง

แต่ก็ไม่ได้หวังว่าเราให้สิ่งใดไปแล้วเราจะได้สิ่งนั้นคืน
อย่างเช่น เราใส่มะพร้าวไปในกล่องของขวัญของเรา
แต่เราได้ขนุนของอีกคนมาแทน...หรือใส่ขนมแต่ได้เสื้อผ้ากลับมา
ซึ่งบางครั้งการให้อะไรใครไป เราก็ไม่รู้ว่าเราจะได้อะไรตอบแทน
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวน่ะค่ะ...
หากว่่าจริงๆแล้วการแลกของขวัญเป็นสิ่งต้องห้ามทางศาสนา(หะรอม)
ข้าน้อยเองจะได้เลิกทำน่ะค่ะ...
ขอบคุณผู้นำเสนอค่ะ
วัสลามค่ะ