ผู้เขียน หัวข้อ: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์  (อ่าน 15087 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ๐๐εΐз๐๐Pr!nCeEsS Of FLoWeRs๐๐εΐз๐๐

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 364
  • เพศ: หญิง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ก.พ. 13, 2007, 11:57 AM »
0
แหะๆๆ...เข้าไปดูมาแล้วค่ะท่าน ahmedisa...ตามที่ท่านนำเสนอมา ดูจะเพี้ยนๆ อยู่เน๊อะ

เจ้าหญิงฯ ก้อมีเพื่อนคนนึงเค้าว่าเค้าเป็นซูฟีน๊ะ...เท่าที่เค้าบอกเจ้าหญิงฯน๊ะค๊ะ ไม่ได้ว่าเค้าน๊ะ

เวลาที่เค้าขาดละหมาด เค้าจะบอกว่าเค้าไม่ได้ตั้งใจจะขาดน๊ะ อัลลอฮฺรู้ว่าเค้าจำเป็นจริงๆ

เค้าต้องทำงานกลางคืน ดึกๆ ดื่นๆ เลยต้องขาดละหมาด...เอ่อ ถ้าเป็นยังงี้...ไม่ทราบว่า

มีท่านใดช่วยชี้แจงแถลงไขข้อกังขาเจ้าหญิงฯ หน่อยได้ป่ะค่ะ  :-\ :-\


...อยากเป็นคนดี เหมือนกันนะแหละ...


ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ก.พ. 13, 2007, 02:44 PM »
0
แหะๆๆ...เข้าไปดูมาแล้วค่ะท่าน ahmedisa...ตามที่ท่านนำเสนอมา ดูจะเพี้ยนๆ อยู่เน๊อะ

เจ้าหญิงฯ ก้อมีเพื่อนคนนึงเค้าว่าเค้าเป็นซูฟีน๊ะ...เท่าที่เค้าบอกเจ้าหญิงฯน๊ะค๊ะ ไม่ได้ว่าเค้าน๊ะ

เวลาที่เค้าขาดละหมาด เค้าจะบอกว่าเค้าไม่ได้ตั้งใจจะขาดน๊ะ อัลลอฮฺรู้ว่าเค้าจำเป็นจริงๆ

เค้าต้องทำงานกลางคืน ดึกๆ ดื่นๆ เลยต้องขาดละหมาด...เอ่อ ถ้าเป็นยังงี้...ไม่ทราบว่า

มีท่านใดช่วยชี้แจงแถลงไขข้อกังขาเจ้าหญิงฯ หน่อยได้ป่ะค่ะ  :-\ :-\




น้องเจ้าหญิงฯ ซูฟีย์อย่างนี้  ไม่ผ่านครับ  และไม่เรียกว่าซูฟีย์  ยังดีน่ะที่เขาบอกว่า ขาดละหมาดเพราะจำเป็นไม่ได้ตั้งใจขาด  หากบอกว่าไม่ต้องละหมาดแล้วเพราะแค่ซิกรุลลอฮ์อย่างเดียวก็พอ  แบบนี้นอกลู่แน่ ๆ ครับ  ;D 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: เม.ย. 04, 2007, 10:54 PM »
0

ซุฟีย์แบ่งการซิกิรเป็นห้าแบบใหญ่ๆ


๑. จะฮ์รีย์ คือ การเปล่งเสียงออกมาด้วยขณะกล่าวซิกิร มักทำเป็นกลุ่ม ในช่วงเวลาที่จัดไว้ ในจำนวนที่จัดไว้ ตามความเหมาะสมต่อบุคคลนั้นๆ โดยเชค

๒. คอฟีย์ คือ ไม่เปล่งเสียงออกมา มักแนะนำให้ทำทุกเวลาที่มีโอกาส ช่วงเวลาระหว่างอาซานและอิกอมัต เป็นต้น

๓. ซิกรุ้ลนะฟาส คือ การรำลึกถึงอัลลอฮฺในทุกลมหายใจเข้า-ออก

๔. มุรอกอบะฮฺ คือ การนั่งวิเคราะห์ ตรึกตรองตนเอง

๕. จิ้ลละฮฺ คือ การสละเวลาสี่สิบวันในการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้น มักทำในที่ๆจัดไว้ให้โดยเฉพาะ จะเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด หรือห้องเฉพาะในคานกาฮฺนั้นๆ




แนวคิดซูฟีย์เข้ามายังอินเดียในสมัยที่ได้มีการแบ่งเป็นกลุ่มๆอย่างละเอียดอีกครั้ง ตามแนวความคิดของตนแล้ว สี่กลุ่มใหญ่ที่เข้ามาวางรากฐานในอินเดียมากกว่ากลุ่มอื่น คือ

๑. จิซตียะฮฺ
๒. ซัรฮูรดียะฮฺ
๒. นักชบันดียะฮฺ
๔. ก็อดรียะฮฺ


ซึ่งทั้งหมดอยู่ในซูฟีย์ประเภท "บิชัรอฺ"
(Census of India Reports Punjab 1892 เล่ม 1 หน้า 196)






๑. จิซตียะฮฺ


เป็นแนวซูฟีย์ที่ได้รับความยอมรับมากในระดับหนึ่งในอินเดีย แนวคิดหลักการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สันโดษ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างมุสลิม-ผู้ที่มิใช่มุสลิม และการช่วยเหลือชุมชน นับเป็นสาเหตุหลักการเติบโตของกลุ่มนี้อย่างรวดเร็วในช่วงแรกๆ

เชค มุอีนุ้ดดีน อัล-ซิจิสตานีย์ กล่าวถึงกลุ่มนี้ "เราพบคนที่กำลังรัก(มัคลู๊ก) คนที่ถูกรัก(คอลิ๊ก) และความรัก(มุฮับบัต) อยู่ตรงหน้าเรา ... " หมายถึง เป็นแนวทางที่นำเราไปยังอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของซูฟีย์


ครั้งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า "การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ คนยากไร้ แก้ปัญหาให้คนไม่มีทางออก และการให้อาหารแก่คนหิว เป็นกิจกรรมที่นำเราเข้าสู่อัลลอฮฺได้ดีที่สุดอันหนึ่ง" ("Khurd" (เป้าหมาย) หน้า 45)


ท่านเป็นผู้บุกเบิกการแยกศาสนาออกจากประเพนีท้องถิ่น ท่านกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า "จงใจกว้างเหมือนแม่น้ำ จงทั่วถึงเหมือยังดวงอาทิตย์ แต่ก็จงอ่อนน้อมเหมือนดิน" และจากนี่เอง เป็นรากฐานของผู้ปฎิบัติตามแนวทางจิซตียะฮฺจนถึงปัจจุบัน (เล่มเดียวกัน หน้า 46)


ซูฟีคนแรกของสายนี้ที่อบรมลูกศิษย์โดยการให้ออกไปนอกคานกาฮฺ คือ เชค ฟารีรุ้ดดีน กานจ์ การ แห่ง Pakpatan
(Hafiz Malik : Moslem Nationalism in India and Pakistan Washingtan DC. P. 75)



 ... นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งแรกของจิสตียะฮ์ ...



คานกาฮฺสืบต่อโดยลูกศิษย์ของท่านคือ เชค นิซอมมุ้ดดีน เอาลิยาอฺ ท่านได้แบ่งย่อยผู้ที่มาอาศัยในคานกาฮฺออกเป็นสามกลุ่มอีก คือ

๑. คนที่มาขอแนะนำด้านจิตใจ
๒. คนที่ออกไปฝึกงานนอกสถานที่
๓. คนฝึกมาเพื่อออกไปทำงานนอกสถานที่

*งานที่พูดถึงคือ การขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ ไม่ใช่งานดะวะฮ์ เหตุการณ์ตอนนี้ ก่อนเมาลานาน อิลยาซ จะเกิด



คำพูดติดปากของท่านคำหนึ่งคือ "จงเริ่มทุกอย่างจากตัวเรา และจงขอจากอัลลอฮฺเถิด ... หากเราทิ้งหนามไว้หนึ่งอันบนถนน คนจะมาเหยียบ และได้รับบาดเจ็บ แต่อะไรจะเกิดขึ้น หากทุกคนทิ้งหนามคนละอันๆ บนถนน?"


ซูฟีย์จากกลุ่มนี้ มักใช้การซิกรุ้ลลอฮฺแบบ ?จะฮฺรีย์? และไม่ปฎิเสธการ ?ซิมาอฺ? (การใช้เครื่องดนตรี และอ่านกวีเป็นท่วงทำนอง เพื่อเป้าหมายในการนำจิตเข้าสู่ภวังค์ แต่การปฎิบัติดังกล่าวได้ล้มเลิกไปในสมัยการฟื้นฟูอิสลาม โดย เชค อะฮฺหมัด มุจัดดิด อัลฟุ้ซซานีย์ ต่อมาในยุคหลังๆ การซิมาอฺที่ถูกต้องตามหลักชารีอัตจึงมีขึ้น กล่าวคือ ก่อนการขึ้นกล่าวคำสั่งเสียของเชค แก่ลูกศิษย์ พวกเขามักอ่านโคลงกลอนเพื่อสรรเสริญอัลลอฮฺ นบีมุฮัมมัด เตือนให้รำลึกถึงความตาย โดยไม่ใช้เครื่องดนตรี บ่อยครั้งที่คนทั่วไปเมื่อได้ยิน ?ซิมาอฺ? ดังกล่าวเท่านั้น เขาเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของเขาทันที : การ์ฟิลด์)




๒. ซัรฮูรดียะฮฺ

มีคนนิยามความแตกต่างระหว่างจิสตียะฮ์ และ ซัรฮูรดียะฮฺ ว่า

จิสตียะฮ์ เน้นความสละสลวย ความรัก และการรวมอยู่ระหว่างคนที่กำลังตกหลุมรัก กับคนที่ถูกรับ ขึ้นหน้า เรียกว่า "จะมาลี"

ซัรฮูรดียะฮฺ เน้นความยิ่งใหญ่ ความทรงสิทธิขาดของผู้สร้าง และการยอมรับความอ่อนแอของสิ่งถูกสร้างอย่างไม่มีข้อแม้ เรียกว่า "จะลาลี"


ก่อตั้งโดย เชค บะฮะอุ้ดดีน ซะกะรียา คานกาฮฺแห่งแรกตั้งขึ้นที่ Multan


กลุ่มนี้เน้นความสำคัญของร่างกายภายนอกควบคู่ไปกับภายใน เป็นเหตุให้ผู้ทรงคุณวุฒิของกลุ่มนี้ไม่ปฎิเสธชีวิตที่หรูหรา หรืออาหารอันโอชะ คานกาฮฺของกลุ่มนี้ประดับประดาอย่างสวยงาม และคลังอาหารที่เต็มอยู่ตลอดเวลา (Nizami หน้า 227)

ซึ่งต่างจากกลุ่มแรกที่มักไม่เก็บอะไรกักตุนไวสำหรับพรุ่งนี้ ทุกอย่างที่คงเหลือจะถูกแจกจ่ายออกไปก่อนตะวันตกดินของวันนั้น ซึ่งบางครั้งนั่นหมายถึง อาหารที่บริจาคสำหรับคานกาฮฺนั้นๆทั้งเดือนก็ตาม

กลุ่มซัรฮูรดียะฮฺ ไม่ปฎิเสธการติดต่อกับทางการ ผู้นำทางการเมืองของสมัยนั้นๆ หรือการรับความช่วยเหลือจากชนชั้นผู้ปกครอง ซ้ำยังถือว่า การเข้าหาผู้นำ หรือทางการ เพื่อเรียกร้องสิทธิให้แก่ผู้ยากไร้ หรือความสะดวกสบายในการดำเนินงานทางศาสนา เป็นเรื่องดี และน่าสนับสนุน ต่างกับกลุ่มแรกอีกเช่นกัน ที่ถือว่า การปรากฎตัวต่อหน้าผู้ปกครองที่มิใช่มุสลิม ถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจ และพอใจทีจะไม่รับการช่วยเหลือใดๆจากทางการเลย


กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการก้มโค้งต่อหน้าเชค เพื่อให้เกียรติ (ดังที่จิสตียะฮ์บางคนกระทำ เช่น เชค นะซีรุ้ดดีน ชะรอนกีร เดฮ์ลี แต่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ท่านได้สั่งห้ามการกระทำดังกล่าว) การนำอาหารไปวางหน้าหลุมศพของคนดีๆที่เสียไปแล้ว การซุยูดต่อหน้าหลุมศพพวกเขา หรือ การคลุมผ้าสีต่างๆแก่หลุมศพพวกเขา ... ซึ่งกระทำโดยซูฟีย์สาย "เบชัรอีย์" ที่แม้ไม่แพร่หลายนักในอินเดีย แต่ก็แฝงตัวอยู่ในชุมชนต่างๆ


ความเชื่อเรื่องการพัฒนาทางร่างกาย และจิตวิญญานควบคู่ไปนี้เอง ทำให้การเป็นอยู่ของคนในครอบครัวผู้ยึดแนวทางซูฟีน์กลุ่มนี้อยู่ในระดับดี มีการศึกษาสูง ต่างจากกลุ่มแรกที่บางครั้งทายาทของผู้นำจิตวิญญาน ไม่ได้สืบทอดอะไรเลย และหลายครั้งด้วยกันที่คานกาฮฺต้องเลิกไป ด้วยเหตุไม่มีผู้ดำเนินงานต่อ

แนวทางการซิกรุ้ลลอฮฺของกลุ่มนี้ เป็นเช่นเดียวกับของจิซตียะฮฺ ต่างกันเพียง กลุ่มนี้ปฎิเสธ ?ซิมาอฺ? แต่ต้น




๓. ก็อดรียะฮ์

ผู้ก่อตั้งคือ เชค อับดุลกอดิร อัล-จิลานีย์ ( เป็นซูฟีย์สายแรกๆที่ได้วางระบบก็จริง แต่เข้ามาในอินเดียเป็นลำดับที่สามจากสี่สายที่กล่าวไป)

กลุ่มนี้เข้ามาทางเหนือของอินเดีย แต่มีอิทธิพลมากในแถบอ่าวเบงกอล 

ผู้เริ่มคานกาฮ์ในแถบนี้คือ ชาฮฺ เนี๊ยะมะตุ้ลลอฮฺ อัล-ก็อดรีย์ (เสียชีวิตปี 1430) ใน Deccan

แต่เครดิตการเผยแพร่ ควรยกให้แก่ มัคดูม มุฮัมมัด จิลานีย์ (เสียชิวิตปี 1517) เป็นผู้สืบเชื้อสายของผู้ก่อตั้งคนแรกอีกด้วย

กลุ่มนี้คล้ายๆกับจิสตียะฮ์ในเรื่องความสมถะ และแนวคิดไม่ยุ่งการเมือง หรือการสนับสนุนจากทางการ แต่ยังใช้ให้ใส่ผ้าเขียว เพื่อเป็นเครื่องหมายของกลุ่มตน ซึ่งจิสตียะฮ์ถือว่าเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย

(Faith movement in India and sufism idea หน้า 56)


กลุ่มนี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอินเดียเหมือนสองกลุ่มแรก แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญของแนวคิดซูฟีย์ในอินเดียเลยทีเดียว

Lal Husain (มีชีวิตระหว่าง 1536-1599) เป็นซูฟีย์ของกลุ่มนี้ที่กล่าวกันว่า 26 ปีที่เขาเคร่งครัดในหลักอิสลามมาตลอด แต่ช่วงหลังผู้คนมักพบเขาในสภาพมึนเมาจากสุรา และไม่ให้ความสำคัญแก่อิบาดัตจำเป็นของมุสลิม ... แสดงถึงภาพลักษณ์ของซูฟีย์ในอินเดียในช่วงเวลาดังกล่าว ที่ได้รับอิทธิพลจากซูฟีย์นอกรีต ?เบชัรอีย์? ซึ่งเข้ามาอย่างมากในช่วงนั้น (และยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน)

ซึ่งนั่นเป็นอรัมภบทสุดท้าย ถึงกลุ่มที่มีอิทธิมากที่กลุ่มหนึ่งคือ นักชบันดีย์





๔. นักชบันดีย์

เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งโดย เชค บะฮาอุ้ดดีน นักบันดีย์ (เสียชีวิต 1388) (Nizami หน้า 58)

เป้าหมายของกลุ่มคือ ?การสร้างประชาชาติอิสลามให้เข้มแข็ง และสร้างมุสลิม ให้เป็นมุสลิมที่ดีกว่า? การดำเนินงานของกลุ่ม จะเริ่มจากข้างบนลงข้างล่าง หมายถึง...

การเข้าหาผู้ปกครอง หรือผู้มีอำนาจ เพื่อเชื้อเชิญให้เข้าใจในแนวทางของตน ซึ่งอำนวยความสะดวกในการประกาศเชื้อเชิญคนระดับรากหญ้า คล้ายๆกับของ ซัรฮูรดียะฮ์ แต่ไม่ใช่การขออำนวยความสะดวก แต่เป็นการขอให้ผู้ปกครองลงมามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวของกลุ่มเลย


(Faith movement in India and sufism idea หน้า 59)


มีซูฟีย์เพียงสองกลุ่มเท่านั้นที่ทำงานกับคนต่างศาสนิก นั่นคือ ซัรฮูรดียะฮ์ และ นักชบันดียะฮ์


นอกจากนี้แล้ว ซูฟีย์จากกลุ่มนี้เองที่ริเริ่มการต้อสู้ ยืนหยัดต่อการรวมศาสนา กับประเพนี และต้องการ ?ชำระ? แนวคิดซูฟีย์ทั้งหมด ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากกลุ่ม ?บิชัรอีย์? ที่เหลือ

คนที่มีบทบาทมากที่สุดคนหนึ่งคือ มุฮัมมัด บากี บิ้ลลาฮฺ บารองกีร (มีชีวิตอยู่ 1564-1603)

ปฎิเสธการก้มลงแก่เชค การซุยุดแก่หลุมศพเชค ไม่จูบเท้าเชค และให้มีการปิดหน้าขึ้นแก่ลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิงในขณะที่อยู่ต่อหน้าเชค


เป็นยุคสมัยนี้เองที่ซูฟีย์ไม่มีการอ้างตนว่า ?อะนัลฮั๊ก? (ฉันคืออัลลอฮฺ) และถือกลุ่มที่ทำดังว่าเป็น ?เบชัรอีย์? ไปโดยปริยาย


กลุ่มนี้เน้นการซิกรุ้ลลอฮฺแบบ ?คอฟีย์? ควบคู่ไปกับอีกสี่แบบที่เหลือ






แนวความคิด ?วะฮฺดะตุ้ล วุญู้ด? และ ?วะฮฺดะตุ้ช ชุฮูด?

Sir Ahmad Husain Jung ในหนังสือของท่าน ?ฟิลาซาฟะตุ้ลฟุกอรอฮฺ? (ศาสตร์แห่งนักคิด) ให้นิยามของทั้งสองแนวความคิดนี้ว่า

วะฮฺดะตุ้ลวุญู้ด                                                                   วะฮฺดะตุ้ชชุฮูด

อัลลอฮฺคือสิ่งเดียวที่สมบูรณ์บริสุทธิ์                               พระองค์เป็นผู้นำเราไปสูเป้าหมาย(ตัวตนของพระองค์)
ทุกสิ่งคือพระองค์ พระองค์คือทุกสิ่ง                               ทุกสิ่งมาจากพระองค์
แสวงหาความสงบทางใจ                                                แสวงหาแรงกระตุ้นภายนอก เพื่อนำไปสูพระองค์
และณ จุดที่ทุกอย่างสงบนิ่ง นั่นคือที่จะพบพระองค์
พระองค์กับฉันจะไม่แยกจากกัน                                     ฉันอยู่กับพระองค์(แยกจากกัน)
ฉันคือพระองค์ (Gnostic)                                              ฉันคือบ่าวของพระองค์



สำนักซูฟีย์ทั้งสี่ มีสามสำนักที่มีแนวความคิด ?วะฮฺดะตุ้ลวุญู้ด? คือ จิซตียะฮฺ ก็อดรียะฮฺ และซะฮุรดียะฮฺ
ส่วนนักชบันดียะฮฺ เชอะฮฺหมัดได้นำเสนอความคิด ?วะฮฺดะตุ้ช ชุฮู้ด? ขึ้นเป็ฯครั้งแรก แต่ก็ไม่ปฎิเสธอันแรก เพียงแต่ให้ความเป็นว่าเป็นเพียง ?จุดเริ่มต้นแห่งการเดินทาง? เท่านั้น


วะฮฺดะตุ้ล วุญู้ด ถูกนำมาอยู่ภายใต้ชารีอัต (หลักๆคือ การปฎิเสธแนวความคิด ?อะนั้ลฮัก? หรือ ?ฉันคืออัลลอฮฺ?) ในสมัยการบูรณะแนวความคิดจิซตียะฮฺ นำโดย ชาฮฺ วลียุ้ลลอฮฺ มุฮัดดิซ เดฮฺลาวียฺ แต่ไม่ถึงกับปฎิเสธทั้งหมด ท่านเห็นว่าแนวทางการฟื้นฟูจิตใจโดยแสวงหาความสงบทางใจ (ซุ้ลฮุ้ล คล็อก Peaceful reconciliation) เป็นวิธีที่ดีที่สุด ต่างจากฝ่ายหลังซึ่งสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง และอื่นๆ




ที่มา : เมาลานาอิลยาซ , ซูฟีย์ และตับลีฆญะมาอัต
โดย : คุณการ์ฟิลด์





ขออนุญาตยกมา กลัวมันหาย  8)


يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ คนเดินดิน

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1620
  • ขอให้ได้รับความโปรดปรานจากพระผู้ทรงเมตตาด้วยเถิด
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พ.ค. 30, 2007, 03:51 PM »
0
ขออนุญาตนำบทความข้างต้นไปเผยแพร่ให้นักเรียนของเราได้รับทราบจะว่ากะไรรึเปล่าคะพี่น้อง ;) ;) ;)
เพราะรู้ดีว่าเป็นเพียงหนึ่งคนที่อ่อนแอ  จึงทำให้คำนึงถึงคุณค่าของหนึ่งชีวิต  โปรดชี้แนะแนวทางที่เที่ยงตรงด้วยเถิด  ยาร็อบบี  سَلَّمْنَا مُسْلِمِيْنَ وَمُسْلِمَاتٍ فِي الدُّنْيَا وَ الأخِرَةِ

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มี.ค. 31, 2008, 06:30 AM »
0
อ่านแล้วน่าสนใจคับ.....แต่เสียดาย.....น่าจะมีคนมานำเสนอกันเยอะๆหน่อย สงสาร อาจารย์ al-azhary เรา นั่งแปลอยู่คนเดียว...
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มี.ค. 31, 2008, 03:00 PM »
0

 salam


เมื่อคืนไปงานรร. อันวารุลอิสลาม  ได้ยินว่ามีบรรยายเรื่อง  จิตวิญญาณสัมพันธ์กับร่างกายอย่างไร
ดำเนินรายการโดย อ. ไพบูลย์ เจ๊ะยอเด ร่วมเสวนาโดย อ. กอเซ็ม มุฮัมมัดอาลี  อ.อานัส (จำไม่ได่ว่า ดาราฉาย หรือ อมาตยกุล แต่น่าจะเป็นท่านหลังมากกว่า ถ้าดูจากชื่อหัวข้อบรรยายแล้ว)  อีกท่านนึงจำชื่อไม่ได้ - -'

น่าสนใจ แต่เด็ก ๆ ที่ไปด้วยงอแงเลยกลับกันซะก่อน (คนเขียนก็ง่วง)  ใครมีไฟลมาแบ่งปันกันด้วยเน่อ  ชาเองจะหาอีกทาง อินชาอัลลอฮฺ   loveit:
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มี.ค. 31, 2008, 04:46 PM »
0
เมื่อคืนไปงานรร. อันวารุลอิสลาม  ได้ยินว่ามีบรรยายเรื่อง  จิตวิญญาณสัมพันธ์กับร่างกายอย่างไร
ดำเนินรายการโดย อ. ไพบูลย์ เจ๊ะยอเด ร่วมเสวนาโดย อ. กอเซ็ม มุฮัมมัดอาลี  อ.อานัส (จำไม่ได่ว่า ดาราฉาย หรือ อมาตยกุล แต่น่าจะเป็นท่านหลังมากกว่า ถ้าดูจากชื่อหัวข้อบรรยายแล้ว)  อีกท่านนึงจำชื่อไม่ได้ - -'

น่าสนใจ แต่เด็ก ๆ ที่ไปด้วยงอแงเลยกลับกันซะก่อน (คนเขียนก็ง่วง)  ใครมีไฟลมาแบ่งปันกันด้วยเน่อ  ชาเองจะหาอีกทาง อินชาอัลลอฮฺ   loveit:

บัง Deeneeyah ว่ายังไงครับ  มีไฟล์เสียงมาฝากพวกเราหรอเปล่า  ;D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มี.ค. 31, 2008, 08:30 PM »
0
 salam

อ้างถึง
บัง Deeneeyah ว่ายังไงครับ  มีไฟล์เสียงมาฝากพวกเราหรอเปล่า  Grin

พอดีไม่ได้ไปครับ  แต่เมื่อวันเสาร์ผมไปฟัง อ.อาลี เสือสมิง บรรยายเรื่อง อีหม่านที่บริสุทธิ์  มาครับ

หากพี่น้องท่านใดมีเด็กๆ เรียนอยู่ที่นั่น ผมว่าติดต่อขอไปทางโรงเรียนเลยคิดว่าทางโรงเรียนน่าจะมี  yippy:

อ้างถึง
เมื่อคืนไปงานรร. อันวารุลอิสลาม  ได้ยินว่ามีบรรยายเรื่อง  จิตวิญญาณสัมพันธ์กับร่างกายอย่างไร
ดำเนินรายการโดย อ. ไพบูลย์ เจ๊ะยอเด ร่วมเสวนาโดย อ. กอเซ็ม มุฮัมมัดอาลี  อ.อานัส (จำไม่ได่ว่า ดาราฉาย หรือ อมาตยกุล แต่น่าจะเป็นท่านหลังมากกว่า ถ้าดูจากชื่อหัวข้อบรรยายแล้ว)  อีกท่านนึงจำชื่อไม่ได้ - -'

เป็น  อ.อนัส  ดาราฉาย  ครับ  อีกสองท่านเป็น อ.อิสมาแอล มีสุวรรณ (จากมิฟตะหฺฯ)  และ อ.มูฮัมหมัด  วงษ์สลาม

ท่านอาจารย์ไปบูลย์  เจ๊ะยอเด  บอกว่า หัวข้อบรรยายเป็นภาคต่อจากงานมะเซาะระลึก ครับ

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มี.ค. 31, 2008, 08:35 PM »
0
ว่าแต่ว่า เว็ปที่ท่าน admin ให้ไว้ฝากไฟล์เสียง มันหมดอายุหรือว่าอย่างไรครับ  boulay:

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มี.ค. 31, 2008, 11:00 PM »
0
 salam

ฝากเพื่อนติดต่อไปเรียบร้อยละค่ะ  อินชาอัลลอฮฺ  ;D
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ itoursab

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: เม.ย. 01, 2008, 03:15 PM »
0
เท่ารู้รึรู้จัก(ผู้สอนคนแรกผมก็เป็นซูฟีย์นี่แหละครับ)
ผมว่าซูฟีย์ ไม่ได้อะไรขนาดลิงค์นั้นนะครับ
ค่อยข้างจะยึดแนวเคร่งอย่างมีหลักการซะมากกว่า
อย่างง่ายๆเรื่องหมาเนี่ย
ถ้าเลือกได้แกไม่เลี้ยง เพราะน้ำลายนายิส
ลำบากต่อการดูแล ไม่ใช่หมาทั้งตัวสกปรกนะครับ
แต่ข้อเสียของคนซูฟีย์รึแนวคิดแบบซูฟีย์ก็คือ
รู้อะไรแล้วต้องรู้จนหมดคำถาม
และ เชื่อเหมือนแนวพุทธทั่วๆไปเลยคือ
ทุกอย่างต้องเกิดที่ข้างใน แล้วไหลออกมา ไม่เช่นนั้นไม่เซาะฮ์

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: เม.ย. 02, 2008, 08:59 AM »
0
 salam


คำว่าซูฟี หลักๆ แล้วคือ การรำลึกถึงอัลลอฮฺ ซบ. ให้มาก ฉะนั้นสิ่งที่ขึ้นชื่อของทางซูฟีจะเป็นเรื่องของจิตใจ  (หรือที่คุณ ไอ้ตัวแสบเรียกว่า "ข้างใน") นั่นล่ะค่ะ   ดังนั้นที่ถูกต้องจริง ๆ คำว่าซูฟีย์สมควรมีในทุกคนนะคะ  ยกตัวอย่าง ท่านอาจารย์อิสมาแอล วิสุทธิปรานี  เคยบรรยายไว้ว่า

การกระทำทุกอย่างถ้าไม่มีเจตนาเพื่ออัลลอฮฺ การงานนั้นก็ไม่มีประโยชน์  เช่น  เราทำงานทำมาหากิน เพื่อพระเจ้า เราจะเหนียตว่าเพื่อการอยู่รอดในโลกนี้  เพื่อการดำรงไว้ซึ่งประชาชาติมุสลิม  เพื่อพัฒนาสังคม  สิ่งนี้ถือว่าเป็นการงานที่มีผล    (เนื้อหาโดยสรุปน่ะค่ะ)

แต่ทั้งหลายทั้งปวง การกระทำที่มีเจตนานี้นั้น จะถูกกำหนดโดยกรอบของ หลักปฏิบัติ (ฟิกฮฺ)  อย่างเช่นถ้าเราทำงานเพื่อเจตนาข้างบนจริง แต่ว่าเป็นการทำมาหากินที่ผิดต่อหลักการ เช่น คดโกง  การงานนั้นก็จะฟาล์วไป  หรืออีกตัวอย่างคือ การรำลึกถึงอัลลอฮฺ ซบ. ด้วยยการซิเกรโดยมีดนตรีประกอบ  บางสถานที่มีสีไวโอลิน  เช่นนี้ถ้าถามชา ชาว่ามันนอกกรอบไปหน่อย ..


แต่เท่าที่เห็นจะมีผู้รู้ วิจารณ์ว่า วิชาตะเซาวุฟ  เป็นวิชาที่บิดเบือนขึ้นมาใหม่  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคำว่า ตะเซาวุฟ หรือ ซูฟี  มีในหัวใจ - จิตใจบรรดาซอฮาบะฮฺมาแต่แรกแล้ว ท่านเหล่านั้นมีความสงบบนิ่ง มีการตรึกตรอง มีการตระหนักอยู่แล้ว  เปรียบเสมือน คนอาหรับไม่ต้องเรียนภาษาอาหรับ เพราะรู้ภาษาอาหรับอยู่แล้ว ฉันใดฉันนั้น .. 


เฮ่อ .. มะไหร่จะมีฮิกัมชาดัมเย็นนะเนี่ย  ;D ;D ;D

อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง วัสลาม




   
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: เม.ย. 02, 2008, 06:18 PM »
0
 salam

ก่อนที่จะศึกษา ตะเซาวุฟ หรือ ซูฟี นั้น
สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีความหนักแน่น ใน อุซูลุดดีน และซะรีอะหฺ 

ไม่อย่างนั้นมันเหมือนจะข้ามขั้นไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 03, 2008, 09:05 AM โดย Deeneeyah »

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: เม.ย. 03, 2008, 03:53 PM »
0
 salam

อะกีดะฮ์  ชาริอัต  และตะเซาวุฟ ต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กันครับ  เพราะหากขาดอันใดอันใดไปก็จบ ;D
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ abubak

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตะเซาวุฟ ? ซูฟีย์
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: เม.ย. 03, 2008, 04:18 PM »
0
   ผมเคยได้ยินอุลามเมาะตะเซาวุฟมักกล่าวว่าท่านนบีกล่าวว่า

ผู้หนึ่งผู้ใดที่มีเฉพาะวิชาชะรีอัตโดยไม่มีวิชาฮากีกัต  อ้าม้าลเขาลีบ(ขาดทุน)

และผู้หนึ่งผู้ใดที่เขามีเพียงแต่ฮากีกัตแต่ไม่มีชารีอัตเขานั้นจะเสียหาย(บ้าต้อล)


อยากให้ผู้รู้วิจารณ์สถานะของหะดิสนี้ให้ทีครับ   ขอบคุณ

 

GoogleTagged